รายงานการประชุม roadmap ครั้งที่ 1: รูปแบบของ roadmap


ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านเห็นพ้องตรงกันว่าควรต้องมีแผนที่เดินทางเพื่อกำหนดทิศทางและภาพรวมของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเท่าที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานต่างทำโครงการของตนเอง ใครคิดอะไรได้ก็ทำ จึงไม่มีทิศทาง และแทบไม่รู้ว่าใครทำอะไรไปแล้วบ้าง ได้ผลเป็นอย่างไร

(รายงานตอนที่ 3)

ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านเห็นพ้องตรงกันว่าควรต้องมีแผนที่เดินทางเพื่อกำหนดทิศทางและภาพรวมของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพราะเท่าที่ผ่านมาแต่ละหน่วยงานต่างทำโครงการของตนเอง ใครคิดอะไรได้ก็ทำ จึงไม่มีทิศทาง และแทบไม่รู้ว่าใครทำอะไรไปแล้วบ้าง ได้ผลเป็นอย่างไร ขณะที่ สภาพเงื่อนไขในปัจจุบัน มีปัจจัยที่เป็น โอกาส ต่อการกำหนดแผนที่เดินทางสู่เศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่

 

-          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นศูนย์รวมจิตใจ

 

-          แรงกดดันจากการค้าเสรี à ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงง่ายขึ้น

 

-          แรงกดดันจากภาวะโลกร้อนและสิ่งแวดล้อม à ทุกคนตื่นตัวที่จะหาแนวทางแก้ไข

 

-          มีแบบอย่าง เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน ชุมชน ให้เดินตามได้ à ขยายผล

 

ในการจัดทำแผนที่เดินทาง ผู้เข้าร่วมประชุมได้เสนอแนะการดำเนินการ ดังนี้

 

รูปแบบ ของ Road Map ควรมีลักษณะเป็นแผนที่ยืดหยุ่น ปรับแก้ได้ทุกระยะ (Rolling Plan) ในเบื้องต้นเสนอให้มีการทบทวนแผนทุก 3 ปี เป็นระบบคิดที่ให้อำนาจทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกันและมีการเปิดเวทีเพื่อสร้างการตกลงถึงจุดที่พอดีร่วมกันของทุกฝ่าย ผ่านกระบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกันเพื่อปรับเปลี่ยนในเชิงโครงสร้างทุกระดับ

 

รายละเอียด ใน Road Map ควรบอกเป้าหมาย วิธีการเดินไปสู่เป้าหมาย ขั้นตอนในการก้าว check lists ในแต่ละช่วงเวลา โดยกำหนดเป้าหมายใหญ่ (ธงในอีก 2 ทศวรรษ เป็นต้น) เป็นสิ่งที่อยากให้เป็น/ควรจะเป็น แล้วมีเป้าหมายย่อยๆที่ปฏิบัติได้จริงในแต่ละช่วงเวลาเรียงตามระยะเวลาความสัมฤทธิ์ผลในการดำเนินงาน และควรกำหนดว่าแต่ละภาคส่วนจะเข้าทำอะไรบ้าง มีบทบาทหน้าที่อย่างไร การวางเป้าหมายจำต้องมีการจัดกลุ่ม (Category) ให้ชัดเจน ครอบคลุมและมีพลัง โดยจะต้องสามารถนำไปใช้ในขั้นตอนปฏิบัติการได้จริงและทำให้ผู้คนหันมาให้ความสำคัญ

 

            ดัชนีชี้วัด สำหรับ check list ระหว่างทางหากเป้าหมายไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงก็ยืนหยุ่นปรับแผนได้ หรือหากกระบวนการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ก็ให้สามารถปรับการทำงานได้ (เป็น rolling plan) และต้องมีดัชนีชี้วัดที่เป็นรูปธรรมว่า เราเดินไปถึงธงแต่ละธงแล้วหรือยัง

 

หลักหมาย ในการวางหลักหมายการเดินทางก่อนจะถึงกำหนดเวลายี่สิบปีของแผนที่เดินทางต้องมีการแนบความหมายเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic) หรือทำการตลาดทางสังคม (Social Marketing) เพื่อสร้างพลังในการเรียกร้องและรณรงค์ ให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง  

 

            ฐานของการคิดธง/เป้าหมาย ควรคำนึงถึงภูมิสังคมของไทย คือ พิจารณาทั้งจุดแข็ง และจุดด้อยของประเทศไทย เช่น มีฐานทรัพยากร แต่ใช้ไม่เป็น ระบบกฎหมาย/ภาษีไม่เอื้อในการจัดการทรัพยากร

 

Keywords: ภูมิสังคมของไทย, วิถีไทย (ชีวิต+กระบวนการทำงาน), มีความสุขที่ก้าวหน้า, การตระหนักรู้ในคนไทย, จิตสาธารณะของคนไทย, การพัฒนาอย่างยั่งยืน

 
หมายเลขบันทึก: 100846เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 09:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 16:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท