บายศรีสู่ขวัญ (เรียกขวัญ)


ร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง สู้ชีวิตได้อย่างทระนง

 

บายศรีสู่ขวัญ

(เรียกขวัญ) 

            เมื่อพูดถึงคำว่า  สู่ขวัญหรือเรียกขวัญ  เราอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า ทำขวัญนาค กันเสียมากกว่าที่จะพูดคำว่า พิธีสู่ขวัญ บายศรีสู่ขวัญ  อันที่จริงก็เป็นพิธีกรรมที่ใช้ในงานมงคลหลายด้าน มิใช่เฉพาะแต่การทำขวัญนาค  งานมงคลที่เกี่ยวข้องกับ บายศรี  ได้แก่ พิธีทำขวัญนาค  บายศรีสู่ขวัญ  พิธีตั้งศาล  ทำขวัญเสา  พิธีโกนจุก  พิธีเส้นผี  พิธีโกนผมไฟ 

                                                                                                      

            <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal">          บายศรี ที่จัดทำสำหรับการประกอบพิธีมงคล สู่ขวัญ มี 2 ลักษณะ คือ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal">          1.  บายศรีปากชาม เป็นบายศรี ที่จัดเอาไว้ประกอบเครื่องกระยาบวช หรือสังเวยเป็นเครื่องประกอบของบายศรี  ประกอบด้วยสำรับอาหารคาวหวาน  มีขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ข้าวปากหม้อ ไข่ต้ม  อาจจะมีหมูนอนตอง 1 ชิ้น มีไก่ต้ม มีกล้วยน้ำว้า  และในส่วนของ ของหวานก็ทำด้วยผลไม้ที่นำมาแกงบวด เช่น ฟักทองแกงบวด มันแกงบวด เผือกแกงบวด สาเกแกงบวด ฯลฯ เรียกว่า เครื่องกระยาบวช  (อาจมีเฉพาะขนมต้มแดง ต้มขาวแทนของหวาน) ที่ถ้วยหรือชามซึ่งใส่สิ่งของเครื่องสังเวยไว้นั้นจะต้องจัดทำบายศรี 3 หวี วางไว้รอบปากชามหรือถ้วยใส่อาหารเสียก่อน แล้วจึงใส่ของความหวาน ข้าวลงไป</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal">          2. หลักบายศรี  จัดทำขึ้นเป็นชั้น ๆ อาจจะมีแกนเป็นไม้ สมัยก่อนแกนกลางของบายศรีที่เป็นที่เกาะของชั้นบายศรีในแต่ละชั้นจะทำด้วยต้นกล้วย (หยวกกล้วย) โดยมีการแกะสลักเป็นเรื่องราวให้คติ ข้อคิด ชวนให้สนเท่ บายศรีหลัก จะทำซ้อนกัน เป็นชั้น ๆ มีบายศรี 3 ชั้น  บายศรี 5 ชั้น  บายศรี 7 ชั้น ส่วนบายศรี  9 ชั้น สำหรับบุคคลชั้นสูง (จำนวนชั้นของบายศรี จะทำเอาไว้ให้เหมาะสมกับฐานะ ของบุคคลที่จะมา รับขวัญ)  ในกรณีที่จัดเป็นบายศรีดอกไม้สด  อาจไม่ทำเป็นหลัก แต่จะนำเอาพานมาทำบายศรีแทน โดยใช้พานโตก วางซ้อนกันมาจัดทำบายศรี เครื่องบายศรี จัดทำมาจากกาบกล้วย และใบตอง โดยนำเอามาม้วนพับ ถักเย็บ เป็นเชิงชั้น สลับ แซมซ้อนกัน ประดับประดาอย่างสวยงาม พร้อมด้วยดอกไม้ ธูป เทียน</p>            <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal">ความเหมาะสมในการจัดทำบายศรี กับฐานะของผู้ที่จะอวยพรให้ หรือในฐานะของผู้รับขวัญ </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal"></p>

         1. บายศรี  3 ชั้น เหมาะสำหรับบุคคล ที่มีฐานะธรรมดา หรือสามัญชนทั่ว ๆ ไป     

         2. บายศรี  5 ชั้น เหมาะสำหรับผู้ที่มีเกียรติ มีหน้ามีตาที่มีฐานะสูงกว่าสามัญชนทั่วไป เช่น เป็นข้าราชการ หรือรับราชการ  

         3. บายศรี  7 ชั้น เหมาะสำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในตำแหน่งที่สูงขึ้นไปหรือข้าราชการที่เหนือกว่าระดับจังหวัดขึ้นไป         

         4. บายศรี  9 ชั้น เหมาะสำหรับบุคคลชั้นสูง เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินและแขกบ้านแขกเมือง บายศรี 9 ชั้นจึงไม่นิยมทำมาใช้ประกอบพิธีกับสามัญชน ผู้มีเกียรติและข้าราชการชั้นสูง    

     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal">        ดังนั้น  ในการจัดทำบายศรีประกอบพิธีสู่ขวัญนั้น  จะต้องจัดทำบายศรี แบบบายศรีหลัก หรือแบบ พานบายศรี อย่างใดอย่างหนึ่ง ตำแหน่งที่ตั้งหรือจัดวางบายศรีจะต้องให้ดูเหมาะสม เช่น จัดวางบนโต๊ะ ที่มีผ้าปูรอง  มีเครื่องประกอบ ได้แก่ เครื่องกระยาบวช  อาจมีอาหารคาวหวานใส่ถ้วยหรือจัดเป็นสำรับวางไว้ใกล้ ๆ พานบายศรี หรือหลักบายศรี</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal">          ผมเคยไปทำขวัญนาค  เจ้าภาพเขาจัดหาผู้ที่ชำนาญการทางด้านจัดทำพานบายศรี เป็นบายศรีดอกไม้สด เมื่อนำมาวางในพิธีแล้วดูสวยงามน่าชื่นชม และเกิดความศรัทธามาก </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal">          ผมเคยไปสู่ขวัญผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาในศาลประจำท้องถิ่น (ที่เรียกว่าเจ้าพ่อต่าง ๆ) งานประเภทนี้จะมีผู้คนที่เลื่อมใสศรัทธามาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก เขาจัดทำบายศรีดอกไม้สด ที่ต้นบายศรีแกะสลักเป็นเรื่องราวของธรรมชาติ ดอกไม้ นก ท้องฟ้า เทวดา นางสนมกำนัลใน (มองได้ไม่ทั่วเพราะดอกไม้บังเสียบ้าง) แล้วผมก็ร้องบทแกะบายศรีทั้ง  7 ชั้น (ด้นสด) ให้ผู้ที่มารับขวัญได้ฟัง   </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal">                                      </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; line-height: 120%" class="MsoNormal">           ยังมีสิ่งดี ๆ ที่เป็นมงคลแก่ชีวิตของคนเราอีกมากครับ บางเรื่อง บางอย่างอาจดูไม่จำเป็น แต่ในความรู้สึกภายในมีอิทธิพลส่งผลต่อร่างกายภายนอกมาก คนเราอยู่ได้ด้วยร่างกายและจิตใจ เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอ จะแสดงความสิ้นหวัง เมื่อใดที่จิตใจอ่อนแอ จะแสดงความตรอมตรม  แต่ถ้าบุคคลใด มีร่างกายและจิตใจที่เข้มแข็ง บุคคลนั้น สามารถที่จะลุกขึ้นยืนต่อสู้ชีวิตได้อย่างทระนง   </p>

(ชำเลือง  มณีวงษ์ / บายศรีสู่ขวัญ 2550)

</span></span>

หมายเลขบันทึก: 100849เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 09:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้เข้าไปเยี่ยมเยือนเรื่องเล่าของอาจารย์หลายเรื่องแล้ว เพิ่งเห็นรูปอาจารย์ ภูมิปัญญาเป็นสิ่งที่น่าอนุรักษ์ให้คงอยู่และได้รับการสืบสาน บอกต่อ ดีมากเลยขอสนับสนุน..

 

สวัสดี ศน.อุบล วงศ์ทับแก้ว

  • ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยม
  • ที่ไฟล์อัลบั๊ม จะมีทั้งภาพ เสียง และวีซีดี (สั้นๆ) เป็นผลงานตัวอย่าง อาจารย์เข้าไปชม และฟังได้ ครับ
  • ในส่วนตัวแล้ว ผมจะขอสืบสานศิลปะพื้นบ้านตลอดไป
  • แล้วอย่าลืมบอกกันต่อ ๆ ไปด้วยนะ อุบล ว่า...
  • เพลงอีแซวมีคุณค่า "ร่วมกันรักษาเอาไว้ให้นานๆ"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท