APHN Diploma of Palliative Care ๑๒: อาการที่พบบ่อย


มีผู้สอนอีกคนหนึ่งที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง คือ ศาสตราจารย์ David Currow เป็นศาสตราจารย์ด้าน Palliative Care ที่อายุยังไม่มาก ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการ Cancer Australia ซึ่งถือว่าน่าสนใจมากที่แพทย์ทางด้านนี้ ได้รับการยอมรับให้ดูแลองค์กรที่เกี่ยวกับโรคมะเร็งทั้งหมดของออสเตรเลีย

ศาสตราจารย์ใช้วิธียกตัวอย่างอาการที่พบบ่อย โดยใช้กรอบแนวคิด..ทำไม ในการดูแลรักษา คืออาการ ปวด และ เหนื่อยหอบ ไม่ได้ไล่สอนทุกอาการไปเรื่อย แล้วที่เหลือจะเป็นชั่วโมงของการถาม-ตอบ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียน ถามคำถามจากประสบการณ์สดๆอย่างเต็มที่ ซึ่งผมชอบชั่วโมงพวกนี้มาก เพราะมันเป็นประเด็นที่แต่ละคนเก็บมาถาม แล้วได้เห็นวิธีการตอบของคนระดับศาสตราจารย์ตอบและสอน

สิ่งที่ผมสังเกตได้คือ
  • เป็นการตอบโดยใช้หลัก evidence based คือมีหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเห็นได้ชัด
  • ถ้าประเด็นไหนยังไม่มีหลักฐาน ก็จะบอกว่า เป็นประสบการณ์ส่วนตัว และคะยั้นคะยอให้ช่วยกันรวบรวมข้อมูลเพื่อจะได้มีหลักฐานมากขึ้น
  • ให้เกียรติคนตอบมาก พยายามกระตุ้นให้คิดและตอบ คำตอบที่ดูเหมือนว่าไม่ถูกต้อง ก็ยังได้รับการยอมรับ ถามให้คิดต่อจนยอมรับเองว่าผิด ไม่มีคำดูหมิ่นดูแคลนเชือดเฉือนคนตอบให้น้ำตาตกใน

ตัวอย่าง
  • อาการทุกอาการมีความหมายต่อตัวคนไข้อย่างไร ถ้าละเลยอาจรักษาไม่ได้ผล

คนไข้อาการปวดเลวลงเรื่อยๆ ทั้งๆที่สภาพของโรค การดูแลรักษาไม่ต่างไปจากเดิม เมื่อถูกถามถึงความหมาย ก็บรรยายความปวดในแต่ละวันว่าเหมือนกับ ตัวแพคแมนในเกมส์คอมพิวเตอร์กำลังกัดกินกระดูกของตนเอง รู้สึกช่วยเหลือตนเองไม่ได้ กังวลและกลัวตาย  เมื่อเรื่องราวเหล่านี้ได้รับการตอบสนองไปด้วย พร้อมกับการดูแลรักษา จึงจะทำให้คนไข้อาการดีขึ้น

  • อาการเหล่านี้กระทบต่อ ความสามารถในการดำรงชีวิตหรือ function ของคนไข้มากน้อยเพียงใด

ความสามารถอันหนึ่งที่สำคัญของคนเรา คือ ความสามารถในการนอน ถ้าเราช่วยให้คนไข้สามารถนอนหลับได้ ในการพบหน้าและเริ่มให้การดูแลรักษาในครั้งแรก นับว่าประสบความสำเร็จนี่เป็นเป้าหมายที่ควรคิดถึง และปักธงเอาไว้ทุกครั้ง

  • งานวิจัยเกี่ยวกับการดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย

เน้นระดับความน่าเชื่อถือของงานวิจัย จึงเน้นงานวิจัยแบบ randomized control trial ซึ่งหลายคนจะบ่นและท้อว่าทำยากเพราะคนไข้อาการหนัก แต่ถ้างานวิจัยหนึ่งจะช่วยให้วิธีการดูแลรักษาคนไข้ดีขึ้นในภาพรวม ก็ควรจะช่วยๆกันทำ

<< APHN Diploma of Palliative Care ๑๑: จะดูแลรักษาอย่างไร

APHN Diploma of Palliative Care ๑๓: ทักษะการสื่อสาร >>

หมายเลขบันทึก: 100135เขียนเมื่อ 1 มิถุนายน 2007 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

อาจารย์คะ ส่วนใหญ่แล้ว คนไข้ ในระยะนี้ที่ทำใจได้และค่อนข้างสงบ มีการนอนหลับดี มีกี่%คะเห็นบางคนเศร้ามากหรือท้อแท้มาก บางคนเป็นโรคกระเพาะด้วยค่ะ

พี่ sasinanda ครับ 

  • ไม่ทราบตัวเลขครับ
  • จากประสบการณ์ของผม มีทั้งสองอย่าง คือ สงบ และ ไม่สงบ พอๆกัน
  • ผมชอบข้อสรุปที่ว่า เราเป็นอย่างไร ก็ตายอย่างนั้น ครับ หมายความว่า ตอนเรามีชีวิตอยู่เป็นคนอย่างไร ตอนเราตายก็จะเป็นอย่างนั้น    
  • ถ้าเราเป็นคนที่เต็มไปด้วยอารมณ์โกรธ อารมณ์นั้นก็จะปรากฏตอนกำลังจะตาย ถ้าเราสงบ เราก็จากไปอย่างสงบ
  • ช่วงนี้เราก็เลยต้องหัด อยู่ให้เป็น เพื่อจะ ตายให้เป็น นะครับ

แล้วโรคหัวใจพิการรักนี่จะรักษายังไงดีครับ  อาจารย์หมอ

อาจารย์ย่ามแดง การ์ดตกให้ผมอีกแล้ว

  • โรคนี้ เรื้อรัง ครับ รักษาไม่หาย

ตามอ่านครับผม ชอบตรงที่อาจารย์บอกว่า จะตายเป็นก็ต้องอยู่เป็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท