APHN Diploma of Palliative Care ๑๓: ทักษะการสื่อสาร


ทักษะการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญของการดูแลคนไข้ระยะสุดท้าย ในหลักสูตรนี้ได้แแยกเป็นรายวิชาต่างหาก ใช้เวลาเรียน ๑ อาทิตย์

ศาสตราจารย์ David Currow เปิดเริื่องนี้ได้ดีมาก โดยให้ผู้เรียนคิดถึงประสบการณ์ของตนเอง ๒ ประเด็นว่า มีการสื่อสารอะไรที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจและอึดอัดใจบ้าง แล้วให้แบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ ๕ คน นั่งคุยแลกเปลี่ยนกันในกลุ่มก่อนจะนำเสนอสรุปในภาพรวม

การสื่อสารอะไรที่ทำแล้วรู้สึกสบายใจ
  • กลุ่มคนในวัฒนธรรมเดียวกัน
  • กลุ่มผู้สูงอายุกว่าเรา
  • การรับฟัง
  • เรื่องดีๆและเป็นสุขของคนไข้
  • เรื่องชวนหัว อารมณ์ขัน

การสื่อสารอะไรที่ทำแล้วรู้สึกอึดอัดใจ
  • กลุ่มคนอายุเดียวกันกับเรา หรือเด็ก
  • กลุ่มคนในวัฒนธรรมต่างกัน ที่ใช้ภาษาต่างไปต้องอาศัยล่าม
  • กลุ่มคนที่มีประสบการณ์แย่ๆกับวงการแพทย์มาก่อน
  • กลุ่มคนที่ไม่เห็นความสำคัญกับการดูแลผคนไข้ระยะสุดท้าย
  • การพูดนำเพื่อปลอบใจหรือให้ข้อคิดแบบไม่ยัดเยียด
  • การบอกข่าวร้าย
  • การคุยเริื่องความต้องการให้กู้ชีวิต


โดยสรุปจะพบว่า มีการสื่อสารที่อึดอัดใจมากกว่าราวสองเท่า มันจะดีมากถ้าเรามองมันเป็นเรื่อง..ท้าทาย และใช้เป็นวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ครั้งนี้

ลองสังเกตตัวเองดูนะครับว่า รู้สึกแบบนี้ด้วยหรือเปล่า แล้วเพราะเหตุใด 

<< APHN Diploma of Palliative Care ๑๒: อาการที่พบบ่อย

APHN Diploma of Palliative Care ๑๔: เปิดใจ..ประสบการณ์ส่วนตัว   >>

หมายเลขบันทึก: 100729เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คนเป็นหมอ ส่วนหนึ่งเราจะให้ข้อคิดแบบยัดเยียดนะครับ ผมคิดว่าหลายครั้งหมอแบบเราๆ (ผมด้วย) มักคิดว่า เรารู้มากกว่าคนไข้และญาติ จึงมักจะถือวิสาสะในการสอนสั่งและให้ข้อคิด ไม่ต้องอื่นไกล ผมเองเผลอไปหลายครั้ง และมักจะคิดว่าตัวเองทำถูกอีกนะ ตอนนี้คงต้องคิดใหม่ครับ

ท่านนี่ เจ๋งจริง

เห็นจริงดังอาจารย์ว่าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท