แลกเปลียนเรียนรู้คุณอำนวย : 25. แหย่รังแตน


ต้องคิดให้รอบคอบ และไตร่ตรองให้ดีว่าจะใช้เทคนิคนี้เมื่อไร และอย่างไร เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเสมือนดาบสองคม หรือเหรียญที่มีสองด้านอยู่เสมอ

           ในการทำงานทั้งในส่วนของการทำงานในหน่วยงานที่ทำงานอยู่  และการทำงานกับชุมชน  บ่อยครั้งเหมือนกันที่ผมใช้คำถามหรือการนำเสนอประเด็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิด และแลกเปลี่ยนกันในวงกว้าง (เจตนาเพื่อการพัฒนาไม่ได้สร้างความขัดแย้ง)  

            คำถามหรือประเด็นที่ได้โยนเข้าไปในกลุ่มไม่ว่าจะในระดับใดๆ นั้น ผมขอเรียกว่าเป็นคำถามหรือประเด็นของการแหย่รังแตนครับ   ซึ่งหลายท่านอาจเคยอ่านมาแล้วบ้างในบันทึกของ ดร.แสวง  รวยสูงเนิน  

            จากสถานการณ์จริง   ในการที่จะกระตุ้นบุคคล หรือกระตุ้น/กลุ่มนั้น   การจำทำให้เข้าใจในสิ่งที่เราอยากจะสื่อ  หรือสร้างให้เกิดการเรียนรู้นั้นไม่ได้ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปากเสมอไป  บางครั้งก็มีอุปสรรค/ปัญหาต่างๆ มากมาย  ไม่ว่าจะเป็นการยอมรับ  ความคิด-ความเชื่อ   ความรู้เดิม/ประสบการณ์เดิม   แต่เทคนิคที่ผมมักจะใช้  และก็ใช้ได้ผลก็คือ เทคนิคการแหย่รังแตนครับ    สิ่งที่จำนำไปแหย่อาจจะเป็นคำถาม    เรื่องบอกเล่า  ตัวอย่าง    ฯลฯ   เพื่อท้าทายให้บุคคลเป้าหมายที่เราต้องการเกิดกระทำในประเด็นเหล่านี้  ซึ่งก็คือ

  • การฉุกคิด
  • คิดต่อ 
  • กระตุกต่อมคิด
  • หาแนวทางพัฒนา
  • ทบทวนตนเอง
  • ฯลฯ

            แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็ต้องคิดให้รอบคอบ และไตร่ตรองให้ดีว่าจะใช้เทคนิคนี้ในเรื่องใด   เมื่อไร และใช้อย่างไร  เพราะทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็นเสมือนดาบสองคม  หรือเหรียญที่มีสองด้านอยู่เสมอ   ต้องเข้าใจและยอมรับในความจริงข้อนี้ก่อน  เพราะเจตนาของเราอาจแปรเปลี่ยนไปได้หลากหลายตามสาร -ช่องทาง - เครื่องรับ-แปรความ  ฯลฯ  ตลอดจนความสามารถของเราในการแหย่....    ที่ระบุให้ทำใจยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นนี้ก็เพื่อที่จะได้เตรียมตัวเตรียมใจรับผลของการแหย่ของเรา   และพัฒนาการเทคนิคการแหย่รังแตนเพื่อไม่ให้แตนต่อยยังไงล่ะครับ    อิอิ......

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร. ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  5  กุมภาพันธ์  2551

หมายเลขบันทึก: 163541เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2008 16:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)
  • มารายงานตัวและมาดูพี่ๆแหย่รังแตน
  • สบายดีนะครับ
  • เข้าใจว่า
  • การใช้เทคนิคนี้ต้องถูกกับบริบทและสถานการณ์ใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณครับ
  • การกระตุ้นคนในความคิดเห็นส่วนตัว คิดว่าเป็นเรื่องศิลป์นะครับ (art ไม่ใช่ science-ศาสตร์-)
  • จะมีความจำเป็นอย่างมาก ในภาวะที่เราต้องการการปฏิสัมพันธ์กันแบบสองทาง เช่นตอนบรรยายในงานสัมมนา แล้วต้องการให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็น
  • การกระตุ้นทำได้หลายอย่างนะครับ เช่น มีสิ่งที่เหนือความคาดหมายให้ดู หรือคำถามที่ตอนได้หลายด้านและไม่มีด้านไหนผิด หรืออันที่เสี่ยงหน่อยคือแกล้งพูดให้ฟังดูเกินจริงหรือทำให้รู้สึกว่าเราพูดผิด
  • เรื่องที่จะสามารถกระตุ้นคนอื่นได้ ต้องเป็นเรื่องที่เขามีภูมิรู้เรื่องนั้นดีมาก จนเขามั่นใจว่าเขาสามารถแสดงความคิดเห็นได้ถูกต้องและทุกคนยอมรับ ซึ่งอันนี้ต้องรู้พื้นเพประสบการณ์ที่มาของเขาด้วยจึงจะทำได้ดี
  • ประสบการณ์อันหนึ่งที่ผมเคยใช้ ถือเป็น ลปรร นะครับ คือ การชี้ให้เห็นความคลุมเครือหรือความน่าสนใจในความคิดเห็นของใครสักคน ถึงเราจะรู้ว่ามันยังไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องก็ตาม
  • ด้วยความคลุมเครือที่ว่าหรือความน่าสนใจที่ว่า มันจะกระตุ้นให้คนอื่นอยากชี้ให้เห็นถึงจุดที่คลุมเคลือนั้นว่าที่ควรจะต้องเป็นอย่างไร
  • แล้วโดนแตนต่อย บ้างหรือยังคะ ??

มีอีกนัยหนึ่งครับ 

"ขว้างรังแตน"    เป็นพฤติกรรมของวัยเด็ก   (คุณสิงห์ป่าสักคงน่าจะเคยเจอ)  บริเวณที่เพื่อนๆชอบไปชุมชุมกัน  ไปนั่งคุยกัน  เล่นกัน   แล้ว อยู่ๆ ก็มีเพื่อนคนหนึ่ง  อุตริ!   ดันไปขว้างรังแตน หรือต่อที่มาทำรังตรงนั้นพอดี   วงของเด็กที่อยู่ตรงนั้น ก็แตกหือ  ไปคนละทิศ ละทางเลย

พฤติกรรมนี้  ยังเอามาใช้แซวผู้ใหญ่เหมือนกัน   ตัวอย่างเช่น  ในร้านน้ำชา  คนนั่งคุยกันอย่างออกรส ออกชาติ   อยู่ๆ ก็มีคนหนึ่ง โยนประเด็นที่ไม่พึงปราถนาเข้ามาในวง  อาจจะโยนแบบลอยๆ ไม่เฉพาะเจาะจงคนใด คนหนึ่ง  แล้ววงก็แตกเหมือนกันครับ 

 

P

 

  • สวัสดีครับ อ.ขจิต
  • ถูกต้องแล้วครับ....ต้องแหย่ให้ถูกกับบริบทและสถานการณ์
  • ไม่งั้นมีหวัง.....
  • สวัสดีครับ อ. tikapus
  • ใช่เลยครับ เป็นศิลปอย่างหนึ่งในการกระตุกความคิดครับ
  • หากเลือกใช้ให้เหมาะสม  จึงจะเกิดประโยชน์มาก
  • ขอบคุณมากเลยครับ ที่นำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยน

P

 

  • ต้องแหย่ก่อนครับ
  • ขั้นต่อไปก็เผารังแตน
  • ..อิอิ

P

 

  • ยังไม่เคยเลยครับ เพราะรู้ตัวและวิ่งหนีทันทุกครั้ง...อิอิ
  • แต่มีบ้างที่แหย่อย่างไรก็ไม่เป็นผล
  • อาจเป็นเพราะคนแหย่ยังมือใหม่

 

P

 

  • ตอนเป็นเด็กเคยเหมือนกันครับ ถูกแกล้งก็ต้องวิ่งป่าราบ
  • เคยเจอเหมือนกันหรือครับ....วงแตก
  • การแหย่ต้องฝึกและใช้ศิลปในการแหย่ ไม่อย่างนั้นก็ตัวใครตั้วมันนะครับ  อิอิ

สวัสดีครับ ท่านสิงห์ป่าสัก..

ชอบกินรังแตนครับ..ฮ่า..ฮ่า..

กระตุกต่อมคิด ไอ้ต่อมที่ว่าเป็นอย่างไรครับ

  • แต่เห็นด้วยครับ เพราะถ้าแค่ได้ยิน  คุณจะลืม
  • แต่ถ้าได้เห็น  คุณจะจำ (จำได้ว่าเคยเห็นที่ไหน..น้า..นึกไม่ออก)
  • ยิ่งได้ทำ   คุณจะเข้าใจ
  • ยิ่งทำนาน ๆไปคุณจะชำนาญ  และไม่ลืม
  • คุณนึกออกรึยัง...เห็นไหมว่าแตกต่าง..หรือเอาแค่..เข้าใจไหม..

    เผาเลยดีกว่า  ไปแหย่เดี๋ยวโดนแตนต่อยเอา  อิอิ

    สุดยอด

    * เพิ่งรู้นะครับอ้ายสิงห์  ว่าเทคนิคนี้เค้าเรียกว่า "การแหย่รังแตน"  น่าสนใจครับ

     

    P

     

    • สวัสดีครับท่านเกษตร(อยู่)จังหวัด
    • อิอิ....นั่นแหละครับแหย่รังแตน
    • ขอบคุณมากครับ

    P

     

    • สวัสดีครับพี่ชาญวิทย์
    • สบายดีนะครับ
    • บางครั้งลงมือเผาเลยก็น่าจะดีเหมือนกันนะครับ
    • จะได้ไม่ต้องโดนต่อย
    • ขอบคุณมากครับ

    P

     

    • ลองฝึกใช้ดูนะครับรับรองว่าได้ผลแน่
    • ใช้ในกรณีที่มีเวลาน้อย หรือต้องการให้เกิดการคิดสิ่งใหม่ๆ
    • ขอบคุณมากครับ

    ไม่ง่ายเลยจริงๆ ขอบคุณค่ะ

     

    • สวัสดีครับ newwave1
    • ต้องทดลอง-ฝึกบ่อยๆ ครับ แล้วจะสนุก
    • เพราะบางครั้งก็จำเป็นต้องใช้เพื่อการกระตุ้นบางอย่าง

    บางทีลองๆ ก็โดนแตนต่อย เพราะเหตุว่าทั้งอ่อนหัดและอ่อนอาวุโส แต่อาศัยใจรัก จะนำไปเป็นบทเรียน ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท