สนับสนุนการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตรในภาคสนาม(1)


ต้องค่อยๆ สร้างการเรียนรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นๆ เป็นลำดับ

           เมื่อวันที่ 15 มกราคม  2551 ที่ผ่านมา  ผมได้มีโอกาสลงไปร่วมประชุมศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนดลยีการเกษตรประจำตำบลลานดอกไม้  อำเภอเมืองกำแพงเพชร  และร่วมปฏิบัติงานกับนักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบล

          การลงไปปฏิบัติงานในครั้งนี้ เป็นไปตามแนวทางการทำงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  ที่ได้มอบหมายให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในระดับจังหวัด   ไปเป็นพี่เลี้ยง และผู้ประสานงานกับศูนย์บริการแลพถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล  โยแบ่งหน้าที่กระจายกันไปในทุกอำเภอ  โดยเฉลี่ยนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 1 คน ต่อศูนย์บริการฯ ตั้งแต่ 3- 10 ตำบล  มากบ้างน้อยบ้างตามสภาพของแต่ละอำเภอ

          ส่วนผมต้องไปเป็นผู้สนับสนุนใน 7 ตำบล ของอำเภอเมืองกำแพงเพชร  และตำบลลานดอกไม้นี้ก็เป็นหนึ่งใน 7 ตำบลเหล่านั้น

          ในภาคเช้า มีการประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลลานดอกไม้  ซึ่งมีการประชุมกันทุกเดือน  โดยในเดือนนี้ใช้สถานที่ ที่ทำการชั่วคราวของศูนย์บริการฯ ซึ่งก็ตั้งอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้  วันนี้นอกจากจะมีคณะกรรมการที่ประกอบไปด้วยกำนัน(ประธาน)  ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆ ที่เป็นคณะกรรมการบริหารแล้ว  ยังมีปลัด อบต.พี่ดำรงค์  มหาวงค์ และเจ้าหน้าที่พัฒนากรของ อบต.ลานดอกไม้ ร่วมประชุมด้วย

          ผมได้เข้าร่วมประชุม และได้นำเสนอผลกิจกรรมการเข้าค่ายยุวเกษตรกรของตำบล ที่เป็นผลงานของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลลานดอกไม้ร่วมกับ อบต.ลานดอกไม้ได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรม  (คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติม)  และจากการเข้าประชุมครั้งนี้สังเกตพบว่า  ชุมชนและท้องถิ่น ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการทำงานร่วมกัน เพื่อเสริมหนุนภาคการเกษตร   ซึ่งเป็นภาพที่พวกเราคงอยากเห็น  และพวกเรานักส่งเสริมการเกษตร   ก็จะได้ทำหน้าที่เป็นผู้อำนายความสะดวกและสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่  

          มีหลายๆ กิจกรรมที่คณะทำงานได้ริเริ่มที่จะทำ เช่นกิจกรรมการแข่งขันการดำนา เพื่อต้องการฟื้นฟูนาดำ การทำนาแบบดั้งเดิมและเกี่ยวข้าวด้วยมือเพื่อที่จะให้ชาวนาได้หันกลับมาหาวิถีชีวิตดั้งเดิม  กิจกรรมนี้ท่านกำนันตำบลลานดอกไม้ให้พื้นที่นาของตนเองเป็นแปลงเรียนรู้   ทางปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลก็ให้ข้อเสนอแนะและให้แนวคิดที่จะให้ชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีเพื่อกุ้งปหอย  ปูปลา จะได้กลับมา ซึ่งกิจกรรมจากความคิดของทุกฝ่ายเหล่านี้บางกิจกรรมก็สามารถดำเนินการได้เลย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลพร้อมที่จะสนับสนุน บางกิจกรรมก็เป็นแนวทางให้คณะกรรมการได้กลับไปคิดต่อเพื่อหาแนวทางทำงานในอนาคตต่อไป

           จากการเข้าร่วมประชุมในวันนี้ทำให้ได้มองเห็นการทำงานที่ชุทชนและท้องถิ่นได้เข้ามามีบทบาทในการคิด กำหนดแนวทางพัฒนาด้วยตนเอง  แม้จะเป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ เพราะหากเมื่อใดงานส่งเสริมกากเกษตรหรืองานพัฒนา ชุทชนและท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน  ก็เท่ากับว่าเขาได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของ เป็นสัญญาณที่ดีว่าน่าจะเกิคความยั่งยืนในการพัฒนา   แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น  การที่จะทำให้ชุมชนและท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการดูแลและพัฒนาภาคการเกษตรได้อย่างสมบูรณ์นั้น  ก็คงต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร  ต้องค่อยๆ สร้างการเรียนรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้นๆ เป็นลำดับ  โดยมีนักส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่คอยเสริมหนุนอยู่อย่างใกล้ชิด 

         ส่วนผมซึ่งมีหลายๆ พื้นที่ให้ได้ร่วมเข้าไปเสริมหนุน  และในขณะเดียวกันก็เข้าไปเรียนรู้ด้วย  ก็จะได้นำส่วนสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้   ไปขยายวงให้แก่เพื่อนนักส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่อื่นต่อไป

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.ครับ

วีรยุทธ  สมป่าสัก  18 มกราคม  2551

หมายเลขบันทึก: 159933เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2008 09:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)
  • ผมว่าการเสาะหาความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ครับ

 

                *  การทำงานในพื้นที่  ต้องทำด้วยใจจริง แล้วผลที่กลับมาคือ การได้ใจ(ที่มีแต่ความจริงใจ)  จากเกษตรกร 

                * ประสบการณ์ 7 ปี ในกรมส่งเสริมการเกษตร  สอนให้รู้อะไรตั้งหลายอย่าง 

สวัสดีครับ

  • ดีทีเดียว ที่ได้มีส่วนช่วยสนับสนุนอำเภอในการทำงาน
  • เพื่อลดช่องว่าง จังหวัดดีแต่สั่ง ถ้าทุกคนเหมือนสิงห์ กำแพงเพชร ก็น่าจะดี มากๆๆๆๆๆๆๆ
  • ขอบคุณมากครับ

P 

อ้อยควั้น

  • สวัสดีค่ะ...พี่สิงห์ป่าสัก
  • สบายดีนะค่ะ
  • ก็มีส่วนช่วยสนับสนุนเหมือนกัน...แต่ไม่ใช่ด้านส่งเสริมการเกษตร...
  • แต่เป็นการทำงานด้านอื่นที่มีส่วนช่วยเสริมด้านส่งเสริมการเกษตรค่ะ
  • ขอบคุณอ.สิงห์ป่าสัก ที่ได้มีส่วนผลักดันและขับเคลื่อนเสริมหนุนระบบการทำงาน ในเชิงรุก ณ.ปัจจุบัน
  • เป็นการให้ขัวญและกำลังใจผู้ปฏิบัติงานอยู่ในภาคสนาม และช่วยเสริมหนุนทำความเข้าใจการถ่ายโอนภารกิจของกรมส่งเสริมการเกษตรให้แก่อปท.ไปด้วยในต้วนะครับ
สวัสดีค่ะ คุณสิงห์ป่าสัก
      นกยังจำได้ว่า สมัยเด็ก ๆ ที่หน้าบ้านเป็นทุ่งนากว้างใหญ่ ตอนเด็ก ๆ มักชอบไปเดินเล่นที่คันนา ยังเจอ กุ้ง หอย ปู ปลา แหวกว่ายตามกอหญ้าให้เห็นเป็นประจำ  กิจกรรมยามเสาร์อาทิตย์ก็คือ แบกเบ็ดไปตกปลากับเพื่อน ๆ
       แต่เดี๋ยวนี้มองไปทางไหนก็ไม่เห็นทุ่งนาเลย แถมในทุ่งนาเดินไปมายังไม่เคยเห็นปลาสักกะตัว   น่าใจหายเนอะ ๆๆๆ  เวลามันผ่านไปไม่กี่ปีเอง
      ชื่นชมกับการ "คืนสู่มัญ"ค่ะ การกลับไปสู่การทำนาแบบเดิมได้ประโยชน์นับเอนกอนันต์เลยค่ะ  อยากเห็นภาพนั้นจริง ๆ กำแพงเพชรไม่ไกลเลยค่ะ  เริ่มงานวันไหน ขึ้น blog ไว้นะคะ จะตามไปชมกิจกรรมดี ๆ ค่ะ

สวัสดีครับ ท่านสิงห์ป่าสัก..

สร้าเครือข่ายได้ดีครับ..สมัยนี้ไม่มีเครือข่ายไม่ได้แล้ว..

การเกษตรปัจุบัน..ก็มาจากผลของการเกษตรในอดีต..

การเกษตรในอนาคต..ก็จะเป็นผลการส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบัน..

จริงไหมครับ..

แต่ถ้าเกษตร(อยู่)จังหวัดต้องรับผิดชอบตำบล 7 ตำบล ที่อยู่ไกลถึง 270 กม.คงยุ่งน่าดู...

P

 

  • สวัสดีครับคุณบอย  สหเวช
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยียน

 

 

P

 

  • สวัสดีครับน้องหยา
  • ดีใจแทนเกษตรกรบ้านเรานะครับที่มีนักส่งเสริมรุ่นใหม่ๆ มาทำงานส่งเสริม 
  • ขอให้ทำหน้าที่ของเราให้เต็มความสามารถ
  • จะติดตาม ลปรร. และให้กำลังใจผ่านบล็อกต่อไป  อย่าลืมขยันเขียนบันทึกมาแบ่งปันต่อไปนะครับ

P

 

  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • ผมก็ดีใจที่ได้ลงไปทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ภาคสนาม
  • เป็นการไปทำงานและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
  • ผมยังต้องเรียนรู้อะไรอีกมากมายเลยครับ  เพราะสังคมเปลี่ยนไปทุกวัน
  • แต่ยิ่งลงสนามก็ยิ่งมีความสุขครับ
  • ขอบคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับน้องอ้อยควั่น
  • เราต่างก็ช่วยกันคนละไม้ละมือ  ตามแต่จะถนัด
  • เยี่ยมมากเลยครับ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.เขียวมรกต
  • ขอบคุณมากครับ

P

 

  • สวัสดีครับ อ.นก
  • อิอิ...สงสัยพวกเราก็คงรุ่นๆ เดียวกัน ที่ทันเห็นในนาที่มีกุ้ง หอย ปู ปลา และน้ำใสๆ
  • จะพยายามตามหาสิ่งเหล่านี้ และนำมาแลกเปลี่ยนผ่านบล็อกนะครับ
  • อย่าลืมติดตามอ่านและให้กำลังใจ

P

 

  • สวัสดีครับท่านเกษตร(อยู่) จังหวัด
  • เป็นแนวทางการทำงานที่กำแพงเพชรครับ  แต่ก็ไม่ใช่ว่านักวิชาการทุกคนจะสนใจลงไปตามแนวทางนี้
  • โชคดีที่การเดินทางไม่ไกลมากนัก หากเป็น 200 กม.ก็คงเหนื่อยแน่ๆ ครับ  คงต้องหาวิธีที่ง่ายกว่านี้
  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาแลกเปลี่ยน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท