เมื่อคุณธรรม...นำการศึกษา โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ในงาน KM แห่งชาติ 3 (ถอดเสียงบรรยาย 2.2)


“การหยั่งรู้ไม่ได้มาด้วยการตั้งใจ หรือมาจากขั้นตอนของการศึกษา ...แต่มาจากใจโดยตรง ”

ต้องขออภัยครับ ที่ตอนจบค่อนข้างช้า อันเนื่องด้วยภารกิจจำเป็นมากโขพอสมควรครับ  เชิญติดตามได้ครับ....

 --------------------------------------------ตอนที่ 2.2 (จบ) ----------------------------- 

ยกตัวอย่างเด็กของเรานี่น่ะครับมาอยู่กับเราแค่เทอมเดียวน่ะครับก็คือ 5 เดือน แต่เขานั่งสมาธิทุกวันๆ..ตลอด 5 เดือนนั้น แล้วเขายังไม่ใช่แค่วันล่ะหนน่ะครับ เริ่มต้นทุกชั่วโมงเราก็จะให้เด็กนั่งสงบเงียบ สงบนิ่งตลอดเวลาน่ะครับ เพราะฉะนั้นเขาได้ฝึกวันละหลายหนทีเดียว ทำจิตใจให้สงบ เด็กอายุเจ็ดขวบครับคุณพ่อ-คุณแม่ก็พามาส่งมอบตัว ในเทอมที่สองเราก็คุยกับคุณครู ผู้ปกครอง แล้วก็เด็ก ผู้ปกครองก็ลองถามเด็ก ..โตขึ้นอยากเป็นอะไร เด็กก็ตอบหน้าตาเฉย..หนูอยากจะเป็นขั้นบันได ผู้ปกครองตกใจอะไรกันโรงเรียนนี้สอนอะไรกันนี่สอนให้เด็กเป็นขั้นบันได คุณครูก็ตกใจเราไม่เคยสอนอย่างนี้ ทำไมเขาคิดอย่างนี้ล่ะ แล้วผู้ปกครองก็ถามต่อ..ทำไมหนูอยากเป็นขั้นบันได เด็กก็ตอบหน้าตาเฉย..หนูอยากจะช่วยทุกคนก้าวไปในที่สูงๆ ..โอ้ เขาคิดไกลมากน่ะครับ คุณครูก็ถาม แล้วเธอไม่กลัวเหรอว่าคนจะเหยียบเธอแล้วเธอจะเจ็บ เด็กก็ตอบว่าในการช่วยเหลือคนอื่นบางครั้งเราก็ต้องยอม เราก็ต้องเสียสละ มาจากเด็กเจ็ดขวบครับ เขาคิดของเขาเอง เราไม่ได้สอน ความรู้แบบนี้น่ะ ปัญญามันเกิดขึ้นเอง เขาคิดอะไรที่ลึกซึ้งมาก ..มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงแห่งนึงเข้ามาศึกษาทำการวิจัย อยากจะรู้ว่าเด็กของเราเก่งมั้ย วิเคราะห์เก่งมั้ย เขาก็เลยตั้งโจทย์ให้เด็กได้ทำน่ะครับ ...เขาบอก อ้าว..เดี๋ยวจะให้เงิน 500 บาท สมมติน่ะจะให้เงิน 500 บาท แล้วก็ให้พวกเราไปซื้อซองจดหมายมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ สมมติเราซื้อเป็นปึกร้อยซอง สมมติราคา 70 บาท สำหรับร้อยซอง หรือซื้อปลีก ถ้าเผื่อซื้อปลีก ซองละบาท เราจะซื้อได้กี่ซองให้มากที่สุด เด็กของเราตอบโต้ทันที..ไม่ใช่ตอบโต้น่ะครับ แต่ถามอาจารย์ ทำไมล่ะครับอาจารย์..เราต้องรู้จักประหยัด ทำไมมีเงินแค่นี้เราต้องซื้อหมดทุกอย่าง อย่าไปใช้มันเลยต้องรู้จักประหยัด ต้องเก็บไว้ เรามีเรื่องอื่นที่จะต้องใช้เยอะแยะ ...โอ้ อาจารย์ก็งงน่ะครับ แต่ยังงัยดี คิดไปคิดมา..เด็กเก่งมาก โจทย์มันผิดมันไม่ถูกต้อง ไม่ควรจะให้โจทย์อย่างนี้น่ะครับ ..แต่นี่หละครับคือ เริ่มต้นของปัญญา เด็กเขาจะรู้เขาจะเข้าใจอะไรต่ออะไรด้วยตัวของเขาเองน่ะครับ แล้วพอปัญญาเกิดขึ้นนี่เราอาศัยสมาธิน่ครับ เด้กก็ต้องนั่งสมาธิกันทุกคน เด็กโต เด็กเล็ก รวมทั้งเด็กอนุบาล เขาก็นั่งสมาธิ ..ที่โรงเรียนสัตยาไสน่ะครับ ทุกวันๆ นึงหลายครั้ง แล้วก็ปัญญาก็จะเกิดขึ้น ความจำก็จะดีขึ้นน่ะครับ ที่ผมบอกแล้วว่าจากเด็กที่สอบได้ที่โหล่กลายเป็นที่หนึ่งก็เพราะว่าเนี่ย อันนี้เป็นการทดลองที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียน่ะครับ เขาเอาเด็กนักเรียน 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ไม่เคยฝึกสมาธิเลย เอามาทดสอบความจำได้ 40% พอมา กลุ่มที่สอง ความจำเพิ่มเป็น 60% พอมา กลุ่มที่สาม ฝึกสมาธิมา 2 ปี น่ะครับ ความจำอยู่ในระดับ 70% ตลอดเวลาความจำก็จะดีขึ้นๆ เรื่อยๆ น่ะครับ

     

 

   

 แล้วเราดูอย่างนักวิทยาศาสตร์อย่างนี้น่ะครับ ไอแซกส์ นิวตัน ผมโชคดีน่ะครับตอนที่เรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดส์ ได้ห้องอยู่ใกล้กับไอแซกส์ นิวตัน แต่เขาอยู่ก่อนผมที่นั่น 300 ปี ..น่ะครับ (หัวเราะ) แต่มันได้บรรยากาศ ได้บรรยากาศของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ เซอร์ไอแซกศ์ นิวตัน ..เนี่ยเขาชอบนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล ตั้งแต่เล็กๆ เขาไม่ชอบเล่นเหมือนเด็กคนอื่น เดี๋ยวเขาก็ไปนั่งอยู่เฉยๆ หลับตาอยู่ที่ใต้ต้นแอปเปิ้ลน่ะครับ สงบของเขาน่ะเขามีความสุขอย่างนั้น แล้วเขาทำอย่างนั้นเป็นประจำจนกระทั่งเขาโตแล้วเขาก็ยังไปนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล พอเขาคิดอะไรไม่ออกเขาก็ไปนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล วันหนึ่งเขาก้คิดว่าดาวหางฮัลเล่ย์มันจะกลับมาทุกๆกี่ปี คิดไม่ออกก็ไปนั่งอยู่ที่ใต้ต้นแอปเปิ้ล วันนั้นลูกแอปเปิ้ลตกลงมาครับ ..น่ะเขาบอกว่า โอ….รู้แล้วๆ 76 ปี เขาบอกคนทั้งโลกเลยครับแล้วถูกต้องเป๊ะเลย และในขระเดียวกันเขาค้นพบทฤษฎีแรงโน้มถ่วง ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตัน 3 ข้อ ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาฟิสิกส์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เขาไม่ได้ค้นพบทฤษฎีในห้อง LAB จากการวิจัยอะไร ไม่เลยครับ นั่งอยู่เฉยๆ อยู่ใต้ต้นแอบเปิ้ลน่ะครับ เนี่ยดูอย่างอัลเบิร์ตไอสไตล์ เขาค้นพบได้อย่างไร E=MC2น่ะ..ง่ายนิดเดียว แต่ทำไมเขาคิดได้คนอื่นคิดไม่ได้  เขาก็บอก…มันเกิดจากการหยั่งรู้ด้วยตนเอง น่ะครับ  แล้วเขาก็พูดด้วยคำพูดที่เป็นของเขาเอง การหยั่งรู้ไม่ได้มาด้วยการตั้งใจ หรือมาจากขั้นตอนของการศึกษา …แต่มาจากใจโดยตรง ถ้าเกิดเราเข้าไปในจิตใจของเราเองได้ มันก็จะเกิดการหยั่งรู้ด้วยตัวเอง เราก็จะรู้อะไรต่อไรด้วยตัวของเราเอง  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">
</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ผมไปสร้างยานอวกาศไปลงดาวอังคารเนี่ยน่ะครับ วิธีการก็คือไปนั่งสมาธิอยู่บนภูเขา ในรัฐแคลิฟอเนีย ไม่ได้ทำแบบฝรั่งเลย ตอนแรกพยายามน่ะครับ ก็ไปนั่งคิด นั่งวิเคราะห์อะไรต่อไร ทำแบบทดสอบแรงโน้มถ่วงอะไรต่อไร ปรากฏว่าไม่ได้ผล เพราะว่าชาวอเมริกันเขาทำอย่างนั้นแล้วไม่ได้ผล ผมก็เลยคิดขึ้นมาว่า …เออ เราอย่าไปตามหลังเขาเลย ผมก็ไปนั่งสมาธิอยู่บนภูเขาอยู่ในรัฐแคลิฟอเนีย นั่งไปนั่งมา โอยย..แล้วเราจะสร้างมันยังงัย มันถึงจะลงไปดาวอังคารได้น่ะครับ ก็เลยมาสร้าง พอสร้างเสร็จ เขาทดสอบ เขาฉลองกันใหญ่ บอกใช้ได้แล้วๆ  สั่งให้ผมสร้างให้เขา 3 ชุด ผมก็สร้างให้เขา 3 ชุด แล้วเขาก็ส่งขึ้นไป 2 ลำครับ เดินทางไป 250 ล้านไมล์ พอไปถึงเครื่องของผมก็ค่อยๆ นำยานอวกาศนั้นลงไปสู่พื้นดินของดาวอังคาร เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่ 2 ลำครับ ลงไปบนดาวอังคารได้สำเร็จ ส่วนลำที่ 3 เขาไม่ได้ส่งขึ้นไป ตอนนี้อยู่ในพิพิธภัณฑ์ที่แหลมเคนเนดี้ น่ะครับ ไปดูได้ (เสียงปรบมือของผู้รับฟังดังขึ้นๆๆ) แต่นี่หละครับก็คงจะเห็นแล้วว่า เราไม่ต้องตามหลังฝรั่งเขาเลย เรามีของดีของวิเศษ ไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา น่ะครับ แต่พอเราไปสอนศาสนาอื่น เราก็อย่าไปสอนอย่างนั้นก็แล้วกันน่ะครับ แต่เราก็อธิบายขั้นตอนของการพัฒนาจิตใจของตัวเองน่ะครับ ซึ่งเขาก็ยอมรับผมไปทั่วโลกจริงๆครับ ไปพูดเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้ทุกคนก็ยอมรับกัน แล้วก็เป็นผลดีในด้านจิตวิทยาน่ะครับ ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ความมั่นใจดีขึ้น การเข้ากับคนอื่นได้ง่ายขึ้น ส่วนทางด้านอารมณ์จะลดลงครับ ความกดดัน การเอาเปรียบผู้อื่น ความหงุดหงิด ความกลุ้มใจ ความก้าวร้าว ความตกใจความกลัว ล้วนลดลงไปทั้งสิ้นเลย เพราะฉะนั้นมีประโยชน์มากมายเลยน่ะครับ </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">แล้วก็เติมอีกนิดนึงน่ะครับ ก็คือการเรียนรู้เพื่อที่จะยกระดับจิตใจของเขาให้สูงขึ้นเนี่ย ครูมีบทบาทมากเลย จากการวิจัยที่โรงเรียนของผมนะครับ เจอว่า ไม่มีอะไรวิเศษยิ่งกว่า ครูที่ดีจะช่วยให้เด็กเป็นคนดีได้  เพราะฉะนั้นครูจะมีบทบาทที่สำคัญที่สุด รองลงมาติดๆ กันน่ะครับ ก็คือการฝึกสมาธิ ครูจะเหนือกว่าการฝึกสมาธิ ทั้งสองอย่างนี้สำคัญมากเลยน่ะครับ เราต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับเขาครับ แล้วการสร้างแรงบันดาลใจเนี่ยมันได้ได้จากการพูดคุยเฉยๆ น่ะครับ แต่มันได้จากการเข้าถึงใจของผู้เรียนเลยน่ะครับ การสร้างแรงบันดาลใจเนี่ย อาศัยความรัก ความเมตตา ครูต้องมีความรักความเมตตา ต่อศิษย์ รักลูกศิษย์ของเราน่ะครับ โดยไม่หวังผลตอบแทนเลยนอกจากความดีน่ะครับ จะให้เกิดขึ้นกับตัวเด็กน่ะครับ เพราะฉะนั้นจุดนี้เราต้องใช้สัมผัสที่ 6 เพราะว่าเด็กเขาจะรับได้โดยไม่ต้องไปพูดอะไรเลย ครูจะต้องพูดจากใจ แล้วมันก็จะเข้าไปถึงใจของผู้เรียนน่ะครับ แล้วเราสามารถสร้างแรงบันดาลใจด้วยวิธีการอันนี้น่ะครับ ที่จะนำไปสู่ใจของผู้ฟังอย่างรวดเร็ว แล้วก็เราเจอว่าเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงได้เร็วมากเลย นโยบายของท่านรัฐมนตรี ของรัฐบาลนี้จะสามารถเกิดผลได้อย่างรวดเร็วถ้าเผื่อเรารู้เคร็ดตรงนี้น่ะครับ ทั้งประเทศน่ะครับอันนี้ต้องรีบดำเนินการ ท่านรัฐมนตรี วิจิตร ศรีสะอ้าน ก็จะมาเยี่ยมเรา วันที่ 13 ธันวาคม นี้ น่ะครับจะมาดูที่โรงเรียนน่ะ ว่าทำยังงัยถึงได้ผลเร็ว แล้วก็สามารถเปลี่ยนแปลงเด็กของเราได้น่ะครับ  ท่านกำลังจะมาน่ะคัรบ เดี๋ยวก็คงจะได้ดูแล้วก็คุยกัน </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ความเมตตาก็เป็นเรื่องสำคัญ ศีล สมาธิ ปัญญา เมตตา ต้องไปด้วยกันหมด แล้วเมตตานี้ผมเคยทดลองแผ่เมตตาให้ต้นไม้ที่จุฬาฯ ให้นิสิตเป็นคนแผ่เมตตา เราเริ่มต้นด้วยการปลูกจากเมล็ดน่ะครับ ต้นดาวกระจาย สูง 2 นิ้ว นะครับ เราแบ่งออกเป็น 2 แปลง ดินเราผสมกันก่อนน่ะครับแล้วค่อยแยกออกไป เราให้น้ำ ให้ปุ๋ย ให้อะไรทุกอย่างเท่าเทียมกันหมด ทั้ง 2 แปลง ปรากฏว่าแปลงที่ได้รับความเมตาจากพวกนิสิตเนี่ยนะครับมันจะโตเร็วขึ้นมาน่ะครับ เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เราวัดผลน่ะครับข้างที่ได้รับความเมตตา มีดอกทุกต้น ความสูง จะสูงกว่าอีกข้าง 49.2 % อันนี้โดยนิสิตเอง ควบคุมโดยอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ ฝ่ายพฤกษศาสตร์น่ะครับเข้ามาช่วยควบคุม แล้วเราก็เห็นว่ามันมีความแตกต่างกันอย่างเยอะเลย  เอาล่ะดังนั้นความรักความเมตตา เนี่ยสำคัญมาก เด็กจะเจริญเติบดตได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับความรัก ความอบอุ่นจากพ่อ-แม่ เพราะว่าพ่อ-แม่คือครูคนแรกของลูกน่ะครับ พ่อ-แม่จะมีความสำคัญมากเลย แล้วครูก็เหมือนกันครับ ต้องให้ความรักความเมตตาต่อศิษย์เสมอ เอาล่ะตอนนี้เรามาดูบทบาทของครูกันสักนิดหนึ่งน่ะครับ เราเอากระบวนการเรียนรู้เมื่อกี้เนี่ยเข้ามาใช้ในการสร้างรูปแบบการสอน ประการแรกเราต้องเข้าใจว่า เขาต้องการอะไร กรณีนี้เราต้องการสร้างคนดีเหนือสิ่งอื่นใด เราต้องการให้เขาเป็นคนดี อย่าไปห่วงเรื่องความเก่ง เรื่องความเก่งเราอย่าไปเน้นความเก่งครับ สร้างความดีกันให้ได้ แล้วเขาจะเก่งเอง เพราะฉะนั้นเป้าหมายของรูปแบบนี้ก็คือ สร้างคนดีขึ้นมา น่ะครับ เราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้เรียน ผู้เรียนไม่ใช่หุ่นยนต์ ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่เราจะป้อนข้อมูลให้เขา ใส่ข้อมูลให้เยาเยอะแยะน่ะครับ แล้วก็เด็กท่องจำ …เอาล่ะเขาจะเก่ง เขาสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ แต่รับรองว่าเขาสอบเสร็จแล้วเขาลืมหมดล่ะครับ เขาไม่เก็บไว้ ความจำจะไม่อยู่กับเขาต่อไป เราลืมหมดใช่มั้ยครับตอนที่เราเรียนอยู่ชั้นประถมเราเรียนอะไรบ้าง ถ้าเราไม่ใช่ครูเราก็คงลืมหมดแล้วล่ะ ว่าเราเรียนอะไร เพราะฉะนั้นเมื่อเราเข้าใจผู้เรียนว่าเขาคือมนุษย์ไม่ได้เป็นหุ่นยนต์ เราก็ต้องจัดการเรียนการสอนว่าเขาคือมนุษย์ เขาจะต้องมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เขาจะต้องซักถามเราได้ หาคำตอบจากเรา แล้วเราก็จะต้องหาวิธีให้เขาหาคำตอบด้วยตัวเขาเอง แล้วเขาก็จะต้องหาคำตอบ เรียนรู้ด้วยตัวของเขาเองน่ะ แล้วเขาต้องเข้าใจวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ แล้วบทบาทของครูก็ต้องเปลี่ยนครับ เราไม่ใช่ครูผู้สอนอีกต่อไปแล้ว เราเป็นครูผู้อำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ต้องช่วยให้เขาเกิดการเรียนรู้ครับ เราต้องให้เขามีส่วนร่วมในวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์เราต้องช่วยเขา เขาจะต้องบอกเราว่าเขาอยากจะเรียนรู้อะไร อยากจะเรียนรู้อย่างไรน่ะ ไม่ใช่ครูเพียงจัดคนเดียว เราต้องให้เด็กมาช่วยจัด แล้วเขาจะสนุกสนาน เขาอยากจะเรียนรู้แล้วเขาจะเรียนรู้ได้ดีมาก ถ้าเขามีส่วนร่วมแบบนี้น่ะครับ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"></p> …เรามาเข้าหลักการสัดนิดหนึ่ง หลักการของรูปแบบอันนี้น่ะครับ อันแรกนี้สำคัญที่สุดเลย แบบอย่าง แบบอย่างครับเพราะว่าผู้เรียนนี้เขาเห็นเราเป็นอย่างไร เขาเลียนแบบเราได้เร็วมาก อย่างครูพละนะครับ สอนให้เล่นพละนี้ อ้าว..ทุกคน ยกมือขึ้นน่ะ เราทำให้เขาดูใช่มั้ยครับ นักเรียนเห็นทำตามแบบ เขาทำตามที่เราพูดหรือเปล่า เปล่าเลย เราบอกว่า ยกมือขึ้น เขาเห็นเรายกมือขึ้น แต่เขาเห็นกระโดดด้วยใช่มั้ยครับ ถ้าเผื่อเราบอกยกมือขึ้น ไม่ใช่ยกมือเฉยๆ ถ้าเผื่อเราบอกยกมือขึ้น ..บางคนยกมือข้างเดียว ยกมือสองข้างอะไรอย่างนี้ แต่นี้เขายกทั้งสองข้าง เพราะอะไรเราทำให้เขาดู เขากระโดดด้วย เพราะเรากระโดดให้เขาดู เขาไม่ได้ทำตามที่เราบอก แต่เขาทำตามที่เราทำ เพราะฉะนั้นครูต้องเป็นแบบอย่างครับ ไม่ใช่ทำเฉพาะต่อหน้า สมมติว่าเราอยากจะให้เด็กงดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า แต่เสร็จแล้วพอถึงวันครูครับ เราตั้งโต๊ะไว้เลี้ยงกันใช่มั้ยครับ เราตั้งขวดเหล้าไว้เต็มเลย ผมบอกอ้าว..ทำอย่างนี้ได้ยังงัย แล้วเด็กก็มาเสิร์ฟด้วยครับ แล้วเขาจำน่ะครับ โอย.. เพราะเราทำตัวอย่างแบบนี้น่ะครับ สอนเขาอย่าดื่มเหล้าน่ะ อย่าสูบบุหรี่ เขาก็สูบบุหรี่เอา น่ะฮะ ใช้ไม่ได้เลยแบบอย่างแบบนี้ เพราะว่าเด็กจะไม่มีวันเชื่อเราเลย แล้วเราสอนได้ยังงัย ในเมื่อเราสอนในสิ่งที่เราไม่เคยเชื่อ เราบอกอย่าสูบบุหรี่แล้วเราไปแอบสูบที่บ้าน เราอาจจะไปแอบสูบที่บ้าน เราอาจจะไม่ได้สูบต่อหน้าเด็กที่โรงเรียน  แต่เราไม่เชื่อพอเราไม่เชื่อในสิ่งที่เราพูดมันขาดพลังครับ เราสอนให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงเราจะต้องมาจากใจของเรา เราเชื่อในสิ่งนั้น ผมจะสั่งครูเลย ห้ามสอนในสิ่งที่ตัวเองปฏิบัติไม่ได้ นี้สำคัญมากเลยครับ ต้องไม่ให้ครูสอน ครูต้องเป็นตัวอย่างในสิ่งที่ตัวเองจะสอน ต้องเป็นแบบฉบับ พอครูสอนอะไรแล้วมันมาจากใจ เขาเชื่อในสิ่งนั้น แล้วมันเข้าไปถึงใจของเด็กแล้วมันก็เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเกิดเราไม่พูดจากใจ แล้วเราไม่เชื่อ พูดตามทฤษฎี ตามหนังสือ  โอว…มันไม่ได้ผลเลยครับ เด็กท่องได้แต่เด็กก็ไม่ปฏิบัติ ครูก็ไม่ปฏิบัติแล้วมันจะเกิดประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้นการเป็นแบบอย่างนี้สำคัญ สอนด้วยแบบอย่าง …ผมจะตั้งกฎไม่สำหรับครู 2 ข้อน่ะครับ ข้อ 1 จงเป็นตัวอย่างที่ดี นี่สำคัญมาก ข้อ 2 จงกลับไปดูข้อ 1 ใหม่  มีอยู่ 2 ข้ออย่างนี้น่ะครับ ให้เขากลับไปกลับมา จงเป็นตัวอย่างที่ดี แค่นี้เองครับนี่คือครูที่ดีน่ะครับ เพราะฉะนั้นเราต้องปรับปรุงครูกันใหม่น่ะครับ เราใช้หลักการของ EDU CARE  edu care นี่ภาษาลาติน เป็นรากศัพท์ของคำว่า Education ตอนนี้เริ่มใช้กันมากขึ้นๆ แล้วในวงการศึกษา ความหมายเดิมของ edu care (เอ็ดดูคาเร่) น่ะครับ ภาษาลาติน หมายถึงการดึงเอาสิ่งที่ดีที่งามออกมาจากจิตใจของผู้เรียน ดูอย่างโซคราติสน่ะครับ นักปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ วิธีการสอนลูกศิษย์ของเขา เขาไม่สอนเลย เขาจะไม่บอกอะไรเลย เขาตั้งคำถาม อ่ะ..บอกว่า ถ้าเผื่อตอบไม่ได้ เขาตั้งคำถามที่ง่ายขึ้นๆ น่ะครับ ในที่สุดผู้เรียนก็จะตอบได้ แล้วเขาค่อยๆ ดึงเอาคำถามที่ยากขึ้นๆ ไปเรื่อยๆ  แต่สอนให้เด็กคิดเอง หาความรู้ด้วยตัวของเขาเองน่ะครับ  ..หลักของ edu care นี้อย่าสอนครับ ดึงเอาสิ่งที่ดีที่งาม โดยเฉพาะคุณธรรมนี้สอนกันไม่ค่อยได้ครับ แต่ถ้าเผื่อเราให้มันออกมาจากใจของผู้เรียน โอ้โห..เขาจะรู้ด้วยตัวของเขาเอง นำเอาไปใช้ด้วยตัวของเขาเองได้ ..แล้วก็หลักการอีกอย่างหนึ่งน่ะครับ อย่าสอนให้เขาชิงดีชิงเด่นกัน เขาจะเห็นแก่ตัวครับ ทำไมเราจะต้องบอกเกรด ..นี่เด็กคนนี้เรียนเก่งเกรด 4   เด็กคนนี้โง่เกรด 1  หรือ ab. ตกหมดน่ะครับ แล้วอย่าไปบอกว่าใช้ไม่ได้เด็กคนนี้โง่ ..เด็กไม่โง่ครับ เด็กไม่มีปัญหาๆ มันอยู่ที่พวกเราครับ เราต้องเข้าใจทฤษฎีของพหุปัญหาใช่มั้ยครับ พหุปัญญาของการ์ดเนอร์ เด็กคนนึงเก่งวิทยาศาสตร์ แต่ไม่เก่งคณิตศาสตร์ มีเยอะแยะไปครับ เด็กเก่งคณิตศาสตร์แต่ไม่เก่งภาษามีเยอะแยะไป เพราะฉะนั้นให้เขาช่วยกันครับ Collaborative Learning การเรียนรู้แบบร่วมมือ เขาร่วมมือช่วยกัน คนไหนอ่อนแอเพื่อนๆ ไปช่วยกันเลย เมื่อเขาทำงานเป็นกลุ่ม เราต้องประเมินเป็นกลุ่มน่ะฮะ อย่าไปประเมินเด็กคนเทียบนึงเทียบกับเด็กอีกคนนึง ไม่ได้เลย เขาต้องต้องชิงดีชิงเด่น เขาจะต้องเอาชนะคนอื่น ….เราประเมินเป็นกลุ่ม  เอาล่ะเราก็ยังต้องประเมินคนๆ นั้นน่ะ  แต่ละคนๆ แต่เราต้องเปรียบเทียบกับตัวเขาเองเมื่อเดือนก่อน…เขาดีขึ้นมั้ย  เขามีความรู้มากขึ้นมั้ย อย่าไปเปรียบเทียบกับเด็กคนอื่น เทียบกับตัวเขาเองน่ะ แบบนี้ประเมินได้  ทุกคนก็จะต้องปรับตัวเอง คนเก่งก็ตะต้องเก่งมากขึ้น คนดีก็ต้องดีมากขึ้น แล้วแต่ว่าเราจะประเมินอะไร  ถ้าเขาเก่งมาก เขาได้ 4 อยู่แล้ว แต่เปรียบเทียบกับตัวเอขาเอง เขาได้เกรด  4  อยู่แล้ว แต่เขาไม่ดีขึ้นไม่เพิ่มอะไรมากขึ้น เขาก็อยู่อย่างนั้น ถ้าเผื่อตามปกติแล้วเราก็ประเมินแล้วก็ให้ 4 ไปเรื่อยๆ  แต่ไม่ครับถ้าเผื่อไม่มีอะไรดีขึ้น ลดลงไปครับ ต้องกระตุ้นอย่างนั้น คือเทียบกับตัวของเขาเอง แล้วก้ประเมินทั้งกลุ่มเด็กก็จะช่วยกัน ..อย่างเด็กของผมอยู่ ม.6 เนี่ย.. เด็กคนไหนมีแววว่าจะเข้ามหาวิทยาลัยกับเพื่อนๆ ไม่ได้ เขาจะไปรุมกันเลยเขาจะไปช่วยกัน ไม่ได้แล้วเราต้องไปด้วยกัน เราต้องเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยด้วยกัน เด็กทุกคนเข้าได้หมด  เพราะฉะนั้นในการคัดเลือกเด็กของเราๆ ไม่เคยคัดเคนเก่งเลยน่ะครับ เราไม่ได้คัดเด็กเลย เราคัดผู้ปกครอง เราสัมภาษณ์ผู้ปกครองเป็นหลักครับ  ต้องขออภัยจริงๆ อันนี้มันแน่นมากครับ แย่งกันเข้าเยอะ ถ้าเผื่อผู้ปกครองบอกว่าอยากจะให้ลูกเป็นคนเก่งล่ะก็ …โน่นๆ ไปโรงเรียนโน้นเขาสอนให้เป็นคนเก่ง เราก็ไม่รับน่ะครับ แต่ถ้าเผื่อบอกว่าต้องการให้ลูกเป็นคนดีอย่างนี้เราสนใจรับ เพราะว่า ครู ผู้ปกครอง นักเรียน ต้องไปด้วยกัน ไม่ใช่ผู้ปกครองไปทางนี้ เด็กแล้วก็โรงเรียนไปทางนี้ ไปกันคนละทิศคนล่ะทาง แล้วเกิดความขัดแย้งแล้วก็ปัญหาเกิดขึ้นครับ เราต้องการให้วิสัยทัศน์ตรงกัน น่ะครับ   เอาล่ะเรามาดูกระบวนการวิธีการอย่างรวดเร็วน่ะครับ เริ่มต้นด้วยการฝึกสมาธิเสมอทุกชั่วโมงครับ ทุกชั่วโมงไม่ใช่แค่ตอนเช้าอย่างเดียวครับ ก่อนเริ่มต้นวิชาอะไรต่ออะไรแล้วแต่ครับ ครูสอนให้เด็กนั่งสงบนิ่ง ทำจิตใจให้สงบ ถ้าเผื่อเราอยากให้เขาเป็นคนดีต้องสร้างความสงบ ปรากฏว่าความจำเขาดีขึ้น การเรียนก็ง่ายขึ้นน่ะครับ พอสอนอะไรเขาตั้งใจฟัง  แล้วพอครูให้การบ้านอะไรเขาตั้งใจทำ เขาจะมีสมาธิในการเรียน การศึกษา เขาจะคิดอะไรต่ออะไรด้วยตัวของเขาเองได้ เสร็จแล้วครูต้องสร้างแรงบันดาลใจทันที น่ะครับ สร้างแรงบันดาลใจน่ะครับ เอาใจของเราไปใส่ใจของเด็ก เอาใจของเด็กมาใส่ใจของเรา นี่คือวิธีการที่เราจะพูดจากใจไปสู่ใจ น่ะครับ  ต้องฝึกเขาอันนี้ต้องฝึกใหม่ การเปลี่ยนแปลงเด็กพอเราพูดอะไรเขาจะประทับใจ พอเราสร้างความประทับใจได้เขาจะเข้าใจอะไรต่ออะไรได้เร็วมาก แล้วก็เราต้องสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัยครับ ไม่ใช่เด็กเขาจะคุยกัน เขาจะปรึกษาหารือกัน คุณครูเห็นเข้า เงียบ!!!! เด็กก็ตกใจน่ะคัรบ เพราะเขารู้สึกไม่ปลอดภัย พอเด็กถามอะไร ครูก็บอกว่า เงียบน่ะ ถามอะไรมากนักนั่งอยู่เฉยๆ อันนี้บรรยากาศไม่ปลอดภัยเลยครับ .เราต้องให้เด็กตั้งคำถามเยอะๆ การเรียนรู้การเป็นนักวิทยาศาสตร์นี้เราต้องตั้งคำถามเป็นครับ แล้วจะต้องปลอดภัยตั้งคำถามจะต้องไม่โดนครูด่า ไม่โดนครูว่าน่ะครับ เพราะฉะนั้นบรรยากาศในชั้นเรียนนี่ปลอดภัยมากเลย เด็กจะต้องสามารถคุยกันได้ คุยกันปรึกษาหารือกัน ปรึกษาเรื่องงานเรื่องการเรียน..อย่าไปว่าเขา  บอกเขาเลย…เรามาช่วยกันหาคำตอบด้วยกัน มาช่วยกัน บางทีเด็กถามอะไรมันตรงข้ามกับสิ่งที่คุณครูสอน..ก็ได้  เราต้องรับฟังว่า นี่ความคิดของเธอ นี่ความคิดของครู มันต่างกันน่ะ เรามาดูกันว่ามันควรจะเป็นอย่างไร เราไปค้นหาคำตอบด้วยกัน เราไปศึกษาด้วยกัน อาจะผิดจะถูกก็ได้ เราให้กำลังใจเขา  ..ครูจะต้องเป็นผู้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็กตลอดเวลาเลยครับ เราต้องเป็นครูที่ดีน่ะครับ แล้วเราก็นำคุณค่าความเป็นมนุษย์หรือคุณธรรมออกมาจากจิตใจของเด็กให้ได้น่ะครับ  เราบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์หรือคุณธรรมเข้าไปในทุกๆ วิชาหรือกิจกรรมน่ะครับ นี่คือการบูรณาการ  แล้วเราก็ใช้วีการสอนที่คุณครูรู้ดีอยู่แล้วครับ อาจจะใช้ละคร ใช้นิทาน  ใช้เกมส์ ใช้การออกสนาม ใช้การสร้างชมรม อะไรก็ได้ครับ ที่หลากหลาย ไม่จำเจ ถ้าเผื่อเราฟังจากคุณครูอย่างเดียว แล้วเราก็สอนไปๆ แล้วเราอ่านหนังสือให้เด็กฟัง เด็กเบื่อครับ ต้องหากิจกรรมที่หลากหลายเพื่อเขาจะเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเองน่ะครับ แล้วเราก็สอนเขาตรงไปสู่ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สร้างแรงบันดาลใจส่งผ่านประสาทสัมผัสที่ 6 น่ะครับ นี่ก็คือหลักการของครูนะครับ เวลาผมหมดจริงๆ น่ะครับ ต้องขออภัย …นี่หละครับ ครูมีบทบาทสำคัญมากน่ะครับ สร้างความประทับใจ สร้างแรงบันดาลใจ ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้น่ะครับ ไม่ใช่สอนเอาๆๆๆๆๆ ฟังอย่างเดียวอะไรนี้ไม่ได้เลยครับ  บรรยากาศต้องดีครับ บรรยากาศของผู้เรียนจะต้องเต็มไปด้วยความรัก ความเมตตา เต็มไปด้วยความสงบสุข ..ท่านเข้าไปที่โรงเรียนน่ะครับ จะรู้สึกเลยครับเพราะที่นี่บรรยากาศดีมาก มีความสงบสุขยังงัยก็ไม่รู้ สัมผัสได้น่ะครับ เดี๋ยวก็เห็นเด็กซึ่งเต็มไปด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">...มีคนถามคำถามมาน่ะครับ ผมตอบให้อย่างรวดเร็วก็แล้วกัน ผมเปลี่ยนชีวิตผมได้ยังงัยตอนผมอายุ 15 ทำไมผมมาฝึกสมาธิน่ะครับ จริงๆ แล้วคุณพ่อผมนี้เป็นนักการศึกษาที่ดีมาก ตั้งแต่เล็กๆ ท่านเห็นผมเป็นเด็กเกเร น่ะครับ ท่านก็เลยสอนผมน่ะครับ พอสอนผมๆ ไม่ฟัง ผมวิ่งหนี ..จนกระทั่งวันหนึ่ง พ่อเล่านิทาน ผมนั่งฟังน่ะ ชอบครับ ชอบฟังนิทาน วันล่ะ 2 เรื่อง  แล้วฟอฟังแล้วมันก็ค่อยๆ ฝังลงไปในจิตใต้สำนึก พอท่านเล่านิทาน ท่านจะเสริมเรื่องคุณธรรมเข้าไป พอโตขึ้นมาครับตอนอายุ 15 เกเรมากๆเลยเพราะว่าไปอยุ่ตามลำพัง เด็กประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส เด็กที่นั่นเขาเกเร เราก็เกเรหนักกว่าเขาอีก จนกระทั่งวันนึงผมกำลังหลับอยู่ตื่นขึ้นมาตกใจ น่ะครับ ได้ยินเสียง แล้วก็มันมีอะไรมาบอกผมน่ะครับ เป็นเรื่องแปลกประหลาด แต่ก็เอาหละนี่คือข้อเท็จจริง ผมตกใจตื่นขึ้นมาครับ ได้ยินเสียงเรียกชื่อผม 3 ครั้ง อาจอง อาจอง อาจอง  ทำไมถึงทำอย่างนี้ ..ผมตกใจนึกว่าผีมาหลอกน่ะครับ ..อย่าไปสนใจเรื่องผี เราหลับต่อ ..วันที่ 2 ก็เกิดขึ้นอีก วันที่ 3 ก็เกิดขึ้นอีก ทีนี้นอนหลับไม่ได้ล่ะ ได้แต่คิดว่าเกิดอะไรขึ้น ก็เลยสงสัยอาจจะมีอะไรมาเตือนเราๆ เป็นเด็กเกเร เริ่มรู้ตัวล่ะ ไปหาบาทหลวงครับเพราะที่นั่นเป็นโรเรียนของชาวคริสต์ บาทหลวงก็บอก..มา มาสวดมนต์ด้วยกัน ท่านพยายามให้ผมเข้าโบสต์ตลอด แต่ผมไม่ฟังวิ่งหนีตลอด คราวนี้ท่านดีใจมากเลยเข้าโบสต์ด้วยกันท่านก็บอกต้องมาอ่านคัมภีร์น่ะ ท่องคัมภีร์กับท่าน ก็หลายอาทิตย์ครับศึกษาไป จนกระทั่งวันนึงท่านสอนวิธีการว่าจะต้องมาสวดมนต์ด้วยกัน ท่องดังๆ ..ไม่ใช่ล่ะครับเพราะเราท่องมาจากใจก็ได้ ไม่จำเป็นต้องท่องดังๆ ก็ได้ ..ทีนี้หละครับ หน้าดำ หน้าแดง ชี้นิ้วไปที่ประตู Get Out!!!  ท่านไล่ผมออกไป .ผมน้ำตาไหล ไม่ได้คำตอบ ผมเลยไปหาอาจารย์ใหญ่ๆ บอกว่าเธอต้องไปศึกษาเอาเองก่อน เดี๋ยวทุกคนใจเย็นแล้วเราค่อยว่ากันใหม่  ผมเลยไปเข้าห้องสมุดนึกขึ้นมาได้  เราเป็นชาวพุทธ น่าจะมีอะไรที่ช่วยได้ ก็ไปค้นดูบทความ ไปเจอเกี่ยวกับการฝึกเรื่องสมาธิ ..ใช่ล่ะเราจะต้องฝึกให้ได้ ..แค่นั้นเองครับ ชีวิตมันเปลี่ยนแปลง ใครจะด่าผมๆ ก็ยิ้มน่ะครับ ความจำ การเรียนอะไรต่ออะไรก็ดีขึ้นน่ะครับ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วมากครับ จะเรียกว่าโชคดีก็คงจะไม่ใช่น่ะครับ เป็นสิ่งที่คุณพ่อได้เตรียมให้ตั้งแต่เล็กๆ คุณพ่อเป็นนักการศึกษาที่สำคัญมากคนหนึ่งของประเทศไทยเราน่ะครับ แล้วก็ทุกสิ่งทุกอย่างได้เตรียมพร้อมให้ผมได้เกิดการเปลี่ยนแปลง ..และนี่ก็ได้ตอบคำถามไปแล้วครับ ..เวลาหมดจริงๆครับ ต้องขออภัย ..ขอสวัสดีทุกท่านครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="center">——————————–</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="center">ขอบคุณที่กรุณาติดตามจนจบครับ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal" align="right"></p>



ความเห็น (4)
  • ขอบคุณพี่วิชิตครับ
  • ทั้งภาพและเรื่องเล่า เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพจริงๆ ครับ
  • ผมคงยังไม่แสดงความคิดเห็นอะไรมากในตอนนี้ เพราะต้องไปขออ่านก่อนครับ
  • พี่อย่าลืมไปประชุม น่ะครับ
  • ขอบคุณอีกครั้ง และขอเป็นกำลังใจให้ครับ
ขอบคุณคุณวิชิตมากค่ะ ที่นำมาถ่ายทอด
  • วันนั้นได้เข้าฟังห้องนี้ด้วยค่ะ แต่เป็นตอนท้ายๆ
  • ขอบคุณมากค่ะ
  • ขอปรบมือให้ดังๆนะค่ะ

ต้องเพิ่มตำแหน่งให้พี่วิชิตอีกตำแหน่งแล้วนอกจากคุณอำนวย คือ คุณถอด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท