ความเป็นชุมชนและเครือข่าย...ยังไงกัน?


ทำไมเวลาพูดหรือเขียนแล้วมันต่างกัน หรือประมาณว่าใช้เพื่อให้เท่ห์มั่ว ๆ ไปอย่างนั้น

     ผมโดนรุ่นน้องคนหนึ่งถามด้วยความสงสัยว่าความเป็นชุมชนและเครือข่าย มันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ทำไมเวลาพูดหรือเขียนแล้วมันต่างกัน หรือประมาณว่าใช้เพื่อให้เท่ห์มั่ว ๆ ไปอย่างนั้น จริง ๆ แล้วผมก็ได้ตอบไปแล้ว แต่ใช้ทักษะที่ได้จากระสบการณ์ตอบออกไป บอกน้องเขาไปด้วยว่าประมวลเอาหาได้จับนิยามใครมาบอก จึงไม่แน่ใจนักให้ไปตรวจเช็คเสียด้วย ผมคิดว่าหากได้นำมาบันทึกไว้เพื่อตรวจสอบก็จะดี เผื่อใครเห็นแตกต่างกันออกไป จะได้ต่อยอดกันไว้นะครับ

     หากจะพิจารณาความเป็น “ชุมชน” ว่าหมายถึงการที่คนจำนวนหนึ่งเท่าใดก็ได้มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน มีการสื่อสารถึงกัน หรือรวมกลุ่มกัน ด้วยความเอื้ออาทรต่อกันและกัน มีการเรียนรู้ร่วมกันในการประทำ ตลอดจนต้องมีการจัดการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่มีไว้ร่วมกันด้วย ฉะนั้นเมื่อเราจะกล่าวถึงความเป็นชุมชน ก็จะมีคำสำสัญอยู่ดังนี้
          • คนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
          • มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน
          • มีการรวมตัวเพื่อมีปฏิสัมพันธ์กัน/มีการติดต่อสื่อสารถึงกัน
          • มีการเรียนรู้ร่วมกันจากการกระทำ
          • มีการจัดการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชุมชนร่วมกัน

     จากคำสำคัญ 5 ประการข้างต้น จะเห็นว่ามีสิ่งที่คล้าย ๆ และแตกต่างกันกับ “เครือข่าย” ด้วยเมื่อเรานึกถึงเครือข่ายสิ่งหนึ่งที่อิสระคือไม่จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน แต่มักจะมองไปที่เป้าประสงค์ซึ่งกว้างไกล หรือเป็นนามธรรมกว่า แต่เป็นเป้าประสงค์เดียวกัน เครือข่ายอาจจะเป็นการรวมตัวของชุมชนหลาย ๆ ชุมชน หรือคนหลาย ๆ คนเช่นเดียวกันกับชุมชน และมีคำสำคัญอื่น ๆ เหมือน “ชุมชน” แต่มีการจัดการที่แยกกันได้เพื่อมุ่งไปที่เป้าประสงค์นั้น ๆ เช่นเดียวกัน

     เช่นเครือข่ายนักพัฒนาสุขภาพชุมชน ก็จะมีชุมชน (นักปฏิบัติ) อสม., กลุ่มหรือชุมชนนักวิชาการ, ชุมชนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล หรือชุมชนที่รวมตัวกันเป็นสมัชชาสุขภาพพื้นที่ เป็นต้น

     ชุมชนตามความเข้าใจของผมที่เราใช้กันอยู่ หากมีเงื่อนไขตามคำสำคัญทั้ง 5 ประการข้างต้นแล้ว จะเรียกชื่ออย่างไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม ชมรม สมาคม หรืออื่น ๆ ที่ผมไม่ได้เขียนไว้

 

หมายเลขบันทึก: 58753เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2006 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เคยโดนถามในเวทีเหมือนกันแต่เป็นเรื่องกลุ่ม โดนที่ประชุมถามว่ากลุ่มนี่มีขอบเขตยังไง คุยไปคุยมาเป็นว่า เป็นการรวมกลุ่มของคน 2 คนขึ้นไปที่มีจุดประสงค์เดียวกัน โดนย้อนกลับมาเลยอย่างนี้สามีกับภรรยาก็ถือว่าเป็นกลุ่มสิเพราะมีจุดประสงคเดียวกัน

      เป็นเรื่องตลกในการทำงานที่เกิดขึ้นแต่ก็เป็นประโยชน์แก่ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมครับเช่นเดียวกับบันทึกนี้

คุณ bluewind ครับ

     ผมลองเอาตัวอย่างคือ สามีกับภรรยา ที่ว่าไปเช็คกับคำสำคัญดู พบว่าน่าจะมีครบทุกข้อ เพียงแต่ไม่แน่ใจข้อเดียวคือ... มีการเรียนรู้ร่วมกันจากการกระทำ ว่ามีจริงหรือไม่ หากมีจริง ก็เป็นชุมชนที่ว่านะครับ
     ผมว่าดีนะครับ หากในการทำงานมีบรรยากาศอย่างที่ว่า Discussion กันได้ ทำให้มองเห็นอะไรบางอย่างได้นี่ครับ เป็นบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ดีนี่ครับ

  • แวะมาทักทายครับท่านชายขอบ
  • ผมนึกเปรียบเทียบง่าย ๆ ที่ชาว gotoknow คุ้นเคย นะครับ
  • ชุมชน = Intranet  เครือข่าย = Internet มั้ง !!!
  • เรียนคุณชายขอบ เมื่ออาทิตย์ที่แล้วผมได้รับคำถามนี้จากท่านคณบดีเช่นเดียวกัน ขอนำคำตอบนี้ไปใช้ด้วยคน 
  • สิ่งทีสำคัญหรือเป้าหมายสูงสุด ผมคิดว่าน่าจะเป็น เรื่องการจัดการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชุมชนร่วมกัน

 

อ.ปานดา (Panda) ของน้อง ๆ

     ขอบคุณอาจารย์มากนะครับที่แวะมา ผมกลับมานี่ก็ยังไม่ค่อยได้ไปบ้านใครสักเท่าใดทีครับ แล้วจะตามแวะไปเยี่ยม จะนำกล้วบฉาบพัทลุงไปฝากทีละบ้าน ๆ ครับ
     เห็นภาพชัดเจนได้ดีเหมือนกันนะครับตามที่อาจารย์ยกตัวอย่าง ซึ่งผมมองอย่างนี้ครับใน Intranet ก็เป็นเครือข่ายได้ หากเราเอาวัตถุประสงค์ (Objective) เป็นตัว cut point เพราะใน Intranet หนึ่ง ๆ มีไว้เพื่อจัดการกับ Objective หลาย ๆ Objective ได้ การจัดการก็หลาย ๆ แบบในแต่ละ Objective นั้น ๆ ทั้งหมดรวมกันเป็นเพื่อเป้าประสงค์ Goal ใด ๆ ในระบบ Intranet หนึ่ง ๆ
     ตรงนี้แหละครับที่ผมพยายามจะสื่อว่าสุดท้ายมันขึ้นอยู่กับการกำหนดขอบเขต (boundary) มากกว่าครับ และส่วนที่สำคัญสมาชิกในชุมชน หรือเครือข่ายร่วมคิด รับรู้ ตลอดจนเข้าใจตรงกันใหมเป็นประเด็นหลัก
     ปล.ไม่อาจจะยืนยันว่าถูกต้องนะครับ รอการต่อยอดและตกผลึกอีกครับผม อ่านต่ออีก คห.นึงที่ตอบท่าน ศ.นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง นะครับ ผมจะว่าไว้ต่ออีก 1 คห.

เรียน ท่าน ศ.นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง ครับ

     ดีใจครับที่ท่านมาเยี่ยม ผมได้อ่านงานที่ท่านเขียนเรื่องเกี่ยวกับ R2R อยู่บ้าง ก่อนที่จะหายไปจัดการกับภาระกิจเสียพักใหญ่ ๆ
     สิ่งสำคัญของชุมชนคือ เรื่องการจัดการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชุมชนร่วมกัน และต้องเรียนรู้ร่วมกันด้วยจากการได้ลงมือร่วมกันจัดการนั้น ๆ แล้ว ผมเพิ่มอีกประเด็นคือเรียนรู้ ชุมชนใด ๆ ก็จะเป็นชุมชนนักปฏิบัติที่เรียนรู้ร่วมกัน (CoP) ครับ หากเรามี CoP เยอะ ๆ แล้วจะเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีการเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกันมากเพียงใด ด้วยเพราะการเรียนรู้ร่วมที่ได้มาจากการลงมือทำเองหรือปฏิบัติเอง จะไม่ค่อยติดในความกรอบการแบ่งชนชั้นที่เป็นระดับคุณวุฒิทางการศึกษา (ในระบบ) มากนัก เกิดการยอมรับกันและกันง่ายกว่า (อัตตาเหลือน้อยกว่า) เมื่อเกิดการยอมรับกันแล้วคนที่มีอะไรดี ๆ แต่ไม่มีคุณวุฒิสูง ๆ เขาจะกล้านำมาเล่า นำมาบอก ถึงตอนนั้น Tacit K. ดี ๆ จะไหลบ่าออกมากจากคนแต่ละคน (ผมพร่ำเสียยาวเลย...ยิ้ม ๆ)
     ผมอยากจะวกมาที่เรื่องชุมชนอีกทีครับ ชุมชนแต่ละชุมชนย่อมมีวัตถุประสงค์ (Objective) ของเขาตามที่ผมยกมา เหนือไปกว่านั้นเขาก็ต้องมีเป้าประสงค์ (Goal) ด้วย ทีนี่พอ Goal ของชุมชนแต่ละชุมชนไปตรงกันเข้าโดยไม่ได้นัดหมาย (ชุมชนโดยธรรมชาติ) หรืออาจจะนัดหมายกันไว้ล่วงหน้าแล้วมาซอยลงเป็นชุมชนทีหลัง (ชุมชนจัดตั้ง) ชุมชนใหนที่มี Goal เดียวกัน ก็มารวมตัวกันทั้งแบบตัวเป็น ๆ หรือแบบเสมือน มีสื่อสารถึงกัน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เพื่อช่วยกันไปให้ถึง Goal ร่วมกัน ตอนนี้แหละที่เป็นเครือข่าย โดยที่แต่ละชุมชนที่มาร่วมกันก็ยังคงมี Objective เป็นของตนเองครับ

ผ่านมาขอความรู้หน่อยค่ะ เห็นว่ากำลังคุยกันเรื่องชุมชนอยู่พอดี : )

เป็นความสงสัยเล็กๆ ที่สืบเนื่องมาจากในวิชาเรียน (ดิฉันกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโทค่ะ) เกี่ยวกับเรื่องการจัดการทรัพยากรชุมชน ในช่วงหนึ่งของการสอนอาจารย์ท่านบอกว่า "ถ้าชุมชนไม่มีความคาดหวัง (ถึงสิ่งที่ดีกว่า) ก็ไม่ต้องคิดจัดการอะไร"

แล้วท่านก็ยกตัวอย่างเปรียบเทียบชุมชนในอดีต ซึ่งเป็นชุมชนปิด กับในปัจจุบัน ดิฉันก็เรียนถามไปว่า ถ้าอย่างนั้นแสดงว่า ชุมชนในสมัยก่อนไม่มีการจัดการอะไรกันเลยหรือ หากจะบอกว่า การจัดการมันเกิดมาจากความคาดหวัง ซึ่งสิ่งที่อาจารย์ยกมามันออกจะเป็นในมิติของการแข่งขันและการพาณิชย์เสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งท่านก็ตอบว่า มีอยู่ แต่เป็นการจัดการที่ขึ้นอยู่กับความคาดหวังในแต่ละระดับที่แตกต่างกัน ชุมชนในสมัยก่อนนั้นมีการจัดการอยู่ แต่มีน้อย

ตอนนั้นก็คิดว่า ได้คำตอบในระดับหนึ่งค่ะ แต่พอมาคิดๆ ดูต่อ ก็รู้สึกว่า คำว่า การจัดการ ที่พูดถึงมันมีมิติที่ซ้อนกันอยู่หรือเปล่า

มันอาจดูเป็นประเด็นจุกจิกน่ารำคาญไปสักหน่อย แต่ดิฉันคิดว่า Goal ที่ขับเคลื่อนด้วยสิ่งที่เรียกว่า 'ความคาดหวัง' (ในความหมายนี้ ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองแปลความคำว่า ความคาดหวัง คล้ายกับคำว่า กิเลส ) กับ Goal ที่ขับเคลื่อนด้วย 'ความจำเป็นในการดำรงชีวิต' มันน่าจะแตกต่างกัน (ดิฉันคิดคำที่จะใช้ให้ดีกว่านี้ไม่ออก แต่เป็นทำนองนี้น่ะค่ะ) ซึ่งมันน่าจะนำไปสู่กระบวนการจัดการทรัพยากรที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะความแตกต่างระหว่างการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนในแบบดั้งเดิม กับการจัดการสมัยใหม่

ว่าไปแล้วก็ไม่ค่อยเกี่ยวกับประเด็นในเรื่องนิยามความหมายระหว่างคำว่า ชุมชนกับเครือข่าย ที่เป็นหัวข้อสักเท่าไหร่ แต่ถือว่าเป็นคำถามต่อยอดจากผู้น้อยที่อยากขอร่วมวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ละกันนะคะ

เรียน คุณ nightbird ครับ

     เป็นประเด็นที่น่าสนใจและอยากต่อยอดด้วยมาก ๆ ครับ แต่ตอนนี้ผมเตรียมประชุมกับเครือข่ายคนพิการ จว.พัทลุง เพื่อหารือกันในการจัดงานวันคนพิการสากล ในวันที่ 28 พ.ย. ที่จะถึงนี้ เดี่ยวจะกลับมาใหม่นะครับ

แล้วชุมชนมีกี่ประเภทค่ะ และชุมชนเสมอจิงคืออะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท