คนไทยเรียนรู้ เรื่องยูคาฯ อย่างไร? (11)


ความแข็งเหนียว เรื่องนี้พลิกล็อกสุดโต้ง ไม้ยูคาที่อบแห้งแล้ว จะมีความแข็งความเหนียวสูงมาก จะดูดตาปูดีเยี่ยม ถ้าเอาตะปู4ตอกไม้ยูคาแห้งอย่าคิดว่าจะถอนตาปูได้ง่ายๆ เหนียวหนับหัวสั่นหัวคลอนช่างไม้ร้องไห้มานักต่อนักแล้ว

 

หลังจากยูคาลิปตัสถูกปลูกขยายไปทั่วประเทศ สิ่งที่ผมแอบดูอยู่เงียบๆก็คือ คนไทยจะทำยังไงกับเจ้าไม้ตัวนี้บ้าง นอกจากจะมีกระแสต่อต้านแล้ว  ผมคิดว่าคนไทยกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับไม้ตัวนี้แบบKM.ธรรมชาติ ซึ่งจะมีเรื่องใหม่ๆติดตามมาสร้างโจทย์ให้ชาวบ้านเรียนรู้ ยกตัวอย่าง เช่น เรื่องเห็ดผึ้งขม ที่มันเกิดขึ้นในป่ายูคาฯมากมาย แทบไม่ต้องเดินหาให้เหมื่อยตุ้ม เพราะเดินไปตรงไหนก็เจอะเจอง่ายๆ เห็ดพวกนี้จะขึ้นเป็นกลุ่ม มีลักษณะก้อนกลมๆสีน้ำตาลคล้ำ ถ้าข้ามวันดอกจะบาน ช่วงที่เห็ดออกจะมีชาวบ้านมาเก็บทั้งวัน ตอนหลังการประโคมข่าวว่ามีคุณสมบัติแก้โรคเบาหวาน โรคมะเร็งเห็ดยูคาจึงได้รับความสำคัญขึ้นมาทันที ส่วนจะแก้โรคอะไรได้บ้าง นักวิจัยในสถาบันต่างๆน่าจะมาช่วยชาวบ้านตอบคำถามเรื่องนี้ให้กระจ่าง คงเห็นโจทย์แล้วใช่ไหมครับ ไม่ต้องคิดให้สมองแฉะ ป่ายูคาฯกับชาวบ้านได้ตั้งหัวข้อวิจัยให้นักจัดการความรู้นักวิจัย นักการป่าไม้ได้ตอบข้อสงสัยให้ผู้กระหายใคร่รู้ 

ช่วงที่เห็นยูคาฯออกมากๆ พวกลูกน้องเห็นชาวบ้านเก็บ ก็ไปเก็บมาลองต้มจิ้มน้ำพริก ผมถูกชวนให้ชิม เนื้อเห็ดจะกุ๊บๆอร่อยมากเหมือนปลิงทะเลน้ำแดง แต่มีความขมที่พอทนได้แต่เป็นรสขมที่ไม่อร่อย ถ้าไม่มีรสขม เห็ดยูคาฯจะเป็นที่นิยมชนิดหนึ่งของโลก รสขมนี่มี2แบบนะครับ มีแบบขมอร่อย เช่น ดอกสะเดา ผลเพกา แกงขี้เหล็ก ส่วนพวกขมไม่อร่อย เช่น ฟ้าทะลายโจร เห็ดยูคาฯ มะแว้งเครือ ผมแอบตามดูวิธีวิจัยของชาวบ้านอย่างสนุก เห็นใครหิ้วตะกร้ามาก็เข้าไปคุยด้วย ถามแม่ใหญ่..เอาไปทำกินยังไง ถาม10 หมู่บ้านก็ได้ 10 กลุ่มตัวอย่าง เช่น  

¡ ชุดวิธีทดลองหาทางบรรเทาความขม    บ้างก็ว่าต้มใส่ใบฝรั่ง ใบมะขาม ใบย่านาง ใส่เกลือ ใส่ข้าวสาร    

¡ ชุดวิธีการหาทางประกอบอาหาร    บ้างก็เอาไป ต้ม นึ่ง ปิ้ง ย่าง

 ¡ ชุดวิธีการปรุงสูตรอาหาร    บ้างก็เอาไปลาบใส่ข้าวคั่ว ขมๆอำลำ ต้มจิ้มน้ำพริก ปิ้งจิ้มแจ่ว 

 กลุ่มไม้ขนาดเล็กไม้ในป่าธรรมชาติขาดแคลน หายากไม่มีให้เลือกใช้ประโยชน์ได้เหมือนเมื่อก่อน เมื่อมีไม้ยูคาชาวบ้านก็เริ่มนำมาทดลองใช้งาน ในกลุ่มไม้ขนาดเล็ก พอจะแยกให้เห็นวิธีใช้ดังนี้

¡ ใบเอาไปรองรังไก่ไล่หมัด แมลง

¡ ใบเอาไปทำสีย้อมผ้า

¡ ใบเอาไปหมักกับใบไม้ชนิดอื่นทำสารไล่แมลง

¡ ใบเอาไปเทลงในคอกสัตว์เพิ่มปริมาณปุ๋ยอินทรีย์

¡ เอาไปทำเล้าไก่ รังไก่

¡ เอาไปทำโครงกระต๊อบที่พัก ที่นั่งเล่น

¡ เอาไปทำลอบดักปลาในทะเลชายฝั่ง

¡ เอาไปทำฟืน หลายหมู่บ้านมาขอไปเป็นฟืนเผาศพช่วยปอเต็กตึ๊ง

¡ เอาไปเผาถ่าน ทำเตาอบเล็กๆ เผาถ่านได้คุณภาพดี

¡ เอาไปสับป่นชิ้นเล็กๆทำปุ๋ย คลุมหน้าดิน

¡ เอาไปป่นทำวัสดุเพาะเห็ด

¡ เอาไปทำค้างปลูกผัก แขนงไม้มีกิ่งก้านความเหนียวเหมาะที่จะทำค้างผัก

¡ เอาไปทำด้ามไม้กวาด แขนงไม้ยูคาที่แตกขึ้นมาเป็นกลุ่มแขนงกอละ10-20      แขนง ปกติต้องตัดทิ้งบ้าง ชาวบ้านที่มีอาชีพทำไม้กวาดขาย จะเอาไม้    กวาดมาให้เรา2-3 อัน แล้วก็ขอปันเอาแขนงไปทำด้ามไม้กวาดจำหน่าย 

กลุ่มไม้ขนาดกลาง เมื่อปลูกไม้ยูคาฯไปได้ระยะหนึ่ง มีไม้ขนาดต่างๆให้เลือกทดลองใช้ ทางโรงงานก็ซื้อราคาถูก ทำให้การแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาสเกิดขึ้นอย่างสนุก นักประดิษฐ์ลูกทุ่งทั้งหลายคิดค้นกันจนได้วิธีใช้งาน และได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากไม้ขนาดกลาง อายุประมาณ 8-10 ปี ดังนี้

¡ นำไปใช้เป็นไม้ค้ำยันในการก่อสร้าง

¡ นำไปทำเสาเข็ม

¡ นำไปทำชิงช้านั่งเล่น

¡ นำไปตัดเป็นท่อนๆทำรั้วสำเร็จรูป ใช้ในงานตบแต่ง

¡ นำไปสร้างเพิงร้านขายของริมทาง

¡ นำไปทำคอกปศุสัตว์  

กลุ่มไม้ขนาดใหญ่ อายุตั้งแต่15ปีขึ้นไป ไม้ขนาดนี้สามารถแปรรูปเพื่อนำไปประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ไม้ยูคาก็มีปัญหาเฉพาะตัวที่ท้าทายนักคิดเป็นอย่างมาก และมีความเชื่อว่ามันเป็นไม้เนื้ออ่อน หดตัวง่าย บิดงอ แปรรูปไม่ได้ ตอนแรกผมก็เชื่อเช่นนั้น ทดลองดูก็พบว่ามันจัดการยากมากเจ้าไม้ตัวนี้ แต่หลังจากศึกษาอย่างสุดฤทธิ์สุดเดช พบว่า มีทั้งส่วนความจริงตามที่ชาวบ้านบอกเล่า และมีชุดความรู้ใหม่ที่ผมทดลองมาระดับหนึ่ง ขออนุญาตนำมาให้ช่วยกันวิจัยต่อดังนี้ครับ 

1.     ไม้ยูคาฯบางสายพันธุ์ไม่สามารถแปรรูปได้ เจอใบเลื่อยจะบิดพลิ้วเป็นใบพัดเครื่องบิน ทำอย่างไรก็ยากจะคืนรูป ข้อเสนอแนะควรใช้ประโยชน์เป็นลำต้น ทำเสา ทำขื่อทั้งต้น ไม่ต้องแปรรูป

2.     ไม้ยูคาฯหดตัวง่าย รักษารูปทรงยาก นอกจากเราจะเลือกได้ไม้สายพันธุ์ที่แปรรูปได้แล้ว ถึงจะมีห้องอบไม้ ก็ต้องอาศัยเทคนิคการอบพอสมควร ในการอบไม้ต้องรักษาความชื้นไว้ในเนื้อไม้บ้างระดับหนึ่ง

3.     ในการย้อมสี/พ่นสี ไม้ยูคาจะดูดสีสิ้นเปลืองกว่าไม้ทั่วไป

4.     ในการแปรรูป จะต้องเอาจุดศูนย์กลางไปอยู่ขอบแผ่นไม้ด้านหนึ่งด้านใด หรือถ้าจะแปรตามวิธีปกติ ก็จะต้องรู้วิธีดูลายเสี้ยนไม้ จะช่วยลดทอนการบิดงอได้

5.     ความแข็งเหนียว เรื่องนี้พลิกล็อกสุดโต้ง ไม้ยูคาที่อบแห้งแล้ว จะมีความแข็งความเหนียวสูงมาก จะดูดตาปูดีเยี่ยม ถ้าเอาตะปู4ตอกไม้ยูคาแห้งอย่าคิดว่าจะถอนตาปูได้ง่ายๆ เหนียวหนับหัวสั่นหัวคลอนช่างไม้ร้องไห้มานักต่อนักแล้ว แม้แต่ไม้กระดานถ้าจะตอกตาปู ควรเอาสะหว่านไฟฟ้านำร่องไปก่อน ไม่ยังงั้นตอกตาปูไม่เข้าครับ ตาปูงอกองอยู่เป็นกำๆเชียวแหละ ดังนั้นเปลี่ยนความเข้าใจเสียใหม่ว่า ไม้ยูคาฯแห้งสนิทจะเป็นไม้เนื้อแข็งเหนียวพิเศษ จะเป็นไม้เนื้ออ่อนเฉพาะที่ยังสดๆอยู่เท่านั้น ทราบแล้วเปลี่ยน 

ไม้แปรรูปแล้ว เอาไปใช้งานอะไรได้บ้าง

¡ ในประเทศออสเตรเลียใช้ทำเสาไฟฟ้า ยังมีการใช้อยู่ทั่วไปในหลายรัฐ

¡ ในออสเตรเลียอุตสาหกรรมน้ำมันยูคาลิปตัสเขาไปไกลมาก

¡ ในออสเตรเลียแปรรูปเป็นไม้ใช้สอยมานาน

¡ มหาชีวาลัยอาคารหลังใหญ่สร้างด้วยไม้ยูคาฯ

¡ ทำเครื่องเรือน กรอบรูป โต๊ะ เก้าอี้ฮ่องเต้ ตู้ เตียง ประดิษฐ์ของเด็กเล่น 

กลุ่มอุตสาหกรรมไม้โตเร็ว   

¡ ผลิตกระดาษ   

¡ ผลิตผ้า   

¡ ผลิตไม้ประสาน ไม้อัด   

¡ ปัจจุบันมีการศึกษาที่จะเอาไม้มาผลิตไบโอออย   

¡ กลุ่มผลิตไฟฟ้าด้วยแกลบ หันมาซื้อไม้เป็นเชื้อเพลิง    

หลังจากยูคาลิปตัสถูกปลูกขยายไปทั่วประเทศ สิ่งที่ผมแอบดูอยู่เงียบๆก็คือ คนไทยจะทำยังไงกับเจ้าไม้ตัวนี้บ้าง นอกจากจะมีกระแสต่อต้านแล้ว  ผมคิดว่าคนไทยกำลังเรียนรู้เกี่ยวกับไม้ตัวนี้แบบKM.ธรรมชาติ ซึ่งจะมีเรื่องใหม่ๆติดตามมาสร้างโจทย์ให้ชาวบ้านเรียนรู้ ยกตัวอย่าง เช่น เรื่องเห็ดผึ้งขม

ที่มันเกิดขึ้นในป่ายูคาฯมากมาย แทบไม่ต้องเดินหาให้เหมื่อยตุ้ม เพราะเดินไปตรงไหนก็เจอะเจอง่ายๆ เห็ดพวกนี้จะขึ้นเป็นกลุ่ม มีลักษณะก้อนกลมๆสีน้ำตาลคล้ำ ถ้าข้ามวันดอกจะบาน ช่วงที่เห็ดออกจะมีชาวบ้านมาเก็บทั้งวัน ตอนหลังการประโคมข่าวว่ามีคุณสมบัติแก้โรคเบาหวาน โรคมะเร็งเห็ดยูคาจึงได้รับความสำคัญขึ้นมาทันที ส่วนจะแก้โรคอะไรได้บ้าง นักวิจัยในสถาบันต่างๆน่าจะมาช่วยชาวบ้านตอบคำถามเรื่องนี้ให้กระจ่าง คงเห็นโจทย์แล้วใช่ไหมครับ ไม่ต้องคิดให้สมองแฉะ ป่ายูคาฯกับชาวบ้านได้ตั้งหัวข้อวิจัยให้นักจัดการความรู้นักวิจัย นักการป่าไม้ได้ตอบข้อสงสัยให้ผู้กระหายใคร่รู้ 

ช่วงที่เห็นยูคาฯออกมากๆ พวกลูกน้องเห็นชาวบ้านเก็บ ก็ไปเก็บมาลองต้มจิ้มน้ำพริก ผมถูกชวนให้ชิม เนื้อเห็ดจะกุ๊บๆอร่อยมากเหมือนปลิงทะเลน้ำแดง แต่มีความขมที่พอทนได้แต่เป็นรสขมที่ไม่อร่อย ถ้าไม่มีรสขม เห็ดยูคาฯจะเป็นที่นิยมชนิดหนึ่งของโลก รสขมนี่มี2แบบนะครับ มีแบบขมอร่อย เช่น ดอกสะเดา มะระ ผลเพกา แกงขี้เหล็ก ส่วนพวกขมไม่อร่อย เช่น ฟ้าทะลายโจร เห็ดยูคาฯ มะแว้งเครือ ผมแอบตามดูวิธีวิจัยของชาวบ้านอย่างสนุก เห็นใครหิ้วตะกร้ามาก็เข้าไปคุยด้วย ถามแม่ใหญ่..เอาไปทำกินยังไง ถาม10 หมู่บ้านก็ได้ 10 กลุ่มตัวอย่าง เช่น  

¡ ชุดวิธีทดลองหาทางบรรเทาความขม    บ้างก็ว่าต้มใส่ใบฝรั่ง ใบมะขาม ใบย่านาง ใส่เกลือ ใส่ข้าวสาร    

¡ ชุดวิธีการหาทางประกอบอาหาร    บ้างก็เอาไป ต้ม นึ่ง ปิ้ง ย่าง  

¡ ชุดวิธีการปรุงสูตรอาหาร    บ้างก็เอาไปลาบใส่ข้าวคั่ว ขมๆอำลำ ต้มจิ้มน้ำพริก ปิ้งจิ้มแจ่ว  

กลุ่มไม้ขนาดเล็กไม้ในป่าธรรมชาติขาดแคลน หายากไม่มีให้เลือกใช้ประโยชน์ได้เหมือนเมื่อก่อน เมื่อมีไม้ยูคาชาวบ้านก็เริ่มนำมาทดลองใช้งาน ในกลุ่มไม้ขนาดเล็ก พอจะแยกให้เห็นวิธีใช้ดังนี้

¡ ใบเอาไปรองรังไก่ไล่หมัด แมลง

¡ ใบเอาไปทำสีย้อมผ้า

¡ ใบเอาไปหมักกับใบไม้ชนิดอื่นทำสารไล่แมลง

¡ ใบเอาไปเทลงในคอกสัตว์เพิ่มปริมาณปุ๋ยอินทรีย์

¡ เอาไปทำเล้าไก่ รังไก่

¡ เอาไปทำโครงกระต๊อบที่พัก ที่นั่งเล่น

¡ เอาไปทำลอบดักปลาในทะเลชายฝั่ง

¡ เอาไปทำฟืน หลายหมู่บ้านมาขอไปเป็นฟืนเผาศพ

¡ เอาไปเผาถ่าน ทำเตาอบเล็กๆ เผาถ่านได้คุณภาพดี

¡ เอาไปสับป่นชิ้นเล็กๆทำปุ๋ย คลุมหน้าดิน

¡ เอาไปป่นทำวัสดุเพาะเห็ด

¡ เอาไปทำค้างปลูกผัก แขนงไม้มีกิ่งก้านความเหนียวเหมาะที่จะทำค้างผัก

¡ เอาไปทำด้ามไม้กวาด แขนงไม้ยูคาที่แตกขึ้นมาเป็นกลุ่มแขนงกอละ10-20 แขนง ปกติต้องตัดทิ้งบ้าง ชาวบ้านที่มีอาชีพทำไม้กวาดขาย จะเอาไม้    กวาดมาให้เรา2-3 อัน แล้วก็ขอปันเอาแขนงไปทำด้ามไม้กวาดจำหน่าย 

กลุ่มไม้ขนาดกลาง เมื่อปลูกไม้ยูคาฯไปได้ระยะหนึ่ง มีไม้ขนาดต่างๆให้เลือกทดลองใช้ ทางโรงงานก็ซื้อราคาถูก ทำให้การแปลงวิกฤติให้เป็นโอกาสเกิดขึ้นอย่างสนุก นักประดิษฐ์ลูกทุ่งทั้งหลายคิดค้นกันจนได้วิธีใช้งาน และได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากไม้ขนาดกลาง อายุประมาณ 8-10 ปี ดังนี้

¡ นำไปใช้เป็นไม้ค้ำยันในการก่อสร้าง

¡ นำไปทำเสาเข็ม

¡ นำไปทำชิงช้านั่งเล่น

¡ นำไปตัดเป็นท่อนๆทำรั้วสำเร็จรูป ใช้ในงานตบแต่ง

¡ นำไปสร้างเพิงร้านขายของริมทาง

¡ นำไปทำคอกปศุสัตว์  

กลุ่มไม้ขนาดใหญ่อายุตั้งแต่15ปีขึ้นไป ไม้ขนาดนี้สามารถแปรรูปเพื่อนำไปประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่ไม้ยูคาก็มีปัญหาเฉพาะตัวที่ท้าทายนักคิดเป็นอย่างมาก และมีความเชื่อว่ามันเป็นไม้เนื้ออ่อน หดตัวง่าย บิดงอ แปรรูปไม่ได้ ตอนแรกผมก็เชื่อเช่นนั้น ทดลองดูก็พบว่ามันจัดการยากมากเจ้าไม้ตัวนี้ แต่หลังจากศึกษาอย่างสุดฤทธิ์สุดเดช พบว่า มีทั้งส่วนความจริงตามที่ชาวบ้านบอกเล่า และมีชุดความรู้ใหม่ที่ผมทดลองมาระดับหนึ่ง ขออนุญาตนำมาให้ช่วยกันวิจัยต่อดังนี้ครับ 

1. ไม้ยูคาฯบางสายพันธุ์ไม่สามารถแปรรูปได้ เจอใบเลื่อยจะบิดพลิ้วเป็นใบพัดเครื่องบิน ทำอย่างไรก็ยากจะคืนรูป ข้อเสนอแนะควรใช้ประโยชน์เป็นลำต้น ทำเสา ทำขื่อทั้งต้น ไม่ต้องแปรรูป

2.     ไม้ยูคาฯหดตัวง่าย รักษารูปทรงยาก นอกจากเราจะเลือกได้ไม้สายพันธุ์ที่แปรรูปได้แล้ว ถึงจะมีห้องอบไม้ ก็ต้องอาศัยเทคนิคการอบพอสมควร ในการอบไม้ต้องรักษาความชื้นไว้ในเนื้อไม้บ้างระดับหนึ่ง

3.    ในการย้อมสี/พ่นสี ไม้ยูคาจะดูดสีสิ้นเปลืองกว่าไม้ทั่วไป

4.     ในการแปรรูป จะต้องเอาจุดศูนย์กลางไปอยู่ขอบแผ่นไม้ด้านหนึ่งด้านใด หรือถ้าจะแปรตามวิธีปกติ ก็จะต้องรู้วิธีดูลายเสี้ยนไม้ จะช่วยลดทอนการบิดงอได้

5.     ความแข็งเหนียว เรื่องนี้พลิกล็อกสุดโต้ง ไม้ยูคาที่อบแห้งแล้ว จะมีความแข็งความเหนียวสูงมาก จะดูดตาปูดีเยี่ยม ถ้าเอาตะปู4ตอกไม้ยูคาแห้งอย่าคิดว่าจะถอนตาปูได้ง่ายๆ เหนียวหนับหัวสั่นหัวคลอนช่างไม้ร้องไห้มานักต่อนักแล้ว แม้แต่ไม้กระดานถ้าจะตอกตาปู ควรเอาสะหว่านไฟฟ้านำร่องไปก่อน ไม่ยังงั้นตอกตาปูไม่เข้าครับ ตาปูงอกองอยู่เป็นกำๆเชียวแหละ ดังนั้นเปลี่ยนความเข้าใจเสียใหม่ว่า ไม้ยูคาฯแห้งสนิทจะเป็นไม้เนื้อแข็งเหนียวพิเศษ จะเป็นไม้เนื้ออ่อนเฉพาะที่ยังสดๆอยู่เท่านั้น ทราบแล้วเปลี่ยน 

ไม้แปรรูปแล้ว เอาไปใช้งานอะไรได้บ้าง

¡ ในประเทศออสเตรเลียใช้ทำเสาไฟฟ้า ยังมีการใช้อยู่ทั่วไปในหลายรัฐ

¡ ในออสเตรเลียอุตสาหกรรมน้ำมันยูคาลิปตัสเขาไปไกลมาก

¡ ในออสเตรเลียแปรรูปเป็นไม้ใช้สอยมานาน

¡ มหาชีวาลัยอาคารหลังใหญ่สร้างด้วยไม้ยูคาฯ

¡ ทำเครื่องเรือน กรอบรูป โต๊ะ เก้าอี้ฮ่องเต้ ตู้ เตียง ประดิษฐ์ของเด็กเล่น 

กลุ่มอุตสาหกรรมไม้โตเร็ว   

¡ ผลิตกระดาษ   

¡ ผลิตผ้า   

¡ ผลิตไม้ประสาน ไม้อัด   

¡ ปัจจุบันมีการศึกษาที่จะเอาไม้มาผลิตไบโอออย   

¡ กลุ่มผลิตไฟฟ้าด้วยแกลบ หันมาซื้อไม้เป็นเชื้อเพลิง   

หมายเลขบันทึก: 83157เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2007 00:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 03:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (35)
  • โอ้โฮ้!!!!  บันทึกนี้ปราบเซียนมาก ความรู้แน่นพอ ๆ กับตัวอักษรที่แน่น อ่านจนปวดตาเคยครับครูบา
  • จำได้รู้จักเห็ดยูคา ครั้งแรกที่บ้านครูบา ไปกับคณะอาจารย์น้ำ  เก็บมาถุงใหญ่แต่ไม่ได้กินครับ  เพราะทำไม่เป็น
  • แต่ได้กินอย่างเป็นเรื่องเป็นราวที่บ้านหลังจากนั้น  ตอนกินไม่ค่อยขมครับ  แต่กินเสร็จแล้วถ้าไปดื่มน้ำความขมมันมาจากไหนก็ไม่รู้
  • คิดว่ายังแก้ไขไม่เสร็จครับผม เหมือนมีข้อความสองรอบครับ
  • จะมาอ่านอีกรอบครับ อันนี้ว่าไปด้วยประโยชน์ที่น่าสนใจครับ ขอบคุณครับผม

สวัสดีรอบดึกค่ะพ่อครูฯ

         โอ้โห  โอ้โห  ตามคุณย่ามแดงด้วยคนค่ะ  ทำไม ประโยชน์ของยูคาฯ ถึงมีมากมายขนาดนี้นะคะ

         ถ้าคนเราทำประโยชน์ได้มากเท่าต้นยูคาฯ ก็ดีนะคะพ่อครูฯ

โอ้โฮ้!!!!  (ด้วยอีกคนนะคะ)   ต้องบอกว่าเพิ่งรู้  เพิ่งรู้จริงๆ  เลยค่ะ  เห็ดยูคายิ่งแล้วใหญ่  เพิ่งรู้อีกเหมือนกัน  แต่พอจะนึกความขมได้  ขมอร่อยน่าจะเหมือนกับขมหวาน เช่นพวกมะระ  ขี้เหล็ก สะเดา ก็ขมหวานอร่อยนะคะ  

ส่วนพวก ขมไม่อร่อย ฟ้าทะลายโจรก็ลองมาแล้วค่ะ  อันนั้นคือข้ม ขม....  :D

ขอบคุณมากๆ ค่ะพ่อครูบาสำหรับความรู้นี้

  • สำหรับการแก้ความขม ของแกงขี้เหล็ก แม่ผมใช้ใบและยอดย่านาง(ทางใต้บ้านผมเรียกย่านนาง)ครับ แบบว่าตำละเอียด แบบไม่ต้องต้มเลยครับ แต่ว่าล้างน้ำเย็นแทนครับ
  • กินแล้วก็ไม่ขมครับ หากสนใจไว้จะเขียนเป็นบทความให้ครับ
  • ยูคาลิปตัส ในอดีต และยูคาในวันนี้ สุดท้ายก็คือยูคาลิปตัสอันเดียวกัน แต่ยูคาลิปตัสในวันนี้คงเป็นพืชทางเลือกที่มีอนาคต หลังจากได้มีการจัดการความรู้อย่างจริงจัง และทุ่มเท
  • ยูคาลิปตัสในมุมมองของผมนั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นพืชทางเลือกอย่างหนึ่งของพี่น้องเกษตรกรไทย ที่จะเป็นทางลอดในการที่จะกอบกู้ความเป็นไท (ความเป็นอิสระจากการเป็นหนี้) โดยเฉพาะคนที่ขยันน้อย (ขี้เกียจ) คนที่มักพูดว่าไม่มีเวลา มีปัญหาความแห้งแล้ง ปลูกอะไรแล้วไม่เคยได้กำไรเลย หรือประเภทที่มีเบี้ยน้อย หอยน้อย (ทุนน้อย) เนื่องจากยูคาลิปตัสเป็นพืชที่ทนแล้ง ไม่ต้องพิถีพิถันมาก อีกทั้งมีตลาดรองรับแน่นอน
  • ผมก็มีความสนใจที่จะปลูกยูคาลิปตัสเหมือนกันครับเผื่อจะได้หมดหนี้หมดสินกับเขาบ้าง แต่เท่าที่ทราบก็คือว่ายูคาฯ มีหลากหลายสายพันธุ์  ดังนั้นจึงใคร่เรียนถามท่านครูบาครับว่า ในเขตภาคอีสานควรปลูกพันธุ์ไหนดีครับ

ด้วยความเคารพ

 

  • เห็ดผึ้ง มีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเห็ดผึ้งใหญ่ (เห็ดผึ้งตับควาย) ผึ้งทาม ผึ้งสีทอง และเห็ดผึ้งขม ล้วนนำมาประกอบอาหารได้ด้วยกันทั้งนั้น เห็ดเหล่านี้จัดเป็นเห็ดพวกมัยคอร์ไรซา ซ่งมีการเจริญเติบโตแบบเอื้อประโยชน์ระหว่างรากพืชกับ เชื้อราเห็ด ปกติชอบขึ้นกับต้นไม้ทั่วๆ ไปเช่น ต้นหว้า หูลิง แค ยูคาลิปตัส จะออกดอกเมื่อเจอสภาพบรรยากาศที่ร้อนชื้น
  • ทำไมจึงพบเห็ดผึ้งขมมากในสวนยูคาลิปตัส เนื่องจากเห็ดกลุ่มนี้มีความทนทานต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดีกว่าเห็ดผึ้งชนิดอื่นๆ
  • อีกทั้งมีรสชาติที่ขมไม่ชวนรับประทาน เห็ดกลุ่มนี้จึงมีโอกาสในการที่จะแพร่ขยายพันธุ์ เพราะคนไม่ค่อยเก็บ จึงมีโอกาสเป็นดอกโตและทิ้งสปอร์ให้มีการแพร่พันธุ์ต่อไป
  • ในขณะที่เห็ดผึ้งชนิดอื่นๆ ที่ไม่ขมจึงไม่มีโอกาสได้ดอกบาน ทิ้งสปอร์เพื่อแพร่ขยายพันธุ์เหมือนเห็ดผึ้งขม เพราะโดนเก็บตั้งแต่ดอกที่ยังไมบาน จึงพบว่ามีเกิดในธรรมชาติน้อย และประปราย

ขอบคุณครับ

แก้ปัญหาต้มยำเห็ดผึ้งขม

มีผู้บอกเทคนิคในการต้มยำเห็ดผึ้งขมไม่ให้ขมทำได้ดังนี้ครับ

1. นำเห็ดผึ้งขมล้างน้ำให้สะอาด แล้วต้มในน้ำเดือดประมาณ 5 นาที

2. เทน้ำตัมเห็ดทิ้ง หรือใช้ช้อนตักเอาเฉพาะดอกเห็ดขึ้นมา

3. นำเห็ดผึ้งขมไปต้มยำ หรือทำตามเมนูที่ต้องการ ซึ่งจะพบว่าความขมนั้นลดลงหรือหมดไป

ขอบคุณครับ

เวรกรรมเลยครับ มันเลยหน้ากระดาษครับ

รบกวนท่านครูลบทิ้งเลยครับ อ่านยากครับผม เว้นแต่ต้องปรับฟอนท์เอาเอง ซึ่งไม่น่าอ่านเลยครับ ตามไปอ่านในที่มาของค้นฉบับก็แล้วกันครับ ที่เว็บนี้นะครับ

http://lists.ibiblio.org/pipermail/permaculture/1995-February/008643.html

Summary/Use of Eucalyptus in Reforestation Projects (fwd)

ขอบคุณมากครับผม

เม้ง

พ่อครูฯ ขา

       คุณเม้ง ทำปวดหัวคะ  เดี๋ยวแวะไปบันทึกอื่นก่อนนะคะ  ค่อยกลับมาสะกด อีกรอบค่ะ

P

สิ่งที่ส่งมา เป็นความจริงของขั้วความคิดในโลกนี้

ทุกเรื่องตัดสินไม่ได้ง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่นเรื่อง

  • GMO.บางค่ายก็ว่าดี บางค่ายก็ว่าไม่ดี
  • เรือนกระจก โลกร้อน เพราะสิ่งนั้นสิ่งนี้
  • ปุ๋ยเคมี กับ ปุ๋ยอินทรีย์
  • ยูคาก็เช่นกัน ในแต่ละประเทศก็มีหลายขั่ว ก็ว่ากันไป ถ้าไม่ใช้การจัดการความรู้มาตัดสิน ก็ยากจะพบกันครึ่งทาง
  • มีข้อมูลอะไรก็ส่งมาอีก

 

P

บล็อกจะมีประโยชน์มาก

  • ถ้ามันเป็นสนามที่ทุกคนลงมาเติมความรู้
  • มีทั้งเอาส่วนที่ตัวเองรู้มาให้
  • และเลือกเอาส่วนความรู้ที่สนใจกลับไป
  • อย่างในกรณีเห็ดของอาจารย์อุทัย
  • เป็นตัวอย่างที่มากกว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
  •  บันเป็นบันไดของการจัดการความรู้เบื้องต้น
  • ชาวก๊วนมาต่อความรู้กันได้มากๆยิ่งดี
P

 งานนี้ข้อมูลเริ่มทะยอยมา

  1. ข้อมูลระดับสากล  เม้งเจ้าเก่าส่งมา
  2. ข้อมูล อ.อุทัย เป็นข้อมูลสมทบจากประสบการณ์
  3. เรื่องที่ผมเสมอ เป็นข้อมูลระดับพื้นที่
  • ที่เห็นว่า
  • ชาวบ้านเรียนรู้อย่างไร 
  • ทำความรู้จักกับยูคาในมิติของชาวบ้าน
  • คิดอย่างไร ทำอย่างไร เกิดผลลัพธ์ประการใด
  • แสดงว่าชาวบ้านเขาก็แอบเรียนแอบทดลองเหมือนกันเพียงแต่ทำในสไตส์ของใครของมัน
  • เพิ่งสอนเสร็จค่ะ  นั่งง่วงนอนอยู่ยังไม่อยากขับรถกลับบ้าน...
  • ไม่น่าเชื่อว่ายูคาฯจะมีประโยชน์ได้มากมายขนาดนี้นะคะ   ว่าแต่อาจารย์อุทัยบอกว่ายูคาฯทนแล้งได้  แล้วอากาศแถวบ้านหว้า เหมาะจะปลูกแค่ไหนคะ   เพราะเคยเห็นเห่อกันอยู่พักนึง

 

P
  • ก็จะมาทัศนศึกษาเมษาเฮฮาไม่ใช่หรือหว้าเอ๊ย
  • ยังมีอีกหลายตอนเรื่องยูคาฯ 
  • ตามอ่านไปเรื่อยๆ อย่าเพิ่งไปปักใจว่าไอ้โน่นดีไอ้นี่ดี
  • มันขึ้นกับองค์ประกอบอะไรอีกมาก
  • ถ้ามีเวลาอาจจะให้ทำหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ไม้เศรษฐกิจก็ได้ เห็นความขยันขันแข็ง อาจจะปรึกษาอาจารย์ส่าหรีดู
  • ที่นี่มีการบ้านเยอะ พร้อมที่จะแจก

เหนื่อยมากไหมวันนี้! อาบน้ำใจเย็นๆแล้วยิ้มบ้าง จะผ่อนคลายได้เยอะเลยยย..

  • กราบสวัสดีท่านครูงามๆ และสวัสดีทุกคนครับผม
  • บอกตรงๆ เลยนะครับ ตอนนี้ ยูคาชักจะชวนผมให้ทำวิจัยซะแล้วครับ ผมอยากจะทราบอัตราการเจริญเติบโต ว่าแต่ละพันธุ์มันโตด้วยอัตราเท่าไหร่ การเจริญเติบโตของราก การดูดสารอาหาร กับการส่งคืนกลับให้สิ่งแวดล้อมในระดับการเกื้อกูลแบบธรรมชาติ
  • การมีสารอาหารในดินเสมือนการมีน้ำอยู่ในบ่อ ฝนตกมาก็เติมน้ำในบ่อ เติมน้ำในดิน ต้นไม้ดูดขึ้นไปทั้งการดูดไปเพื่อสังเคราะห์แสง และดูดขึ้นไปเพื่อลดความร้อนในตัวเอง
  • จริงๆ แล้วต้นไม้ทุกชนิดก็ใช้น้ำใช้สารอาหารในดินทั้งนั้นครับ เพียงแต่ว่าเราจะต้องพิจารณาว่าแหล่งใดควรจะปลูกต้นอะไรให้เหมาะกับพื้นที่ จะปลูกพวกพืชพื้นเมืองเดิมได้ไหม หากไม่ได้จะปลูกอะไรในละแวกอีกได้ไหม
  • ต้องวิจัย หากหมดทางการปลูกยูคาก็เป็นหนทางหนึ่ง ไม่ใช่จะปลูกไม่ได้ แต่ต้องศึกษาให้ดี ไม่ใช่เห่อปลูกครับ ยูคามีหลายๆพันธุ์ (รออ่านบันทึกของท่านครู ผมเชื่อว่ายังมีไม้เด็ดอยูเยอะ)
  • การปลูกยูคาในทุ่งกุลา นั่นน่าจะเกี่ยวกับการลดความเค็มของน้ำในดิน ด้วยผมเคยเสนอไว้แล้วในบันทึกก่อนๆ ของท่านครู ว่าต้นไม้พวกนี้มันเก่งเพราะระบบรากลึกมาแล้วแผ่กว้างด้วย จะสามารถทำความสะอาดดินได้ดีระดับหนึ่ง เหมาะกับการดูดโลหะหนัก แล้วได้มีงานยืนยันว่าใช้ดูดความเค็มได้ด้วยเพื่อให้การปลูกข้าวเป็นไปได้ดี ดังนั้นหากบริเวณอื่นจะปลูกยูคาในนาข้าว ต้องศึกษาที่มาที่ไปด้วยครับ
  • หากทดลองปลูกยูคา กับต้นไม้พื้นเมือง อยู่เคียงข้างกันสองต้น ห่างซักสองเมตร
  • แล้วเว้นห่างไปซักยี่สิบเมตร ปลูกพืชพื้นเมืองอีกสองต้นห่างกันสองเมตร
  • อยากให้สังเกตเปรียบเทียบการเจริญเติบโตของไม้พื้นเมืองต้นนั้นนะครับ ว่าแตกต่างกันหรือไม่ครับ นี่เป็นการศึกษาผลกระทบไปด้วย ในเรื่องของการแข่งขันของอาหาร หรือทรัพยากรในดินที่มีอยู่ครับ
  • ปกติผมเองก็มักจะทำเองเหมือนกันเพื่อยืนยัน แต่ตอนนี้ได้แค่พล่ามอย่างเดียวครับ สิ่งที่ผมเขียนไปนี้ ผมคิดว่าท่านครูคงตอบได้หมดแน่ๆ เพราะท่านครูอยู่กับยูคามานานครับ
  • อีกอย่างคือ ให้สังเกตความหลากหลายทางชีวภาพด้วยนะครับ ว่าเป็นอย่างไร บ้าง หากขุดดินแล้วยังเจอไส้เดือนอยู่ในป่ายูคา ก็นับว่าโอเค ในอายุต่างๆ กัน
  • มีน้ำอยู่ในบ่อ มีเครื่องสูบน้ำไปจออยู่ในบ่อ อัตราการดูดกับอัตราการซึมเข้าของน้ำในบ่อไม่สมดุลกัน เช่น อัตราการดูดน้ำมากกว่า ต่อมาน้ำในบ่อก็หมดครับ
  • ต้องลองไปอ่านข้อมูลเยอะๆ และข้อมูลที่ท่านครูได้เขียนมา แล้วก็ที่สำคัญคือการศึกษาด้วยการปฏิบัติจริงครับ
  • ยูคา ไม่ใช่ไม้ของไทย แต่สามารถปรับใช้ในการปลูกในประเทศไทย แต่ศึกษาให้ดีครับ ออสเตรเลียมีเยอะครับ แต่ออสเตรเลียกับไทย สภาพต่างกันอย่างไร อันนี้ต้องศึกษาครับ
P
  •  ผมยังรอนักวิจัยยูคาฯที่ทุ่มเททำเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งอยู่ครับ
  • มีประเด็นคำถามรออยู่ 10,000 คำถาม
  • อีกสัก2-3 ตอนก็จะขยับไปออสเตรเลียแล้วครับ
  • กลับมาทำการวิจัยเรื่องนี้ละครับ จะเป็นประโยชน์ต่อโลก เพราะยังหาข้อสรุปไม่ได้ครับ
  • แต่ถ้าจะทำระดับประเทศพอไหวครับ ถ้าลุยสัก10ปี
  • พื้นที่บล็อกมีข้อจำกัดเรื่องการลงรายละเอียด ภาพต่างๆ จึงเขียนแบบเรียกน้ำย่อย หรือ ออเดิฟ แบบเล่าสบายๆแทรกความรู้นิดๆหน่อย   ถ้าลงเรื่องเครียดมักจะไม่อ่านกัน  อิอิๆๆ.ใชไหมครับ..
  • กราบสวัสดีครับท่านครู
  • ใช่แล้วครับผม เครียดมากลำบากครับ เครียดมากเดี๋ยวหน้าดำครับผม
  • หากสามารถทำแล้วตรวจคุณภาพดินไปด้วยพร้อมๆ กันก็คงดีมากๆ เลยครับ ผมเองอยากทำมากๆ ครับ จะได้ลองเอาโมเดลไปจับจริง แบบกัดไม่ปล่อย ก็คงดีครับ แต่ก็ไม่ใช่จะง่ายครับ เพราะบอกตรงว่างานวิจัยทางด้านต้นไม้ โมเดลอะไรพวกนี้ ยังแค่เด็กๆ มาก โดยเฉพาะการวิ่งไปถึงในระดับระบบนิเวศน์ครับ อีกอย่างเครื่องมือต่างๆ ก็แพงจริงๆ อยากมีตาทิพย์จริงๆ
  • หากท่านครูขยับไปถึงอัฟริกาด้วยก็ดีครับ อยากรู้เหมือนกันครับ ว่าเป็นอย่างไรบ้างครับ
  • เอมองออกไปนอกหน้าต่างมีดอกไม้บานขาวเต็มเลยครับ ที่นี่ดอกไม้มันจะออกดอกก่อนออกใบครับ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบนี้ครับ
  • พอใบแก่ก็จะมีผลออกมา ตอนนี้ใบไม้ผลิแล้วครับ เราก็ต้องให้งานผลิผลบ้างครับ
  • ขอบคุณครับผม สำหรับข้อมูลดีๆนะครับ
  • อีกเรื่องคือที่อยากจะทำคือ ปลูกยางในนาข้าว(ที่ยังใช้ปลูกข้าวอยู่นะครับ แล้วเปลี่ยนไปปลูกยาง)
  • ต้องมีคนช่วยเก็บข้อมูลด้วยครับ ไว้จะไปปรึกษานะครับ
  • ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ
P
  • อัฟริกา เล็งๆอยู่ครับ ไม่เคยไป แล้วแต่ท่านเล่าฮูแสวงจะชวนวันไหน หรือใครจะหนีบผมไปด้วยก็ได้นะครับ ไปเผ่ามนุษย์กินคนได้ยิ่งดี
  • ผม สนใจเรื่องการใช้ใบไม้เลี้ยงสัตว์
  • เพราะหญ้าขาดแคลน ใบไม้จะเป็นพืชอาหารสัตว์ที่สำคัญในภูมิประเทศที่แห้งแล้ง
  • ตอนนี้อยากเลี้ยงอูฐ แรด และยีร๊าฟ ครับ
  • แต่ก็จนปัญญา เพราะหาคนสนับสนุนความคิดเผลงนี้ยังไม่ได้ มีใครจะบริจาคสัตว์พวกนี้บ้างไหมครับ ถ้าเลี้ยงได้เยอะๆจะลองทำบาบิคิวแรตเลี้ยงญาติชาวบล็อกผมนะครับ
  • ไม่รู้จะไปอ้อนใครเขาถึงจะเข้าใจ ว่าการมองอนาคตในเรื่องที่มีความเป็นไปได้ ควรจะทำการศึกษาวิจัยล่วงหน้า
  • เรื่องปลูกยางในนาข้าวถ้าทำเพื่อการศึกษาวิจัยก็น่าสนใจ เพียงแต่จะต้องหาพื้นที่ๆแตกต่างกันมาปลูกวิจัย30-40 แปลง 
  • ข้าว ชาวนาขายได้ในราคาต่ำมาก
  •  ถ้าลดพื้นที่ปลูกข้าวอาจจะฉุดราคาข้าวให้สูงขึ้นได้บ้าง
  • ไม่ยังงั้นทุกคนก็ให้ชาวนาเสียสละเพื่อที่ตนจะได้บริโภคข้าวในราคาถูก  กลายเป็นว่าให้คนจนเสียสละเพื่อคนรวย
  • คนจนจะอยู่อย่างไรละครับ ที่เขาดิ้นรนปลูกยาง ปลูกยูคา ก็เพื่อแสวงหาช่องทางที่ดีกว่าเดิม..ซึ่งอาจจะหนีเสือปะจรเข้ก็ได้ เพราะยังไม่มีการทำวิจัย.
  • ใช่แล้วครับ ท่านครู มีอะไรหลายๆ อย่างในโลกใบนี้ให้ศึกษา ไม่ว่าจะเกิดปัญหาหรือเกิดประโยชน์ ก็วิจัยได้ทั้งนั้น ที่สำคัญคือ การจริงใจต่อการวิจัยแล้วต่อเนื่อง
  • หากหาอูฐมาเลี้ยง อูฐคงดีใจครับ แรดนี่ไม่แน่ใจครับ ส่วนยีราฟ นี่ก็น่าสนใจ มันกินใบยูคาได้ไหมครับ เพราะคอมันยาว ใครมีบ้านสองชั้น แบบว่าสวัสดีกับยีราฟได้เลย อิๆ
  • ความเสมอภาคในเรื่องของการประกอบอาชีพในระดับต่างๆ มันมีน้อยครับ หากคนกำหนดนโยบายไม่สามารถเปิดช่องทางในการทำมาหากินของคนระดับล่างได้ ชี้แนะเพื่อหาทางออก และมีทางออกแล้วก็รับในการเป็นหูเป็นตาให้เค้า
  • ขณะที่คนรวยขาดทุนพันล้าน แต่คนจนไม่ขาดทุนแต่ไม่มีอะไรจะกิน ไม่รู้ใครจะน่าเห็นใจมากกว่ากัน
  • ผมว่าพูดประเด็นเหล่านี้กันสองคนในบลอกนี้คงไม่มีใครกล้าเข้ามาแน่ๆ ขอโทษทีครับผมคุยแล้วมันจะเอาจริงเอาจังครับ อิๆ
เรียนท่านครูบา ราณีจะไม่อยู่หลายวันเลยค่ะ พานักศึกษาไปดูงานเลยแวะมาลาคะ สวัสดีค่ะ แล้วเจอกันวันศุกร์ค่ะ
P
 เดี๋ยวสิ ! ขอไปด้วยคน ไปดูงานที่ไหน โธ่! ทำไมไปหลายวันขนาดนั้น อ.หว้าไปด้วยไหม? กลับมาเล่าให้ฟังบ้างนะครับ
P
ผมปลูกไม้ไว้หลายชนิด ไม่ได้ให้มันกินใบยูคาเหมือนหมีโคล่าหรอกนะครับ มีให้เลือกชิมได้ไม่อั้น ถ้าเลี้นงอูฐจะได้ลองขี่อูฐบ้าง เหมือนลอเรนแห่งอารเบียไงครับ.
เรียนท่านครูบา ลูกหว้าไม่ได้ไปด้วยค่ะ พานักศึกษาบัญชีไปดูงานหลายแห่งค่ะ แล้วไปชลบุรี กลับมาวันพฤหัสบดี มาอบรมKM ของที่เทศบาลเมืองพิษณุโลกจัดค่ะ(คุณหมอสุธี ฮั่นตระกูลจัดค่ะ) วันสุดท้ายลูกหว้าไปด้วยค่ะ คงคิดถึงแย่เลยค่ะ
 

P

        อาจารย์ส่าหรีครับ

  • ผมจะเอาความคิดถึงจำนวนมากไปเก็บไว้ที่ไหน
  • ขนาดทยอยส่งไปให้ทุกวันก็แทบแย่อยู่แล้ว
  • ถ้าต้องมาสะสมไว้เป็นสัปดาห์กรุแตกแน่ๆ
  • โปรดอย่าให้หยุดชะงักเรื่องนี้เลยนะครับ โธ่ๆๆๆ

ทำไมอาจารย์ไม่ลองต่อเน็ทด้วยโทรศัทพ์ละครับ

ปรึกษาอ.หว้าก็ได้ ผู้เชี่ยวชาญระดับโปรแกรมเมอร์เรียกพี่เชียวเหละรายนั้น

ครูบาขา เนื้อหาบันทึกเหมือนๆ กัน ค่ะ copy 2 ครั้งรึปล่าวค่ะ .... ได้ข้อมูลเกี่ยวกับยูคาฯ พอเอาไปคุยๆ กับอาจารย์ที่ภาคที่เค้าเคยปลูกยูคาบ้างแล้ว...แต่ยังสงสัยอยู่ค่ะ ว่า แรกๆ ก็ส่งเสริมกันดี แต่สักพักก็ต่อต้านกัน สาเหตุคืออะไรค่ะ......

P

 แรกๆอยู่ในช่วงการเรียนรู้

  • เพราะเป็นของแปลกใหม่
  • ต่างคนต่างทำตามที่เข้าใจ
  • บังเอิญว่าแผนรองรับเรื่องนี้ไม่ชัดเจน
  • รัฐฯโยนให้ภาคเอกชนที่ได้ประโยชน์วางโครงสร้าง
  • ความไม่รู้ ไม่เข้าใจ แบ่งคนออกเป็นสองฝ่าย
  • ถ้าศึกษา ให้เห็นความดีในความด้อย และความด้อยอยู่ในความดี ก็จะไม่มีความเห็นต่างแบบเอาเป็นเอาตาย ต้องสีดำเท่านั้น เป็นสีเทาไม่ได้ สีเขียว ฟ้า เหลืองก็ไม่ได้ คิดแบบสุดโต้ง
  • อะไรที่เกิดโดยธรรมชาติ ยังไม่เคยเห็นว่ามีสิ่งใดบ้างที่มันไม่มีดีสักอย่างเดียว
  • ปัจจุบันแรงต้านคลี่คลายไปเยอะ เพราะได้เรียนรู้ด้วยตนเองว่าที่แท้มันเป็นฉันใด
  • เดินมาถึงจุด ใครใคร่ปลูก ปลูก ใครใคร่เลือกไม้อื่นก็ ทำไป เพราะมีเหตุผลว่าดีทั้งคู่
  • ตลาดดีขึ้น โรงสับไม้มีแทบทุกจังหวัด ราคาสูงกว่าเดิม การใช้ประโยชน์ก็กว้างขวาง มีตัวอย่างให้เห็นให้เข้าใจ
  • สรุปว่า มีการปลูกแบบใช้ความรู้ ตัดสินใจเองได้ ไม่ต้องฟังโฆษณาชวนเชื่อไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายไหน
  • เกิดเป็นฝ่ายที่3 คือฝ่ายที่เข้าใจและเชื่อมั่น

  ตอนนี้เขียนแสดงการใช้ประโยชน์โดยรวม

ข้อมมูลเพิ่มเติมครับ

การเพาะกล้ายูคาลิปตัสในแปลงเพาะ หลังจากเมล็ดงอก และต้นกล้าโตได้ประมาณ 2-3 ซม. ให้นำสปอร์ของเห็ดผึ้งสีทอง หรือผึ้งทาม มาละลายน้ำรดลงไปที่แปลงเพาะกล้า พบว่าต้นกล้ายูคาลิปตัสมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่า เปอร์เซ็นต์การรอดหลังการปลูกลงแปลงมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดการที่เหมือนกัน

ข้อมูลเพิ่มเติมที่กลุ่มเกษตรกรบ้านนาเมือง ต.กุดปลาดุก อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ ครับ

ขอบคุณครับ

  • เข้ามาช้ามากครับพ่อ
  • งานมันเร่งเร้า
  • ไม่เสร็จสักที แต่ก็มีความสุขตามอัตภาพครับพ่อ
  • ชอบรังผึ้ง ตอนเป็นครูซนๆ ไปตีกับเพื่อนและลูกศิษย์ชาวปกากะญอ ปรากฏว่าใช้ตอกทอยขึ้นไปได้น้ำหวานมาหลายบีบครับ
  • แต่ไม่ค่อยพบผึ้งในไร่ยูคา พบที่บ้านพ่อเป็นที่แรก
  • ทึ่งจริงๆ ครูบาครับยูคานี่
  • เคยมีการประชุมของทางราชการว่า ไม่ปิดกั้นในการส่งเสริมการปลูก เช่นเกียวกันกับ มันสำปะหลัง  แต่เลือกพื้นที่ให้ปลูก คือไปปลูกในพื้นที่แห้งแล้งดินแลว เอาพื้นที่ดินดีๆไปทำอย่างอื่น  เขาว่างั้นครับ
  • ผลงานระดับ Super Master เช่นนี้ ต้องเขย่าวงการแน่ๆเลย เอาเลยครับ อะไรที่เป็นความจริงมันก็เป็นความจริงวันยังค่ำ เพียงแต่ว่าจะรับฟังกันหรือไม่เท่านั้น
  • น้องเม้งเขาสนใจหลายอย่างนะครับ  ดี ถ้ามี 10 หัว 20 มือ บนสองขา มันคงทะเลาะกันเองแน่เลยว่าจะเอาอะไรก่อนหลัง อิ อิ
  • ดีครับ คิดดี มีสาระ ทำต่อไป อย่างหยุดนะ น้องเม้ง
  • ขอบคุณพี่ไพศาลมากครับผม
  • ผมก็ชักสนใจจะทำวิจัยพืชต้นนี้เหมือนกันครับ ต้องอาจจะต้องใช้ดินหรือแปลงทดลองแถวๆ อีสานนะครับ ตามที่ชาวบ้านสนใจจะปลูกนะครับ แต่ยังติดปัญหาเทคโนโลยีอีกครับ ส่วนบนดินนี้ยังพอไหว ยังเห็นอยู่ครับ ส่วนใต้ดินนี่ซิครับ จะติดตามการโตได้อย่างไรหนอ
  • ใครมีคำตอบให้บ้างครับ แบบไม่ต้องถอนรากถอนโคนนะครับ
  • ในสมองก็เปิดปิดสวิทช์กันสนุกเลยครับ ตอนนี้ อิๆ แต่ผมมันประเภท Multitasking อยู่แล้วครับ เว้นแต่ว่าสมองจะพังเสียก่อนครับ แต่มีท่านครูกับพี่ไพศาล อ.แสวง และหลายๆ คนในทีมคงสบายไปเลยครับ
  • แต่ว่าแต่ว่ากลับไป จะได้เจอกันหรือเปล่าก็ไม่รู้ครับเนี่ย เพราะมีภาระที่เป็นทางการรออยู่เหมือนกันครับ การสอน และการวิจัยครับ
  • คงมีโอกาสได้ไปดงหลวง และมหาชีวาลัยอีสานนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะครูบา...

  • ครูอ้อยตามคุณเม้งเข้ามาอ่านแล้วค่ะ..รู้อะไรเพิ่มขึ้นเยอะเกี่ยวกับต้นยูคา  ยอมรับเลยนะคะว่า  ครูอ้อยรู้ประโยชน์ของมันแค่  สะกัดเป็นน้ำหอมให้ดม  กับเป็นเสาเข็ม  ส่วนอย่างอื่นๆมากมาย  เพิ่งจะรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ..ที่นำพาให้รู้จักค่ะ

P

การปล่อยให้คนรักคิดถึงนานๆ เป็นบาป

เกิดพิษภัยในจิตใจยิ่งกว่ายูคาลิปตัสในป่าหิมพานต์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท