การประเมินตามสภาพจริง (9)


การเรียนรู้ตามสภาพจริง (Authentic Learning) เป็นเรื่องเกี่ยวกับความสามารถของผู้เรียน ในการประยุกต์ใช้ทักษะที่เรียนรู้มาให้เข้ากับชีวิตจริงและสภาพแวดล้อมที่เป็นบริบท
บันทึกฉบับที่แล้วครูอ้อยเขียนเรื่อง  การประเมินผลแบบทางเลือก  ซึ่งท่านผู้อ่านสนใจอ่านได้ที่บันทึกเรื่อง  การประเมินตามสภาพจริง (8)
ส่วนบันทึกฉบับนี้เป็นบันทึกที่เกี่ยวกับ  วิธีการวัดและเครื่องมือวัด  ครูอ้อยศึกษาไปด้วยและเขียนบันทึกตามความเข้าใจ   จึงทำให้การบันทึกนั้นกระท่อนกระแท่นไปบ้าง  ครูอ้อยขออภัยไว้ ณ ที่นี้  แต่ทั้งหมดที่เขียนนี้  เพื่อความเข้าใจในเรื่องของการวัดและประเมินทางภาษา  ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย  หากอ่านและทำความเข้าใจไปทีละขั้นตอน 
วิธีการวัดและเครื่องมือวัด  ผู้สอนต้องพิจารณาสร้าง  และ .....หรือ.....เลือกใช้เครื่องมือและวิธีการประเมิน  ซึ่งเท่าที่ครูอ้อยศึกษานั้น  มีอยู่หลายรูปแบบทีเดียว  เพื่อให้ได้ภาพเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่กว้าง  และสมบูรณ์ขึ้น  บางครั้งอาจต้องปรับวิธีการ  ดัดแปลงเครื่องมือวัดสำหรับใช้กับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ 
และบางกรณี  จำเป็นต้องใช้เทคนิคการประเมินที่ผสมผสานหรือหลากหลาย  ทั้งนี้ต้องให้สอดคล้องและครอบคลุม  ทั้งด้านสติปัญญา  ด้านความรู้สึกนึกคิด  และด้านทักษะการแสดงออก  ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดการเรียนการสอน 
วิธีการวัดผลมีดังนี้.... 
1.  การวัดผลการเรียนรู้ด้านความรู้ (Knowledge)  ซึ่งได้แก่...
     1.1  ความรู้ที่นักเรียนพึงได้รับ  ได้แก่ 
            1.1.1  ความรู้เชิงประจักษ์ (Declarative knowledge)  คือ ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความหมาย  หรือลักษณะของสิ่งของ  หรือปรากฏการณ์ต่างๆ  ทั้งที่เป็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน  ตลอดจนสาระสำคัญทางวิชาการ  เช่น  ข่าวเหตุการณ์ประจำวัน  หลักไวยากรณ์  ระดับภาษา  เครื่องหทายวรรตอน  ฯลฯ 
            1.1.2  ความรู้เชิงกระบวนการ (Procedure knowledge) คือ  ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ  ขั้นตอนการปฏิบัติ  ซึ่งสัมพันธ์กับทักษะ  ความรู้เชิงกระบวนการนี้  เป็นความรู้ที่พัฒนามาจากความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง  และจะมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ  ตามประสบการณ์  หรือ  การเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้น  เช่น  การปฏิบัติการทดลอง  การอ่านแผนที่  การสื่อสารกับบบุคลลต่างๆ 
           1.1.3  ความรู้เชิงเนื้อหาในบริบท (Contextual knowledge)  คือความรู้ที่เป็นเนื้อหาในสภาวะหนึ่งๆ   ทั้งนี้ข้อมูลหรือทักษะ  จะมีความหมายเฉพาะตามเงื่อนไขที่กำหนด  เช่น  รู้ว่าควรใช้คำทักทายใดกับระดับบุคคลต่างๆ  นักเรียนควรรู้เกณฑ์การเลือกใช้ระหว่างคำทักทาย  และระดับบุคคลเหล่านั้นด้วย  ความรู้นี้แตกต่างจากการรู้คำศัพท์คำทักทายหลายๆคำ  แต่เป็นความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาในบริบทที่ว่า  การใช้ภาษาระดับหนึ่ง  มีความเหมาะสมกับระดับบุคลลที่พูดด้วยมากกว่าการใช้ภาษาอีกระดับหนึ่ง 
ครูอ้อยขอจบบันทึกเรื่องนี้เพียงเท่านี้  ในบันทึกต่อไป  ครูอ้อยจะกล่าวถึง  วิธีการวัดและเครื่องมือวัด  ที่สามารถนำมาใช้ควบคู่กับการจัดการเรียนการสอน
โปรดติดตามนะคะ...

 

หมายเลขบันทึก: 73555เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2007 00:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท