โคเพื่อชีวิต ตอนที่ 35 เลี้ยงโคอิงระบบ


ถึงเวลาแล้วที่ราชการและชาวบ้านต้องทำงานแบบอิงระบบ แบบพบกันครึ่งทางระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงาน เหมือนที่กรมปศุสัตว์และมหาชีวาลัยกำลังทำอยู่ในเวลานี้ในกรณีการเลี้ยงโคและเลี้ยงไก่

           หลายท่านคงเคยเห็นชาวบ้านที่เลี้ยงโคไปตามท้องทุ่ง ที่ทั้งคนเลี้ยงและโคผอมโซ เดินเซไปตามข้างทาง เห็นการเลี้ยงแบบนี้มานานเนิ่น  อาจเกิดคำถามขึ้นในใจทำไมไม่ปรับเปลี่ยนวิธีการ 

          อย่าเพิ่งไปตัดสิน ชาวบ้านค่ะ  เพราะแต่ละคนก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์  คือสถานการณ์ของความไม่พร้อม

         ไม่พร้อมในเรื่องทุน  ไม่พร้อมในเรื่องความรู้  จึงไม่กล้าแหกคอกออกนอกสถานการณ์ 

          โดยเฉพาะสถานการณ์ความไม่พร้อมในเรื่องความรู้ เพราะทุกวันนี้ชาวบ้านมีความรู้ไม่พอใช้และความรู้ตกยุค จึงนำมาปรับใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันไม่ได้

          เหตุใดชาวบ้านจึงมีความรู้ไม่พอใช้กับยุคสมัยนี้

         เพราะชาวบ้านไม่ชอบเรียนรู้ ไม่เป็นนักเรียนรู้ แต่ชอบรับความรู้

         เพราะชาวบ้านไม่มีโอกาสเข้าถึงความรู้

         แล้วความรู้อยู่ไหน  หรืออยู่ไกลถึงนอกจักรวาล

        ความรู้อยู่ในตัวคน อยู่ในนักวิชาการและหน่วยงานของรัฐ

         แล้วทำไมความรู้และชาวบ้านจึงจูนหากันไม่เจอ

        เพราะชาวบ้านเป็นบ่าวที่กลัวนาย เหตุที่นายชอบทำตัวเหินห่างและวางกร้ามใหญ่โตเป็นบางครั้ง

        เพราะนายหรือข้าราชการติดขัดด้วยกฏ ด้วยกรอบและระเบียบของระบบราชการ  โอกาสที่จะหนีข้ามรั้วมาพานพบชาวบ้านมีน้อย  จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายไม่รู้ใจกันเท่าที่ควร  เกิดการคิดแทนกันว่านั่นคือสิ่งที่ชาวบ้านอยากได้และอยากมี 

        ถึงเวลาแล้วที่ราชการและชาวบ้านต้องทำงานแบบอิงระบบ แบบพบกันครึ่งทางระหว่างชาวบ้านกับหน่วยงานรัฐ เหมือนที่กรมปศุสัตว์และมหาชีวาลัยกำลังทำอยู่ในเวลานี้ในกรณีการเลี้ยงโคและเลี้ยงไก่

    

       เจ้าหน้าที่จากกรมปศุสัตว์มาร่วมเรียนรู้ที่สวนป่า

        ย้ายห้องทดลองห้องปฏิบัติการจากในกรมมากองไว้กับชาวบ้าน ให้ชาวบ้านเป็นผู้ทดลองและปฏิบัติการจริงตามบริบทที่ชาวบ้านมี เกิดปัญหาติดขัดมีผู้รู้ในหน่วยงานมาช่วยบอกช่วยแก้ปัญหา 

      ชาวบ้านก็จะมีความรู้ติดในตัว ตามความรู้ทัน และมีงานมีอาชีพเหมาะสมกับตนเอง

      กรณีเรื่องการเลี้ยงโค ที่ท่าน ดร.วินดา กำเนิดเพชร์ ได้ร่วมทำวิจัยการเลี้ยงโคพันธุ์ซาฮิวาล พันธุ์เดรามาสเตอร์และพันธุ์พื้นเมืองร่วมกับเกษตรกรในจังหวัดบุรีรัมย์  ที่ท่านได้นำความรู้ในทางวิชาการมาสานต่อกับวิชาเกินของชาวบ้านร่วมกันว่า

       จะเลี้ยงโคพันธุ์อะไร เลี้ยงอย่างไร จะช่วยเหลือแบบไหน ชาวบ้านทำได้หรือไม่ได้เพราะอะไร จะพัฒนาไปได้ไกลเพียงใดมีปัจจัยอะไรผลักดัน

       จึงเป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบร่วมกัน

          

หมายเลขบันทึก: 73549เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2007 23:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  •  ต้องรักษานักวิชาการที่เท้าติดดิน ไว้ให้ดีครับ
  • ส่วนนัวิชาการที่เท้าไม่ติดดิน ก็ลองหาบันได มาให้ไต่ขึ้นลงเหมือนอาจารย์แสวง บอก คงจะดีไม่น้อยครับ
คงต้องให้พ่อครูดึงสายป่านลงมาจากลมบน หรือให้อาจารย์แตะส่งลงบันไดแน่ ๆ ค่ะพี่พงษ์

  1. ทำดีได้ดี
  2. แก้ไขความไม่ดีนี่เป็นอีกขั้นหนึ่ง
  3. ชวนกันทำความดีขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
  4. ขยายผลความดีขั้นไปอีกขั้นหนึ่ง
  5. ตั้งฐานดความดี ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
  6. เอาความดีคลุมใจ ขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
  7. เอาความดีคลุมโลก แบบแม่ชีเทราซ่า ยอดเลย

ขอบคุณค่ะพ่อครู

       ตอนนี้กำลังแก้ไขความไม่ดีบางอย่างในตัวเพื่อให้เกิดความดี แล้วขยายความดี ตั้งฐานความดี ให้ความดีคลุมใจให้ได้ในที่สุดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท