ข้อคิดและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน (7)


เทคนิคการ warm - up เป็นอย่างไร มีคุณค่าอย่างไร ได้กล่าวไว้ในตอนที่แล้ว แต่สำหรับตอนนี้ เป็นเรื่องของกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งนับว่ามีประโยชน์และสำคัญเหมือนกันได้แก่ กระบวนการคิดและกระบวนการทำงาน ซึ่งครูส่วนใหญ่จะละเลยและมองข้ามความสำคัญไป

 ครูอ้อยได้นำเสนอ  ข้อคิดและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอนมาหลายขั้นตอนแล้ว  ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้นล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนของครูอ้อยเอง  บางตอนได้กล่าวถึงเทคนิคการ warm-up ข้อคิดและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน (6)  หรือรายละเอียดของการ warm -up ใน  ข้อคิดและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน (5) ซึ่งมีท่านผู้สนใจได้อ่านและแสดงความคิดเห็นไว้  ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา  ตลอดทั้งการเติมต่อบันทึกในคราวต่อไปด้วย  ท่านคือ  ดร. แสวง รวยสูงเนิน  ที่ได้ให้ข้อคิดกับครูอ้อยไว้หลายประการ  ซึ่งต้องขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้

ต่อมาในตอนนี้  ครูอ้อยจะขอย้อนไปกล่าวเรื่องกระบวนการคิดและกระบววนการทำงาน  ที่จะไม่กล่าวก็ไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่น่าสนใจ  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  และเน้นกระบวนการทำงานด้วย

28.  ภาษาอังกฤษเป็นวิชาหนึ่งที่นิยมจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  ซึ่งได้จัดทำกันมาหลายหน่วยการเรียนรู้  และได้ผลคุ้มค้ากับการจัดการเรียนรู้  นักเรียนได้เรียนรู้ในแนวกว้างและลึก  ด้วยกระบวนการที่ชัดเจน

นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดระดับสูง  และฝึกกระบวนการทำงาน  (plan - do-check - action )

p.....plan.....ทักษะการคิดวิเคราะห์  วางแผน  บูรณาการหลักการและเนื้อหาวิชาต่างๆ  อีกทั้งเพิ่มประสบการณ์ชีวิต  ได้แสดงออกถึง  ความรู้  ความถนัด  และแสดงศักยภาพของสมาชิกในกลุ่ม  รู้จักการแสวงหาความรู้  ซึ่งครูจะมองเห็นภาพรวมของนักเรียนทั้งหมด  เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  นักเรียนจะรู้จักสรุปการปฏิบัติงานทุกครั้ง  ที่ย้ำเน้นกระบวนการทำงาน  มีการมอบหมายงาน  การแบ่งงานที่เหมาะสมให้กันและกัน  และเกิดคุณลักษะที่พึงประสงค์ตามเจตนารมย์ของหลักสูตร ฯ ด้วย

d.....do  ทักษะการสังเคราะห์  รู้ขั้นตอน  นักเรียนและครูจะรู้ว่า  ใคร  ได้ทำอะไร  ตรงไหน  อย่างไร  ปฏิบัติได้ถูกต้องตามขั้นตอน  จดบันทึกการทำงาน  และเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในเรื่องการทำงานอีกครั้ง

c......check. ทักษะการวิเคราะห์  เปรียบเทียบการทำงานที่ทำ  ภาพของงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว  มีการตรวจสอลความถูกต้องด้วยทุกครั้ง  เสาะหาแหล่งหลักฐานอ้างอิง  ระบุจุดข้อบกพร่องที่จะต้องแก้ไขและปรับปรุง  และเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในเรื่องการทำงาน  การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  และภูมิใจในผลงานของตนเอง

a.....action  ทักษะการวิเคราะห์  สังเคราะห์  ตัดสินใจได้ว่า  จะทำอย่างไรต่อไป  ปรับแก้ไขให้ตรงกับงานที่ได้คิดไว้  หรือ  อาจจะยกเลิกแผนงานเดิม  แล้วคิดหาแนวทางใหม่  วางแผนกันใหม่

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่นักเรียนจะได้รับจากการทำงาน  นี้คือ

มีความคิดสร้างสรรค์

มีระเบียบวินัย  ละเอียด  รอบคอบ

มีความรับผิดชอบ  อุตสาหะ  พากเพียร

เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น

ภูมิใจในผลงาน  รักการเรียนรู้

มีทักษะกระบวนการ  ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  มีความเชื่อมั่น  พึ่งพาตนเองได้

29.  เมื่อนักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการกลุ่มแล้ว  ก็สามารถทำงานในโครงการ (Project)  ได้  โดยเฉพาะนอกเวลาเรียน  โดยจัดกิจกรรมในชั้นเรียนในระยะแรก  เพื่อชี้แจงรายละเอียดให้ชัดเจน  วิเคราะห์กระบวนการ  ขั้นตอนในการทำงาน  และกำหนดระยะเวลาส่งงานในขั้นตอนต่างๆ  หลังจากนั้นได้มอบหมายให้นักเรียนได้แบ่งงานและทำงานนอกเวลาเรียน  ระหว่างการทำงาน  ต้องมีการติดตามดูแลให้นักเรียนได้นำงานนั้นมาส่งตามกำหนดเวลาที่นัดหมาย  เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้า  และให้ความช่วยเหลือในจุดที่จำเป็น  เมื่องานสำเร็จแล้ว  ครูผู้สอนจึงจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน   เพื่อการประเมินร่วมกัน

จะเห็นได้ว่า  การจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น  มีหลายขั้นตอน  ที่ผู้สอนจะต้องให้ความสำคัญ  นำกระบวนการต่างๆดังที่กล่าวมาแล้ว  สอดแทรกและดำเนินการให้เห็นชัดเป็นรูปธรรม  นักเรียนจะมีผลงานที่น่าภาคภูมิใจ

หมายเลขบันทึก: 65380เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 01:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อรุณสวัสดิ์ค่ะ  ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ตื่นแต่เช้าเลยนะคะ แต่ทีหลังครูอ้อยนิดนึง ชมรมคนตื่นเช้า เพราะเหลือเวลาน้อย อิอิ

ขอบคุณค่ะที่ติดตาม  แบบไม่เข้าใจผิดค่ะท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท