เมื่อคุณธรรม...นำการศึกษา โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ในงาน KM แห่งชาติ 3 (ถอดเสียงบรรยาย 2.1)


สำหรับตอนที่ 2 ผมขอแบ่งออกเป็นตอนย่อยครับ เนื่องจาก memory gotoknow เต็ม และ เวลาจำกัดครับ

 คุณธรรม...นำการศึกษา ของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุทธยา ตอนที่ 1

------------------------------------------------------------

    นี่ก็คือรูปแบบการเรียนการสอนในโรงเรียนสัตยาสัย น่ะครับ  เอ่อ.. ถ้าเผื่อเราดูในรูปแบบอันนี้น่ะครับ ด้านบนตรงนี้ก็คือเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ตรงนี้เองเราจะสอนให้ผู้เรียนรู้จักตัวเอง รู้จักวิธีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นอย่างไร เขาจะต้องเข้าใจน่ะ แล้วก็ด้านล่าง น่ะตรงนี้ก็คือบทบาทของครู ครูจะสอนอย่างไร จะช่วยให้เด็กเป็นคนดีได้อย่างไร แล้วเราเกี่ยวข้องกับโรงเรียนทั้งหมดน่ะครับ แล้วโรงเรียนก็อยู่ในชุมชน ชุมชนกับโรงเรียนต้องช่วยเหลือกันอย่างไร ถึงจะให้เกิดความดีในโรงเรียน แล้วก็ทำให้เกิดความดีในชุมชนด้วย แล้วก็ไปถึงโลกภายนอกน่ะครับ ก็จะมีความสัมพันธ์กันไปหมดแล้วเราก็จะต้องพิจารณาทุกอย่างด้วยกันน่ะครับ ..เอาล่ะเรามาดูบทบาทของผู้เรียนก่อน ผู้เรียนเนี่ยน่ะครับ (ตอนนี้ขยายใหญ่ เมื่อกี้ท่านอาจจะมองไม่เห็นน่ะ ตอนนี้ก็น่าจะมองเห็น) สมมติว่านี่คือผู้เรียนครับ ในพื้นที่ตรงนี้น่ะคัรบ พวกเราทุกคนก็คือผู้เรียน ไม่ใช่แต่เด็กนักเรียน เพราะการเรียนรู้ของมนุษย์นี่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นใครน่ะครับ แล้วก็ในรูปแบบของอันนี้เราจะใช้เรื่องของจิตใจเป็นหลัก ผมก็ทราบดีว่ากระทรวงศึกษาฯ ก็พยายามขอให้เราโรงเรียนทุกโรงเรียนใช้ BBL (Brain Base Learning) แต่ท่านครับพิจารณากันให้ดี เรามีของดีอยู่ในประเทศไทยของเรา แต่เราพยายามไปตามแบบฝรั่ง น่ะเขาใช้ Brain Base กันในยุโรป Brain Base นี่ก็คือการใช้สมอง ในสมองของเรา เรามี 1 แสนล้านเซลล์น่ะครับ ..แล้วสมองซึ่งเราจะต้องพยายามเชื่อมโยงกันให้มากที่สุด ยิ่งเชื่อมดโยงกันมากเท่าไร เรายิ่งฉลาดเท่านั้น เพราะว่าเซลล์ตัวนึงก็เหมือนกับหน่วยความจำอันนึง แล้วเมื่อเป็นหน่วยความจำเนี่ย น่ะครับ เราเข้าไปจุดนั้น ถ้าเผื่อมันเชื่อมกับที่อื่น แป๊บเดียวเราก็อะไรต่ออะไรเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ถ้าเผื่อมันไม่มีการเชื่อมโยงเราก็รู้แค่นั้น แล้วเราก็ไม่เข้าใจเราก็ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร เกี่ยวข้องกับเรื่องอื่นได้อย่างไร เพราะฉะนั้นใน Brain Base Learning เราพยายามสร้างให้เด็กฉลาดโดยการเชื่อมโยงพวกเซลล์ในสมอง แต่มันมีปัญหา..ถ้าเผื่อเราใช้เพียงแค่นั้นน่ะ แล้วผมก็ต้องบอกว่า อย่าไปตามหลังฝรั่งเขาเลย เพราะถ้าเราไปตามหลังฝรั่งสังเกตดูเด็ก เยาวชนของเขา เขาเป็นอย่างไร เขาใช้ Brain Base Learning เด็กเขาจะฉลาด แต่ดูปัญหาในสังคมของเขา เด็กฝรั่ง เด็กอเมริกัน ติดยาเสพติดกันเยอะมาก มั่วเซ็กส์กันตลอด เพราะว่าในการที่เขาเชื่อมโยงสมองของเขาเนี่ย เขาจะรู้เลยว่าเขามีเสรีภาพ เขาเป็นตัวของตัวเอง เขาจะคิดอะไรก็ได้ ทำอะไรก็ได้ น่ะเขาจะคิดอย่างนั้น ..แล้วก็ปัญหาของ Brain Base Learning ก็คือ เมื่อเราตาย สมองตาย ..จบ! ไม่มีอะไรเหลือ เพราะฉะนั้นพวกคนที่เขาใช้ Brain Base Learning เนี่ยเขาก็จะคิด บอกว่า..เรามีเวลาเพียงแค่นี้ เราจะสนุกสนานกันอย่างเต็มที่ เราจะทำอะไรก็ได้ เราจะไม่ต้องไปฟังเรื่องศิลธรรม คุณธรรมอะไร เพราะว่าเรามีเวลาแค่นี้ แล้วเราก็ตาย..ก็จบสิ้น แล้วมีประโยชน์อะไรที่จะสร้างความดี เขาจะคิดวิเคราะห์ออกมา น่ะ เพราะไหนๆ ก็ต้องตายกันอยู่แล้ว ไหนๆ มันก็จบสิ้นแล้ว เพราะสมองมันจบแล้วน่ะฮะ  ถ้าเกิดใช้ Brain Base Learning เขาจะคิดวิเคราะห์ออกมาอย่างนี้แล้วก็สร้างปัญหาให้กับสังคม เพราะว่าเขาไม่ต้องสร้างความดีเลยน่ะ เขาอยู่ของเขาไปวันๆ นึง เขาจะเสพยาเสพติดก็ได้ เขาจะมั่วเซ็กส์อะไรเนี่ยถือว่าแค่ชีวิตเดียวน่ะ งั้นเอาเต็มที่เลย ทุกอย่างน่ะครับ ...นี่คือ Brain Base Learning แล้วเราไปตามเขาทำไม? ผมไม่เข้าใจจริงๆ  ทำไมเราต้องไปตามฝรั่งในเมื่อเรามีของดีอยู่ในประเทศไทยของเรา เราต้องใช้รูปแบบของจิตใจ จิตใจนี่มันไม่ได้ตายไปพร้อมกับสมอง จิตใจของเรานี่น่ะครับมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับสมองอย่างเดียว เราไม่ต้องห่วงหรอก ถึงเวลาเมื่อเราฝึกจิตใจของเราให้ดี สมองมันจะเชื่อมกันเองครับ แล้วเด็กก็ฉลาด เขาก็จะคิดวิเคราะห์ได้เก่ง ปัญหาของสังคมของเรา..ใช่...เด็กของเราคิดวิเคราะห์ไม่เก่ง ตอน สมศ. ไปตรวจโรงเรียนต่างๆ ก็สอบตกด้วยข้อสี่ ข้ออะไรเนี่ยนะครับ มาตรฐานพวกนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคิดวิเคราะห์น่ะฮะ ...แต่เราไม่ต้องไปห่วงจุดนี้น่ะครับ สร้างคนดีก่อนเรื่องของจิตใจเป็นเรื่องสำคัญ ตัวที่จะรับรู้ทุกอย่าง เข้าใจทุกอย่างคือจิตสำนึกของเรา ส่วนนี้สำคัญมาที่เราจะต้องฝึก ต้องอบรมเด็กของเรา ฝึกเขาให้ได้น่ะ ถ้าเผื่อจิตใจมันกระโดดโลดเต้นวิ่งทั่วไปหมด เขาก็เรียนหนังสือไม่ได้ เด็กสมาธิสั้นนี้น่ะครับเดี๋ยวต้องกระโดดไปโน่นกระโดดไปนี่ เราต้องฝึกให้จิตสงบ ให้นิ่ง เพราะฉะนั้นต้องดึงสติมาอยู่กับตัว การเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้น ความเข้าใจอะไรต่ออะไรการรับรู้ก็จะเกิดขึ้น จุดนี้น่ะสำคัญที่สุดที่เราจะต้องฝึกให้ได้ ไม่ใช่ไปฝึกเชื่อมโยงตัวสมอง น่ะครับ มันจะเกิดขึ้นอัตโนมัติ เรื่องนั้นเราไม่ต้องไปห่วงอย่าไปเน้นตรงจุดนั้นน่ะครับ มาเน้นที่จิตใจของเราดีกว่า การเรียนรู้นี่ทุกคนก็รู้ว่า ..เอาล่ะทั่วโลกยอมรับกัน วิทยาศาสตร์ยอมรับกันว่า เราต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เรารับข้อมูลเข้ามาโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 น่ะ ..เราใช้ตาในการมอง หูในการฟัง อันนี้ไม่มีใครเขาเถียงน่ะฮะ เราต้องเรียนรู้อย่างนั้น ...แต่อย่าไปคิดว่านี่คือวิธีเดียวที่เราจะเรียนรู้ ไม่ใช่ มันเป็นแค่ส่วนเดียวที่เราต้องเรียนรู้ น่ะฮะ ใช่เราต้องเข้าใจว่าข้อมูลที่เรารับไว้นี่มันก็จะบันทึกไว้ใน memory ของเรา เหมือนกับตอนใส่ข้อมูลอะไรเข้าไปมันก็เข้าไปอยู่ใน Mamory จะชั่วคราวหรือจะถาวรอะไรก็ว่าไปน่ะครับ แต่เราจะมีการบันทึกข้อมูลทุกอย่าง อยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา และมันสำหรับรูปแบบอันนี้น่ะครับ ข้อมูลที่เราบันทึกไว้ไม่หายไปไหน ไม่มีการลบล้างออกไปครับ ถ้าเผื่อทฤษฎีของฝรั่งเขาจะบอกว่า เรามี Short term memory – Long term memory น่ะ..ความทรงจำระยะสั้น ความทรงจำระยะยาว อะไรที่เป็นความทรงจำระยะสั้น ประเดี๋ยวเดียวมันก็เลือนหายไป ถ้าเกิดเราไม่ใช้ เพราะอะไรครับ เพราะว่าในสมองของเรานี่เมื่อเขาใช้ทฤษฎีของสมอง ถ้าเผื่อเราไม่ใช้เซลล์ในสมองของเรา มันจะค่อยๆ ฝ่อ แล้วมันก็ตายไป มันก็จะหายไปจากระบบ  แต่จิตใต้สำนึกของเราไม่มีวันหายไปไหน มันจะอยู่ตลอดครับน่ะ เราอาจจะคิดว่าเราลืมไปแล้ว มันหายไปแล้ว แต่ความทรงจำอันนั้นยังคงอยู่ต่อแล้วเราสามารถพิสูจน์ได้โดยการเจาะเข้าไปในจิตใต้สำนึกน่ะครับ มีนักวิทยาศาสตร์ มีนักจิตวิทยา เขาพยายามแล้วก็มีวิธีการอันนึงที่จะเข้าไปสู่จิตใต้สำนึกได้ก็คือ การสะกดจิต แล้วเราก็ถามคนที่โดนสะกดจิตย้อนหลังกลับไป ปรากฏว่าความจำ..โหย..เยอะแยะไปหมดเลยครับ ย้อนหลังกลับไปตอนที่เกิดใหม่ๆ เรานึกว่าเด็กจำอะไรไม่ได้ ที่ไหนได้ครับ ข้อมูลเพียบเลย เด็กรู้เลยว่าเขาอยู่ในห้องคลอด มีพยาบาลกี่คน รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร พูดว่าอย่างไร ทุกคำพูดบันทึกไว้ตั้งแต่แรกเกิด เพราะจิตใต้สำนึกของเราทำงานน่ะครับ แต่เราดูเหมือนว่าเราลืมไปแล้ว จำไม่ได้แล้ว ทฤษฎีฝรั่งเขาบอกว่าเป็นเพราะว่าสมองมันฝ่อ เมื่อเราไม่ได้ใช้ไม่ได้ทบทวน ความจำระยะสั้นมันก็หายไป แต่ความจำระยะยาวน่ะ เราสามารถฝึกตัวของเราให้จำอะไรก็ได้ น่ะเดี๋ยวจะบอกวิธีเพราะฉะนั้นวิธีการของเรา เราระลึกชาติก็ยังได้ ซึ่ง..ฝรั่ง..โอ๊ยเป็นไปไม่ได้ แต่ฝรั่งเองนี่น่ะครับได้ทำการทดลองสะกดจิตย้อนหลังหลับไป ร้อยปี สองร้อยปี ห้าร้อยปี พันปี สองพันปี ข้อมูลเพียบเลย แสดงว่ามันอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา แล้วพวกฝรั่งเขาไม่ได้เชื่ออะไรง่ายๆน่ะ พอเราเจอข้อมูลเหล่านี้ เอาข้อมูลมาแล้วก็มาวิเคราะห์ จริงหรือเปล่า? อย่างคนนึงสะกดจิตย้อนหลังไปสองพันปี ถามว่าอยู่ที่ไหน อยู่ที่จีน อยู่มณฑลอะไร เขาก็บอกชื่อมณฑล ไหนลองดูร่างกายของตัวเองแต่งตัวอย่างไร ใช้เครื่องประดับอะไร ให้อธิบายอย่างละเอียด เขาก็อธิบายอย่างละเอียด ลองพูดภาษาในสมัยนั้น เขาพูดออกมาครับ เขาบันทึกไว้ เอาข้อมูลเหล่านี้ไปให้นักโบราณคดีคนที่รู้เรื่องเกี่ยวกับจีนโบราณในสมัยนั้น เขาบอกจริง เครื่องประดับ เป็นอย่างนั้นจริง ภาษาเป็นอย่างนั้นจริง คนๆ นี้เป็นชาวอเมริกัน ไม่เคยไปประเทศจีนมาก่อน ไม่เคยรู้เรื่องโบราณคดี ทำไมเขารู้ล่ะ? ทำไมอย่าง โมสาด เห็นเปี่ยนโนน่ะครับครั้งแรกของชีวิตตอนอายุหก-เจ็ด-แปดขวบ เล่นได้เลยครับ ไม่ต้องฝึก คนเราจะเล่นได้เราต้องฝึกก่อนใช่มั้ยครับ แสดงว่าเขามี memory ในสมองของเขาอยู่แล้วว่าเขาเคยฝึก เคยเล่นมาแล้วเขาถึงเล่นได้น่ะ แล้วเราก็จะสังเกตว่า ทุกยุค ทุกสมัย ลูกของเราจะเก่งกว่ารุ่นพ่อ หลานจะเก่งกว่ารุ่นลูก เพราะเกิดจากการสะสมประสบการณ์ เราเก็บไว้ บันทึกไว้ อยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา เราไม่รู้ตัว เราเรียนแป๊บเดียว เราก็เข้าใจแล้ว รุ่นลูก รุ่นหลานเขาจะเข้าใจอะไรต่ออะไรได้เร็วขึ้นเยอะเพราะว่าเราค่อยๆ สะสมประสบการณ์มันอยู่ในจิตใต้สำนึกของเราครับ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปใช้ Brain Base learning เลย กระทรวงศึกษาฯ พยายามบอกให้เราใช้ แต่เดี๋ยวเราไปคุยกันใหม่ด้วยเหตุ-ด้วยผล ดูซิว่าเรามีของดีอยู่ในประเทศไทย เราต้องใช้ของเราครับ ไม่ต้องไปตามหลังฝรั่งเขาหรอก เรามีของดีวิเศษมากแต่เราไม่รู้ตัว เราจะคิดอยู่เสมอว่าของฝรั่งดีกว่า เราจะพยายามไปตามหลังเขาอยู่เสมอ ลองคิดดูสิครับ อเมริกาไม่สามารถส่งยานอวกาศไปลงบนดาวอังคารได้ตอนนั้นน่ะครับ เมื่อสามสิบกว่าปีมาแล้ว แล้วทำไมคนไทยทำได้ล่ะ ลองคิดดูสิครับ แล้วคนไทยคนนั้นใช้วิธีการอย่างไร ใช้วิธีการของเรา ...แบบไทยๆ ไม่ได้ใช้ของแบบฝรั่งเลย แล้วเดี๋ยวจะได้อธิบายที่ผมได้สร้างยานอวกาศน่ะ  เรามีของดีอยู่ในประเทศไทยของเรา ไม่ค่อยมองเห็นของดีของเรา เรามองเห็นไปโน่นเลย เราคิดว่าคนอื่นดีกว่าเราน่ะ เราต้องมาวิเคราะห์ให้ดี

 

เอาล่ะ .. ตอนนี้เรารับข้อมูลเข้ามาจากสิ่งแวดล้อมโดยผ่านประสาทสัมผัส เราบันทึกข้อมูลไว้ เราเคยเห็นอะไร เคยได้ยินอะไร มันไม่ลืมครับ มันจะอยู่ในจิตใต้สำนึกของเรา แล้วก็อยู่ตลอดกาลด้วย.แปลกมาก มันไม่ขึ้นอยู่กับสมองเลย ไม่เกี่ยวข้องกับสมองเลยครับ สมองมันมีการเกิดแล้วก็มีการตาย แต่จิตใจของเรานี่มันต่อเนื่อง มันสะสมประสบการณ์มาเยอะเลยน่ะครับ เอาล่ะตอนนี้ในการที่เราจะรับรู้ หรือจะเข้าใจอะไรต่ออะไร เราต้องตีความเสียก่อนน่ะ แต่ก่อนที่จะตีความ เรามาดูในแง่ของวิทยาศาสตร์ก่อนนิดนึงเพื่อเราจะได้เข้าใจ ผมไปที่ไหน ผมไปซาอุดิอาระเบีย ศูนย์กลางของอิสลามน่ะฮะ ผมใช้วิทยาศาสตร์แล้วเขายอมรับ ผมไปอบรมหลายแห่งทั่วโลก อยู่ในอาหรับเอมิเรตเขาไม่ยอมให้ผมพูดเรื่องคุณธรรมน่ะพูดไม่ได้ แต่พอพูดเรื่องวิทยาศาสตร์เขายอมรับ ท่านรัฐมนตรีศึกษาที่นั่นนะครับชื่อ เทค นาฮายัน เขาดีใจมากเขาขอให้ผมไปช่วยอบรมครูทั้งประเทศ ก็ไปอบรมมาแล้วให้ความรู้กับเขา แต่เราต้องเน้นในเรื่องของวิทยาศาสตร์ จะมาใช้วิถีพุทธไม่ได้ แต่จริงๆ วิถีพุทธ วิทยาศาสตร์มันตรงกันอยู่แล้วตรงกันพอดี เอาล่ะเรามาดูในแง่ของวิทยาศาสตร์ เราใช้ประสาทสัมผัสของเราในการรับข้อมูลเข้ามา ทำไมเราเห็นอะไรเข้ามาแล้วบอก ไอ้นั่นมันเลว ไอ้นั่นมันชั่ว เด็กบางคนพอเห็นอะไรบางอย่างก้าวร้าวขึ้นมาทันทีครับ เพราะอะไร เรามาดูว่าอะไรเข้ามาในตาของเรา แสงใช่มั้ยครับ แสง คืออะไร แสงคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มันจะประกอบด้วยสนามไฟฟ้าตัว E สนามแม่เหล็กตัว H ที่กำลังสั่นสะเทือนด้วยความถี่สูง ถามนักวิทยาศาสตร์ ที่เราบอกว่าเห็นความเลวๆ อยู่ตรงไหนในแสง เพราะว่าไม่มีอะไรเข้ามาในตาแล้วเราจะเห็นความเลวได้อย่างไรใช่มั้ยครับ เพราะนั้นมันต้องมีอะไรอยู่ในแสง มันอยู่ที่สนามแม่เหล็กหรือเปล่า อยู่ที่สนามไฟฟ้าหรือเปล่า นักวิทยาศาสตร์ก็บอกไม่ใช่มันเป็นแค่การสั่นสะเทือนของสนามแม่เหล็กสนามไฟฟ้า ไม่มีอะไรเลว ไม่มีจริงๆ ครับ แล้วเราเห็นความเลวได้ยังงัย วิทยาศาสตร์ก็บอกว่าในเมื่อความเลวไม่ได้เข้ามา ...แต่เราเห็นความเลว แสดงว่าเราดีความของเราเอง เราคิดเอาเอง ความเลวอยู่ในใจของเราตั้งแต่แรก เราก็เลยใช้ตัวนั้นน่ะตีความเอาเองเท่านั้นน่ะ  นี้ต้องเข้าใจตัวเราเอง

 

หรือย่างเสียงนี้ คนด่าเราเมื่อกี้ผมก็พูดแล้วน่ะครับ มันเป็นแค่การสั่นสะเทือนของอากาศ ขยายใหญ่จะเห็นโมเลกุลของไนโตรเจน โมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์น่ะครับ แรงสั่นสะเทือนมันเข้ามาในหู ตัวไหนทำให้เราโกรธ ออกวิเจนหรือเปล่า พวกเราก็หัวเราะใช่มั้ยครับ เพราะออกซิเจนมันเป็นของดีจะตายไปทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ ถ้างั้นไนโตรเจนหรือเปล่า ไนโตรเจนนี่มันไม่ค่อยมีปฏิกิริยากับใคร มันเป็นแค่ตัวที่ช่วยให้ออกซิเจนมันเจือจางลงไปหน่อยเท่านั้นเอง ฉะนั้นเราหายใจออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% นี้ไม่ได้ เราเป็นบ้าไปเลยน่ะงั้นเราเจือจางลงไปหน่อยงั้นไนโตรเจนดีมาก งั้นคาร์บอนไดออกไซด์ก็ได้ ไม่ใช่ไม่มีอะไรที่จะมาทำให้เราโกรธได้เพราะว่าไอ้ตัวคาร์บอนไดออกไซด์มันช่วยสร้างอาหารให้กับเราน่ะครับ พวกต้นไม้มันจะดูดเอาคาร์บอนไดออกไซด์ผลิตคาร์โบไฮเดรตให้กับเราแล้วก็เป็นอาหารให้กับเรามีประโยชน์มาก อ้าว..แล้วเราโกรธได้อย่างไรล่ะถ้างั้น นักวิทยาศาสตร์ก็บอกมันอยู่ในใจเรา เราดีความเอาเอง คิดเอาเอง ยกตัวอย่าง ผมเป็นเด็กอายุ 9 ขวบ ไปกรุงปารีสเป็นครั้งแรกน่ะครับ ในชีวิตไม่เคยไปต่างประเทศมาก่อน ก็ไปที่กรุงปารีส ยกเว้นลาวน่ะ ลาวเคยไปตอนเด็กๆ แต่ตอนนั้นไปต่างประเทศจริงๆ ก็อายุ 9 ขวบ ไปถึงที่นั่นเด็กเขาสนใจกันใหญ่เพราะหน้าผมไม่เหมือนชาวบ้านใช่มั้ยครับ เขาก็อยากทำความรู้จักก็เลยมาคุยใหญ่เลยครับ คุยไปคุยมาผมก็ได้แต่ยิ้มของผมน่ะครับ เพราะหูมันไม่กระดิกเลย ภาษาผรั่งเศส เขาก็เลยโกระขึ้นมาเพราะเขาถือว่าเป็นการผิดมารยาทอย่างร้ายแรง เขาคุยกับเราแต่เราไม่คุยกลับเขาก็เลยโกรธ เลยด่าผมแหลกเลยครับ ใช้ภาษาที่เลวที่สุดในภาษาฝรั่งเศส เขาด่าผมด้วยภาษาที่เลวที่สุดเนี่ยน่ะครับ แต่ผมเฉย ยิ้มตลอด เพราะอะไรมันเป็นแค่การสั่นสะเทือนของอากาศ  เขาด่าผมๆ ไม่โกรธอะไรเลย เพราะผมไม่ได้ตีความนี่ ถ้าเผื่อเราไปตีความเราก็ต้องเอาอะไรในใจออกมาตีความสิ แต่นี่เราไม่เอาอะไรออกมาเลยครับ เราไม่โกรธเราไม่ไปโมโหใคร เพราะนั้นคำด่าอย่าไปสนใจมันเป็นแค่การสั่นสะเอนของอากาศ เราไม่ต้องไปเดือนร้อนอะไรครับ

 

เนี่ยครับหลักวิทยาศาสตร์มันเป็นอย่างนี้ เราต้องเข้าใจวิธีการตีความน่ะครับ วิธีการตีความน่เราเอาข้อมูลส่วนนึงที่เรารับมาจากภายนอก จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเรา แล้วเราก็ไปนำเอาข้อมูลจากอดีต memory ของเราเหมือนกับในเครื่องคอมพิวเตอร์เลยน่ะ จะใส่อะไรเข้าไปมันก็จะไปดึงเอาข้อมูลจาก memory ของมัน มาเปรียบเทียบกันถ้าเผื่อมีมันก็บอกเข้าใจแล้ว ถ้าเผื่อไม่มีมันก็บอกใส่ข้อมูลใหม่มันไม่เข้าใจ อันนี้ใช้ไม่ได้มันก็จะบอกเรา เช่นเดียวกันกับจิตใจของเราน่ะครับ ข้อมูลเข้ามา เราดึงออกมาจากจิตใต้สำนึกของเราแล้วก็มาเปรียบเทียบ เสร็จแล้วเมื่อเปรียบเทียบได้แล้วก็ส่งไปที่จิตใต้สำนึกการรับรู้ก็เกิดขึ้นน่ะครับ เพราะฉะนั้นเราต้องเข้าใจว่าการรับรู้ของเรา ของเด็ก ของทุกคน ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ใส่ข้อมูลอะไรเข้าไป เด็กก้าวร้าวเพราะอะไร โตขึ้นมา เดี๋ยวเกิดขึ้นมาคุณพ่อ-คุณแม่ทะเลาะกัน ตีกัน หย่าร้าง ปัญหาในครอบครัวรอบด้านมีแต่เรื่องวุ่นวาย โทรทัศน์ก็มีแต่เรื่องวุ่นวายให้เราได้ดูได้ชม เด็กก็จ้องดูเขาฆ่ากันเป็นว่าเล่น อิจฉากันน่ะ อะไรต่ออะไรในละคร เพราะฉะนั้นโทรทัศน์ทั้งหลายเนี่ยน่ะครับ เด็กก็จดจำสิ่งเหล่านี้ บันทึกสิ่งเหล่านี้ไว้ ถึงเวลาก็เอาสิ่งเหล่านี้ออกมาตีความ เพราะฉะนั้นเราต้องระมัดระวังมาก แล้วเราต้องช่วยกันในระบบการศึกษาเนี่ยน่ะครับ ที่จะต้องช่วยเด็ก เด็กของเราเป็นเหยื่อสังคมจริงๆ ครับ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นทำลายเด็กทั้งนั้น มีปัญหาเยอะมาก ก็..ไม่ยุติธรรมที่จะบอกว่าทำลายเด็กน่ะครับ ..ของดีก็เยอะ แต่ส่วนใหญ่แล้ว เรากำลังสร้างปัญหาให้กับลูกหลานของเรา เพราะฉะนั้นโรงเรียนน่ะครับ เริ่มตั้งแต่ตรงนี้เริ่มเลยครับ สอนให้เด็กมีวิจารณญาณ น่ะง่ายๆ เด็กทุกโรงเรียนเลยนะครับ ทุกคนแล้วก็รวมถึงตัวเราด้วย วิธีการใช้วิจารณญาณง่ายนิดเดียว สอนให้คิดทันทีเมื่อมีอะไรเข้ามาในจิตใจของเรา ดีสำหรับเรามั้ย? ตั้งคำถามแรก ถ้าเผื่อดีสำหรับเรา..ผ่านไปคำถามที่สอง ดีสำหรับทุกคนมั้ย? ถ้าเผื่อผ่านตัวนี้เอาไปใช้ได้เลยครับ มีปฏิกิริยาได้เลยน่ะ นำเอาไปใช้ประโยชน์ได้เลยเพราะมันดีสำหรับทุกคน แต่ถ้าเผื่อไม่ดีสำหรับทุกคน..ปฏิเสธ!  อย่าไปใช้มันถึงมันจะดีสำหรับเรา แต่ไม่ดีสำหรับทุกคน..อย่าไปใช้ อย่าเอาความคิดอันนี้ไปพิจารณาเลย ใช้วิจารณญาณแบบนี้ล่ะครับ เด็กที่โรงเรียนผมคิดอย่างนี้เป็นทั้งนั้น พอมีอะไรเข้ามาปุ๊บ ดีสำหรับเรามั้ย ดีสำหรับทุกคนมั้ย สอนอย่างนี้ล่ะครับ ให้ทุกคนคิดอย่างนี้น่ะง่ายๆ เสร็จแล้วเขาคิดอย่างไรเขาก็จะส่งข้อมูลอันนั้นเข้าไปบันทึกไว้ในจิตใต้สำนึกเป็นแรงเสริมที่จะเปลี่ยนนิสัย เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ในขณะเดียวกันเราบูรณาการคุณธรรมเข้าไปในทุกวิชา พอบูรณาการเข้าไปในคณิตศาสตร์ในอะไรต่ออะไร เราสอนเด็กมันก็เข้าใจในจิตสำนึก คุณธรรมมันก็ฝังเข้าไปในจิตใต้สำนึกอีกทีครับ แล้วต่อไปเราก็จะตีความทุกอย่างโดยอาศัยคุณธรรม ..แทรกเข้าไปๆ ตั้งแต่เช้าจดเย็นน่ะครับ เด็กอยู่ในโรงเรียนของเรา เด็กอยู่ที่บ้านของเรา ลูกของเรา หลานของเรา แทรกคุณธรรมตลอด แล้วก็เราช่วยกันน่ะครับ หา video ที่ดีๆ ที่มีคุณธรรมให้เด็กดู อย่าให้เขาไปดูละครโทรทัศน์ของไทยเลยครับ มันไม่มีอะไรล่ะครับ มันมีพระเอก มันมีนางเอกอาภัพ เสร็จแล้วก็ไปเจอพระเอกฐานะดีร่ำรวย เสร็จแล้วก็มีตัวอิจฉาแทรกเข้ามา...ไปดูทำไม เพราะมีอยู่แค่นี้ ไม่มีอะไรมาก เดี๋ยวเขาก็ทะเลาะกัน ตีกัน ด่ากัน ก็เสียใจร้องห่มร้องไห้ เสร็จแล้วก็ตอนหลังก็โชคดีน่ะครับ ในที่สุดก้พระเอก-นางเอกก็เข้าหากันได้น่ะครับ เราก็รู้อยู่แล้ว อย่าไปดูเลย ถ้าเผื่อเราดูน่ะครับเด็กก็จะเต็มไปด้วยความอิจฉาริษยา เต็มไปด้วยความโกรธแค้น เริ่มตบตีคนอื่นน่ะครับ อะไรแบบนี้ น่ะ ซึ่งเราต้องหาอะไรดีๆ ให้เด็กดูครับ แล้วก็สิ่งเหล่านี้ก็จะฝังลงไปในจิตใต้สำนึกนำมาใช้ในการตีความในครั้งต่อๆ ไป เพราะฉะนั้นเราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กได้ง่ายน่ะครับ แค่เดือนเดียวเราเปลี่ยนได้แล้ว ถ้าเผื่อครูทำกันอย่างจริงจังในโรงเรียน ยกตัวอย่าง เด็กขี้ขลาด เด็กขาดความมั่นใจ เราต้องสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก อันนี้สำคัญ ความสำเร็จในอนาคตของเขาขึ้นอยู่กับการที่เขามีความความมั่นใจในตัวเอง ...ตอนเช้าเด็กมาเข้าแถวหน้าเสาธงน่ะครับ คุณครูช่วยนำใส่ความคิดเข้าไปในจิตสำนึกของเขาครับ โดยบอกเด็กนักเรียน..เอาล่ะให้เขาสวดมนต์อะไรต่ออะไรกันตามรูปแบบที่เราใช้หน้าเสาธงน่ะครับ ..เสร็จแล้วคุณครูลองทำบ้าง อ้าว..นักเรียนทุกคนขอให้พูดตามคุณครู ..ต่อไปนี้ (เด็กทุกคนก็พูด) ต่อไปนี้...เราจะเป็นเด็กกล้าหาญ เราจะเดินก้าวหน้าไปด้วยความมั่นใจ เราจะข้ามอุปสรรคทั้งหลายด้วยความมั่นใจ ด้วยความกล้าหาญ เราจะต้องประสบความสำเร็จในชีวิตของเรา นี้หละครับใส่ความคิดเข้าไป เด็กพูด ความคิดเหล่านั้นก็ฝังเข้าไปในจิตใต้สำนึก เรากำลังใส่โปรแกรมใหม่ให้กับเด็กครับ  เสร็จแล้วพอเด็กเข้าไปในโรงเรียน ตกลงกันทั้งโรงเรียนบูรณาการความกล้าหาญ ความมั่นใจ เข้าไปในคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม วิชาทุกวิชาก่อนจะทำกิจกรรมอะไรก็บูรณาการเข้าไปน่ะครับ

เดี๋ยวเรามาดูวิธีการบูรณาการ..น่ะครับ พวกเราจะร้องเพลง แต่งเองครับ เพลงของเรา ที่โรงเรียนของเราเพลงเยอะแยะไปหมดเลย ที่เราใช้ในการสอนเด็กให้เป็นคนกล้าหาญน่ะครับ พวกเราร้องด้วยกันน่ะครับ ..อืม

(ร้องซ้ำ 2 รอบ)  

...เห็นมั้ยครับ เป็นเพลงง่ายๆ คุณครูคนไหนก็แต่งได้ ทำนอง...เราใช้ทำนองอะไรก็ได้ที่เขามีอยู่แล้ว เราไม่ต้องไปแต่งทำนองใหม่ เพราะครูบางคนแต่งทำนองไม่เป็น ไม่เป็นไร แต่ภาษาไทยของเรายังงัยก็ใส่เข้าไปได้น่ะครับ ให้เขาร้อง แล้วเด็กสนุกครับ เขาจะชอบร้องเพลง คุณครูก็ชอบน่ะครับชอบเหมือนกัน แล้วมันง่ายนิดเดียวความคิดเหล่านี้ก็จะฝังลงไปในจิตใต้สำนึก ..นี่คือวิธีการเปลี่ยนพฤติกรรม นี่คือวิธีการที่เราจะช่วยให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงน่ะครับ ...หลักก็คือใส่อะไรเข้าไปในจิตใต้สำนึกครับ แล้วแน่นอนที่สุดวิธีการของเราที่จะช่วยให้เขาเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดี ในประเทศไทยของเราใช้ ศีล สร้างคนดีครับ เริ่มต้นจากการสร้างคนดี ศีลครับ อย่างน้อยศีลห้า ต้องรักษาไว้ให้ดี แล้วก็แน่นอนครับ คุณครูทุกคนก็ต้องรักษาศีลไปด้วยน่ะครับ ไม่ใช่เด็กแค่นั้น โรงเรียนก็ต้องมีศีลบรรยากาศของความดีก็จะเกิดขึ้นน่ะครับ จิตใจก็จะเริ่มสงบน่ะครับ แล้วก็เมื่อเริ่มสงบแล้ว เราจะต้องยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น เพราะว่าการสอนให้เปลี่ยนพฤติกรรมแค่นี้ไม่พอครับ มันไม่ถาวร ที่เราสอนคุณธรรม สอนจริยธรรม สอนอะไรต่ออะไรในชั้นเรียนนี่เด็กก็ท่องจำ จดจำไว้ แต่มันไม่ถาวรน่ะครับ แล้วเด็กก็ปฏิบัติไม่ค่อยได้ แต่นี้ปฏิบัติได้แล้วน่ะครับเพราะเราใส่เข้าไปเรื่อยๆ แล้วเราก็ใส่วิธีการที่จะให้เด็กปฏิบัติ แต่มันก็ไม่ถาวรครับเพราะว่าพอกลับไปอยู่ที่บ้าน กลับไปสู่สานการณ์เดิม สักประเดี๋ยวเขาก็ถอยหลังกลับไปน่ะ แล้วก็อาการเก่าๆ ก็เกิดขึ้นมาใหม่ เพราะเราไม่สามารถลบล้างอะไรจากจิตใต้สำนึกของเราได้ มันจะอยู่ตลอดครับ เราสร้างโปรแกรมใหม่ได้ เราใส่ข้อมูลใหม่ๆ ได้ ชีวิตเปลี่ยนได้ แต่เมื่อกลับไปอยู่สภาพเดิมประเดี๋ยวเดียวมันก็ถอยหลังกลับไปอีก เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเขาครับ


           วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันก็คือต้องยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นโดยอาศัยสมาธิเข้าช่วย
แต่เมื่อเราเป็นคนดีการยกระดับจิตใจจะง่าย แล้วเมื่อมีศีลแล้วนำไปสู่สมาธิน่ะครับ เราก็จะเริ่มสัมผัสกับจิตบริสุทธิ์ที่อยู่ในตัวเรา จิตเหนือสำนึกต่างประเทศเขาจะเรียกว่า
super con… mind คืออะไรที่อยู่เหนือสำนึกของเราเนี่ยน่ะครับ ..ปัญญาก็จะเกิด เราจะเริ่มรู้อะไรต่ออะไรด้วยตัวของเราเองโดยเราไม่ต้องสอนน่ะครับ

 "ผมขอตัดไว้เท่านี้ก่อนครับ เพราะยังมีตัวอย่างเพิ่มเติมอีก แต่เนื่องจากอาจเป็นเพราะ Memory ระบบการบันทึกของ Gotoknow อาจเต็ม ทำให้ผมไม่สามารถเพิ่มเติมส่วนดังกล่าวได้ กว่าจะบันทึกตอนนี้ได้ ต้องแก้ไขหลายๆ ครั้ง"

---------------- โปรดติดตามอีกครั้ง ตอนต่อไปครับ---------------------------------

ขอให้พ่อมีความสุข ๕ ธันวาคม ๒๕๔๙

ถอดเสียงบรรยายโดย : วิชิต ชาวะหา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หมายเลขบันทึก: 65377เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2006 00:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณมากครับ

สคส น่าจะมอบรางวัลเกียรติคุณให้นะ อย่างน้อยก็เป็นกำลังใจและเป็นเยี่ยงอย่างในทางที่ดี

คุณอ้อม ว่ายังไงครับ

"ข้าน้อยมิบังอาจ" 

ขอบคุณท่านอารย์ ดร.แสวง รวยสูงเนิน เป็นอย่างสูงครับที่ให้เกียรติครับ

วิชิต

ขอบคุณค่ะ   รออ่านต่อ    สมองดีแต่ไม่มีศิลธรรมจรรยาน่ากลัวค่ะ

  • ตอนสองนี้ผมไม่ได้เข้าไปฟังครับ
  • ต้องขอขอบคุณ คุณวิชิตที่กรุณาถอดเทปคำบรรยายมาให้ฟัง
  • มีภาพประกอบด้วย สำหรับคนที่ไม่ได้เข้าฟังบรรยายในวันนั้น
  • แถมมีหลักฐานเป็นภาพถ่ายกับท่านอาจารย์ ดร.อาจอง
  • ทุกอย่างดีหมดครับ...ยกเว้นตัวอักษรที่เล็กไปสำหรับคนสายตาไม่ดีอย่าง beeman ครับ
  • คงต้องขอ copy ไปเก็บไว้ใน word หน่อยละครับ
  • ยังคงติดตามอยู่ขอบสนามครับ
  • แม้ว่า ไม่ได้ร่วมงานมหกรรมฯ แต่ได้พี่วิชิตแล้ว เหมือนผมได้ไปร่วมงานข้างๆ พี่วิชิตเลยครับ
  • จะมีฉบับรวมเล่ม ไหมครับ
  • จะติดตามทุกๆ ตอนครับ
  • ขอเป็นกำลังใจ และขอขอบคุณเรื่องเล่าดีดี ครับ

เจ๋งมากคุณวิชิต ...คิดว่าน่าจะปรับใช้ในกระบวนการสอนได้ดีมากๆ ...ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ จะติดตามตอนต่อไปนะคะ

ขอบคุณคุณวิชิตมากครับ เขียนเป็นหนังสือได้ไหมครับ
ตามมาอ่าน ตามมาให้กำลังใจ และตามมาขอบคุณมากๆ ค่ะ

you are peace warrior

"Real Battles Are Wihtin"

สวัสดีครับอาจารย์  เป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะครับ

เป็นประโยชน์มากค่ะ ถึง แม้สมองอันน้อยนิด จะ ประมวลผลได้ยังไม่เต็มที่แต่ดิฉันก็พยายาททำความเข้าใจค่ะ เพราะ การศึกษาหน้าว่าจะส่งลูกชายไปเรียนที่ รร สัตยาไสย ค่ะ ( ถ้าท่านรับลูกดิฉันเข้าเรียน) นะคะ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

 แม่นกกระตั้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท