เรียนรู้ชุมชนโดยสมาชิกกลุ่มพริกเกลือ


ศึกษาการ แลกเปลี่ยนการเรียนรู้เข้าสู่ชุมชน โดยการศึกษาจากการใช้ชีวิตประจำวัน และแสดงถึงความอยู่รอดระหว่างคนและทรัพยากรณ์ในท้องถิ่น

 

         

      ชาวหนองบัว-หนองกลับ       จังหวัดนครสวรรค์นั้นส่วนมากมีอาชีพเกี่ยวกับการทำเกษตร หนองบัวเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมาก โดยจะมองไปถึงภาพรวมคือ นครสวรรค์ เป็นชุมชนต้นน้ำเจ้าพระยา สิ่งที่หาได้จากแห่งน้ำธรรมชาติคงหลีกหนีไม่พ้นเรื่องปลา เมื่อปลามีจำนวนมากชาวบ้านได้นำมาเก็บถนอมอาหารไว้อย่างปลาร้า เวลาออกจากบ้านไปทำไร่นา ก็จะทำปลาร้าสับหรือที่ชาวบ้านเรียกพริกเกลือนั้นติดไปด้วย และสามารถนำไปเป็นเครื่องแกง หมกกับผักตามท้องนาได้


 

บล็อก คนหนองบัวกับพริกเกลือนี้เกิดขึ้นได้เพราะเกิดจากแรงพลังของคนหนองบัวที่มีความคิดริเริ่มที่จะลำรึกถึงภูมิหลังจนถึงปัจจุบันที่จะเก็บมารวบรวมเป็นแหล่งคลังปัญญาชาวบ้าน พร้อมทั้งยังส่งเสริมสนับสนุนให้ข้อมูลต่างๆซึ่งกันมาโดยตลอด
ต้องขอขอบพระคุณบุคคลต้นแบบที่ทำให้เกิดบล็อกนี้คือท่าน ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์
พร้อมทั้งบุคคลที่ให้การแนะนำข้อมูลมาโดยตลอดได้แก่ท่านพระมหาแล ขำสุข(อาสโย)และชาวหนองบัว
           
   ลิ๊งค์และเครือข่ายข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ (คลิ๊กลงไปบนชื่อข้อ  ความได้เลยครับ)               

เวทีพลเมือง : สร้างสุขภาวะชุมชนหนองบัวให้เข้มแข็งยั่งยืนโดยดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์ gotoknow.org/blog/nongbua-community/295169

คนหนองบัวกับพริกเกลือ โดย เสวก ใยอินทร์ กลุ่มพริกเกลือ กลุ่มศิษย์เก่าโรงเรียนหนองบัว http://gotoknow.org/blog/pknongbur/281711

ทุนสังคมวัฒนธรรมหนองบัว โดย พระมหาแล ขำสุข(อาสโย) และคนหนองบัว http://gotoknow.org/blog/civil-learning/273652

โรงเรียนประจำอำเภอหนองบัว โดย ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์  http://gotoknow.org/blog/civil-learning/232669

 

วิรัตน์ คำศรีจันทร์ - ประชาสังคมศึกษา-ประชากรศึกษา - ๓๒. ไอ้เป๋ ...

๓๒. ไอ้เป๋หนองบัวกับวัวหลวงพ่ออ๋อย...ธรรมชาติการดูแลกันของชุมชน. ".
gotoknow.org/blog/civil-learning/220541 - แคช - ใกล้เคียง
หมายเลขบันทึก: 281711เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2009 08:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (332)

เครื่องหีบอ้อย กับคนหนองบัว-หนองกลับ ชาวบ้านหนองบัวหนองกลับไม่เพียงแต่จะทำนาทำไร่เป็นอย่างเดียว แต่การคิดค้นทำสิ่งประดิฐทางภูมิปัญญาต้องยกนิ้วให้ การทำเครื่องมือแปรสะภาพของผลทางการเกษตร เช่น เครื่องหีบอ้อย มักจะทำโดยการนำท่อนไม้ขนาดใหญ่ สามท่อน โดยการทำแบบเฟืองขบกันโดยใช้ควายเป็นต้นกำลังในการลากจูงให้เครื่องทำงาน ด้านล่าง จะขุดชักร่องไว้สำหรับตักน้ำอ้อยได้ โดยมี ภาชนะที่ทำจากกะลามะพร้าวต้อด้วยด้ามไม้ น้ำอ้อยที่ได้ชาวบ้านมักเรียกว่าน้ำเยี่ยววัว มีลักษณะคล้ายปัสวะของวัวนั่นเอง พื้นที่ที่มีการหีบอ้อย ได้แก่ คลองสมอ นาโศกจั่น บ้านหนองขาม มักทำควบคู่ไปกับการเผาถ่าน ปัจจุบันเครื่องหีบอ้อย ไม่แน่ใจว่าที่วัดหนองกลับยังมีให้ชมอยู่หรือป่าว ภาพที่วาดนั้นได้จากการจดจำสมัยตอนเด็กๆอาจมี บางส่วนที่ไม่สมจริง เพราะมันนานมากเลยครับ

ช่วยกันแสดงความคิดเห็นครับ

  • ขอบคุณคุณโอ๋มากที่เข้ามาชวกชวนกันแสดงความคิดเห็น โดยจริงแล้วคุณ โอ๋เป็นคนหนองบัวหรือป่าวครับ หรือมีเรื่องราวอะไรดีๆของบ้านตนเองยินดีนำมาลงได้ที่นี่ครับ
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวก

หลวงอาขอแสดงความยินด้วยนะที่มีบล๊อกคอนหนองบัวกับพริกเกลือเกิดขึ้นแล้ววันนี้ในโลกไซเบอร์หวังว่าคนหนองบัวและทุกท่านที่มีแนวคิดเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นจะไ้ด้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องชุมชนร่วมกันก็ขอเชิญชวนด้วยอีกแรงหนึ่งในที่นี้ด้วยเลย.

เจริญพร

กราบนมัสการพระคุณเจ้าพระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

     ที่เข้ามาร่วมให้กำลังใจลูกหลานชาวหนองบัว ท่านเองก็เป็นผู้เขียนเล่าทุนทางสังคมวัฒนธรรมอำเภอหนองบัว : ข้อมูล l เรียนรู้ชุมชน..พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)ในบล็อกของท่านอาจาร์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ด้วยและท่านอาจารย์วิรัตน์ ก็เปรียบเสมอเหมือนผู้ที่จุดประกายอยากที่จะเป็นนักเขียน ท่านเป็นต้นแบบที่ให้ความรู้หลายๆด้านเลยทีเดียวครับขอกราบขอบพระคุณสองท่านนี้ไว้ณ.ที่นี้ด้วยและทุกๆท่านที่เข้ามาเสริมความรู้ด้วยครับ

รูปภาพนี้เป็นรูปต่อจากหัวข้อ

เครื่องหีบอ้อย กับคนหนองบัว-หนองกลับ ยังต้องฝึกฝนอีกมาก และที่สำคัญต้องขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ณัฐพัชร์ ที่ให้คำแนะนำการนำรูปลงอาจารย์ณัฐพัชร์นี่เป็นทีมนักวิจัยที่กำลังศึกษาเรื่องพิพิธภัณฑ์ของศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรที่ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ ครับ

 

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวก

  • ก่อนเขียนเมื่อสักครู่หลวงอาลองถามคนรุ่นใหม่(เป็นพระสงฆ์)ว่าภาพวาดนี้หมายถึงอะไรท่านตอบได้ใกล้เคียงนะ ท่านตอบว่าเครื่องบดอะไรสักอย่างนี่แหละ แต่พอเฉลยแล้วว่าเครื่องหีบอ้อยท่านก็ยังไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไรเพราะไม่เคยเห็น อย่างน้อยท่านก็รู้ว่าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งละนะ  วาดภาพได้ดีดูแล้วนึกถึงเขาพระเมื่อตอนเป็นเด็กเลย
  • คนบ้านเราเอง(หนองบัว)รุ่นหลังไม่ทราบว่าจะรู้จักมากน้อยเพียงใด แต่รุ่นหลวงอาพอรู้จักและเคยได้ใช้บ้าง สำหรับครอบครัวหลวงอาแล้วไม่ได้ทำไร่อ้อยเลยขาดประสบการณ์ในเรื่องทำไร่อ้อย
  • แต่ตอนเป็นเด็กก็เคยไปดูญาติทำไร่อ้อยตอนกำลังหีบอ้อยพอดีที่เขาำพระ แต่จำรายละเอียดไม่ได้เสียแล้วมันผ่านมาสี่สิบกว่าปีแล้วเนาะ
  • ชาวบ้านจะทำกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่บ้านเลย ถึงหน้าทำอ้อยก็ไปปลูกห้างนอนแต่ละครอบครัวอยู่ชั่วคราวรวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ หีบอ้อยเสร็จก็ยกกลับบ้าน เรียกกันว่าไปนอนหีบอ้อย

เจริญพร

กราบนมัสการพระคุณเจ้าพระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

  •  อย่าว่าแต่คนรุ่นไหนๆเลยครับหากไม่เคยเห็นก็ท้าวความไม่ได้ว่ามันคืออะไรเมื่อสักครู่ผมเข้าไปในบล็อคของท่านนายแพทย์นิพัธ กิตติมานนท์
    โรงพยาบาลพุทธชินราช ท่านพาไปเที่ยวชมวัดกลาง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก นอกจากจะเห็นอนุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์ของไทย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ หรือ พ่อขุนบางกลางหาว บ้างก็เรียกพ่อขุนบางกลางท่าว เจ้าเมืองบางยาง  รอบๆบริเวณนั้นมีเครื่องหีบอ้อยลักษณะคล้ายกันกับทีผมวาดแต่มีหลายรูปแบบ อยู่ในสภาพที่สมบรูณ์มากเลยทีเดียวครับ
  • อีกอย่างหนึ่งคือชุมชนบ้านหนองบัวอาจจะไม่ได้ริเริ่มก็เป็นได้ เพียงแต่ว่าจากจังหวัดพิษณุโลก ลงมาถึงนครสวรรค์อาจเป็นเพราะว่าชาวบ้านอบพยบหนีศึกสงครามจากทับพม่ามาก็ย่อมเป็นได้เลยไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นต้นคิดแต่ที่มีให้เห็นที่ชุมชนหนองบัวนั้นแสดงให้เห็นถึงความเพียรพยายามทำเครื่องในชุมชนได้เป็นอย่างดีและยังหลงเหลือให้ลูกหลานบางช่วงได้ดูกันเพราะหลายสิบปีแล้วชาวบ้านหนองบัวไม่มีการทำอ้อยกันนานมาแล้ว

วันนี้ผมนำคำหนองบัวมาฝาก  โดยจะขอหยิบยกมาจากใบบล็อคของ ท่านอาจารย์วิรัตน์ ทุนทางสังคมของอำเภอหนองบัว นครสวรรค์ที่ผมได้เคยลงไว้ก่อนหน้านี้โดยคัดลอกมาจากต้นฉบับครับ เชิญกันได้ตามอัธยาศัยเลยครับ

อนุรักษ์ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

วัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนเอกลักษณ์ภาษาถิ่นให้คงไว้คู่บ้านเรา

ผู้จัดทำโดย นาย เสวก ใยอินทร์ สมาชิกกลุ่ม พริกเกลือ

คำเตือน คำต่อไปนี้เป็นคำเฉพาะถิ่นของคนหนองบัว ส่วนมากเป็นคำเพี้ยนซึ่งชาวบ้านพดจนติดปากกันมา และที่อย่างยิ่งคนโบราณมักใช้คำเปรียบเปรย เปรียบเทียบอาจมีบางคำที่สาธารณะชนอ่านแล้วไปในทางที่หยาบคายผู้อ่านควรมีการตรึกตรองพิจารณาในการอ่านให้ดี

 

 

พริกเกลือ ปลาร้าสับ อีสานเรียกปลาร้าบอง แจ่วบอง

ทะลา ลานกว้าง มากมาย ,มักใช้กับลานหน้าบ้าน

ประตูแพ ประตูรั้วหน้าบ้านไม้ไผ่ขัด ชุมชนชาวหนองขัวจะปลูกบ้านในบ้านไม้ยกสูงและมีใต้ถุนโล่งบ้านส่วนมากจะมีการทำรั้วแบบใช้ไม้รวกขัดสานและแสดงให้เห็นถึงความเพียรได้เป็นอย่างสูงเพราะแต่ละบ้านมีพื้นที่ไม่ใช่น้อย

เหนียน อิจฉา ริษยา

คู่ดอง คู่มั่น

เกือก รองเท้าแตะ

มุ้งอีโต๊ป ผ้าห่มหนาๆ

ผ้าห่ม ผ้าขะม้า

ผ้าเช็ดกุย ผ้าขนหนู

กำแฝก ตะไคร้ คงเพราะว่ามีลักษณะคล้ายหญ้าแฝก

ปลาเกลือ ปลาเค็ม

ส้มแผ่น มะม่วงกวนแผ่น

ข้าวเม่า กะยาสารท ชาวบ้านจะทำกันในบุญสารทไทย ที่มีส่วนผสมในการ ถั่ว น้ำอ้อย งา ข้าวตอก ข้าวพอง หรือในพุทธประวัติเรียกว่า ข้าวทิพย์ ไอ้ข้าวพองที่ว่านี้ทำมาจากข้าวเหนียวที่สดๆนำมาคั่วแล้วตำคัดเอาแกลบออกเหลือแต่เม็ดข้าวเหนียวเมล็ดแบนๆ ที่มาทำข้าวเม่าพล่า ข้าวเม่าทอด ซึ่งมีขั้นตอนการทำที่ยุ่งมากในการทำข้าวเมาและก่อนที่จะมาทำเป็นข้าวพองต้องมาคั่วให้พองก่อนที่จะมากวนเป็นกระยาสารท เลยชาวบ้านเรียกว่ากวนข้าวเม่า

ขนมห่อ จะทำด้วยแป้งข้าวเหนียว มีไส้คลายขนมใส่ไส้ห่อด้วยใบตองจะทำกันในงานบุญเข้าพรรษา และเมื่อทำแล้วก็นำไปให้ญาติผู้ใหญ่ ชาวบ้านมักเรียกบุญเข้าพรรษาว่าบุญขนมห่อแทน

รถอีตุ๊ก รถอีแต๋น

รถอีแต๋น รถไถเดินตาม

กระชั้น กระชั้นชิด

ไม้ราว ไม้นาบข้าว

ไม้คันหลาว ไม้หาบข้าว

กะม่อง ตะค่อง

ใบตองพวง ใบตองควง ตองตรึง ตองกึง

ต้นปีบ กาสะรอง

ซิหว่า เป็นคำต่อท้ายคำพูด, ซิว่า เช่น ใช่จัดเลยซิหว่า

เหมาะจัด สวยมาก

เอี่ยมจัดเลย สะอาดมากๆ

กระซ่า ตระกร้า

กะแซง ตระแกรง

ไม้กำปัด คือไม้กวาดซึ่งเกิดจากการมัดรวมแล้วมาใช้ปัดกวาด เช่น ไม้กำปัดใบคะมอญ ซึ่งทำมาจากต้นขัดมอญ

ระหัด เครื่องสูบน้ำ

ศาลารม ศาลาหมู่บ้าน ศาลาพักร้อน

ขี้หนี้ การเป็นหนี้

ตะโอ๊บ กบ

ตะครัว ห้องครัว

ไปนอนถึงที่ ไปนอนในที่นอน

เมาะ ที่นอน

อู่ เปลนอน

อู่รถ ที่จอดเก็บรถ

ไม้กำตาก ไม้เช็ดก้นน่าจะ มาจากคำว่าตำก้น

บ็อค ส้วมแห้งขุดหลุมด้านล่าง ไม่มีหลังคา

เงย แหงนมอง

มอด โหม่ รอด โผล่

แห้น แทะเล็ม

พ่อใหญ่ ตา

แม่ใหญ่ ยาย

กระโล้ ภาชนะคล้ายกระด้งแต่ใหญ่มากไว้ตากของ

เสวี่ยน อ่านว่า สะ เหวี่ยน คือ อุปกรณ์การเกษตรใช้ร่วมกับเกวียนไว้โค้งต่อบนเกวียนเพื่อการบรรทุกข้าวให้ได้มาก ทำจากไม้ไผ่สานคล้ายเสื่อรำแพนของทางอีสาน กว้างประมาณเมตรถึงเมตรครึ่ง ความยาวสามารถโค้งรอบเกวียนได้

น้องแอ่ง เขียดทรายตามหนองน้ำ

นอกชาน ชานบ้าน เรือนชาน

กะเตียง ตะเกียง

น้ำมันบ็อค น้ำมันขี้โล้ น้ำมันเครื่องที่หมดการใช้งาน

ผักไห มะละ

ไม้ซ่าว ไม้สอยผลไม้

เพลัย สิ่งที่ต่อเติมยื่นออกจากตัวบ้านเช่นชายคา

ก่อนงาย ใกล้สว่าง มักใช้เช่น ไปกินข้าวงายหน้า คือไปกินข้าว

น้องเพล ใกล้เที่ยง

โอ่งเหล็ก ถังแกลอน 200 ลิตร

โอ่งใหญ่ โอ่งเกษตร

เริ้ม อาการของคนที่ออกหน้าออกตา

เอาแรงกัน ช่วยกันทำงาน เช่นเดียวกับลงแขก

หัวเปลือก จอมปลวก

โอ้ง อ้อม ไม่ไปทางตรง

ขึ้นแรง นำสิ่งของมาช่วยเมื่อมีงาน

ยากะแล็ต บุหรี่ เพี้ยนมาจาก ซิคกาแลต

กระทาย กล่องใส่หมาก

เข้าก้น อาการของคนเดินตามกัน

ปลาเห็ด ทอดมัน

ไม่กว่าซิ ไม่มากไปกว่านี้ได้อีก

ออทิด ใช้เรียกแทนชื่อลูกเขยที่ผ่านการบวชเรียนมา

พยับลมบ่มใบไม้ ร้อนอบอ้าวคล้ายฝนจะตกมีเมฆลอย

ขี้สะเหรด เสมหะ

ขี้คับตูด อาการของคนท้องผูกถ่ายไม่ออก

เห็นราก อาการของคนที่อย่าจะอวก

มาด้วยความเซ่อใจ มาแบบด้วยความทุลักทุเลไม่รู้ว่าจะได้อะไรเกิดขึ้น

แม่มึง สามีใช้เรียกภรรยา

พ่อมึง ภรรยาใช้เรียกสามี

กวัดกวาย คำอุทาน ใช้กับสิ่งที่ไม่อยากจะให้เกิดกับตัวเรา

ไปสัง ใช้นำหน้าเรียกผู้ตายแล้ว

กินโสชีวิต กินเหมือนคนอดอยาก

เหิ่อ อวดตัวเองว่าดูดีกว่าผู้อื่น

เป็นประเหิ่อ เป็นผื่นคันบวม

เอิ้น เช่นเดียวกับเรียก

แหงะ หันหน้ากลับไปมอง

เขียวปัด เขียวมากมาก เช่น ว้ายยย..แลฝ่นมาเขี่ยวปัดเลย

บ่องขี้ บ่งขี้ การผ่าท้องเข้าใส้ออกเช่นการทำปลา

ตีเหาะอีเหน ตีให้กระจุยกระจาย

ทิ้งอย่างห่อยาเขียว ทิ้งเกะกะเลี่ยลาดไปทางไหนก็เจอ เมื่อก่อนแขกที่มาเกี่ยวข้าวมักกินยาเขียวผสมน้ำเพื่อคลายร้อนและทิ้งไว้เลี่ยลาดตามท้องนา

ขี้ลงท้อง ท้องเสีย

แหกกะแซง ทำอะไรไม่อยู่ในขอบเขตผิดจากคนอื่น

ซู่กระซิว การที่ใช้ตะแกรงไม้ไผ่ไปดักช้อนปลาซิวหน้าทางน้ำไหล

โหงกระซิว การใช้สวิงหรือ ตะแกรง เหวี่ยงซ้าย-ขวาไปมาเพื่อให้ปลาติด

กระซ่อ มาจากคำว่าตะกร้อ ภาชนะไม้ไผ่หรือหวายสาน เช่น ตะกร้อสร้อยผลไม้

กระซ่อเหยื่อ ภาชนะคล้ายตะค่องแต่ไม่มีคอจะเย็บผ้าดิบต่อเป็นปากถุงและมีหูรูดที่ปากชาวบ้านใช้ใส่เขียดเกี่ยวเบ็ด

ถุงแห ถุงตาข่ายด้านบนปากมีหวายโค้งกลม ไว้ใส่ปลา หรือที่มีชื่อเรียกว่าถุงตะเคียว

สะบก หรือตะลุมพุกทำจากไม้มีด่ามลักษณะคล้ายค้อนไว้ทุบตี หรือตำ

ซ้อมข้าว การตำข้าวแบบใช้ครกใหญ่

กระเพล่า ข้าวที่มีเมล็ดสมบูรณ์

นั่งเอกเขนก นั่งลอยหน้าลอยตา

น้ำขี้ตีด หรือน้ำขี้กรีด น้ำขังเสียตามบ้านที่เน่าเหม็น

โม้ม กินอาหารคำโต ไม่ว่าจะชินเท่าไรก็ใส่ปากทีเดียวหมด

โฮบ การซดน้ำต้มหรือแกงมีเสียงดัง

ขมุย ขุยของสัตว์ที่อยู่ในรู เช่น แย้อุดขมุย

คันที่นอน วิดน้ำจับปลาต้องนำดินมาทำคันกั้นก่อน

จู๋ ไหปลาร้า เช่น จู๋ใหญ่ จู๋กลาง

แดดบด แดดมีเมฆบังคงจะมาจากบดบัง

เอนหลัง นอนพักชั่วครู่

ทำสี คล้ายคำว่าทำท่าจะทำแสดงถึงท่าทางต่าง เช่น ทำสีเราจะมาทางนี้เค้าก็ไปทางอื่น

คงจะพอแล้วเพียงคำ1คำมีหลากหลายเช่นคำจำพวกที่ออกเสียงเพี้ยนจากคำเดิมยังมีมาก

ขึ้นอยู่ว่าบ้านไหนไห้อ่านออกเสียงสำเนียงนั้นเพราะจากสำเนียงพูดมาเป็นภาษาเขียนค่อนข้ายากมา

ทางบ้านในโคกมะตูมบางกลุ่ม เนี้ย มะเขี่ย พริกเกีย เป็นต้น

ทางเนินตาเกิด แถบทางโคกมะกอก ให้ทำเหนอๆเข้าไว้ลากหางเสียยาวเท่าไรได้ยิ่งดี

เช่น อาลัยมันช่างยกใหญ่ล้าวววววววววว......

นาย โชคชัย มากน้อย

สวัสดีครับคุณสวกครับผมได้ยินชื่อขงคุณมานานแล้วครับและเคยได้มีโอกาสหลายครั้งที่ได้เจอตัวจริง ผมนาย โชคชัย มากน้อยครับ บ้านออยู่ตำบลหนองกลับ อำภอหนองบัว

ของเรานี่เองครับผมอยากมีข้อเสนอให้คุณเสวกช่วยหาข้อมูลเกี่ยวกับขนมเบื้องครับตั้งแต่เด็กผมเคยกินผมว่ามันมีความรู้สึกว่ามันอร่อยดีและอยากจะเผยแพร่ให้คนไทยได้รู้จักขนมไทยๆของบ้านเราครับและสามารถแปรรูปให้เป็นสินค้า OTOP ของหมู่บ้านเราได้ใหมครับคุณเสวกและเป็นสินค้าเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนผมขอรบกวนคุณเสวกด้วยนะครับช่วยหาข้อมูลนี้ให้หน่อยและช่วยนำเสนอของดีที่น่าลองนำมาเป้นาหารพื้นบ้านที่เป็นไทยอย่างนี้เพื่อที่จะอนุรักษ์ความเป็นไทยตรงไว้ด้วยและถ้ามีอะไรให้ผมช่ยก็บอกมาได้เลยนะครับ

ขอแสดงความนับถือ

( นาย โชคชัย มากน้อย )

จนท.ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

Packing Engineer

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวก

กะเตียงโคมหน้าตรุษสงกรานต์

วันนี้หลวงอามารำลึกถึงอดีตสักเรื่องหนึ่งนะ(เล่นกุด)พูดแบบนี้เขาหาว่าเป็นคนแก่นะเนี่ย

·     การเล่นสงกรานต์ในวัดใหญ่(หนองกลับ)รุ่นหลวงอาก็ไม่ทันแต่จำได้ว่าตอนเป็นเด็กเห็นหนุ่มสาวเล่นสงกรานต์ในวัดมีชิงชาสวรรค์ ลูกช่วงตรงต้นตาลต้นมะขวิดต้นมะสังแถวนั้น การเล่นสงกรานต์คนบ้านเราเล่นหลังจากวันสงกรานต์ไปประมาณสองอาทิตย์ เล่นตอนกลางคืนมีเล่นงูกินหาง ลูกช่วง หมาบ้าคู่

·     รุ่นหลวงอาเล่นในหมู่บ้านแต่ตามหมู่บ้าน(หนองบัว-หนองกลับ)ไฟฟ้าก็ยังไม่เข้าต้องอาศัยจุดกะเตียงโคม(ตะเกียงเจ้าพายุ)ส่วางไสวมองเห็นแต่ไกล

·      สาว ๆ จะเล่นกันเองตอนหัวค่ำเพราะหนุ่ม ๆ ยังเดินทางมาไม่ถึง ถ้ากลุ่ม(หมู่บ้าน)ไหนอยู่ไกลปืนเที่ยงห่างไกลถนนหนทางส่วนมากมักจะเป็นบ้านกลุ่มท้าย ๆ การคมนาคมค่อนข้างลำบากทำให้ไม่มีแรงจูงใจดึงดูดหนุ่ม ๆ ให้เข้ามาเล่น 

·      ยิ่งถ้าวง(กลุ่ม)นั้นส่วนมากมีความสวยแฝงอยู่คือมีความสวยแต่ความสวยแฝงอยู่ภายในด้วยแล้ว ก็น่าเห็นใจมาก 

·      ถ้ากลุ่มใดมีเหตุปัจจัยสองอย่างดังกล่าวแล้วเมื่อมีหนุ่มเข้ามาเล่นโอกาสที่จะเล่นยาวจนเลิกโดยที่ไม่มีกลุ่มอื่นมาผลัดเปลี่ยนก็เป็นไปได้ค่อนข้างมาก 

·      เป็นสปิริตอย่างหนึ่งของหนุ่ม ๆ ถ้าไม่มีกลุ่มอื่นมาผลัดเปลี่ยนก็จะต้องเล่นเพื่อนสาว ๆ จนเหนื่อยจะไปเล่นที่อื่นต่อแล้วปล่อยให้สาว ๆ เล่นกันเองก็เกรงใจและสงสารสาว ๆ และอีกอย่างสาว ๆ ก็ขอร้องให้เล่นต่อ เจอสถานการณ์แบบนี้หนุ่ม ๆ ทั้งหลายจำต้องแสดงความเป็นสุภาพบุรุษเล่นต่อจนเลิกเลยแหละ 

·     ถ้าวงไหนเป็นป๊อปปูล่า-สวยจะมีหนุ่ม ๆ คอยจองเพื่อผัดเปลี่ยนแวะเวียนไปเยอะหน่อย โดยหนุ่ม ๆ จะรู้กันเองโดยทั่วไปคือถ้าเอ่ยขึ้นมาว่าวงนี้คนเยอะก็แสดงว่ามีคนสวยชัวร์ ภาษาที่ใช้เรียกวงและเข้าใจกันในหมู่ชายหนุ่มทั้งหลายจะเรียกคนเด่นสุด-สวยกว่าเพื่อนนำมาเป็นชื่อแทนวง ว่าวง E แล้วตามด้วยชื่อ....เรียกลับหลัง ใครมีคู่ดองสวยถ้ามาเล่นวงคู่ดองของตัวอาจถูกหาว่าหวงคู่ดองได้ แต่ถ้ามีสปิริตก็จะไม่มาเล่นวงคู่ดองตัวเอง แต่ถ้าคู่ดองสวยน้อยหน่อยไม่ค่อยมีชายหนุ่มมาเล่นสงกรานต์(กุด)ด้วยก็จำเป็นหรือจำใจต้องมาเล่นกุดเป็นเพื่อนคู่ดองตนเองด้วยเหมือนกัน

·      และอีกอย่างหนึ่งสมัยนั้นตามสอกตามถนนมันก็มืดมากด้วย การเดินทางมีทั้งเดินเท้าและก็จักรยานคนจนของยอดรักนี่แหละเป็นยานพาหนะยอดฮิตของหนุ่ม ๆ เลยทีเดียว 

·      หลังปี พ.ศ.๒๕๒๓ ไม่รู้มีเล่นกันต่อมาอีกนานหรือไม่เพราะหลังจากนี้ก็ไม่ค่อยได้อยู่หนองบัวแล้ว.

 

 

 เจริญพร

 

 

สวัสดีครับคุณโชคชัย มากน้อย

  • ขอบคุณมากนะครับที่เข้ามาร่วมแสดงความคิดเห็น

ขนมครกปัจจุบันนั้นมีหลากหลายดัวยกันแล้วแต่ตามสูตรว่าใครจะมีการดัดแปลงอย่างไรให้ลูกค้าถูกใจ ถ้าพูดถึงขนมครกบ้านหนองกลับ ก็อดนึกถึงขนมครกยายแทนเป็นเสียไม่ได้ ยายแทนจะขายทั้งขนมครกและกล้วยปิ้ง ขนมครกจะเป็นแบบพื้นบ้านแบ้งจะไม่แข็งกระทิต้องมันและที่สำคัญคือความหอมขอมต้นหอมนั้นด้วย ยายแทนแกจะขายหน้าบ้านของแกทางเข้าวัดเทพสุทาวาส ผมคิดดูแล้วลูกหลานหนองบัวน่าจะได้เคยกินกันทุกคน สูตรการทำคงไม่ยากเท่าไรที่จะค้นหาแต่คุณโชคชัยมีความรู้ทางด้านออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน่ายินดีอย่างยื่งถ้าจะมีการส่งเสริมชาวบ้านให้เลือกให้ภาชนะบรรจุเพิ่มความสะดุดแก่ลูกค้าได้เป็นอย่างดีครับ

กราบนมัสการพระคุณเจ้าพระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

  • การเล่นกุดผมเองเป็นเด็กคงจะรุ่นสุดท้ายก็ว่าได้ตอนนั้นมีไฟฟ้าแล้ว วงกุดจะใช้ไฟดวง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ไฟตุ้ม ครับใช้ แพ้ว (แขวน)บนเสาไม้ไผ่เพื่อเป็นสัญลักญณ์ว่ามีกลุ่มสาวๆตั้งวงอยู่ บ้างครั้งเข้าไปต้องพบกับความผิดหวังต้องไปพบกับไฟของคอกวัวหรือไม่ชาวบ้านก็นั่งฟันต้นมันกันอยู่
  • เคยมีคนไปเล่นกุดแถวๆเกาะลอยกลับมาเล่าให้คนแก่ฟังว่า ไปเห็นสาวๆตีนกุดมาส่วยจัดเลยย..พ่อใหญ๋ (พูดแบบสำเนียงหนองบัว) คนแก่บอกว่ามันสวยได้อย่างไรคนพิการ แท้จริงแล้วตีนกุดหมายถึงข้างกุฏิฤาษี นั่นเองครับเพราะบางคนเรียว่าบ้านตีนกุดก็มี

อ้อผมลืมบอกไปว่าน่าประมาณสิบปีกว่านิดๆหลังนั้น ไม่มีการเล่นกุดแล้วครับ

สวัสดีจ่ะพี่ชาวหนองบัวทุกๆคนมีความยิ้นดีเป็นอย่างยิ่งค่ะที่ได้รู้จักกับพี่ชาวหนองบัวและได้เรียนรู้ภาษาหนองบัวแปลกดีจ้าที่คำบางคำมีความหมายเหมือนกันแต่พูดไม่เหมือนกันแต่พพอได้เข้ามาอ่านดูทำให้เข้าใจความหมายได้เพิ่มขึ้นมากเลยจ้าหนูงันวันนี้พอแค่นี้ก่อนนะค่ะดึกมากแล้วเดียวจ่ะเข้ามาทักทายกันมัยน่ะจ้า

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกคุณโชคชัย มากน้อย,คุณแวะมาทักทายจ้าและผู้อ่านทุกท่าน

  • ขอยินดีต้อนรับคุณโชคชัยด้วยก็แล้วกัน
  • ดีมากเลยที่คุณโชคชัยเป็นนักออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(Packing Engineer)ได้เข้ามาเสนอความคิดเห็นเรียนรู้ร่วมกันความเป็นนักออกแบบนี่ช่วยได้เยอะสังเกตสินค้าในท้องตลาดที่มีสีสรรน่าสนใจชวนมองอยากจะซื้อหามักมีรูปแบบสวยงามน่าจับต้องเชิญชวนให้ซื้อ
  • บางครั้งผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันเลยแต่รูปแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์ดูดีมีเสน่ห์คนก็จะสนใจและเลือกซื้อสินค้าที่มีความสวยงามด้านออกแบบนี่แหละเป็นแรงจูงใจอย่างหนึ่ง
  • วันนี้หลวงอามีของฝากจากหนองบัวเป็นขนมคล้ายของคุณโชคชัย แต่ขนมที่ว่่านี้ เป็นขนมประจำงานโดยเฉพาะคือจะได้กินขนมชนิดนี้ต้องมีงานจึงจะได้กินว่างั้นเถอะ เป็นขนมคนหนองบัว-หนองกลับ เช่น
  • ข้าวเหนียวห่อ (แป้งข้าวเหนียวห่อไส้มะพร้าว)
  • ข้าเหนียวหัวหงอก(ข้าวเหนียวโรยมะพร้าว)
  • ขนมกงชะมุด
  • ขนมสามเกลอ
  • ขนมนางว่าว
  • ขนมนางเล็ด
  • คุณแวะมาทักทายจ้า ก็ยินดีต้อนรับเช่นเดียวกันมีอะไรก็ถามคุณเสวกนะหลวงอาตอบไม่ได้เพราะมีความรู้น้อย
  • ภาษาหนองบัวถ้าได้ยินกับหูจึงจะรู้ว่ามีเสน่ห์โดยเฉพาะคนเก่า ๆ ที่พูดสำเนียงหนองบัวแท้ ๆ ไม่ทราบว่าคุณแวะมาฯเคยได้ฟังมาบ้างหรือยัง หรือว่าเป็นคนบ้านใกล้เรือนเคียงกับหนองบัว.

เจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • วันนี้เข้าไปในเมืองพิษณุโลกมาเวลานั่งรถโดยสารรอบเมืองโยมโชว์เฟอร์ที่มีอายุมากหน่อยจะชอบพูดคุยกับพระสงฆ์
  • ส่วนมากก็จะเล่าเรื่องราวในอดีตที่ผ่านมาในชีวิตของท่านว่ามีอะไรเป็นยังไง ยุคโน้นเป็นอย่างไรประมาณนี้แหละ
  • พระก็คอยช่วยเสริมยิ้มให้บ้างพูดคุยบ้างพยักหน้าบ้างเป็นเชิงว่ารับฟัง
  • คนเล่าก็เล่าได้อย่างออกรสชาติเพราะมีความจำของตนตั้งแต่เด็กจนถึงวัยปัจจุบัน
  • คนเล่าดูมีความสุขดีเพราะเราตั้งใจฟัง หลวงอาคิดว่าเรื่องราวต่าง ๆ จากผู้สูงวัยทั้งหลายมีประโยชน์มากมายมหาศาล
  • แต่ทำอย่างไรข้อมูลเหล่านี้จึงจะได้มีคนจดบันทึกเขียนไว้บ้าง นึกไปนึกมาก็ใกล้ตัวเราเลย
  • เมื่อก่อนพ่อใหญ่ แม่ใหญ่ พ่อเฒ่า แม่เฒ่า ปู่ ย่า ตา ยาย เล่าอะไรให้ฟังเราก็ชอบฟังแต่หลังจากนั้นก็ลืมเลือนหายไปหมด
  • เพราะไม่มีใครจดบันทึกจำไว้กับตัวต่อมาก็หลงลืมเลือนสูญหายไปจนหมด
  • โยมโชว์เฟอร์แกก็จะเล่าว่าก่อนจะมาขับรถก็ทำนาทำไร่ เลี้ยงวัวเลี้ยงความยอยู่ในต่างอำเภอ เช่น อำเภอบางกระทุ่มบ้าง อำเภอเนินมะปรางบ้าง นครไทยบ้าง
  • ถึงจะไม่ใช่ถิ่นฐานบ้านเราแต่ก็น่าสนใจเรียนรู้ประวัติท้องถิ่นแต่ละที่แต่ละแห่ง
  • ที่หลวงอาเล่าให้ฟังนี้ก็ไม่ใ่ช่อะไรหรอกนะ ตอนเราเป็นเด็กเราก็จำอย่างเดียวต่อมาก็ลืมเลือน หรือบางทีเราเองก็มองไม่เห็นความสำคัญเรื่องราวเหล่านั้นด้วย
  • ด้วยว่าเราคิดเอาเองว่าก็ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจก็เป็นแค่การทำมาหากินเรื่องการสร้างเนื้อสร้างตัวธรรมดา
  • นี่คือลูกหลานจะคิดทำนองนี้เสียมากทำให้ประวัติศาสตร์ใกล้ ๆ ตัวสูญหายไปกับท่านเหล่านั้นหมดเกลี้ยง
  • พอจะตามเรื่องที่เคยได้ยินไ้ด้ฟังมาเมื่อในอดีต ก็ไม่รู้จะไปหาที่ไหนได้เพราะท่านจากเราไปหมดแล้ว
  • ยุคเรานี้มีเครื่องไม้เครื่องมือสื่อสารอำนวยความสะดวกมากมายจะบันทึกแบบไหนเลือกได้ตามความถนัด ภาพนิ่ง ภาพเคื่อนไหว เสียง มีให้ครบทุกอย่าง
  • จึงใคร่อยากเชิญชวนลูกหลานเยาวชนทั้งหลายให้ช่วยกันจดบันทึกเกร็ดประวัติใกล้ ๆ ตัวเราที่คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังแล้วเก็บไว้ เป็นเสียงภาพก็ได้อย่าคิดว่าไม่มีประโยชน์
  • และไม่ต้องอายที่จะบอกเล่าเรื่องใกล้ ๆ ตัว คิดเสียว่าทุกเรื่องน่าสนใจทั้งนั้น
  • ข้างวัดศรีโสภณ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ที่หลวงอาจำพรรษานี้มีหมู่บ้านหนึ่งที่อพยพย้ายถิ่นมาจากจังหวัดราชบุรีเมื่อเกือบร้อยที่แล้วคนเก่ายังพูดภาษาสำเนียงราชบุรีได้
  • วันนี้ร่ายยาวเกินไปแล้วขอจบแค่นี้ก่อนนะ.

เจริญพร

ขอบคุณครับคุณหัวข้อที่14. แวะมาทักทายจ้า     ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น    ยังมีอีกหลายคำที่ไม่ได้นำมาลงแต่พอนึกเข้าจริงก็นึกไม่ออกเพราะไม่ค่อยได้พูดกันเท่าไรครับ

  • อ่านข้อความที่หลวงอาเล่าแล้วน่าตื่นเต้นครับ วันนี้ยังไม่มีความคิดเห็น เชิญหลวงอาตามสะบายกับหลานๆไปก่อนนะครับ

สวัสดีครับพี่น้องชาวพริกเกลือทุกท่านและทุกท่านที่แสดงความคิดเห็น ผมรันพริกเกลือNo.17 ขอรายงานตัวครับ

สวัสดีครับคุณจรัญ เหอะๆๆทะยอยออกมาทีละกระปุกแล้วตอนนี้ว่างๆมาเล่าเรื่องราวบ้านโคกมะขามหวานให้ฟังหน่อยครับ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • หลวงอาอยากเห็นภาพวาดที่เป็นทางเกวียนตามหมู่บ้านเราและทางเกวียนไปนาของคนหนองบัว ทางเกวียนที่ว่านี้คนหนองบัวเรียกเป็นศัพท์ทางเทคนิดว่า "สอก" วาดแบบมีรั้วไม้ไผ่ มัดกับหลักกะทู้ สามแถวกันวัวควายมุดไปกินข้าวในนา สอกลึก ๆ ก็มีที่นาตากลิ้ง นาผู้ใหญ่เกิด จนถึงนาตานาม-ยายมูล แถวนี้เป็นดินเหนียว
  • สอก นี้หมดไปก็มีถนนมาแทนเมื่อก่อนไปนาต้องลุยน้ำในสอกนี่แหละมีทั้งน้ำลึก หล่มโคลน ส่วนมากเป็นทราย
  • ถ้าทรายหนา ๆ รอยเกวียนจะลึกลงไปในดินทราย
  • การลากเกวียนจะหนักมาก ๆ ควายวัวลากจนตัวโก่ง ว่าง ๆ ลองวาดให้ดูชมบ้างก็จะดี

เจริญพร

ในนาข้าวและในน้ำของชุมชนหนองบัวมากด้วยมีปลา

 

กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอาจารย์มหาแล ขำสุข(อาสโย) และสวัสดีเจ้าบ้านนะครับ คุณเสวก ใยอินทร์

ผมมาร่วมแสดงความยินดีกับการเปิดบล๊อกของคุณเสวกนะครับ ประเดิมด้วยบรรยากาศคึกคักดีครับ  เลยวาดรูปมาเป็นของกำนัลขึ้นบ้านใหม่ของคุณเสวกและการตั้งวงเสวนากันในเวทีนี้นะครับ

คุณเสวกพูดถึงความเป็นแหล่งเกษตรกรรมของหนองบัวและนครสวรรค์ มีน้ำ มีข้าว มีปลา ก็เยวาดรูปนี้มาฝากครับ ใครเกิดและเติบโตที่หนองบัวในอดีต ต้องคุ้นตากับภาพนี้แน่นอนครับ ผมเองก็เช่นกัน ผมทั้งเดินเท้าและถีบรถจากบ้านตาลินไปเรียนหนองบัวเทพและหนองคอกไปกลับเช้าเย็นอยู่ ๕-๖ ปี เห็นภาพนี้ในทุ่งนาของชาวหนองบัวอย่างติดตา

ชาวหนองบัวตกเบ็ด-ล่อปลาเก่ง ในนาข้าวช่วงตั้งแต่ข้าวเริ่มแตกกอกระทั่งน้ำทรง ชาวบ้านหนองบัวจะออกไปตกเบ็ดล่อปลา บางวันก็ยืนกันกระจายเต็มไปในบริเวณกว้าง ในถิ่นนั้นดูเหมือนจะเป็นความรู้จำเพาะตนของชาวบ้านหนองบัวเลยทีเดียว ชาวบ้านกลุ่มอื่นๆก็ทำไม่เป็น

ผมเคยทดลองยืนตกเบ็ด-ล่อปลาอย่างชาวบ้านหนองบัวดูอยู่บ้าง ก็พบว่าเหนื่อยและใช้กำลังแขนมากเป็นอย่างยิ่ง แต่ชาวบ้านหนองบัวจะยืนนิ่งและตกเบ็ดในลักษณะดังกล่าวนี้ได้เป็นวันๆ ความอดทนและพัฒนาการทางกล้ามเนื้อในอริยบทดังกล่าวต้องมีความจำเพาะตน และเป็นทักษะจำเพาะกลุ่มคนมากอย่างยิ่ง

                         

การตกเบ็ด-ล่อปลาในลักษณะดังกล่าว เป็นภูมิปัญญาในการทำเพื่อกินอยู่อย่างพอเพียง และเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย เพราะปลาที่จะกินเบ็ดแบบนี้ จะเป็นปลาช่อนและต้องเป็นปลาตัวใหญ่อย่างเดียว ไม่มีลูกปลาและปลาตัวเล็กตัวน้อยเลย

การทำคันเบ็ดและการคำนวนสายเบ็ดก็เป็นศิลปะอย่างที่สุด เลือกสรรจากลำไผ่ที่สวยงาม รมควันไฟเพื่อดัดให้ตรงและกันมอด กระชับมือเหมือนเป็นเครื่องมือถนัดเฉพาะตัว ชาวบ้านจะสวมหมวก สะพายข้อง บ้างก็ใช้ผ้าขาวม้าพันหน้าตากันแดด

หากเห็นการตกเบ็ดล่อปลาในลักษณะนี้  ไม่ว่าจะเป็นใกล้ๆหนองบัวหรือกระจายไกลออกไปถึงห้วยน้อย ห้วยปลาเน่า หรือบางครั้งก็ไปไกลจนเกือบถึงบ้านตาลิน โดยมากแล้วก็รับรองได้เลยว่าคนนั้นจะเป็นชาวบ้านหนองบัว 

ในช่วงท้ายๆก่อนหมดความอุดสมบูรณ์ของหนองบัวนั้น คนหนองบัวเริ่มไปหาปลาไกลถึงแถวอยุธยา   

กราบสวัสดีท่านอาจารย์วิรัตนครับ

ขอขอบคุณอย่างสูงที่เอาแม่ปลาตัวใหญ่มาฝากครับ ทุกปีช่วงประมาณเดือน สิงหาคม ในนาจะมีปลามาก แต่ปีนี้ผิดจากทุกปีน้ำมาช้า ชาวบ้านเลยยังไม่มีปลากินกัน ชาวบ้านส่วนมากนั่งรอ จับเขียดเกี่ยวเบ็ด กัน แหม่ ถ้าได้สักตัว ต้มน้ำยาเข้าถ้าดีครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกโยมอาจารย์วิรัตน์และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • หลวงอาหายไปประมาณหนึ่งอาทิตย์เพราะอินเตอร์เน็ตที่วัดล่มต้องรอถึงอาทิตย์หน้าโน่นแหละ 
  • ไม่ได้พูดคุยกันหลายวันก็คิดถึงทุกท่านอยู่เหมือนเดิม
  • วันนี้ต้องออกจากวัดมาเปิดอินเตอร์เน็ตนอกสถานที่เลยทีเดียววัดสมอแคลงใกล้เทศบาลวังทองห่างวัดศรีโสภณ๕กิโลเมตร
  • แต่มาวันนี้ก็มาเจอปลาตัวเบ้อเริ่มเทิ่มจากโยมอาจารย์วิรัตน์ที่เอามาฝากเจ้าของบ้านใหม่พอดี
  • หลวงอาในนามคนไร้บ้าน(เพราะอยู่วัด)ก็ยินดีอย่างยิ่งที่บ้านนี้อุดมสมบูรณ์ดีเจ้าบ้านเองก็สมบูรณ์ไม่เบาเลยแหละดูในภาพก็พอเดาได้ไม่ยากใช่ใหมเอ๋ย
  • ถ้าโยมอาจารย์วิรัตน์จะมีภาพวาดการลงแขกเกี่ยวข้าวคนหนองบัวบรรยากาศท้องนาแถวสะพานหนึ่งทางไปบ้านป่ารังสักภาพคงจะมีสีสันเพิ่มขึ้นอีกโขเลยเชียว
  • อาทิตย์หน้าอินเตอร์เน็ตมาแล้วค่อยเจอกันนะ

เจริญพร

 

การลงแขกเกี่ยวข้าวของชาวบ้านชุมชนหนองบัว

ภาพประกอบวาดโดย : ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์

การลงแขกเกี่ยวข้าวของชาวบ้านทั้งชุมชนหนองบัวและโดยรอบ เป็นการะดมน้ำใจและการเอาแรงที่มีพลังมหาศาล ชาวบ้านจะดาหน้าและจัดวางตนเองโดยอัตโนมัติระดมพลังเดินหน้าเกี่ยวข้าวไปพร้อมกัน

แต่ละคนจะรับผิดชอบด้านหน้าตนเองและซ้ายขวาออกไปประมาณข้างละเมตรพอเอื้อมแขนและโน้มตัวไปถึง มีการพูดคุย กระเซ้าเย้าแหย่ เล่นปฏิภาณกัน บางคนอยากจะร้องเพลง ก็ร้องอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นที่สนุกสนาน แต่ละไร่ใช้เวลาไม่นานก็เสร็จ แต่ละจ้าวก็จะลงแขกและเอาแรงเกี่ยวข้าวไม่กี่วันก็เสร็จ นับว่าเป็นวัฒนธรรมการบริหารจัดการชุมชนการผลิตที่มีพลังมากจริงๆ

                           

ในภาพเป็นห้วยน้อยและสะพานหนึ่งหรือสะพานห้วยน้อย อยู่ใกล้กับบ้านป่ารัง แต่เดิมนั้นเป็นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์มาก  ปลาและอาหารที่มากับน้ำมีอย่างมากมาย ชาวบ้านทั้งหนองบัว ป่ารัง บ้านรังย้อย บ้านตาลิน และโยรอบ สามารถไปหาปลาในบริเวณนี้

ข้างสะพานจะมีต้นโพธิ์และต้นไทรอยู่ริมถนน อีกด้านหนึ่งก็มีต้นมะม่วงป่าขนาดใหญ่ ออกลูกดกและมีนกป่ากับกระแต-กระรอกมากิน แต่คนกินไม่ได้เพราะเปรี้ยวจัดและมียางมาก

ตรงสะพานซึ่งมีน้ำไหลและเป็นแอ่งน้ำ พื้นที่ลึกมากกว่าแหล่งอื่น จึงไม่สามารถปลูกข้าวได้ จึงจะมีกกและพืชน้ำมากมาย ชาวบ้านในท้องถิ่นก็จะมาเกี่ยวต้นกกเพื่อนำไปทำเสื่อและสาด ในอดีตนั้น การทำเสื่อ สาด ทอผ้า และเครื่องใช้ต่างๆ เป็นทักษะพื้นบ้านที่ใครๆก็ทำเป็น เด็กๆก็มีโอกาสเรียนรู้และทำเองได้

ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวได้กลายเป็นสะพานคอนกรีตแล้ว และตัวเมืองหนองบัวก็ขยายออกไปจนเกือบถึง บริเวณนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นชุมชนเมือง มีโรงสีข้าว ที่พักอาศัยและแหล่งประกอบกิจการที่ขยายออกไปจากตัวอำเภอ

 

 

 

 

 

สวัสดีครับพี่น้องชาวพริกเกลือทุกท่านและทุกท่านที่แสดงความคิดเห็น ผม บอย พริกเกลือNo.1 ขอรายงานตัวครับผม

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวก,ชาวหนองบัวและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • วันนี้วันแม่หลวงอาขอรำลึกพระคุณแม่แทนท่านผู้อ่านทุกท่านด้วยบทกลอนดังนี้

แม่ โดย ท่าน ศ. สียวน

แม่มีท้องต้องลำบากไปฝากท้อง โตก็ต้องฝากโรงเรียนเพียรศึกษา

พอจบเรียนเพียรฝากงานมีหน้าตา แม่ชราขอฝากไข้ไม่ใจมาร

แม่มีแต่ให้ไม่คิดรับ            แม่ให้ทรัพย์ให้ชีวิตให้อาหาร

ยามเมื่อแม่แก่เฒ่าชรากาล ไม่อ้างงานทิ้งท่านเหงาเปล่าเปลี่ยวใจ.

เจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • เห็นภาพวาดการลงแขกเกี่ยวข้าวของชาวหนองบัวของโยมอาจารย์วิรัตน์แล้วนึกไปได้ถึงบรรยากาสและความคึกคักในฤดูเกียวข้าวยุคก่อนโน้นทันที
  • เกี่ยวข้าวคนเยอะ ๆ นี่สนุกสนานมากยิ่งถ้าเป็นการลงแขกช่วยคู่ดอง(แขกทุ่มฯ)ด้วยแล้วเป็นเรื่องสนุกมีความเป็นมิตรเป็นเพื่อนเป็นญาติกันอย่างยิ่ง
  • แดดหน้าเกี่ยวข้าวร้อนหน้าดูแต่ไม่เหนื่อยเลยโดยเฉพาะหนุ่ม ๆ สาว ๆ
  • พอเริ่มแดดอ่อน ๆ จะมีของแถมแสดงน้ำใจจากเจ้าของนาฝ่ายหญิงเลี้ยงส่งแขกคู่ดองด้วยสุราบางคนบอกว่ากินพอเป็นยากระสายแต่เห็นทีไรนะฝ่ายชายถูกคู่ดองและเพื่อนสาวสอกเหล้าเสียจนเมาแอ่นไปแอ่นมาทุกรายมีอาการเหมือนเพลงยอดฮิตตอนนี้คือมันเป็นจั้งซี่แหละโยม งึก ๆ งั่ก ๆ เออย่างนี้วันรุ่งขึ้นตัองถอนหรือเปล่าไม่ทราบหนอ คุณเสวกพอจะมีประสบการณ์แบบนี้บ้างไหม.

เจริญพร

สวัสดีครับพี่น้องชาวพริกเกลือทุกท่าน เดียวนี้คุณยังเห็นเด็กๆบ้านเราเล่น มอบ ตีกาตูน ลูกเเก้ว ว่าว อี่ อีฮึ่ม กาฝักไข่ มอญซ่อนผ้า

กันอยู่หรึอเปล่า

กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระอาจารย์มหาแล ขำสุข(อาสโย) สวัสดีครับคุณพีรณัฐ คุณภูเขา และเจ้าบ้าน-คุณเสวก เลยเอารูปทอยเล่นลูกแก้วมาฝากครับ

                      

เป็นการเล่นลูกแก้วของเด็กๆ โรงเรียนหนองบัว(เทพวิทยาคม) ใต้ร่มฉำฉา ด้านหลังของอาคารเรียนหลังเก่าที่อยู่ติดกับถนน ปัจจุบันนี้อาคารไม้หลังนี้ก็ยังอยู่

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกโยมอาจารย์วิรัตน์และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ดูภาพนี้แล้วก็เห็นความเคลื่อนไหวของเด็กนักเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(อนุบาลหนองบัว)เมื่อ ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมาแล้วทำให้นึกถึงบรรยากาสของคนร่วมสมัยช่วงนี้ดี
  • คุณโยมภูเขาพูดถึงการเล่นหลายอย่างก็เลยรำลึกถึงการเล่นตอนเป็นเด็กเหมือนกับในภาพวาดนี้ไปด้วยเลย
  • ภาพวาดนี้บอกเล่าเรื่องราวและตอบคำถามเรื่องต่าง ๆ ในอดีตได้ดีจริง ๆ
  • อาคารนี้เมื่อก่อนอยู่ใกล้ถนนสายหนองบัว-ชุมแสง ดูภาพวาดเหมือนอาคารจะสูง แต่จำได้ว่าอาคารนี้เด็ก ๆ สามารถรอดใต้ถุนได้สบายแต่ผู้ใหญ่ถ้าไม่ก้มศรีษะน่าจะชนรอดตงได้ใช่ไหมโยมอาจารย์
  • หลังอาคารเป็นสนามหญ้า เวลามีแข่งขันฟุตบอลชุมหนองบัว-ชุมแสงคนจะมายืนบริเวณต้นฉำฉาเยอะมากเพราะจะมีร่มบังแดดได้อย่างดี
  • ก่อนหน้าที่ตาหวิตจะจัดงานสวนสนุกหน้าอำเภอหนองบัวนั้นสนามนี้ได้เป็นที่จัดงานสวนสนุกหน้าหนาว
  • ครั้งหนึ่งไปดูดนตรีลูกทุ่งไม่แน่ใจว่าจะเป็นไวพจน์ เพชรสุพรรณหรือเพลิน พรมแดนนี่แหละหนาวมาก ๆ ตกดึกแม่ก่อไฟให้ผิง.

เจริญพร

ผมอยากทราบประวัติความเป็นมาของการตั้งชื่อ อ.หนองบัว และ ต. หนองกลับ และชื่อของผู้ตั้ง ขอขอบคุณครับ

รักและคิดถึงบ้านเกิด

เป็นไงบ้างคุณเสวกที่ทำงานใหม่....สำบายดีน้อ

คุณลองถามคนนอกพืนที่ซิว่าจักเขารู้จัก ต้น อีซึก หรือเปล่า

มาทีละน้อยแต่อยากมาบ่อย

สวัสดีครับพี่น้องชาวพริกเกลือทุกท่านและทุกท่านที่แสดงความคิดเห็น ผมเจนพริกเกลือNo.07 ตอนนี้มีแก๊งปาหินระบาด ท่านที่ต้องใช้รถใช้ถนนเวลากลางคืนควรระมัดระวัง หรือไปติดแผ่นโพลีคาร์บอเนท เพื่อป้องกันชีวิตของท่าน

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกสมาชิกชมรมพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • ช่วงนี้เจ้าบ้านไม่อยู่ช่างเงียบเหงาเหลือเกินเนาะเคาะประตูก็แล้วเอิ้นก็แล้วกดออดเรียกก็แล้วมองหาจนทั่วบ้านก็ไม่มีใครอยู่ รปภ.ก็ไม่อยู่
  • เลยหลวงน้าต้องขอทำหน้าที่แทนเจ้าบ้านไปพลาง ๆ ก่อนก็แล้วกัน เห็นมีคำถามของคุณภูเขาเกี่ยวกับต้นอีซึกของชาวหนองบัว
  • คนรอบนอกหนองบัวก็เรียกอีกอย่างแถวบ้านตาลินเรียกผักซึก ที่สุโขทัยบ้านหลุมและที่วังทองพิษณุโลกเรียกเหมือนกันเลย เป็นต้นมะคึกหรือผักมะคึก
  • มีวัดหนึ่งใกล้วัดศรีโสภณชื่อวัดเนินมะคึก
  • ส่วนคำถามชื่อบ้านนามเมืองก็น่าสนใจมากแต่ตอนนี้หลวงน้ายังไม่มีข้อมูลขอติดไว้ก่อนนะ หรือใครมีข้อมูลก็สามารถนำมาเผยแพร่แลกเปลี่ยนรู้กันในที่นี้ได้ตามอัธยาศัย
  • ฉะนั้นก็เลยจึงขอฝากโยมอาจารย์วิรัตน์ไว้ให้ช่วยวิสัชนาก็น่าจะได้ความรู้ประวัติชื่อบ้านต่าง ๆ อย่างถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น.

เจริญพร

สวัสดีครับทุกท่านที่มาแสดงความคิดเห็น

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ืรัตน์ที่เอาภาพวาดในอดีตมาฝาก และที่สุดนี้คือขอขอบพระคุณท่านหวงอาที่ทำหน้าที่ตอบคำถามพร้อมกับบทกลอนดีๆวันแม่เอามาฝาก ผมไม่ได้เปิดมาหลายวันแล้วมีท่านที่มาแสดงความคิดเห็นหลายท่านเลยทีเดียว ส่วนคำถามของคุณภูเขา ตอนนี้ผมยังไม่มีรายละเอียดเช่นกัน ถ้าสนใจตอนนี้เข้าไปเยี่ยมชมบล็อคของท่านอาจารย์ืวิรัตน์ และท่านหลวงอามหาแลก่อนนะครับจะมีเรี่องเล่าการสร้างวัดและชุมชนอยู่น่าสนใจเลยทีเดียวครับ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • เจ้าบ้านหายหน้าไปหลายวัน ตอนนี้กลับมาแล้วมีเรื่องที่ค้างไว้ยังไม่ได้ตอบคำถามคุณภูเขาเรื่องชื่อบ้านนามเมือง
  • พวกเราทุกท่านที่อ่านเขียนกันอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่อยู่นอกหนองบัวเกือบทั้งนั้นเลย
  • บางเรื่องก็เป็นเรื่องง่าย ๆ แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องอดีตเราเองก็นึกไม่ออก ครั้นจะถามคนเฒ่าคนแก่ก็อยู่ไกลกันมากไม่สะดวกหลวงอามองหาคนท้องถิ่นหนองบัวที่อยู่ในพื้นที่จริง ๆ ตอนนี้ยังไม่เห็นมีใคร ที่มีตอนนี้อยู่หนึ่งท่านก็คือคุณครูอนุกูล ครูโรงเรียนวัดเทพสุทธาวาส
  • ฉะนั้นเราซึ่งอยู่ไกลบ้านก็รอคอยไปก่อนก็แล้วกันเนาะแต่วันนี้หลวงอามีบทความเกี่ยวกับหนองบัวเราที่จะไขข้อข้องใจของคุณภูเขาได้ในระดับหนึ่ง
  • เชิญคุณภูเขา,คนหนองบัวและผู้อ่านทุกท่านอ่านประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับหนองบัวได้เลยตามเว็บที่กล่าวถึงหนองบัว เช่นอาจารย์วลัยลักษณ์ ทรงศิริhttp://www.konrakmeed.com/webboard/upload/lofiversion/index.php?t5496.html
  • http://www.nongbua.ac.th/tour.html
  • หรือจะเข้าไปอ่านของโยมอาจารย์วิรัตน์ก็ได้มีเรื่องเกี่ยวกับชื่อบ้านนามเมืองอยู่ด้วย ในหัวข้อทุนสังคมของอำเภอหนองบัว นครสวรรค์

เจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

  •  ภาษาถิ่นหนองบัวมาแล้วจ้า จะบอกว่ามาทีละน้อยแต่มาบ่อย ๆ เหมือนที่คุณภูเขาว่าก็ไม่เชิง
  • เพราะภาษาพูดถ้าใช้บ่อย ๆ ก็จะพรั่งพรูออกมาโดยอัติโนมัติ
  • แต่นี่หลวงอาอยู่ที่พิษณุโลกยังไม่เคยได้พูดภาษาหนองบัวกับคนหนองบัวแม้แต่ครั้งเดียวทำให้ลืมเลือนไปเยอะชักจะเสียดาย
  • วันนี้ขอเสนอภาษาถิ่นหนองบัว คำว่า ดินมับ หมายถึงดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้นบาง ๆ หน้าดินจะลื่น
  • วิธีใช้ นาที่หนองบัวบางที่ที่เป็นดินทรายเวลาทำนาดำ ชาวนาไถนาตกขี้เทือกไว้เพื่อจะนำต้นกล้ามาดำเทือกที่ไถไว้นี่แหละ ถ้าไถเสร็จแล้วดำนาเลยดินก็จะเหลวเละดำง่ายมาก
  • แต่ถ้าไถเทือกเสร็จแล้วปล่อยไว้นานหลายชั่วโมงเพราะต้องไปถอนกล้าให้พอกับเทือกแล้วกลับมาดำคราวนี้เจอดินมับเข้าให้เต็ม ๆ
  • ดินมับพอดำไหวแต่เจ็บหัวแม่โป้ง(ภาษาถิ่นหนองบัว-นิ้วโป้)ชะมัดยาด ไม่ระวังเล็บอาจฉีกได้
  • ดินมับนี้เวลาเดินต้องระวังให้ดี ไม่งั้นล้มหงายท้องตีนตั้งน้ำกระจายเลยนะจะบอกให้.

เจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

  • เมือวานนี้เสนอคำว่าดินมับไปแล้ว
  • วันนี้หลวงอาจะขอเสนอคำว่า ดินหมัง (ก็คือดินหมาด)ดินยังแห้งไม่สนิท เกือบแห้ง
  • วิธีใช้ เช่น นาดินเหนียว เมื่อถูกฝนดินเปียกจะไถด้วยความลำบากมากเพราะดินจะติดผาล(ดินโป๊ะหัวหมู)และก็ไถไม่ค่อยเข้าดินจะเยินขึ้นมายกหางไถแล้วกดปลายผาลลงดินอย่างไรก็ไถไม่ลงคนไถจะเหนื่อยมาก
  • ปั้นลูกดินตากแดดไว้พอหมัง ๆ ก็เก็บเอาไว้ใช้ได้แล้ว ถึงจะยังไม่แห้งสนิทดีก็เถอะ ลูกดินหมัง ๆ อย่านำไปยิงหัวใครเป็นอันขาด แตกไหม แตกซิ แตกฟรีเลยนะแอนตาซินก็ไม่จ่ายเสียด้วย.

เจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

  • วันนี้หลวงอาเปลี่ยนจากคำบรรยายภาษาถิ่นหนองบัวมาเป็นคำถามภาษาถิ่นฯ บ้าง
  • คำที่จะถามต่อไปนี้เป็นคำเก่ามากรุ่นหลวงอาก็ไม่ทันแต่ได้ยินคนรุ่นเก่าพูดถึง จึงขอเชิญชาวหนองบัวและทุกท่านตอบมาได้เลย เดาก็ได้ เป็นการอนุรักษ์คำเก่า ๆ ไว้ให้ได้เรียนรู้ร่วมกัน
  • คือ คำว่า นาคเอก นาคโท หมายถึงอะไร คืออะไร ใครรู้บ้างช่วยตอบที

เจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

  • วันนี้หลวงอามีคำถามที่สองตามมาติด ๆ เกี่ยวกับภาษาถิ่นหนองบัว
  • คำที่จะเสนอต่อไปนี้เป็นคำที่สมาชิกกลุ่มพริกเกลือต้องตอบได้นะ ถ้าตอบไม่ได้อายคนบ้านอื่นแย่เลยแหละ
  • วิธีใช้ สมมุติคนหนองบัว-หนองกลับไปนาไปทุ่ง จะมีอุปกรณ์(เครื่องมือหากิน)ชนิดหนึ่งติดตัวไป ใบ้ให้นิดหนึ่งก็ได้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในหน้าน้ำฤดูฝนหน้านี้พอดีเพื่อหาอาหารประจำวันของคนบ้านเรา
  • ออกไปทุ่งของชาวบ้านก็แค่ห่อข้าวสุกกับพริกเกลือไปเท่านั้นก็พอแล้ว ส่วนอาหารไปเอาข้างหน้า เพราะฉะนั้นพริกเกลือก็เท่ากับพริกแกงหรือเครื่องแกง(ข้าวเบือ)
  • และอุปกรณ์ที่นำติดตัวไปในทุ่งนี้ เป็นอันที่ดีที่สุดเป็นอันที่เชื่อมือได้และจะไม่ทำให้ผิดหวังในการออกทุ่ง เท่ากับไปจ่ายตลาดสดดี ๆ นี่เอง
  • ถามว่าอุปกรณ์ที่ว่านี้เรียกว่าอะไร.....และอุปกรณ์ชิ้นสุดเจ๋งนี้คนหนองบัวจะมีศัพท์เรียกเฉพาะว่า แม่.....คันนี้ขมวยจัดเลยซิวา... เลยถามต่อเลยว่าคำว่า ขมวย แปลว่าอะไร
  • สมาชิกกลุ่มพริกเกลือคิดไม่ออกให้ถามพ่อแม่ที่หนองบัวก็แล้วกันนะ

เจริญพร

ผมจะลองตอบดูแล้วกันครับ..เบ็ดลล่อ ขมวย = ทำขึ้นมือ ทำอะไรก็ดีไปหมด

หนึ่งในนาคหมู่ที่ท่องหนังสือมนต์ได้เก่งที่สุดคือ นาคเอก ส่วนนาคโทก็รองลงมาครับ ไม่รู้ว่าถูกต้องหรือเปล่าครับ

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

  • หลวงอาขออนุโมทนาคุณเจนอย่างมาก(ไม่อยากเป็นหลวงลุงเลยจริง ๆ )
  • แหมหลวงอารู้สึกดีใจดีมากที่คนรุ่นใหม่จากหนองบัวตอบได้ถูกต้อง
  • นาคเอก นาคโท เมื่อสมัยหนองบัวมีนาคหมู่ จะมีการจัดลำดับการท่องหนังสือสวดมนต์หรือเจ็ดตำนาน ท่องขานนาค คล้าย ๆ สอบแข่งขันสมัยนี้เลย
  • โดยจะเลือกเฉพาะอันดับหนึ่งกับอันดับสองเท่านั้น คนได้อันดับหนึ่ง เรียกว่า นาคเอก คนได้อันสอง เป็นนาคโท คนได้เป็นนาคเอก นาคโทถือเป็นเกียรติของแต่ละรุ่นจะเป็นที่กล่าวถึงกันของชาวบ้าน เรียกว่าโก้ มีชื่อเสียง
  • คิดดูก็แล้วกันถ้าอำเภอหนองบัวจัดสอบแข่งขันอะไรสักอย่างยุคปัจจุบัน แล้วคนได้ที่หนึ่ง ที่สอง ย่อมดีใจภูมิใจ พ่อแม่ญาติ ๆ ก็สุขใจ
  • แต่การเป็นนาคเอก นาคโท ซึ่งจะทำการบวชในพระพุทธศาสนาพ่อแม่ญาติ ๆ ก็ยิ่งดีใจเป็นสองสามเท่าเป็นธรรมดาหลวงอาก็ไม่ทันได้เป็นนาคหมู่
  • เบ็ดล่อ ถูกต้องแล้ว เรามีเบ็ดไปล่อปลา หรือตกเบ็ด ได้เยอะแยะมากมาย คนที่ไปด้วยกันไม่ค่อยได้ แต่เราได้ว่างั้นเถอะ
  • ขมวย แปลว่า มีโชค,หากินคล่อง หาได้มากกว่าคนอื่น ๆ
  • ที่คุณเจน ตอบว่าทำขึ้นมือ, ทำอะไรก็ดีไปหมด ก็ใช่เช่นเดียวกัน
  • วิธีใช้ เช่น แหมเบ็ดแกนี่ ขมวยจัดเลยนอ หากินขมวย
  • ภาคอื่น ๆ จะใช้คำว่า หมาน เช่น หากินหมาน
  • ขอบคุณ คุณเจนมากที่ได้กรุณาตอบมาได้ถูกต้องแม่นยำไม่มีผิดพลาดเลย.

เจริญพร

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

  • วันนี้หลวงอามีคำถามที่สามตามมาติด ๆ เกี่ยวกับภาษาถิ่นหนองบัว
  • วันนี้ขอเสนอคำว่า ทะล่ำทะลา ขอเชิญคนหนองบัวและทุกท่านตอบได้ตามอัธยาศัย
  • หรือคนท้องถิ่นอื่นมีคำศัพท์คำนี้ก็ยินดีอย่างมากที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

เจริญพร

สวัสดีค่ะ

ตามมาเรียนรู้จากบ้านอาจารย์ณัฐพัชรค่ะ

สวัสดีครับทุกท่านที่มาเยี่ยมชม คำถามทบทวนปัญญาของท่านลวงอา ยอดเยียมกระเทียมดองเลยครับ น้องเจนเป็นเด็กสมัยใหม่ก็ยังพอที่จะจะคำเก่าๆที่ไม่ค่อยได้พูดกันมานานน้อยคนที่จะพูุดมีแต่คนโตๆ คือคนที่มีอายุพูุดกันว่างั้นเถอะ

ทะล่ำทะลา นั่นหมายถึงมากมายก่ายกอง ถ้าพูดถึงมากเต็มทะลาก็คือว่ามากจนเต็มลานหน้าบ้านอะไรประมาณนั้น

ผมเองเคยมีเพื่อนสมัยเรียนบ้านอยู่ตาคลีมาชอบสาวหนองบัวบอกขอนอนบ้านสาว สาวเจ้าบอกให้นอนกลางทะลา เค้าก็ไม่เข้าใจเลยมาถามผมว่าเค้าให้ไปนอนที่ไหนเพราะเค้าเห็นว่าเป็นคนหนองบัวเหมือนกันฟังแล้วน่าขำดี

และขอขอบคุณ คุณณัฐรดา ท่านเป็นนักเขียนให้โอกาสมาเยี่ยมเยือนหวังว่าคงได้กลิ่นไอของพริกเกลือบ้าง ท่านบอกว่าท่านมาจากบ้านอาจารย์ณรัฐพัชร เองเคยให้ความรูุ้้แก่ผม เดี๋ยววางๆผมจะไปเยี่ยมที่กล่องความรู้ของคุณณรัฐรดาบ้างนะครับ

ขอแก้คำผิด ท่านเองเคยให้ความรู้แก่ผมครับ

ภาษาพาสนุก รับช่วงต่อจากหลวงอามะหาแล

  • วันนี้ผมมีคำมาให้เดากันว่าจะจำกันได้หรือป่าวครับเชิญตอบกันได้ตามสะบายเลยนะครับ
  • ที่นอนสำหรับเด็กทารกที่วางในกระด้งเรียกว่าอะไร? มีสามพยางค์ออกเสียง

เดี๋ยวผมจะใบ้ให้ก่อนตามระเบียบครับ  ทำจากผ้าฝ้ายหรือผ้าดิบยัดด้วยนุ่น ทายเอ๋ยทาย ขายไหมขายไหม มีขี้มูกยายแก้วมาแลกใครจะเอาไหมเอย.........(คำนี้มาจากยายแก้วเป็นคนขายไอ้ติมที่เด็กๆชอบกินเวลากินไอ้ติมก็จะละลายจนเลอะปาก(ไหน้)คลายน้ำมูกหรือที่พูดกันว่า อะไรมันชั่งว่าไหน้ยกใหญ่ล้าววว...คือสกปรกมากๆ

 

 

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

  • วันนี้หลวงอามีคำถามที่สี่ เกี่ยวกับภาษาถิ่นหนองบัว
  • วันนี้ขอเสนอคำว่า กะตุ๋ง ขอเชิญคนหนองบัวและทุกท่านตอบได้ตามอัธยาศัย (คำว่า กะตุ๋งนี้ ตรงกับภาษาเหนือเรียกว่า ฮ้าโต๋)
  • คำนี้ถ้าคนหนองบัวตอบไม่ได้นี่ หลวงอาอายเขาแย่แน่เลยนะ
  • เพระใกล้ตัวคนกลุ่มพริกเกลือสุด ๆ  ก็อยู่ในตะครัวชาวหนองบัวบ้านเรา 
  • หรือคนท้องถิ่นอื่นมีคำศัพท์คำนี้ก็ยินดีอย่างมากที่จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
  • ใครตอบได้เชิญรีบตอบเลยจ้า.

 

เจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

ครบรอบ ๒๖ ปีแห่งมรณกาล

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • วันนี้(๒๖ ส.ค.๕๒)เป็นวันครอบวันมรณภาพปีที่ ๒๖ ของหลวงปู่อ๋อย สุวณฺโณ(พระครูนิกรปทุมรักษ) อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองกลับ และเจ้าคณะอำเภอหนองบัว นครสวรรค์
  • หลวงอานิมนต์พระสงฆ์สวดมาติกาบังสุกุลเพื่ออุทิศถวายส่วนกุศลแด่หลวงปู่อ๋อย เมื่อเวลา ๒๐.๓๐ น.ที่กุฏิหลวงอาวัดศรีโสภณวังทอง พิษณุโลก
  • หลวงอาจึงขอแจ้งข่าวการบำเพ็ญกุศลครั้งนี้ให้สมาชิกกลุ่มพริกเกลือชาวหนองบัวและทุกท่านได้ร่วมอนุโมทนาบุญร่วมกันด้วย

เจริญพร

พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

  • วันนี้หลวงอามีคำถาม เกี่ยวกับภาษาถิ่นหนองบัว
  • วันนี้ขอเสนอคำว่า ลูกอะไรเอ่ย วัว-ควาย ชอบกินเปลือกนอกแล้วปล้อน(คาย) ออกมา
  • เมื่อวัว-ควาย คายเมล็ดในออกมาแล้ว เราจะนำเมล็ดมาผ่ากินเนื้อใน เนื้อในนี้มีรสชาติมัน ๆ อร่อยดี
  • เป็นต้นไม้ป่าชนิดหนึ่ง ลูกมีเปลือกนอกอ่อน เมล็ดในแข็งมาก
  • เมื่อลูกแก่พอจะกินได้ชาวบ้านหนองบัวจะเก็บลูกมากองไว้ในคอกใต้ถุนบ้าน เพื่อให้วัว-ควายกินเนื้อนอก เสร็จแล้วคนก็ผ่าเมล็ดกินเนื้อใน
  • ใบ้ให้นิดหนึ่งก็ได้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า กระบก ภาคเหนือเรียกว่ มะหมื่น คนหนองบัวเรียกว่าอะไร? มีชื่ออยู่สองชื่อนะ
  • ขอเชิญคนหนองบัวและทุกท่านตอบได้ตามอัธยาศัย
  • เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

    นาปรังหนองบัว- ภาวะฝนแล้ง

    ได้สดับข่าวคราวจากญาติที่หนองบัวนครสวรรค์ว่าปีนี้แล้งมากเลย

    ก็ทำให้คิดถึงชาวหนองบัวรู้สึกเป็นห่วงน่าเห็นใจ และก็ขอให้กำลังใจทุก ๆ ท่านจงมีจิตใจและพลังใจที่เข้มแข็งต่อสู้กับภัยธรรมชาติอันไม่เป็นใจแห่งการดำเนินชีวิตที่ดูช่างโหดร้ายนี้ให้ผ่านพ้นไปด้วยดีทุกท่าน สาธุ

    วันนี้อาตมาภาพขอนำข้อมูลเกี่ยวกับนาปรัง-ภาวะฝนแล้งที่หนองบัว ที่เขียนโดยคุณเสวก ใยอินทร์ เจ้าของบ้านหลังนี้นี่แหละมาฝาก 

    หลวงอาขออนุโมทนาขอบคุณ คุณเสวกอย่างมากเลยนะ ฉะนั้นก็เลยขอเชิญชาวหนองบัวและทุกท่านได้อ่านดังนี้

    • หนองบัวเราระบบการส่งน้ำจากฝายชลประทานยังไม่มี มีแต่ห้วยหนองคลองคู เหมาะที่สุดคือการทำนาปี
    • การทำนาปรังนั้นเพิ่งเริ่มทำกันเมื่อสองสามปีนี้เอง ชาวหนองบัวที่มีทำกันก็แถว ป่ารัง คลองห้วยถั่ว(เขตใกล้หมู่บ้านห้วยน้ำโจน)
    • การทำนาปรังจะทำกันปีละสองครั้ง ขึ้นอยู่กับว่านาใครจะอยู่ติดคลอง จะดูจากปริมาณของน้ำในคลองว่ามากน้อยเพียงใด ก็ทำกันประมาณ 10 ไร่ต่อคน ปีก่อน ๆ ได้ผลผลิตดี
    • แต่พอมาปีนี้ นาฝนแล้งน้ำในคลองแห้งขอด ไม่มีน้ำสูบเข้านา ทั้งนาปรังนาปีร่อแร่ล้มตาย ฝนตกบ้าง แต่ก็ไม่ทั่วฟ้า ได้แค่พรมให้ข้าวอยู่ได้พอประทัง
    • นี่ก็ใกล้ออกพรรษาแล้ว ข้าวจะตั้งท้องได้อย่างไรถ้าไม่มีน้ำ แม้แต่หน่อไม้ตามเขาที่เคยไปหากันก็ยังไม่มีใครพูดถึง ได้แต่ไปรับจ้างกันขุดมัน ไปหักข้าวโพดในดงบ้าง ไร่นาไม่มีใครอยากไป เพราะไม่อยากเห็นสภาพต้นข้าวที่คอยฝน
    • สวดขอฝนก็แล้ว แห่หวงพ่อเดิมหลวงพ่ออ๋อยก็แล้ว แห่นางแมวกันจนแมวขนร่วงก็ยังไม่มีทีท่าว่าฝนจะตกลงมา เมื่อปีก่อนน้ำท่วมข้าวกำลังจะเกี่ยวข้าวเน่า
    • มาปีนี้ฝนแล้งทิ้งช่วง ได้ข่าวจากทางเพื่อน ๆ ที่ทำนาปรังแถว ๆ ป่ารัง 10 ไร่ ได้แค่ ไม่ถึง 2 เล่มปีนี้ขาดทุนกันเป็นแถบ.

    ขอเจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและท่านผู้อ่านทุกท่าน

    ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

    • วันนี้หลวงอามีคำถาม เกี่ยวกับภาษาเก่า ๆ ที่คนรุ่นใหม่อาจไม่ได้ยินการพูดจากันหรือไม่มีการใช้กันแล้ว หรือถ้าได้ยินก็จะสงสัยว่ามันหมายความว่าอะไร
    • ฉะนั้นจะขอเก็บมาถามให้ตอบเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างคนกันเองก็ได้
    • วันนี้ขอเสนอคำว่า ลอม หรือ รอม คำนี้ใช้ได้ทั่วไปทุกภาค รุ่นหลวงอาทั้งพูดและใช้โดยตรงคือได้เห็นได้ทำกับมือว่างั้นเถอะเนาะ อ้าวคนหน่องบัวรุ่นใหม่รู้แล้วตอบให้ชื่นใจหน่อยซิ
    • ขอเชิญคนหนองบัวและทุกท่านตอบได้ตามอัธยาศัย

      เจริญพร

    สวัสดีเจ้าของบ้าน  เสวก ใยอินทร์และทุกๆท่านค่ะ

    • เข้ามารับความรู้ และดีใจเป็นอย่างยิ่งในฐานะคน นครสวรรค์ค่ะ
    • เดี๋ยวนี้ตั้งรกรากอยู่ที่เก้าเลี้ยว ไม่ไกลหนองบัวใช่ไหมค่ะ ใช้เส้นทาง เก้าเลี้ยว ชุมแสง หนองบัว บ่อยค่ะ ปลายทางที่ศรีเทพ เพชรบูรณ์ หลานสาวอยู่ที่นั่นค่ะ
    • รู้สึกว่า จะมีเพื่อนทำงานเกี่ยวกับ การเมืองท้องถิ่นที่หนองบัว ชื่อ เรณู  อายุรุ่น 40 ขึ้นไปแล้วค่ะ

    ผมขอใช้สิทธิตอบครับ ที่นอนสำหรับเด็กทารกที่วางในกระด้งเรียกว่า เม้าะกระจุ้น

    ไม่รู้ว่าใช่หรือเปล่านะครับ คุณพี่เสวก ใยอินทร์

    ลูกอะไรเอ่ย วัว-ควาย ชอบกินเปลือกนอก ตอบว่า ลูกกระโดน ครับ

    คำว่า ลอม หรือ รอม คำนี้ใช่หมายความว่า เช่นลอมข้าว หรือ ลอมฟาง หรือเปล่าครับ

    กราบนมัสการหลวงอา พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)และทุกท่านที่มาเยียมชมและตอบคคำถาม

    • หลวงอานำข่าวงานบุญมาฝากในนามตัวแทนชาวพริกเกลือขอร่วมอนุโมทนาด้วยครับ หลวงปู่อ๋อย สุวณฺโณ(พระครูนิกรปทุมรักษ ผมเองก็เคยเป็นศิษก้นกุฎีท่านมาก่อนต้องขออภัยด้วยที่ไม่ได้ไปร่วมงานเพิ่งเริมงานใหม่ยังไม่มีวันลาเลยต้องร่วมแสดงละลึกถึงหลวงปู่ในบล็อคนี้ครับ
    • คำว่า กะตุ๋ง  ผมขอตอบเองเพราะใว้นานเดี๋ยวลืม คำนี้ใช้กับ ปลาร้าที่มีกลิ่นแรงมากๆชาวบ้านมักพูดว่า ว้ายย..ปร้าร้าใครกระตุ๋งยกใหญ่เลยล้าววว... 
    • ส่วนปลาเกลือ (ปลาเค็ม)ที่มีกลิ่นอับตากไม่ได้แดดเรียกว่า ลุ่มเนื้อ
    • ที่นอนสำหรับเด็กทารกที่วางในกระด้งเรียกว่าอะไร? เมาะกะจุ่นมีคุณเจนตอบมาออกเสียงใกล้เคียงแต่ไม่เป็นไรอาจจะเพี้ยนบ้างแต่ก็น่าชื่นชมที่มีเด็กสมัยใหม่ที่ยังสนใจเรื่องเก่าอยู่
    • ส่วนคำถามท่านลวงอาผมต้องรบกวนให้เฉลยเองแล้วละครับ

    ขอขอบคุณ NU11

    • พูดถึงเก้าเลียวกับคนหนองบัว ก็ต้องนึกถึงแขกเก้าเลี้ยว งงหรือเปล่าครับไม่ใช่แขกขายโรตีหรือขายมุ้งคือคนเก้าเลี้ยวเกี่ยวข้าวเก่งมาก เวลาถึงหน้าข้าวตั้งทองต้องมีนายหน้าไปหาคนงานเกี่ยวข้าวไม่ไปมือเปล่ามีเงินวางมัดจำด้วยบางคนมีลูกสาวลูกชายก็หมายมั่นเป็นทองแผ่นเดียวกันเพราะจะได้หาแขกเกี่ยวข้าวได้ง่าย ถ่าน ข้าวสาร น้ำ ถึงแม้จะเป็นการจ้างนอกจากค่าแรงแล้ว คนหนองบัวยังมีสวัสดิการให้ด้วย เพราะความอ้อมอารีย์ต่อกันมาตั้งแต่โปราณนานมา แต่เดี๋ยวนี้มีรถเกี่ยวแล้ว แขกเก้าเลี้ยวเลยไม่มีที่หนองบัว คนที่มารับจ้างเกี่ยวข้าวที่หนองบัวไม่ใช่คนที่อยากจนอะไรเพียงแต่ว่า ข้าวที่เก้าเลี้ยวหนักกว่าข้าวหนองบัว เมื่อเสร็จจากหนองบัวก็กลับไปเกี่ยวข้าวของตนบ้างคนมีนามากว่าคนหนองบัวเสียอีกครับ
    • คุณครูเอ่ยถึงเส้นทาง เก้าเลี้ยว ชุมแสง หนองบัว ผมยังจำได้แม่ยำเล่นกันว่าเมื่อสมัยปีพ.ศ.2538 ผมเองเรียนอยู่ที่ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์ ใช้เส้นทางสายเก้าเลี้ยวมาวัดเกยไชยถึงทางเป็นหลุมเป็นบ่อแต่ก็ไม่เคยพลาด ตอนเป็นเด็กเคยสงสัยว่าทำไมถึงเรียกว่าเก้าเลี้ยว แต่เมื่อไปจริงๆ โค้งเยอะมากมายสมชื่อจริงๆ ครับคุณครู
    • ส่วนเพื่อนคุณครูที่ชื่อคุณเรณู ผมเองต้องขออภัยด้วยเพราะถึงแม้ว่าเป็นคนหนองบัวแต่ก็จากบ้านมาไกล นานครั้งมีเวลาจะกลับทีก็ช่วงเทศกาลครับ ว่างๆผ่านมาหนองบัวแวะเชิญชิมแกงพริกเกลือหนองบัวร้อนๆได้เลยนะครับ
    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

    •  หลวงอาต้องขอบคุณอย่างมากที่คุณเสวกได้ช่วยตอบคำถามและอธิบายภาษาบ้านเราได้ดีมากเลยเพราะมีตัวอย่างด้วย เช่น นอนกลางทะลา คนบ้านอื่นฟังแล้วก็เจองูสองตัวเลยแหละแต่ก็ไม่น่ากลัวหรอกเพราะงูสองตัว(งง)ก็คือ งง ไง understand?(ขออภัยนะที่ใช้ภาษาปรากฤต) 
    •  คำว่า กะตุ๋ง ก็อธิบายได้ถูกต้องแล้ว 
    •  แต่ที่หลวงอาลืมไปคือคำที่ใกล้เคียงกันคือคำว่า เนื้อลุ่ม ปลาเกลือตากแดดไม่แห้งแล้วมีกลิ่นนี่เอง 
    •  ขอบคุณ คุณเจน มากที่ช่วยตอบมาได้ถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่คำถามเป็นภาษาที่ใช้พูดกันเฉพาะรุ่นหรือยุคก่อน เช่น ลอมข้าวคิดว่าคุณเจนได้ทันเห็นไหมเอ่ย แต่ลอมฟางอาจหาดูได้ไม่ยาก 
    •  ส่วนคำว่า ลูกอะไรเอ่ย วัว-ควายชอบกินเปลือกนอก คุณเจนตอบว่า ลูกกระโดนนั้น คนรุ่นหลวงอาอ่านแล้วก็จะขำกลิ้งคะร่อ
    •  ลูกกระโดนนี่หลวงอาว่า ว-ควายจะไม่รับประทานเอ้ย กินนะ 
    • คำตอบก็คือ ลูกมะลื่น หรือคนหนองบัวเรียกลูกมะเลื่อม
    • ต้นไม้ชนิดนี้คิดว่าคุณเจนไม่ทันเห็นเลยไม่รู้จ้ก
    • หลวงอาขอแจม เกี่ยวกับแขกเก้าเลี้ยว หน่อยนะ รุ่นหลวงอานั้นยังไม่มีแขกเก้าเลี้ยวเลย ได้ยินคำนี้เมื่อบวชแล้วข่าวว่าเกี่ยวข้าวเก่งซะไม่มีละ เกี่ยววันหนึ่งเป็นไร่ถึงเกือบสองไร่ นื่เขาเรียกว่ามืออาชีพตัวจริงเสียงจริง
    •  วันนี้มีผู้ฝากคำถามมาให้หนึ่งคำ คือว่า ปันจี้ปั้นจ๋อง สงสัยคำนี้ต้องอาศัยเจ้าบ้านเป็นผู้ตอบซะแล้วแหละ
    • ชักคิดถึงคุณภูเขาซะแล้วซิไม่เห็นเข้ามาร่วมตอบปัญหากันบ้างเลย หรือมีคำถามเกี่ยวกับบ้านเราก็ได้เชิญเลยนะคุณภูเขา
    • เชิญตอบคำถามได้ตามอัธยาศัย

    เจริญพร

     

    ผมอยากเห็นภาพการยาลานในสมัยก่อนครับ ไม่ทราบว่าใครพอจะมีภาพหรือวิธีการทำหรือเปล่าครับที่ใช้ขี้ควายยา

    อยากทราบว่าคุณภูเขาคือใครครับช่วยบอกหน่อย จาก เจน&รัน

    รถแทรกเตอร์ที่จอดเป็นอนุสรณ์ ที่อำเภอมีประวัติความเป็นมาอย่างไรครับ

    ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยครับ ผมเห็นมาตั้งแต่เด็กแล้ว

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    รถแทรกเตอร์หน้าอำเภอหนองบัว นครสวรรค์

    ยินดีต้อนรับคุณ n.b.clup และคุณเจนที่สนใจประวัติหนองบัวบ้านเราหลวงอาก็เลยได้นำข้อมูลที่มีอยู่บ้างมาให้ได้อ่านกันพร้อมทั้งนำชื่อเว็บไซต์เรื่องดังกล่าวมาด้วยใครสนใจตามไปอ่านกันเด้อ.

    • นายอำเภออรุณ วิไลรัตน์  เป็นนายอำเภอรุ่นบุกเบิกที่นำการขุดสระน้ำข้างอำเภอ และเป็นผู้นำที่หมายจะเปลี่ยนสภาพความกันดารยากแค้นของอำเภอหนองบัวให้หายไปให้จงได้
    • อีกทั้งเป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษาของลูกหลานทั้งคนหนองบัวและแถวนั้นมากมาย ร่วมกับคุณครูและคนท้องถิ่นนำเอาโรงเรียนวันครู(2504) ของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ไปตั้งที่บ้านตาลิน ดังปัจจุบัน
    • อาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียนหนองบัว ก่อตั้งเมื่อปี 2503 ในพื้นที่เดียวกับโรงเรียนหนองบัว(เทพวิทยาคม) แล้วย้ายมาอยู่ที่หนองคอกดังปัจจุบันในปี 2508 ในยุคของนายอำเภออรุณ วิไลรัตน์ (ภาพจากเว๊บโรงเรียนหนองบัว)
    • ชาวอำเภอหนองบัวที่ยังจดจำท่านได้ เคยตามไปขอซื้อรถแทรกเตอร์คันที่เคยขุดสระข้างอำเภอให้ชาวหนองบัว มาตั้งเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงความเป็นนายอำเภอนักพัฒนาและเป็นที่รักใคร่ของชาวบ้าน
    • โรงเรียนหนองบัวก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2503 กรมสามัญศึกษาได้รับอนุมัติให้อำเภอหนองบัวเปิดทำการสอน ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยตั้งชื่อว่า โรงเรียนหนองบัว อาศัยสถานที่ของโรงเรียนหนองบัว (เทพวิทยาคม) ต่อมาได้รับการอุปการะคุณจากนายอรุณ วิไลรัตน์ นายอำเภอหนองบัว พร้มทั้งประชาชนประชาชนในท้องถิ่นได้ช่วยกันสละแรงกาย และทรัพย์สิน เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนชั้นเดียวจนสำเร็จ โดยมีนายเขจร เปรมจิตต์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่เป็นคนแรก
    • พ.ศ. 2508 นายอรุณ วิไลรัตน์ (นายอำเภอหนองบัวขณะนั้น) เห็นว่าสถานที่โรงเรียนคับแคบไม่สามารถจะขยายออกไปได้ จึงได้ดำเนินการจัดหาที่ดินใหม่ เพื่อขยายสถานที่ ซึ่งเป็นที่ดินสารธารณประโยชน์เนื้อที่ 262 ไร่ 27 ตร.ว. กรมสามัญจึงได้จัดหางบประมาณ 170,000 บาท เป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียน ที่สร้างด้วยไม้ 1 หลัง 4 ห้องเรียน ซึ่งปัจจุบันได้รื้อถอนเนื่องจากอาคารชำรุดหมดสภาพ เมื่อปี พ.ศ.2524
    • เว็บไซต์นี้เชิญคุณ n.b.clup เข้าไปอ่านข้อมูลเกี่ยวกับนายอำเภออรุณ วิไลรัตน์ได้เลยนะhttp://www.nongbua.ac.th/history.html(โรงเรียนหนองคอก-หนองบัว) home /
    • blog / civil-learning / 219761(ทุนสังคมของอำเภอหนองบัว นครสวรรค์ ดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์)

    เจริญพร

    พูดถึงรถแทรกเตอร์หน้าอำเภอแล้วก็อย่าลืมคิดถึงรถปรับถนนหน้ากรมทางนะครับ

    ที่คุณเจนกับคุณรันอยากรู้ว่าผมชื่ออะไรนั้นผมชื่อภูเขาครับ

    เป็นคำถามที่ไม่เก่าและไม่ใหม่แต่ใคร่คิดให้ดี ว่าการแห่นางแมวของหนองบัวในสมัยก่อนนั้นสิ่งที่นำมาใส่แมวนั้นคืออะไร………….

    บ้านเราทำสีแลงมานานแล้วน้อฝนฟ้าไม่ตกเหมือนเคย

    ผมมีเลขไม่เด่นไม่ดังครับ 812

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    • อนุโมทนาขอบคุณ คุณภูเขา-คุณเจน-คุณรัน คุณ n.b.clup
    • คำถามเกี่ยวกับรถปรับถนนหน้ากรมทางอำเภอหนองบัว การแห่นางแมวและอื่น ๆ  หลวงอาขอยกให้เจ้าบ้าน(คุณเสวก ตอบ) ด้วยก็แล้วกันนะ วาดลานดินยาขี้ควายมาให้ดูบ้างก็จะดีหลาย ๆ เด้อ
    • หรือท่านผู้ใดที่มีข้อมูลอยู่แล้วก็ตอบมาได้
    • หรือชาวหนองบัวที่อยู่ในพื้นที่จะกรุณาช่วยไขข้อข้องใจ คำถามต่าง ๆ เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็ยินดีอย่างยิ่ง จะได้มีข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนและน่าเชื่อถือมากขึ้น.

    เจริญพร

    สุดยอดอาหารบ้านเรา ทั้งแกง และหมก

    กราบนมัสการครับ หลวงอามะหาแล

    • สวัสดีคุณเจน คุณภูเขา คุณรัน คุณ n.b.clup  เริ่มมากันเป็นตับ ขอบคุณครับที่มาร่วมกันสนธนา ถ้าไม่ได้หลวงอางานนี้บอกได้เลยว่าเกลียว (เกลียวกราว)แน่
    • บ้านเราทำสีแลงมานานแล้วน้อฝนฟ้าไม่ตกเหมือนเคย อ่านแล้วก็ขำตามได้อารมณ์จัดเลยซิหว่า..ว่าก็ว่าไม่กว่าซิ..เหตุที่นำแมวมาใส่กระม่อง (ตะค่อง) หรือ กระซ่า (ตะกร้า) คนตะก่อน (คนโบราน) เค้าเล่ามาว่า แมวเป็นสัตว์ไม่ชอบน้ำ ถ้านำมาแห่ก็คือหมายว่าเหล่าเทวดาบนสวรรค์น่าจะเห็นใจให้น้ำแก่แมวบ้างนานจะเจอน้ำกับเขาสักทีอะไรประมาณนั้นครับ
    • ภาพการยาลานด้วยขี้ควาย ภาพแห่นางแมวผมเองแอบไปซุ่มซ้อมวาดเสร็จแล้วแต่ยังไม่ได้สะแกนครับคาดว่าไวๆนี้ครับได้ชมกัน จากคนเคยจับประแจมาจับดินสอตวัดลวดลายก็ขอเวลากันหน่อยครับ
    • แป๊ะ แก็ส สั้นๆแต่เข้าถึงความรู้สึกนั้นคงหมายถึงพริกเกลือถูกต้องไหมครับขอบคุณมากๆครับที่มาทักทายกัน
    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    • เริ่มมากันเยอะ มากหน้าหลายตา อาทิเช่น คุณแป๊ะ แก็ส คุณเจน คุณภูเขา คุณรัน คุณ n.b.clup คุณบอย คุณโชคชัย พร้อมท่านอื่น ๆ ที่ไม่ได้ออกนาม และมีแขกคนบ้านไกลอีกที่มาเยี่ยมเยือน นับไปนับมาพอล้อมวงครบขาไพ่เลย เอ้ยไม่ใช่ ล้อมวงแกงพริกเกลือ ปลาช่อนของอาจารย์วิรัตน์ก็ตัวใหญ่เบ้อเริ่มเทิ่มไม่เบาเชียว
    • เคยได้ยินเพลงลูกทุ่งเพลงนี้ไหม ที่มีคำร้องว่า ห่อให้ด้วย ห่อให้ด้วย ไม่รู้ใครร้องบอกไปกลัวผิด พอได้ยินก็จะนึกถึงห่อพริกเกลือไปนาไปเลี้ยงควายทุกทีเลยแก
    • หลวงอาก็ได้ความรู้ไปด้วยเลยเรื่องแห่นางแมว

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    • มีอยู่ปีหนึ่งจำได้ว่าที่หมวดการทางหนองบัวมีงานอะไรจำไม่รู้คิดว่าช่วงประมาณ ๒๕๒๐ หรือน่าจะก่อนนั้นอีกก็ชักจะไม่แน่ใจ
    • มีระบินมาลงที่หมวดการทางหนองบัว คนเยอะมากเลย ยืนรอระบินลงตามใต้ต้นไม้บริเวณหมวดการทาง พอเครื่องบินร่อนลงแค่นั้นแหละคนวิ่งกันกรูไปดูระบิน
    • เหตุการณ์นี้รับประกันชัวร์คุณเสกวยังไม่เกิดนะจะบอกให้
    • อยากถามคุณภูเขาว่า ไปงานนี้หรือนี้เปล่า อย่าเข้าใจว่าถามอะไรโบราณนานปีเหลือเกินไม่รู้ไม่ชี้ด้วยหรอก อาตมาจำรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ค่อยได้แย่มากเลย
    • อีกอย่างหนึ่งตอนนี้อยู่วังทองคนเดียว เลยไม่รู้จะถามหรือปรึกษาใครดี เพราะไม่มีคนบ้านเราอยู่เลย ถ้าคุณภูเขา จำได้ขอให้บันทึกความทรงจำเล่าสู่กันฟังบ้าง

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    • อ่านไปอ่านมาชักจะสนใจเรื่องแห่นางแมวเสียแล้วซิว่า
    • มีความเป็นมาอย่างไร เกิดขึ้นที่บ้านเรานานแค่ไหนแล้ว ขอฝากเจ้าบ้านให้ช่วยค้นหาสืบเสาะเรื่องนี้ด้วยเน้อ
    • คงไม่เหนือบ่ากว่าแรงหรอกนะคนเก่ง
    • อ้ออย่าลืมนำเพลงแห่นางแมวเอกลักษณ์ของหนองบัวมาเผยแพร่ในที่นี้บ้างก็จะดีหาน้อยไม่.

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    ภาษาถิ่นหนองบัว นครสวรรค์

    • วันนี้มีภาษาถิ่นบ้านเรา ทยอยมาทีละคำ ๆ อีกแล้วครับท่าน(สำนวนนี้คุ้น ๆ อย่างไรชอบกลเนาะ)
    • หลวงอาขอเสนอคำถามที่คลาสสิคมาก ๆ เลยของคนหนองบัวบ้านเรา คือคำว่า ก้าย  เป็นคำกริยาหรือกิริยา พระที่ท่านเรียนบาลีจะคุ้นเคยและนิยมใช้ ว่า กิริยา
    • นึกคำนี้ขี้นได้ก็เลยต้องรีบนำมาถามเป็นความรู้ให้ได้ตอบกันกลัวจะลืมเลือนโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
    • หลวงอาอยากจะให้คนหนองบัวรุ่นใหม่ได้จดจำไว้บ้าง
    • เชิญตอบมาได้เลยนะ

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    • เจ้าบ้านไม่อยู่หรือไรทำไมจึงเงียบเช่นนี้
    • ขอเป็นตัวแทนเจ้าบ้านกลุ่มพริกเกลือหนองบัว(อย่าว่าเสียมารยาทนะ)
    • อนุโมทนาและขอแสดงความยินดีกับอาจารย์วิรัตน์ด้วยที่ท่านได้รับรางวัลสุดคะนึงประจำเดือน ส.ค.๕๒

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

     

                                อาลัยแด่...

                    อาจารย์กรุณา กุศลาสัย

    • วันนี้(๔ ก.ย.๕๒)หลวงอาขออนุญาตคุณเสวกและทุกท่านใช้พื้นที่ตรงนี้ไว้อาลัยแด่ดวงวิญญาณบุคคลสำคัญของนครสวรรค์และของชาติไทยท่านหนึ่งที่มีผลงานมากมายเป็นอนุสรณ์แทนชีวิตท่าน งานของท่านถือเป็นมรดกทางปัญญามรดกแผ่นดินอันทรงคุณค่าแก่อนุชนรุ่นหลัง 
    • เมื่อวานนี้(๓ ก.ย.๕๒)หลวงอาเปิดเว็บไซต์เจอข่าวการเสียชีวิตของอาจารย์กรุณา กุศลาสัย ซึ่งท่านได้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมาแล้วแต่เพราะไม่ได้ติดตามข่าวสารเลยไม่ทราบ ก็ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวของท่านและขอแสดงความไว้อาลัยต่อการจากไปของท่านในที่นี้ด้วย 
    •  เนื่องด้วยหลวงอาเคยอ่านงานคิดงานเขียนงานแปลของท่านมาและที่ประทับใจมาก ๆ ก็คือหนังสือ ชีวิตที่เลือกไม่ได้ ทำให้ทราบว่าท่านเป็นชาวนครสวรรค์ต้องถือว่าท่านเป็นบุคคลสำคัญของนครสวรรค์เลยทีเดียว หลวงอาอยากขอเชิญชวนชาวหนองบัว นครสวรรค์ และผู้สนใจทุกท่านอ่านประวัติและผลงานของท่านอย่างละเอียดได้ที่ เว็บไซต์บุคคลสำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ รายละเอียดของข่าวจากหนังสือพิมพ์ มีดังนี้
    • กรุณา กุศลาสัย ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ 2546 ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและการศาสนา ผู้แปลวรรณกรรมชั้นเยี่ยมอินเดีย เสียชีวิตแล้วในวัย 89 ปี
    • นายกรุณา กุศลาสัย วัย 89 ปี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี 2546 ถึงกาลมรณกรรมแล้วด้วยโรคชราวัย 89 ปี ที่บ้านพัก
    • โดยได้บริจาคร่างกายให้โรงพยาบาลศิริราช และทางญาติกำหนดทำพิธีบำเพ็ญกุศลในวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม ที่วัดเครือวัลย์วรวิหาร ถ.อรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่
    • นายกรุณา กุศลาสัย เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2463 ที่จังหวัดนครสวรรค์ บรรพบุรุษมีเชื้อสายจีน เป็นกำพร้ามาแต่เด็ก และบวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ 13 ปีในโครงการ “พระภิกษุสามเณรใจสิงห์” ของพระโลกนาถ แล้วติดตามพระโลกนาถไปศึกษาที่สาธารณรัฐอินเดีย
    • ได้เรียนรู้ภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต และภาษาอังกฤษจนเชี่ยวชาญ สอบภาษาฮินดีได้ที่ 1 ของสาธารณรัฐอินเดีย
    • ได้รับทุนการศึกษาจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เมื่ออายุเพียง 15 ปี เริ่มงานเขียนตั้งแต่ยังเป็นสามเณรอยู่ในประเทศอินเดีย ใช้นามปากกา “สามเณรไทยในสารนาถ” เขียนบทความลงในธรรมจักษุ พุทธศาสนา และ ประชาชาติ
    • เมื่อเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2 นายกรุณา ถูกจับเป็นเชลยสงคราม เผชิญกับความอดอยากแสนสาหัส จนต้องสึกจากสามเณร เมื่อสงครามสงบได้ตัดสินใจกลับประเทศไทยเพราะคิดถึงบ้านเกิด ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับจากสาธารณรัฐอินเดียทำให้ นายกรุณา กุศลาสัย เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภารตวิทยาอย่างยิ่ง อันเป็นพื้นฐานสำคัญให้สามารถแปลเรียบเรียงวรรณกรรมชิ้นเอกของอินเดีย
    • ได้แก่ มหากาพย์พุทธจริต ซึ่งเป็นวรรณคดีสันสกฤตพุทธประวัติฝ่ายมหายานที่มีชื่อเสียงของอัศวโฆษ ร่วมกับนางเรืองอุไร กุศลาสัย ภรรยา และมหาภารตยุทธ มหากาพย์เรื่องยิ่งใหญ่ของอินเดีย
    • นอกจากนั้น ยังสร้างสรรค์วรรณกรรมที่ทรงคุณค่าอีกมากในระหว่างที่ถูกคุมขังด้วยข้อหาทางการเมือง เขียนบทความสั้นๆ เกี่ยวกับวรรณคดี วัฒนธรรมอินเดีย ทั้งได้แปลแต่งวรรณคดีชั้นเยี่ยมของอินเดียจำนวนมาก ที่สำคัญ ได้แก่ คีตาญชลี พบถิ่นอินเดีย ชีวประวัติของข้าพเจ้า และ แด่นักศึกษา ฯลฯ
    • ส่วนสารคดีเรื่องเด่นของ กรุณา กุศลาสัย คือ อัตชีวประวัติ เรื่อง ชีวิตที่เลือกไม่ได้ ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงบันทึกชีวิตของผู้เขียนเท่านั้น แต่เป็นอนุสรณ์ของการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า อันยังประโยชน์แก่ผู้อ่านทั้งปวง
    • ผลงานสร้างสรรค์ของ กรุณา กุศลาสัย จึงมีคุณค่าทางปัญญาและปรัชญาที่มีชั้นเชิงทางวรรณศิลป์ นับเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้ภาษาไทยอย่างยิ่งทั้งที่เรียบง่ายและวิจิตรอลังการ ตลอดระยะเวลาอันยาวนานกว่า 60 ปี
    • จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๕๒

    เจริญพร

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    อ้าวทำไมจึงอย่างนั้นละ คำขึ้นต้นมาอยู่ข้างล่าง กรุณาลบให้ด้วย

    กราบนมัสการท่านหลวงอามะหาแล ขำสุข(อาสโย)และสวัสดีทุกท่าน ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ ที่นำข่าวการจากไปของท่าน อาจารย์กรุณา กุศลาสัย และผลงานของท่านมาบอกกล่าว

    ทั้งนี้กระผมและกลุ่มสมาชิกพริกเกลือทุกคนขอร่วมแสดงความไว้อาลัยแด่ท่านอาจารย์กรุณา กุศลาสัย ไว้ณ.ที่นี้ด้วยครับ

    บล็อกนี้ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่งที่ผมทำไว้ก็เพื่อทุกๆท่านไว้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ชุมชน หากท่านใดมีข้อมูลข่าวสาร จะแจ้งหรืองานต่างๆฝากผ่านเวทีนี้บอกบุญได้ทั่วทุกงานครับไม่ต้องกังวลครับ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    • ปีหน้า(๒๕๕๓)โรงเรียนหนองบัวจะมีอายุครบรอบ ๕๐ ปี
    • หลวงอาทราบข่าวมาว่ากลุ่มพริกเกลือส่วนใหญ่เป็นศิษย์เก่าหนองคอก(โรงเรียนหนองบัว) คุณเสวกลองปรึกษาหารือกับกลุ่มพริกเกลือดูซิว่า
    • กลุ่มพริกเกลือจะมีส่วนร่วมทางใดได้บ้าง หรือจะประชาสัมพันธ์ให้เพื่อน ๆ ศิษย์เก่าทั้งหลายทราบบ้างแล้วก็จะมีวิธีรำลึกถึงโรงเรียนก่อนถึงงานได้อย่างไร เช่น ชวนมาพูดคุยในบล๊อคนี้ได้ก็ดี แจ่มเลยแหละ
    • ส่วนหลวงอาไม่ได้เป็นศิษย์เก่า แต่ก็เป็นคนเก่า(ที่ไม่ยังแก่)จบแค่ป.๔ แค่นี้ก็เท่ไม่เบาแล้วเรา
    • เนื่องด้วยโรงเรียนหนองบัวบ้านเราเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งแรกของอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งศิษย์เก่าและคนหนองบัวจึงน่าจะมีส่วนร่วมรำลึกถึงบ้าง
    • หลวงอาเองก็รำลึกถึง เป็นสถานศึกษาชื่อว่าโรงเรียนแดง-โรงเรียนหนองคอก ป่าเหนือ สี่แยกต้นอีซึก ป่าเลี้ยงงัว-เลี้ยงควาย เคยเป็นโชว์เฟอร์ขับเกวียนผ่านหน้าโรงเรียนแดงไปตัดไม้มาเผาถ่านอยู่บ่อย ๆ (อย่าหาว่าทำลายป่านะ)
    • ไม่รู้ว่าเขาจะให้มีส่วนร่วมหรือเปล่า ขอเป็นคนนอก (แต่ไม่นอกใจเขา)ก็แล้วกันเนาะ

    เจริญพร

  • นิมนต์พระคุณเจ้า ไปร่วมเป็นผู้ขับเคลื่อน เวทีพลเมือง : สร้างสุขภาวะชุมชนหนองบัวให้เข้มแข็งยั่งยืน ผมได้เปิดให้แล้วครับ
  • เรียนเชิญคุณเสวก ใยอินทร์ครับ
  • เรียนเชิญคนหนองบัวด้วยครับ
  • เรียนท่านผู้อ่านและทุกท่านครับ
  • กราบนมัสการท่านหลวงอามหาแล ขำสุข(อาสโย) กราบสวัสดีท่านอาจารย์วิรัตน์ และผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมทุกท่านครับ

    หลวงอานำข่าว โรงเรียนหนองบัวจะมีอายุครบรอบ ๕๐ ปีมาฝากต้องขอขอบคุณเป็นอย่างสูง ผมเองคิดว่า ท่านผู้อ่านที่เป็นคนหนองบัวน่าจะดีใจกันทุกคน และฝากถึงกลุ่มพริกเกลือที่อยู่ต่างแดนได้ทราบกัน ผมเองสมาชิกพริกเกลือจะเร่งรีบแจ้งข่าวสารถึงกลุ่มสมาชิก แม้เราทุกคนจะไม่ได้ตำมาครั้งเดียวกัน แต่อย่างไรนั้นก็ใช้ครกและสากอันเดียวกันครับ อย่างไรก็ตามรสชาติคงไม่ต่างกันเท่าไรครับ ผมหมายถึงว่า นักเรียนที่จบมาแต่ละรุ่นนั้น ก็จบมาจากโรงเรียนเดียวกัน ครูคนเดียวกันอย่างไรก็ต้องมีจิตผูกพันธ์กันโรงเรียนเช่นเดียวกันครับ

     เวทีพลเมือง : สร้างสุขภาวะชุมชนหนองบัวให้เข้มแข็งยั่งยืน ของท่านอาจารย์วิรัตน์เปิดแล้ว และนำเรื่องราว พริกเกลือกันบทความของหลวงอาเชื่อมโยงถึงกันด้วยต้องขอขอบคุณเช่นกันเราจะได้มีทีมสร้างชุมชนให้เข็งแกร่งยิ่งขึ้นครับ

    มาตามคำขอ อ้าววว...มาช่วยกันหน่อยครับ

    การแห่นางแมวบ้านหนองบัวหนองกลับ มีมานานแล้ว

    บ่อง ..เท่งบ่อง... นางแมวเอยขอฟ้าขอฝน

     ขอน้ำมนต์รดหัวนางแมว ขอค่าจ้างให้แมวบ้างเน้อ..

    ไอ้เผือกไอ้ดำ ไอ้คำเขาเปลี่ยว เลี้ยงไว้ทำไม เอาไว้ใส่แอก เอาไว้แรกนา

    เดือนสี่เดือนห้า ทำนาได้ข้าว หุงข้าวได้น้ำ

    ฝนตกพรำๆ แล้วก็น้ำเต็มคลอง ปั้นจี่ปั้นจ๋องแม่ดอกมะพร้าว

    ตาแก่อึ๊บสาวฝนเทลงมา เทลงมา.. อ่าฮะ อ่าฮะ

    กระต่ายเข้าซุ้ม ฝนทุ่มลงมา ทุ่มลงมา.........

    ถ้าใครอยู่ที่หนองบัวทุกวันนี้มักจะได้ยินกันทุกวันเพราะฝนฟ้าไม่ตก การแห่นางแมวขอฝนจากเทวานันเป็นของคู่กันมากับชาวหนองบัว นอกจากจะมีการแห่นางแมวแล้วนั้น การแห่หลวงพ่อเดิม-หลวงปู่อ๋อยชาวบ้านเชื่อว่าการแห่พระคู่บ้านคู่เมืองไปตามหมู่บ้าน แล้วจะทำให้ฝนต้องตามฤดูการ แต่ปีนี้และที่ผ่านมาได้ข่าวว่ามีการแห่ไปตามทุ่งนาด้วย.....การแห่นางแมวนั้นคนที่แห่จะแต่งกายคล้ายกับว่าคนป่า จะเอาดินหม้อทาตัวให้ดำผมเองก็ยังไม่มีข้อมูลว่าทำไมใครรู้ช่วยเล่าให้กันฟังบ้างครับ

    ภาพการแห่หลวงพ่อเดิม-หลวงปู่อ๋อย และการแห่นางแมวเพื่อขอฝน

    ไม่รู้จะเอาของจริงที่ไหนมาให้ชม ก็เลยใช้วิธีนี้ดู อย่างเค้าว่า ไม่ได้เล่ห์ก็เอาด้วยกล

    การทำล้านนวดข้าวหรือก่อนรวมลานนั้น ลอมข้าว ต้องมีการ ถากลานเสียก่อน ลานข้าวที่ทำนั้นจะต้องตั้งอยู่บนที่โคก ถ้าเป็นเมื่อก่อนที่นาของผมเองนั้น จะตั้งอยู่ที่โคกตะโก หนองบัวจัดได้ว่าถ้ามีต้นตะโกขึ้น จะเป็นที่โคกสูง ลอมเข้าจะได้ดูเด่น ใครมองไกลๆว่าปีนี้ได้ข้าวเยอะจัง

    • การทำลานนวดข้าวนั้น เริ่มตั้งแต่ การเกี่ยวตอซังออกเสียก่อน ถ้าดินเปียก ใช้ควายย่ำให้ดินมับ (ดินแน่น)แล้วตากแดดให้ดินหมัง(หมาด) ถ้าตากให้แห้งมากได้ยิ่งดี เริ่มต้นด้วยการใช้จอบถากหน้าดินหรือตอซังออกแล้วปรับหน้าดินให้เสมอกัน ใช้น้ำตักสาดผ่านกระแซง(ตะแกรง)ให้ทั่ว นำขี้ควายมาผสมกับน้ำแล้วราดแล้วใช้กำปัดใบคันมอญ(ไม้กวาด)ยาให้ทั่วลานที่ต้องการให้เสมอทั่วกัน ตากไว้สักแดดสองแดดรวมลานได้ส่วนเด็กๆทำอะไรไม่เป็นก็เดินพาไอ้แบ้ย่ำลานจนขาแตกเลย

    ไอ้แบ้ชื่อควาย หลวงอาตั้งให้มันเคยมาหีบอ้อยให้ชมแล้ววันนี้มาย่ำลานให้ชมกันครับ

    • ยินดีด้วยมากจริงๆครับคุณเสวก เป็นรูปวาดที่สวย แล้วก็มีเสน่ห์ เก็บรวบรวมข้อมูลและให้รายละเอียดจากประสบการณ์ของชุมชนอย่างที่เราต้องการเล่าและถ่ายทอดได้ดีมากเลยครับ
    • วาดรูปเพื่อเป็นนักวิจัยชาวบ้าน หรือเป็นนักวิจัยชุมชนอย่างนี้ จะช่วยให้เรื่องราวในชุมชนสามารถสื่อสะท้อนความเป็นจริงอย่างที่ชุมชนและคนท้องถิ่นต้องการได้มากขึ้นครับ ยิ่งเราผสมผสานหลายๆอย่าง ทั้งการมีประสบการณ์และจำได้ของเรา การถ่ายรูป การมีสิ่งของ บวกกับความรู้และข้อมูลอื่นๆเท่าที่มีอยู่  ก็จะทำให้ชุมชนมีความรู้และมีเรื่องราวของตัวเองเยอะหลายๆด้านมากขึ้น พอมีแหล่งจัดเก็บช่วย อย่างในอินเตอร์เน็ตนี้ ชุมชนก็จะไม่เป็นชุมชนที่ว่างเปล่าครับ
    • การที่กลุ่มพริกเกลือ ท่านพระอาจารย์มหาแล และหลายท่าน ที่ได้ช่วยกันทำไปตามกำลังของเรานั้น จะเห็นว่า ตอนนี้อำเภอหนองบัวก็จะไม่เป็นอำเภอที่ว่างเปล่า หากลองใช้คอมพิวเตอร์ค้นหา เช่นใช้กูเกิ้ลค้นหา โดยพิมพ์คำว่า อำเภอหนองบัว นครสวรรค์ลงไป เราก็จะสามารถรู้จักอำเภอหนองบัวและมีเรื่องราวเกี่ยวกับอำเภอหนองบัว มากกว่าอีกหลายชุมชนของจังหวัดนครสวรรค์ และมากกว่าอีกหลายแห่งของประเทศ ซึ่งก็มาจากการริเริ่มและค่อยๆทำอย่างเก็บเล็กผสมน้อย แล้วก็พัฒนาตนเองไปด้วยเรื่อยๆอย่างนี้แหละครับ ดีใจด้วยครับ
    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    เมื่อคืนอินเตอร์หลุดจนถึงเช้าก็ยังไม่มา พอดีตอนนี้หลวงอาอยู่ที่ห้อง self-Access คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ก็เลยขออนุญาตใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่นี ร่วมคิดด้วย ช่วยเขียนบ้างดังนี้

    • คุณเสวกเขียนไว้ว่า"การแห่นางแมวนั้นคนที่แห่จะแต่งกายคล้ายกับว่าคนป่า จะเอาดินหม้อ(คนหนองบัวเรียกว่า หมิ่นหม้อนี่ก็เป็นศัพท์เทคนิคคนบ้านเราอีกนะ)ทาตัวให้ดำ"
    • การแห่นางแมวของชาวหนองบัวด้วยการแต่งกายด้วยผ้าสีดำ  หลวงอาก็ไม่ทราบว่าหมายถึงอะไร แต่ถ้าให้อธิบายแบบชาวบ้านละก็อาจจะได้นิดหน่อย โดยทัศนะส่วนตัวนะ
    • สีดำ บ่งบอกถึงความทุกข์ร้อนทุกข์ใจของชาวบ้านชาวนาที่ไม่มีน้ำทำนา หรือจะเป็นการสื่อสารบอกกล่าวเล่าขานความทุกข์ใจให้เทวดาสิ่งศักสิทธิ์ท่านเห็นว่าเกิดความเดือดร้อนทุกข์ยากลำบากลำบนขึ้นแล้ว
    • เป็นการวิงวอนขอร้องเรียกร้องความเห็นใจจากสิ่งศักสิทธิ์ที่ตนเคารพนับถือให้ท่านได้ช่วยปลดปล่อยปลดเปลื้องความทุกข์ที่มีอยู่ให้หมดสิ้นมลายหายไป ไม่รู้เข้าประเด็นหรือไม่
    • ส่วนยาลาน  การยาลานด้วยขี้ควายนี้ต้องเลือกขี้ควายให้เหมาะสมด้วยไม่อย่างนั้น ลานไม่สวยงามน่าดู และลานแตกกะเทาะร่อนง่ายทำให้ดินที่แตกแล้วปนกับเม็ดข้าวอีกด้วย
    • ฉะนั้นจึงต้องเลือกขี้ควายที่ไม่เละ เพราะถ้าเละแล้วยาลานจะไม่จับตัวเกาะดินและแห้งช้าด้วย  
    • ถ้าขี้ควายแข็งมากไปก็ละลายน้ำได้ไม่ดีอีกทำให้ยาลานแล้วมีขี้ควายเป็นก้อนเล็กก้อนน้อยไม่เกาะและยึดหน้าดิน ต้องใช้ชี้ควายที่ที่ควายขี้ประมาณตอนหัวค่ำพอเช้าก็จะไม่ทันแห้ง ถ้าขี้ควายข้ามคืนข้ามวันส่วนมากใช้ไม่ได้(ถูกต้องไหมพี่น้อง)
    • บางทีขี้ควายบ้านตัวเองใช้ไม่ได้ก็มีเพราะขี้ไม่สวยไม่น่าใช้ เช่นมีเศษหญ้ามากไป เศษฟางที่ควายบดเอื้องไม่ละเอียดเมื่อขี้ออกมาก็ขายไม่ออกว่างั้นเถอะนะ 
    • จึงต้องไปขอขี้ควายเพื่อนบ้านการไปขนขี้ควายบางทีก็ใช้กะแป๋ง ที่ใช้ตักน้ำกินนี่แหละ(สมัยก่อนไม่มี อย.ด้วย)ไปหาบขี้ควายไปขนขี้ควายมายาลานเคยทำมาแล้วแหละคุณโยม

     เจริญพร

     

     

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    ต้นประดงขอบสระหนองกลับ

    • รำลึกถึงต้นประดงที่อยู่ตรงมุมสระใหญ่-หนองกลับบ้านเรานี่เอง อยู่ใกล้บ้านแป๊ะแหบปั้นโอ่ง
    • เป็นต้นไม้ใหญ่พอสมควรมีร่มเงาให้ผู้คนที่มาตักน้ำในหนอง(คนบ้านเราเรียกว่าหนอง)
    • ที่นึกถึงก็คือว่ามีให้เห็นและรู้จักเพียงต้นเดียวในหนองบัว หรือถ้ามีอื่นก็ไม่ทราบว่า ชื่อไม้อะไรอีกเหมือนกัน
    • โยมพ่อเคยพูดให้ฟังว่า ต้นไม้ชนิดหนึ่งมีที่หนองบัวต้นเดียวหรือต้นสุดท้ายหลวงอาก็จำไม่ได้เสียแล้ว คงต้องสอบถามข้อมูลดูอีกที ถ้าจำไม่ผิดชื่อต้นทิ้งถ่อน(ไม่ร้อยเปอร์เซ็นนะ) ที่อื่นน่าจะมีไม้ชื่อนี้ แต่หลวงอาไม่รู้จัก
    • แต่ต้นประดงเนี่ยจำชื่อได้จำต้นได้ เพราะอยู่ไม่ไกลบ้านนั่นเอง คิดว่าถูกโค่นก่อนคุณเสวกเกิดแน่เลย
    • ครั้งหนึ่งอยู่ประถม มีเพื่อนหลายคนไปโรงเรียนกันแต่ไม่รู้ทำไม จึงเกิดมีไอเดียความคิดเป็นเอกฉันท์ เป็นมติแบบประชาธิปไตยช่างพร้อมใจกันดีจริง ๆ อะไรจะขนาดนั้น
    • คือตกลงปลงใจกันว่า พวกเราวันนี้ไม่ไปโรงเรียนกันละ ไปเล่นที่ต้นประดงขอบสระหรือหนองนี่เลย เล่นอะไรกันนักหนาก็ไม่รู้ ได้เป็นนานสองนานเลยเชียว
    • แต่มันเป็นหน้าน้ำมันน่าเล่นด้วย ข้างบนมีสระน้ำ ข้างล่างก็มีสอกน้ำไหลลิ่ว ๆ นั่งเล่นทราย เอามาทำเขื่อนกั้นน้ำจับปลาใต้เขื่อนสนุกไปเลย
    • ด้านข้างตรงบ้านครูเนียงและร้านของสมชายและบ้านอื่น ๆ แถวนั้นก็ยังไม่มีมีแต่ทุ่งนาป่าข้าวสูงท่วมหัวน่ากลัวเวลาไปโรงเรียน
    • กลัวเจอคนบ้า เดินต่ายหัวคันนา เราตัวเล็กชะเง้อแล้วยังมองไม่เห็นเพื่อนที่อยู่ห่างเราอีกอันนาหนึ่งเลย ต้องไปโรงเรียนพร้อม ๆ กัน
    • เรื่องนี้ห้ามบอกใครเป็นอันขาด เพราะปิดเป็นความลับมาตั้งแต่นมนานกาเลเชียวหนาจะบอกให้ อายเขาแย่เลยถ้าใครรู้ขึ้นมา.

    เจริญพร

    ผมขอตอบ พระมหาแล ขำสุข เรื่องลำบิน ตอนนั้นผมยังไม่เกิดเลยครับ

    เห็นพระมหาแล ขำสุข อยู่พิษณุโลกเมื่อก่อนผมเคยไปศึกษาอยู่ที่ โรงเรียน ศวพ ไม่ทราบว่ารู้จักหรือเปล่าครับ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและผู้อ่านทุกท่าน

    • อนุโมทนาขอบคุณคุณภูเขาที่ตอบมาให้ทราบ
    • โรงเรียน ศวพ.ไม่ทราบว่าใช่โรงเรียนนี้หรือเปล่า (โรงเรียนบริหารธุรกิจ และเทคโนโลยี พิษณุโลก)
    • ถ้าใช่ชื่อนี้ละก็รู้จักและผ่านอยู่บ่อย ๆ ด้วย

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • เมื่อไหร่เจ้าแบ้จะได้ไปโชว์ตัวในเวทีพลเมืองฯคนหนองบัวซะทีหนอ
    • เห็นอาจารย์วิรัตน์อยากจะเชิญตัวเจ้าแบ้ไปงาน การทำลานด้วยมูลสัตว์ : เทคโนโลยีและภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อการผลิต
    • พอดีคุณครูจุฑารัตน์พูดถึงกลิ่นโคลนสาบควายในเวทีพลเมืองฯ อยู่ด้วยเหมือนกัน
    • เรียกว่าช่วงนี้เจ้าแบ้งานเข้า ๆ เลยนะเนี่ย
    • เจ้าแบ้นี่ เป็นชื่อที่บ่งบอกลักษณะของควายเลยนะครับ แถวบ้านผมเวลามีควายที่เขาแบ้ ก็เรียกว่าเจ้าแบ้เหมือนกัน
    • รูปวาดของคุณเสวกนี่ดูเป็นศิลปะและการบันทึกชุมชนของชาวบ้านได้ดีมากเลยครับ ผมพยายาม Save รูปภาพเพื่อจะนำไปอวดในเวทีของคนหนองบัว แต่ก็ทำไม่ได้ เลยได้แต่นำบล๊อกของกลุ่มพริกเกลือไปลิ๊งค์ไว้ครับ
    • ผมเข้ามาดูและอ่านเวทีคนหนองบัวกับพริกเกลือนี้อยู่เสมอครับ ผมเห็นประเด็นและวิธีการเรียนรู้สังคมผ่านการผุดสิ่งที่เป็นปัจจัยร่วมหรือเป็นลักษณะความร่วมกันของชุมชน(Commons) แล้วก็คลี่คลายออกไปสู่การเห็นทั้งหมดของทุกสิ่งอย่าง ก่อนจะสะท้อนมาสู่ความเป็นพริกเกลือ อย่างที่คุณเสวกพยายามทำ ให้พริกเกลือบันทึกปูมชุมชนและส่งเสียงบอกเล่าสังคมและวิถีชีวิตของประชาชน เลยมักเข้ามาดูและเอาใจช่วยครับ ถือว่าเป็นหัวข้อการสร้างความรู้และหัวข้อการวิจัยแบบชาวบ้านที่เราจะช่วยกันถักทอ ปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆขึ้นมา ได้เลยนะครับ
    • การสร้างความรู้แบบนี้ สานสำนึกและทำให้เห็นความเป็นหนึ่งเดียวกันของผู้คนทั้งหมดได้ครับ พริกเกลือนี่มีอยู่ในแทบจะทุกครัวเรือนครับ หากตัวความรู้และตัวปัญญาเกี่ยวกับสังคม คลี่คลายให้เห็นด้านต่างๆออกไปสู่ผู้คน สิ่งแวดล้อม สังคม และวิถีทำมาหากิน ก็จะใช้ขับเคลื่อนสำนึกหรือความมีจิตสาธารณะที่ใหญ่ขึ้น และขับเคลื่อนพลังการจัดการตนเองให้ทัดเทียมกับความเป็นไปใหม่ๆได้ดีนะครับ
    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • เอวันนี้เห็นเจ้าบ้านไปปรากฏตัวโชว์หุ่นที่เวทีพลเมืองฯคนหนองบัว เลยดูคึกคักดีจัง แต่ทำไมจึงตั้งการ์ดซะหลายวันน่าดูเลยละ
    • หายตื่นเต้นหรือยังหนอ อย่าลืมไปช่วยกันต้อนรับแขกบ่อย ๆ เด้อพี่น้อง
    • อ้าว คุณพีรณัฐอีกคนก็อย่าลืมไปโชว์หุ่นเอ้ย โชว์ตัวในเวทีพลเมืองฯคนหนองบัวบ้างนะ
    • อาจารย์วิรัตน์ท่านเชิญชวนแล้วในฐานะเจ้าภาพชาวหนองบัวไม่มีอะไรก็ไม่ยากหรอก แค่หมกพริกเกลือดอกอุ้มน้องไปต้อนรับก็แหล่มแล้ว
    • เอแต่ว่า วันนี้ทำไมเจ้าบ้านไม่ยอมเข้าบ้านละเนี่ย อย่าปล่อยให้บ้านเงียบเหงานานเกินไปเด้อ เดี่ยวจะโดนยึดบ้านจะหาว่าไม่เตือนไม่ได้นะ

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือผู้อ่านทุกท่าน

    • หายไปหลายวันนี้หลวงอามีข่าวดีมาบอก
    • ความดังของพริกเกลือ ดังไปถึงพิษณุโลกอีกแล้วครับท่าน
    • หลวงอาได้ทราบจากคุณครูท่านหนึ่งที่รู้จักกับหลวงอาและท่านก็ไปหนองบัวหลายครั้งแล้ว
    • คุณครูท่านนี้ท่านทำสวนลำใยเมื่อเดือนที่แล้วเก็บลำใยไปจำหน่ายที่ตลาดในเมืองพิษณุโลก
    • มีแม่ค้ามาจากหนองบัว รับซื้อลำใยท่านเป็นคันรถท่านถามว่ารู้จักแจ่วบองไหม คนหนองบัวบอกว่าโอ้พริกเกลือหรือแจ่วบองนี่หนองบัวถือว่ากินกันทุกบ้านรู้จักดีเลย
    • คนพิษณุโลกก็ได้กินจากที่หลวงอานำไปให้หลายท่านแล้ว กินแล้วก็มีออเดอร์สั่งให้นำมาอีกเลยทีเดียว(ไม่ได้โม้) พูดเหมือนนักมวยคนดังเลยเนาะ
    • เรียกว่ามีคนเรียกร้องพริกเกลือกันเลยทีเดียว น่าภูมิใจนะ

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • หลวงอารู้จักคนบ้านกร่างเมืองพิษณุโลกท่านหนึ่งและเคยมาหนองบัวเมื่องานทำบุญครบ ๑๐๐ วันคุณทอง(ตุ้ม) ใยอินทร์
    • เมื่อมาหนองบัวตอนกลับก็หาของฝากติดไม้ติดมือกลับพิษณุโลกว่างั้นเถอะ ก็แนะนำให้ไปซื้อพริกเกลือ ปลาจ่อม ปลาส้ม ฯ
    • ซื้อไปพอสมควรเลยแหละ แกมีญาติอยู่ที่ขาณุวรลักษณ์กำแพงเพชรทำไร่อ้อย เมื่อไปก็นำพริกเกลือไปฝากด้วย คนขาณุฯกินพริกเกืลอแล้วถามคนบ้านกร่างว่าปลาร้าสับนี่ สามารถนำมาขายที่กำแพงเพชรได้สบายมากเพราะอร่อยดี
    • แม้แต่คนบ้านกร่างยังเคยปรึกษากับหลวงอาว่า พี่มหาแลทำยังไงจะเอาพริกเกลือบ้านพี่มหามาขายที่พิษณุโลกได้บ้าง
    • พริกเกลือหนองบัวนี่ถือว่าเป็นสินค้าที่มีอนาคตไม่เบาเลยจริง ๆ อย่างนี้ต้องเรียกว่าพริกเกลือหนองบัวไปนอก พูดให้เท่ ๆ ว่าจากหนองบัวสู่โกอนเตอร์ (Go Inter)
    • แหมถ้าคนหนองบัวบ้านเราสามารถจัดงานกินพริกเกลือขึ้นในหนองบัวได้แล้วละก็สงสัยคนสับปลาร้า ต้องสับกันชนิดมือเป็นระวิงแน่นอนเลยพี่น้อง

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • จากหนองบัวมานานมากแล้ว
    • เมื่อถึงบุญข้าวเม่า(บุญสิ้นเดือนสิบ-สารทไทย)ก็นึกถึงหนองบัวบ้านเราทุกที
    • หวังว่าปีนี้คงจะได้ฉันข้าวเม่าจากกลุ่มพริกเกลือ เพราะมีลางสังหรณ์บางอย่าง โดยการนั่งทางใน(ห้อง)ที่กุฏิ
    • กลุ่มพริกเกลือใครมีคู่ดองคงต้องนำข้าวเม่าไปให้ญาติผู้ใหญ่พ่อแม่คู่ดองฝ่ายชาย
    • ให้ญาติผู้ใหญ่แล้วก็อย่าลืมพระนะขอบอก

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • วันนี้หลวงอามีภาษาไทยทรงดำ,ไทยดำ,(ลาวโซ่ง) เห็นว่าน่าสนใจเลยมานำเสนอคนหนองบัวและผู้อ่าน
    • ด้วยว่าได้รู้จักกับพระชาวไทยทรงดำท่านหนึ่งท่านอยู่อำเภอบางระกำ จ.พิษณุโลก
    • มีอยู่คำหนึ่งที่พูดหรือเรียกเครื่องมือเครื่องใช้ของพี่น้องชาวไทยทรงดำที่ออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาถิ่นหนองบัว
    • คือคำว่า  ตะข้อง  ที่ใช้สำหรับใส่ปลา  ใส่กบนี่แหละ ไทยทรงดำจะออกเสียงว่า กะหมอง ชาวหนองบัวจะออกเสียงว่า กะม่อง อะไรจะออกเสียงใกล้เคียงกันขนาดนั้น น่าแปลกจัง(หรือว่าเราเป็นญาติพี่น้องกันละเนี่ย)
    • คงต้องหาเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันบ้างซะแล้ว

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • วันนี้หลวงอามีภาษาไทยทรงดำ,ไทยดำ,(ลาวโซ่ง)มาเสนอคนหนองบัวและผู้อ่าน อีกหนึ่งศัพท์ ของพี่น้องชาวไทยทรงดำที่ออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาถิ่นหนองบัว ลองพิจารณาคำต่อไปนี้ดูว่า น่าจะเป็นญาติกันได้ไหมเนี่ย
    • งานแต่งงานของไทยทรงดำหรือลาวโซ่งเรียกว่า งาน"กินหลอง" หรือ กินดองนั่นเอง
    • แตกต่างกันนิดเดียวเองว่า งานกินดองหนองบัวไม่ใช่งานแต่งงานแต่เป็นงานหมั้น
    • นี่ก็เป็นอีกศัพท์หนึ่งที่คนหนองบัวควรรู้จัก

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    สี่แยกต้นอีซึก-สี่แยกประเทศไทย อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

    • ชื่อนี้เท่ดีจังเลย จากสี่แยกต้นอีซึก สี่แยกหนองบัว มาเป็นสี่แยกประเทศไทย อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์
    • เป็นชื่อเรียกของกลุ่มชาวชมรม หนองบัว คลาสสิคไรค์เดอร์
    • ยังไม่ทราบความเป็นมาของขื่อมากนัก เพราะไม่ค่อยได้กลับหนองบัว ขอให้ชาวชมรม หนองบัว คลาสสิคไรค์เดอร์ เล่าความเป็นมาของชื่อนี้ให้ทราบบ้างก็จะดี
    • แต่ถ้าชื่อเก่าแล้ว หลวงอาพอทราบและเล่าได้บ้าง
    • วันนี้หลวงอานำข่าวการกุศลของชมรม หนองบัว คลาสสิคไรค์เดอร์ มาประชาสัมพันธ์ที่บล๊อคเวทีคนหนองบัว ก็ขอเชิญทุกท่านตามไปอ่านกันได้
    • รู้สึกชอบชื่อนี้ สี่ยแยกประเทศไทย ฯ ก็เลยขอเขียนถึงสักหน่อย

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • ช่วงก่อนบวชประมาณ พ.ศ.๒๕๑๘-๒๒
    • วัดคลองสมอมีหลวงพ่อธานีที่ชาวบ้านเคารพนับถือ
    • เท่าที่นึกได้วัดคลองสมอร่มรื่นสะอาดเป็นวัดป่าที่ดูสงบ
    •  ผู้คนมาปฏิบัติธรรมกันมากมีแม่ชีอยู่จำนวนมาก
    •  เราเป็นเด็กดูเหมือนจะห่างไกลวัดวาอารามมากจริง ๆ
    • เพราะไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมแม้แต่ครั้งเดียว
    •  มีอยู่อย่างหนึ่งที่จะได้เข้าวัดเข้าวาบ้าง
    •  ก็คืองานวัดงานทอดกฐินวัดคลองสมอ
    •  ผู้คนก็มาดูมหรศพกันตัวเองก็ไม่ค่อยได้ทำบุญกุศลอะไรมากนัก
    •  เมื่อก่อนแถววัดคลองสมอนั้นต้องถือว่าไกลพอสมควรเลยแหละ
    •  แล้วฤดูทอดกฐินก็เป็นหน้าหนาวเสียด้วย
    •   แต่ความหนาวก็ไม่เป็นอุปสรรคสำหรับคนหนุ่มสาว
    •  จุดประสงค์ของหนุ่ม ๆ เราก็ประมาณนี้เลย ดูหนังได้พบสาวจีบสาว
    •  เพราะการจะได้เจอสาว ๆ บ้างก็ต้องอาศัยงานวัดงานบุญงานสวนสนุก
    •  งานดอง งานแต่ง งานบวช งานเทศกาลบุญต่างนี่แหละ
    •  นอกจากนี้ก็เป็นงาน ลงแขกเกี่ยวข้าว นวดข้าว ฝัดข้าวดำนา
    •  คนอื่นเขาก็ไปได้ดีกันทุกคน(เขาว่าอย่างนั้น-เป็นปู่เป็นตากันหลายคนแล้วเพื่อนเรา)
    •  มีหลวงอานี่แหละหนอ ดวงไม่สมพงศ์กับเขาเสียเลย
    •  เผลอเดี่ยวเดียวเอง เป็นหลวงตาเสียแล้ว เฮ้อ....อามิตตาพุทธ

    เจริญพร

    กราบสวัสดีครับท่านหลวงอามะหาแล และทุกๆท่านครับ

    สี่แยกต้นอีซึก ชื่อนี้เด็กสมัยใหม่คงจะไม่รู้จักแต่ผมทันครับและผมมีเรื่องเล่าครับ

    ครั้งหนึ่งมีลุงแก้วคนแถวๆบ้านผมเองนี่แหละครับแกไปอยู่ต่างจังหวัดมาหลายปีไม่ได้มาหนองบัวว่างั้นเถอะแก่จำได้ว่าหนองบัวมีต้นอีซึกแต่พอมาถึงกระเป๋าบอกว่าหนองบัวแกก็มองดูไม่พบต้นอีซึกจนไปถึงเขาทรายจึงรู้ว่าเลยบ้านแล้วครับ

    ส่วนหนองบัวคลาสสิกชมรมรถโบรานผมเองเคยมีคนส่งเมลมาให้ชมก็พบว่ามีคนหนองบัวหลายคนครับ

    เป็นชื่อชมรมรถโบราณและช็อปเปอร์ครับชื่อว่า ชมรมรถคลาสสิคหนองบัวตั้งใด้หลายปีแล้วโดยจะออกวิ่งในงานต่างๆที่ชมรมรถโบราณต่างๆจัดขึ้นเพื่อทำบุญต้ามสถานที่ที่ด้อยโอกาสจะวิ่งกันเป็นกลุ่มใหญ่ไม่ว่าใกล้-ใกลครับและขอชวนพี่ๆชาวพริกเกลือบริจาคเงินสมทบทุนสร้างโรงอาหารหลังใหม่ให้ร.ร.หนองบัว(หนองคอก)เดี๋ยวจะบอกรายละเอียดภายหลัง

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกและผู้อ่านทุกท่าน

    อ่านเรื่องเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับต้นอีซึกแล้วก็ขำเลย

    คุณเสวกและคนหนองบัวน่าจะจำได้นะ เมื่อก่อนสี่แยกต้นอีซึก จะมีตลาดนัดโค(งัว)

    หลวงอาไม่ทราบว่ามีมานานหรือยังหรือว่าย้ายไปที่อื่นแล้วเดี่ยวนี้ไม่เห็น

    เมื่อก่อนจะเดินทางไปกรุงเทพฯ หรือที่อื่น ๆ ก็จะมานั่งรอรถ ที่สถานที่จำหน่ายตั๋ว

    และเคยเห็นตลาดนัดโคข้าง ๆ ที่สี่แยกอยู่ติดร้านค้า

    ก่อนจะมีรถตู้หนองบัว-หมอชิต(กรุงเทพฯ) จะไปกรุงเทพฯ ต้องมารั่งรอรถที่นี่

    แรก ๆ เห็นมีรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างเยอะแยะเพราะคนบ้านเราส่วนใหญ่ก็นั่งรถพิจิตรบ้าง พิษณุโลกบ้าง เชียงของ เชียงรายมาลงที่เดี่ยวกันหมดสี่แยกต้นอีซึก

    พอมีรถตู้ไปกรุงเทพฯ วินมอเตอร์ไซด์ก็หายไปเกือบหมด

    วันนี้ฝนตกพรำ ๆ ก็นั่งนึกถึงต้นอีซึก วินมอเตอร์ไซด์สี่แยกหนองบัว

    แต่หลวงอายังไม่เคยลงเลยป้ายต้นอีซึกเลย นะจะบอกให้

    คุณแป๊ะแก็สมีอะไรจะประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับงานการกุศลก็เชิญได้เลย

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • เดี่ยวนี้เขามีชมรมรถ คารรวานรถ แข่งรถซิ่ง แข่งรถโบราณ รถคลาสสิคกันแล้ว
    • แต่หลวงอายังมาคุยเรื่องขี่ควาย เลี้ยงควาย ขับเกวียนอยู่เลยมันจะไปกันได้ไหมละเนี่ย
    • จะบอกให้ก็ได้การขับเกวียนเนี่ยไม่แพ้การขับรถคลาสสิคหรอกนะ ไม่เชื่อลองดูก็ได้
    • ต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว ที่พูดถึงสี่แยกต้นอีซึก เมื่อก่อนไม่มีถนนสายนี้ เวลาไปบ้านน้ำสาดเหนือ อ้อยช้างงาม วัดใหญ่ วังบ่อ เขานางต่วม ทำไงก็ขับเกวียนี่แหละดีที่สุด
    • เพราะเรามีอยู่แค่นี้ รถวิ่งจากบ้านเราถึงเขานางต่วมก็ประมาณ ๒๐ นาที
    • แต่ขับเกวียนนี่พี่น้องเอย ต้องออกจากบ้านตั้งแต่ยังไม่แจ้ง จอดเกวียนที่ปั้มกินข้าวเอ้ยไม่ใช่ จอดเกวียนกินข้าวเช้าแถว ๆ บ้านวังใหญ่
    • บ้านวังใหญ่เป็นหมู่บ้านที่เขากล่าวขานกันว่า เป็นหมู่บ้านที่ทำนาได้ข้าวดีมาก สมัยก่อนไม่ไดใช้ปุ๋ย
    • พอไปเห็นก็จริงดังคำกล่าวอ้าง เพราะดินเหนียวสีดำปี้ คนกินข้าวงาย ควายกินหญ้าอ่อนซึ่งงอกระบัดใบเขียวน่าอร่อย(ของควาย)
    • ที่เล่าให้คุณเสวก กลุ่มพริกเลือ คุณแป๊ะแก๊ส ชมรมรถคลาสสิคหนองบัว ฟังมาทั้งหมดเนี่ย ไม่ใช่นิทานปรัมปรานะ แต่มันคือเรื่องจริงไม่ใช่เรื่องแต่งหรอกเด็กแต่ประการใด (มีคนยืนยัน ที่ยังมีตัวตนอยู่ เยอะแยะเลยเชียวแหละ)
    • ไม่เชื่อก็ลองถามพ่อ-แม่ดูเวลากลับบ้านหนองบัว

    เอวัง เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    ชมรมเกวียนโบราณของหลวงอาก็ขออนุญาตขับต่อไปเรื่อย ๆ เหนื่อยก็พักข้างปั้มเอ้ยไม่ใช่ใต้ร่มไม้ข้างทาง

    การจะเดินทางไปเขานางต่วมได้มีทางเดียวคือไปทางบ้านห้วยด้วน(ห้วยธารทหาร) เลี้ยวซ้ายไปน้ำสาดเหนือ-เขานางต่วม

    เลี้ยวขวาไปบ้าน้ำสาดกลาง มีบ้านหลังใหญ่มาก ๆ มองเห็นเวลาขับเกวียนผ่านคิดว่าเป็นบ้านผู้ใหญ่จูม มองดูแต่ไกลก็เห็นบ้านหลังยาวมากเลย

    เกวียนโบราณของหลวงอานี่นะ จะบอกให้ปลอดภัยที่หนึ่งเลยแหละ ยิ่งกว่าทำประกันชั้นหนึ่งอีกด้วย ไม่มีอุบัติเหตุ เกียนชนกันวัว-ควายขาหักเลยตั้งแต่ขับมาก เพราะอะไรรู้ไหม ก็เพราะว่า ขับตั้งแต่ที่บ้านหนองกลับ ผ่านตลาดศูนย์ท่ารถหนองบัว-ชุมแสง ออกทะลุโรงสีตะพานหนึ่ง ไปห้วยด้วน บ้านน้อย น้ำสาดกลาง ไปเรื่อย ๆ ถึงวัดป่าเรไร เลี้ยวขวา ๙๐ องศา ไปนาห้วยน้อย แทบจะไม่มีเกวียนที่วิ่ง(ขับสวนทาง)ให้เจอกันเลย

    เพราะฉะนั้นจะไม่ได้ยินข่าวว่า เกวียนเกิดอุบัติชนกันโชว์เฟอร์ถูกหามส่งโรงพยาบาลไม่มีชัวร์

    อย่างมากก็แค่แตกตื่นผู้คนรถที่วิ่งสวนมาบ้างเท่านั้น ก็แค่วิ่งพาเกวียนไปริมถนนให้เสียวเล่นเป็นบางครั้ง นาอยู่ห้วยน้อยแต่ขับเกวียนอ้อมไปทางห้วยด้วน-วัดป่าเรไร ไกลไม่ใช่เล่นเลยนะ เพราะถนนที่แยกไปห้วยน้อยที่สร้างจากถนนไปชุมแสงแถวยังไม่มีนั่นเอง

    เล่ามายือยาวเดี่ยวชมรมรถโบราณเขาจะเบื่อเอาได้เนาะ แต่อยากฟังเรื่องราวชมรมรถโบราณของคุณแป๊ะแก๊สบ้างจังเลย เมื่อไหร่จะได้ฤกษ์ได้ยามเล่าให้ฟังเสียทีละเนี่ย

    ขอจบไว้แค่นี้ก่อนเด้อพี่น้อง

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • เจ้าบ้านไม่อยู่ อาตมาขอทำหน้าที่เจ้าบ้านสักวัน
    • ขออนุโมทนาบุญด้วยที่คุณครูอ้อยเล็กได้นำบุญมาฝาก
    •  สาธุ

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    ตั้งแต่ยังไม่ออกพรรษาหลวงอาปวดฟันจนคางบวม

    วันตักบาตรเทโวฯ ก็ไม่ได้ออกบิณฑบาตข้าวสารกับเขา

    จนวันนี้จากปวดกรามข้างเดียวก็มาเป็นสองข้างบวมตุ่ย

    เคยไปหาหมอที่โรงพยาบาลคุณหมอก็ให้ยาแก้ปวดมากินประมาณ ๑ อาทิตย์

    ตอนไม่ปวดก็ไม่ค่อยได้นึกถึงหมอ

    พอปวดก็นึกอยากถอน ไปหาหมอตอนปวดนี่ ไม่ได้ถอนแน่นอน ตอนพิมพ์ก็ปวดอยู่

    ไปถึงไหนแล้วหนอชมรมเกวียนโบราณเนี่ย

    หลวงอารอคุณแป๊ะแก๊ส ว่าเมื่อไรจะขับรถโบราณมาโชว์ตัวเสียที

    ระหว่างรอถรหลวงอาก็ขับเกวียนโบราณต่อไปอย่างสบายใจเฉิบ ๆ

    ขับเกวียนนอกจากจะปลอดภัยเป็นที่หนึ่งแล้ว ยังมีอีกหลายอย่าง...

    น้ำมันไม่ต้องซื้อ...น้ำดื่มเป-ล่า ผัก ไม่ต้องซื้อ....

    ของเหล่านี้หาได้จากข้างทางจอดเกวียนตรงไหนหากินได้หมดเลย

    เพราะอะไร ก็เพราะว่า น้ำดื่มสมัยก่อนในทุ่งนาข้างถนนกินได้ทั้งคน-ควาย ปลอดภัย

    ผักบุ้งก็เยอะ เด็ดมาดิบ ๆ จิ้มพริกเกลืออร่อยยิ่งกว่าอาหารในปั้มน้ำมันอีกหนาจะบอกให้

    เห็นไหมชมรมเกวียนโบราณนี่ เข้ายุคกระแสเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่สุดเลยแหละคุณโยม

    ที่เท่ที่สุด ๆ เลยก็คือชมรมเกวียนโบราณของเรา....ไม่มีตังค์ติดตัว...แต่สามารถเดินทางได้เป็นสิบยี่สิบกิโลเมตรเลยเชียว

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • ตอนนี้หลวงอาปวดฟังจี๊ดเลย แต่ไม่เป็นไรจะขอขับเกวียนโบราณต่อไป ไม่มีปัญหา
    • อีกอย่างหนึ่งของเกวียนโบราณ ที่ขาดไม่ได้เลย ถ้าขาดถือว่าไม่ใช่เกวียนโบราณขนานแท้..นึกออกไหมว่าอะไร ให้คิดหนึ่งนาที
    • ถ้าให้เปรียบเทียบกับชมรมรถโบราณ หนองบัว หลวงอายืนยันได้ว่ารถโบราณไม่มีสิ่งนี้แน่นอนอย่างมาก ถึงมากที่สุด
    • หลวงอาอยากจะฟันธง แต่ก็กลัวธงขาด เดี่ยวจะสร้างความลำบากให้กับชมรมรถโบราณหนองบัว เพราะอะไร
    • เพราะว่าตอนนี้ทางชรมรมเขากำลังจะจัดงานหาเสาร์ธงชาติให้กับโรงเรียนแห่งหนึ่งในหนองบัวพอดี
    • เป็นอันว่าไม่ต้องฟันธง เอาแค่คอนเฟิร์มก็พอ เกวียนโบราณต้องมีสิ่งนี้เลย พริกเกลือไงละพี่น้อง ไปไหนต้องมีประจำเกวียนทุกคันเอ้ยไม่ใช่ ทุกเล่ม ถ้าเจอก็สอบถามดูได้และจะได้ส่วนแบ่งตามสมควร ตามประสาคนมีจิตใจสาธารณะแบ่งปันเป็นเรื่องธรรมดามาก ๆ
    • ไปนาไปไร่ ไปป่า ไปเขา เพราะถ้าขาดพริกเกลือนะ โชว์เฟอร์ไม่มีแรงทำงานเลยแหละ เมนูชนิดนี้พิซซ่าก็สู้ไม่ได้ จะเอาอาหารฝรั่งจากภัตตาคารหรู ๆ มาแลกก็ไม่ยอม
    • หลวงอาเลยฝากถามคุณเสวกผ่านไปยังชมรมรถโบราณหนองบัวว่า งานรวมพลฅนขี่มอไซค์สร้างมิตรภาพครั้งยิ่งใหญ่Classic Bike Thailand 1 th 10-11 ตุลาคม 2552 นี้มีแกงพริกเกลือ หมกพริกเกลือไหมละเนี่ย(ใครก็ได้ช่วยตอบหน่อยก็จะดีมาก)

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • สี่แยกต้นอีซึก
    • ยังไม่ไปไหนอีกรึ อาจมีหลายท่านตั้งคำถามนี้ขึ้นมา น่าจะยังไม่ไปไหนหรอก
    • เพราะอีกไม่นานจะมีงานใหญ่ที่สี่แยกต้นอีซึกนี้
    • เป็นงานของชมรมรถคลาสสิคหนองบัว เพื่อหาทุนซื้อเสาร์ธงชาติให้โรงเรียน
    • แต่ที่หลวงอาจะขอพูดคุยกันในวันนี้ ก็คือ เรื่อง ชื่อสี่แยกต้นอีซึก หนองบัวบ้านเรา เป็นคล้าย ๆ ชื่อบ้านนามเมือง
    • ความเป็นมาของอดีต เพื่อให้คนรุ่นหลังทราบความเป็นมาบ้างก็เท่านั้น
    • ทุกที่ทุกแห่งจะมีชื่อเพื่อบ่งบอกให้เราทราบว่า อยู่ที่ไหน และบางที่ที่เราเดินทางผ่านไปทำให้เราอยากทราบที่มาของชื่อแต่ก็หาไม่ได้
    •  ทุกสถานที่มีชื่อ ไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำ ลำคอลอ ทุ่ง หนอง บึง สระน้ำ สะพาน สามแยก สี่แยก ห้าแยก วงเวียน
    • ต่อมา ก็เป็นถนน ตรอก ซอก ซอย หอนาฬิกา
    • หนองบัวบ้านเราก็เหมือนกัน คนรุ่นคุณเสวก ยังจำได้ว่ามีสี่แยกต้นอีซึก(เพราะมีต้นอีซึกต้นใหญ่อยู่บริเวณใกล้สี่แยก) นี่ก็ประมาณได้ว่า อาจเป็นเพราะคุณเสวกเกี่ยวข้องกับสถานที่นี้ไม่มากก็น้อย
    • ตั้งแต่เด็กจนวัยรุ่น มีกิจกรรมเลี้ยงงัว-ควาย หาอึ่งต้นหน้าฝน(เดือน ๖ -๗) แต่คนที่อยู่ในเมือง(ตลาด) และไม่มีกิจกรรมดังกล่าวเหมือนคุณเสวก ก็อาจจะไม่รู้จักต้นอีซึก
    • เพราะวิถีชีวิตไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริเวณนี้ก็มีเยอะแยะ
    • สรุปง่าย ๆ ว่าถ้าเป็นชาวบ้านรู้จักดีและจำได้ แต่ชาวเมืองอาจไม่มีความจดจำรู้จักเลยก็เป็นไปได้
    • เคยไปกรุงเทพฯไหม ทำไม่มี สะพานควาย สามแยกไฟฉาย คลองบึงกุ่ม หนองแขม ทุ่งแสนแสบ คลองรังสิต คลองแสนแสบ คลองหลอด
    • ที่พิษณุโลก มีห้าแยกโคกมะตูม(เคยมีต้นมะตูมเยอะ) มีหมู่บ้านตาลเดี่ยว(ทั้ง ๆ ที่เมื่อก่อนเป็นดงตาล ตอนหลังเหลือต้นเดียว-เลยชื่อตาลเดี่ยว) ที่มาบ้านตาลเดี่ยว
    • สะพานเดชาติวงศ์ สะพานใจกลาง-เมืองนครสวรรค์
    • หนองบัวเราก็มีสระน้ำหลวงพ่ออ๋อย ถนนพระครูไกร (ถนนวาปีฯ) วัดเทพสุทธาวาส(ชื่อท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธินายก-ห้อง ชาตสิริ-ท้วมเทศ)และสีแยกที่ชาวบ้านเรียกว่า สี่แยกต้นอีซึก ด้วยประการฉะนี้แหละโยม

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • เคยนั่งคุยกับโยมสูงอายุท่านหนึ่งที่ท่ารถสี่แยกต้นอีซึก รอรถไปพิษณุโลก มาหนองบัวทีไรก็เจอทุกครั้ง
    • บ้านเดิมท่านอยู่พิจิตร ตอนนี้มาอยู่กับลูกหลานที่เป็นพนักงานขายตั๋วรถทัวร์ที่หนองบัว
    • ชวนเราคุยหลายเรื่อง บอกว่ามาอยู่หนองบัวไม่ค่อยได้ไปทำบุญที่วัด ไม่มีพระไม่มาบิณฑบาตที่บ้าน
    • นึกไม่ออกว่าทำไปถึงคุยถึงเรื่องสถานที่บริเวณสี่แยกต้นอีซึก แกเป็นคนเริ่มพูดถึงเขาพระและบริเวณนั้น หลวงอาพูดถึงนิดหน่อยเอง โยมบอกว่าท่านรู้เรื่องราวแถวนี้ดีเนาะ
    • ส่วนโยมก็คุยถึงเรื่องทางบ้านที่พิจิตร คุยตั้งแต่เป็นหมู่บ้านขาดแคลน จนมามีความเจริญทุกด้านในชุมชน
    •  เรื่องแบบนี้หลวงอา และคุณเสวก ก็คงเคยได้ยินคนเฒ่า คนแก่ในบ้านเรา พูดถึงเรื่องนั้น เรื่องนี้ อย่างนั้น อย่างนี้
    • อันที่จริงก็ไม่ได้ตั้งใจให้ใครจดจำ บันทึกเป็นประวัติชีวิตอะไรหรอก เพียงแต่เรื่องราวเหล่านั้นเป็นปูมชีวิต เป็นวิถีแห่งการครองตน เป็นประสบการณ์ชีวิต เป็นการหวนรำลึกถึงอดีตชีวิตที่ผ่านมาของท่านเอง
    •  เราเองก็เหมือนกันได้ยินแล้ว ก็ผ่านไป หายไป ลืมไป หลายอย่างก็หมดไปกับผู้คน ภูมิปัญญาที่สั่งสมมาก็ตามท่านไปด้วย บางท่านจดเรื่องราวชีวิตประการณ์ได้อย่างแม่นยำ ถ่ายทอดได้อย่างมีชีวิตชีวา
    •  เล่าขานทีไรคนก็ชอบฟัง ทั้งสนุกได้ความรู้ หลวงอาเองก็ชอบฟัง แต่ไม่มีนิสัยจดบันทึก แล้วอีกอย่างหนึ่งลืมง่ายอีกต่างหาก ใครให้เล่าเรื่องเก่า ๆ เล่าไม่ได้เพราะลืมหมดแล้ว
    • คุณเสวกเป็นคนรุ่นใหม่ แต่จดจำเรื่องราวในอดีตได้ดีคงมีความสนใจด้วยแหละ และก็ถ่ายทอดได้อย่างมีอรรถรส มีสำนวนภาษาแบบคนหนองบัวดีด้วย อย่าเหลิงเด้อ
    • ฉะนั้นอย่าช้าอยู่ไย นำประสบการณ์แถวสี่แยกต้นอีซึก ด้วยภาพวาดเลยยิ่งดี
    • เพราะมีแฟนคลับรอชมอยู่นะ.
    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • เอทำไมปล่อยให้หลวงอาคุยอยู่คนเดียวละเนี่ย
    • เดี่ยวชาวบ้านชาวเมืองเขาจะหาว่าหลวงอานี่กินยาผิดขนาดผิดซองซะก็ไม่รู้
    • ชาวประชาไปไหนกันหมดละหนอ เงียบเหมือนกับสี่แยกต้นอีซึกเมื่อยังไม่มีถนนเลยเนาะ
    • อย่าปล่อยให้หลวงอาขับเกวียนโบราณอยู่แต่ผู้เดียวเด้อ ขับเกวียนคนเดียวไปเรื่อย ๆ ชักใจคอไม่ดี
    • กลัวพวกเมายาบ้าติดยาเสพติดจะปล้นเอางัว-ควายไปละก็เสียเหลี่ยมลูกกำนันแย่เลยเรา โยมพ่อชื่อเดียวกับอดีตกำนันมือปราบคนดังของบ้านเราซะอีกแนะ
    • เคยกล่าวถึงว่ากรุงเทพฯมีสะพานควาย ก็แสดงว่าเมื่อสักไม่ถึงร้อยปี แถวหมอชิตและขนส่งสายเหนือบริเวณใกล้เคียงนั้นมีนา มีงัว มีควาย ควายต้องเยอะแน่เลยแถวหมอชิตเนี่ย
    • ทำไมถึงว่าอย่างนั้น เพราะคนกรุงเทพฯ สามารถสร้างสะพานให้ควายเดิน (แหมถ้าได้เห็นภาพควายกรุงเทพฯข้ามสะพานคงจะเท่ไม่เบา)
    • ปรกติงัว-ควายเวลาข้ามสะพานนี่ จะกลัวมากเพราะอะไร เพราะเจ็บตีน(กีบเล็บ)เหยียบไม้แข็ง ๆ งัว-ควายจะค่อย ๆ ย่องทีละก้าว
    • เหตุการณ์แบบนี้หาดูยากเสียแล้ว เป็นประวัติศาสตร์ไปอีกหนึ่งอย่างเพราะตอนนี้ไม่มีสะพานไม้ให้งัว-ควายเดินข้ามอีกแล้ว
    •  มีแต่สะพานปูนเรียบ ๆ พอเดินได้ ยิ่งสะพามไม้เก่า ๆ ผุ ๆ พัง ๆ ด้วยแล้ว สงสารงัว-ควายมาก เดินอย่างระมัดระวัง ถ้าเหยียบพลาดตกล่องเล็บควายฉีกเลือดไหลซิ ๆ
    • เจ้าบ้านไม่กลับมาบ้านซะที หลวงอาก็พางัว-ควายจากหนองบัวไปถึงโน่นแนะ กมท.หมอชิตเชียวนะ
    • อ้าวแล้วจะพาเพื่อนเก่าเรา(งัว-ควาย)กลับหนองบัวได้ไหมละพี่น้อง
    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    หลวงอาคิดว่าทำไมเจ้าบ้านหยุด ขอเวลานอก หรือหยุดโฆษณานานจังเลยล๊าว...นานยกใหญ่เลยนอ

    และเพื่อนบ้านก็เงียบชิบ ไม่มีใครส่งข่าวคราว หรือเข้ามาเยี่ยมเยียนกันบ้างเลย

    ปล่อยให้พระอยู่รูปเดียวไม่ดีนา จะเหมือนตอนหลวงอาอยู่ที่จังหวดัพังงา จำพรรษาอยู่รุปเดียวที่ป่าช้า เงียบดี สงบ

    อยู่กับหมา แมว ไก่ ณ คืนวันหนึ่ง เกิดเหตุการณ์ที่ยังจำได้ไม่ลืม เวลาประมาณ ทุ่มกว่า ๆ ได้ยินเสียงไก่ร้องดังอยู่บนต้นไม้ข้างศาลา(มีศาลาทำบุญ) เปิดประตูออกมาดู มีวัยรุ่นหลายคนที่ใต้ต้นไม้ พอเห็นเราก็รีบขึ้นรถออกจากวัดไปทันที ไปไม่ไปมือเปล่าเสียด้วยซิมีไก่ติมมือไปด้วยเลย ถึงเช้าจึงรู้ว่าวัยรุ่นมาจับไก่ไปเลี้ยง(คงเลี้ยงเพื่อนและตัวเอง)

    โดยการคาดเดาแล้ว ไม่มีผิดหรอก ว่าถ้ามาแบบนี้ก็ต้องมาลักขโมยแน่ นึกสงสารทั้งคนและไก่ มีความรู้สึกนิด ๆ ถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิต แต่ก็อยู่ต่อได้อีกโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นให้รู้สึกหวาดกลัวต่อภัยพาล

    แม้แต่อยู่วัด ไม่ว่าคน สัตว์ สิ่งของ ก็ยังหาความปลอดภัยไม่ได้อีก เราเป็นพระอยู่ป่าช้ามีแต่บาตรคือสมบัติของสมณะที่เลี้ยงชีพด้วยอาศัยแรงศรัทธาจากสาธุชนคนดีทั้งหลายที่อุปถัมภ์ศาสนาด้วยใจแห่งความเอื้อเฟื้อเสียสละเกื้อกูลพระสงฆ์ให้ดำรงพระศาสนาสืบสานสารธายแห่งธรรมอันจะก่อให้เกิดความดีงาม ความสุขสันติ สงบแก่สังคมชุมชน

    ชุมชนหรือชมรมพริกเกลือก็เช่นกัน เป็นชมรมที่มีจิตใจเป็นกุศลดีงามสร้างสรรค์ช่วยเหลือเกื้อกูลกันพึ่งพาอาศัยกัน สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เรามีความสุขและอยู่ด้วยกันแบบพี่น้องที่เห็นใจและเข้าใจกัน

    เทศน์มาเสียนานเดี่ยวคนจะเบื่อเนาะ จบก่อนละเด้อ.

    ขอนมัสการ แสดงความนับถือพระอาจารย์ ในความเพียรและความขยันขันแข็งเพื่อให้ความรู้แก่ชุมชนหนองบัวเป็นอย่างยิ่งครับ

    ตามอ่านมาเรื่อย ๆ ได้ความรู้ต่าง ๆ อีกเยอะมากครับ

    เจ้าแบ้...ในความเห็นที่ 91 92 นั้น เข้าใจว่าคงหมายถึง....ควาย

    ที่ประเทศลาวคำว่า...แบ้....นี้ เป็นคำที่เขาใช้เรียก......แพะ....ครับ

    ในประเทศลาวนั้น ทุกหนทุกแห่ง เต็มไปด้วยแบ้ สัตว์เลี้ยงประเภทนี้ มีมากว่าวัวกว่าควายอีกครับ ที่สำคัญเป็นอาหารชั้นเลิศ ที่คนลาวทุกหมู่เหล่าชอบกิน และ ที่สำคัญไปกว่านั้น ...บรรพบุรุษชาวลาวถึงกับนำมาใช้เป็นตัวอักษรตัวหนึ่งใน 26 ตัว ของเขาเลยที่เดียว.... อักษรตัวที่ว่าคือ บ.แบ้ ครับ

    .....และยังมีตัวอื่น ๆ อีก....เช่น..จ.จอก.....น.นก....ว.วี.....ฝ.ฝน........ต.ตา.....ท.ทุง ....พ.พู.......ฟ.ไฟ......ม.แมว......ย.ยา......ญ.ญุง......ห.ห่าน ....อ.โอ......ฮ.เฮือน......

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรอาจารย์สมบัติ ฆ้อนทอง

    น่าดีใจที่แทนชมรมพริกเกลือของหนองบัว ที่อาจารย์แวะมาอ่านและให้กำลัใจผู้อยู่ไกลบ้าน อาจารย์สมบัติมาถึงปุ๊บก็ได้ความรู้ขึ้นมาทันทีเลย อ่านพจนานุกรมภาษาลาวที่อาจารย์สมับัติเขียนยังไม่ได้สังเกตว่า แบ้ ก็ได้รู้คำใหม่ไปด้วย จะขอแนะอาจารย์สมบัติ ฆ้อนทอง ให้ชาวชมรมพริกเกลือหนองบัวทราบสักเล็กน้อย ท่านเป็นหนองบัวบ้านอยู่ห้วยปลาเน่า(ห้วยวารีเหนือ) กลุ่มพริกเกลือคงจะรู้จักดีหมู่บ้านนี้ ศิษย์เก่าโรงเรียนหนองคอก-โรงเรียนหนองบัว ปัจจุบันรับราชการอยู่ที่จ.หนองคาย(ด่านศุลกากร อ.เมืองหนองคาย) คุณเสวกหรือกลุ่มพริกเกลืออยากจะไปเยี่ยมเยือนเมืองลาวละก็ ติดต่อท่านได้(ท่านไม่ได้บอกไว้-แต่หลวงอาบอกแทนเอง) กลุ่มพริกเกลือคุณเสวกเคยสงสัยเรื่องภาษาหนองบัวบ้านเรา(หนองบัว-หนองกลับ) ก็ให้ไปหาหนังสือพจนานุกรม สามภาษา (ลาว-ไทย-อังกฤษ) เขียนโดยอาจารย์สมบัติ ฆ้อนทอง คนหนองบัวบ้านเรา มีคนอุตรดิตถ์ถามหลวงอาว่า ทำไมคนหนองบัวจึงเขียน พจนานุกรมภาษาลาวได้ เขาไม่อยากเชื่อว่าจะเป็นไปได้ เชื่อไม่เชื่อแต่ก็เป็นไปแล้วแหละเด้อพี่น้อง ใครซื้อมาอ่านแล้วได้ประโยชน์อย่างไรก็สื่อสารบอกกล่าวกันบ้านก็ดี(ได้ข่าวว่า ใกล้จะหมดแล้ว ขายดีขนาด)

    ขออนุญาตนำมาเป็นตัวอย่าง ชักบังสุกุล(คนไทยชอบออกเสียงว่าชักบังสะกุน) ภาษาลาว ซักอ่านิดจ่า (pray at a funeral) นายกรัฐมนตรี ภาษาลาว แส่นเมื้อง (The Prime minister) เด็กวัด,ลูกศิษย์วัด ภาษาลาว สั่งกาลี้,สั่งคะก่าลี้ (temple boy)

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    ๔๐ ปี่ผ่านไปไวเหมือนโกหก ระยะเวลานานขนาดนี้คิดว่า

    คุณเสวก และกลุ่มพริกเกลือหลายท่านยังไม่เกิดเนาะ

    ณ สถานที่แห่งหนึ่งเป็นป่า เป็นที่เลี้ยงงัว-ควาย ของคนหนองบัว-หนองกลับ โดยไม่มีใครคาดคิดว่าสถานที่ดังกล่าวนั้น

    ต่อไปภายหน้าจะรกกว่าเดิมหรือเป็นป่าดังอดีต หรือต่อมาจะได้ยินคนเก่า ๆ พูดว่ารู้ว่าจะเป็นอย่างนี้แล้วคงซื้อที่ดินเก็บไว้มีหวังได้เฮ เพราะราคาที่ดินสูงมาก ซึ่งมีหลายเจ้าที่มีที่ดินแถวนั้น ชิงขายไปก่อนล่วงหน้า ที่ที่ดินแถวนั้นจะมีราคา

    ชาวบ้านเรายากที่จะได้รับรู้ข่าวสารข้อมูลการพัฒนาการก่อสร้างที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ แม้แต่ผ่านบ้านตัวเองก็ไม่รู้

    คนที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐก็จะได้เปรียบชาวบ้าน เมื่อมีโครงการอะไรผู้มีโอกาสมากกว่าก็จะรับรู้รับทราบก่อนเสมอ

    เมื่อเป็นดังนี้ชาวบ้านชาวช่องก็ไม่มีทางเลือก ทางที่เหลืออยู่ก็ตีบตัน ฉะนั้นชาวบ้านเราก็กลายเป็นชาวคลองตันอยู่เรื่อยไป

    กี่ยุคกี่สมัยชาวบ้านก็ยังเป็นชาวถนนตก คือตกเป็นเหยื่อก็มี ตกเป็นเบี้ยล่างก็มี ตกเป็นแพะรับบาปก็มี ตกกระไดพลอยโจรก็มี

    ตกเป็นคนจนผู้ยิ่งใหญ่ก็มี(ปลอบใจตัวเอง)  ตกเป็นทาส(โฆษณา-อบายมุข)ก็มี ตกเป็นผู้ถูกกระทำย่ำยีก็มี  ตกเป็นลูกหนี้กันทั่วหน้า(เขาว่ามีเครดิตดี) ถ้าจะให้ดีก็เปลี่ยนไปอยู่ถนนสายใหม่ที่ชื่อว่า ถนนสุขสวัสดิ์(สุขสวัสดีถ้วนหน้าทุกคน)

    พูดมาเสียยืดยาวเชียว สรุปว่าป่าเลี้ยงควายเมื่อสี่สิบปีก่อนที่กล่าวข้างต้นก็คือสี่แยกต้นอีซึกในปัจจุบันนี่เองแหละ.(งงไหมเนี่ย)

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    หลวงอาฟังเขามาอีกทีหนึ่งจากที่ไหนสักแห่งนี่แหละ

     เขาบอกกันว่า ฟังอย่างช้า ๆ คิดจากการฟัง ทำหน่วยการจำให้ช้าลง แล้วไตร่ตรองจากการฟังนั้นมาพิจารณาให้เกิดความรู้ความเข้าใจ (พุทธภาษิตว่าไว้ว่า ฟังด้วยดี ทำให้เกิดปัญญา) ฟังธรรมจากพระพุทธองค์จนบรรลุธรรม และเรียกท่านเหล่านั้นว่าสาวก สาวกเบื้องซ้ายพระสารีบุตร สาวกเบื้องขวาพระโมคคัลลานะ พุทธสาวก(พระสาวกฝ่ายชาว) พุทธสาวิกา(พระสวกภิกษุณีฝ่ายหญิง)

    ลองมาดูศัพท์ศาสนาคั่นโฆษณาสักครู่ก็ได้ วัยรุ่นสมัยนี้พูดกันมากว่า ดาราคนนั้นมีสาวก ศิลปินคนนั้นมีสาวกเพียบ นักร้องคนนั้นก็มีสาวกเป็นของตัวเอง คล้ายเจ้าประจำ แฟนคลับ(เก่าหน่อยก็คือแม่ยกเราดี ๆ นี่เอง)ขอบอก คนไทยพูดว่า สาวก สาวกเป็นคำบาลี แปลว่า ผู้ฟัง รูปคำศัพท์บาลี สาวโก ในทางศาสนาที่เราคุ้นเคยกันดี ส่วนมากจะเป็นผู้มีชื่อเสียงเป็นพระสาวกผู้ใหญ่ เป็นพระภิกษุณีผู้ใหญ่ หรือเป็นอุบาสิกาผู้ใหญ่ อุบาสกผู้ใหญ่ครั้งพุทธกาลโน่นแนะ คนไทยก็นำมาใช้เรียกศาสนิกชนว่า อุบาสก-อุบาสิกา(ผู้ใกล้พระรัตนตรัย,ผู้ที่นับถือพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ ฝ่ายชาย-ฝ่ายหญิง) แต่คำว่าอุบาสิกา ใช้กันจนกร่อนเหลือเพียงคำเดียวสั้น ๆ ว่า สีกา(แถมความหมายก็ให้มีความรู้สึกแบบความสัมพันธ์ส่วนตัว)ระหว่างพระกับโยมที่เป็นสุภาพสตรี เรียกแค่นี้ก็กระดากกระเดียวพอสมควร ขอให้เรียกต่อไปก็แล้วกัน โปรดอย่าเปลี่ยนคำอุบาสิกามาเป็นกิ๊กก็แล้วกัน เช่นกิ๊กพระ แบบนี้ไม่ไหวแน่เลย

    คุยออกไปเสียไกลเลย ถ้าทำอะไรช้า ๆ คนสมัยนี้คงจะเถียงคอเป็นเอ็นซะละมั้ง เพราะอะไรก็เร่งรีบ เร่งร้อนกันเหลือเกิน เช่นอาหารก็จานด่วน รถก็ต้องรถด่วน ทางหนังสือก็มีวรรณกรรมรีบด่วน อะไรก็ด่วนเสียหมด จึงได้มีรถกู้ภัยเก็บศพก็ด่วนกับเขาอีกด้วย จะด่วนไปไหนกันนักกันหนาล๊าว...พี่น้อง (ด่วนมากระวังจะเจอหน่วยกู้ภัยฯ)

     เชิญมาด่วนน้อย ๆ กันดีกว่า(นี่ก็ด่วนอีกเหมือนกัน-ด่วนแบบปลอดภัย) ด่วนโบราณ ๆ สมัยนี้เขามีรำวงย้อนยุคกัน หลวงอาก็ขอขับเกวียนย้อนยุคกะเขาด้วย ขับอยู่แถว ๆ หนองบัวนี่แหละ ช้ามากเลยไหมเกวียนเนี่ย ช้าเกินไปหรือเปล่า กระแสวิถีย้อนยุคกลับมาอีกครา เรียกร้องโหยหาอดีต ไม่อยากเรียกว่านำอดีตออกมาขาย

    เคยได้ยินไหมเสน่ห์บางกอก ไม่รู้ว่าคืออะไรเหมือนกัน แต่เสน่ห์บ้านนอกละก็พอได้บ้าง คือขับเกวียนนี่เลย หลวงอาจึงขอนำเหตุการณ์จริงจากหนองบัวมาฝากผู้อ่านหนึ่งเรื่อง

    ชายผู้เดินทางเพื่อชีวิต(ของแกเอง)

    เชิญชมหนังตัวอย่างได้เลย เป็นไปแบบช้า ๆ ย้อนยุคสุดคลาสสิคเลย ดังนี้

    มีชายวัยกลางคน(ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่-คงหาเวลาเขียนถึงแกสักครั้ง)เป็นญาติหลวงอาเองบ้านเดิมอยู่บ้านเนินตาโพย้ายไปน้ำสาดเหนือ ตอนนี้ย้ายไปอยู่บ้านเวฬุวัน ต.วังบ่อ หลายท่านที่เป็นคนหนองบัวคงได้เคยเห็นแกเดินบนถนนใหญ่ จากสี่แยกต้นอีซึก-ไปบ้านเวฬุวัน คนที่รู้จักเมื่อเดินทางไปทางนั้นเจอแกเกิดความสงสารก็มักจะชวนขึ้นรถเพื่อจะพาไปส่งบ้าน เมื่อได้ฟังคำตอบจากผู้ถูกชักชวนทั้งขำในใจและสงสารแกจับใจยิ่งขึ้นเลย เขาจะตอบโชว์เฟอร์ว่าให้ไปก่อนเถอะ ผมจะรีบเดินไปหาพ่อ-แม่

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • หลวงอาได้อ่านพจนานุกรม ๓ ภาษา(ลาว-ไทย-อังกฤษ)เขียนโดย อาจารย์สมบัติ ฆ้อนทอง ชาวห้วยวารีเหนือ
    • ได้ทั้งความรู้และความรู้สึกใกล้ชิดกันอย่างดีทางภาษาของประเทศเพื่อนบ้าน เลยต้องขออนุญาตผู้เขียนนำศัพท์ภาษาลาวมาฝากกลุ่มพริกเกลือได้ศึกษาเรียนรู้ ดังนี้
    • การจราจรติดขัด           - ก่านสันจ่อนฟืด             - traffic jam
    • ไฟสัญญาณจราจร        -ไฟ้อ่ำนาด                    - traffic light
    • ไดโนเสาร์                  - ก่าป่อมหลวง                - dinosaur
    • ไป-มาอยู่สม่ำเสมอ      - เทียว,เที้ยว                   - go back and forth
    • สระผม                      - ล่างหัว,ฟอกหัว              - shampoo  (คำนี้คุ้นมากเลย-ฟอกหัว)
    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)
    • ความจำของหลวงอาเกี่ยวกับบ้านห้วยวารีบ้านอาจารย์สมบัติ ฆ้อนทอง
    • คนรุ่นหลังเรียกห้วยวารี แต่รุ่นหลวงอาจะจำติดปากว่า บ้านห้วยปลาเน่ามากกว่า
    • ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะเวลาพูดถึงหลวงพ่อพระครูนิมิตรธรรมคุณ เจ้าคณะตำบลห้วยถั่วเหนือ เจ้าอาวาสวัดห้วยวารี
    • ต้องถามย้ำบ่อย ๆ ว่าใช่วัดห้วยปลาเน่าหรือไม่ หลวงพ่อพระครูนิมิตรธรรมคุณนั้นท่านเป็นพระใจดี พูดเก่ง ไม่ถือตัวพูดคุยด้วยสบายใจ มีมนุษย์สัมพันธ์ดี เป็นคนใจดีจึงทำให้มีคนมาบวชพระและอยู่จำพรรษาวัดท่านมาก ๆ ทุกปี
    • งานคณะสงฆ์งานส่วนรวมมักจะเห็นท่านมาถึงงานเป็นรูปแรก ๆ เป็นกำลังใจพระลูกพระหลานได้อย่างดี
    • หลวงพ่อเป็นพระผู้ใหญ่ที่เจอในงานต่าง ๆ แล้วจะได้เห็นท่านช่วยเป็นพิธีกรเป็นโฆษกได้ทุกงาน
    •  แม้แต่งานบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนก็ยังเคยเห็นหลวงพ่อเป็นวิทยากรอบรมลูกเณรตัวน้อย ๆ เหล่านั้น
    • หลวงพ่อพระครูนิมิตรธรรมคุณพูดได้ทั้งไทย-ลาว  เวลาจับไมค์พูดในงานเจอคนลาวพูดลาว เจอคนไทยก็พูดไทย
    • แต่ไม่เคยได้ยินท่านพูดเสียงเหน่อเพราะถ้าท่านพูดลาวเราก็ฟ้งไม่ค่อยรู้เรื่อง เลยไม่ทราบว่าท่านพูดเหน่อหรือไม่
    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    คุณเสวกเคยสงสัยบ้างไหมว่า ทำไมเคนเฒ่าคนเก่าตาก่อน จึงจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้ดีมาก

    ที่เราเข้าใจกันว่า หัวใจบัณฑิตมี ๔ อย่าง หนึ่งในสี่อย่างนั้นคือการฟังเป็นข้อแรกเลย

    ถ้าสมัยนี้ก็คือการอ่านการศึกษาเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร การเสพสื่อต่าง ๆ มากมาย ทั้งหนังสือ วิทยุ โทรทัศน์ คอมฯ ฯลฯ

    สื่อมีหลายประเภทหลายชนิดมาก มากจนท่วมหัวเกือบจะเอาตัวไม่รอด ต้องเลือกเสพมีทั้งแก่นสารสาระ มีทั้งขยะปะปนกันไป

    พ่อเฒ่าหลวงอาท่านมีอายุมากกว่าหลวงปู่อ๋อยประมาณ ๕-๖ ปี ท่านเคยเดินทางไปภาคเหนือโดยรถไฟน่าจะแถวพิษณุโลกนี่แหละ

    ท่านเสียชีวิตไปเมื่อ ๒๕๒๖ ก่อนนั้นได้ยินท่านเล่าการเดินทางเริ่มแต่สถานีรถไฟชุมแสง เรื่อยไปจนถึงพิษณุโลก บอกได้ทุกสาถานี

    ไปแค่ครั้งเดียว มีกรณีเทียบเคียงเป็นตัวอย่างจากอุดตรดิตถ์ เด็กที่รู้จักกันให้เล่าฟังว่า ตอนนี้มีตาอายุ ๙๐ กว่า มาไหว้หลวงพ่อพุทธชินราช ตั้งแต่หนุ่ม ๆ เวลานี้ก็ยังจดจำชื่อบ้านเมืองสถานีรถไฟจากบ้านอุดรดิตถ์ถึงพิษณุโลกได้อย่างแม่นยำ ซึ่งหลานนั่งบ่อยมากยังไล่เลียงแม่นยำสู้ไม่ได้

    หลวงอาก็นั่งบ่อยรถไฟจากชุมแสง-พิษณุโลก ถึงตอนนี้ก็จำได้ไม่หมดแปลกจริงหนอ

    เทียบง่าย ๆ คนสมัยนี้ไปไหนมีทั้งจดบันทึก ถ่ายรูป รูปนิ่ง รูปเคลื่อนไหว สิ่งช่วยจำ มีหน่วยเพิ่มความจำขึ้นอีกเยอะที่เก็บไว้ดู

    วิเคราะห์แบบชาวบ้านจะบอกว่าคนสมัยก่อนไปไหนมาไหน การเดินทางไม่รวดเร็วดังปัจจุบัน ความเร็วรถไฟหรือรถยนต์สมัยก่อนกับสมัยเรานี้วิ่งเร็วช้าต่างกันขนาดไหน ช้าเร็วคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สิ่งที่หลวงอานำมาคุยให้คุณเสวกฟังนี่ก็ไม่มีอะไรหรอก เพียงเป็นข้อสังเกตเท่านั้นแหละ

    ส่วนหลวงอานั้นจากหนองบัวมานานเริ่มจะลืมชื่อไปหลายคนแล้ว(จำไม่ได้อย่าว่ากันนะ)

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    วันนี้นั่งรถคุณครูเข้าไปในเมืองพิษณุโลก ซื้อกระดาษ A4 มา ๕ รีมไว้สำหรับปริ้นงานและถวายพระนิสิตในวัด

    ตอนขากลับโยมอาจารย์เจ้าของรถเปิดเพลงลูกทุ่งมีเพลงหนึ่งหลวงอาจำเสียงศิลปินไม่ได้

    โดยเนื้อหาเพลงบรรยายถึงบรรยากาศท้องทุ่งบ้านนอกชนบท บอกกล่าวเรื่องราวคนยากจนใช้ยานพาหนะเดินทางในวิถีเก่า

    คือการใช้เกวียนเดินทาง ในยุคสมัยที่มีแต่ความเจริญมีแต่รถเต็มท้องถนน ถนนเป็นของคนมีฐานะคนรวยอะไรประมาณนี้แหละ

    และเพลงก็กล่าวถึงเกวียนว่า เป็นส่วนเกินเป็นของไร้ค่า เอถ้าเกวียนเป็นส่วนเกินแล้วละก็ แสดงว่าอะไรก็ตามที่เป็นของคนจน

    คนยากไร้ก็เป็นสิ่งที่ไร้คุณค่า ไร้ความหมายไม่มีคุณค่าในสายตาคนทั่วไปผู้ประพันธ์เพลงเข้าใจสื่อสารบอกกล่าวเรื่องราของพี่น้องคนบ้านป่านาดอนผ่านบทเพลง นี่หลวงอาได้ยินจากเพลงลูกทุ่งที่ฟังมาในรถของคุณครูที่ไปส่งหลวงอาทำธุระในเมือง

    ดูจะเข้ากับบรรยากาศในที่นี้อย่างไรชอบกล เพราะชมรมเกวียนโบราณของหลวงอาอาจจะเป็นส่วนเกินในสังคมไปเสียแล้ว อ้าวเป็นส่วนเกินก็ไม่ว่ากัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามจะขอขับเกวียนโบราณของตัวเองอย่างมั่นใจและขอรับรองว่าปลอดภัยทุกเส้นทางจ๊ะ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เมื่อวาน(๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๒)หลวงอาเดินทางไปเยี่ยมพระที่รู้จักกันบนเขาตำบลวังนกแอ่น ซึ่งเป็นสำนักสงฆ์อยู่ในป่ายังไม่มีไฟฟ้าใช้เลย ใช้พลังงานแสงอาทิตย์วันไหนแดดดีก็มีไฟใช้ วันไหนไม่มีแดดก็แย่หน่อย ระยะทางจากถนนใหญ่ถึงสำนักสงฆ์ประมาณ ๘ ก.ม. แต่ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์เกือก ๓๐ นาที สภาพเป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์มีบ้านน้อยมาก ทั้งชุมชนประมาณสิบกว่าหลังคาเรือน วันนี้วันพระมีญาติโยมมาทำบุญทั้งหมู่บ้านทั้งเด็กผู้ใหญ่มากันครบ เด็ก ๆ อาราธานาศีลได้ทุกคน เห็นแล้วหลวงอาชื่นใจหลาย บอกตามตรงว่าเห็นป่าไม้แล้วนึกถึงหนองบัวเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้วจังเลย แต่อาจเป็นธรรมชาติมากกว่าหนองบัวบ้างเพราะมีบ้านคนน้อยเหลือเกิน เปรียบเทียบกับเขาพระเขาสูงก็พอได้แต่ป่าที่นี่หนาแน่นกว่า ถามโยมว่าเมื่อก่อนเป็นอย่างไรโยมว่าเมื่อยังเป็นทางคนเดิน ต้องใช้เวลาเดินมาปากทางถนนใหญ่ ๑ วันเต็ม ๆ ได้เจอต้นมะรื่นที่ชาวหนองบัวรู้จัก แต่คนพื้นที่ไม่เรียกมะรื่น เขาเรียกว่า ไม้มะจิ้ม(สงสัยเมื่อแก่แล้ว ผ่ากินเนื้อในได้ต้องใช้ไม้ซี่เล็กจิ้มแคะเนื้อมะรื่นขึ้นมากิน) หน้าฝนพอมีน้ำใช้สะดวกแต่หน้าแล้งหาน้ำลำบากหน่อยไม่มีบ่อบาดาล เพราะเป็นสภาพภูเขาสูง ถึงจะเดินทางลำบากบ้างแต่หลวงอาเคยผ่านประสบการณ์แบบนี้มาแล้วจึงไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่ตรงกันข้ามกลับนิยมชมชอบบรรยาศธรรมชาติเย็นสบายเสียอีกแนะ

    บ้านเฮาเอิ้นบักบกแม่นบ่

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    ขอบคุณผู้ไม่แสดงตน

    คนอีสานหรือคนบ้านเฮาเอิ้นบักบกแม่นแล้ว

    หนองบัว-หนองกลับ เรียกมะลื่น

    ยังมีหลายชื่อ เช่น กระบก,ตระบก,,มะลื่น

    คนเหนือเรียก มะมื่น

    แต่ที่อาตมาไปเจอบนเขาวังนกแอ่นเมื่อวันก่อนจริง ๆ แล้วเป็นมะเลื่อม(ชาวหนองบัวเรียกมะเลื่อม)

    คนวังทองเรียกมะจิ้ม(ไม่ใช่บักบก)

    อาตมาได้นำของจริงจากเขามาให้คนอีกสองสามจังหวัดที่รู้จักกันดูไม่มีใครรู้จักเลย

    เป็นอันว่ามีรู้จักอยู่คนวังทองกับคนหนองบัว(มะจิ้มวังทอง-มะเลื่อมหนองบัว)

    ขอบคุณผู้ไม่แสดงตนหลายเด้อที่ช่วยแบ่งปันความรู้

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เมื่อก่อนออกพรรษาหลวงอาได้รับขนมลาโดยทิดสึดสึกใหม่ที่รู้จักันมีน้องสาวอยู่ที่หาดใหญ่สงขลาส่งมาให้ หลวงอาได้รู้จักขนมลาเมื่อไปอยู่ภูเก็ตพ.ศ.๒๕๓๐ กว่า ๆ ได้ถวายหลวงตาพระผู้เฒ่าในวัดฉันด้วยความสงสัยกันใหญ่ว่าขนมอะไรไม่เคยเห็นไม่เคยกิน

    ในงานบุญประเพณีเดือน ๑๐ ของชาวใต้ต้องมีขนมลาเป็นขนมประจำงานเปรียบได้กับขนมกระยาสารทภาคกลางทำจากแป้งข้าวเจ้า เพื่อถาวยพระสงฆ์โดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าบุญชิงเปรตหาอ่านได้จากอินเตอร์เน็ต

    คนใต้ถือว่าบุญชิงเปรตเป็นบุญสำคัญประจำปี ไม่ได้มีความรู้สึกว่าเปรตเป็นเรื่องน่ากลัวหรืออัปมงคลแต่อย่างใด ที่น่าสนใจสำหรับหลวงอาก็คงเป็นเรื่องขนมลานี่แหละ เพราะอะไร ก็เพราะว่าขนมลาเส้นเล็กมาก ๆ ประมาณว่าทำให้เปรตกินได้สะดวกซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อและตำนานที่กล่าวว่าเปรตมีปากเล็กมากเท่ารูเข็มมือเท่าใบตาล

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือ

    วันนี้มีคนชมผลิตภัณฑ์ชุมชนหนองบัว ถุงผ้าดิบของอาจารย์วิรัตน์ว่า อินเทรนด์(intrend)จังเลย ไม่รู้แปลว่าอะไร

    ทำให้หลวงอานึกถึงจนท.ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(Packing Engineer)ชาวหนองกลับท่านหนึ่งคือคุณโชคชัย มากน้อยที่เคยพูดคุยกับกลุ่มพริกเกลือว่าอยากทำให้ผลิตภัณฑ์จากหนองบัวได้เป็นสินค้า OTOP หลวงอาก็เลยขอเชิญชวนคุณโชคชัย มากน้อยเป็นกรณีพิเศษในที่นี้ว่า ตอนนี้หนองบัวของเรามีผลิตภัณฑ์แนวรักษาสิ่งแวดล้อมจากงานอาจารย์วิรัตน์แล้ว ทำอย่างไรดีจะให้ถุงผ้าดิบจากหนองบัวเป็นสินค้า OTOP คงต้องอาศัยนักออกแบบช่วยคิดแบบผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ให้สวยงามเป็นประโยชน์แก่ชุมชนเรา อีกอย่างท่านอาจารย์วิรัตน์ก็อนุญาตไว้แล้ว ท่านอื่นก็อนุญาตเช่นกัน

    ขออนุโมทนาขอบคุณคุณโชคชัย มากน้อย ล่วงหน้าไว้ก่อนเลย

    เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    วันนี้ขอนำภาษาลาวจากพจนานุกรมสามภาษา(ลาว-ไทย-อังกฤษ)ของอาจารย์สมบัติ ฆ้อนทอง มาฝากคุณเสวกได้ศึกษาเรียนรู้

    ฮูบต่าหล๋ก -การ์ตูน -cartoon

    ฮูบเง้า - ภาพยนตร์ - film,cinema

    เฮื้อบิ๋น,เฮื้อเห๋าะ - เครื่องบิน,อากาศยาน -airplane,aerplane

    เฮ่ว,เฮี่ยว -ป่าช้า,เปลว(ภาคใต้) -graveyard,cemetery

    โฮ้งเฮี้ยนส่างคู้ -วิทยาลัยครู -teachers college

    แฮกน้า -แรกนาขวัญ,พิธีไถนาครั้งแรก -Ploughing Ceremony

    วัดจ่ะน้านุก่ม -วัจนานุกรม,พจนานุกรม -dictionary

    กราบนมัสกาารหลวงอาและผู้อ่านทุกท่านครับ

    ว่ากันว่าหลายวันเลยทีเดียวไม่ได้เข้ามาแสดงความคิดเห็นแต่ก็เข้ามาอ่านแทบทุกวันต้องขออภัยด้วยครับที่ยกภาระให้หลวงอาท่านเดียวเลย กลับบัานลอยกระทงมามีอะไรดีๆมาให้ชมกันมากมาย ของดีต้องรอหน่อยนะครับ ยังไงก็รักษาสุขภาพกันด้วยทุกท่านนะครับ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    คุณเสวกหายไปนานมากเลย

    เดี๋ยวจะรอชมผลงานชิ้นใหม่อย่าให้รอนาน

    ช่วยเล่าบรรยากาสงานลอยกระทงยุคปัจจุบันของหนองบัว

    ถ้ามีเวลาจะเล่าบรรยากาสลอยกระทงที่หนองบัวเมื่อสามสิบปีที่แล้วให้คุณเสวกฟัง

    ลอยระทงปีนี้หนองบัวจัดงานยิ่งใหญ่มากเลยครับทั้งวัดเทพและวัดใหญ่ ชาวบ้านได้มีการร่วมสืบสานประเพณีร่วมกันจัดขบวนแห่กระทงและนางนพมาศมีทั้งเด็กนักเรียนก็เข้าร่วมขบวนแห่ด่วย ปีนี้ผมเองได้มีโอกาสกลับไปลอยกระทงที่บ้านหนองบัวเรา ขบวนแห่มีพ่อแม่พี่น้องพ่อใหญ่แม่ใหญ่มารอชมกันอย่างหนาแน่น ตอนคืนนอกจากจะได้ลอยกระทงกันแล้วยังได้ปิดทองไหว้พระนมัสการหลวงปู่เดิม-หลวงปู๋อ๋อยกันด้วยงานนี้ ที่วัดหนองกลับ มีมหรสพให้ชมกัน เช่นปีนี้มี รำวงย้อนยุค หนังกลางแปลง การประกวดเทพีนางนพมาศมีผู้คนเข้ามาร่วมงานกันแทบมดไม่มีที่เดิน

    ขอเชิญชมภาพความน่าประทับใจในความร่วมมือร่วมใจกันได้ตามสบายนะครับ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและทุกท่าน

    ดูบรรยากาศลอยกระทงแล้วคิดถึงบ้านหนองบัวเราเลย

    เห็นสี่แยกไฟแดงหนองบัว แล้วนึกเปรียบเทียบกับภาพวาดของอาจารย์วิรัตน์ได้อารมณ์ต่างยุคดีเหมือนกัน

    ก็เปลี่ยนแปลงไปเยอะเหมือนกัน เพราะห่างกันด้วยระยะเวลาสี่ถึงห้าสิบปี

    กาลเวลาเปลี่ยนสถานที่เดิมจากตลาดห้องแถวเป็นตึกก็ยังจำได้อยู่ แต่ผู้คนในภาพจำได้ไม่กี่คน(รุ่นเก่า)

    ส่วนใหญ่จำไม่ได้เสียแล้วแสดงว่าจากมานานจริง ๆ ด้วย

    เสียดายไม่มีรูปเจ้าของบ้านเลยสักภาพ

    ขอบคุณคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือที่ทำให้รำลึกถึงบ้านเรา

     เจริญพร

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    จากความเห็นที่ ๑๓๐

    ในภาพที่ ๒ มีผู้ถือป้ายเป็นสาวน้อยชุมชนบ้านเนินพลวง(คนบ้านเราเรียกเนินควง)

    มองเห็นด้านหลังคนถือป้ายนั้นเป็นปั้มน้ำมันและตึกใหญ่ที่อยู่ถัดไปน่าจะเป็นธนาคาร นั่นคือป้าช้าวัดใหญ่(หนองกลับ) ที่เมื่อ ๔๐ ปีที่แล้วเป็นป่ารกน่ากลัวมาก ๆ

    เดินผ่านป่าช้าไปโรงเรียนหนองเทพวิทยาคม ทางด้านหลังผ่านตลาดห้องแถวติดกับโรงพยาบาลคริสเตียนไปออกถนนเข้าบ้านใหญ่ใกล้โรงสี เป็นบริเวณที่เปลี่ยวอย่างมากเงียบสงัดไม่มีผู้คน บางทีอาจจะเจอไอ้เป๋ วัวหลวงพ่ออ๋อยหรือคนสติเฟื่องอื่น ๆ ก็ได้ยิ่งทำให้กลัวกันไปใหญ่

    รุ่นคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือหลายคนก็ไม่ทันประสบการณ์ตรงนี้ ฉะนั้นเหมือนเล่านิทานหรือตำนานให้ลูกหลานฟัง

    นึกภาพยังไงก็นึกไม่ออก มองไม่เห็นสภาพว่า บริเวณนี้คือป่าช้า

    อันนี้ไม่ใช่ภาพเก่าเล่าตำนาน แต่เป็นภาพใหม่เป็นย่านธุรกิจร้านค้า ธนาคารอยู่ใน(สถานที่เก่าคือป่าช้า)

    ดูอารมณ์หนุ่มน้อยเป่าแตรและคนเป่าแคนแล้วนึกถึงอาจารย์วิรัตน์เลยทีเดียว

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    คุณเสวกนำภาพถ่ายวิหารหลวงพ่อเดิมวัดหนองกลับมาใส่หน้าบล๊อกดูเป็นหนองบัวดี

    เข้ากับเรื่องราวกลุ่มพริกเกลือบ้านเรามาก

    วิหารหลวงพ่อเดิมหลังนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๖ เสร็จเรียบร้อยและฉลองวิหารปี ๒๕๒๙

    ในวิหารประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อเดิม ท่านั่งสมาธิเท่าองค์จริงซึ่งสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒

    ขอบคุณหลาย ๆ เด้อ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    สองวันที่ผ่านมามีพระจากอำเภอบางระกำพิษณุโลกท่านมาเยี่ยมหลวงท่านเป็นชาวโซ่งก็ได้พูดคุยกันแล้วขอนำศัพท์ภาษาไทยทรงดำ(ลาวโซ่ง)มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชาวหนองบัว ดังนี้

    คำว่า "คุย" แปลเป็นไทยว่า โคก,เนิน,โนน

    เช่นวัดคุยพยอม ก็คือวัดโคกพยอม

    โคกมะตูม ก็คือคุยมะตูมนั่นเอง

    โคกขี้เหล็ก ก็คือคุยขี้เหล็ก

    เนินตาโพ ก็คือคุยตาโพ

    โนนตาเกิด คือคุยตาเกิด

    กะบอง แปลว่า ช้อน

    ปลาแหละ แปลว่า ปลาร้า

    ตาวเฮือนแปลว่า กลับบ้าน

    ผักโปง แปลว่า ผักบุ้ง

    มะโฮง แปลว่า มะละกอ

    ปลาแหละฝัก คือปลาร้าสับ(ฝัก-สับ) ก็คือพริกเกลือบ้านเรานี่เอง

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    ใกล้งานโรงเรียนหนองบัว หลวงอาเลยขออนุญาตคุณเสวกนำข่าวประชาสัมพันธ์งานโรงเรียนหนองบัวโดยนำข้อความของอาจารย์วิรัตน์จากบล๊อกเวทีหนองบัวมาลงไว้ที่บล๊อกพริกเกลือนี้อีกแห่งหนึ่งด้วย

    ผ้าป่าการศึกษาและงาน ๔๙ ปี สู่ ๕๐ ปีของโรงเรียนหนองบัว

    ๖ ธันวาคม ๒๕๕๒ โรงเรียนหนองบัว เครือข่ายศิษย์เก่า กรรมการศึกษา และชาวหนองบัว จะจัดผ้าป่าการศึกษาเพื่อสร้างโรงอาหารให้โรงเรียนและลูกหลานคนหนองบัว พร้อมกับเริ่มต้นศักราชกึ่งศตวรรษของโรงเรียนหนองบัว ๔๙ ปีสู่ ๕๐ ปีของโรงเรียนหนองบัว

    ขอเชิญศิษย์เก่าและคนหนองบัวมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการศึกษาของคนหนองบัว ลูกหลานคนหนองบัว และเด็ก-เยาวชนในท้องถิ่นโดยรอบครับ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    น้องสาวหลวงอาและญาติ ๆ ที่เป็นผู้หญิงมักปรารถกับหลวงอาเมื่อเจอกันที่บ้านเรื่องการสนทนาพูดคุยกับพระสงฆ์ว่า

    ไม่รู้จะพูดกับพระอย่างไร จะใช้สรรพนามแทนตัวเองว่าอย่างไรดี จะทักทายท่านแบบไหนจึงจะเหมาะสม

    เรื่องนี้ตอนยังไม่ได้บวชก็ประสบด้วยตนเองเหมือนกัน ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ทั้ง ๆ ที่ไม่นาจะเป็นได้ขนาดนั้น

    มีบางท่านงงถึงขนาดที่ว่าคุยกับพระใช้สรรพนามผิดฝาผิดตัวเลยก็มีให้เห็น เช่น

    คุยกับพระแทนที่จะใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า ผม/ดิฉัน กลับไปใช้ว่า อาตมา

    คุยไปก็อาตมาไปเรื่อย พระท่านก็อาตมาโยมก็อาตมา สนทนาจบโยมก็เจริญพรครับ/ค่ะ พระคุณเจ้า

    หลวงอาก็เลยแนะนำน้องสาวและญาติ ๆ ว่าต่อไปนี้ถ้าเจอพระสงฆ์ที่มีอายุมากหน่อย(หลววงตา)

    ก็ให้ทักทายท่านอย่างนี้ก็แล้วกัน

    นมัสการหลวงตาเพค๊ะ คนที่ฟังฮากระจากเลย น้ำหมากกระเด็นเลยแหละ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เปลี่ยนมุมมอง

    หลวงอาว่าการมองหรือการมีท่าทีต่อเหตุการณ์เรื่องราวต่าง ๆ ก็มีความสำคัญไม่น้อยต่อความรู้สึกของเราเราแปรจากหนักเป็นเบาได้

    อาวุธ เป็น อาสา

    ระเบิดปรมาณู เป็น ปรมัตถธรรม

    รับน้องโหด เป็น รับน้องหุง(ข้าว)เลี้ยงอิ่มอุ่น

    เหล้าขาว เป็น เล่าข่าว,เล่านิทาน(ให้ความรู้)

    ดูดวง เป็น ดูดวงใจ(ดูความคิด)

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    มองสิ่งต่าง ๆ ให้ได้แง่คิดสะกิดใจ เพราะสิ่งเหล่านั้นมีแง่มุมให้เราพิจารณาได้สองทางสองแบบ เลือกรับก็จะได้ประโยชน์

    ตอนนี้ทองแพงมากคนก็ตื่นทองเราก็เปลี่ยนจาก

    ตื่นทอง เป็น ตื่นธรรม

    อิจฉา เป็น โมทนา

    ระดมทุน เป็น ระดมธรรม

    แพทย์ทางเลือก เป็น เพศทางเลือก(บางท่านเลือกเพศได้มากกว่า ๑ ตัวเลือก)

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    หลวงอาไปสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนตั้งแต่ ป.๔- ม.๓

    เวลาเข้าไปพบผอ.ท่านมักจะพูดว่าโรงเรียนเราไม่มีครูสอนพระพุทธศาสนาเด็ก ๆ อาจจะไม่มีความรู้ด้านพิธีกรรมหรือศาสนพิธีมากนัก

    อยากให้พระอาจารย์ช่วยสอนพิธีกรรมเบื้องต้นง่าย ๆ เช่น

    ให้นักเรียนท่องคำบูชาพระรัตนตรัย,คำถวายสังฆทาน,คำอาราธนาต่าง ๆ (คำอาราธนาศีลห้า,คำอาราธนาธรรม,คำอาราธนาพระปริตร) คำกรวดน้ำเหล่านี้เป็นต้น

    สิ่งที่ผอ.ให้สอนนี้ไม่ใช่เป็นแต่เด็ก ๆ หรอกนะ ผู้ใหญ่ส่วนมากก็ท่องไม่ได้ มีงานทีต้องหามรรคนายก(ทายก)กันให้วุ่นทุกครั้ง

    ถึงเวลาสอนหลวงอาก็ให้นักเรียนลองท่องคำนมัสการ(นะโม ๓ จบ)โดยให้ท่องแปลเป็นภาษาไทยด้วย,จดใส่สมุดกันลืม

    นักเรียนท่องได้ทุกคนไม่มีปัญหา ท่องธรรมดาไม่สนุก

    ต้องออกเสียงให้ผิดแผกปรกติ ทีนี้แหละได้ฮาเลย

    ฮาที่ ๑ นะโม ตัสสะ (นึกออกไหมว่าฮาตรงไหน) ถ้าออกเสียงปรกติก็ไม่ฮาแน่นอน(โดยเฉพาะเด็กเล็ก)

    เราจะบอกว่านักเรียนท่องใหม่ออกเสียงตามพระอาจารย์นะ เราก็ออกเสียงสองคำนี้แหละ เป็น นะโม ฉะฉะ (นักเรียนฮา)

    ฮาที่ ๒ ภะคะโต อะระหะโต เราออกเสียงว่า ภะคะวะโต๋ อะระหะโต๋ (ฮาอีก)

    หลังจากนั้นหลวงอาก็จะให้ท่องทีละคน โดยว่า ภาษาบาลี แปลเป็นไทย

    นักเรียนท่อง ภะคะวะโต อะระหะโต เราไม่ยอมให้ออกเสียงใหม่(แกมบังคับ-สนุก ๆ )

    ตอนออกเสียง ภะคะวะโต๋ อะระหะโต๋ นี่แหละทั้งตนเองก็หัวเราะ เพื่อนก็พลอยหัวเราะตามไปด้วย

    นี่ก็เป็นบรรยากาศในห้องเรียนที่ผ่อนคลายดี

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    หลังจากท่องนะโม ๓ จบแล้ว

    ต่อไปก็ถึงบทถวายสังฆทาน

    เด็กฮาอีกแล้ว

    ฮาแบบบาลี ๆ

    คุณเสวกเคยได้ยินมั้ย อิมานิ......ภัตตานิ .....ภิกขุฆัสสะ .....ภิกขุสังโฆ ลฯล.

    นึกออกไหมว่า บาลีคำนี้จะทำให้เด็กขำได้อย่างไร

    ต้องท่องแบบวัยรุ่นซิพี่น้อง ภัตตานิ ก็เปลี่ยนเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ฮานามิ (ฮา)

    ภิกขุสังฆัสสะ ก็เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า คิกขุสังคัสสะ (ฮา)

    ภิกขุสังโฆ เปลี่ยนเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า คิกขุสังโค (ฮา)

    สำหรักเด็กคำถวายสังฆทานก็ได้สัก ๓ ฮา ดังนี้แหละโยม.

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เมื่อสองวันก่อนน้องสาวหลวงอาโฟนอินมาหาหลวงอา(คุ้นๆไหมคำนี้)

    ถามสารทุกข์สุขดิบ เมื่อไรจะกลับมาเยี่ยมญาติโยมที่หนองบัวบ้าง

    ไม่ว่างก็เลยยังไม่ได้ไป

    ได้ทราบจากน้องว่าปีนี้ข้าวราคาดี แต่คนบ้านเราได้ข้าวกันน้อย นาดอนนาโคกข้าวตายซะมาก

    ถ้าเป็นสมัยก่อน ๆ คนจะบวชก็เลื่อนไปก่อน คนจะแต่งงานก็แห้ว เอ้ยไม่ใช่เลื่อนปีต่อไป

    นึกถึงเพลงคุณศรเพชร จำชื่อไม่เพลงไม่ได้ แต่เนื้อเพลงประมาณว่า

    ....ข้าวในนาปีนี้โถพี่ไม่มีจะขาย เลยแต่งงานไม่ได้...จะขายวัวขายควายพี่ก็อายคนเขาจะนินทา.

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    ต่อจากคำถวานสังฆทานก็เป็นคำอาราธนาพระปริตร

    อันที่จริงก็ไม่อยากให้เอาเป็นตัวอย่างหรอกนะ

    หลวงอาให้เด็กท่องนั้นเพี้ยนไปบ้างเลอะเทอะไปบ้างเด็ก ๆ ก็กลับชอบขำ ๆ ดี

    คำอาราธนาพระปริตรเป็นคำที่ท่องยากบทหนึ่งเลยทีเดียวแหละ

    เพราะคำบาลีบทนี้มีสระสั้นติดต่อกันเป็นพืดยาวเลย

    ขึ้นตันวรรคแรกว่า วิปัตติปะฏิพาหายะ (อันนี้ถูกต้องเลยครับ)

    บางงานไม่มีทายก พระต้องว่านำโยม บางทีก็ว่าผิดว่าถูก โยมก็ดำน้ำกันไปจนจบ

    เราให้เด็กท่องแบบฮา ๆ ก็อย่างนี้เลย

    จาก วิปัตติปะฏิพาหายะ ก็เปลี่ยนเป็น วิปริตร วิปริตร พาหายะ (ฮาทุกห้อง)

    อาจจะไร้สาระบ้างก็ขออภัยนะ ถือเสียว่าสนุกแบบเดะ ๆ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    วันนี้หลวงอาได้ไปทำธุระที่ทำการไปรษณีย์วังทอง

    เรายื่นเอกสารจดหมายก่อนโยมท่านหนึ่งแต่เจ้าหน้าที่ทำให้โยมก่อน

    โยมบอกทำไมไม่ทำให้หลวงพี่ก่อนละเพราะมาก่อนโยม

    ได้รับคำตอบว่า ของหลวงพี่มีสองฉบับของเธอแค่ประทับตรานิดเดียวเอง

    เราก็บอกว่าไม่เป็นไร โยมคงเกรงใจพระ

    เราก็เห็นด้วยเพราะของเรามีจำนวนมากกว่า

    การให้แม้นิดหน่อย ก็เป็นการให้ที่เรายินยอมเต็มใจย่อมเกิดผลทางความรู้สึกดี ๆ ทั้งสอยฝ่าย

    ให้เวลาให้โอกาสให้การแบ่งปัน คงดีกว่าที่เราจะคิดว่าเราน่าจะโด้โอกาสเหนือคนอื่น ลัดคิดมีใช้อภิสิทธิ์ใช้เส้น

    หรือเอาเปรียบคนอื่นแล้วมีสุข

    ต่างกันเยอะ ไม่เชื่ออย่าลบหลู่(แต่ให้ลองทำดูเอง)

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เวลาหลวงอาไปสอนโรงเรียนใหญ่ ๆ ชั้นหนึ่งมักมีหลายห้อง

    เช่น ม.๑ ก็มีประมาณ ๔-๕ ห้อง

    เท่าที่สังเกตห้องท้าย ๆ ชอบช่วยเหลือพระอาจารย์ทำโน่นทำนี่ใช้ง่ายชอบอาสาแสดงถึงความมีน้ำใจ

    ห้องท้าย ๆ มักมาชวนคุยเคยถูกถามตรง ๆ ว่าพระอาจารย์รักนักเรียนห้องไหนมากระหว่างห้องทับหนึ่ง (/๑) กับห้องหนู

    เด็กจะมีความรู้สึกหรือประเมินตนเองว่า ห้องทับหนึ่งเป็นเด็กเก่งคุณครูชมบ่อย ห้องตัวเองไม่ค่อยเด่น

    รู้สึกว่าห้องตัวเองด้อยกว่าคุณครูรักไม่เท่าเด็กเก่ง นี่คือความรู้สึกของเด็กบางคนที่สังเกตเห็น

    จริง ๆ แล้วผลการเรียนต่างกันบ้างนิดหน่อย เกือบจะไม่ต่างเลยก็ว่าได้เด็กห้องท้ายบางคนที่ตั้งใจเรียนคะแนนสูงมาก

    หรือบางคนก็ถามว่าระหว่างเด็กเก่งกับเด็กไม่เก่งพระอาจารย์รักเด็กแบบไหนมากกว่ากัน

    เรารู้ทันว่าเด็กต้องการคำตอบแบบภาษาวัยรุ่นหรือเป็นคำปลอบใจตัวเองให้มีความรู้สึกที่ดีขึ้นมาบ้างแบบขำ ๆ

    เราก็จะตอบว่ารักทุกห้องนั่นแหละรักเท่ากันเลยแต่ห้องหนูมีน้ำใจพระอาจารย์ชอบได้ยินคำชมก็ยิ้มแป้นเลยซิ

    เราตอบไม่ตรงใจที่ตนเองต้องการ นักเรียนเธอก็ตอบเองเลยว่า

    รักนะเด็กโง่ เพื่อน ๆ ฮาเลย นี่แหละคำตอบที่เขาต้องการ แต่ไม่รู้เป็นยังงัยพระอาจารย์ไม่กล้าตอบคำนี้.

    สวัสดีคุณพี่เสวกครับเป็นไงสบายดีป่าว.....

    ปีใหม่กลับบ้านน่าอยากกินคั่วหนูว่าไม่ครับพี่น้อง.......จะได้กินกันก็ตอนนี้แหละครับผมปีนึงกินครั้งเดียวหลังเกี่ยวข้าวครับเย้ๆๆๆๆๆๆๆๆ เค้าว่าราคาตอนนี้พุ่งตามดัชนีเศรษฐกิจหนองบัวบ้านเราไปแล้วชนราคาที่ 300 $/Kg เลยทีเดียวครับพี่น้อง....

    • ถึงพี่น้องบ้านเราที่กำลังจะกลับปีใหม่นี้นะครับ.....อยากบอกว่าเส้นทางตากฟ้าบ้านเราไปจนสุดไพศาลีถนนยังไม่เรียบร้อยและอันตรายมากนะครับเพราะผมพึงกลับมาจากหนองบัวเมื่อตนเดือนธันวา.......ถนนนั้นยังไม่เรียบร้อยและป้ายเบียงเลนนั้นก็ไม่ชัดเจนนะครับถ้ามาด้วยความเร็วสูงควรชะลอด้วยนะครับพี่น้องเพราะขับๆ อยู่ถนนจะตัดเหลือเลนขวาแค่เลนเดียวในบางช่วงและมีรถส่วนทางใหญ่ ๆ ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นรถประจำทางและรถบรรทุกครับยังไงระวัดระวังสักนิดครับจะได้กลับถึงบ้านโดยปลอดภัยและมีความสุขครับ

    !!!!ปีใหม่นี้ขอให้ทุกท่านมีความสุขกันมากๆ นะครับพี่น้อง.........(-_+)

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณNarong Rong Inthachit

    หลวงอาดีใจมากเลยนะเนี่ยที่คุณNarong เข้ามาทักทายเจ้าของบ้านแต่เจ้าบ้านไปธุระยังไม่กลับ แต่ไม่เป็นไรหลวงอาต้อนรับแทนไปก่อนก็แล้วกัน

    ดีมากเลยที่คุณNarong ได้ช่วยบอกกล่าวการเดินทางกลับหนองบัวเป็นการใช้เวทีนี้สื่อสารไปถึงพี่น้องกลุ่มพริกเกลือและคนบ้านเราทุกท่านที่จะเดินทางกลับหนองบัว

    แสดงถึงความห่วงใยปรารถนาดีเลยบอกถนนหนทางที่ยังซ่อมไม่เรียบร้อยใครจะเดินทางเส้นนี้อาจหลี่กเลี่ยงใช้เส้นทางอื่นที่สะดวกและปลอดภัย คิดว่าคนกลับบ้านกันเยอะใครมีรถส่วนตัวคิดว่าจะมาทางนี้ก็จะได้ทราบล่วงหน้า ถนนเส้นนี้รถหนักวิ่งมากเลยชำรุดตลอดมาและซ่อมกันเสมอมา

    ขอให้คุณNarong เดินทางกลับหนองบัวด้วยความปลอดภัย

    ส่วนเรื่องดักหนูไว้ให้พี่เสวกแกตอบเองนะ.

     

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๓

    หลวงอาขอให้คุณเสวกและครอบครัวกลุ่มพริกเกลือชาวหนองบัวและผู้อ่านทุกท่านมีความสุขดังบทบาลีที่ว่า เต อัตถลัทธา สุขิตา วิรุฬหา พุทธสาสเน อโรคา สุขิตา โหถะ สหสัพเพหิ ญาติภิ. ขอให้ครอบครัวของท่านพร้อมด้วยหมู่ญาติ จงประสบสุขในสิ่งที่ปรารถนา มีสุขภาวะที่สมบูรณ์ปราศจากโรคภัยและเจริญงอกงามไพบูลย์ในพุทธธรรมตลอดไป เทอญ.

     สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓  ค่ะ คุณเสวก กลุ่มพริกเกลือ และชาวหนองบัวทุกๆ ท่าน  =)

    มาร่วมกับอาจารย์ณัฐพัชร์ สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๓ คุณเสวก สมาชิกกลุ่มพริกเกลือ คนหนองบัว และผู้อ่านทุกท่านนะครับ

    ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย พระบารมีปกเกล้าในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากล รวมทั้งสิ่งที่ทุกท่านเคารพนับถือ จงร่วมเป็นขวัญชีวิต เสริมให้เกิดความกร้าแกร่งในพลังใจ พลังปัญญา พลังแห่งสติ พลังแห่งความตั้งมั่น ตบะ บากบั่น อดทน พลังแห่งความริเริ่มสร้างสรรค์ มุ่งสู่ความสุขและความศานติ สงบเย็นทั้งกายใจ เจริญงอกงามในการปฏิบัติธรรมแห่งชีวิตทั้งเพื่อผู้อื่นและตนเอง มีความงอกงามก้าวหน้าในการเรียนรู้ในทุกสถาน พึ่งตนเอง พอเพียง มีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาวะสังคม และสามารถเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีของหมู่มิตร เพื่อนร่วมงาน ลูกหลาน ญาติพี่น้อง ให้ได้ปฏิบัติและเรียนรู้สิ่งดีไปด้วยกันอยู่เสมอ

    จำเพาะเวทีของกลุ่มพริกเกลือนี้ ก็ขอให้เป็นเวทีแห่งการเรียนรู้ เป็นแหล่งพัฒนาบทบาทของทุกท่านที่เข้ามาสร้างสรรค์สิ่งต่างๆด้วยกัน ให้ได้ประสบการณ์ชีวิตที่ดีสำหรับนำกลับไปทำการงานและดำเนินชีวิตเหมือนได้หมู่มิตรและที่ปรึกษาหารือให้ชีวิตกอปรด้วยความมีสติปัญญาและการใช้เหตุผลที่พอดี พอเพียง และเหมาะสมแก่เหตุปัจจัยแห่งชีวิตตนอยู่เสมอ ได้ความรอบด้าน มีความรู้ และมีสายตาที่เท่าทันโลกรอบข้าง เป็นพ่อแม่ก็สามารถเป็นที่ปรึกษาที่เท่าทันโลกแก่ลูก

    หากเป็นเด็กและเยาวชนคนหนองบัว ก็มีความองอาจสง่างาม รอบรู้ทางสังคม มองไกลสู่โลกกว้าง มีปัญญาและความฉลาดต่อการเข้าถึงวิทยาการและเทคโนโลยีที่เห็นประโยชน์สุขของคน ชุมชน และสังคม เป็นฐาน 

    หากเป็นคนทำงานท้องถิ่นและคนของราชการ ก็เป็นคนบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ มีภูมิปัญญาพอเพียงแก่การทำการงานสังคมให้รอบคอบ เชื่อมโยงความเป็นท้องถิ่น ความเป็นสาธารณะของสังคมไทย และความเป็นสากลของโลก เป็นความอุ่นใจของประชาชน เป็นกำลังทางวิชาการเพื่อการสร้างสุขภาวะของชุมชนทุกระดับขึ้นจากฐานชุมชนให้งอกงามและเป็นตัวของตัวเอง ทำให้ผู้คนเห็นคุณค่าแห่งชีวิตและมีโอกาสพัฒนาตนเองเพื่อมีส่วนร่วมต่อการสร้างสรรค์ในสิ่งที่ต้องการทำเพื่อผู้อยู่ร่วมกันกับอื่น

    ขอให้คนหนองบัวที่เข้ามาพัฒนาเวทีของกลุ่มพริกเกลือ ได้ประสบทุกสิ่งในข้างต้น และขอให้ได้ประสบการณ์ที่ดี สามารถร่วมสร้างสรรค์ และทำให้เวทีคนหนองบัวแห่งนี้มีความคึกคัก ได้ความเป็นชุมชนของคนที่คิดดี ทำดี มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาทั้งเพื่อกลุ่มก้อนของตนเองและเพื่อความเป็นสาธารณะในทุกขอบเขตที่ทุกท่านสามารถนำตนเองเข้าไมีส่วนร่วมได้ และด้วยพลังความสร้างสรรค์สิ่งดีดังกล่าว ก็ขอให้เป็นเหตุปัจจัยที่ส่งเสริมให้รอบข้างมีแต่ความสุข และทุกท่านก็ประสบแต่สิ่งดี ตลอดปี ๒๕๕๓ และตลอดไป ทุกท่าน เทอญฯ

    กราบสวัสดีท่าน วิรัตน์ คำศรีจันทร์ และ ท่านอาจารย์ณัฐพัชร์

         ที่มาร่วมอวยพรปีใหม่พร้อมทั้งให้ข้อคิดดีๆกับกลุ่มพริกเกลือเป็นอย่างสูงอีกอย่างหนึงคือท่านอาจารย์ณัฐพัชร์ได้นำ ส.ค.ส.จากผลงานของท่านอาจารย์วิรัตน์ที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆวิถีชีวิตของชุมชนมาเป็นผลงานอันทรงคุณค่าให้กับลูกหลานได้ตระหนักถึงความเป็นอยู่อย่างพอเพียงอีกด้วยครับ งานนี้ขอบอกว่ายอดเยียมกระเทียมดองเลยครับ

    ผมเองต้องขออภัยไว้ ณ. ที่นี้ด้วยครับที่ตอบช้าไปครับ

    สวัสดีครับ ขอเรียกว่าอาจารย์เสวก ใยอินทร์นะครับ

    ผมชื่อ มะตูมนะครับ อยู่ ต.หนองบัว นครสวรรค์ เช่นกัน

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวก คุณมะตูม และผู้อ่านทุกท่าน

    เสวกเจ้าบ้านนี่หายหน้าหายตาไปหลายเพลา กว่าจะกลับเข้ามาบ้านตัวเองก็ข้ามปีเลยเชียว อย่างไรก็ขอต้อนรับคุณมะตูมก่อนเจ้าบ้านจะเข้ามาก็แล้วกันนะ
    กลุ่มพริกเกลือก็เงียบหายไปไหนกันหมดก็ไม่รู้ ยังสบายกันดีอยู่ไหม
    คุณมะตูมนี่อยู่ในหนองบัวหรือมาทำงานต่างจังหวัดละเนี่ย
    นิคเนมนี้เกี่ยวกับบ้านโคกมะตูมไหม คนโคมมะตูมนี่พูดหวานและเหน่อมาก ๆ ด้วย
    หลวงน้าในฐานะคนหนองบัวด้วยเหมือนกัน เวลามีใครเข้ามาอ่านเรื่องราวในหนองบัว
    และแนะนำตัวเองว่า เป็นคนบ้านนั้นบ้านนี้อยู่ตรงนั้นตรงนี้ พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นด้วยแล้วละก็ยิ่งดีใจและเป็นสุขมาก

    อยากบอกคุณมะตูมว่า หลวงน้าได้เข้ามามีส่วนร่วมขีดเขียนข้อมูลเรื่องราวต่างๆ ในท้องถิ่นหนองบัวบ้านเราในบล๊อกอาจารย์วิรัตน์และบล๊อกคุณเสวกบ้างนิด ๆ หน่อย ๆ รวมทั้งท่านอื่น ๆ คนบ้านเราอีกหลายท่าน เมื่อร่วมมือร่วมใจกันคนละนิดคนละหน่อย เรื่องราวต่าง ๆ ในท้องถิ่นชุมชนหนองบัวก็ปรากฏโฉมต่อโลกภายนอกอย่างมากมายมหาศาลชนิดที่คนเขียนเองก็อดทึ่งไม่ได้เลยเชียว เลยรู้สึกภูมิใจ ชื่นใจดีจริง ๆ ทั้งหลายทั้งปวงในหนองบัวต้องยกความดีให้อาจารย์วิรัตน์ที่ท่านได้ริ่เริ่มบุกเบิก เป็นแนวหน้าทำสิ่งดี ๆและงดงาม สร้างสรรค์ให้ปรากฏแก่โลกภายนอก

    ขอให้คุณมะตูมเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในที่นี้กับคุณเสวกและคนบ้านเราบ่อย ๆ นะ หลวงน้าจะได้เข้ามาติดตามอ่านในภายหลังต่อไป.

    กราบนมัสการครับหลวงอา และน้องมะตูม

    เราเองก็ใช่คนอื่นคนไกลที่ไหนกันก็คนหนองบัวด้วยกันทั้งนั้นเรียกพี่ก็แล้วกันนะครับน้องมะตูมผมเองก็ไม่ได้เป็นอาจารย์มาจากไหน

    วันนี้รู้สึกว่ายินดีและมีกำลังใจเพิ่มมากขึ้นอีกที่มีคนหนองบัวเข้ามาทักทาย และเข้ามาแนะนำตนเองให้ได้รู้จัก

    หนุ่มหล่อในรูปคือน้องมะตูมแห่งบ้านเนินน้ำเย็นนั่นเอง วันนั้นพอดีได้มีโอกาศกลับบ้านตรงกับวันลอยกระทงพอดีตั้งใจจะเอารูปภาพวันงานมาฝากพี่น้องหนองบัวที่จากบ้านไปอยู่ต่านถิ่นให้ได้ชมกันตัวผมเองก็ไม่ได้อยู่ที่บ้านหนองบัวมาหลายปีแล้วนานๆจะกลับไปบ้างตามโอกาศวันนี้ผมเองก็อยากฝากถึงน้องมะตูมให้แนะนำเพื่อนๆให้เข้ามาทักทายกันบ้างนะครับ หรือว่าถ้าเป็นไปได้งานงิ้วเอารูปมาฝากหลวงอา ท่านอาจารย์วิรัตน์ และชาวพริกกลือให้ชมกันบ้างนะครับ หรือว่าถ้ามีข่าวสารอะไรจะแจ้งยินดีนำมาลงไว้ได้เลยครับ

    หลอดีครับ

    พระมหาแล ขำสขุ(อาสโย)

    สวัสดีคุณแก้ว หนองกลับ

    หลวงน้ายินดีต้อนรับคุณแก้ว หนองกลับแทนเจ้าของบ้านไปก่อน สงสัยเจ้าบ้านไม่ว่าง
    คุณแก้วชมใครไม่ทราบว่าหล่อดี ชมคุณเสวก หรือคุณมะตูม หรือหลวงน้ากันแน่ รับรองได้เลยว่าสามท่านนี้หล่อพอๆกัน เรียกว่ากินกันไม่ลงเลยทีเดียวแหละจะบอกให้
    เดี่ยวอย่างไร ค่อยให้เจ้าตัวแต่ละท่านมาตอบเองก็แล้วกัน อย่าลืมเด้อถ้ามีเวลาว่างคุณแก้วก็เข้ามาคุยกันได้ตลอด

    กราบนมัสการครับหลวงอา สวัสดีคุณแก้วหนองกลับครับ

    ทุกวันนี้หนองบัวเรายังมีอะไรหลายอย่างที่เราเองนั้นยังคาดไม่ถึง ผมเองหมายถึงว่า คนหนองบัวนี้มีคนที่สร้างซื่อเสียงให้กับประเทศอยู่หลายท่านเลยทีเดียว การเรียนรู้และสืบค้นเรื่องเหล่านี้ยังต้องขุดหากันต่อไป วันหนึ่งผมเอง ก็คาดหวังคล้ายกับท่านอาจารย์วิรัตน์เช่นกันว่า จะได้มีผู้ที่มีความสามารถรถด้านต่างมาร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่างๆยังมีอีกมากมาย ที่ชุ่มชนหนองบัวเรานี้ต้องช่วยกันส่งเสริมให้เกิดไปในทิศทางเดียวกัน อีกไม่นานหนองบัวเรานี้ จะไม่เป็นแค่เพียงหนองเล็กๆสำหรับคนในชุมชนแต่จะไปได้ไกลเพียงใดให้คนต่างชุมชนได้รู้จักก็ขึ้นอยู่ที่เราทุกคนเข้ามาช่วยผลักดันกันครับ

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือผู้อ่านทุกท่าน

    เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งเลยว่า คนหนองบัวบ้านเรานั้นหลายท่านเป็นคนที่มีชื่อเสียงมีความรู้ความสามารถมากมายจิรงๆ ทั้งระดับจังหวัดภูมิภาคและระดับประเทศ หลายท่านก็เป็นลูกชาวนาบ้านนอกจากหนองบัวนี่แหละ ท่านเหล่านั้นทำประโยชน์ให้สังคมชาติบ้านเมืองอย่างมากโดยที่เราไม่ทราบ อาจเป็นเพราะยังขาดเครือข่ายในการติดต่อสื่อสารรวมกลุ่มกัน อยู่กันอย่างกระจัดกระจายตามหน่วยงาน สถานที่ต่างๆ ทั่วประเทศและต่างประเทศ

    โดยข้อเท็จจริงก็คือทุกท่านที่ออกจากหนองบัวมาเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว ตอนนี้ท่านเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเข้าถึงไอที อินเตอร์เน็ทกันทุกคน ก็ยังได้ทราบว่าบางท่านก็มีคนแนะนำให้เข้ามาอ่านเวทีคนหนองบัวหรือกลุ่มพริกเกลือนี่แหละ แต่อ่านแล้วท่านก็ไม่ยอมกดคีย์บอร์ดพิมพ์แสดงความคิดเห็นหรือแสดงตัวตนให้ปรากฏกันเลย เราก็เลยไม่ทราบว่ามีใครบ้าง แต่ก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาอ่านเรื่องราวในชุมชนบ้านตัวเอง แม้จะไม่แสดงตัวก็ตาม ดูได้จากจำนวนที่คนคลิกเข้ามาอ่านมีจำนวนมากจริงๆในระยะเวลาเดือนสองเดือนที่ผ่านมานี้

    ทีนี้ชาวหนองบัวให้พื้นที่โดยเฉพาะชาวบ้านนั้นยากมากที่จะได้เข้าถึงไอที เพราะไม่มีอินเตอร์เน็ตนั่นเอง ส่วนพี่น้องในตลาดหนองบัวก็คงมีหลายท่านที่เข้ามาอ่านแต่เราก็ไม่สามราถทราบได้ เพราะท่านไม่ได้ฝากร่องรอยไว้ให้เราได้เห็นกันเลย ก็ขอเชิญชวนอีกครั้งให้พี่น้องคนบ้านเราทุกท่านได้ช่วยกันให้ข้อมูลเรื่องราวและสร้างชุมชนออนไลท์หนองบัวนี้ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทั้งเรื่องอดีตปัจจุบัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนหนองบัวในอนาคตต่อไป

     

    ปีใหม่เเล้วขอให้ทุกคนมีความสุขนะครับ

    ขอบคุณภูเขา ที่นานมาแวะทักทาย

    กลุ่มพริกเกลือมีใครกลับไปสงกรานต์ที่หนองบัวบ้าง ใครสะดวกจะลองเล่าบรรยากาศรายงานสดๆสู่กันฟังบ้างก็ดีไม่น้อย นานแล้วที่คุณภูเขาไม่ได้เข้ามา คุณภูเขานั้นพูดสั้นๆแต่ได้ใจความดี

    เจ้าบ้านละกลับบ้านหรือเปล่า มีอะไรก็สื่อสารหรือนำภาพข่าวทางบ้านมาเสนอกันหน่อยก็ได้นะอย่าลืมเด้อ

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    เมื่อไม่นานมานี้เห็นน้องมะตูมมีบล๊อกตัวเอง หลวงน้าได้เข้าไปแสดงความเห็นไว้ด้วยแหละ และก็มีรูปถ่ายแถวเขาพระ ประตูเมืองข้างเขาพระมาโพสต์ลงไว้หลายรูปเลย แต่ไม่ทราบว่าตอนนี้ทำไม่ถึงเข้าไม่ได้แล้ว หาไม่เจอบล๊อกน้องมะตูมซะงั้น เสียดายจัง ชักจะคิดถึงน้องมะตูมหนุ่มหล่อเสียแล้วซิ ทราบข่าวว่าจะมาเรียนที่วสส.วังทอง พิษณุโลก(วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร วังทอง พิษณุโลก) เดือนหน้านี้(พ.ค.๒๕๕๓)ใช่ไหม

    วสส.พิษณุโลกนั้นอยู่ไม่ไกลวัดที่หลวงน้าอยู่มากนักหรอก พระไปบิณฑบาตที่นี่ทุกวันเลย ถ้าน้องมะตูมสนใจจะมาอยู่วัด-เป็นเด็กวัดอยู่กับหลวงน้าก็ได้นะ ยินดีต้อนรับเสมอๆ ถ้าน้องมะตูมเข้ามาอ่าน หลวงน้าอยากขอร้องให้น้องมะตูมสมัครสมาชิกเป็นเจ้าของบล๊อกอีกสักครั้ง เพื่อจะได้ติดต่อสื่อสารพูดคุยกันได้เหมือนเดิม ขอให้กำลังใจ ถ้ามาที่วสส.แล้วละก็มาเยี่ยมหลวงน้าได้ที่วัดศรีโสภณ อยู่ฝั่งเดียวกับวิทยาลัยฯ(วสส.)ด้านทิศตะวันตกจากวสส.ไปประมาณ ๒ กิโลเมตร มีรถสองแถวบริการผู้โดยสารทุกห้านาทีสิบนาทีสะดวกมาก หวังว่าคงได้เจอกันนะ

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    ขออนุญาตนำข้อเขียนน้องมะตูมที่ได้เขียนไว้เมื่อ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๓ ในไฟล์รูปที่เจ้าตัวยืนถือป้ายหมู่บ้านเนินน้ำเย็น งานลอยกระทงวัดใหญ่โดยเขียนไว้ ดังนี้

    วันนี้(๑๕มี.ค.๒๕๕๓)ผมมีโอกาสไปเลี้ยงเพลพระที่วัดเขาพระมาครับ
    จะว่าไปบริเวณ เขาพระ-เขาสูง ก็สวยดีนะครับ
    ถ้าพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ผมว่า แหล่มเลย เด๋วจะนำรูปมาให้ดูนะครับ

    และหลวงอาไปพบข้อความดังกล่าว จึงได้ตอบไว้เมื่อ๑๖มีนาคม๒๕๕๓ ว่า 

    วันนี้วัดเขาพระมีงานฉลองพัดยศ ท่านพระครูใบฎีกาถาวร  ท่านก็นิมนต์หลวงน้าไปฉันเพลที่วัดด้วยเหมือนกันแต่ก็ไม่ได้ไป วัดเขาพระเวลาหลวงน้าพาพระเณรหรือคนพิษณุโลกไปหนองบัวคราใด ก็ต้องพาไปดูลิงเขาพระนี่แหละพลาดไม่ได้เชียว เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ดีที่สุดของบ้านเราเลยนะ ปีนี้พระครูใบฎีกาถาวร สุรปัญฺโญ-เสนสอน เจ้าอาวาสวัดเขาพระนิกรปทุมรักษ์และวัดทรัพย์ย้อยด้วย(เป็นเจ้าอาวาสสองวัดเลย)ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท(จต.ชท.-เจ้าคณะตำบลชั้นโท)ที่พระครูนิวิฐปัญญารัชต์

    อ่านแล้วรู้สึกประทับในแนวคิดของมะตูมที่บอกว่าเขาพระ-เขาสูง น่าจะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ เห็นด้วยกับแนวคิดของน้องมะตูมนี้เป็นอย่างยิ่งเลยแหละ เวลามะตูมพาเพื่อนๆนักศึกษาจากพิษณุโลกมาบ้าน ก็อย่าลืมพาไปเที่ยวเขาพระดูลิง อ่างเก็บน้ำ ประตูเมืองและธรรมชาติสวยๆแถวนี้ก็แล้วกัน

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    วันนี้จะขอเสนอภาษาลาวจากหนังสือพจนานุกรม ๓ ภาษา ของอาจารย์สมบัติ ฆ้อนทอง เนื่องจากหนองบัวบ้านเรา มีพี่น้องชาวลาวอยู่ไม่น้อย หลวงอาทำนาที่ห้วยน้อย ก็มีคนลาวทั้งหมู่บ้านใกล้เคียงก็มีลาวด้วย เช่น ห้วยปลาเน่า(ห้วยวารี) บ้านป่าเรไร แต่ห้วยน้อยนั้นมีทั้งไทย(หนองบัว)และลาว ญาติอยู่ที่ห้วยด้วนก็มีลาว บ้านป้าอยู่น้ำสาดเหนือก็มีลาวทรงโซ่ง กับอีกที่คือบ้านเขานางต่วม ป้าได้ย้ายจากหนองบัวไปอยู่ที่นั่นด้วย และเขานางต่วมถือว่ามีลาวเยอะสุด มีงานวัดต้องมีลิเกลาว หมอลำ ลำซิ่ง ลำเพลินประเภทลิเกไพศาลเพียรศิลป์ หรือคณะดังๆในปากน้ำโพก็ไม่ได้รับความนิยมจากคนที่นี่เลย

    แต่ก็ต้องยอมรับคววมจริงอย่างหนึ่งเหมือนกันว่า คนหนองบัว-หนองกลับนั้นฟังภาษาลาวไม่ค่อยออกด้วย ฉะนั้น เลยมีแนวคิดอยากให้กลุ่มพริกเกลือได้ศึกษาภาษาเพิ่มขึ้นอีกซักภาษา ที่เคยนำเสนอมาแล้วจะเป็นการเรียนรู้ทีละศัพท์ เป็นคำๆไป ต่อไปจะยกตัวอย่างที่เป็นประโยคสมบูรณ์ ตามตัวอักษร ซักอาทิตย์ละสี่ห้าประโยคก็ยังดี เริ่มจาก ก.ไก่ เป็นอันดับแรก ดังนี้
    ๑. ทานพ้งส่ะหวัน นอกจากก่มพ้าสี กะซ้วงก่านเงิ้นแล่ว ทานฮู่จั๋กพากซวนได๋แด
    คุณพงษ์สวรรค์ นอกจากกรมศุลกากร กระทรวงการคลังแล้ว คุณรู้จักหน่วยงานใดบ้าง
    ๒. ฮู่จั๊กหลายพากซวนยู เป่นต้นแมน ก่มเลี่ยงสั๊ด ก่มซวยสาอากร ก่มบํแฮ ก่องสู่ฮบพิเสด ก่มซับสิน ก่ะซ้วงป้องกั่นป่ะเทด ก่ะซ้วงป้องกั่นค้วมส่ะหง๋บ ฯลฯ
    รู้จักหลายหน่วยงานพอสมควร เช่น กรมปศุสัตว์ กรมสรรพากร กรมทรัพยาการธรณี หน่วยรบพิเศษ กรมธนารักษ์ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย ฯลฯ
    ๓. แน้วมี้ซี้วิดเด๊มี้หญังแด แล่วแน้วบํมี้ซี้วิดเด๊ โต่ฮู่บ๋
    สิ่งมีชีวิตละ มีอะไรบ้าง แล้วสิ่งไม่มีชีวิตละ คุณรู้จักบ้างหรือเปล่า
    ๔. แน้วมี้ซี้วิดหวา ก่ะมี้ก่ะลึ้ม ก่ะล้าด่ำ ก่ะตืกแป๋ ก่ะหล๋ด ก่างแก๋ กั๋บแก้ ก่าป๋อม กุ้งน่อย กุ้งถ่ะเล้ใญ แก๋ะเถิก ไกตี๋ ไกน้าก่าฮุง ล่ะแน้วบํมี้ซี้วิดก่ะแมน ก้อนเข่าจี กั๋บใฟ้ ก่าซ่วน ก่ะแล่ม ก่าจ้ำ ก่ำปันฮบ กิ่นง้าย กิ๋ดกอกหย่า ก้ามซี่น
    สิ่งมีชีวิตนะหรือก็มี หวาย นิโกร พยาธิใบไม้ แคร๊อท นกพิราบ ตุ๊กแก กิ้งก่า กุ้งฝอย สำหรับสิ่งที่ไม่มีชีวิตได้แก่ ขนมปัง กล่องไม้ขีด น้ำมันดีเซล ไอศกรีม ตรายาง เรือรบ รับประทานอาหารกลางวัน ก้นบุหรี่ กล้ามเนื้อ.

    พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    วันนี้ขอเสนอภาษาลาวจากหนังสือพจนานุกรมของอาจารย์สมบัติ ฆ้อนทอง
    ศัพท์ที่จะได้เสนอต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับอาหารยอดฮิตตลอดกาลของคนหนองบัว-หนองกลับพอดีเลย และตรงกับชื่อบันทึกนี้ของคุณเสวกอีกด้วย คือคำว่าพริกเกลือในภาษาลาวนั่นเอง เขาเรียกว่าอะไรเชิญตามมาชมได้ในภาษาลาว ดังนี้

    .แจวโคก,แจวต๋ำ  ตำพริกผสมปลาร้า (chill mixed femented fish)
    ๒.แจ่วบอง,แจวบ๋อง,แจงบ่อง ตำพริกผสมปลาร้าและเครื่องเทศ (chill in femented fish and spices) จะเห็นว่าภาษาลาวนั้นมีหลายชื่อมากเลย แต่ทั้งหมดนั้นตรงกับหนองบัวคือพริกเกลือนั่นเอง

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    วันนี้มาต่อเรื่องภาษาลาวจากพจนานุกรม ๓ ภาษาเขียนโดยคนหนองบัว(สมบัติ ฆ้อนทอง)
    ยังอยู่ในหมวดหมู่ประเภทอาหาร การกิน คำว่า จังหัน คำนี้คนหนองบัวคุ้นที่สุดเลย ถ้าไมถามคนเฒ่าคนแก่ว่า ทำไมไปยืมเอาภาษาลาวมาใช้หน้าตาเฉยเลยละ ท่านคงจะงงๆซะก็ไม่รู้ เพราะท่านใช้มานานมากจนรู้สึกว่ามันเป็นภาษาไทยหนองบัวไปแล้วนิ อีกทั้งลูกหลานรุ่นหลังก็ยังใช้กันอยู่ปรกติ ความหมายของคำว่า จังหัน ก็คือหารเช้าสำหรับพระ

    ทีนี้ก็มาว่ากันถึงเจ้าของภาษาดูบ้างเขาเขียนยังไง เขาเขียนว่า จั่งหัน อาหารเช้า (monk ۥs  breakfast) ขอแปลอังกฤษซะหน่อยนึง อาหารเช้าของพระสงฆ์

    ไม่ได้เข้ามาหลายวันหลวงอานำความรู้มาเพรียบเลยครับต้องยอมรับว่ายอดเยี่ยมที่สุดเลยครับ

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    เมื่อคืนได้เห็นรูปท่านเจ้าคุณเทพสิทธินายก(ห้อง ชาตสิริ ท้วมเทศ
    ป.ธ.๖,๒๔๓๘-๒๔๙๙,ท่านมีอายุ ๖๐ ปี)
    อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ที่คุณเสวกนำไปโพสต์ไว้ที่เวทีคนหนองบัวแล้ว ดีใจมากที่ได้เห็นรูปของท่านในเวทีคนหนองบัว หลวงอาได้กล่าวถึงท่านไว้มากพอสมควร แต่ก็ถือว่ายังน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งต่างๆที่ท่านได้ทำไว้ สร้างสรรค์ไว้ ตลอดถึงคุณงามความดีที่มีคุณค่าคุณประโยชน์

    โดยตลอดชีวิตของพระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณเทพฯนั้นเต็มไปด้วยการศึษาเรียนรู้ การทำงานจริงๆ รับผิดชอบการบริหารพระศาสนาระดับจังหวัด ท่านทำงานเพื่อชุมชนเมืองหนองบัว มีชีวิตเพื่อพระศาสนา เพื่อชุมชน ส่วนรวม และรักษ์บ้านเกิด การที่เราได้เรียนรู้ชีวิตและเรื่องราวของท่าน งานที่ท่านสร้างสรรค์ไว้คุณค่าความดีงามต่างๆเหล่านี้ ย่อมนำมาซึ่งความทราบซึ้งใจ ภูมิใจสุขใจ เกิดปีติโสมนัส รักเคารพท่านมากขึ้น การได้พิจารณามองเห็นคุณค่า ความดี ความงามของบรรพบุรุษนั้นทำให้เราไม่ลืมรากเหง้าเหล่ากอ ความเป็นมาของตัวเราเอง และเมื่อนำมากล่าวถึงอ้างถึงก็จะมีแต่สิ่งที่ก่อให้เกิดกำลังใจแรงบันดาลใจ ความภาคภูมิใจต่อตนเองมากยิ่งขึ้น

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อเจ้าคุณเทพฯนั้นต้องถือว่าท่านเป็นต้นแบบของคนหนองบัวได้ในหลายๆด้ายดัวยกัน
    ๑)ด้านการศึกษา เรื่องเรียนนี้ต้องขอยกย่องเชิดชูหัวใจเพชร หัวใจแกร่งกร้า ท่านมีใจรักและเสาะแสวงหาวิชาความรู้ตั้งแต่อายุ ๘ ขวบ บ่งบอกได้ถึงความมุ่งมั่นเอาจริงเอาจังไม่ย่อท้อ เป็นนักต่อสู้มาตั้งแต่เยาว์วัย ทั้งๆที่สภาพแวดล้อมสังคมในสมัยของท่านนั้นบ้านหนองบัวมีแต่ป่า แต่ดง เป็นบ้านนอกสุดสุด ว่างั้นเถอะ การเดินทางไปศึกษายังต่างตำบล ต่างอำเภอ ต่างจังหวัด และท่านก็ไปคนเดียวอีกด้วย
    เมื่ออายุ ๒๐ ปีคือในปี๒๔๕๘ เมื่อ ๙๕ ที่ผ่านมา ท่านได้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อศึกษาภาษาบาลีที่วัดมหาธาตุฯท่าพระจันทร์ ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนมีความมั่นใจว่าท่านนี่แหละน่าจะเป็นคนหนองบัวคนแรกที่มีโอกาสได้ไปเรียนหนังสือถึงเมืองหลว(กรุงเทพฯ)
    จบแค่นี้ก่อน วันหน้ามีเวลาจะมาเขียนแง่มุมด้านต่างๆและเรื่องอื่นๆของหลวงพ่อต่อไป

    กราบนมัสการครับหลวงอามหาแล

    เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับท่านเจ้าคุณเทพสิทธินายก ห้อง ชาตสิริ ท้วมเทศ นั้นยังมีอีกมากมายครับ ทั้งที่เป็นรูปภาพเก่าๆผมเองนั้นเคยเห็นที่บนศาลาวัดเทพสุทาวาส เกี่ยวกับการก่อตั้งวัด ที่ท่านพระครูสมท่านได้นำมารวบรวมไว้ แต่ผมเองยังไม่มีโอกาศนำมาเสนอให้ชมครับ ถ้ามีโอกาสจะนำผลงานต่างๆของท่านเจ้าคุณเทพสิทธินายก ห้อง ชาตสิริ ท้วมเทศ มาให้ชมพร้อมกันครับ

    หลายท่านที่เข้ามาชมบล็อคนี้แล้วผมคิดว่าท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมดูแล้วงง ที่จริงคือ การทำบล็อคของคนหนองบัวกับพริกเกลือนี้ได้แนวคิดต้นแบบมาจากท่านอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ผมเลยคิดว่าถ้าเราทำแบบนี้ก็สมารถเชื่อมโยงเข้าถึงกันได้เร็วขึ้นครับ

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    เห็นพัฒนาการความก้าวหน้าและความมุ่งมั่นแล้ว ก็ขอชมว่าเยี่ยมมากเลยนะคุณเสวกเนี่ย
    การนำลิงค์มารวมไว้นี้ช่วยให้กลุ่มพริกเกลือและทุกท่านได้เข้าถึงเครือข่ายคนครอบครัวเดียวกัน(คนหนองบัว)ดูใกล้ชิดยิ่งขึ้น เป็นช่องทางให้การค้นหามีความสะดวกและประหยัดเวลามากด้วย
    จะว่าไปแล้วข้อมูลเรื่องราวในหนองบัวทั้งหมดที่ร่วมกันเขียนมานั้น ช่วยให้มองเห็นตัวตนภูมิหลังของชุมชนเมืองหนองบัวเราได้ดีพอสมควร
    ขอเชิญชวนชาวหนองบัวทุกท่านได้ร่วมกันเขียนความรู้ สร้างปัญญา เผยแผ่สิ่งดีงามต่างๆ ได้ตามอัธยาศัย
    เจริญพร

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    วันนี้มาเรียนภาษาลาวจากพจนานุกรม ๓ ภาษา เขียนโดยคนหนองบัว(สมบัติ ฆ้อนทอง)
    ศัพท์ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ คนหนองบัว-หนองกลับ ได้ยืมเขามาใช้จนรู้สึกว่าเป็นของตัวเองไปแล้ว
    ก่ะซ่า-ลาว(basket) แค่ฟังการออกเสียงก็เชื่อได้เลว่า คนบ้านเราต้องตอบได้ทันทีเหมือนกันว่าหมายถึงอะไร สิ่งนี้เป็นภาชนะที่ใส่สิ่งของเครื่องกินได้หลายอย่าง มีหม้อข้าว ถ้วย จาน ชาม ช้อน ทัพพี กระปุกพริกเกลือ มีดทำครัว ขวดน้ำปลาฯลฯ ไปนาไปไร่ถ้าไปกันทั้งครอบครัว ก็ต้องใช้ก่ะซ่านี่แหละ ใส่ของหาบไปสะดวกดี แล้วก่ะซ่าคืออะไรละ คือตะกร้า นั่นเอง(คนบ้านเราจะออกเสียงว่า กะส้า)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    วันนี้มาเรียนภาษาลาวจากพจนานุกรม ๓ ภาษา เขียนโดยคนหนองบัว(สมบัติ ฆ้อนทอง)กันต่อ

    คำว่า แก คำนี้ถ้าใชเรียกแทนชื่อคนที่เรากล่าวถึง ก็เป็นคำสรรพนามบรรบุรุษที่๒ เช่น ทิดเหวก คนบ้านเนินขี้เหล็กเป็นคนรุ่นใหม่ แต่แกชอบศึกษาเรียนรู้เรื่องราวต่างๆที่เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านอีกทั้งจดจำเรื่องเก่าๆไว้ได้มากมาย และแกก็มีความพยายามอย่างมากที่จะรวบรวมเก็บรักษาไว้ไม่ให้สูญหาย เพื่อนๆหลายคนก็ยอมรับว่าแกเป็นผู้มีสามารถในด้านนี้

    ภาษาลาว แก,แก่ (ไทย-แตรวง) (trumpet) เช่น เอปีหน้าเราจะบวชลูกแล้วเนี่ย พ่อมึงจะไปหาแกวงใครละ ข้าว่าแกไม่ต้องไปหาที่อื่นหรอก หาแกวงในบ้านเรานี่แหละ พูดจากันง่ายดี คนรู้จักทั้งนั้น แกวงทิดบวน บ้านใหญ่ ชื่อนี้ถือว่ามั่นคงเป็นอมตะจริงๆ
    คุณน้าๆรุ่นโน้นปัจจุบันก็ยังเห็นท่านเป่าแกกันอยู่

    นี่ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว คนบ้านเราก็เข้าใจว่าตัวเองนั้นไม่ใช่ลาวแน่ แต่ในแง่ภาษาศัพท์แสงต่างๆนั้นมีหลายคำมากที่สืบสาวไปถึงที่มาแล้วจะพบว่า มีคำภาษาลาวปะปนอยู่จำนวนมาก อย่างคำว่าแกนี่คนบ้านเราก็ใช้ตรงกันกับที่คนลาวใช้

    บ๊อก

    ส้วมโบราณหน้าตาเป็นอย่างไรใครไม่ทันได้เห็นก็ขอให้เข้าไปดูที่เวทีคนหนองบัว ในหัวข้อเรื่องสุขาภิบาลและสาธารณสุขชุมชนบ้านตาลินของอาจารย์วิรัตน์ได้ ก่อนจะมีส้วมซึมดังปัจจุบันนั้น สมัยก่อนคนโบราณก็ใช้ส้วมหลุม นั่งถ่ายตามป่าละเมาะข้างบ้าน นั่งถ่ายตามทุ่งนาใกล้บ้าน

    ที่หนองบัวตามหมู่บ้านต่างๆ ก็จะทำบ๊อก(ส้วมหลุม)ไว้ในอาณาบริเวณริมรั้วบ้านที่ห่างไกลบ้านคนเพื่อป้องกันกลิ่น ตรงสุดเขตแดนที่ดินส่วนใหญ่จะทำบ๊อกติดกับสอก(ทางเกวียนในชุมชนหมู่บ้านเรา)

    ลักษณะบ๊อก พื้นที่สำหรับทำบ๊อกก็ใช้กว้างวา ยาววา(๒ เมตร) ขุดเป็นหลุมลึกสักเมตรโดยใช้ไม้ ๔ เสา ความสูงของพื้นประมาณแค่เอว ใช้ปีกไม้ทำพื้นเป็นร่องห่างๆ ด้านข้างล้อมปะด้วยใบตาล ตับคา ตับแฝก ด้านบนเปิดโล่ง

    เวลาถ่ายเมื่อมีฝนตกลำบาก กระดานบ๊อกก็ลื่น คนก็เปียก จะรอให้ฝนหยุดก่อนก็ไม่ไหวนะพี่น้อง ปวดมากจริงๆ ประตูบ๊อกก็เปิดตลอด แต่จะมีใบตาลหรือตับแฝกเตรียมไว้ให้คนที่เข้ามาถ่ายอุจจาระใช้วางกั้นบังช่องประตูเพื่อบอกให้คนภายนอกที่จะมาใช้บริการได้รู้ว่ามีคนอยู่ข้างใน

    จำนวนผู้ใช้ก็เป็นหมู่ญาติพี่น้องที่อยู่ในรั้วเดียวกัน ห้าหลังคา สิบหลังคา หรือมากกว่านั้นก็มี เด็กๆ มักจะแกล้งกันเวลามีเพื่อนเข้าไปนั่งถ่าย ไม้ขว้างใส่บ้าง ยิงหนังกะตี๊กใส่บ้าง โดยไม่ต้องการให้ถูกหรอก แค่ให้ไปตกในบริเวณใกล้ๆ ก็พอ เจอไม้นี้เข้าไปเล่นเอาเพื่อนที่กำลังปลดทุกอย่างสบายอารมณ์ก็สะดุ้งตกกะใจนะซิ

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    เหตุการณ์บ้านเมืองเราขณะนี้มีความรุนแรงทำลายทำร้ายกันด้วย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม คือคิดเห็นต่างกันแบ่งข้างแบ่งฝ่าย แบ่งขั้วกัน และก็นำมาซึ่งการทำลายกันเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงนัก เป็นบาดแผลทางใจในสังคมที่ลึกและสะสมไปอีกนาน

    แวะไปที่ราชประสงค์นิดนึงแล้วก็กลับมาที่เดิมคือการเรียนรู้ภาษาลาวจากพจนานุกรม ๓ ภาษา ที่เขียนโดยคนห้วยปลาเน่า(สมบัติ ฆ้อนทอง) มีคำศัพท์ที่น่าศึกษาเรียนรู้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ด้วยตอนนี้ในสังคมมีคนพูดถึงการสำรวจความคิดเห็น,ประชามติ,โพล การใช้อาวุธก่อเหตุรุนแรงรายวันต่างๆนานา จึงขอเสนซัก ๒ ศัพท์ที่เข้ากับเหตุการณ์ ดังนี้

    ๑. ก่านส่ำหลวดหั่วคิด - การสำรวจความคิดเห็น,ประชามติ(poll)
    ๒. ก่ะโพก - ประทัด (firecracker) รายงายข่าวแจ้งว่ามีประทัดยักษ์ด้วยแหละ

    สันติภาพในใจคือการไม่โกรธ ไม่เกลียด ไม่อาฆาต ทุก ๆ ฝ่าย

    อนตฺถชนโน โกโธ = ความโกรธก่อความพินาศ
    (องฺ.สตฺตก.๒๓/๙๙)
    ไม่หักห้ามความโกรธมันโหดหาม      ย่อมสร้างความพินาศอนาถหนอ
    ประทุษจิตผิดอย่างไม่รั้งรอ              กระโดดก่อสร้างกรรมแล้วทำลาย
    พระท่านสอนวอนสอนสั่งระวังโทษ     ละความโกรธลงบ้างให้ห่างหาย
    ใจเป็นสุขทุกข์บ้างก็จางคลาย          ที่มุ่งร้ายกลับมาเมตตากัน
    (พระพิพัฒน์ปริยัตยานุกูล)
    หมายเหตุที่มาของพระบาลี :  อังคุตตรนิกาย สตฺตกนิบาต (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ ข้อ ๙๙)

    น  หิ  สาธุ  โกโธ =  ความโกรธไม่ดีเลย
    อันความโกรธโทษนี้ชี้เฉลย          ไม่ดีเลยแปรจิตเป็นมิจฉา
    ถึงฆ่าฟันกันตายวายชีวา              เพราะโกรธาบาปชั่วเป็นตัวการ
    ดังกองไฟใส่สุมที่รุมเผา               จิตร้อนเร่ามุ่งร้ายหมายประหาร
    คนแท้แท้แปรพักตร์เป็นยักษ์มาร   เปลี่ยนสันดานวิปริตผิดมนุษย์
    (พระพิพัฒน์ปริยัตยานุกูล)
    ที่มาพระบาลี ขุททกนิกาย ฉักกนิบาต พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ข้อที่ ๑๘๘

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    วันนี้มาเรียนรู้ภาษาลาวจากพจนานุกรม ๓ ภาษาของ(สมบัติ ฆ้อนทอง)กันต่อ
    คำศัพท์ที่จะเสนอต่อไปนี้หลวงอารู้สึกคุ้นๆ มากเลย เด็กบางคนเวลาเราถามความต้องการของเขาหรือเราจะให้อะไรแกสักอย่างหนึ่ง หนูน้อยเธอก็เอาแต่สั่นหัวหรือแกว่งหัวอย่างเดียว ทำให้เราพลอยปวดหัวไปด้วย คนบ้านเราน้าจะคุ้นนะแกว่งหัวเนี่ย
    ส่วนศัพท์ แตกี้แตกอน ขอฝากคุณเสวกช่วยอธิบายและยกตัวอย่างประกอบมาให้พี่น้องบ้านเราดูสักประโยคสองประโยคเด้อ จะขอบคุณหลาย
    ๑.แกวง/แกงหัว     สั่นศีรษะ,ส่ายหน้า shake oneۥs head
    ๒.กี่ล้าดึ่งเซื้อก      กีฬาชักเย่อ tug-of-war, locked in a seesaw struggle
    ๓.กี้, แตกี้แตกอน  ครั้งก่อน,เวลาผ่านมาแล้ว in the past, previous

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    ตอนนี้พี่น้องเรา(ประชาชน)ที่มาชุมนุมกันที่บางกอกประมาณสองเดือนกว่าๆก็ได้เดินทางกลับบ้านหมดแล้ว ก็มีหลายคนอยู่เหมือนกันที่มาบางกอกครั้งนี้เป็นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายด้วยเพราะไม่สามารถเดินทางกลับบ้านกับเขาได้ เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจไม่น้อยเลย หวังว่าการสูญเสียครั้งนี้จะก่อให้เกิดสิ่งดีในบ้านเมืองเรา

    ต่อไปก็เข้าเรื่องของเรา วันนี้จะเสนอภาษาลาวที่เขียนโดยคนห้วยปลาเน่า(สมบัติ ฆ้อนทอง) สักสามศัพท์และเป็นศัพท์ที่เกี่ยวกับหนองบัวและเป็นความรู้อื่นๆประกอบกันรับรองว่ากลุ่มพริกเกลือรู้จักแน่ศัพท์นี้
    ๑.ขี่สิก/สิก  น้ำครำ-คนหนองบัวเรียกว่าน้ำขี้กรีด(น้ำครำใต้ถุนบ้าน) slosh,slush
    ๒.เขดฮางไก๋ซอกหลีก ท้องถิ่นทุรกันดาร-หนองบัวบ้านเรานั้นบ้านน้อก บ้านนอก บ้านหนองบัวก็จัดเป็นเขดฮางไก๋ซอกหลีกด้วยประการฉะนี้ faraway locol
    ๓. ขํมู้นไม่,ญกล่ะดั๋บ (อ่านว่าข้อมูลใหม่) ทำให้ทันสมัย (update-อัพเดท)ศัพท์นี้ชอบมากเลยคนไทยมักพูดกันว่าอัพเดทๆเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง แต่เมื่อเห็นคำแปลจากภาษลาวแล้วทำให้เข้าใจความหมายดีขึ้นหรือง่ายขึ้นมาทันที เขาแปลว่า ทำให้ทันสมัย,ยกระดับ เป็นคนเรียนรู้ติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างทันเหตุการณ์คือการไม่ตกข่าวนั่นเอง นี่คืออานิสงส์จากการเรียนรู้ภาษาลาว
    สบายดี

    เจริญพรคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    อาทิตย์ที่ผ่านมาบ้านเมืองเราประสบกับภาวะการสูญเสียบาดเจ็บและบ้านช่องทรัพย์สินถูกทำลายไปเป็นจำนวนมาก เพราะความคิดเห็นต่างกันแค่นั้นเอง สังคมต้องอยู่ในความแตกต่างได้จึงจะงดงาม ยิ่งระบอบประชาธิปไตยด้วยแล้ว ต้องเคารพในความต่างคือยอมรับฟังความเห็นต่างได้ ต้องใจกว้าง หนักแน่น พูดง่ายๆตามภาษาพระก็คือต้องใช้ปัญญาแก้ไขปัญหาและอย่าขาดเมตตาธรรม
    ช่วงนี้ยังมีเคอร์ฟิวอยู่หลวงอาก็เลยนำเพลงโอ้โฮ นี่หรือบางกอกมาฝาก คิดว่ายังไม่ล้าสมัยหรอกนะ

    โอ้โฮ นี่หรือบางกอก
    ผิดกับบ้านนอก ตั้งหลายศอก หลายวา
    เผากัน ยิงกัน วุ่นวาย
    แต่ฉัน ขอเลี้ยงควาย อยู่ตามท้องนา
    รถถังแล่นกันมากมาย มากกว่าฝูงควาย ฝูงวัวบ้านนา
    ทุกคืนเดินกันขวักไขว่ วันนี้ไปไหน ไม่เห็นใครเลยหนา(ติดเคอร์ฟิว)

    ขอเรียนเชิญพี่น้องชาวชมรมพริกเกลือคลับทั้งที่อยู่ในระยองและต่างจังหวัดทางชมรมพริกเกลือได้ทำการจัดงานเลี้ยงสายสัมพันธ์

    พริกเกลือคลับครั้งที่ 1 ในวันพฤหัสบดี ที่ 27/5/2010 ณ สวนอาหารเรือนแก้ว จังหวัด ระยอง เริ่มงานเวลา 18.00 น.เป็นต้นไป

    พี่น้องที่ไม่ได้อยู่ในจังหวัดระยองสนใจร่วมงานติดต่อได้ที่ [email protected] เบอร์โทร 089-9070915 (เอ็ม)

    Intimate dinner

    NongBua.Club

    สวัสดีพี่น้องชาวพริกเกลือคลับทุกท่าน

    ขอเชิญพี่น้องทุกท่านร่วมงาน

    สายสัมพันธ์พี่น้อง

    ชมรมพริกเกลือครับ ครั้งที่ 1

    ในวันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤษภาคม 53

    ณ ร้านอาหารเรือนแก้ว

    เวลา 18.00 น.

    ต้องขออภัยพี่น้องทุกท่านที่อาจจะ Communicate ไม่ทั่วถึงถ้าพี่น้องมีพี่ๆเพื่อนๆน้อง ที่ยังไม่ได้รับข่าวสารหรือ Tel จากพวกผมช่วยสื่อสารต่อให้ด้วยครับ

    อยากให้มากันพร้อมหน้าจริงๆครับ

    By พริกเกลือรุ่นเล็ก(M,เบียร์,เจน,ปู,รงค์)

    รบกวนพี่ๆ Confirm กลับได้ที่

    น้อง M mobile: 089-9070915 [email protected]

    น้อง เบียร์ Mobile: 086-2023251 [email protected]

    น้องปู Mobile: 085-0708219 [email protected]

    น้องรงค์ Mobile: 089-9301750 [email protected]

    เจริญพรคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    วันนี้เจ้าของบ้านไม่อยู่ ได้มีพี่น้องชมรมพริกเกลือคลับมาปรากฏนามกันมากหน้าหลายตาเลยทีเดียว
    ก็ขอสวัสดีคุณเอ็มคุณเบียร์คุณเจนคุณปูคุณรงค์แทนเจ้าบ้านไปก่อนก็แล้วกัน
    ในฐานะคนหนองบัวที่อยู่ต่างจังหวัดก็รู้สึกดีใจที่เห็นการรวมกลุ่มกันของคนหนองบัว
    อาตมาอยู่ที่วังทองพิษณุโลก อยู่มาหลายปีแล้วยังไม่เจอคนหองบัวเลยแม้แต่คนเดียว อยากจะตั้งชมรมกับเขาเหมือนกันแต่ติดขัดตรงไม่สมาชิกเลยนี่แหละ
    ขอสนับสนุนการจัดงานเลี้ยงสายสัมพันธ์กลุ่มพริกเกลือคลับครั้งที่ ๑
    ใครมีกิจกรรมอะไรก็แจ้งผ่านคุณเสวกในบล๊อกนี้ได้ จะทำให้บล๊อกนี้ได้มีการเคลื่อนไหวบ้าง อย่างวันนี้ก็น่าดีใจที่กลุ่มพริกเกลือในระยองได้ใช้ช่องทางตรงนี้สื่อสารบอกกล่าวกัน
    ขอให้การจัดครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหวังทุกประการ

    เจริญพรคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    ไม่ทราบว่าเรื่องนี้เคยเขียนหรือยัง ถ้าซ้ำอย่าว่ากันเด้อ หลวงอาซื้อพจนานุกรม ๓ ภาษา(ลาว-ไทย-อังกฤษ)จากร้านหนังสือ ศูนย์หนังสือจุฬาฯที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เขียนโดยคนห้วยปลาเน่า(สมบัติ ฆ้อนทอง) ด้วยเหตุผลง่ายๆเพราะเห็นชื่อประวัติผู้เขียนบอกไว้ที่ปกหลังว่า ถิ่นเกิด : ต้นน้ำเจ้าพระยาที่อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

    เห็นแค่ถิ่นเกิดนี้ตัดสินใจซื้อทันที(ราคาเล่มละ ๒๕๐ บาท)๒เล่ม อธิบายต่ออีกว่านานมากแล้วที่แสวงหาข้อมูลเรื่องราวในหนองบัว แต่ไม่เคยพบเลย คิดในใจไว้ว่าไม่ว่าคนหนองบัวจะเขียนเรื่องอะไร วิชาการ หรือเรื่องท้องถิ่น ประวัติชุมชน ประเพณีวัฒนธรรมหรืออื่นๆ ต้องซื้อเก็บไว้ศึกษาเรียนรู้ จนมาปี ๒๕๕๒ ได้มาพบหนังสือถ้อยเสียงสำเนียงลาว(พจนานุกรม ๓ ภาษา) เล่มนี้ถือเป็นเล่มแรกที่หลวงอาพบเจอในร้านหนังสือ

    แต่เมื่ออ่านไปศึกษาไปเรื่อยๆได้ความรู้อย่างมาก โดยเฉพาะคำศัพท์บางคำที่มาตรงกับภาษาที่คนบ้านเราพูดกันอยู่ ยิ่งเลยเห็นประโยชน์ว่ามีมากจริงๆ หลายคำในพจนานุกรมเราเองก็ไม่รู้เรื่องเลยจริงๆ
    เมื่อพบคำศัพท์ที่คนบ้านเราใช้พูดกันและฟังรู้เรื่องเข้าใจ ก็จะนำมาฝากกันเรื่อยๆ

    วันนี้เสนอภาษาลาวที่คนหนองบัวน่าจะพอรู้จักเทียบเคียงกันได้ คือคำว่า
    ๑.ข่ะหมวย,ขวยดิ่น ภาคกลาง ขุยดิน (fuzz,debris) คนบ้านเราเรียกขมุยดิน-ดินขมุย(ขหมุย) จะเห็นว่าคนบ้านเราออกเสียงคำนี้ใกล้เคียงกับคนลาวมาก ลองหาคำนี้ในพจนานุกรมก็ไม่มี ตัวแมงที่ขุดรูอยู่ตามกองขี้ควายคนบ้านเราเรียกว่าตัวขมุยขี้ควาย(พิษณุโลกเรียกแมงขี้เบ้า)วิกิพีเดียเรียกว่า แมงซู่ซ่าเขาว่ากินอร่อยแต่หลวงอาไม่เคยกิน
    คำนี้คนบ้านเราเรียกไม่เหมือนใครทั้งในภาคกลางและที่อื่นๆเลย แต่กลับไปพ้องหรือใกล้เคียงกับภาษาลาว
    คนบ้านเราใช้เรียกอะไรบ้าง ขมุยขี้ควาย ขี้ขมุยไส้เดือน(ตามหัวขี้แต้) ขี้ขมุยมด ถ้าไปหาแย้ที่ป่าเหนือเขาพระ เขามรกต เจอรูแย้ที่มีขี้ขมุยใหม่ๆที่ปากรู้ ก็เป็นอันว่ามีแย้อยู่แน่ลงมือขุดได้เลย

    ขอขอบคุณที่เรียนเชิญสมาชิก กลุ่มพริกเกลือ ทุกคน ส่วนผม Confirm เเน่นอนครับ เเละขอบคุณน้องๆ พริกเกลือรุ่นเล็ก(M,เบียร์,เจน,ปู,รงค์) ที่จัดงานครั้งนี้ครับ

    ใครไปบ้างครับผมจะได้ติดรถไปด้วย

    แจ้งข่าวครับผมตอนนี้งานเตรียมความพร้อมประมาณ 90 % ครับ เหลือเวลาที่จะระเบิดความสนุกสนานกับรุ่นพี่รุ่นน้องครับ วันนี้ถึงร้านจะหรู่แต่เราก็มีเมนูทีเด็ด

    "แกงพริกเกลือผักหวาน"ซึ่งเป็นทีเด็ดของเมนูวันนี้ครับโดยแม่พรแก่นนำแม่บ้านหมู่12หนองกลับ(บ้านเนินขี้เหล็ก)ด้วยตนเองอร่อยไม่อร่อยคนแถวนั้นรู้ดีคร็บๆๆๆๆๆๆ

    Narong Inthachit

    ผมต้องไปเตรียมงานและจัดสถานที่แล้วครับ

    เด๋วจะรวบรวมภาพความประทับใจมาฟากพี่น้องครับผม

    Narong Inthacit...

    กราบนมัสการหลวงอา มหาแล ขำสุข และพี่น้องชาวพริกเกลือ

    แหมวันนี้คึกคักน่าดูที่มีหลายท่านที่หายหน้าหายตาต่างก็มา แสดงตนและไม่ประสงค์ออกนาม ที่มาแจ้งข่าวการรวมกลุ่มของชาวพริกเกลือ นานแล้วที่ไม่ได้หมึ่าข้าวพร้อมกัน วันนี้มี น้าพร-น้าทิดวิน ยังเป็นแม่ครัวโชว์แกงพริกเกลือผักหวานให้น้องๆฝากคุณ Narong Inthacit ถ้ามีภาพอย่าลืมมาฝากด้วยนะครับ เสียดายจังวันนี้ไม่ได้ไปร่วมโอกาศยังมีเราคงได้ร่วมกิจกรรมกันนะครับ

    ย้อนกลับไปที่ความคิดเห็น 180 อ่านแล้วหัวร่อ(หัวเราะ)แทบไม่หยุด บ้านเมืองร้อนเป็นไฟอยู่กรุงเทพจะออกไปไหนทีต้องคอยระวังตลอด อย่างไรก็ขอให้ทุกท่านกลับมารักกันเช่นเดิมให้สมกับคำว่าสยามเมืองยิ้มครับ

    เมื่อคืนสนุกมากเลยคร้าบ

    กิจกรรมสายสัมพันธ์พี่น้อง ชมรม พริกเกลือคลับครั้งที่1   ได้จัดขึ้นมาอย่างเป็นท่างการแล้ว ในวันงานมีการเสนอแนวทาง และลงทะเบียนพร้อมเปิดตัวเหล่าสมาชิก

    เนื่องจากว่าเราต่างมาอยู่ร่วมกันก็จริงพราะมีตั้งแต่รุ่นใหญ่และรุ่นเล็กก็ต้องมีการนัดรวมตัวกัน พร้อมทั้งมีการร่วมวงกินกินข้าว โดยที่ขาดไม่ได้คือเมนูนี้มีแกงพริกเกลือหม้อใหญ่จาก น้าพร อดีตประทานแม่บ้านหมู่ 12 หนองกลับ แห่งบ้านเนินขี้เหล็กขอทางร้านอาสาเข้าครัวเอง

    งานนี้พี่น้องๆพุงกางตามๆกันครับ

    นมัสการหลวงอา สวัสดีพี่ชาวพริกเกลือทุกคน

    ผมอใด้เห็นการรวมตัวของคนหนองบัวแล้วอยากเหนภาพกิจกรรมในวันนั้น

    ว่ามีสมาชิกมาร่วมงานมากแค่ใหนและอยากเห็นภาพกิจกรรมในวันนั้นอยากให้พี่ๆ

    โพสรูปใหหน่อยครับ

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    ขอแก้ไขคำผิด จากคห.๑๑๗(๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๒) บรรทัดที่สามที่สี่ มีข้อความดังนี้ "สาวกเบื้องซ้ายพระสารีบุตร สาวกเบื้องขวาพระโมคคัลลานะ (พระสาวกฝ่ายชาว)"
    แก้เป็น สาวกเบื้องซ้ายพระโมคคัลลานะ สาวกเบื้องขวาพระสารีบุตร (พระสาวกฝ่ายชาย)
    เรื่องนี้เคยนำไปเทศน์ แต่เมื่อนำมาเขียนแล้ว กลับเขียนสลับที่กัน

    เจริญพรคุณ แป๊ะ แก๊ส และชาวพริกเกลือทุกท่าน

    หลวงอาเห็นด้วยกับคุณแป๊ะ แก๊ส เลยนะ ที่เรียกร้องสมาชิกชมรมพริกเกลือคลับ ท่านใดก็ได้ที่มีรูปถ่ายบรรยากาศ งานวันรวมพลคนกินแกงพริกเกลือครั้งที่หนึ่งที่ผ่านมา ให้นำรูปพาโพสต์ไว้ในที่นี้เพิ่มเติมจากที่คุณเสวกนำมาฝากไว้แล้วส่วนหนึ่ง เพื่อให้เพื่อน ๆ และคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้ไปได้เห็นบรรยากาศ วันงานแบบคนกันเอง ก็ขอฝากไว้ใครมีเวลามีรูปสะดวกเมื่อไร ก็เชิญนำมาลงตามคำเรียกร้อยของคุณแป๊ะ แก๊ส ได้ตามอัธยาศัย

    เข้าพรรษานี้ผมมีขนมห่อมาฝากพี่น้องชาวหนองบัวครับ

    สวัสดีค่ะ

    ตามมาเพราะเห็นคำว่าพริกเกลือ

    นึกว่าเป็นการทำพริกเกลือสมัยที่ยากยากหมากแพง

    หลังสงครามโลก ที่แท้เป็นชมรมนี้เอง

    เห็นสายสัมพันธ์ น้องพี่แล้ว แน่นแฟ้นนะคะ

    รู้สึกยินดี เป็นความรู้สึกที่เคยมีเมื่อเพื่อนพ้องน้องพี่มากันเยอะๆแบบนี้

    ขอบคุณค่ะ

    กราบสวัสดีครับคุณครูต้อย ที่แวะมาทักทาย

    ชมรมพริกเกลือ ในที่นี้ได้มาจาก พริกเกลือซึ่งเป็นของคู่ครัวคนหนองบัวมานาน จะว่าไปแทบจะทุกบ้านมักจะทำติดไว้เพื่อประกอบอาหาร ส่วนที่มาของ ชมรมนั้นเพื่อให้ลูกหลานหนองบัวที่จากบ้านไปทำงานต่างถิ่น ได้เกิดการปรองดองสามัคคีกัน เมื่อคนหนองบัวได้กลับบ้านเกิดก็มักจะมีพริกเกลือติดมือไป ฝากกัน ดูแล้วอาจจะเป็นเรื่องขำๆครับ

    พริกเกลือบ้านหนองบัว จะมี ปลาร้าสับ พริกป่นคั่ว ใบมะกรูดอ่อน หัวหอมแดง บางบ้านชอบรสเปรี้ยว ใส่มะขามเปียกโขลกให้เข้ากัน กินกับผักดิบได้ หรือหมก แกง กับผักท้องนาได้ทั้งนั้น ผมเองเคยให้รุ่นน้องเข้าไปถามใน กูรู ก็ได้ความรู้ใหม่ๆมากเลยครับ

     

    พริกเกลือในแต่ละภาคเค้าเรียกอะไรกัน - มีคำตอบ - กูรู

    ได่อ่านแล้วคิดถึงบ้านจัง ที่นครพนมนะคงจะเหมือนกันกะมัง ฮ่าฮ่า

    เอาด้วยคนนะเพ่สุดๆๆๆๆๆๆๆๆๆไปเลยคนบ้านเฮา ฮ่าฮ่าฮ่า

    ขอบคุณครับ คุณหนุ่ม ภูไท หนุ่มนา นครพนม ว่างๆมีอะไรที่บ้านเกิดเข้ามาเขียนให้ฟังบ้างนะครับ

    เห็นขนมห่อน้ำลายใหลจังเลยพี่

    • หลวงอามาบอกว่าเสียดายมากเลย ที่ไม่ได้ดูรายการทุ่งแสงตะวัน ในวันนี้(๑๑ กันยายน ๒๕๕๓)ที่ทางรายการนำเสนอเรื่องดอกอุ้มน้อง ผักป่าจากหนองบัวบ้านเรา
    • ใครที่ได้ดู จะนำมาบอกเล่าต่อในที่นี้บ้างก็ได้นะ

    ว่าไปแล้วก็ไม่ได้ทานแกงพริกเกลือนานเท่าไหร่แล้ว คิดถึงบ้าน คิดถึงอาหารพื้นบ้านของชาวหนองบัว อย่างแกงพริกเกลือจัง

    กราบนมัสการพระคุณเจ้า หลวงอามหาแล ครับ รายการทุ่งแสงตะวันเรื่องราวของดอกอุ้มน้องเด็กๆลูกลานนำเสนอดอกอุ้มน้องผ่านสื่อรายการได้อย่างยอดเยี่ยมเลยครับ เมื่อมองจากภาพโดยรวม ป่าที่กำลังชุ่มฉ่ำ มองแล้วทำให้มีเสนห์คงความเป็นหนองบัวอย่างครบถ้วนถึงแม้จะไม้ใหญ่ให้เห็นมากนัก แต่สิ่งเล็กๆจากพืชพรรณที่สัมผัสเห็นได้ยังบ่งบอกความเป็นหนองบัวได้ครบ ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแม้แต่ตัวผมเองเมื่อเดินเข้าไปก็จะไม่นึกกลัวสิ่งใดที่จะเป็นอันตราย หาของป่าหน่อไม่ เปาะ ผักหวาน ดอกอุ้มน้อง และอื่นๆรวมถึงเข้าไปจับอึ่งตอนกลางคืนสามรถเดินเข้าไปได้อย่างสบายใจ เพราะงูเงี้ยวเขี้ยวขอนไม่ค่อยมีชุกชุมเท่าไรหลวงอาเองก็มีประสบการอย่างนั้นเช่นกัน

     ก็ขอขอบคุณรายการทุ่งแสงตะวันที่เข้ามาเปิดโอกาศให้น้องๆได้นำเสนอสิ่งที่มี่ค่าที่ธรรมชาติสร้างมาให้เพื่อให้มีคุณค่าเพิ่มอีกมากขึ้นอย่างน่าภาคภูมิใจครับ

     

    สวัสดีครับคุณสถิต ภู่สอน

           ที่ให้เกียรติแวะมาเยี่ยมเยื่อนกันที่นี่ ผมเองได้เคยนำภาพไรมันเขาสูงของคุณสถิตที่ส่งมาให้ฝากมานำเสนอหลายท่านคงได้ชมกันบ้างแล้วและหวังเป็นอย่างยิ่งเราคงได้ชมผลงานของคุณสถิตกันบ้างนะครับทุุกอย่างเรานำความรู้อย่างที่ท่านอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ บอก เรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษากันครับ

    เจริญพรคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    • เมื่อตอนเย็นนี้(๑๗ ก.ย.๒๕๕๓)หลวงอาได้เข้าไปดูรายการทุ่งแสงตะวันแล้ว เน็ตช้าสะดุดบ้าง หยุดไปบ้างแต่ก็ดูจนจบนั่นแหละ
    • ลูกหลานของเรานำเสนอได้ดีมากๆ พูดคล่องพูดเก่ง ไม่มีตื่นกล้องเลย เยี่ยมมาก
    • เพลง เจ้าดอกอุ้มน้อง : โดย พจนาถ พจนาพิทักษ์ ก็เพราะดีมากทั้งเนื้อหาและทำนองเพลง
    • ตั้งใจว่าจะให้พระที่วัดที่ท่านโหลดเป็นช่วยโหลดให้จะเก็บไว้ดูและนำไปเผยแพร่ที่บ้านหนองบัวอีกครั้ง
    • ถ้าจำไม่ผิดเคยเขียนถึงดอกอุ้มน้องนี้ตั้งแต่ปีที่แล้ว หลวงอาจำได้ว่าคุณเสวกก็เคยเขียนเหมือนกันแต่อยู่ตรงไหน ยังนึกไม่ออก
    • ประสบการณ์ที่ป่าเหนือ(เขาพระ เขามรกต เขาสูง ฯลฯ) หลวงอามีไม่มากเท่าไหร่เลย มีประมาณว่าหาหน่อไม้ที่เขาสูง เลี้ยงควายหน้าน้ำ หมกดอกอุ้มน้องกินกันในป่าอร่ยอมากๆ
    • ส่วนการหาอึ่งนั้นไม่ใช่จำไม่ได้นะ มีประสบการณ์น้อยอย่างมากเลย น่าจะครั้งเดียวหรืออย่างไรนี่แหละ ไม่ทราบว่าทำไมจึงไม่ได้ไปกับเขา
    • อีกหนึ่งอย่างที่จำได้คือการตัดไม้ ตัดฟืนมาเผ่าถ่านที่บ้าน
    • เด็กๆพูดถึงผักเปาะด้วย ไม่ทราบคนรุ่นปัจจุบันรู้จักไหม คนรุ่นหลวงอานั้นยังจำได้อยู่ของพวกนี้
    • ภาพที่คุณสถิตถ่ายไว้ในหน้าแล้ง(อ่างเก็บน้ำ,เขาพระ,ไร่มันสำปะหลัง) ชุดที่คุณเสวกนำมาโพสต์นั้น ได้บรรยากาศดีมาก แล้วภาพชุดนั้นนั่นเองทำให้อาจารย์วิรัตน์ท่านจำสภาพป่าเขาพระเขาสูงเมื่อ ๔๐ ปีที่แล้วไม่ได้เลยแหละ
    • ขอสนับสนุนคุณเสวกด้วยคน ที่บอกว่าใครมีข้อมูลความรู้เรื่องราวความทรงจำดีๆจากประสบการณ์ในหนองบัว ก็นำถ่ายทอดเขียนเล่าสู่กันฟังบ้างก็จะดี
    • เห็นเด็กบ้านร่องดู่โรงเรียนบ้านหนองไผ่และชาวบ้านช่วยกันปลูกอนุรักษ์ดอกอุ้มน้องแล้ว ก็ดีใจ ชื่นใจ
    • ดอกอุ้มน้องผักป่าหนองบัวบ้านเรา ได้รับคำชมอย่างมากว่า เป็นผักที่มีรูปงาม นามเพราะ

     

    บุญข้าวเม่า

    • บุญข้าวเม่า(สารทไทย)ผ่านไปสองสามวันแล้วเนาะ คุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือที่กลับบ้านคงได้พบเห็นบรรยากาศงานบุญบ้านเรากันไปแล้ว
    • ส่วนหลวงอานั้น ไม่ได้กลับไปงานบุญข้าวเม่านี้นานมากๆแล้ว ปีนี้ได้ข่าวจากน้องสาวว่าในกลุ่มบ้านญาติของหลวงอาประมาณสิบกว่าหลังคาเรือนที่บ้านเนินตาโพ มีญาติๆกันแค่สองเจ้าเท่านั้นที่กวนข้าวเม่า(ตำข้าวเม่า-กระยาสารท) นอกนั้นคงซื้อจากตลากนำไปทำบุญ ไม่ทราบว่าเด็กๆยังนำข้าวเม่าที่ซื้อจากตลาดไปให้ปู่ย่าตายายเหมือนเมื่อก่อนที่ทุกบ้านกวนข้าวเม่ากินเองหรือไม่
    • วันนี้หลวงอาขอนำบรรยากาศในท้องทุ่งนาและในหมู่บ้านหนองบัวเราเมื่อสามทศวรรษมาฝากให้อ่านกันสักเล็กน้อย คงมีหลายท่านแน่เลยที่เกิดไม่ทันได้เห็นบรรยากาศนี้ ส่วนเรื่องราวจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เชิญเข้าสู่บรรยากศได้ ณ บัดนี้
    • หน้านี้ เป็นหน้าทำนา หน้าดำนา(เดือน ๗ ถึงเดือน ๑๐, พฤษภาคม-กันยายน) เมื่อสามสิบปีที่แล้ว ชาวบ้านหนองบัวส่วนใหญ่จะดำนากัน คนที่มีนาอยู่ไกลบ้าน ก็จะไปนอนนากันด้วย  
    • ในท้องทุ่งนา จึงคึกคัก เต็มไปด้วยบรรยากาศแห่งกิจกรรม การไถ คราด ตีคลุบ ทำเทือก ถอนกล้า ปักดำ ดำนา ยกหัวคันนา เสียงคนไล่ควายไถนา ที่นาติดกัน หรือนาห่างออกไป ดังก้องมาตามสายน้ำ  ยิ่งการตีขลุบทำเทือกที่มีน้ำเยอะๆด้วยแล้ว เสียงขลุบตีน้ำโล๊ะๆ ๆ อู้ ๆ ๆ ดังไปทั่วท้องทุ่ง
    • ในหน้าทำนานี้ ในชุมชนหนองบัวมีประเพณีท้องถิ่นอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับระบบการผลิต นั่นก็คือประเพณีการช่วยคู่ดองดำนา
    • ชายหนุ่มที่มีคู่ดองเมื่อถึงหน้าทำนา ก็จะแสดงน้ำใจด้วยการอาสาไปช่วยคู่ดองของตน และประเพณีนี้นั่นเอง จึงเกิดมีภาษาเฉพาะถิ่นที่ใช้เรียกเครื่องมือทางการเกษตรและกิจกรรมดังกล่าวขึ้นมา เช่น ไถอาสา แขกอาสา(อาสาช่วยคู่ดองดำนา-เกี่ยวข้าว) แขกทุ่มคู่ดอง-ดำนา เกี่ยวข้าว รวมทั้งเจ้าทุยเพื่อนรักของเราก็เป็นพี่ทุยอาสาไปด้วย เพราะต้องนำไปไถนาให้คู่ดอง
    • ก่อนถึงบุญข้าวเม่าสักสองวันพระ(สองสัปดาห์) ช่วงนี้เป็นช่วงที่ใกล้สิ้นสุดฤดูกาลทำนา เพราะเป็นปลายฝน ต้นหนาวแล้ว อีกสองเดือนกว่า ๆ ก็จะถึงหน้าเกี่ยวข้าว
    • ฉะนั้นต้องดำนาให้เสร็จสิ้นก่อนบุญข้าวเม่า(สารทไทย)นี้ หรือถ้ายังทำไม่แล้ว หลังบุญข้าวเม่าก็ไปดำนาต่อสักวันพระ(สัปดาห์)ก็จะหยุด เมื่อแล้วนาแล้ว(ดำนาเสร็จ) ก็ยกกลับบ้าน เพื่อเตรียมหาของตำข้าวเม่ากัน
    • บุญนี้ทั้งเตรียมของทำข้าวเม่า ทั้งเตรียมของทำบุญ ครอบครัวที่ลูกชายมีคู่ดองก็จะเตรียมของให้ว่าที่ลูกสะใภ้ด้วย จึงเป็นเหตุให้หยุดยาวหลายวัน คนก็หยุดทำบุญกัน เจ้าทุยก็ได้หยุดพักงานในเทศกาลบุญนี้ด้วย
    • บ้านไหนมีฟาง ก็ผูกควายกินฟาง ไม่มีฟาง ก็หาเกี่ยวหญ้าเตรียมสำรองไว้ อย่างน้อยให้พอที่เจ้าทุย -วัวได้กินในช่วงวันหยุดสามสี่วัน
    • งานบุญนี้งัว ควายจะได้กินหญ้าคอมมะนิสต์มากที่สุด เพราะหญ้าหาง่าย  เกี่ยวก็ง่าย ก่อนงานสองสามวัน ก็ไปหาเกี่ยวหญ้ากันตามทุ่งนา ตามหัวปลวกมักมีหญ้าคอมมะนิสต์เยอะ เกี่ยวมัดฟ่อนหาบมาใส่เกวียน เข็นกลับบ้านใส่ยุ้งไว้บ้าง ไว้ใต้ถุนบ้านบ้าง หรือไม่ก็ไว้บนเกวียนนั่นเลย 
    • ข้าวเม่านับเป็นของหวานที่เก็บไว้ได้นาน และก็จะนำไปกินในที่ต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกแห่ง ไปเลี้ยงควายก็นำไปกินกันได้อย่างสะดวก และเมื่อนั่งรวมกันก็มักจะล้อมวงแลกกันกิน เป็นการชิมรสชาดของเพื่อนไปในตัว ชิมแล้วก็มักจะแสดงภูมิรู้ในเรื่องกระยาสารทว่า ของที่กินไปแล้วนั้นของใครแก่ อ่อน ขาดอะไร ไม่ถึงอะไรบ้าง เหล่านี้ เช่น แบะแซ มะพร้าว น้ำตาล ข้าวตอก ข้าวเม่าแข็ง ข้าวพอง
    • วัยสูงอายุจะชอบข้าวเม่าแบบร่วนๆไม่เหนียวมาก ส่วนวัยรุ่นก็จะชอบชนิดที่แก่แบะแซ เหนียวๆ เคี้ยวได้รสชาดถูกใจ ของใครมีส่วนผสมได้สัดส่วนดีกลมกล่อมอร่อย ก็จะได้รับคำชมและจะขายออก คือทุกคนจะมาช่วยกันกินนเจ้าที่อร่อยนี้จนหมดไปก่อนนั่นแหละ และก็มีหลายคนด้วยที่จะนิยมกินของคนอื่น เป็นการแลกเปลี่ยนของกินและได้ลิ้มรสชาดที่แปลกจากของตัวเองไปด้วย และการกินของเพื่อนนั้นก็มักจะรู้สึกว่ามันได้รสชาดอร่อยดีเสียด้วยนะ น่านมันเป็นยังงั้น.

    กราบนมัสการพระคุณเจ้าพระมหาแล ขำสุข อาสโย

    บุญข้าวเม่า ปีนี้ถึงแม้ชาวบ้านจะกวนกระยาสาทรกันน้อยลงแต่การปฏิบัติต่อประเภณีนั้นยังคงเดิมอยู่ สมัยนี้ชาวบ้านกวนขายกันมากขึ้นเนื่องจากของสวนประกอบต่างๆมีราคาแพงชาวบ้านมักนิยมซื้อมากกว่าเพราะราคาไม่แพงนัก

    บุญข้าวเม่าเสร็จแล้ว ข้าวเริ่มตั้งท้องพอดี ชาวบ้านก็ทำชลอม เย็บผ้าขาวแดงปักเป็นธง ในชลอมก็มีขนมหวานขาดไม่ได้ก็ข้าวเม่าเพราะทุกบ้านมีอยู่แล้ว ยอดอ้อย หมากพลู เครื่องประดับเช่นแหวน แป้งผัดหน้า ต่างๆ เพื่อทำการตั้งขัวญข้าว แต่งตัวให้กับแม่โพสพเทวีแห่งต้นข้าว ตั้งจิตอธิฐานขอพรจากแม่โพสพให้ได้ข้าวปลาสมบูรณ์ ส่วนแก้วแหวนนั้น เมื่อทำพิธีเสร็จแล้วก็นำกลับ     ที่มาของธงขาวแดงผมเคยถามคนแก่ๆเค้าเล่าว่าตามความเชื่อสมัยก่อนนั้น เป็นผ้าขาวชิ้นเดียวสมัยนั้นเสื้อผ้าไม่ค่อยมีสวมใส่ มีพระรูปหนึ่งออกเดินเที่ยวหาตามท้องนาของชาวบ้านเพื่อมาเย็บต่อกันนำไปย้อมสีเป็นจีวรห่ม  เนื่องจากแม่โพสพเป็นผู้หญิงจึงไม่พอใจข้าวในนาของชาวบ้านเลยไม่ได้ผลผลิต บางคนก็ว่าเป็นไม้สำหรับไล่นกไล่กาของแม่โพสพเพราะข้าวกำลังจะออกรวง   การตั้งขวัญนั้นต้องให้ผู้หญิงทำเท่านั้นครับ

    ช่วงนี้ไม่ไผ่ตง หรือไผ่บงกำลังอ่อนชาวบ้านก็ไปตัดที่เขาเพื่อมานั่งจักตอกเพื่อนำไว้มัดข้าว ฝนตกทีเด็กก็วิ่งช่วยกันเก็บกันวุ่นวายสนุกสนานดี แต่เดี๋ยวนี้มีรถเกี่ยวไม่ต้องลำบากเช่นสมัยก่อนครับ เด็กหนุ่มสมัยใหม่จักตอก-รัดข้าวไม่เป็นไปตามสมัย

    วันนี้ก็ว่าจะแกงพริกเกลือ ใครสนใจติดต่อกลับด่วน

    ชาวอ.หนองบัว ประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

    ตอนนี้บ้านเราประกาศเป็นพื้นที่อุทกภัยแล้ว

    โทรกลับหาทางบ้านกันด้วยเด้อ.........

    สวัสดีครับคุณ  Nursery Buddy หรือครูนก ครับ

    ที่มาแจ้งข่าวน้ำท่วมหนองบัวพร้อมทั้งส่งรูปมาให้ชมด้วย   พอทราบข่าวผมเองได้โทรกลับไปถามพ่อที่หนองบัว ได้ความว่า  ฝนตกหนักมาสองสามวันแล้ว  ตอนนี้อ่างเก็บน้ำคลองสมอแตกรับน้ำไม่ไหวได้ทะลักเข้าท่วมบ้านเรือนหนองบัว ตลาดแม้แต่ทางป่ารังก็ท่วมหมดแล้ว หลายปีมากแล้วที่หนองบัวยังไม่เคยเจอแบบนี้  ส่วนนาข้าวชาวบ้านไม่น่าไป็นห่วงนักเพราะข้าโตพ้นน้ำหมดแล้วกว่าจะเก็บเกี่ยวน้ำคงลดทันครับ

    สี่แยกหนองบัว

    บริเวณแถวหน้าบ้านผมเองครับ

    • หลวงอาเปิดอินเตอร์เน็ต เห็นบล๊อกพริกเกลือขึ้นหน้าโพมเพจ เลยคลิกตามไปดู โอ้โฮเจอน้ำท่วมหนองบัวตกใจเลย โดยเฉพาะสภาพน้ำท่วมสูงมากๆที่ ๔ แยกต้นอีซึก : ๔ แยกหนองบัว 
    • บริเวณสี่แยกนี้ถือว่าเป็นพื้นที่ที่สูงมากๆ แต่ดูจากถ่ายน้ำท่วมถนนเลยนะ
    • แล้วในตลาดหนองบัว หมู่บ้านในเมือง ซึ่งเป็นที่ต่ำ น้ำคงมากกว่าที่สี่แยกแน่นอน
    • ในภาพบ้านคุณเสวกก็เป็นที่สู่งเช่นกัน แต่น้ำท่วมมากจัง น้ำขึ้นสูงจนถึงครึ่งโอ่งใหญ่แล้ว ที่เห็นในภาพเป็นบ้านสองชั้นยกพื้นสูงปลอดภัย ส่วนบ้านยุคใหม่เป็นบ้านชั้นเดียว น้ำคงไหลเข้าท่วมบ้านมาก
    • ปรากฏการณ์นี้ คนรุ่นหลวงอาต้องบอกว่าเป็นวิกฤติในรอบกห้าสิบปีที่หนองบัวเกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ขนาดนี้ หรืออาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่สร้างบ้านเมืองหนองบัวกันมายังไม่เคยมีอุทกภัยถึงเพียงนี้เลย
    • ที่บ้านโยมบ้านเนินตาโพ มีน้ำท่วมนิดหน่อยเท่านั้น เพราะสภาพพื้นที่เป็นที่สูง
    • ขอบคุณคุณเสวกที่แจ้งข่าวนี้ให้ทราบอย่างทันด่วน ถือเป็นการรายงานสดให้แก่พี่น้องที่อยู่ไกลบ้านให้ได้ทราบทั่วกัน
    • ขอให้พี่น้องชาวหนองบัวจงปลอดภัย ให้การดำเนินชีวิตเข้าสู่ภาวะปรกติโดยเร็วไว

    โอ้ โห เกิดมาเพิ่งเคยเห็นน้ำท่วมขนาดนี้ โชคดีที่บ้านผมน้ำไม่ท่วมครับ เเค่ไหลผ่านประตูหน้าออกประตูหลังเอง เก็บของเเทบไม่ทันเลยครับมากจริงๆ

    พระมหาแล อาสโย(ขำสุข)

    เจริญพรคุณเสวกคุณเจนณรงค์และกลุ่มพริกเกลือ

    • บ้านคุณเจนณรงค์น้ำไม่ท่วมใช่ไหม ถือว่าโชคดีปลอดภัยรอดตัวไป(บ้านคุณเจนณรงค์อยู่แถวไหนเอ่ย-เดาว่าบ้านใหญ่ใช่ป่าว)
    • วันที่๑๕ ต.ค.๒๕๕๓ ที่ผ่านมา หลวงอาคุยกับทิดอุ้ยบ้านสะพานหนึ่ง วันนั้นน้ำท่วมตลาด มากจนไม่สามารถเดินทางไปบ้านพ่อ ที่บ้านเนินตาโพได้ บรรยายให้ฟังว่าพี่น้องชาวตลาด เทศบาลคงเตรียมตัวไม่ทัน น้ำหลากท่วมจนทำให้ขยะลอยเต็มไปหมด นั่นคงเป็นสภาพน้ำท่วมใหม่ๆ
    • ขณะนี้ที่วัดศรีโสภณ วังทอง พิษณุโลก ฝนตกอย่างหนักเลย ตกมาแต่เช้ามืดยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุด ทุกปีแถวพิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย น้ำจะท่วมก่อนเขาและท่วมมากด้วย แต่ปีนี้น้ำน้อย ยังไม่มีน้ำท่วม

    กราบนมัสการครับหลวงอา สวัสดีครับคุณเจนณรงค์

    สำหรับบ้านเรานั้นยังถือว่าดีที่ยังไม่เป็นอะไรกันมากถึงแม้ว่า การถมดินก่อสร้างสิ่งต่างๆกีดขวางทางน้ำนั่นก็เป็นส่วนหนึ่งยอมรับจริงๆว่าน้ำมาเยอะแต่ที่สำคัญคือจังหวัดใกล้เคียงกับอำเภอเรานั้นประสบปัญหาหนักมาก ปีนี้ดีนะครับชุมแสงไม่ท่วมไม่เหมือนกับปี2538 ถนนหลายสายถูกน้ำตัดขาดการเดินทางไปปากน้ำโพนั้นยากลำบากต้องไปทางท่าตะโก แต่ปีนี้ท่าตะโกโดนเข้าจัง เราก็ขอเป็นกำลังใจช่วยพี่น้องที่ประสบปัญหาน้ำท่วมด้วยกันทุกคนเลยนะครับ


    กราบนมัสการครับหลวงลุง พระมหาแล อาสโย(ขำสุข) กระผมเล่นมุกมากไป บ้านผมน้ำท่วมยังไม่พอไหลผ่านเหมือนน้ำป่าเลยครับ (บ้านใหญ่ครับ) พิ๋นหลังกับไปดูเเล้วยังไม่อยากจะเชื่อเลยครับ

    พระมหาแล อาสโย(ขำสุข)

    เจริญคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือและทุกท่าน

    มาชวนเจ้าบ้านและสมาชิกกลุ่มพริกเกลือให้ไปที่เวทีคนหนองบัวจะได้อ่านหัวข้อ"เชิญระดมความคิดครับ : เวทีมหิดล-คนหนองบัว เดือนมีนาคม ๒๕๕๔ อยากให้เป็นอย่างไร" และพวกเราสามารถแสดงข้อเสนอแนะกิจกรรมต่างๆได้ อย่าลืมเข้าไปอ่านและเสนอข้อคิดเห็นกันนะ

    พระมหาแล อาสโย(ขำสุข)

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน

    • หลวงอาห่างหายจากหน้าจอคอมฯไปอาทิตย์กว่า เน็ตใช้ไม่ได้
    • อ่านคำศัพท์ที่คห.๒๑๖ของคุณณเจนณรงค์ เหว่าโต หลายเที่ยวแล้วยังนึกว่า เขาเขียนผิดหรือว่าเราอ่านผิดกันแน่คือคำ"พิ๋นหลัง"
    • คำนี้เป็นคำเก่า ที่คนเก่าๆใช้พูดกันประจำ คำนี้สะกดตามเสียงพูดคงใช้ ผ หรือเปล่าเอ่ย คนบ้านเราออกเสียงเป็น "ผินหรือผิ่นหลัง" ความหมายคือหันหลัง,กลับหลัง,เหลียวหลัง อีกคำที่คล้ายๆกันนี้คือแหงะ เคยได้ยินไหมเนี่ย เช่น แหงะไปดู(เหลียวไปดู)
    • ขอบคุณคุณเจนณรงค์มากเลย ที่ทำให้นึกถึงคำเก่าๆ หลายๆอย่างหลวงลุงก็ลืมไปเยอะแล้ว เพราะจากหนองบัวมานานแล้ว อีกทั้งไม่ค่อยได้พูดไม่ได้ฟังภาษาบ้านเรานานไปก็ลืมได้เหมือนกัน
    •  คุณเจนณรงค์มีอะไรก็นำมาแบ่งปันอีกนะ

    กราบนมัสการครับหลวงอามหาแล ขำสุขอาสโย

    คุณเจนณรงค์ถึงเป็นคนรุ่ณใหม่แต่ก็ยังมีคำเก่าๆพูดถึงอยู่บ้างจากการที่เคยได้รู้จักกันมา อาจเป็นอย่างที่หลวงอากล่าวถึงครับ จากภาษาพูดเป็นเขียนและสำเนียงของคนหนองบัวด้วยแล้วนั้นอาจจะเขียนยากจริงๆครับ ขอบคุณมากครับคุณเจน และหลวงอาที่มาทบทวนคำเก่าๆกันวันนี้ครับ

    กราบนมัสการครับหลวงอามหาแล ขำสุขอาสโย

    คุณเจนณรงค์ถึงเป็นคนรุ่ณใหม่แต่ก็ยังมีคำเก่าๆพูดถึงอยู่บ้างจากการที่เคยได้รู้จักกันมา อาจเป็นอย่างที่หลวงอากล่าวถึงครับ จากภาษาพูดเป็นเขียนและสำเนียงของคนหนองบัวด้วยแล้วนั้นอาจจะเขียนยากจริงๆครับ ขอบคุณมากครับคุณเจน และหลวงอาที่มาทบทวนคำเก่าๆกันวันนี้ครับ

                             

    สวัสดีครับคุณเสวก
    บล๊อกเวทีคนหนองบัวกับพริกเกลือนี่คึกคักไม่เบาเลยนะครับ
    คุณเสวกสบายดีนะครับ ตอนนี้เป็นหน้าเกี่ยวข้าวแล้วสิเนาะ

    สวัสดีครับพี่น้องชาวหนองบัว และกลุ่มพริกเกลือทุกท่านครับ

    เมื่อช่วงลอยกระทงที่ผ่านมากลุ่มพริกเกลือพร้อมด้วยพี่น้องชาวหนองบัวและผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วม

    เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าสามัคคี "เพื่อบูรณะศาลาการเปรียญหลวงพ่อเดิม" 

    โดยมีตัวแทนของกลุ่มเราคืประธานกองผ้าป่าของกลุ่มเราไปถวาย

    นำโดย 1.คุณพ่อถวิล ฉ่ำน้อย 2.คุณปฐมพงษ์และคณะ

    โดยนำไปทอดณ.วัดหนองบัวหนองกลับ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2553 ที่ผ่านมาผ่านไปด้วยดี  ผมต้องขอขอบคุณพี่ๆเพื่อนๆน้องๆทุกคนที่ได้ร่วมช่วยกันทำบุญในครั้งนี้ขอคุณพระศรีรัตนตรัยหลวงพ่อเดิมหลวงพ่ออ๋อยจงช่วยปกปักคุ้มครองรักษาพวกเราชาวชมรมพริกเกลือคลับทุกคนและผู้ที่ร่วมทำบุญในครั้งนี้

    ผมเองต้องขออภัยณ.ที่นี้ด้วยที่ไม่ได้มาบอกบุญในบล็อกคนหนองบัวกับพริกเกลือ

     

    กราบสวัสดีครับท่านอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์

    ครับผมสะบายดี ขอขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมเยือนกลุ่มพริกเกลือ ตอนที่ทองนาหนองบัวเป็นทุ่งโลงเตียนชาวบ้านเกี๋ยวข้าวกันหมดแล้ว อีกกิจกรรมหนึ่งของคนหนองบัวตอนนี้คือสูบน้ำจับปลาตามหนองน้ำในนากันครับ

    พระมหาแล อาสโย(ขำสุข)
    • ขออนุโมทนาบุญย้อนหลังกับคณะผ้าป่าชมรมพริกเกลือด้วยคน
    • น่าชื่นใจในแรงบุญแรงศรัทธาของตัวแทนกลุ่มพริกเกลือและชาวบ้านที่มีน้ำใจเสียสละช่วยกันทำสิ่งสาธารณะประโยชน์เช่นนี้
    • ศาลาหลวงพ่อเดิมหลังนี้ เป็นอนุสรณ์อย่างหนึ่งที่คนหนองบัวทุกคนภูมิใจในความมีเมตตาของหลวงพ่อเดิมที่ท่านนำพาชาวหนองบัวสร้างไว้ ตลอดถึงสิ่งอื่นๆอีกหลายอย่างในวัดใหญ่ : วัดหนองกลับ

    นี่เป็นครั้งแรกที่หลวงอาเข้ามาเยี่ยมเจ้าบ้านหลังนี้ ขอสวัสดีปีใหม่ย้อนหลังปี(๒๕๕๔)ด้วยนะ ดูกระทู้สุดท้ายที่เข้ามาสนทนาแล้วก็หลายวันแล้วเนาะ ประมาณเดือนกว่าๆแล้วซินะ วันนี้ขอสื่อสารมายังกลุ่มกริกเกลือคิดว่าทุกท่านคงสบายดี เจ้าบ้านเองก็เงียบหายไปนานมากแล้ว ไม่ทราบกลับมาดูบ้านบ้างหรือเปล่าหนอ

    กราบนมัสการพระคุณเจ้า หลวงอามหาแล

    ผมเองต้องกราขออภัยด้วยที่ไม่ได้เข้ามาสนทนาในบล็อกนี้อย่างต่อเนื่อง หลวงอาเองคงสบายดีนะครับ บ้านเราหนองบัวทุกวันนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นช่วงเสร็จนาแล้ว ทุ่งนากลายเป็นทุ่งว่างแห้งแล้ง สมัยก่อนนี้ชาวบ้านมักจะจุดไฟเผาทุ่งเพื่อเวลาฝนตกจะได้ทำการไถดะได้ง่ายขึ้น แต่มาสมัยนี้ทางเทศบาลและหน่วยงานทางองการบริหารส่วนตำบลได้มีการรณรงค์ให้ความรู้ถึงภัยจากการเผาทุ่งให้แก่พี่น้องเกษตรกร และผลประโยชน์จากการทำนาโดยไม่ต้องเผาตอซัง ทำให้ชาวบ้านให้ความร่วมมือกันมากขึ้น และการเกิดไฟป่าลดลง เพราะพื้นที่โดยรอบบ้านเรือนของชาวบ้านอำเภอหนองบัวนั้นเป็นพื้นที่การทำนาทั้งนั้น ชาวบ้านส่วนมากจึงให้ความร่วมมือกันอย่างดีครับ

     

    เมื่อ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔ หลวงอาไปหนองบัวมีโอกาสได้ไปร่วมชมนิทรรศการเวทีคนหนองบัวในงานงิ้วที่เกาะลอยซึ่งเป็นวันที่สามของงาน

    นิทรรศการ
    เวทีคนหนองบัว : สานสำนึกรักท้องถิ่น พลังสามัคคี และความงามที่หลากหลาย

    มีบล็อกเกอร์จากเวทีคนหนองบัวไปร่วมงานกันหลายท่าน
    ในภาพแรกคนซ้ายมือสะพายกระเป๋าคือคุณฉิก ศักดิ์ศรี พิทักษ์อำนวย

                  

    ท่านอธิการโชคชัย เจ้าอาวาสวัดพรหพิราม อำเภอพรหพิราม พิษณุโลก
    คนยืนหันหลังดร.วิรัตน์ คำศรีจันทร์
    คนนั่งบนเกาอี้คือแม่บุญมา คำศรีจันทร์ แม่ดร.วิรัตน์
    คนยืนข้างแม่บุญมาคือคุณครูวิกานดา บุญเอกครูโรงเรียนหนองคอก-หนองบัว น้องสาวดร.วิรัตน์
    คนยืนถัดไป(สวมหมวกดำ)คือคุณครูสุนันท์ จันทร์ดิษฐ์ ครูโรงเรียนหนองคอก-หนองบัว
    คนยืนในสุดที่พนมมือคืออาจารย์ณัชพัชร์ ทองคำ บล็อกเกอร์กัลยาณมิตรเวทีคนหนองบัวท่านไปหนองบัวคราวนี้เพื่อช่วยดร.วิรัตน์ จัดนิทรรศการโดยเฉพาะ

    ประทับใจมากที่ได้พบท่านเหล่านี้
    เลยนำภาพมาฝากกลุ่มพริกเกลือ

    หน้าปกหนังสือเล่มนี้หลวงอาส่งไปให้ดร.วิรัตน์เข้าเล่มสวยงามมาก ได้นำมาวางโชว์ที่เต้นท์นิทรรศการงานงิ้วที่ผ่านมา(๒๕๕๔)ด้วย ท่านบอกว่าอยากให้เจ้าของบันทึกเห็นจังเลย

                        
                         หลานสาวหลวงอากล่าวชมภาพวาดวิถีหนองบัวของคุณเสวกว่าสวยดี

    กราบนมัสการพระคุณเจ้า พระมหาแล อาสโย ขำสุข

    เห็นความมุ่งมั่นตั้งใจของท่านอาจารย์วิรัตน์แล้วผมเองมีความรู้สึกทราบซึ้งแทนคนหนองบัวทุกคน ที่ท่านนำเรื่องราวต่างๆนำมาถ่ายทอดให้พี่น้องได้ชื่นชมกันและผมเองต้องขอขอบพระคุณหลวงอาและอาจารย์วิรัตน์ แทนชาวพริกเกลือทุกคนที่นำเอาบันทึกของคนหนองบัวกลับพริกเกลือมาเข้ารูปเล่มอย่างสวยงามผมเองก็นึกไม่ถึงเช่นกันครับ

    ในวันที่ 30เมษายน 2554 ที่ผ่านมา เป็นวันหยุดติดต่อกันสามวันรวมทั้งเป็นวันแรงงาน กลุ่มพริกเกลือได้จัดกิจกรรมรวมกลุ่มสัมพันธ์น้องพี่ ครั้งที่2 ประจำปี 54 โดยปีที่ผ่านมากลุ่มพริกเกลือได้จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนหนองบัวมาแล้ว โดยที่มี คุณ ณรงค์ อินทร์ชิต ดำรงค์ตำแหน่งเป็นประธานกลุ่มจนมาถึงปีนี้ครบวาระจึงได้มีการแต่งตั้งให้ คุณ ปฐมพงษ์ ฉ่ำน้อย ดำรงค์ตำแหน่งประธานกลุ่มต่อไปในปีนี้ และวางแผนกิจกรรมในปีนี้ด้วย ในงานมีพี่น้องมาร่วมกันมากมาย และยังมีอีกหลายท่านที่ไม่ได้มาเนื่องจากติดภาระกิจ งานนี้ก็เช่นเคยอย่างกับปีที่ผ่านมา มีอาหารต้อนรับพี่น้อง เช๋น หมกผักหวานพริกเกลือ แกงพริกเกลือเป็นต้น ในโอกาษนี้พี่น้องทุกคนได้ถามถึงทุกข์สุขแต่ละคน และยังมีหลายท่านที่ กล่าวชมการทำงานของ ท่านพระมหาแล ขำสุข และท่านอาจารย์ วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ว่ามีผลงานต่างๆน่าชมมากมายครับ

     

    พี่น้องสมาชิกร่วมถ่ายรูปกับหมกพริกเกลือ

    นำบุกรูปสวย รวยกลิ่น มาฝากเวทีกลุ่มพริกเกลือ
    เมื่อ๒๖พ.ค.๒๕๕๔หลวงอาได้ไปถ่ายรูปดอกบุก ดอกใหญ่มากๆ ที่บ้านโยมในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ตำบลแสงดาว อ.เมือง จ.พิษณุโลก
    บุกนี้มีกลิ่นแรงจริงๆ แรงขนาดคนในอำเภอวังทอง เรียกบุกนี้ว่าบุกหมาเน่าเลยทีเดียว
    ขอถามคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือรู้จักบุกนี้กันบ้างไหม เคยเห็นที่ไหนบ้างหรือเปล่า

    ถ้ากินได้แล็วละก็ นำไปแกงพริกเกลือได้หลายหม้อเชียว

            
              
              
              

    ขอขอบคุณคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือ
    แทนอาจารย์วิรัตน์ด้วยที่ช่วยบอกกล่าวคำชื่นชมของสมาชิกกลุ่มพริกเกลือให้ได้ทราบ ถือเป็นการให้กำลังใจที่ดี

                                                
                                         
                                         
                                         

    อธิบายภาพ : ขอแถมให้อีกหนึ่งอย่างคือต้นไม้แหย่แย้ ต้นแหย่นี้อยู่ที่หน้ากุฏิหลวงอาโดยมีพระในวัดศรีโสภณท่านนำมาปลูกไว้
    เป็นต้นไม้ที่หลวงอาไม่รู้จักมาก่อน คิดว่าบ้านหนองบัวเราน่าจะไม่มี เพราะไม่เคยได้ยินชื่อเลย

    สมาชิกกลุ่มพริกเกลือหลายท่านรู้จักแย้เป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่ก็คิดคาดเดาเอาเองว่าต้นแหย่แย้นี้คนหนองบัวน่าจะยังไม่รู้จัก วันนี้ก็เลยมาขอเผยแพร่ให้ทำความรู้จักไม้นี้เพิ่มเติมกันหน่อยนะ

        

    ส้มแผ่นหนองบัวจ้า : มะม่วงแผ่น,มะม่วงกวน

                      

    หลวงอาไปหนองบัวมา ขากลับไอ้พึ่งถวายส้มแผ่นที่เธอเองให้หลวงอามาฉันที่วัดจำนวนหนึ่ง
    คิดถึงกลุ่มพริกเกลือ เลยนำมาฝากทุกท่านด้วยเลย

    นำมะม่วงกะล่อนทองจากวังทองพิษณุโลกมาฝากกลุ่มพริกเกลือ
    เมื่อมีส้มแผ่นแล้ว ก็ต้องมีมะม่วงกะล่อนตามมา
    แต่เป็นมะม่วงกะล่อนทอง ซึ่งเป็นมะม่วงกะล่อนที่ลูกโตกว่ามะม่วงกะล่อนโดยทั่วไปและมีเนื้อมากกว่าด้วย
    ส่วนรสชาดไม่แตกต่างกันมากนัก
    ชมภาพได้เลยว่ามะม่วงกะล่อนทองนั้น ลูกใหญ่กว่ามะม่วงกะล่อนจริงไหม

                     
                     
                      ภาพ : มะม่วงกะล่อนทอง

    กราบนมัสการท่านหลวงอามหาแล ครับ

    ดอกบุกที่ลวงอานำมาให้ชมแบบนี้ผมเคยเห็นแต่มันไม่ใหญ่เช่นนี้ ลักษณะคลายๆกันตอนเด็กเห็นมันขึ้นตามโคกห้างนา กลิ่นมันใช้ได้เลยครับไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างเดียวกันหรือเปล่า

    ส่วนต้นแหย่แย้ยังไม่เห็นใครพูดถึงครับ  พอดีไม่กี่วันผมกลับบ้านมาก็ไม่ได้กินส้มแผ่นหรือมะม่วงกวนเพราะหลายปีที่ผ่านมามะม่วงไม่ค่อยติดลูก เห็นหลวงอานำมาฝากแล้วก็นึกอยากขึ้นมาอีกครั้ง ผมเองได้แต่เอามะม่วงกะล่อนมาถุงใหญ่มาฝากพักพวกที่ทำงาน พอเดินมาถึงจุดรักษาความปลอดภัย ก็มีแต่คนถามว่ามะม่วงกะล่อนหรือเปล่า หลายคนไม่ได้กินนานแล้ว ผมเลยแจกจ่ายตลอดทาง พูดถึงมะม่วงกะล่อนเมื่อสุกแล้วจะมีความหอมที่แตกต่างมะม่วงอื่นๆ คนแก่มักชอบฝานกินกับข้าวคล่องคอดีจัง ส่วนมะม่วงกะล่อนทองผมเองนึกถึงรสชาติไม่ออกเคยกินแต่นานแล้วจำรส กลิ่นไม่ได้แล้วครับ

    มะม่วงกะล่อน ต้นข้างยุ้งข้าวที่บ้านหนองบัว

    คุณเสวก

    เห็นมะม่วงกะล่อนจากหนองบัวแล้ว นึกถึงส้มแผ่น มะม่วงตากแห้งเลยเชียว
    เมื่อวานที่เวทีคนหนองบัว มีคนต้องการทราบข้อมูลมะม่วงกะล่อนที่บ้านเราพอดี
    เดี่ยวหลวงอาจะขอยืมภาพมะม่วงกะล่อนภาพนี้ ไปโชว์ที่เวทีคนหนองบัวสักหน่อยเด้อ

    มะม่วงกะล่อนทองรสชาด ก็หวานหอมพอๆกันกะล่อนเลย

    ขอนำเตาชีวมวลมาฝากกลุ่มพริกเกลือ เอาไว้แกงพริกเกลือ
    เตาชีวมวลนี้ เป็นเตาประเภทใช้ฟืน
    ใช้วัสดุเชื้อเพลิงเหลือใช้ เช่น เศษไม้ กิ่งไม้ กะลา แกนข้าวโพด ซังข้าวโพด
    ทางการได้รณรงค์ให้ชาวบ้านใช้ เพราะประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้พอสมควร

                      
                     
                      หลวงอาได้ทดลองหุงข้าวเมื่อ๖พ.ค.๒๕๕๔(ยืมจากโยมมาทดลอง)

    นำต้นไม้มาฝากกลุ่มพริกเกลือ
    บ้านเราเรียกว่าต้นอะไรเนี่ย

                           

    แถมผักพื้นบ้านจากวัดศรีโสภณอีกสองอย่าง
    แกงกับพริกเกลือซดน้ำร้อนๆ 
    ผักอะไรบ้างไม่ต้องบอกนะ

                           
                     
                              

    จำได้ว่าคุณเสวกเคยถามเรื่องต้นสะแบงของภาคอีสาน ว่าใช่ต้นเหียงที่ป่าหนองบัวบ้านเราไหม
    ไปเจอข้อมูล เลยนำมาบอกกัน(สรุปว่าต้นสะแบงคือต้นเหียงเด้อ)

    ดาวน์โหลด ต้นเหียง ...jpg (13.8 กิโลไบต์)

    ใบเหียง หรือใบสะแบง
    ที่มาต้นเหียง ต้นสะแบบที่นี่
    http://www.edu.ubru.ac.th/2011articles/ed_articles/25531201page00006.html

     

     

    ดาวน์โหลด tnd111.jpg (9.4 กิโลไบต์)

    ดอกเหียง หรือดอกสะแบง

    นำภาพรุ้งกินน้ำที่วัดศรีโสภณมาฝากกลุ่มพริกเกลือ

          
          วันนี้ตนอเย็นฝนตก(๑๘มิถุนายน๒๕๕๔)เวลา ๑๗.๓๔ นาที มีปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำที่วัดศรีโสภณ ต.วังทอง อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ในขณะนั้นท่านพระครูฉันทธรรมโสภณ(พระอาจารย์มะลิ)เจ้าอาวาส ได้เห็นปรากฏการณ์นั้นพอดี จึงไปนำกล้องมาถ่ายภาพ เลยได้ภาพงามๆสองสามภาพดังที่เห็น
        
         รุ้งกินน้ำ : ศาลาการเปรียญวัดศรีโสภณ เวลา ๑๗.๓๔ นาที ถ่ายโดยเจ้าอาวาส
        
         รุ้งกินน้ำ : หอระฆังวัดศรีโสภณ เวลา ๑๗.๓๕ นาที ถ่ายโดยเจ้าอาวาส

    กระเพาใบใหญ่ : ยี่หร่า

    หลวงอานำกระเพาใบใหญ่มาฝาก
    ที่อื่นไม่มีใครรู้จักถ้าเรียกกระเพาใบใหญ่
    เมื่อวานพระที่วัดศรีโสภณชาวศรีสะเกษท่าถามหลวงอาว่ารู้จักกระเพาใบใหญ่ไหม

    ได้ยินครั้งแรกนึกว่าเอ๊ะ ทำไมเรียกเหมือนคนบ้านเราเลย เลยบอกไปว่ารู้จัก
    ชื่อท้องถิ่นต่างๆก็ไม่เห็นมีที่ไหนเรียกกระเพาใบใหญ่เลย
    หนองบัวกับศรีสะเกษเรียกตรงกัน(อำเภอไพรบึง)
    ใส่แกงเนื้อ แกงเผ็ดเข้ากันดี

          
                        

    ผักแขยง

    ผักแขยงนี้มีหลายชื่อมากเลย จะเขียนสะกดอย่างไรให้ตรงกับการออกเสียงของคนบ้านเราเนี่ย เช่น ผักขะแหยง,ผักขะแหย่ง อย่างนี้พอได้ไหม

    ลองมาดูชื่อท้องถิ่นอื่นๆกันบ้าง ผักแขยง,ผักกะแยง,ผักลืมผัว,ผักเพา,มะออม,ผักกะออม,คะแยง,อีผวยผาย,ควันเข้าตา

    เมื่อก่อนที่หนองบัวบ้านเรามีเยอะมาก ไปนาก็หากินได้ เป็นผักปลอดภัยจากสารพิษ
    ปัจจุบันในท้องนามีสารพิษเยอะแยะไปหมด ไม่ทราบยังมีผักแขยงให้พอหากินได้บ้างไหม

    ผักแขยงสดๆกลิ่นฉุนจิ้มพริกเกลือเจริญอาหารดี กินกับลาบ ก้อย ซุปหน่อไม้ก็ได้ ที่ดีมากๆคือนำไปเป็นเครื่องปรุงรสแต่งกลิ่น แกงหน่อไม้ ส้มตำ

         
                            

    มีสะตอจากพิษณุโลกมาฝากกลุ่มพริกเกลือ
    สะตอนี้เมื่อก่อนจะหากินได้เฉพาะภาคใต้เท่านั้น
    แต่ปัจจุบันภาคอื่นๆสามารถปลูกได้และมีผลกินได้แล้ว แถมขายได้อีกต่างหาก

    สภาพดินป่าเหนือหนองบัวบ้านเรา น่าปลูกสะตอได้นะ
    ใครสนใจลองหาไปปลูกไว้บ้างก็ดี
    สะตอเป็นผักจิ้มพริกเกลือได้อย่างดี

                  
                  

    กราบนมัสการครับหลวงอา มหาแล ขำสุข อาสโย

    หลวงอานำข้อมูลหลายอย่างมาแจกจ่ายมากมาย ให้ได้เรียนรู้กันทั่วไป โดยไม่ต้องออกจากบ้านไปไหนไกลเลยครับ

    • เตาชีวมวล นี้ทำให้นึกถึงเตาเศษฐกิจแถวบ้านเรา เมื่อผมตอนเด็กเคยเห็นบ้านไหนมีเตานี้มีความรู้สึกน่าสนใจ เพราะที่บ้านนั้นมีแต่เตาอังโล่ เต่าเศษฐกิจก็จะใช้พืนจะมีท่อปล่องควัญออกไปพ้นชายคาบ้าน

    ต้นไม้ใบเขียวที่หลวงอาถามนึกไม่ออกจิงๆครับจะว่าไปว่าใบส้มกบก็ไม่เห็นนานแล้ว

    • บุก กำลังน่าแกงเลยครับลวงอานำจากหนองบัวไปปลูกที่วัดหรือป่าวย่างนี้น่าจะนำต้นดอกอุ้มน้องไปปลูกด้วยเป็นเพื่อนกันครับ

     

    นำลูกเนียงผักพื้นบ้านจากวังทองมาฝากกลุ่มพริกเกลือ
    ลูกเนียงนี้เป็นอาหารพื้นบ้านในระดับยอดนิยมหนึ่งในสาม(สะตอ,ผักเหลียงหรือผักเหมียง)ของคนภาคใต้(คนภาคอื่นๆยังไม่ค่อยรู้จักมากนัก)
    เนียงมีรสฝาดนิดหน่อย สดๆดิบๆเข้ากับพริกเกลือได้ดีมาก

                 
                        
                        
    เนียง

    ชื่อวิทยาศาสตร์ : Archidendron jiringa Nielsen 
     ชื่อพ้อง : Pithecellobium lobatum Benth.,
    P. jirniga (Jack) Prain ex King
    วงศ์ : Fabaceae
    ชื่ออื่นๆ : ขาวแดง คะเนียง ชะเนียง ชะเอียง เจ็งโกล ตานิงิน เนียง เนียงใหญ่ เนียงนก ผักหละต้น พะเนียง มะเนียง มะเนียงหย่อง ยิริงหรือยือริง ยินิกิง หย่อง
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เนียงเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 ม. เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลอ่อนปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมใหญ่ ดอกสีขาว ขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ผลเป็นฝักแบนเป็นเกลียวไปทางเดียวกัน คล้ายรูปเกือกม้า ผิวสีน้ำตาลคล้ำหรือน้ำตาลอมม่วง เมล็ดมีลักษณะ คล้ายเมล็ดถั่ว 2 ฝา

    จริงๆ แล้วลูกเนียงหรือเมล็ดเนียง เป็นผักที่ นิยมรับประทานกัน โดยเฉพาะทางภาคใต้ของไทย เรา ซึ่งนิยมรับประทานเป็นผักสด ใช้ลูกอ่อนปอก เปลือกจิ้มน้ำพริก หรือรับประทานร่วมกับอาหารรส เผ็ด หรือบริโภคลูกเนียงเพาะ (นำลูกเนียงไปเพาะในฟางจนต้นอ่อนงอก) ลูกเนียงดอง หรือทำให้สุก โดยต้มหรือย่าง ลูกเนียงนับเป็นผักที่มีคุณค่าทาง อาหาร คือ มีโปรตีน 7.9 กรัม % คาร์โบไฮเดรท 36.2 กรัม % ไขมัน 0.2 กรัม % วิตามินบี 1 บี 2 วิตามินซี กรดโฟลิค และแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก มีกรดอะมิโน 18 ชนิด และมี กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทั้ง 8 ชนิด โดย ทั่วไปคนส่วนมากรับประทานลูกเนียงแล้วมักไม่เกิด อาการผิดปกติใดๆ มีบางคนเท่านั้นที่รับประทานลูก เนียงแล้วเกิดอาการพิษ แม้แต่ในสัตว์ทดลองก็ให้ผล ผลแตกต่างกัน เช่น ในรายงานการวิจัยของ มงคล โมกขะสมิต ให้สุนัขกินลูกเนียงดิบ 8-9 ลูก/วัน พบ ว่าสุนัขมีปริมาณปัสสาวะ 24 ชม. ลดลงเล็กน้อย และไม่มีความเป็นพิษต่อไตของสุนัขเลย
    มีรายละเอียดอื่นๆอีกสามารถเข้าไปอ่านได้ที่...
    http://www.medplant.mahidol.ac.th/tpex/poison/lukniang.htm

    วันนี้ได้พูดคุยกับสมาชิกกลุ่มพริกเกลือที่อยู่กรุงเทพฯ ได้เล่าให้ฟังว่ากลุ่มพริกเกลือที่จ.ระยองจะนำผ้าป่าไปทอดที่หนองบัว ในช่วงใกล้เข้าพรรษาที่จะถึงนี้ แต่ก็บอกกล่าวให้ทราบว่าเขาเองนั้นก็ยังไม่ทราบรายละเอียดว่ากำหนดทอดผ้าป่าวันไหนแน่

    สมาชิกกลุ่มพริกเกลือในจ.ระยองที่ทราบกำหนดแน่นอนที่เข้ามาอ่านในช่วงนี้ ช่วยบอกอาตมาสักหน่อยก็จะดี เพราะมีข่าวดีจะแจ้งให้กลุ่มพริกเกลือทั้งที่อยู่กรุเทพฯและที่อื่นๆทราบว่า ในวันที่ ๑๓-๑๔ กรกฏาคม ๒๕๕๔นี้

    ที่โรงเรียนหนองบัวหนองคอก มีกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้ข้อมูลชุมชนบ้านเรา
    ทางเวทีคนหนองบัว อยากขอเชิญชวนกลุ่มพริกเกลือ ที่มีกำหนดจะนำผ้าป่าไปทอดที่หนองบัวในช่วงบุญขนมห่อนี้ ได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวด้วย เพราะทางโรงเรียนได้จัดนิทรรศการเวทีคนหนองบัว เวทีนี้ขาดไม่ได้คือกลุ่มพริกเกลือ โดยกลุ่มนี้ถือเป็นกลุ่มหลักที่รวมตัวกันเหนียวแน่นยาวนาน และมีกิจกรรมพบปะสมาชิกตลอดมา

    อาจารย์วิรัตน์อยากได้ตัวแทนกลุ่มพริกเกลือไปร่วมพูดคุยด้วย เพราะคราวที่แล้วงานงิ้วก็ขาดกลุ่มพริกเกลือ แต่ทางกลุ่มได้นำผลิตภัณฑ์มีดช่างว่อนไปแสดงแทน

    ขอเป็นตัวแทนเวทีคนหนองบัวสื่อสารเชิญชวนไปยังกลุ่มพริกเกลือทุกท่าน ถ้ากลับหนองบัวในช่วงงานที่กล่าวถึงนี้ ก็เชิญไปร่วมพบปะกันได้ที่งาน

    ติดตามอ่านรายละเอียดงานประชุมชุมครั้งนี้ได้ที่เวทีคนหนองบัวhttp://www.gotoknow.org/blog/nongbua-community/295169

    • ต้องกราบขอบพระคุณท่านพระอาจารย์มหาแลครับ กำลังจะแวะเข้ามาบอกและทาบทามสมาชิกกลุ่มพริกเกลืออยู่พอดีเลยละครับ
    • แต่ปรากฏว่างานมันใหญ่และกลุ่มมีความสำคัญมากกว่าแต่แรกที่ผมคิดว่าจะเป็นคนแบบกันเองๆ เนื่องจากไม่ใช่คุณครูในหนองบัวและบางส่วนจากแหล่งอื่นๆในจังหวัดซะแล้ว แต่เป็นกลุ่มคุณครูจากโรงเรียนต่างๆของจังหวัดน่ะครับ 
    • ผมก็เลยขอให้ทางโรงเรียนเลื่อนออกไปสักหน่อยครับ เพื่อที่จะได้ตั้งหลักและเตรียมตัวให้ดีสักหน่อย เป็นจันทร์-อังคาร ๒๔-๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เพราะไม่เพียงคุณครูและโรงเรียนต่างๆจะได้มาเรียนรู้ประสบการณ์ของโรงเรียนหนองบัวและของเราชาวหนองบัวแล้ว ผมก็คิดว่าอยากจะถือโอกาสจับมือกับชาวหนองบัวหาประสบการณ์ที่มีความหมายอย่างนี้ให้ดีที่สุด เพื่อเป็นฐานประสบการณ์ในการพัฒนาบทบาททางด้านการศึกษาเรียนรู้ที่อิงกับท้องถิ่นต่อๆไปในอนาคต
    • อยากจะทำหนังสือและเตรียมสื่อไปเสริมพลังเครือข่ายคุณครูและเครือข่ายโรงเรียนในครั้งนี้ให้ดี ทางโรงเรียนอยากให้โชว์สื่อและความรู้ออนไลน์ของเวทีคนหนองบัวกับกลุ่มพริกเกลือด้วยนะครับ
    • ฝากกลุ่มพริกเกลือนำเอากิจกรรมมาบันทึกถ่ายทอดไว้ในบล๊อกนี้ด้วยนะครับ และตอนที่จัดนั้น ก็อยากได้มีคนไปร่วมจัดบอร์ดและยืนคุยกับคนเดินดูนิทรรศการด้วยได้ไหมครับ อยากชูเรื่องพริกเกลือ ทั้งในแง่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น และเป็นวัฒนธรรมอาหารที่สะท้อนสังคมวัฒนธรรม ทรัพยากร ผลผลิต และวิถีการผลิตของชาวบ้านในท้องถิ่น หรือเป็นระบบนิเวศน์ทางสังคมวัฒนธรรมในการทำอยู่ทำกินที่มีชีวิตดีมากจริงๆครับ

    ต้นมะเลียบ(ชื่อไม้พื้นบ้านหนองบัว)

    มาตามคำเรียกร้องของเจ้าของบ้าน(คุณเสวก) เมื่อหลายวันก่อนได้นำภาพถ่ายต้นไม้ชนิดหนึ่งที่หลวงอาไปเจอที่วัดสวนร่มบารมีอำเภอพรหมพิรามพิษณุโลก เห็นว่าคล้ายต้นมะเลียบบ้านเรา เลยนำมาลงไว้แล้วทิ้งคำถามฝากไว้ด้วย นี่ก็ผ่านมาลายวันแล้ว แต่ก็ยังไม่ผู้ใดตอบมาเลยสักรายเดียว

    วันนี้จะยังไม่มีคำตอบเรื่องภาพที่นำมาลงไว้ในวันก่อนนั้น เพราะยังไม่ได้คำตอบจากวัดสวนร่มบารมีเลย เลยขอติดค้างไว้ก่อน

    ถึงยังไม่มีคำตอบมาให้ แต่วันนี้มีต้นมะเลียบมาฝากกลุ่มพริกเกลือ แบบเต็มๆเลยแหละ
    นำมาให้ชมทั้งภาพและข้อมูลอย่างพร้อมสรรพ

    สมาชิกกลุ่มพริกเกลือท่านใดที่เข้ามาอ่านและเห็นภาพไม้มะเลียบนี้แล้ว และมีประสบการณ์เคยกินมะเลียบมาบ้าง ก็ช่วยเล่าแบ่งปันให้เพื่อนๆได้รับรู้กันหน่อยนะ

    ไม้มะเลียบนี้ เมื่อก่อนที่หนองบัวบ้านเรามีอยู่พอสมควร เท่าที่จำได้ยอดอ่อนนำมาต้มจิ้มน้ำพริก หรือฉาบน้ำมัน เป็นเมนูที่ใช้ได้เลย ถือป็นอาหารพื้นบ้านที่อร่อย(ทราบว่าคุณเสวกไม่รู้จักมะเลีย เลยไม่แน่ใจว่าที่หนองบัวบ้านเราจะยังมีมะเลียบเหลืออยู่มากน้อยเพียงใด)

    ไม้มะเลียบเป็นไม้สำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าในอดีตด้วย น่าสนใจมากเลย
    ตอนหลวงอาเรียนบาลีก็ได้พบบาลีคำนี้และก็แปลผ่านมาแล้ว นักเรียนบาลีจำศัพท์นี้ได้ดีทุกรูปทุกองค์(ต้นปิปผะลิ : ต้นเลียบ) เพราะเรื่องนี้มีอยู่ในธรรมบท(ตอนนี้ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ในธรรมบทภาคไหน ธรรมบทมีทั้งหมด ๘ ภาค)

    เมื่อไปค้นคว้าข้อมูลในอินเตอร์เน็ตแล้ว ปรากฏว่ามีข้อมูลพอสมควรแถมได้ทราบชื่อพื้นบ้านในภาคต่างๆอีกหลายชื่อมากเลย
     
    เชิญทุกท่านติดตามอ่านรายละเอียดเรื่องไม้เลียบได้ ดังนี้

    โพธิญาณพฤกษา
    พันธุ์ไม้ที่พระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ประทับตรัสรู้


                                                ต้นเลียบ (ต้นปิปผลิ)                                    
                                         
                  Image
       ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 25 ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ทีปังกรพุทธวงศ์ กล่าวไว้ว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 4 พระนามว่า พระทีปังกรพุทธเจ้า ผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทั้งปวง ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ 10 เดือนเต็ม จึงได้ประทับตรัสรู้ ณ ควงไม้เลียบ
    ต้นเลียบ ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นปิปผลิ” หรือ “ต้นปิลกฺโข” (พระคัมภีร์อภิธานนัปปทีปิกา) ไม้เลียบเป็นพืชที่จัดอยู่ในสกุล Ficus lacor วงศ์ Moraceae มีชื่อพื้นเมืองที่เรียกกันต่างไปในแต่ละท้องถิ่นของไทย คือ ไกร (กรุงเทพฯ), ผักเลือด, เลียบ (ภาคกลาง), ผักฮี, ผักเฮือก, ผักเฮือด (ภาคเหนือ), ผักเฮียด (ภาคอีสาน) ส่วนทางเพชรบุรี เรียกว่า ผักไฮ, ประจวบคีรีขันธ์ เรียกว่า ไทรเลียบ และนครราชสีมา เรียกว่า โพไทร เป็นต้น 
                                       Image 
          ต้นไกรหรือต้นเลียบนี้ เป็นไม้ป่า พบในทุกสภาพป่าทั่วประเทศ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 8-15 เมตร ลักษณะคล้ายต้นไทร มียาง ลำต้นเป็นพูพอน เรือนยอดแผ่กว้าง กิ่งก้านแผ่สาขา เปลือกสีเทาเรียบ ใบเรียวยาวปลายแหลมคล้ายใบหอก ดอกออกเป็นกระจุกบนช่อสั้นๆตามกิ่ง ผลอ่อนสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดงม่วง หรือดำ เมื่อแก่เต็มที่ภายในมีเมล็ดมาก มักเป็นอาหารของนก

    ช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม จะผลัดใบ และในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมจะผลิใบใหม่ ใบอ่อนสีชมพู หรือชมพูอมเขียว ดูใสแวววาวไปทั้งต้น ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือปักชำ

    เหตุที่เรียกต้นเลียบว่า “ผัก” นั้น ก็เพราะยอดอ่อน หรือใบอ่อน สามารถรับประทานเป็นผักได้ มีรสเปรี้ยวมัน ยอดผักเฮือด 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 39 กิโลแคลอรี่

    แพทย์พื้นบ้านไทยใช้เปลือกของต้นเลียบ มาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มดื่มแก้ปวดท้อง ท้องร่วง แต่แม่ลูกอ่อนที่มีอาการไอ ห้ามกินผักเฮือด เพราะจะทำให้โรคกำเริบขึ้น ส่วนยางไม้เลียบนั้นชาวบ้านมักนำมาใช้ดักนกหรือแมลง 
                                        Image
    ข้อมูลเรื่องต้นมะเลียบและภาพจากเว็บไซต์นี้
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=12402

                        
                         ภาพผักเฮียดของภาคอีสาน โดยคุณตุ๊กตาไล่ฝน
    ภาพผักเฮียดจากเว็บไซต์นี้ http://www.baanmaha.com/community/thread5765.html

                             
                               ภาพแกงผักเฮือดอาหารพื้นบ้านของภาคเหนือ

    ภาพแกงผักเฮือดจากเว็บไซต์นี้
    http://idealanna.igetweb.com/index.php?mo=3&art=259663

    เจริญพรคุณเสวก

    เงียบไปเลยเนาะช่วงนี้
    มีผลไม้พื้นบ้านมาฝาก ตอนเที่ยงๆวันนี้ไปถ่ายรูปตะโกต้นข้างโบสถ์ กำลังสุกเลยแหละ

    เมื่อก่อนนี้ หน้าทำนา ผลไม้ตามท้องนาที่พอจะหากินได้ ก็มีตะโกนี่แหละ ส่วนฝรั่งก็มีบ้างที่เจ้าของนาปลูกตามโคกห้างนา ตะขบด้วยก็พอมีอยู่บ้าง

                                
                              
                               
                         

    ยังมีอีกอย่างหนึ่งที่นึกได้พอดีเลย ในหน้าดำนาช่วงนี้แหละ จะมีลูกไข่เน่าให้ได้เก็บกินด้วย

    กราบนมัสการครับหลวงอา มหาแล ขำสุข อาสโย

        หลวงอาครับ ลูกตะโกทำให้นึกถึงตอนเด็ก ตามแม่ไปดำนาเวลาใกล้ๆเทียงนึกอยากกินอาหารจำพวกยำถ้าแบบหนองบัวก็ง่ายๆครับ แตงไทยที่ปลูกไว้ตามปลายนาเลือกลูกอ่อนๆกำลังพอดี ผ่าแล้ว เอาใส้ออก แต่ถ้าอ่อนมากก็ไม้ต้อง เอาช้อนขูดเนื้อแตงใส่กะละมังแล้วเครื่องปรุงคู่ครัวชาวหนองบัวก็คือ พริกเกลือ ตักใส่สักช้อน พอประมาณ นำลูกตะโกห่ามๆ มาฝนใส่ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน ลูกตะโกจะให้รสชาดออกฝาดๆพอดี กับเรื่องยำแตงหรือตำแตงเข้ากันดีนัก ยิ่งช่วงหน้าเกี่ยวข้าว ลูกตะโกจะสุกร่วงพอดี เลือกเอาลูกที่กำลังใกล้จะแห้งจะมีรสออกหวานก็อร่อยไปอีกอย่างครับ

    สวัดดีคับพี่น้องชาวหนองบัวทุกคนคับผมชื่อเอ็ม (ปฐมพงษ์ ฉ่ำน้อย)คับเป็นประธานชมรมพริกเกลือคลับที่ระยองยังไงขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยนะคับมีกิจกรรมของชมรมเมื่อไหร่จะแจ้งข้าวให้ทราบนะคับ

    โอกาสดีของกลุ่มพริกเกลือ และพี่น้องชาวนองบัว ที่จะได้ร่วมสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับน้องๆนักเรียน โรงเรียนวัดหนองปลาไหล ต.ธารทหาร อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์ ร่วมกับชมรมร่มไม้ กำหนดส่งมอบทุนงบประมาณ ในวันที่ 23-24 ตุลาคม 2554

         ขอเล่าประวัติของกลุ่มร่มไม้ให้พริกเกลือของเราฝังนิดหนึ่งครับ ปี 2539 เกิดจากพนักงานกะ c ของ บ. ATC รวมเงินได้ 3500 บาท เลี้ยงอาหารเด็กที่สถานคุ้มครองเด็กห้วยโป่งจังหวัดระยอง นั่นเป็นจุดเริ่มต้น และทำกันมาทุกปีและปีนี้เป็นครั้งที่ 16 ที่ ร.ร.วัดหนองปลาไหล อ.หนองบัว ของเรา

    รายได้ส่วนใหญ่มาจากการจำหน่ายเสื้อชมรม และการรับบริจาคจากสมาชิกผู้มีจิตศัทธา จุดประสงค์เพื่อเติมเต็มในสิ่งที่ขาดของเด็กและโรงเรียนในถิ่นทุรกันดานในรูปแบบสิ่งของ

              กลุ่มพริกเกลือขอสรุปรายงานการประชุมหลังจากที่ได้ประชุมกับพี่น้องในชมรมแล้ว ชมรมเราจะทำพวกชั้นหนังสือและโต๊ะอ่านหนังสือซึ่งสอดคล้องกับชมรมร่มไม้ที่ทำห้องสมุดและจะบริจาคทุนการศึกษาให้เด็กที่ด้อยโอกาสอีกสักสามสี่ทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส

     

    หากท่านใดต้องการร่วมสร้างห้องสมุดและอุปกรณ์การศึกษาสามารถสมทบทุนมายัง ชมรมร่มไม้ และกลุ่มพริกเกลือ หรือท่านสะดวกมาด้วยตนเอง ให้ติดต่อสอบถามได้ที่โรงเรียนวัดหนองปลาไหลตามหนังสือแนบตามระบุด้านล่างได้เลยครับ

    การทำพิธียกเสาเอกห้องสมุดโรงเรียนวัดหนองปลาไหล

    หลวงน้าหนุ่มทำพีธียกเสาเอก

    ผลงานร่วมแรงร่วมใจจากพ่อใหญ่แม่ใหญ่พี่น้องทุกท่านที่ร่วมกันสร้างห้องสมุด

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือกลุ่มร่มไม้

    กลุ่มร่มไม้กับกลุ่มพริกเกลือนี่เป็นญาติกันไหม ชื่อเพราะจังกลุ่มร่มไม้

    กิจกรรมดีดีอย่างนี้ ขอสนับสนุนด้วยเต็มที่เลยนะ แถมกลุ่มนี้ทำประโยชน์กันมาตั้งเกือบยี่สิบครั้งแล้วด้วย นี่แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของพลังความสามัคคีในกลุ่มได้อย่างดี

    ขอแสดงความยินดีกับประธานชมรมกลุ่มพริกเกลือคลับเอ็ม:ปฐมพงษ์ ฉ่ำน้อยคนใหม่ด้วยนะ

    อนุโมทนาบุญกับบ้านหนองปลาไหลรวมพลังทำห้องสมุด ต่อไปชาวบ้านและลูกหลานในชุมชนบ้านหนองปลาไหลก็จะมีแหล่งเรียนรู้ประจำหมู่บ้าน สร้างปัญญาเป็นทานถือว่าได้บุญหลาย

    ขอบคุณเจ้าของบ้านที่นำข่าวสารนี้มาบอกกล่าวให้ทราบ

    อนุโมทนาสาธุ

    อันดับแรกเลย ก่อนจะสร้างห้องสมุดเสร็จ หลวงอาขอมีส่วนร่วมในช่วงที่สร้างนี้ไปด้วย ด้วยการบริจาคหนังสือคนหนองบัว แต่ตอนนี้ยังเข้าเล่มไม่เสร็จเหมือนกับห้องสมุดนั่นแหละ แต่มีตัวอย่างให้ดู นี่คือหน้าตาของหนังสือคนหนองบัว

                           
                            คนหนองบัวกับพริกเกลือ ประมาณสองร้อยกว่าหน้า

     

    นี่อีกสามสี่เรื่อง รวมแล้วหลายร้อยหน้า

                     
                      (๑)๔แยกต้นอีซึก ๔ แยกหนองบัว (๒) น้ำท่วมหนองบั ๒๕๕๓ (๓)ทุนสังคมของอำเภอหนองบัว นครสวรรค์(๔)การเลื่อยกระดาน ทำเสาจากไม้ทั้งต้น และการสุมไฟทำครก

                        
                         อีก ๔ เล่ม(๑)เปิดกรุ : รุ่นแรก (๒) กลิ่นโคลนสาบควาย (๓)โรงหนังในอดีตของ อำเภอหนองบัว จ.นครสวรรค์ ตอนที่๒ (๔)รวมทรรศนะ : ฉิก ศักดิ์ศรี  พิทักษ์อำนวย
       

     

                       
                        ๔เล่ม(๑)เวทีพลเมือง : เรียนรู้สร้างสุขภาวะคนหนองบัวให้เข้มแข็งและยั่งยืน(๒)พัฒนาการของประเพฒีการกินดองในชุมชนบ้านกุฎฤาษี อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์(๓) กระยาสารท : ความเป็นชุมชนบนอาหารสุขภาวะจิตวิญญาณ และอีกพื้นฐานความสามัคคีคนหนองบัว(๔)ทุนสังคมวัฒนธรรม อำเภอหนองบัว ข้อมูล เรียนรู้ชุมชน... พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

                         
                         

                        
                         สี่เรื่องสี่เล่ม (๑)หนองบัววันวาน วันนี้ และวันพรุ่ง(๒)คนหนองบัวกับพริกเกลือ(๓)ประวัติบุคคสำคัญ : ชุมชนเมืองหนองบัว (๔)บทบาทพระสงฆ์กับเทคโนโลยีและการเรียนรู้อย่างบูรณาการบนฐานชุมชน : เรียนรู้จากประสบการณ์กับพระมหาแล

                     
                      (๑)ช่างว่อน ขำสุข(๒)ที่มาการจัดนิทรรศการเวทีคนหนองบัว(งานงิ้วหนองบัว๒๕๕๔)(๓)วิถีชีวิตของคนในชุมชนห้วยร่วมกับความเชื่อศรัทธาของตำนานหลวงพ่อสวาสดิ์ โรงเรียนชุมชนวัดห้วยร่วม(๔)สุขภาวะในองวมแห่งชีวิต : อยู่ไฟ

                     
                      (๑)หมอนิม หมออรุณ : ประวัติศาสตร์พัฒนาการสุขภาพชุมชนที่ยังมีลมหายใจของอำเภอหนองบัว(๒)การศึกษาเปลี่ยนแปลงประเพษีการบวชนาคหมู่ของคนในชุมชนหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์(๓)ดอกอุ้มน้อง : พืชผักท้องถิ่นหอนงบัว(๔)สีสันตระการตา งานงิ้วหนองบัว ๒๕๕๔

                      
                       (๑)มนต์รักษ์หนองบัว(๒)เจ้าทุยเพื่อนฉัน(๓)พลังเครือข่ายครูวิจัยส่งเสริมเรียนรู้เสาษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน

    รวมเรื่องราวทั้งหมดในชุมชนหนองบัวบ้านเรา ที่หลายท่านได้ช่วยกันเขียนคนละเล็กละน้อย ตอนนี้มีหลายพันหน้าแล้ว ถ้าหากใครมีศรัทธาจะช่วยหลวงอาพิพม์เผยแพร่ให้เข้าถึงคนหนองบัวได้มากกว่านี้ ก็จะยินดีเป็นอย่างมากเลยเชียว

    หนังสือคนหนองบัว เล่มนี้นำไปให้ญาติผู้พี่ของหลวงอา ท่านอ่านแล้วชอบใจอย่างมากเลย หลวงอานำอวดคุณเสวกซะเลย

                      
                       นี่คือหนังสือที่เข้าเล่มแล้ว สวยงามมากเลยน่าอ่านด้วย

    หนังสือทำมือ หนังสือทำเองที่เข้าเล่มแล้ว

                        

    หนังสือเข้าเล่มชุดนี้ ได้ออกงานที่หนองบัวแล้ว สองงาน งานงิ้วหนองบัว๒๕๕๔ และงานเวอร์คช็อปที่โรงเรียนหนองคอก ๒๕-๒๖ กรกฏาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา เป็นที่ถูกใจคนหนองบัวมากด้วย

                      

    หนังสือที่เขียนกันเอง ทำขึ้นมาเอง อ่านเอง เผยแพร่เอง โดยคนหนองบัว แสนภูมิใจซะไม่มี

                           

    เล่มนี้ก็เป็นอีกหนึ่งความภูมิใจที่ได้รวบรวมไว้โดยคนหนองบัวพวกเราช่วยกัน

                             

    เล่มนี้เขียนโดยอาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ผู้เขียนยืนยันว่าข้อมูลชุมชนรอบด้านที่สุดของประเทศโดยเฉพาะข้อมูลเรื่องโรงเรียนวันครู(๒๕๐๔)ที่มีห้าแห่งในประเทศไทย

    ประวัติชุมชนบ้านตาลิน และโรงเรียนวันครู(๒๕๐๔)คนรวบรวมบอกว่าสมบูรณ์ที่สุด

    ทั่วประเทศมีโรงเรียนวันครู(๒๕๐๔) ๕ แห่งคือ

     ๑. โรงเรียนวันครู(๒๕๐๔) บ้านตาลิน ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว
        จังหวัดนครสวรรค์ ๖๐๑๑๐ 

    ๒. โรงเรียนวัดคูหาสวรรค์ (วันครู ๒๕๐๔) ชุมชนคูหาสวรรค์ ถนนคูหาสวรรค์ ตำบลธานี อำเภอเมืองสุโขทัย 
        จังหวัดสุโขทัย ๖๔๐๐๐   
    ๓. โรงเรียนคุรุประชาชนูทิศ (วันครู ๒๕๐๔) เลขที่ ๑๕ บ้านศรีชนูทิศ อำเภอวังทอง 
        จังหวัดพิษณุโลก ๖๕๑๓๐   
    ๔. โรงเรียนบ้านคลองตะเคียน หมู่ ๒ (วันครู ๒๕๐๔) ตำบลคลองตะเคียน อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา 
        จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ๑๓๐๐๐ 
    ๕. โรงเรียนวันครู ๒๕๐๔  หมู่ ๕ ตำบลเกาะโพธิ์ อำเภอปากพลี
        จังหวัดนครนายก  ๒๖๑๓๐

                           

    สวัสดีค่ะชมรมคนหนองบัวกับพริกเกลือเหมือนกัน

    มีเพื่อนสนใจซื้อบ้านหรือเปล่าค่ะ ข้างขนส่งหนองบัวปากทางเข้าเหมื่องแร่

    บ้านสองชั้น81ตรว มีรั้วรอบบ้าน แถมครัวยุโรปพร้อมเครื่องครัว สนใจติดต่อ 0897788405แอ๊ว

    (เป็นบ้านฝรั่งย้ายกลับต่างประเทศ)ขาย3ล้าน ต่อรองได้ค่ะ

    เพื่อนๆๆหนองบัวช่วยซื้อหน่อยน่ะค่ะ(เอาโฉนดไปเข้าแบงค์ได้เลยกสิกรไทย)

    ขอให้อำนาจหลวงพ่อเดิมคุ้มครองทุกคนค่ะ

    มาแจ้งข่าวว่าได้แอบนำภาพกิจกรรมการสร้างห้องสมุดวัดหนองปลาไหล ไปลงที่บล็อกเวทีคนหนอบัว ลองตามไปดูหน่อยเด้อ

    วันนี้(๒๑กันยายน๒๕๕๔)ที่พิษณุโลก ฝนตกหนักมากเลย ตกตั้งแต่เช้าช่วงพระออกบิณฑบาตพอดี พระเลยออกไปบิณฑบาตไม่ได้ ต้องฉันข้าวกับพริกเกลืออาหารชุมชนบ้านเราไปหนึ่งวัน ได้บรรยาศดี

    ที่ว่าได้บรรยากาศดีก็เพราะเมื่อสองสามวันที่แล้ว ได้รับของฝากจากบ้านวังนกแอ่นต.วังทอง อำเภอวังทอง เป็นฝรั่งขี้นกไส้ขาว นานมากแล้วจริงๆที่ไม่ได้กินฝรั่งพื้นบ้าน

    ที่ไม่ได้ฉันเพราะหายากมากจริงๆ ฉันแล้วนึกถึงนาเลยทีเดียว เมื่อก่อนตามโคกห้างนามีเยอะแยะไปหมด ทำงานเหนื่อยๆพอได้กินฝรั่งจิ้มพริกเกลือสักสองสามลูก รู้สึกมันมีเรี่ยวแรงมีกำลังขึ้นมาทันที

    เมื่อวานหลวงอาตำพริกเกลือ มีทั้งพริกเกลือมีทั้งของจิ้ม(ฝรั่งขี้นก)กินแล้วคิดถึงบ้าน เลยเอามาฝากกลุ่มพริกเกลือที่กำลังคิดถึงบ้านสักหนึ่งถาดหนึ่งถุง
                                
                                  
                                  
                         

    ของฝากจากบ้านวังนกแอ่น วังทอง ที่ได้รับ(๑๙กย.๒๕๕๔)มีหลายอย่าง ผักกูด ผักหนาม ลูกข้าวเม่า และที่หลวงอาไม่รู้จักมาก่อนก็มีด้วย คือลูกนมยาน เป็นชื่อที่คนบ้านวังนกแอ่นเรียกกัน เห็นแต่ลูกที่เขาเอามาให้ ต้นยังไม่เคยเห็น แต่เขาบอกว่าต้นคล้ายต้นข่า

    ลูกสุกกินอร่อยดีมาก ให้พระในวัดซึ่งเป็นคนวังทองดูชมและลองชิม ท่านบอกไม่รู้จักเหมือนกัน ถามว่ารสชาติเป็นไง ได้คำตอบว่าอร่อยดี
                              
                              
                               ลูกข้าวเม่า
                              
                              
                               
                               ลูกนมยาน คนเมืองหลายคนที่ไม่รู้จัก แต่เมื่อกินแล้ว บอกว่าอร่อย

    ขอเป็นกองเชียร์ให้คนหนองบัวพูดคุยเรื่องดี ๆ ของชุมชนครับ

    หากโอกาสหน้ามีภาระงานกับ ดร.วิรัตน์ ที่นครสวรรค์ จะขอไปชิมพริกเกลือ (บ้านผมเรียกปลาแดกบอง) ที่หนองบัวครับ

    เมื่อเช้ามีแต่ลูกข้าวเม่า ซึ่งเป็นของฝากจากป่า
    บ่ายนี้หลวงอาขอนำต้นข้าวเม่ามาฝากเพิ่มเติมอีก ถ่ายจากหน้ากุฏิในวัดศรีโสภณนี่เอง
    เพื่อให้เห็นทั้งต้นทั้งลูกไปพร้อมกันด้วยเลย ต้นในวัดนี้ต้นใหญ่มีดอกแต่ไม่เห็นมีลูก

    ลูกข้าวเม่านั้นเป็นของป่าที่เมื่อก่อนหากินง่าย แต่เดี๋ยวนี้หายากจัง ลูกกินได้รสชาติเปรี้ยวๆ
                              
                              
                              
                              

    ผมอยากทำงานวิจัยให้จบก่อนครับ

    สวัสดีคุณ thanaphon [IP: 223.204.238.209]
    23 กันยายน 2554 16:36

    ไปไงมาไง ถึงได้มาถึงเวทีกลุ่มพริกเกลือละท่านธนพล
    คุ้นๆนะพูดถึงเรื่องวิจัยเนี่ย อย่าลืมว่าวิจัย คู่กับธรรมใจ,ทำใจนะครับ
    ธรรมไปเรื่อยๆเดี๋ยวก็จบเองนะแหละ

    ขอเป็นกำลังใจให้อีกแรง

    วันนี้วันสารทไทย บ้านเราเรียกบุญข้าวเม่า(แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐, ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔)

    นำข้าวเม่ากับกล้วยไข่พร้อมอาหารพื้นบ้านต้นข้าวสารซึ่งเป็นพืชที่หายากแล้วในตอนนี้ มาฝากคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือ
                        
                        
                        
                                 
                                   ต้นข้าวสารที่วัดศรีโสภณ ๒๗ กันยายน ๒๕๕๔
                          
                           ข้าวเม่า(กระยาสารท)

    ต้นข้าวสารที่วัดเพิ่งจะมีดอกเอง คงอีกนานกว่าจะได้กินลูก

    เพื่อให้เห็นของจริงเลยไปนำภาพลูกข้าวสารมาให้ดูซะเลยดีกว่า
    ต้มจิ้มน้ำพริกอย่างในภาพนี้ก็อร่อยดี

                         
                          ลูกข้าวสารต้ม
                         ที่มา...http://www.gotoknow.org/blog/pknongbur/281711

     

    นำผักพื้นบ้าน"มะยาวยักษ์"มาฝาก เมื่อวานมีคนนำมาถวายหลวงอาที่วัด ซึ่งเรายังไม่เคยเห็นต้นเลยนะเนี่ย
                   
                    นี่คือมะงั่ว,มะนาวควาย,หมากเว่อ,ส้มโอมะละกอ
                   
                    ลูกโตเต็มที่ หนักประมาณ กิโลครึ่ง
                   
                    รสชาติเปรี้ยวเหมือนมะนาว
                   
                    เมล็ดไม่ค่อยมี
                   
                    เยอะขนาดนี้ ต้องหมักทำยา หรือทำแชมพูสระผมก็ได้

    กราบนมัสการพระคุณเจ้า หลวงอามหาแล และทุกท่านที่เข้ามาให้กำลังใจ

    เนื่องจากตอนนี้พี่น้องชาวไทยได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วม การเดินทางบางเส้นทางถูกตัดขาดไปไหนมาไหนลำบาก

    บ้านเรือนถูกน้ำท่วม และหลายอย่างที่ตามมา พี่น้องชาวพริกเกลือ ขอเป็นกำลังใจให้พี่น้องชาวไทยทั่วประเทศครับ

    ตามที่ได้เคยแจ้งไว้เรื่องการสร้างฝันให้น้องร่วมกับกลุ่มชมรมร่มไม้ ในการสร้างห้องสมุดโรงเรียนวัดหนองปลาไหล กลุ่มชมรมร่มไม้ได้แจ้งมาว่า ขอเลื่อนการส่งมอบห้องสมุดออกไปประมาณเดือน พฤศจิกายน 2554 ประมาณปลายเดือน เนื่องจากการเดินทางบำลาก และบางเส้นทางที่ไปได้อาจไม่ชำนาญการใช้เส้นทางเพราะมีสมาชิกชมรมร่มไม้ที่จะเดินทางมาจำนวนมากยากต่อการดูแล ดังนั้นกลุ่มพริกเกลือได้ปรึกษาหาลือกันว่าจะขอเลื่อนตามเพราะจะได้ส่งมอบพร้อมกัน จึงขอแจ้งมาให้ทุกท่านที่สนใจจะไปร่วมกิจกรรมทราบโดยพร้อมกัน แล้วกำหนดการจะแจ้งให้ทราบภายหลังอีกครั้งครับ

    เมื่อคืนวาน(๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔)หลวงอาได้ลอยกระทงด้วย โดยได้กระทงจากโยมที่มางานทอดผ้าป่าหมู่ในวัด ซึ่งปรกติที่วัดศรีโสภณและวัดในอำเภอวังทองจะมีประเพณีทอดผ้าป่าหมู่กันทุกปีในช่วงหลังออกพรรษาอยู่แล้ว แล้วคนที่มางานนี้ก็เพียงมาทอดผ้าป่าอย่างกันอย่างเดียว

    แต่มีโยมคนหนึ่งนำกระทงมาด้วย แล้วถวายหลวงอาโดยฝากให้หลวงอานำไปลอยให้ด้วย เนื่องจากในวัดไม่มีสระน้ำ เลยต้องลอยกระทงในกะละมังในสวนป่าข้างกุฏนั่นเลย

    เชิญชมกระทงในกะละมัง
                       Large_page01245                      Large_p1015766
                             Large_page123045
    โดยขออธิษฐานแทนคุณโยมเจ้าของกระทง ด้วยการน้อมบูชารอยพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอามิสบูชา

    และขอปฏิบัติบูชาต่อพระแม่คงคงด้วยการดูแลแหล่งน้ำให้สะอาด ไม่ทิ้งสิ่งปฏิกูลสิ่งสกปรกลงน้ำ ใช้น้ำอย่างประหยัดไม่ฟุมเฟือย สำนึกในคุณค่าของน้ำที่มีความสำคัญต่อมนุษย์

     

    กราบนมัสการพระคุณเจ้า หลวงอามหาแล และทุกๆท่านครับ

    กำหนดการการส่งมอบห้องสมุดโรงเรียนวัดหนองปลาไหล หลังจากที่เลื่อนกำหนดมาแล้วหนึ่งครั้ง ตอนนี้ได้กำหนดการที่แน่นอนแล้วครับ คือ วันอาทิตย์ ที่ 19 พ.ย. 2554 หากท่านใดต้องการไปร่วมกิจกรรมขอเชิญชวนพร้อมกันอีกครั้งครับ

    หลวงอานำภาพลอยกระทงในกะละมังใส่น้ำเห็นแล้วน่าจะไปการดีต่อคนที่อยู่ในกรุงเทพ ถึงแม้ปีนี้น้ำจะมากจนเข้าไปอยู่ในบ้านน้ำที่มีนั้นก็ไม่น่าลอยกระทงสักเท่าไร น้ำตามคลองกรุงเทพ ทุกวันนี้เป็นน้ำที่เน่าเสีย ผิดแปลกจากบ้านนอกตามชนบทยังมีน้ำใส่ๆตามห้วยหนองคลองบึง ให้ลอยกระทง ขอขอบคุณที่นำภาพการลอยกระทงในปีนี้มาฝากครับ

    ขอแก้คำผิดครับ เป็นวัน อาทิตย์ 20 พ.ย .2554 ครับ

    นำยาสมุนไพรไทยใกล้ตัวมาฝากกลุ่มพริกเกลือ

    เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีคนนำรากหนอนตายหยาก มาถวายที่วัด
    ไม่ทราบสรรพคุณ เลยหาข้อมูลในเน็ตไปเจอว่าแก้ปวดฟัน เราปวดอยู่พอดี เลยลองเคี้ยวอมไว้(เคี้ยวรากสดๆ) มีรสเมาเบื่อนิดๆ

    หลังจากนั้นได้นำไปต้มรวมกับใบหนุมานประสานกาย แก้ฟันทน ฟันผุได้
                          Large_page3547
    รสเมาเบื่อของรากหนอนตายหยาก สามารถจำจัดเหา หิด ทำเป็นยาไล่แมลงศัตรูพืช

                         Large_page4786
                         อธิบายภาพ : ไม้ตะคอง

    พระในวัดท่านได้ไม้ตะคองมาจากโยมที่รู้จักกัน ท่านบอกว่าโยมไปเอามาจากภาคอีสาน
    นำมาต้มกินน้ำ แนะนำต่อๆกันมาว่าแก้ปวดเมื่อยได้
    ในเน็ตมีข้อมูลบอกถึงสรรพคุณไม้ตะคองว่าเป็นยาแก้ผิดสำแดง(ต้มกินน้ำ)

    ตะคองเมื่อก่อนบ้านเรามีเยอะ แต่ไม่เคยทราบเลยว่าเป็นสมุนไพรด้วย ใช้ประจำก็คือลูกตะคอง นำไปทำเป็นลูกกระสุน ลูกหนังกะติ๊กดีนักเอย

    เพื่อให้เห็นว่าหน้าตาตะคองเป็นอย่างไร จึงขอไปนำมาให้ดูกันจะจะซะเลย
    มาจากเว็บนี้http://110.164.70.242/MDP/FMPro?-db=mdp.fp5&-format=record_detail.htm&-lay=layout%20%232&-sortfield=fullname&Family=Rhamnaceae&-max=2147483647&-recid=33176&-find=

    น้ำท่วมใหญ่ปีนี้ ทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำกิน ขาดน้ำดื่มกันถ้วนหน้า
    ในสถานการณ์อย่างนี้ทำให้หลวงอานึกถึงเมื่อก่อน ที่คนบ้านเราเก็บน้ำฝนไว้กิน บ้านใครมีโอ่งหลายใบก็สามารถเก็บน้ำได้เยอะ มีน้ำเหลือไว้กินได้นานๆ(แบบนี้ สมมุติถ้าน้ำท่วมก็จะไม่ขาดน้ำกินในทันที เพราะมีน้ำที่เก็บไว้ ยังพอประทังชีวิตได้นานเป็นอาทิตย์ๆ ไม่เหมือนสมัยนี้ น้ำท่วมวันแรกๆ ก็เริ่มขาดน้ำดื่นกันแล้ว จะว่าขาดอุปกรณ์ใส่น้ำ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะวัสดุสมัยใหม่มีให้เลือกมากมาย แท้งน้ำ ถังน้ำ ขนาดบรรจุได้เป็นร้อย เป็นพันลิตรหาซื้อได้ทั่วไป และหาซื้อได้ง่ายกว่าสมัยก่อนอย่างมาก)

    อีกอย่างที่ไม่ค่อยได้เห็นแล้ว ก็คือการแกว่งสารส้ม มีพระในวัดหลวงอาท่านนำน้ำประปามาใส่โอ่งมังกร แล้วแกว่งสารส้มทิ้งไว้ให้ตกตะกอน นานเป็นเดือนเลย แล้วนำมากิ ประหยัดรายจ่ายไม่ต้องซื้อน้ำขวด ท่านบอกว่าท่านจำวิชาคนเก่าๆแล้วนำมาทำใช้เอง

    เรื่องนี้หลวงอาเคยมีประสบการณ์ตรง ตอนไปนอนนา ปีไหนเจอภาวะภัยแล้ว น้ำหายาก น้ำในคลอง ในสระที่มีอยู่ก็ขุ่นคลักเลย เมื่อนำน้ำที่ขุ่นนั้นมา จะกินทันทีเลยก็ไม่ได้

    ก่อนจะกินก็ต้องนำน้ำมาแกว่งสารส้มเสียก่อน
    วันนี้ได้ลองทำ เลยขอนำตัวอย่างที่ทำมาให้คนรุ่นใหม่ที่อาจจะไม่ค่อยได้ทราบหรือรับรู้มาก่อน ได้เรียนรู้ร่วมกัน 

                              Large_page0125
                              นี่คือน้ำดิบ : เปรียบเทียบระหว่างน้ำดิบกับน้ำที่เริ่มแกว่งสารส้ม เราพอจะเห็นความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยภาพบนคือน้ำที่ยังไม่แกว่งสารส้ม จะเห็นว่าน้ำนั้นใสกว่าภาพล่าง ที่เริ่มแกว่งสารส้มใหม่ๆ

                               Large_page7598
                                ภาพซ้ายแกว่งสารส้มได้ประมาณ๑๐นาที ส่วนภาพขวาหลังจากแกว่งสารส้ม๒๐นาที

                               Large_page1475
                               ภาพรวมนี้คือน้ำดิบ น้ำที่เริ่มแกว่งสารส้ม และน้ำที่ได้แกว่งสารส้มแล้ว๑๐นาที ๒๐ นาทีตามลำดับ

                                Large_page147
                                 ภาพโอ่งมังกรและน้ำที่เห็นนี้ คือน้ำที่พระในวัดศรีโสภณท่านนำน้ำประปามาใส่โอ่งมังกรแล้วแกว่งสารส้มปล่อยไว้สักหนึ่งเดือนแล้วนำมากิน(ท่านบอกว่าวิชาความรู้ของคนเก่า ยังใช้ได้อยู่)

    รอชมภาพวันมอบห้องสมุดให้น้องๆที่โรงเรียนบ้านหนองปลาไหล จากชมรมร่มไม้

    สมาชิกท่านใดที่ได้ไปในงานดังกล่าวมีภาพถ่ายกิจกรรมในวันนั้น ก็นำมาลงให้ดูชมกันบ้าง

    เมื่อวันที่๒๔-๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาหลวงอาได้ไปสุพรรณบุรี ไปด้วยกิจนิมนต์ทำบุญเลี้ยงพระซึ่งเจ้าของบริษัทเป็นญาติของพระในวัดศรีโสภณ ได้พักค้างที่บริษัทสองคืน

    เจ้าของบริษัทพาไหว้พระเก้าวัดสิบวัดทั้งในสุพรรณบุรีและอ่างทอง ขากลับได้แวะชมตลาดร้อยปีที่อำเภอสามชุกด้วย และแวะเยี่ยมอนุสรณ์สถานบ้านเกิดท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) ที่อำเภอศรีประจันต์ วันนี้นำรูปบางส่วนที่ไปไหว้พระวัดพระลอย วัดป่าเลไลยก์ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสุพรรณบุรีและตลาดสามชุกมาฝาก





    นำผลิตภัณฑ์จากเวทีคนหนองบัวมาฝากคุณเสวก เป็นถุงผ้าดิบที่อาจารย์วิรัตน์ คำศรีจันทร์ ท่านทำแจกญาติๆแล้วได้ส่งไปให้หลวงอาเมื่อปีที่แล้ว จำนวนอาสองใบ ที่ย่ามนั้นมีภาพวาดสวยงาม เป็นภาพการลงแขกเกี่ยวข้าวของคนหนองบัวในอดีต

    ส่วนมีดและแหมมีดนั้น เป็นของพระรูปหนึ่ง ที่ท่านให้โยมทำฝักแล้วนำมาให้ดู เลยลองๆทำแหมให้ แหมหลวงอาทำด้วยเถาวัลต้อยติ่ง ทำหยาบมากเลย แต่วัยรุ่นข้างวัดมาเห็นเข้า บอกสวยดีและชอบด้วยเป็นงั้นไป นี่ถ้าไปเห็นแหมมีด งามๆจากหนองบัวคงหลงความสวยงามของแหมมีดจากฝีมือคนบ้านเราแน่ๆเลยเชียว

    วันนี้มีวัยรุ่นอีกคนจากในเมืองพิษณุโลก มาหาที่กุฏิเลยสอนให้ทำแหมมีด ทำไปได้เล็กน้อย (ยังไม่เสร็จเลยไม่ได้นำมาโชว์) 

    พูดถึงมีดแล้ว ให้ดูของจริงจากหนองบัวด้วยเลยดีกว่า
    มีดชุดนี้ เมื่อปลายปีที่แล้ว(๒๕๕๓)ไปบ้านได้วานให้ญาติไปยืมจากช่างบ้าง คนข้างบ้านบ้าง มาชมแล้ถ่ายรูปไว้ ได้มาลงที่เวทีคนหนองบัวไปแล้ว ขอนำมาลงที่นี้อีกสักครั้ง

     
    รูปซ้าย : มีดช่างจำเนียร สิริบุตร บ้านเนินตาโพ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ฝักและด้าม : ไม้ประดู่ลาย รูปขวา : มีดช่างวิมล  สุขสุ่ม บ้านเนินสาน หมู่ที่ ๑๓ ต. หนองกลับ  อำเภอหนองบัว
    อายุ ๖๙ ปี (ทำมีดมานาน ๗ ปี)ฝักและด้าม : ไม้ชิงชัน,ไม้พยุง(สีดำ)

     
    รูปซ้าย : มีดช่างวิมล  สุขสุ่ม  รูปขวา : มีดช่างวิมล  สุขสุ่ม ฝักและด้าม :ไม้มะเกลือ

     
    รูปซ้าย : มีดช่างวิมล  สุขสุ่ม(ช่างวิมล ทำฝักมีด,ด้ามและแหม) รูปขวา : มีดช่างจำเนียร  สิริบุตร

     

     

    ประวัติบ้านเนินตาโพ : บ้านไร่โพทอง

    วันนี้หลวงอาขอนำประวัติชุมชนบ้านเนินตาโพมาฝากคุณเสวกและกลุ่มพริกเกลือชมรมร่มไม้
    คนรุ่นใหม่อาจไม่ทราบมาก่อนว่าบ้านไร่โพทองในปัจจุบันนี้ มีความเป็นมาอย่างไร เดิมก่อนที่จะรวมเป็นชื่อเดียวดังปัจจุบันนั้น มีสองหมู่บ้านคือบ้านเนินไร่ และบ้านเนินตาโพ

    บ้านเนินไร่นั้นเมื่อก่อนมด้านทิศตะวันออก กับถนนสายสี่แยกตลาดหนองบัว-วัดเทพสุทธาวาส ยังไม่บ้านคุณครูสำเนียง ฮวบสอน(ลูกตาเทิน-ยานแทน ฮวบสอน)ร้านขายยาหมอคนึงและร้านค้านายสมชายรวมทั้งกลุ่มบ้านบริเวณนั้น(แถวนั้นเป็นทุ่งนาทั้งหมดคือตั้งแต่ร้านค้านายสมชายข้างสระน้ำหนองกลับ จนถึงบ้านเนินยายปู-บริเวณกลุ่มบ้านติดถนนสายหนองบัว-ชุมแสง หมู่บ้านนี้เมื่อก่อนมีคลองเรือ มีสะพานเชื่อมต่อกับถนน) มีแค่บ้านลุงแปลก-ป้าชาญ เต่าแหลม เท่านั้นที่อยู่ริมสุดของด้านทิศตะวันออกบ้านเนินไร่ นอนนั้นก็เป็นทุ่งนาตลอด(จำได้ว่าเป็นนาตายัน ไม่ทราบนามสกุลอะไร-เรียกตามชาวบ้าน)ไปถึงกลุ่มบ้านณรงค์ อินทชิต(บ้านคุณครูสุธีร์ นาคสุทธิ์)

    ส่วนทิศตะวันตกติดกับบ้านเนินตาโพ โดยมีสอกกั้นระหว่างหมู่บ้านทั้งสอง สอกเริ่มจากบ้านตาเทิน-ยายแทน ฮวบสอน(บ้านเราเรียกใต้สระ สระน้ำหนองกลับคือทิศตะวันตกนั่นเอง)

    หมู่บ้านด้านทิศตะวันตกของบ้านเนินไร่ก็คือบ้านเนินตาโพ กลุ่มบ้านเนินตาโพนี้ คนรุ่นเก่าที่เป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านหนองบัว-หนองกลับก็คือหมอไล้ พินแหลม,ทายกอิน เหว่าโต หมอไล้เป็นหมอรักษาเกี่ยวกับกระดูก(หมอน้ำมัน) ชาวบ้านได้รับอุบัติเหตุ บาดเจ็บ จากการประกอบอาชีพ การดำเนินชีวิตประวัน เช่น ทำนา ทำไร่ ทำบ้าน เลี้ยงสัตว์ ตกต้นไม้ ตกควาย ควาย-งัวขวิด ตกเกวียน หกล้ม กระดูกหัก แขนหลุด แขนซ้น แขนพลำ หลังยอก ต่างๆเหล่านี้ ส่วนมากไม่ไปโรงพยาบาล มักมาหาหมอในหมู่บ้าน แขนหักสามารถรักษาให้หายได้เพียงไม่กี่วันโดยการเข้าเฝือก นี่คือบทบาทหมอพื้นบ้านที่นอกจากจะรักษาโรคภัยไข้เจ็บแก่ชาวบ้านแล้ว ยังมีลักษณะเป็นผู้นำตามธรรมชาติตลอดทั้งผู้คนในชุมชนให้ความเคารพนับถืออีกด้วย

    ส่วนทายกอิน เหว่าโต เป็นคนพูดจาเสียงดังฟังชัด พูดสำเนียงแบบเหน่อหนองบัวได้ดีมาก น่าฟัง งานวัดงานในบ้านมักจะได้ยินทายกอิน พูดไม่ขาด(จำได้ว่างานไหนมีหลวงพ่ออ๋อย ก็ต้องมีทายกอินอยู่ด้วย ประมาณนั้นเลย) จริงๆแล้วคนบ้านเราแม้ปัจจุบันก็พูดเหน่ออยู่ แต่รุ่นทายกอินนั้น คนที่จะไปเป็นโฆษกจับไมค์พูด ในงานต่างๆนั้นหายากที่สุดเลย เมื่อทายกอินไปพูดไมค์ จึงพูดแบบชาวบ้านอย่างที่สุด เลยดูมีเสน่ห์เป็นเอกลักษณ์ประจำตัวท่านไป(ที่จริงก็เราด้วยนั่นแหละ-คือเหน่อเหมือนท่านพูด)

    ข้อมูลชุดนี้ได้มาเมื่อปลายปี๒๕๕๓

     
    ผู้ให้ข้อมูลประวัติชุมชนบ้านเนินตาโพ : บ้านไร่โพทอง หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์
    รูปซ้าย: ยายหริ อินทชิต(พินแหลม) อายุ ๘๕ ปี, รูปขวา: ยายกุหลาบ จิตรชนะ(พินแหลม)อายุ ๘๓ ปี ทั้งสองท่านอยู่บ้านเนินตาโพ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ถ่ายถาพ: วันที่ ๒๘ ธันวาคม  ๒๕๕๓

    คุณยายทั้งสองได้เล่าถึงความเป็นมาของบ้านตาโพให้ฟังว่า พ่อแม่ของคุณยายทั้งสองคือ(พ่อเฒ่าไล้- แม่เฒ่าก้อน พินแหลม(ดำชม) ดั้งเดิม อยู่บ้านใหญ่ หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองกลับ ขณะนั้นเมื่อ ๗๐ กว่าปีที่แล้วชุมชนบ้านใหญ่มีสภาพความหนาแน่น แออัดของบ้านเรือนอย่างมาก จนคนที่มีลูกมากไม่สามารถจะหาพื้นที่ขยายบ้านเรือนให้ลูกหลานได้ มีความจำเป็นต้องย้ายออกไปหาที่ปลูกบ้านที่ใหม่

    พ่อเฒ่าไล้ -แม่เฒ่าก้อนได้ย้ายจากบ้านใหญ่ มาจับจองที่สร้างบ้านใหม่ที่ป่ารกร้างว่างเปล่าข้างสระหนองกลับ คือเนินตาโพ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๘๒ วิธีจำอย่างง่ายๆของคนเก่าๆในชุมชนก็คือใช้วิธีจำอายุลูกชายคนเล็กของพ่อเฒ่าไล้-แม่เฒ่าก้อน ซึ่งก็คือน้องชายของคุณยายทั้งสองนั่นเอง พ่อเฒ่าไล้ แม่เฒ่าก้อนมีลูก ๘ คน ลูก ๗ คนเกิดที่บ้านใหญ่ มี ๑ คน ที่เกิดที่บ้านเนินตาโพเป็นคนสุดท้องคือนายเชิด พินแหลม เกิดปี พ.ศ. ๒๔๘๓ 

    ในตอนนั้นเนินตาโพมีสภาพเป็นป่าละเมาะ มีป่าไม้คันทาจำนวนมาก ต้นมะรื่นขนาดใหญ่หลายต้น ช่วงย้ายออกมาจากบ้านใหญ่ มีหลายครอบครัวที่ย้ายมาอยู่พร้อม ๆ กันเช่น เฒ่าเหลี่ยม –เฒ่าเต็มพ่อแม่ยายเผียร(เฒ่าเหลี่ยมเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพ่อเฒ่าไล้ พินแหลม) เฒ่าแคล้ว –เฒ่านวล(พ่อ-แม่ ยายบะ ต่อมายายบะย้ายไปอยู่บ้านเขานางต่วม  ตำบลวังบ่อ  เฒ่าดี–เฒ่าสั้น(พ่อ-แม่ ยายโต/พัน ต่อมายายโต ย้ายไปอยู่เขานางต่วมเช่นกัน)

    ส่วนผู้ที่ย้ายมาทีหลังพ่อเฒ่าไล้-แม่เฒ่าก้อน คือพ่อเฒ่ารถ-แม่เฒ่าเย็น พินแหลม(พี่ชาย-พี่สะใภ้ เฒ่าไล้ พินแหลม) เฒ่าอิน เหว่าโต

    ที่มาของคำว่าเนินตาโพ (ผู้บันทึก)ถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ ก็ไม่มีข้อมูลเรื่องชื่อบ้านในคำบอกเล่า ความทรงจำของคนในชุมชน เลยสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากชื่อของบุคคลที่มาจับจองสร้างบ้านเรือนอยู่ก่อน เหตุที่ให้สันนิษฐานอย่างนี้ ก็เพราะมีหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกันสองหมู่บ้านที่ชื่อหมู่บ้านเป็นชื่อบุคคล คือบ้านโนนนายายแรม(บ้านจันทร์แรม) บ้านเนินยายปู(ติดกับปั้มสามทหารใกล้สี่แยกตลาดหนองบัวปัจจุบัน)ทั้งสามชื่อของชุมชน ก็ยังหาข้อมูลไม่ได้

    บ้านเนินตาโพทิศเหนือติดกับสระน้ำหนองกลับ สระน้ำธารณะขนาดใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่ สระน้ำสระนี้มีความเก่าแก่คู่กันมากับสระหนองบัว(เกาะลอย)เป็นสระน้ำที่มีประชากรหลายหมู่บ้านของตำบลหนองกลับใช้สอยร่วมกันมาแต่โบราณกาล ทิศตะวันออกติดกับหมู่บ้าน บ้านเนินไร่เทศบาลหนองบัว ทิศใต้ติดกับถนนสายหนองบัว-ชุมแสงและตลาดเทศบาลหนองบัว ทิศตะวันตกติดกับทุ่งนาและห่างออกไปไม่ถึง ๑ กิโลเมตร คือหมู่บ้าน บ้านโนนนายายแรม

    ต่อมา จึงได้รวมหมู่บ้านสองหมู่บ้านคือบ้านเนินไร่และบ้านเนินตาโพเข้าด้วยกันโดยนำชื่อคำแรกของสองหมู่บ้านมาตั้งเป็นชื่อใหม่ในชื่อว่าบ้านไร่โพทองดังปัจจุบัน
    หมู่บ้านเนินตาโพ ตั้งแต่มีการตั้งบ้านเรือนเกิดขึ้นครั้งแรก จนถึงปัจจุบัน(๒๕๕๓)จึงมีอายุได้ประมาณ ๗๐- ๘๐ ปี
    ขอบคุณผู้ให้ข้อมูล: โยมป้าหริ อินทชิต(พินแหลม),โยมป้ากุหลาบ  จิตรชนะ(พิแหลม),ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ ตำบลหนองกลับ(ข้อมูลสระหนองกลับ)
    เอื้อเฟื้อคอมพิวเตอร์สำหรับพิมพ์บันทึกข้อมูลโดย : คุณครูอาภรณ์  อินทศร
    สัมภาษณ์บันทึกข้อมูลชุมชนโดย : พระมหาแล อาสโย(ขำสุข) ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๓

    วันนี้นำภาพเก่ามาฝากกลุ่มพริกเกลือ
    ภาพนี้เป็นภาพสมัยที่หนองบัวบ้านเรา ยังเป็นกิ่งอำเภอ
    เป็นภาพถ่ายสุขศาลาชั้น ๒ ของกิ่งอำเภอหนองบัว ถ่ายในวันที่๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๙๖

    สุขศาลานี่หลวงอายังทันได้เห็นและได้เคยไปใช้บริการตอนเป็นเด็ก แต่เมื่อได้ย้อนดูประวัติแล้ว สุขศาลาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นสถานีอนามัย ในปีพ.ศ.๒๕๐๓ ซึ่งตรงกับปีเกิดของหลวงอาพอดีเลย เปลี่ยนชื่อเป็นสถานีอนามัยพร้อมกับปีเกิด แต่หลวงอาดูเหมือนจะจำชื่อเดิมคือสุขศาลได้ดีกว่าชื่อสถานีอนามัย
    Large_img_0335
    อธิบายภาพ : สุขศาลาชั้น ๒ กิ่งอำเภอหนองบัว ๑ มีนาคม ๒๔๙๖
    Large_img_0336
    ต่อมาเปลี่ยนชื่อ สุขศาลา เป็นสถานีอนามัยอำเภอหนองบัว ๑ มกราคม ๒๕๐๓
     Large_img_0338
    อธิบายภาพ : สถานีอนามัยตำบลหนองกลับ (ภาพซ้ายมือ)คือป้าหมอหนิม(ถนิม อ่วมวงษ์ กุลสวัสดิ์ พ.ศ.๒๕๒๒)

    คุณป้าหมอหนิม ท่านเป็นข้าราชการหญิงคนที่สองของอำเภอหนองบัว(ตอนนั้นเป็นกิ่งอำเภอ) และก็เป็นพยาบาลผดุงภรรภ์คนแรกของอำเภอ คือท่านเป็นหมอประจำสุขศาลา และสถานีอนามัยคนแรกของอำเภอหนองบัวด้วย โดยมารับราชการเป็นพยาบาลผดุงภรรค์ประจำสุขศาลาชั้น ๒ กิ่งอำเภอหนองบัว ซึ่งตอนนั้นกิ่งอำเภอหนองบัวขึ้นกับอำเภอชุมแสง ตรงกับปีพ.ศ. ๒๔๙๑

    สุขศาลา,สถานีอนามัยในภาพนั้น สร้างในบริเวณที่ว่าการอำเภอหนองบัวในปัจจุบัน
    จากสุขศาลา เปลี่ยสเป็นสถานีอนามัย ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อจากสถานีอนามัย เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

    (ภาพและข้อมูลจากหนังสือ ประวัติการเรียนและการปฏิบัติงาน ของ ถนิม อ่วมวงษ์ กุลสวัสดิ์ จากโรงเรียนผดุงภรรค์ วชิระพยาบาล รุ่นที่ ๙ พ.ศ.๒๔๙๑)

    ประกาศข่าว : พระครูวุฒิธรรมารักษ์(พระครูสงวน โอภาษี)มรณภาพ

    วันนี้(๑๒ ธันวาคม ๒๕๕๔)ตอนเช้าได้รับโทรศัพท์จากน้องโทร.มาจากหนองบัว แจ้งว่าได้ยินหอกระจายข่าวในหมู่บ้าน ประกาศข่าวการมรณภาพของพระครูหงวน รองเจ้าอาวาสวัดหนองกลับ และอดีตเจ้าคณะตำบลหนองกลับ ตามข่าวแจ้งว่ามรณภาพที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์

    เลยขอแจ้งให้กลุ่มพริกเกลือ ชมรมร่มไม้และผู้ที่รู้จักพระครูสงวน วัดใหญ่(หนองกลับ) ตลอดทั้งผู้ที่เคยเป็นศิษย์(โดยตอนบวชท่านเป็นคู่สวด)ผู้ที่เคารพนับถือท่าน ให้ทราบโดยทั่วกันว่าพระครูหงวนมรณภาพแล้ว

    ส่วนรายละเอียดกำหนดการต่างๆนั้น ตอนนี้ยังไม่ทราบ

    รำลึกถึงหลวงน้าปลัดสงวน(พระครูวุฒิธรรมารักษ์)

    วงการสงฆ์และชาวบ้านอำเภอหนองบัวได้สูญเสียพระเถระผู้ใหญ่ไปอีกท่านหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ คือท่านพระครูวุฒิธรรมารักษ์(ปลัดสงวน  โอภาษี) รองเจ้าอาวาสวัดหนองกลับ และอดีตเจ้าคณะตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ พระครูวุฒิธรรมารักษ์นั้น ท่านดำรงสมณเพศด้วยการครองตนตามหลักพุทธภาษิตในข้อที่ว่ามีสันตุฎฐีธรรม คือเป็นผู้ที่มีความสันโดษในการครองตน 
         ปลัดหงวน(ชื่อนี้จะเป็นชื่อที่ทั้งชาววัดและชาวบ้านเรียกกันจนติดปากมาอย่างยาวนาน) แล้วต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูวุฒิธรรมารักษ์ แต่ชาวบ้านญาติโยมก็ยังนิยมเรียกชื่อเดิมของท่านอยู่ แต่เปลี่ยนจากปลัดหงวน เป็นพระครูหงวนแทน ถึงท่านจะได้พระเป็นครูแล้วก็ตาม ก็ยังมีคนเก่าๆผู้เฒ่าผู้แก่ ยังเรียกขานท่านว่าปลัดหงวนเหมือนเดิมด้วยความเคยชินก็ยังมี อย่างผู้เขียนนี้ก็นับถือท่านดุจญาติ ก็เลยเรียกท่านว่าหลวงน้าปลัด ช่วงหลังจึงได้เรียกหลวงน้าพระครูตลอดมา
         ในด้านการบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนชาวบ้านหนองบัว-หนองกลับและประชาชนทั่วๆไปนั้น ท่านได้ถือข้อวัตรปฏิบัติตามแบบพระอุปัชฌาย์ของท่าน นั่นก็คือพระเดชพระคุณพระครูนิกรปทุมรักษ์(หลวงพ่ออ๋อย )โดยท่านพระครูวุฒิฯ ได้สืบทอดวิชาอาคมต่าง ๆ จากหลวงพ่ออ๋อย และเป็นผู้ได้
    รับการถ่ายวิชาอาคมและสรรพตำราต่างๆ ของหลวงพ่ออ๋อยเอาไว้ 
          ดังนั้น เมื่อพระอุปัชฌาย์มรณภาพลง ประชาชนต่างก็ได้พึ่งพาท่าน โดยท่านได้เป็นขวัญกำลังใจสำหรับชาวบ้านมาหลายสิบปี เป็นเสมือนหนึ่งได้ทำหน้าที่เยี่ยงพระอุปัชฌาย์ ตั้งแต่นั้นมา จนถึงปัจจุบัน  
          ในบทบาทดังกล่าวนี้ ประกอบกับท่านมีศีลาจารวัตรอันงดงาม จึงก่อให้เกิดความเคารพศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่าน  ด้วยเหตุนี้  จึงทำให้ท่านมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับชาวบ้าน  เมื่อชาวบ้านมีงานบุญ งานมงคลต่าง ๆ ก็มักจะนิมนต์โดยระบุเจาะจงองค์ท่าน ไปเป็นผู้นำประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ  อยู่เสมอ ๆ มิได้ขาด
          ด้วยบุคลิกลักษณะของท่านที่เป็นคนไม่ถือตัวใจดีมีเมตตาเป็นกันเองกับทุกคน ไม่น่าเชื่อว่าท่านพระครูวุฒิฯ จะมีปัญหาสุขภาพมาตั้งแต่เด็กเลย คือท่านมีโรคประจำตัวที่น่าเห็นใจมากๆโรคหนึ่ง คือโรคนอนไม่หลับ โรคนี้ท่านบอกว่าเป็นมาตลอดชีวิต ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า สมัยเป็นฆราวาสก่อนบวช ช่วงนั้นทำนาทำไร่ ทำงานหนัก ร่างกายเมื่อยล้าอย่างมาก ตกกลางคืนแทนที่ร่างกายจะได้พักผ่อนนอนหลับอย่างคนอื่นเขาบ้าง กลับต้องข่มตานอน แสนทรมาน กว่าจะหลับได้ก็ถึงดึกดื่นค่อนคืน
          หลังจากนั้นมา ก็มีโรครุมเร้าอีกหลายโรคด้วยกัน เพียงแค่โรคนอนไม่หลับโรคเดียว ก็นับว่าหนักหนาเอาการอยู่แล้ว เมื่อมาเจอโรคอื่น ๆ ผสมเข้าไปอีก ทำให้สภาพร่างกายทรุดโทรมลงไป ประกอบกับอายุมากขึ้น ทำให้ความสามารถของร่างกายที่จะต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆ ก็พลอยอ่อนแรงลงตามไปด้วย ในที่สุดท่านก็ต่อสู้กับโรคาพยาธิที่รุมเร้านั้นไม่ไหว ได้จากทุกคนไปอย่างไม่มีวันกลับ ในนามศิษย์
          อนึ่งในฐานะที่ท่านหลวงน้าพระครูวุฒิธรรมารักษ์และผู้เขียนเป็นศิษย์ร่วมอุปัชฌาย์อาจารย์เดียวกัน โดยความต่างของอายุห่างกันเป็น ๒๐ ปี จึงถือว่าผู้เขียนเป็นศิษย์รุ่นน้อง ที่เทียบอายุแล้วเป็นระดับรุ่นลูกได้เลย ขอแสดงความอาลัยเสียใจต่อการจากไปของท่าน และก็ขอแสดงความเสียใจต่อญาติๆของท่านอีกโสตหนึ่งด้วย

         ด้วยอำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย และบุญกุศลคุณงามความดีที่ท่านพระครูวุฒิธรรมารักษ์(สงวน  โอภาษี)ได้ปฏิบัติมาตลอดชีวิต ขอจงเป็นพลวปัจจัยหนุนนำส่งให้ท่านพระครูวุฒิธรรมารักษ์(สงวน  โอภาษี )ได้ไปสู่สุคติสถานในสัมปรายภพด้วยเทอญ.

    พระมหาแล  อาสโย (ขำสุข)
    ๑๒ ธันวาคม  ๒๕๕๔

    กำหนดการพระราชทานเพลิงศพ : พระครูวุฒิธรรมารักษ์(สงวน โอภาษี)

    ณ เมรุวัดหนองกลับ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ วันเสาร์ที่ ๑๗  ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔

    ขอแจ้งข่าวงานพระราชทานเพลิงศพพระครูหงวนให้พุทธศาสนิกชนชาวหนองบัวกลุ่มพริกเกลือชมรมร่มไม้ศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือในพระเดชพระคุณท่านทราบว่าตั้งแต่ท่านพระครูมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมานั้น แล้วทางวัดได้ตั้งศพบำเพ็ญกุศลทุกคืนมีกำหนด ๗ วัน โดยวันศุกร์ที่๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๔ เป็นวันสุดท้าย และในวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่จะถึงนี้ จะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพที่วัดหนองกลับ

    รื้อป่าช้า หรือล้างป่าช้า

    ภาพการทำบุญ
    ในภาพมีหลวงพ่ออ๋อยนั่งริมซ้ายกำลังถือตาลปัตร ถัดไปเป็นหลวงพ่อไกร หลวงพ่อสงวน หลวงพ่อส้ม หลวงพ่อกุล ที่เหลือไม่ทราบรายละเอียด การรื้อป่าช้าวัดใหญ่ วัดหนองกลับครั้งนี้ ประมาณ ๒๕๑๖-๒๕๑๘ ในภาพจะเห็นท่อโรงสีด้วยคงเป็นโรงสีย่งฮงหมง(คนเก่าๆจะเรียกโรงสีเจ๊กเตี๊ย)

    ภาพมุมไกล

    บุคคลในภาพที่เห็นสวมชุดเครื่องแบบสีกากีมีคนบอกว่าเป็นคุณครูมหาย้อย นวลจันทร์ และคนนั่งหันหลังตรงกลางร่างใหญ่ๆนั้นน่าจะเป็นท่านกำนันเทียน ท้วมเทศ

    คนที่ประพรมน้ำมนต์คือหมอมาก ปานขลิบ และอีกคนน่าจะกำลังหว่านทรายคือศึกษาธิการอำเภอหนองบัวนายย้วน แสนเนียม


    ภาพนี้จากซ้ายมือจะมองเห็นอาคารเรียนโรงยาวโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(อนุบาลหนองบัว)และต้นมะขามหน้าอาคารเรียนที่ตรงนี้คือร้านค้า ถัดมาเป็นศาลาปรกศาลาคู่เมรุ และประตูซุ้มหน้าวัดหนองกลับ

    สถานที่ในภาพนี้ปัจจุบเป็นแหล่งการค้าอาคารพานิชเขตธุรกิจของหนองบัวไปแล้ว มีธนาคารกสิกร ปั้มน้ำมัน อาคารพักอาศัย ร้านค้าทันสมัย ท่ารถเมล์

    แต่ในอดีตนั้น บริเวณแถบนี้ เป็นป่าเปลี่ยวมาก และก็น่ากลัวที่สุดเลย ไม่กล้าเดินผ่านคนเดียวเลยแหละ เด็กๆก็จะกลัวทั้งผีและกลัวคนบ้า เพราะสภาพในตอนนั้นคือป่ารกเป็นที่เลี้ยงงัวเลี้ยงควาย เป็นทุ่งรกล้างชาวบ้านไม่มีส้วมใช้ดังปัจจุบัน สาธารณสุขยังไม่ทันสมัย ชาวบ้านก็ใช้สถานนี่แห่งนี้เป็นที่ขับถ่ายไปในตัว

    กราบนมัสการหลวงอามหาแล

    ขอร่วมรำลึกไว้อาลัยกับการจากไปของท่าน พระครูวุฒิธรรมารักษ์(พระครูสงวน โอภาษี)

    หลวงอามีเรื่องราวมาเล่าให้ฟังมากมายขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ

    สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ กลุ่มพริกเกลือ กลุ่มชมรมร่มไม้ ด้วยปฏิทินชุมชนหนองบัวบ้านเรา
    ขอให้มีความสุขตลอดไป สาธุ
     Large_t47314
    หลวงพ่อพระเทพสิทธินายก(ห้อง ท้วมเทศ,๒๔๓๘-๒๔๙๙)
     Large_eerty
    หลวงพ่ออ๋อย : พระครูินิกรปทุมรักษ์(๒๔๔๒-๒๕๒๙)

    สวัสดีคุณเสวก

    วันนี้มีเรื่องราวในชุมชนบ้านเรามานำเสนออีกเช่นเคยคือเรื่องบ้านนอก บ้านใน เรื่องนี้หลวงอาเขียนไว้ในเวทีคนหนองบัว เมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๓ และเมื่อปีใหมี ๒๕๕๕ ที่ผ่านมาได้สอบถามข้อมูลจากโยมลุงวาน บุญกิจ อายุ ๙๑ ปี บ้านข้างสระวัดใหญ่ ต.หนองบัว เลยได้ที่มาของชื่อบ้านนอก บ้านใน ชัดเจนที่สุดเท่าที่มีข้อมูล

    เลยจะนำเสนอทั้งสองชุดไปพร้อมกันในวันเลย ดังนี้
     

    คำว่าบ้านนอก บ้านใน

    บ้านอก บ้านในนั้นถือเอาถนนสายหนองบัว-ชุมแสงเป็นเขตแดนแบ่งหมู่บ้านทั้งสองนี้ แต่ตลาดหนองบัวบ้านคุณฉิกนี่ยกเว้นไม่เรียกว่าบ้านใน ถ้าไม่เป็นตลาดถือว่าเป็นบ้านในได้เลย เพราะอะไร เพราะคนหนองกลับเรียกหมู่บ้านตั้งแต่พื้นที่โรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(อนุบาลหนองบัว)ไปจนถึงโรงเรียนหนองคอก สระกำนันแหวน บ้านเนินน้ำเย็นสระกำนันเทอญ เกาะลอย บ้านตีนกุด(กุฏีฤาษีนารายณ์) เรื่อยไปถึงโคกมะตูมที่ทำการไปรษณีย์โน่นแหละ ทั้งหมดนี้เรียกรวมๆว่าบ้านใน

    ส่วนบ้านนอกนั้น ก็ตั้งแต่วิกไทยประเสริฐ โรงหนังหนองบัวราม่า ตะวันออกถึงโรงพยาบาลหนองบัว มาบ้านโคกมะกอก บ้านอาตมา(บ้านเนินตาโพ หมู่ที่ ๑ ต.หนองกลับ)วัดเทพสุทธาวาส ทั้งหมดที่อยู่ฝั่งซ้ายถนนหนองบัว-ชุมแสง คนบ้านในก็จะเรียกว่าบ้านนอก เช่น คนบ้านอาตามจะพูดว่า เมื่อคืนมีหนุ่มบ้านในมาเล่นตรุษสงกรานต์ มาจีบสาวบ้านนอก(เนินตาโพ) และหนุ่มบ้านนอกก็ชอบไปจีบสาว เล่นตรุษสงกรานต์ที่บ้านในเช่นเดียวกัน ประโยคนี้หลายคนยังจำได้ดี เช้าวันหนึ่งหน้าตรุษสงกรานต์หนุ่มบ้านนอกไปเลี้ยงควายที่ทุ่งนาซับข้าว พอเจอหน้ากันก็จะถามว่าเมื่อคืนมึงไปเล่นกุด(ตรุษ)วงไหน อีกฝ่ายก็จะตอบว่า กูไปเล่นวงบ้านสาวตีนกุด

    จากเวทีคนหนองบัว  ๒๕  เมษายน  ๒๕๕๓

    ที่มาบ้านนอก  บ้านใน ของตำบลหนองกลับ ตำบลหนองบัว 

    บ้านนอก บ้านใน มาจากชื่อวัด คือวัดหนองบัว(วัดใน) และวัดนอก(วัดหนองกลับ) โดยแต่เดิมวัดทั้งสองอยู่ในที่แห่งเดียวกันคือวัดหนองกลับในปัจจุบัน ที่ตั้งวัดในหรือวัดหนองบัวในอดีตนั้น ปัจจุบันเป็นสระน้ำวัดหลวงพ่ออ๋อย

    ต่อมาวัดทั้งสอง ได้รวมเป็นวัดเดียวกัน ชื่อวัดหนองกลับ เหตุที่รวมกัน เพราะมีพระวัดหนองบัว(วัดใน)เป็นโรคอหิวาต์มรณภาพลง พระที่เหลือจึงย้ายมาอยู่รวมกันกับพระวัดนอก(วัดหนองกลับ) ตั้งแต่นั้นมาวัดทั้งสองก็รวมเป็นวัดเดียวกัน

    ต่อมาคำว่าวัดนอก วัดใน ก็เลือนหายไป แต่คำว่า ”นอก” และ “ใน” ยังคงอยู่ แล้วชื่อดังกล่าวก็กลายมาเป็นชื่อหมู่บ้านแทน คือบ้านนอก บ้านใน ดังปัจจุบัน

    เรื่องนี้เคยเขียนไปครั้งหนึ่งแล้ว แต่ไม่มีรายละเอียดที่มาของชื่อบ้านนอก บ้านใน เมื่อปีใหม่ ๑ มกราคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ไ้ด้ไปสอบถามข้อมูลชุมชนกับผู้สูงอายุท่านหนึ่งคือคุณตาวาน บุญกิจ อายุ ๙๑ ปี ท่านมีวิธีจำปีเกิดของท่านได้แม่นยำมาก คือท่านจำข้อมูลปีสร้างศาลาหลวงพ่อเดิมได้แม่นคือ(๒๔๖๖) แล้วตัวท่านนั้นเกิดก่อนศาลาหลังนี้สองปีคือ(๒๔๖๔) วันนั้นท่านเล่าที่มาของชื่อบ้านนอก บ้านในให้ฟัง พอฟังจบ ก็เข้าใจทันทีเลย ที่แล้วมาไม่เคยมีใครให้ข้อมูลแบบนี้มาก่อนเลย แต่ละท่านที่ให้ข้อมูลเรื่องนี้มาไม่สามารถเชื่อมโยงไปหาชื่อดังกล่าวได้เลย เลยทำให้ลูกหลานที่นั่งฟังอยู่ด้วย ก็พลอยทราบไปด้วย ขอบคุณคุณตาเป็นอย่างมากที่ทำให้ทราบเรื่องราวประวัติชุมชน

    Large_ooof1017901
    ผู้ให้ข้อมูล : ลุงวาน  บุญกิจ  บ้านอยู่ข้างสระน้ำวัดหลวงพ่ออ๋อย เลขที่ ๓๓ หมู่ที่ ๙  ตำบลหนองบัว  อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อายุ ๙๑ ปี   

    เก็บข้อมูลโดย : พระมหาแล อาสโย(ขำสุข),
    นายบล อ่อนคง 
    วันที่ ๑ มกราคม  ๒๕๕๕ 

    • ต่อเนื่องจากที่มาบ้านนอก บ้านใน วันนี้เลยขอนำเสนอให้เห็นภาพและเรื่องราวของเรื่องนี้ ดังนี้ั
    • เมื่อตอนก่อนสิ้นปี๒๕๕๔(ปลายเืดือน ธันวาคม)
    • ในเช้าวันหนึ่งได้ถ่ายภาพสระน้ำวัดหลวงพ่ออ๋อย วัดหนองกลับ
    • สระน้ำของวัดมีสองสระ เนื้อที่ทั้งสองสระประมาณยี่สิบไร่
    • ซึ่งบริืเวณสระดังกล่าวนี้ เดิมเคยเป็นที่ตั้งวัดในหรือวัดหนองบัวมาก่อน
    • แต่เมื่อยุบสองวัดรวมกันแล้ว ที่ตั้งวัดหนองบัวหรือวัดใน ก็ได้ถูกนำมาใช้ขุดสระวัดแทน ดังปัจจุบัน

                                    
                                  
                                    
                                   มุมขวาภาพล่าง : ร้านขายยาหมอหลุย(ปานขลิบโอสถ) 

    • เมื่อไปหนองบัวคราวงานศพท่านพระครูหงวน โอภาษี(๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๔) ผู้เฒ่าผู้แก่ได้ถ่ายทอดความรู้ชุมชนในยุคอดีตให้ทราบหลายเรื่อง และหลายเรื่องนั้นก็เกิดไม่ทันด้วย ไม่ทันได้เห็นสิ่งของเหล่านั้นแม้แต่ชื่อก็ไม่ค่อยได้ยินคนกล่าวถึง แต่บ้านเราเคยมีใช้กันมาก่อนแล้ว 
    • อย่างเช่น ภาชนะตักน้ำ ก่อนหน้าที่จะมีปีบมีถังมีกระแป๋งตักน้ำเช่นในยุคเราที่ใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบันนั้น คนบ้านเราใช้คุหรือครุ ตักน้ำ คุสานด้วยไม้ไผ่ ทาด้วยน้ำมันยาง ลักษณะคล้ายกระบุงหาบ
    • โยมป้าเล่าให้ฟังว่า มีเพื่อนสาวของท่านคนหนึ่งตอนเป็นสาววัยรุ่นได้ดองกับชายหนุ่ม พ่อของคู่ดองของเพื่อนโยมป้าเป็นคนมีฝีมือในการจักสาน ในขณะที่ดองกันอยู่นั้น พ่อดองฝ่ายชาย ก็ได้ทำคุตักน้ำให้ว่าที่ลูกสะใภ้(คู่ดองของลูกชาย) คุคู่นั้นสวยจัดเลยซิวา เหมาะจัด คนรู้จักกันไปทั่วว่าคุสวยจัด(ตั้งใจทำสุดฝีมือนั่นแหละ)
    • ต่อมาดวงของทั้งสองท่านนี้ไม่สมพงษ์กัน ไม่ใช่เนื้อคู่กัน ก็เลิกกัน โยมป้าเล่าต่อว่า ฝ่ายชายขอคุตักน้ำคืนเพื่อเอาไปใช้ แต่ฝ่ายหญิงไม่ยอมคืนให้ประมาณว่าไหนๆเราก็เลิกกันแล้ว น้องขอคุไว้ดูต่างหน้าสักหนึ่งอย่างก็แล้วกันนะพี่นะ
    • หลวงอาเองก็ไม่รู้จักคุหน้าตาเป็นไง เลยลองหาในเน็ตไปเจอพอดี เลยนำมาให้ดู
    • นี่ก็คือของใช้อีกสิ่งหนึ่งในชุมชนหนองบัวบ้านเรา


     ที่มาของภาพครุหรือคุคือhttp://www.google.co.th/search?q=%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E+%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3&hl=th&prmd=imvnsb&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=sLQvT_b1Bsa8rAeFuPjrDA&sqi=2&ved=0CCUQsAQ&biw=1024&bih=677

    นำผักพื้นบ้านภาคเหนือมาฝากกลุ่มพริกเกลือ
                                  
                                  
                                 ลูกสะแล,ต้นสะแล : พืชท้องถิ่นภาคเหนือ,อาหารเมืองเหนือ

    • ต้นสะแลนี้อยู่ในไร่ข้างวัดทรัพย์ประดู่ ต.วังนกแ่อ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก โดยเจ้าของไร่เป็นคนอุตรดิตถ์ได้นำพันธ์สะแลจากภาคเหนือมาปลูกไว้เมื่อหลายปีก่อน 
    • ช่วงนี้เป็นช่วงที่สะแลออกลูกพอดี(เมื่อวาน ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)ได้ไปสวดมนต์ยนต์ทำบุญร้อยวันญาติเจ้าสำนักทรัพย์ประดู่ 
    • พอดีคนเหนืออยู่แถวนั้นด้วย เลยพาไปดูต้นสะแล 
    • โยมเจ้าของไร่เคยบออกอนุญาตกับทายกวัดไว้ว่าถ้าอยากจะนำลูกสะแลไปปรุงอาหารละก็สามารเ็ก็บไปได้เลย 
    • โยมก็เลยช่วยเก็บมาให้
    • เขาบอกว่าลูกสะแลนี้ แกงกับปลาย่างปลาแห้ง หรือเนื้อก็ได้ หรือจะต้มจิ้มน้ำพริกก็ดี
    • วันนี้นำกลับมาที่ัวัด ลองจิ้มพริกเกลือก็เข้าท่าดีเหมือนกัน

    สนใจข้อมูลเพิ่มเติมไปอ่านได้ที่นี่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/476080

    เมื่อวาน(๑๐กพ๒๕๕๕)มีโยมน้ำหัวมันเลือดมาถวาย
    เลยขอนำพืชผักป่าที่รู้จักกันดีและบางชนิดหลายท่านยังไม่ทราบว่าคืออะไร กินได้ไหม ทำอะไรได้บ้าง มาโชว์ให้ดูจะจะ
    อย่างทิ้งถ่อนนี้ เป็นสมุนไพรดังมานานแล้ว รู้จักกันในนามยาอายุวัฒนะ ยาชะลอความแก่ เพิ่งทราบว่ายอดทิ้งถ่อนนั้นกินได้ด้วย วันก่อนได้ลองนำยอดอ่อนมาจิ้มพริกเกลือ อร่อยดีเลยแหละ



                                  ต้นทิ้งถ่อนในวัดศรีโสภณ(๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)



    ส่วนภาพล่างนี้ คือมันเลือด
    ป่าเหนือหนองบัวบ้านเราเคยมีเยอะ
    ไม่ทราบตอนนี้มีเหลือมากมายขนาดไหน
    แกงมันเลือดยังจำได้ว่าอร่่่่่อยมาก
    ต้มจิ้มน้ำตาลทรายก็ดี
    นำไปทำเป็นของหวาน ทำขนมก็เข้าท่า
    ต้มหวานมันเลือดอร่อยเลย หากินยากด้วย(ได้กินปีละครั้ง)
     ไปพบเว็บไซต์แห่งหนึ่งมีภาพต้นมันเลือด เลยนำมาให้ชมกันที่นี่
    http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2009/06/J7994996/J7994996.html
     
    ภาพ:ต้นมันเลือดในอินเตอร์เน็ท

    • วันนี้หลวงอาไปเจอบันทึกเรื่องสัมสันดาน,ส้มพอเหมาะ 
    • ที่บันทึกโยมทวิช จิตสมบูรณ์
    • ขอบคุณโยมทวิช จิตสมบูรณ์ที่ทำให้นึกถึงเรื่องนี้ขึ้นมาได้
    • ในสมัยที่เลี้ยงควายหาของป่า แถวป่าเหนือเขาพระเขาพระมรกต เขาสูงเมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว 
    • แกงป่า ให้อร่อยต้องมีส้มสันดานนี้ กับพริกเกลือนี่แหละอร่อยอย่าบอกใครเชียว ดิบๆจิ้มพริกเกลือก็อร่อยไม่เบาเหมือนกัน
    • ปัจจุบันไม่ทราบยังมีอยู่มากไหม
    • ขอนำของป่าจากบ้านเรามาขึ้นเว็บอีกหนึ่งอย่าง

    Ico64สองเกิด-ใจเต็ม (ภาษาไทย) หรือ ทวิช จิตรสมบูรณ์ (ภาษาแขก) 

    ชื่อบันทึกอ้อมแอ้บ(ผักอีสานหากินยาก ๑๑)ในhttp://www.gotoknow.org/blogs/posts/478699?refresh_cache=true

    ในบันทึกดังกล่าวได้อ้างเว็บแห่งหนึ่งเกี่ยวกับส้มสันดานที่
     http://www.tistr.or.th/sakaerat/Plant%20in%20Sakaerat/plant%20list/%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%99.pdf
    เืว็บดังกล่าวมีข้อมูลครบถ้วนเลย มีภาพให้ดูด้วย สนใจก็ตามไปอ่านกันได้
           ส้มออบแอบ,ส้มออบแอบ ขายส้มออบแอบ,ส้มสันดาน
           ภาพนี้คือ : ส้มสันดาน,ส้มพอเหมาะ(ภาคอีสานเรียกส้มพอดี,ส้มออบแอบ)
    ที่มาภาพส้มสันดานใน
    http://www.nanagarden.com/%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A-154714-4.html

     

    • เมื่อ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๔ ได้นำต้นพืชป่าชนิดหนึ่งจากเขาบ้านวังนกแอ่น วังทอง พิษณุโลก มาลงไว้ที่นี่ ซึ่งคนในท้องถิ่นเรียกว่าต้นนมยาน
    • ต่อมาได้ทราบชื่อจากโยมท่านหนึ่งจากอำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่
    • Ico48
       
    • ท่านได้บอกชื่อมาด้วยชื่อว่าต้นปุด ทราบจากโยมเพิ่มเติมอีกว่า ต้นกินได้ด้วย ต้มจิ้มน้ำพริกหรอยจังหู้(อร่อยมาก-ภาษาใต้)
    • ก็เลยได้ทราบชื่อพืชป่าชนิืดนี้ในท้องถิ่นทั้งสองภาค

                                      
                                      
                                      
                                      ต้นปุดนา ปุดขน
    ที่มาเว็บโอเคเนชั่นhttp://www.oknation.net/blog/chabatani/2011/01/18/entry-1

                                      

    • ไปหนองบัวเมื่อก่อนปีใหม่(๒๕๕๕) ได้ความรู้เรื่องอุปกรณ์ตวงข้าวของบ้านเราอย่างหนึ่งที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย ชื่อว่าสัดตวงข้าว 
    • ผู้เฒ่าผู้แก่สามท่าน :โยมป้าหริ อินทะชิต,โยมลุงวาน บุญกิจและกำนันเทียน ท้วมเทศ ให้ข้อมูลเรื่องนี้ว่าลักษณะสัดตวงข้าวคล้ายกระบุง สานด้วยไม้ไผ่ ความจุของสัดน่าจะมากกว่าถังเล็กน้อย เพราะข้าวหนึ่งเกวียนใส่ความจุได้ ๘๐ สัด(๑๐๐ ถัง) โยมลุงวานท่านจำได้ว่าตอนนำข้าวไปขายที่ชุมแสง ใส่เกวียนแสลกบังไป บรรทุกเต็มเกวียนได้ความจุ ๘๐ สัด
    • เพื่อให้ได้ความชัดเจดของเรื่องนี้ เลยนำอุปกรณ์ตวงข้าวมาให้ชมกันสัก๒อย่างคือ ทะนาน,ถังตวงข้าว ขาดก็แต่สัดตวงข้าวเท่านั้น
    • พูดถึงทะนานแล้ว ก็นึกถึงเพลงรีีรีข้าวสารไปด้วย ในเนื้อเพลงมีท่อนแรกว่า รีีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก(ในรูปมีทะนานอยู่สองทะนานพอดีเลย)
    • ถ้ากลุ่มพริกเกลืออยากเห็นสัดตวงข้าวแล้วละก็ เมื่อกลับไปบ้านลองให้ปู่ ย่า ตา ยาย แม่ใหญ่ พ่อใหญ่ ทำให้ดูก็ได้นะ

                            
                            ทะนาน,ทนาน : ทำด้วยกะโหลกมะพร้าว(กะลามะพร้าว)
    ทะนานหลวง เป็นคำนาม(น.) ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ท
    ที่มา : http://twssg.blogspot.com/2009/11/blog-post_23.html

    ทะนาน,ทนาน : ทำด้วยทองเหลือง ความจุก็ประมาณ ๑ ลิตร
    ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=682501

            
            ถ้งตวงข้าว : ขนาด ๒๐ ลิตร ซ้ายคือถังตัวผู้ ขวาคือถังตัวเมีย
    ที่มา : http://www.oknation.net/blog/print.php?id=682501 
    สัด : ภาชนะรูปทรงกระบอก ทำ้ด้วยไม้หรือสานด้วยไม้ไผ่ ใช้ตวงข้าว
    ที่มา :  http://dict.longdo.com/index.php?lang=en&search=%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7
     
    การเล่นรีรีข้าวสาร
    พลงรีรข้าวสาร
    รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
    เด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
    เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คดข้าวใส่จาน พานเอาคนข้างหลังไว้ให้ดี
    ที่มา http://www.baanmaha.com/community/thread19883.html

    • ผู้ให้ข้อมูลชุมชน : ป้าหริ อินทะชิต(๘๖ ปี)คนบ้านนอก : บ้านเนินตาโพ บ้านไร่โพทอง,ลุงวาน บุญกิจ(๙๑ ปี)คนบ้านใน ข้างสระวัดใหญ่วัดหนองกลับ,กำนันเทียน ท้วมเทศ(๘๖ ปี)คนบ้านนอก : บ้านเนินพลวง (ชาวบ้านเรียก บ้านเนินควง)

                                               
                                               ป้าหริ อินทะชิต(๒๕๕๔)

                              Large_p1017898.
                              ลุงวาน  บุญกิจ(๑ มกราคม ๒๕๕๕)
                              Large_dsc04653.
                              ลุงกำนันเทียน ท้วมเทศ(๑ มกราคม ๒๕๕๕)

     

    • มาอีกรอบ
    • มาพร้อมภาพและเพลงรีรีข้าวสาร
    • รีรีข้าวสาร สองทะนานข้าวเปลือก
    • เ็ด็กน้อยตาเหลือก เลือกท้องใบลาน
    • เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน คนข้าวใส่จาน
    • พานเอาคนข้างหลังไว้ดี
    • ท่อนที่ว่า"เด็กน้อยตาเหลือก" ในเว็บดังกล่าวไม่มีข้อความนี้
    • แต่จำได้ว่าเคยร้องแบบนี้

                                                 
                                 
                                 การละเล่นของเด็กไทย : รีรีข้าวสาร
    ที่มาของภาพ : http://www.baanmaha.com/community/thread19883.html

    • มานั่งนึกดูว่าทำไมเพลงรีรีข้าวสาร จึงมีท่อนว่า"เ็ด็กน้อยตาเหลือก"ด้วย
    • สงสัยเล่นกันอย่างสนุกสนาน เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน เล่นจนเหนื่อยมาก
    • แล้วคนที่เหนื่อยและลุ้นว่าจะโดนคักออกไหม น่าจะเป็นคนอยู่ท้ายสุดนี่แหละ
    • ลุ้นมากจัด เลยจะเป็นลมเอาให้ได้ และก็คงหมดแรงด้วย พอได้ยินเพื่อนร้องเพลงว่าคดข้าวใส่จ่านบ่อยๆเข้า ก็พลอยหิวข้าวนะซิ เลยทำให้ตาลาย เรียกว่าหิวจนตาลาย เพื่อนๆเห็นจึงร้องไปว่า เด็กน้อยตาเหลือก
    • นี่เป็นการวิเคราะห์เล่นๆนะ อาจจะไม่เกี่ยวกันเลยก็ได้


     

    กะซ่อ(หนองบัว) กะโซ่,คันโซ่(ภูไท) สะนาย(เขมร)

    ไปอ่านบันทึกของหนุ่มกร แล้วไปเจอกะซ่อวิดน้ำแบบบ้านเราเข้าให้ แต่เขาเรียกอย่างอื่น แต่ชื่อก็คล้ายกันมาก ส่วนรูปร่างหน้าตา ของเขาคล้ายลูกฟักผ่าด้านยาวสองซีก 
    ได้ทราบชื่อกระซ่อจากหลวงตาที่มาจากศรีสะเกษเป็นภาษาเขมรด้วย เขมรเรียกว่าสะนาย,ภูไท เรียกคันโซ่,กะโซ่ บ้านเราเรียกกะซ่อ
                                       
                                      
                                      กะซ่อ : กะซ่อบ้านเรา ใช้วิดน้ำใส่ตะกล้า,วิดน้ำ-สาดน้ำ                                                      ใส่เืทือกที่ดินแห้งๆ พอเทือกเปียกแล้วก็ดำนา ถ่ายจากที่บ้านเมื่อปีใหม่(๒๕๕๕),กะซ่อของโยมพ่อ

                                            
                                           กะโซ่,คันโซ่ : ใช้สะน้ำ(ภูไทย) ใช้วิดน้ำ
                                            
                                            หาภาพแบบนี้(ขาหยั่งสามขา)จากบ้านเราไม่ได้ เลยขอยืมภาพจากหนุ่มกรในโกทูโนนี่แหละมาฝากกลุ่มพริกเกลือ ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/237664?escape=false&page=2  


    วาดโดย : เสวก ใยอินทร์

    ความจริงวันนี้ : ปัจจุบันยังมีหีบอ้อยกันอยู่บ้าง
    ที่มา : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/478354

    ไปอ่านเจอบทความของโยมดอกหญ้าน้ำที่นำเรื่องการหีบอ้อยด้วยควาย มาลงไว้ในบล็อกเกิดความสนใจ เลยขออนุญาตโยมไว้ว่าจะนำไปเผยแพร่ เจ้าของอนุญาตแล้ว ก็นำมาฝากกลุ่มพริกเกลือ โดยนำภาพวาดของคุณเสวกมาให้ดูคู่กันด้วย

    ถ้าสนใจจะดูภาพเต็มๆในบทความโยมดอกหญ้าน้ำแล้วละก็คลิกเข้าไปอ่านก้นได้เลย เพราะมีภาพไร่อ้อย การตัดอ้อย หีบอ้อย จนเป็นน้ำอ้อยหวานๆ มีครบทุกกระบวนการ แถมได้ความรู้ ไ้ด้บรรยากาศดีด้วย อดคิดถึงบรรยากาศอย่างในภาพวาดคุณเสวกไม่ได้

    ในหนองบัวบ้านเรา เคยทำอ้อยกันเยอะ คุณเสวกเคยกล่าวว่าทำกันที่ทุ่งเขาสูงโศกจั่นเขาพระป่าเหนือ แต่จริงๆแล้ว รุ่นที่หลวงอายังไม่เกิดนั้น คนหนองบัวเคยทำไร่อ้อย หีบอ้อยกันที่อื่นมาก่อนแล้ว ครั้งแรกที่อ้อยหีบอ้อยคือที่ป่าดงยางหรือป่าดงยาง (เมื่อก่อนเป็นป่า เป็นดง แล้วก็ในที่นี้มีต้นยางมากมาย ชาวบ้านเลยเรียกดงยาง)

    ดงยางนี้อยู่ทางทิศเหนือของตำบลหนองกลับหรือบ้านนอก ห่างจากหมู่บ้าน บ้านเนินขวาง(ข้างวัดเทพสุทธาวาส)ไปสักประมาณ ๕ กิโลเมตร(คร่าวๆ)ที่นี่ทำอ้อยกันเยอะมาก คนเก่าเล่าให้ฟัง

    นำภาพเพิ่มเติมให้อีกสองสามภาพไปอ่านที่นี่เลยจะได้บรรยากาศดีมากขอบคุณโยมดอกหญ้าน้ำ(ชื่อว่า น้ำอ้อย หว๊านหวาน ฝีมือชาวบ้าน)
     http://www.gotoknow.org/blogs/posts/478354

                                        
            
      
    ถ่ายภาพโดย : ดอกหญ้าน้ำ

    เมื่อวาน(๒๘ กพ.๒๕๕๕)มีโยมในหมู่้บ้าน บ้านเสือลากหาง อ.วัิงทอง เก็บมะขวิดสุกที่บ้านท่าน มาถวายพระในวัดจำนวนหลายลูก ขอแบ่งมาแค่สองลูก
    เห็นว่าสุกดีแล้ว วันนี้เลยลองทุบดู สุกน่ากินเลยแหละ เสียดายไม่ได้ไปดูที่ต้นเลยไม่มีภาพมาให้ดู

    เมื่อก่อนในหมู่บ้านที่บ้านเนินตาโพ มีอยู่ต้นหนึ่งอยู่ในที่ดินของพ่อเฒ่ารถ พินแหลม ต้นใหญ่มาก แต่ละปีก็จะไ้ด้เก็บกินลูกสุกกันทั้งกลุ่มบ้านใกล้เคียงสองสามกลุ่มเลยทีเดียว เก็บกินใต้ต้นถ้าไม่มีช้อน ก็ใช้ฟันแทะ แห้นกันอย่างอร่อยดีจริงๆ มะขวิดเป็นผลไม้พื้นบ้านที่นับว่ากินอร่อย ที่อร่อยก็คงจะเป็นด้วยว่าเมื่อก่อนนั้น ผลไม้มันหายาก ไม่มีอะไรจะกินกันนี่เอง

    บางคนก็ชอบชนิดสุกงอมๆ บางคนก็ชอบแบบไม่งอมมาก แบบเนื้อยังมีสีขาว ถ้างอมมากสีจะออกดำๆ แล้วเนื้อสุกจะเละด้วย ถ้าใครหนักหวานชอบหวานๆ ก็นำน้ำตาลทรายมาโรย คลุกเคล้าให้เข้ากัน ถ้าชอบแบบธรรมชาติก็ไม่ต้องเติมรสหวานกินได้เลย
    อย่างในภาพถือว่ากำลังพอดี ไม่งอมเกินไป และก็ไม่ดิบด้วย

    เนื้องจากไม่มีภาพต้นใหญ่ๆมาให้ดู เลยไปถ่ายรูปที่พระท่านปลูกไว้เป็นมะขวิดประดับ คงไม่มีโอกาสเติบโต จนเป็นลูกแน่ เอาแค่เป็นไม้สวยงาม ใครที่ไม่เคยกิน ไม่รู้จักมาก่อน ก็อาจจะนึกภาพไม่ออกว่าต้นมะขวิด ลูกมะขวิดนั้นต้นและลูกหน้าตามันเป็นยังไง

    เลยก็นำทั้งต้นในกระถางและต้นที่ขึ้นเองตามธรรมชาติมาฝากให้ชมกันเล่นๆ

                                     
                                    ลูกมะขวิดสุก
                                    
                                    เนื้อในหอม รสชาดอร่อย
                                    
                                    ต้นมะขวิดปลูกในกระถาง เป็นไม้ประดับ
                                    
                                    ของพระในวัด
                                    
                                    ต้นนี้ขึ้นเองตามธรรมชาติ 

     

    พระมหาแล อาสโย ขำสุข (ความเคลื่อนไหวล่าสุด) 09 มกราคม 2554 11:09

     
    • การกินดองในหนองบัว เป็นบันทึกของป้าหมอหนิมที่ท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือรวบรวมผลงานของท่าน 
    • เมื่อต้นปี ๒๕๕๔ หลวงอาได้ไปเยี่ยมโยมป้าที่บ้านท่าน และท่านได้ถวายหนังสือดังกล่าวให้มา ๑ เล่ม
    • มีเรื่องหนึ่งที่ป้าหมอพูดถึงประเพณีกินดองของชาวหนองบัวบ้านเราด้วย และเรื่องดังกล่าวหลวงอาได้นำมาแบ่งปันไว้ที่เวทีคนหนองบัวในวันที่ ๙ม กราคม ๒๕๕๔ เห็นว่าเรื่องนี้เป็นการมองจากคนนอกพื้นที่เมื่อ๖๐ กว่าที่ผ่านมา น่าสนใจอย่างมาก อ่านแล้วได้ความรู้เรื่องอื่นๆอีกมากมายเลย วันนี้จะขออนุญาตนำมาแบ่งปันให้กลุ่มพริกเกลือกลุ่มชมรมร่มไ้ม้ได้อ่านกันอีก เชิญอ่านบันทึกป้าหมอหนิมได้ ณ บัดนี้

    การดองกันก่อนแต่งงาน

    ขอนำบันทึกเกี่ยวกับนบธรรมเนียมประเพณีของอำเภอหนองบัว ที่บันทึกโดยป้าหมอหนิม มาลงต่อจากคราวที่แล้ว ป้าหมอหนิมนั้นท่านไม่ใช่คนหนองบัวโดยกำเนิด แต่ท่านอยู่หนองบัวมานานแล้ว คือตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ เลยทำให้ท่านจดจำเรื่องราวต่าง ๆ ในหนองบัวได้อย่างดี เช่นเรื่องการกินดองนี้ ถึงแม้ท่านจะบันทึกไว้เพียงสั้น ๆ แต่ก็เป็นบันทึกข้อมูลชุมชนที่ให้ความรู้ประวัติศาสตร์หนองบัวอย่างหลากหลายได้อย่างน่าสนใจ ดังนี้ 

         บ้านใครมีอันจะกินลูกสาวจะมีคนดองหมดเร็ว  ฝ่ายชายจะมาดองตั้งแต่เด็กทั้งหญิงและชายอายุ ๘-๙  ขวบก็ดองกันแล้ว  ของดองเมื่อป้าไปอยู่ใหม่ ๆ ก็ไม่มีอะไร มีน้ำอ้อย ๑ ขัน(เคี่ยวเป็นน้ำตาลแห้ง) ขี้ไต้ ๑ ลูกเม็ดเมล็ดถั่วมะพร้าว ๑ ลูกใส่กระเช้า(เหมือนกระบุงเล็ก) ไปดองจับจองไว้  โตบวชเป็นพระศึกออกมา แต่งกัน เขาก็ยอมกันทั้งสองฝ่าย โตก็แต่งกัน

     Large_dsc00009. Large_dsc00041     
    อธิบายภาพ : กระเช้า:กระบุงหาบ งานฝืมือภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้าน บ้านหนองบัว หนองกลับ อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ กระเช้านี้ ชาวหนองบัวถือว่าเป็นเครื่องใช้ประจำบ้านที่ทุกครัวเรือนต้องมีไว้ใช้อย่างน้อยครัวละ ๑ คู่(หาบ)เป็นนวัตกรรมที่สร้างความภูมิใจทั้งผู้ทำ(ช่าง)และผู้ใช้ แล้วก็เป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่ยังเหลืออยู่อีกหนึงอย่างของคนหนองบัวในปัจจุบัน งานชิ้นนี้สามารถบ่งบอกได้ถึงความเป็นหนองบัวในด้านงานหัตถกรรมได้เลยทีเดียว กระเช้าใช้ได้ทุกงาน งานบุญ งานบวช งานแต่ง งานศพ งานดอง งานหมั้น งานเทศกาลบุญต่าง ๆ ปัจจุบันคน(ช่าง)ที่ทำกระเช้าได้ เหลือน้อยมากแล้ว ส่วนใหญ่อายุ ๗๐ ปีปลาย ๆ ถึง ๘๐ ปีขึ้นไป วัยปูนนี้หมดแรงจักตอก เหลาไม้แล้ว ขอบคุณเจ้าของกระเช้า : นายคลี-นางรอง บัวกลม บ้านเนินตาโพ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัวและนายบุญ-นางเลี้ยง เพ็งพรม บ้านเนินตาโพ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว นครสวรรค์

    สมัยนี้ไม่ยอมแล้ว  ตอนหลัง ๆ ดองกันก็ต้องมีทองเหมือนหมั้นหมายไว้  ผู้ชายไม่มาแต่งฝ่ายหญิง ก็ยึดทอง ฝ่ายหญิงจากก็เอาทองไปคืน ระหว่างที่ดองกันฝ่ายหญิงตัวเล็ก ต้องไปบ้านฝ่ายชายทุกครั้งที่มีงานเทศกาล เอากระเช้าใส่ของกิน ของใช้ไปให้แม่ผัว ฝ่ายแม่ผัว ก็ต้องถ่ายกระเช้า ส่วนมากก็เป็นกล้วย อ้อย ผักหญ้าต่าง ๆ ที่มีเส้นหมี่ เส้นแกงร้อนใส่กระเช้าแทน.

     Large_dsc00022 Large_dsc00018                           อธิบายภาพ : กระเช้าของนายบุญ-นางเลี้ยง เพ็งพรม บ้านเนินตาโพ หมู่ที่ ๑ ตำบลหนองกลับ อำเภอหนองบัว(ถ่ายภาพ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๓ โดยพระมหาแล ขำสุข)

    การแต่งกาย(คนหนองบัวยุคก่อน)

    คนแก่ผู้ชาย นุ่งโจงกระเบน ผ้าขาวม้าห้อยคอไม่ใส่เสื้อ ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบนใช้ผ้าห่ออก(ตะเบงมาน) ถ้าจะไปไหน ก็ใช้สไบห้อยคอไปอีกผืน ใส่ตุ้มหูเป็นพวง บางคนก็เรียกพวงเต่าลั้ง ใส่สายสร้อย สะพายแล่ง จะมีตะกรุดร้อยคั่นกับลูกเงิน หรือทองทำเป็นรูปปลารูปสัตว์ต่าง ๆ คนรวยใช้ทอง ใช้นาค คนจนใช้เงิน กินหมากทั้งผู้หญิงผู้ชาย สูบยาน้อย ใช้ยาเส้นมวนด้วยใบตองกล้วยแห้งสูบ บางคนกินหมากสูบยาด้วย

    ผู้ชาย พอกิ่ง(อำเภอหนองบัว)เจริญก็ดีขึ้น แต่ยังใส่เสื้อคอกลมสีน้ำเงินเข้ม มีกระดุมแขนแค่ศอก นุ่งกางเกงขาก๊วย(แต่เขาเรียกว่ากางเกงเสื้อตราควาย)
    ผู้หญิง พอกิ่งเจริญก็ดีขึ้น แต่ยังใส่เสื้อ ๕ ตะเข็บมีกระดุมข้าง แต่ก่อนไม่ใส่ ใช้แต่ผ้าแถบเคียนอกกับห่ออก ปัจจุบันคนแก่รุ่นป้า ก็ยังนุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อธรรมดาเสื้อในหรืออยู่กับบ้านก็ยังใส่เสื้อ ๕ ตะเข็บบ่าใหญ่ตัวเดียว ผมทรงดอกกระทุ่มมีจอนทัดที่หู

    คนสาวคนหนุ่ม

    คนหนุ่มผู้ชาย  จะนุ่งผ้าโจงกระเบน ชอบผ้าสีเขียว เวลาไปเที่ยวมีงานเทศกาลจะใส่สร้อยคอ ใส่ตุ้มหูข้างเดียว ผัดแป้งนิดหน่อย(แป้งเม็ด)ใช้แป้งใส่ฝ่ามือเอาน้ำใส่ละเลงแป้งให้เปียก ๆ เอาหวีที่หวีผมลงไปสับ ๆ ที่แป้งแล้วมาสับที่หน้า จะมีรอยจุดขาว ๆ บนหน้าเขาถือว่าสวยดี ไม่ได้ใส่เสื้อมีแต่ผ้าคล้องคอ เอาชายไว้ข้างหลัง 

    คนสาว นุ่งโจงกระเบน ใส่เสื้อ ๕ ตะเข็บบ่าใหญ่มีกระดุมที่สีข้าง ใส่กำไลข้อเท้าเป็นบางคน แต่ต้องกินหมากทุกคน ถ้าไม่กินเขาจะบังคับให้กินว่าไม่กินปากจะซีด ฟันจะเป็นแมง ปากไม่แดงไม่สวย

    ป้าเขายังให้กิน ป้ากินไม่ได้ปูนกัดปากเป็นแผลหมด 

    คนรุ่นป้าที่ยังอยู่กินหมากทุกคน เวลาเอาของไปบ้านคู่ดอง จะหิ้วกระเช้าไป จะต้องมีผ้าสไบห้อยคออีก ๑ ผืน เวลาเทศกาลจะแต่งเต็มที่มีทองจะเอามาใส่หมด หูก็ใส่เขาเรียกว่าด๊อก จะเป็นด๊อกรังแตนมีพลอยสีแดง ๆ ก้านค้องรูที่เจาะติ่งหูไว้ ให้ด๊อกแกว่งไปแกว่งมา บางคนก็มีเป็นพวงทองแบน ๆ ทำเป็นสายเล็ก ๆ เป็นพวงห้อยตุ้งติ้ง

    หน้าสาว ๆ เขาจะกันไรผมให้เป็นวงกลมตามรูปหน้า เขาจะใช้เขม่าไต้จุดไฟ เอาควันไต้ลนที่ปลายไม้แหลมเหมือนดินสอ พอติดดำก็มาวาดตามวงหน้าผากเรียกว่า”จับเขม่ากันไร”

    เทศกาลก็จะมี ตรุษสงกรานต์  เข้าพรรษา  ออกพรรษา วันสงกรานต์  ก่อพระทราย เก็บดอกไม้เสี่ยงทาย มีการละเล่นตามประเพณีเยอะ

    ที่มาเวทีคนหนองบัว ๙ มกราคม ๒๕๕๔ : http://www.gotoknow.org/blogs/posts/295169

    หายไปนานมากๆสบายดีไหมครับ

    เจริญพรอาจารย์ขจิต

    วันนี้เห็นเจ้าของบ้านแวบๆ ผ่านไปที่เวทีคนหนองบัวโน่นแนะ ยังไม่กลับมาบ้าน
    ขอต้อนรับอาจารย์แทนเจ้าบ้านไปพลางๆก่อนก็แล้วกัน
    ในช่วงที่เจ้าบ้านไม่อยู่นานๆแบบนี้ อาตมาเลยขอถือโอกาสอย่างนี้้นี่แหละ ค่อยๆย่องมาเพิ่มเติมข้อมูลชุมชนเป็นระยะๆ ถือว่ามาส่งสารสาระเล็กๆประจำหมู่บ้าน ให้คนหนองบัวที่ไปอยู่ไกลบ้าน มาอยู่ระยองและที่อื่นๆอีกหลายแห่งที่คิดถึงบ้านคิดถึงหนองบัว ได้เข้ามาอ่านกันเล่นๆ แต่สะสมไปเรื่อยๆแบบนี้นี่ ต่อมาข้อมูลก็เยอะขึ้นเป็นลำดับเลยนะ 

    เมื่อวานได้ขอเมล็ดมะลื่นจากโยมแม่ชีในวัด ซึ่งท่านไปเยี่ยมเพื่อนอุบาสิกา(แม่ชี)ที่ัวัดวชิรธรรมาวาส เิชิงเขาสมองแคลง อำเภอวังทอง พิษณุโลก แล้วได้เก็บเมล็ดมาเยอะพอสมควร ที่ขอมาก็เพื่อจะลองเพาะดู

    บ้านเราเรียกมะลื่น ที่อื่นจะเรียกกระบกซะส่วนมาก สุโขทัยก็เรียกมะลื่นเหมือนคนหนองบัว(ภาษาก็คล้ายกันนะหนองบัวกับสุโขทัยเนี่ย)

    ในหนองบัวเขตบ้านใน(ตำบลหนองบัว)มีหมู่บ้านหนึ่งคือหมู่ที่ ๙ ชื่อบ้านคลองมะรื่น ชื่ออาจจะเขียนไม่ตรงกัน(มะลื่น มะรื่น)แต่สันนิษฐานจากชื่อแล้ว บ้านคลองมะรื่นนี้ เมื่อก่อนคงจะมีต้นมะลื่นมากแน่่่่่่่เลย ไม่รู้สันนิษฐานถูกไหม คนบ้านคลองมะรื่นช่วยให้ข้อมูลหน่อยก็ได้นะ

    ในอดีตที่บ้านเรามะลื่นนี้หาไม่ยากเลยนะ ตามทุ่งนามีอยู่ทั่วไป แล้วต้นใหญ่มากด้วย ที่ต้นใหญ่ได้ก็น่าจะเพราะรอดจากการถูกเลื่อยไปทำบ้านนั่นเอง ส่วนใหญ่่แล้วชาวบ้านจะนำไปเผาถ่านเท่านั้น เป็นไม้ที่ไม่นิยมนำไปทำบ้าน เลยสามารถเติบโตจนเป็นไม้ใหญ่ได้ ไม้ที่ว่่าก็มีไม้มะค่ารอก(วังทองเรียกมะคอก) ไม้มะลื่น ไม้มะเลื่อม ไม้งิ้ว ไม้ขี้อ้าย ไม้ตะค้ำ ไม้สวอง ไม้ขี้หนอน ไม้อีซึก ไม้เหียง ไม้ควง ไม้แหน ไม้เคว้า ไม้ละฟ้า ไม้รัก ไม้ยาง ไม้แค ไม้เหล่านี้เป็นไม้เนื้ออ่อน ไม่มีแก่นบ้าง เนื้อไม่สวยเลยไม่เป็นที่นิยมของชาวบ้าน ทำให้เติบโตได้เต็มที่ แต่ปัจจุบันแทบไม่เหลือให้เห็นแล้วละ

    ลูกมะลื่นแก่ นำไปคั่วให้สุก แล้วผ่ากินเนื้อในอร่อยดี รสชาดมันๆ เดี่ยวนี้ในตลาดนัดมีขายด้วย

    ขอนำเรื่องมะลื่นนี้มาฝากคนบ้านคลองมะรื่นและชาวหนองบัว และถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะเชิญชวนคนบ้านคลองมะรื่น ช่วยนำประวัติบ้านคลองมะรื่นมาแบ่งปันกันอ่านบ้างก็จะดีไม่น้อย เพื่อจะได้ทราบข้อมูลรายละเอียดมากกว่านี้

    ส่วนต้นและดอกมะลื่นได้นำมาจากอินเตอร์เน็ท
                                       
                                      
                                      ลูกมะลื่น,มะมื่น,กระบก(๒มีนาคม ๒๕๕๕)
                                              
                                              ต้นมะลื่น,มะมื่น,กระบก
                                            
                                            ดอกมะลื่น,มะมื่น,กระบก
    เื่อื้อเฟื้อภาพโดยเว็บ :
     http://www.treeshistory.com/2011/12/kayu.html

    นำภาพที่คุณเสวกชอบมากมาฝากซะหน่อย
                           
                          ภาพคนเลื่อยไม้นี้ได้มาจาก:โยมปถัมภ์ อินสุธา อดีตสมาชิกสภาจังหวัดนครสวรรค์(สจ.เขต อำิเภอหนองบัว) เมื่อต้นปี ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา

    ภาพนี้เจ้าของภาพไม่ทราบรายละเอียด เมื่อได้มาแล้วหลวงอาได้ให้พระอาจารย์ส้ม แก้วนิคม (อายุ ๖๗ ปี)ดู ท่านจำได้หนึ่งท่านคือคนที่ลูกศรชี้ ชื่อโทน ขำสุข(ต่อมาเปลี่ยนเป็นสุขคนธ์) ตาโทนนี้คือน้องปู่ของหลวงอานั่นเอง ท่านเป็นน้องชายปู่ของหลวงอาคือปู่กร่าง ขำสุข(ปู่กร่าง ขำสุข เกิดพ.ศ.๒๔๔๒)

    มีบางท่านสันนิษฐานเรื่องราวลายละเอียดในภาพนี้ โดยบอกว่าภาพนี้น่าจะเกิดขึ้นในสมัยนายอำเภออรุณ วิไลรัตน์ นายอำิเภอหนองบัวนักพัฒนาผู้โด่งดังที่ชาวหนองบัว จดจำชื่อของท่านได้จำถึงบัดนี้

    มีการให้ละเอียดต่อไปว่าการเลื่อยไม้ครั้งนี้ ดูจากสภาพแวดล้อมแล้ว ใกล้เคียงกับเหตุการณ์การสร้่างอาคารโรงเรียนหนองบัวเทพวิทยาคม(โรงเีรียนอนุบาลหนองบัว) ปี ๒๕๐๒ โดยการขอแรงงานจากชาวบ้านหนองบัวหนองกลับ ทั้งสองตำบล ใครมีไม้ก็นำไม้มาบริจาค บางส่วนก็ไปตัดไม้ในป่า การทำครั้งนั้นไม่ใช้งบทางราชการเลย ใช้แรงงานชาวทั้งหมด ผู้นำชุมชนในขณะนั้นก็มีกำนันยัน พวงจำปา กำนันเทอญ นวลละออ หลวงพ่ออ๋อย เจ้าอาวาสวัดหนองกลับ หลวงพ่อพระเทพสิทธินายก เจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ คนบ้านเนินพลวง ตำบลหนองกลับบ้านเรา

    ที่ยังหาผู้ให้รายละเอียดไม่ได้ ไม่ใช่เพราะเหตุการณ์นั้นนานเกินไปนะ แต่เพราะท่านเหล่านั้น ไม่เคยทราบว่ามีการถ่ายรูปจากงานครั้งนั้นเลย เมื่อนำภาพไปให้ท่านดู ดูภาพตัวเองนั่นแหละ คือตัวเองก็อยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย ด้วยความที่เหตุการณ์นั้นมันนานมาแล้ว ทำให้เมื่อดูแล้ก็นึกไม่ออกว่าตัวเองไปทำอะไรกับเขา ทำที่ไหน ทำอะไร ท่านนึกไม่ออกเลย ดูแล้วก็ขำตัวเองไปด้วย ต้องรอการตรวจสอบเื่พื่อความชัดเจนอีกครั้ง

    นำมะลื่นหรือกระบกคั่วมาฝากกันสักเล็กน้อยเน้อ
    ไปเจอภาพนี้ในอินเตอร์เน็ท แต่ของจริงนั้นอยู่ใกล้ตัวมากเลยคือภาพนี้มีคุณครูจากกรกุงเทพฯไปทัวร์พิษณุโลก วันหนึ่งท่่านไปชมตลาดนัดวัดศรีโสภณหรือตลาดนัดเสือลากหางในวันอาทิตย์ที่ผ่านมาท่านได้เก็บภาพบรรยากาศในตลาดไว้เยอะแยะเลย ตลาดนัดนี้ก็อยู่ภายในวัดที่หลวงอาอยู่นั่นเองแหละ

    เป็นตลาดนัดเช้า-ประมาณเพล ที่นี่ถือว่าเป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในวังทองในพิษณุโลก
                
                ภาพถ่ายจากตลาดนัดเสือลากหางวัดศรีโสภณ อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ติดถนนมิตรภาพสายสายพิษณุโลก-หล่มสัก กิโลเมตรที่ ๙ เปิดทุกวันอาทิตย์ เช้า-เพล ถ่ายโดย:ครูทิพย์
    อ้างอิงภาพในเว็บโอเคเนชั่น :
     http://www.oknation.net/blog/Tip2/2012/02/29/entry-2

    • มาเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับต้นมะลื่น,ต้นกระบก อีกสักเล็กน้อย
    • ความสำคัญของมะลื่นหรือกระบกนี้ เป็นถึงไม้ประจำจังหวัดทางภาคอีสานจังหวัดหนึ่งเลยแนะ
    • นั่นคือจังหวัดร้อยเอ็ดนั่นเอง
      แหล่งอ้างอิง : ขอขอบคุณภาพจาก
      http://www.panmai.com/PvTree/tr_47.shtml

    เจริญพรคุณเสวกกลุ่มพริกเกลือ ชมรมร่มไม้

    มาชวนทุกท่านไปเี่ที่ยวงานงานงิ้วหนองบัวกัน(๒๒-๒๖ มีนาคม ๒๕๕๕)
    ถ้าใครไปงานนี้จะมีของฝากของแจกในงานด้วยนะ
                         
                        ของแจกในงานงิ้วปีนี้ คือเอกสารเรื่องตำนานเมืองหนองบัว เขียนและวาดภาพโดยดร.วิัรัตน์ คำศรีจันทร์ ภาพนางเกสร ภาพนายพรานเรวัตร สวยงาม มีเรื่องราวประกอบด้วย เป็นตำนานหนองบัว หนองกลับบ้านเรา น่าอ่านมากแหละขอบอก

                                  
                                
                                
    เนื้อหาเรื่องนี้เต็มๆตามไปอ่านกันได้ที่นี่
    ความเป็นมาของชื่อหนองกลับ หนองบัว นครสวรรค์
    http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481470
          
           นางเกสรเกิดจากดอกบัวในหนองน้ำใหญ่ ฤาษีตาไฟ บำเพ็ญตะบะอยู่ที่ริมบึงบัวนำมาชุบเลี้ยงและเติบใหญ่อยู่ที่ต้นมะขามและดอนต้นปีบริมบึงบัว ในคืนเดือนหงาย นางเกสรจะโล้ชิงช้าและร้องเพลงพวงมาลัย ชาวบ้านไม่มีใครกล้าออกบ้าน ต่อมาเกิดชุมชนขึ้นจึงได้ชื่อว่าหนองบัว บึงบัวดังกล่าวได้ขุดลอกเป็นเกาะลอย และทุกวันนี้ ยังมีชาวบ้านที่ร้องเพลงพวงมาลัยได้หลายคน
    ที่มาภาพนางเกสรตำนานเมืองหนองบัว :
    http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481501
          
           นายพรานเรวัตร เดินกลับไปมาบนทางกลับบ้านและกลับไปที่เกาะลอยเพราะได้ยินเสียงนางเกสรร้อง เพลงแต่ไม่สามารถเห็นตัว ทำให้บริเวณดังกล่าวได้ชื่อว่าบ้านหนองกลับ อันเป็นที่ตั้งวัดหลวงพ่อเดิมและชื่อชุมชนหลักของอำเภอหนองบัว นครสวรรค์ มากระทั่งทุกวันนี้
    ที่มาภาพนายพรานเรวัตรตำนานเมืองหนองบัว :
    http://www.gotoknow.org/blogs/posts/481502
     


     

    เจริญพรคุณเสวก กลุ่มพริกเกลือ ชมรมร่มไม้

    อีกสองวันก็จะถึงงานงิ้วแล้ว(๒๒-๒๖ มีนามคม๒๕๕๕)
    งานงิ้วปีที่แล้วมีอะไรบ้าง ตามอ่านที่เวทีคนหนองบัว มีหลายบันทึก
    จากที่เวทีคนหนองบัวไปจัดนิทรรศการปีที่แล้ว ได้นำความรู้ สื่อ หนังสือ
    เรื่องราวคนหนองบัวไปเผยแพร่ มีคนสนใจมากเลย

    คลิปที่นำมาฝากวันนี้ เป็นการรวบรวมการทำงานปีที่แล้ว มีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว
    คำสัมภาษณ์ความเป็นมาการจัดนิทรรศการ มีบันทึกเพลงพวงมาลัยด้วย
    ลองชมกันได้ คลิปชุดทำโดยอาจารย์ณัฐพัชร์ ทองคำ ปีที่แล้วท่านก็ได้ไปช่วยงานตลอด 

    Clip เวทีคนหนองบัว ๒๕๕๔(๑/๓)

    <object width="420" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/C7q51oMnVcU?version=3&amp;hl=en_US&amp;rel=0"></param><paramname="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/C7q51oMnVcU?version=3&amp;hl=en_US&amp;rel=0" type="application/x-shockwave-flash" width="420" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>

    Clip เวทีคนหนองบัว ๒๕๕๔(๒/๓)

    <object width="420" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/2McrcVNf9Mo?version=3&amp;hl=en_US&amp;rel=0"></param><paramname="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/2McrcVNf9Mo?version=3&amp;hl=en_US&amp;rel=0" type="application/x-shockwave-flash" width="420" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>

    Clipเวทีคนหนองบัว ๒๕๕๔ (๓/๓)

    <object width="420" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/ZIJNszTizRI?version=3&amp;hl=en_US&amp;rel=0"></param><paramname="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/ZIJNszTizRI?version=3&amp;hl=en_US&amp;rel=0" type="application/x-shockwave-flash" width="420" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>

    ที่มาคลิปเวทีคนหนองบัวในบันทึก : เนื้อหานิทรรศการเวทีคนหนองบัวในงานงิ้นปี ๒๕๕๕ นี้
     http://www.gotoknow.org/blogs/posts/482375

    กราบนมัสการพระคุณเจ้าหลวงอามหาแล อาสโย ขำสุข ผมขอชื่นชมผลงานของหลวงอา ท่านอาจารย์วิรัตน์ คณะครูโรงเรียนหนองบัว และชาวหนองบัวทุกท่านที่ร่วมกันถ่ายทอดสืบสานประเพณีท้องถิ่นให้ลูกหลานได้เรียนรู้อย่างน่าประทับในในกิจกรรมงานงิ้วหนองบัว

    กิจกรรมส่งท้ายปี2554

    หลังจากที่พี่ๆชมรมร่มไม้ได้ทำการส่งมอบห้องสมุดให้แก่น้องๆโรงเรียนวัดหนองปลาไหล ทางกลุ่มพริกเกลือได้ส่งตัวแทนเพื่อมอบทุนการศึกษาและส่งมอบชั้นวางหนังสือให้กับน้องๆโรงเรียนวัดหนองปลาไหลโดยที่มีนาย ปฐมพงษ์ ฉ่ำน้อย ประธานชมรมพริกเกลือ เป็นตัวแทนในการส่งมอบ ทั้งนี้กลุ่มพริกเกลือขอขอบพระคุณทุกท่านที่เป็นแรงและกำลังใจผลักดันให้เกิดกิจกรรมร่วมกับชุมชน กิจกรรมที่ชมรมพริกเกลือได้จัดทำขึ้นมานั้นเป็นเพียงกิจกรรมการรวมตัว อย่างละเล็กอย่างละน้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์อันสูงสุดไม่มากก็น้อยและจะจัดทำกันเช่นนี้สืบไป

                       

    ขอเชิญพี่น้องชาวพริกเกลือ ร่วมงานสายสัมพันธ์พี่น้อง พริกเกลือ ครั้งที่สาม

    วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2555 ณ.จังหวัดระยอง

    -กิจกรรมนี้จัดขึ้นเนื่องจากการครบวาระของประธานชมรมคือ นาย ประฐมพงษ์ ฉ่ำน้อย ได้อำลาจากตำแหน่ง และส่งมอบหน้าที่ให้กับประธานคนใหม่ปี2555

    -ปรึกษาวางแผนกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในปี2555

    -ร่วมรับประทานอาหารพื้นบ้านหนองบัว แกงพริกเกลือ หมกพริกเกลือ เป็นต้น

    หากท่านใดมีความประสงค์ที่จะเดินทางไปร่วมกิจกรรมกับชาวพริกเกลือยินดีต้อนรับทุกท่านนะครับ สนใจติดต่อ 084-1636-639

    ไหนๆ ก็เขียนเกี่ยวกับอำเภอหนองบัวได้ดีแล้ว แต่ดูเหมือนยังขาดประวัติในอดีตชาวอำเภอหนองบัวของเราตั้งถิ่นฐาน หรือ ย้ายมาจากไหน หมายถึงตั้งแต่ก่อนจะมาเป็นอำเภอหนองบัว ตั้งแต่ทางฝั่งตั้งแต่ห้วยร่วมมายังหนองกลับยังขึ้นอยู่กับจังหวัดพิจิตร และทางฝั่งหนองบัวขึ้นกับอำเภอท่าตะโก ได้มาเป็นอำเภอหนองบัวได้อย่างไร และอยากให้เพิ่มเกี่ยวกับภาษาท้องถิ่นคือมันเหน่อเป็นเอกลักษณ์ดี (ให้บอกถึงคำที่ใช้พูด เช่น มะเขีย หมี่เหลียง เกียก จัดเลยติ๊หว่า 555) อีกทั้งยังให้ผู้ที่สนใจศึกษา หรือ ชนรุ่นหลังได้เข้าใจและสืบทอดในวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ภาษา อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวอำเภอหนองบัว ต่อไป (คือ เห็นว่ากลุ่มหนองบัวตั้งใจทำเพื่อให้คนอื่นศึกษาแล้วก็อยากมีส่วนร่วมให้มันออกมาดีที่สุด คือ เป็นคนหนองบัวเหมือนกันฮับ)

    มาเยี่ยมเ้จ้าบ้านคุณเสวกและสวัสดีคุณวิรัตน์ ศรสุรินทร์(wirat sornsurin)

    เจ้าของบ้านหายหน้าไปเป็นปีแล้วเนี่ย ไม่ยอมกลับมาเลย มีแขกมาเยี่ยมถึงบ้านก็ประมาณครึ่งปีเหมือนกัน คุณวิรัตน์ มาก็เยี่ยมก็ไม่ใช่เยี่ยมเฉย ๆ แต่ฝากคำถามที่น่าสนใจทิ้งไว้ด้วย ภาษาคนหนองบัวเรา ที่คุณวิรัตน์ เสนอให้เก็บรวมรวบนั้น ที่จิรงคุณเสวกได้ทำไว้แล้ว ดีมากด้วย ไม่ทราบว่าคุณวิรัตน์ได้อ่านแล้วไหม ในบันทึกเวทีคหนองบัวก็มีบันทึกภาษาหนองบัวอยู่ด้วย

    ในประเด็นคนหนองบัวมาจากไหนนั้น ลองไปหาอ่านที่เวทีคหนองบัวดูนะ หลักฐานมีระบุไว้เท่าที่ทราบ (๑)มาจากสุโขทัย ภาษาหนองบัวกับสุโขทัยคล้ายกันอยู่มากเหมือนกัน (๒) กำนัน บุญบาง ท่านเล่าไว้ว่า คนหนองบัวมาจากกลุ่มคนไทยใหญ่(ไ่ม่ทราบว่่าท่านกำนันแหวนได้ข้อมูลนี้มาจากไหน ร่องรอยความเป็นไทยใหญ่ ก็ไม่เห็นมีปรากฏในหนองบัว)

    อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณคุณวิรัตน์ อย่างมากเลย ที่ตั้งคำถามนี้ ดังนั้น ก็เลยอยากเชิญชวนคุณวิรัตน์ว่าไหน ๆ ก็สนใจประวัติศาสตร์ชุมชนหนองบัวบ้านเราแล้ว ถ้ามีเวลาก็ลองสืบหาข้อมูล สอบถามคนเฒ่าคนแก่ผู้รู้ที่่บ้านเราดูบ้าง ไม่แน่นา อาจจะได้ข้อมูลใหม่ๆ มานำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในที่่นี้ก็ได้ หรือถ้าีมีประเด็นอะไรที่ยังไม่มีการพูดคุยกันในที่นี้ จะนำเสนอมาที่นี้ หรือเสนอที่เวทีคนหนองบัวก็ได้ ยินดีต้อนรับเลย ดีๆของบ้านเรา ยังมีอีกเยอะ

    กำนัน บุญบาง แก้เป็น กำนันแหวน บุญบาง อดีตกำนัน ตำบลหนองบัว อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ ท่านกำนันแหวนนั้น เป็นผู้รอบรู้ด้านประวัติศาสตร์ชุมชนหนองบัวบ้านเราที่ดีที่สุดมากท่านหนึ่ง รวมทั้งเรื่องราวด้านต่างๆของหนองบัวอีกด้วย เป็นนักพัฒนา เรียกว่าเ็ป็นเพื่อนคู่คิดนายอำเภออรุณ วิไลรัตน์ คู่กับกำนันเทียน ท้วมเทศ กำนันตำบลหนองกลับซึ่งทั้งสองกำนันนี้มีบทบาทมากในการพัฒนาหนองบัวในยุคบุกเบิกสมัยนายอำเภออรุณ 

    ท่านกำนันแหวน  บุญบาง ได้เสียชีวิตไปหลายปีแล้ว ส่วนท่านกำนันเทียน ท้วมเทศ ปัจจุบันอายุ ๘๗ ปี

    ชาติพันธ์ชาวอำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

    คุณ wirat  sornsurin สนใจประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานความเป็นมาของชาวอำเ้ภอหนองบัวบ้านเรา ตัวเองก็อยากทราบข้อมูลนี้ด้วยเหมือนกัน เลยลองหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ท ไปพบข้อมูลใหม่ เรื่องชาติพันธ์ชาวอำเภอหนองบัวพอดี ที่เว็บไซต์นี้(www.m-culture.in.th./moc_new/album/ชาติพันธ์ชาวอำเภอหนองบัว/) เว็บไซต์ดังกล่าวเป็นศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ที่รวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรมชุมชนทั่วประเทศทุกจังหวัดของประเทศไทย เรื่องชาติพันธ์ชาวอำเภอหนองบัวของเรานี้ ได้บันทึกไว้เมื่่อ ๒ ปีที่แล้วคือปี พ.ศ. ๒๕๕๔ ระบุว่าบันทึกวันที่ ๒๔  กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

    ต้องขอขอบุคณผู้จัดทำไว้ในที่นี้ด้วย  ลองก็อปปี้ที่อยู่เว็บไซต์และข้อมูลมาวาง เพื่อผู้สนใจจะได้ตามไปอ่านได้สะดวกหน่อย แต่ก็อปไม่ได้ เห็นว่าเป็นประโยชน์แก่การศึกษาเรียนรู้ เลยขออนุญาตนำภาพและข้อมูลทั้งหมด ซึ่งมีไม่มากนัก มาแบ่งปันกันอ่าน ดังนี้                                                              

                                        
                                         ภาพ : ชาติพันธ์ชาวอำเภอหนองบัว จากเว็บไซต์็ศูยน์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม

    เนื้อหารายละเอียดชาติพันธ์ชาวอำเภอหนองบัวในเว็บไซต์ดังกล่าวข้างต้นนั้น มีรายละเอียด ดังนี้

    ชุมชนดั้งเดิมของอำเภอหนองบัว คือชุมชนในเขตพื้นที่อำเภอหนองบัว ทั้งหมดที่อยู่อาศัยมาก่อนประกาศตั้งเป็นอำเภอ ตามหลักฐานที่ปรากฏ บางหมู่บ้านมีชุมชนอาศัยอยู่ ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สันนิษฐานว่าชุมชนดั้งเดิมจำนวนหนึ่งย้ายมาจากสุโขทัย ทั้งยังมีชาวไทยพวนและคนลาว มีทั้งลาวโซ่ง หรือที่เรียกว่า "ไทยทรงดำ" หรือ "ไทยดำ" ลาวใต้ หรือลาวเวียง ซึ่งย้ายมาจากเวียงจันทน์ มีจำนวนประมาณ ๙๐๐ คน ชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในเขตตำบลหนองบัว ตำบลหนองกลับ ตำบลห้วยร่วม ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลห้วยถั่วเหนือ ตำบลห้วยถั่วใต้ คนไทยทรงดำ หรือโซ่ง หรือไทยดำ ชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในเขตตำบลธารทหารและกระจายอยู่ทั่ว ๆ ไป คนไทยจากถิ่นอื่นๆ ซึ่งอพยพย้ายถิ่นมาจากทางจังหวัดภาคกลาง รวมถึงคนไทยเชื้อสายจีน ซึ่งอาศัยอยู่กระจายไปในส่วนต่าง ๆ ของอำเภอ ใกล้บริเวณหนองน้ำ ชาวบ้านต่างก็ยึดพื้นที่ใกล้หนองน้ำแห่งนี้เป็นที่พักอาศัย ทำมาหากินต่อกันมา ต่อมามีผู้คนอพยพมาจากถิ่นอื่น ๆ อาิทิเช่น สุโขทัย ชัยภูมิ โคราช เพชรบูร์ มาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์

    ข้อมูลข้างบนนี้ พิมพ์จากเว็บไซต์ โดยที่เว็บไซต์ดังกล่างก็อปไม่ได้ หรือว่าห้ามก็อปเผยแพร่(ไม่น่าจะเป็นไปได้)หรือว่าเราทำไม่เป็นก็ไม่ทราบ เลยต้องพิมพ์ทั้งหมด
    ข้อมูลนี้ สืบค้นวันนี้(๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖) โดย พระมหาแล ขำสุข


    ขอเพิ่มเติมข้อมูลที่มาของอำเภอหนองบัวมาฝากคุณwiratอีก ข้อมูลนี้บอกเล่าโดยกำนันแหวน บุญบาง อดีตกำนันตำบลหนองบัว เป็นบทความของอาจารย์วลัยลักษณ์ ทรงศิริ ชื่อหนองบัวที่นครสวรรค์ ท่านได้สัมภาษณ์กำนันแหวน บุญบาง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐  "บันทึกจากท้องถิ่น : จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะประพันธ์ ฉ.๕(มี.ค.-เม.ย. ๒๕๔๐)" 

    เว็บไซต์นี้ ห้ามก็อป ต้องตามไปอ่านที่เว็บไซต์็โดยตรงเลยคือ(www.lek-prapai-org/watch.php?id=762)


    ขอแ้ก้ข้อมูล "บันทึกจากท้องถิน :  จดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก-ประไพ  วิริยะประพันธ์ ฉ.๕ (มี.ค.- เม.ย. ๒๕๔๐)
    วิริยะประพันธ์ แก้เป็น วิริยะพันธุ์

     ข้อมูลนี้ สืบค้นวันนี้(๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖) ตอนพิมพ์ไปดูปฎิทินผิดเืดือน ดูเดือนเม.ย. เป็นเดือน พ.ค.
    (๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖) แก้เป็น ๓ พฤษภาคม  ๒๕๕๖

    แว๊ะมา ทักทายวันออกพรรษา ~~ครบขวบสาม ไตรมาส…พรรษาสงฆ์ ได้ล่วงผ่าน …ตำนานพุทธ บัญญัติตั้ง…ครรลองเค้า ศาสนา …พระศาสดา ท่านทรงเปิด…ประตูป่อง โลกทังสาม …นำเทวา โลกยม …มนุษา ส่องภูมิแจ้ง …องค์แถลงควม ประกาศ…สิบห้าค่ำ เดือนสิบเอ็ด …เป็นเหตุธรรม ถือครอง…พุทธชน ศรัทธามั่น …เถิงวันออก พรรษาแล้ว…เท โว โร ห ณะ …ตักบาตรพระ สดับเทศน์…วางกิเลส ปล่อยอบาย~~ \\วันออกพรรษา หรือวัน “เทโวโรหณะ”เป็นวันที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสประกาศเปิดสามโลกให้ รู้เห็นความเป็นไปซึ่งกันและกัน ได้แก่ มนุษย์โลก เทวาโลก ยมโลก ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ เดือนสิบเอ็ดครับ..\\

    //กมลชัย แสงสืบ””

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท