KM ธรรมชาติของนิสิตพิเศษ


การนำเสนอในรูปของแผนที่ความคิด (Mind map) หรือ รูปภาพ ถือว่าเป็นการ ฝึก เรื่องความคิดรวบยอด (Conceptualization) ในเรื่องที่ไปดูและฟังมา ได้อย่างดี

      <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">      หลังจากการฟังจอมยุทธ กระตุกต่อมคิดเรื่องของ KM ธรรมชาติ โดยเฉพาะจอมยุทธนอกกรอบ จากมอดินแดง แล้วก็ถึงเวลา ที่นิสิตจะได้เรียนรู้จากธรรมชาติจริง ๆ ตามที่ผมได้นำเสนอ วงจรคิด (KIDs) ตามแนวคิดของ ท่านไร้กรอบ อาจารย์ของผมที่ได้เสนอไว้  ผมก็กำลัง เลียนรู้ (เน้น เลียนรู้ นะครับ ยังไม่ใช่ เรียนรู้ ) เพราะผมยังไม่ได้ลงมือทำด้วยตนเองอย่างจริงจัง  สิ่งที่ผมนำมาถ่ายทอด ยังคงเป็นแค่ I (Information) ไม่ใช่ K (Knowledge) นะครับ  แต่การถ่ายทอด I ผมก็ถือว่า ยังดีกว่าไม่ได้บอกต่อนะครับ   I ต่อหลาย ๆ ที และ หลาย ๆ ที่ ก็หวังว่า คนที่รับ I ไปบางส่วนจะ นำไปปฏิบัติ (Doing) เพื่อให้เกิดเป็น K บ้าง
         โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม มีพี่เลี้ยงคอยยั่วให้คิดและชิมความรู้ 
</p><ul>

  •  กลุ่ม นกกระจอกเทศ
  •  กลุ่ม ไก่  (ไก่ไข่ ไก่ดำ ไก่เนื้อ)
  •  กลุ่ม หมูเมยซาน 
  •  กลุ่ม  เห็ด เพื่อชีวิต
  •  กลุ่ม ผัก สมุนไพร และ ต้นไม้ 
            การบ้านที่ต้องทำคือ  ไปค้นหาดูสิว่า กิจกรรมที่กลุ่มไปศึกษาเรียนรู้  มีอะไรบ้าง ? อะไรที่เป็นความรู้เก่า อะไรที่เป็นความรู้ใหม่ ความรู้ใหม่เกิดขึ้นได้อย่างไร วิธีแปลงความคิดมาเป็นความรู้ วิธีแปลงความรู้ออกให้เหมาะสมต่อผู้บริโภคความรู้ วิธีปลูกความรู้ให้งอกงามในวิถีการเรียนรู้ เมื่อรู้อไรมาต้องอธิบายได้ ดังนั้นแต่ละกลุ่มจะต้องนำเสนอ 2 รูปแบบ
         1.  เสนอในรูปของแผนที่ความคิด หรือ รูปภาพ
         2.  เสนอในรูปของการเขียนลงในบล็อก เพื่อให้คนตรวจที่รออยู่ในหลายมุมของโลกได้ร่วมแสดงความคิดเห็น ชี้แนะชี้นำ  เมื่อทราบแล้วขอมิตรรักชาวบล็อกได้กรุณาตรวจการบ้านให้ลูกหลานชาวค่าย เพื่อนช่วยเพื่อนของมหาวิทยาลัยมหาสารคามด้วยนะครับ 
              เป็นการบ้านที่ท่านครูบาฯ ออกแบบไว้อย่างยอดเยี่ยม ในการนำเสนอ 2 รูปแบบ โดยเฉพาะ การนำเสนอในรูปของแผนที่ความคิด (Mind map) หรือ รูปภาพ ถือว่าเป็นการ ฝึก เรื่องความคิดรวบยอด (Conceptualization) ในเรื่องที่ไปดูและฟังมา ได้อย่างดี          และท่านเชื่อหรือไม่  นิสิตกลุ่มนี้ใช้เวลาออกไปศึกษาธรรมชาติกับพี่เลี้ยงโดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง สามารถเรียนรู้ และ ร่วมกันสรุปออกมาเป็นรูปภาพ พร้อมการนำเสนอได้อย่างดี ในคืนวันเดียวกัน ดังภาพ
  • </ul><p align="center"></p><p></p> <table border="0"><tbody>

       ผลงาน สรุปของกลุ่ม นกกระจอกเทศ            กลุ่ม นกกระจอกเทศ            กลุ่ม  เห็ด เพื่อชีวิต         กลุ่ม ผัก สมุนไพร และ ต้นไม้     กลุ่ม ไก่  (ไก่ไข่ ไก่ดำ ไก่เนื้อ)    กลุ่ม หมูเมยซาน         

    </tbody></table></span></font>

    หมายเลขบันทึก: 85208เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2007 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (10)

    อาจารย์ ช่วยพวกเราทำการบ้านได้อย่างดีเยี่ยม ขอบคุณมากครับ วันหลังจะขออนุญาตใช้บริการเอื้ออาทรของท่านอีก

                                           ด้วยความเคารพ

    เวลาสั้น ๆ ที่ผมอยู่ตรงนั้น  ก็ปลื้มสุขกับนิสิตไม่น้อยทีเดียว

    เรายังจะต้องมีกิจกรรมเช่นนี้สืบต่อไป  ใช่ไหมครับ

    ขอบคุณท่านอาจารย์อรรณพ รวมทั้งพี่หนิง พี่พนัส ด้วยนะครับ ที่ออกไปร่วมกิจกรรมนิสิต มมส. ที่บุรีรัมย์

    • นับว่าเป็นความโชคดีของนิสิตกลุ่มนี้นะครับที่ได้การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ซึ่งอาจารย์ได้นำ I  มาเปลี่ยนให้เป็น K ได้อย่างน่าชื่นชมครับ
    • ขอขอบพระคุณ อาจารย์ Panda มากครับ
    • มาแอบติดตามความเคลื่อนไหวของงานพัฒนาสังคมดี ๆ จากบันทึกของอาจารย์ครับ
    • ยินดีเป็นอย่างยิ่งครับท่าน
      P ครูบา ที่มีโอกาสได้ทำตัวให้เป็นประโยชน์
    • เมื่อไหร่เห็นว่าผมสามารถจะเป็นประโยชน์ได้ บอกมาได้เลยครับ ตอนนี้คิดว่าไปเองได้ถูกแล้วครับ
    • ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงครับ
    • สรุปได้ดีมากเลยครับ
    • คงมีโอกาสได้ ลปรร กับท่านบ้าง
    • ขอบคุณล่วงหน้าครับ

    อาจารย์Panda คะ  หนิงขออนุญาตเอาไปรวบรวมไว้ที่นี่ ค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท