เครือข่ายเรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง


กิจกรรมการเรียนรู้นั้น ในวงของคุณกิจหรือชาวบ้านก็จะเรียนรู้กันว่าทำอย่างไรให้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ (ยิ่งขึ้น) เช่นเดียวกับคุณอำนวย แต่ละจังหวัดว่าทำกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้กันอย่างไร คุณเอื้อได้หนุนเสริมกันอย่างไร มาแลกเปลี่ยนตามตารางที่กำหนดไว้

ผู้ใหญ่ศร หรือผู้ใหญ่ภานุวัฒน์ เพ็ชรรัตน์ หมู่ที่ 7 บ้านบางสะพาน ต.บางจาก อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช และอาจารย์วิรัตน์ พร้อมคณะคุณอำนวยหมู่บ้านจากหมู่ที่ 7 หลายท่านมาหาผมที่ทำงาน โทรศัพท์ปรึกษากันหลายครั้ง เพราะคุ้นเคยจากการที่ได้ร่วมงานกันมานาน บอกว่าช่วยไปร่วมประชุมปรึกษาหารือเรื่องการทำศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหน่อย ทำอย่างไรจึงจะนำความรู้ประสบการณ์จากการทำโครงการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนซึ่งทำต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2548 และโครงการจัดการความรู้สู่ชุมชนอินทรีย์ถอดความรู้ออกมาเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผมก็ได้ไปร่วมประชุมบ้างไม่ได้ไปบ้าง ตามแต่เวลาจะอำนวยให้

เช่นกันกับคุณจุรี บันเทิงจิตร พัฒนากรที่รับผิดชอบตำบลบางจากก็มาหาที่ทำงานพร้อมนำหน้งสือมาเชิญให้ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้โอกาสที่คณะชาวบ้านจากหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงจากจังหวัดกระบี่พร้อมเจ้าหน้าที่จะมาดูงานแบบเจาะลึกนอนวันขวัญคืน 2 วันหนึ่งคืน ระหว่างวันที่ 21-22 มิ.ย.นี้ ที่หมู่บ้านบางสะพานหมู่ที่ 7 แห่งนี้ น้องจุรีปรึกษาว่าจะออกแบบกิจกรรมเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกันอย่างไรดีเพราะได้มีคณะจากหลายที่สนใจเรียนรู้กิจกรรมของหมู่บ้านบางสะพาน หมู่ที่ 7 แห่งนี้ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่ประสบผลสำเร็จได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ

จึงเมื่อวานนี้ครูแต้ว หรืออาจารย์มนัสชนก จันทิภักดิ์ ครูอาสาฯ ที่รับผิดชอบตำบลบางจาก ก็บอกว่าให้เป็นร่วมปรึกษาหารือเตรียมงานต้อนรับคณะจากจังหวัดกระบี่กันครั้งสุดท้ายก่อนที่คณะเขาจะมาอย่างไงๆก็ให้ไปให้ได้

เมื่อไปผมก็ได้เห็นการเตรียมงานกันอย่างเป็นระบบของทีมงานคุณอำนวยตำบลและคุณอำนวยหมู่บ้าน

ความรู้ที่ถอดและนำเสนอในศูนย์การเรียนรู้ชุมชน ซึ่งมี 7 ฐาน คือ

  1. กลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต
  2. สวัสดิการชุมชน
  3. ผู้รู้/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  4. วิสาหกิจกลุ่มอาชีพชุมชน
  5. ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น
  6. สภาหมู่บ้านรากฐานของแผ่นดิน
  7. การลดรายจ่ายสร้างรายได้

แต่ละฐานความรู้ก็จะมีแผ่นความรู้ ไวนิลล์ ติดไว้ในซุ้ม ข้างๆที่ทำการศูนย์การเรียน ซึ่งอาจารย์สำราญ เฟื่องฟ้า ครูอาสาฯจากต่างตำบลได้ไปช่วยอย่างเต็มที่ติดต่อกันหลายวันแล้ว และในวันที่คณะจากจังหวัดกระบี่เขามาก็จะมีหัวหน้าฐานความรู้แต่ละฐานจะมานำเสนอ สาธิตกิจกรรม นำผลผลิต ชิ้นงาน ผลิตภัณฑ์ บุคคลตัวอย่าง ครัวเรือนที่ประสบผลสำเร็จ มาให้ดูเป็นตัวอย่าง ดังซุ้มที่กำลังจัดอยู่ดังนี้

จากนั้นแต่ละฐานความรู้ก็จะนำคณะศึกษาดูงานที่สนใจไปเรียนรู้ต่อเนื่องในหย่อมบ้าน ที่ผู้ใหญ่บ้านบอกว่าเป็นเขตปกครองย่อยของหมู่บ้าน15 เขต 15 หย่อม เช่น สนใจเรื่องการลดรายจ่ายสร้างรายได้ ก็ไปดูบ้านต่างๆที่คัดเลือกไว้แล้ว ตอนที่ผมไปนี่ได้ไปดูบ้านพี่นันต์ บ้านพี่อนันต์ก็จะเป็นแหล่งเรียนรู้ย่อยที่จะเรียนรู้กันได้ลึกซึ้ง แลกเปลี่ยนกันเต็มที่ระหว่างผู้ที่ทำกิจกรรมอย่างเดียวกันหรือคล้ายๆกัน ผมมีภาพบางภาพที่บ้านพี่อนันต์มาฝาก

 

          

<p align="justify"> </p><p align="justify"> </p><p align="justify">ผมได้เห็นบรรยากาศการทำงานเป็นทีมของทีมคุณอำนวยตำบล ทั้ง ครูอาสาฯ กศน. พัฒนากร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรของ อบต. ทีมคุณอำนวยหมู่บ้านนำโดยผู้ใหญ่ศร ซักซ้อม จัดคิวพูด ออกแบบกิจกรรม เช็คความพร้อมของสื่อที่จะใช้ ดังภาพต่อไปนี้</p><p style="text-align: center"></p><div style="text-align: center"></div><p>สุดท้ายได้เห็นกิจกรรมร่วมกันขึ้นป้ายศูนย์การเรียนรู้ชุมชน</p><div style="text-align: center"></div><p></p><p> </p><p>สองครูอาสาฯ กศน. ที่ร่วมทีมคุณอำนวยตำบล ที่อยู่เบื้องหลังการถ่ายทำ คืออาจารย์มัสชนก จันทิภักดิ์ หรือครูแต้ว และอาจารย์สำราญ เฟื่องฟ้า หรือครูราญเมืองคอน คนนอกระบบ ข้างล่างครับ</p><div style="text-align: center"></div><p align="justify">สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ในระหว่างการศึกษาดูงานนั้น จะแบ่งเป็น 2 วง คือวงของคุณกิจ และวงของคุณเอื้อและคุณอำนวย ในวงของคุณกิจหรือชาวบ้านก็จะเรียนรู้กันว่าทำอย่างไรให้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงประสบผลสำเร็จ (ยิ่งขึ้น) เช่นเดียวกับคุณอำนวย แต่ละจังหวัดว่าทำกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้กันอย่างไร และเหล่าคุณเอื้อได้หนุนเสริมกันอย่างไร มาแลกเปลี่ยนตามตารางที่กำหนดไว้</p><p align="justify">สลับที่เรียนรู้กันระหว่างที่ทำการศูนย์การเรียนรู้และในพื้นที่ของแต่ละฐานย่อย แต่เวลาเรียนรู้ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ฐานย่อย</p><p align="justify">คืบหน้าวันนี้อย่างไร แล้วผมจะเล่าต่อ</p>

หมายเลขบันทึก: 105066เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ ครูนงเมืองคอน

ส่งเสียงมากจากพิงงา อันดามันค่ะ ขอบคุณสำหรับบทความ น่าสนใจอย่างแรงค่ะ

เพราะแต่ก่อนปูเคยไปอบรมเรื่องก่อนมาช่วยจัดทำกลุ่มให้หมู่บ้านที่ประสบภัยสึนามิ เกี่ยวกับสัจจะกลุ่มออมทรัพย์ บางหน่วยก็ทำได้ดี แต่ส่วนมากจะมีปัญหา

เครือข่ายที่นครฯ คงไปได้ดี ว่างๆ จะขออนุญาติไปศึกษางานบ้างนะคะ

  • ชื่นใจจริงๆ เลยค่ะ
  • การเรียนรู้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ เลยนะคะ
  • "ศูนย์เรียนรู้" ... ชอบคำนี้จัง

สวัสดีครับ น้องPOO

          ดีใจที่เข้ามาเยี่ยมเยียน...ขอบคุณนะครับ หากจะมา ลปรร.กันก็ดีมากเลยครับ

คุณหมอนนทลี ครับ

              ศูนย์การเรียนรู้ เรียนรู้ได้ทุกเรื่องครับ...เรื่องฟันเด็ก ฟันผู้ใหญ่ก็เรียนรู้ได้ครับ....รักษาดูแลป้องกันฟันผุอะไรทำนองนั้่นครับ

  • ฟันผู้ใหญ่พอได้
  • ฟันเด็กไม่ดี ไม่ดี ค่ะ ครูนง ... อิ อิ
  • ชอบคำ "ศูนย์การเรียนรู้" จัง ก็เพราะว่า ตอนไปชุมชนเรื่องชมรมผู้สูงอายุ ยังคิดเลยค่ะว่า เราจะทำให้ระดับตำบล เป็น "ศูนย์การเรียนรู้" เกี่ยวกับเรื่องกิจกรรมของผู้สูงอายุได้ไหมหนอ
  • ... ชักเข้าเค้าค่ะ

หมอนนทลีครับ

           ทำได้อยู่แล้วครับศูนย์เรียนรู้สุขภาพผู้สูงอายุระดับตำบล...หากมีคุณอำนวยอย่างคนของสาธารณสุขอยุ่ในพื้นที่....ที่คิดไว้ก็เข้าเค้ามากแล้วครับ น่าจะทำได้ไม่ยาก จากการสังเกตเห็นถึงคนสาะรณสุขที่เอาจริงเอาจังในวันนั้น

สวัสดีครับอ.นง ผ่านมาแวะเยี่ยมครับ ขอบคุณครับที่นำสิ่งดีฯฯฯฯมาแบ่งปัน

คุณสายันห์ครับ

             ผมว่าประสบการณ์การทำงานและการเรียนรู้ของชาวบ้านมีคุณค่ามากนะครับ เป็นของจริงที่ควรจะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ละเลยไม่ให้ความสำคัญไม่ได้ คุณอำนวยและคุณเอื้อต้องตระหนักในข้นี้ก่อน คุณสายันห์ว่ามไงละครับ

ขอบคุณคับ กระผมได้เอาครูนง เมืื่องคอน

มาทำเป็นรายงานส่ง ขอบพระคุณมากคับ

ที่เป็นตัวอย่างคนดีในสังคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท