เวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 1


     เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2550 ได้เข้าร่วมเวทีปัญญา สัมมนาวาที ครั้งที่ 1 ณ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เป็นการจัดร่วมกันระหว่าง ก.พ.ร. และสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้(สคส.) การจัดครั้งนี้เป็นครั้งแรกเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน และจะมีการจัดต่อเนื่องไปทุกเดือน หัวข้อจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกเดือนตัวอย่างเช่น คุณภาพการให้บริการแก่ประชาชน การบริหารความเสี่ยง การส่งเสริมคุณธรรม เป็นต้น ทั้งนี้จะมีการถ่ายทอดสดทางอินเตอร์เน็ต www.opdc.go.th

     เนื้อหาการนำเสนอประกอบด้วย

  • วัตถุประสงค์ของการจัดเวทีโดย ผอ.ก.พ.ร. เพื่อเป็นไปตามหลักการการพัฒนาระบบราชการไทยตามหลักการบริหารจัดการที่ดี (good government) ให้มีการพัฒนาระบบราชการไทยอย่างยั่งยืน ส่วนราชการจะต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยการนำKM เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งให้องค์กร ตลอดจนมีการสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้ตามกระแสโลกาภิวัฒน์ หัวข้อที่นำเสนอครั้งนี้เป็นเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นการนำเสนอความรู้และประสบการณ์จากการปฏิบัติ ผ่านกรณีศึกษา 4 เรื่อง เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนมี 5 ขั้นตอนหลัก คือ(1) ให้ข้อมูล (2) ร่วมคิดให้ข้อเสนอแนะ (3)ร่วมตัดสินใจ (4) ร่วมดำเนินงานและ(5)ติดตามและประเมินผล ก่อนมีงานวันนี้มีการจับภาพกรณีศึกษาโดยทีมงาน สคส. และ ก.พ.ร.
  • การนำเสนอกรณีตัวอย่าง 4 หน่วยงาน

          -กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

         -กรมการค้าภายใน

        -กรมทางหลวงชนบท

        -สำนักงานจังหวัดกาฬสินธุ์

ก่อนเริ่มเสนอ ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด ได้กล่าวว่าการนำเสนอวันนี้จะได้ทั้งเนื้อหาและกระบวนการKM ด้วย ความรู้ที่ได้เป็นความรู้จากประสบการณ์เป็น tacit  knowledge  ที่ได้จากการปฏิบัติ ไม่ใช่จากตำรา

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน

นำเสนอโดยนายอภิชาติ จารุศิริ ผู้ตรวจราชการกรมฯ มีการกำหนดนโยบายปี 2546 ว่าจะไม่ทำงานคนเดียวเพราะอัตรากำลังมีน้อยมากไม่สามารถทำภารกิจได้ ต้องให้เครือข่ายมาร่วมทำงานโดยพยายามส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานของกรมฯ มีขั้นตอนดังนี้

  • รู้เขารู้เรา แล้วชนะ
  • ทำแผนที่เดินดิน
  • ร่วมทำงานจริงจัง จริงใจ
  • เปิดตัวเปิดใจ
  • ใช้ประโยชน์จากข้อคิดเห็น

ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมของชุมชนได้แก่

การที่เด็กกระทำผิด กรมฯไม่อยากให้มีการฟ้องร้องคดีจึงดำเนินการให้ชุมชนรับทราบ เพื่อการเยียวยาเด็ก พูดคุยเพื่อหันเหคดี มี 8,000 คดี และมีอัตราการกระทำผิดน้อยมากเพียง 1.9% เท่านั้นเพราะชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมช่วยแก้ไข

ที่ปรึกษา ให้มีการแต่งตั้งกรรมการสงเคราะห์ มาจากบุคคลภายนอก โดยการสื่อสาร เปิดรับสมัคร และคัดสรร กรรมการเข้ามาช่วยเหลือ บางท่านเป็นกรรมการนานถึง 20 ปี ตรงนี้ท่านผู้ตรวจได้บอกเคล็ดลับไว้ว่ากรมฯได้เอื้อประโยชน์การทำงานของคณะกรรมการโดยบุคคลากรของกรมฯ สุภาพ อ่อนน้อม ให้เกียรติ ติดดิน ไม่ยึดซี  รับฟัง กรรมการ บางเรื่องมีข้อติดขัดที่ระเบียบทางราชการ กรรมการก็แก้ไขให้ นอกจากนี้ยังมีแผนร่วมกัน 6 ปี แยกย่อยเป็นรายปี เชิญกรรรมการมาคุย มาทำกิจกรรมร่วมกัน กรรมการให้ความอนุเคราะห์ในเรื่องทุน วัสดุ การนำเครือข่ายและชุมชนอื่น ๆ เข้ามาให้การช่วยเหลือเพราะส่วนใหญ่เป็นผู้มีชื่อเสียงและรู้จักคนมาก

ปัจจัยความสำเร็จ คือ

การเปิดใจ ทำให้เกิดความยั่งยืน กรรมการจะอยู่กับเรานานและเมื่อกรรมการให้ข้อคิดเห็นแล้ว หากเราปัดไม่สนใจ กรรมการจะถอยออกไป ดังนั้นจึงต้องใส่ใจข้อคิดเห็นของกรรมการให้มากและกรมฯให้ความสำคัญกับกรรมการทุกท่าน

การตรวจสอบมาตรฐานการทำงานของสถานพินิจทุกจังหวัดได้ทำมาตั้งแต่ปี 2547 ทำทุก 3 เดือนทำมาก่อนที่ ก.พ.ร. จะกำหนดเรื่องนี้เป็นตัวชี้วัด

การฝึกอาชีพ โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาต่อยอด

วันนี้ขอ ลปรร.เท่านี้ก่อนนะคะ จะได้เล่าถึงความรู้สึกของกรรมการสงเคราะห์ที่เข้ามาช่วยเหลือเป็นเวลานานมีอะไรผูกใจท่านไว้

ธุวนันท์ พานิชโยทัย

22 มิถุนายน 2550

หมายเลขบันทึก: 105063เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอบคุณครับ พี่หม่า ที่นำมา ลปรร.
  • น่าติดตามครับ

คุณหนุ่มร้อยเกาะ

ขอบคุณคะที่ติดตาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท