สนุกกับ ลานภาษาถิ่นไทย (ลานคำเหนือ อีสาน กลาง ออก ตก ใต้ ฯลฯ)


อาจจะตั้งเป็น ลานภาษาเหนือ อีสาน กลาง ออก ตก ใต้ กันได้เลยครับนะครับ ตอนนี้ผมก็ได้สร้าง และมีเครือข่ายส่วนหนึ่งครับ ได้เพิ่มเข้าสู่ แพลนเนท ลานภาษาถิ่นไทย

สวัสดีครับทุกท่าน

          วันนี้ได้เปิดบล็อกใหม่ชื่อ ลานคำใต้ : แหลงใต้วันละคำ (หลายคำ) อิๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คำใต้ๆ เพื่อมาหัดแหลงใต้กันครับ พร้อมประโยคตัวอย่าง เพื่อสานวัฒนธรรมภาษาถิ่นใต้ เชื่อมกับภาษาถิ่นไทย จึงอยากจะชวนญาติมิตรสหาย

           ลองตั้ง เป็นลานภาษาถิ่นวันละคำกันดูครับ เพื่อสร้างความสนุก และเรียนรู้ ตลอดจนแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภาษาถิ่นเพื่อประสานความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและลดความขัดแย้งบางประการลงได้ด้วยครับ

          ก็อาจจะตั้งเป็น ลานภาษาเหนือ อีสาน กลาง ออก ตก ใต้ กันได้เลยครับนะครับ ตอนนี้ผมก็ได้สร้าง และมีเครือข่ายส่วนหนึ่งครับ ได้เพิ่มเข้าสู่ แพลนเนท ลานภาษาถิ่นไทย

          และตอนนี้ผมสร้าง แพลนเนท ลานคำใต้ เอาไว้ครับ หากมีเพื่อนๆ ภาคอื่นทำกันแลกเปลี่ยนกัน หลายๆ ท่านก็จะได้แพลนเนทที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่น่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยครับ

          หรืออาจจะมาช่วยเติมต่อ กันอย่างสนุกสนานก็ได้ครับ วันนี้ ก็จะเสนอคำว่า  ดัง

         ตามอ่านได้ที่นี่ครับ แหลงใต้วันละคำ (1) : ดัง, (ถูก)ดัง

ขอบคุณมากครับ

เม้ง

หมายเลขบันทึก: 89467เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2007 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

สวัสดีครับ คุณเม้ง เยอรมัน

  • เดียวจะติดตามไปอ่านนะครับแต่ตอนนี้หิวข้าวแล้ว
  • ผมขอฝากภาษาโคราชไว้สักคำนะครับ  เพราะว่า ตอนที่นั่งรถไปดูเด็กรักป่า  ผมเผอปากออกไปคำหนึ่งคือคำว่า  "เกรียบ" ทั้งชาวเหนือ ชาวใต้  อีสาน แม้กระทั่งคนไกล้ชิดงงกันทุกคนเลย

เดียวจะกลับมาอธิบายนะครับ 

P

สวัสดีครับคุณสะมะนึกะ

  • เกรียบ  ภาษาใต้ แปลว่าผอม แห้ง อาจจะแตกหักง่ายได้ด้วยครับ
  • คนอื่นว่าอย่างไรครับ ภาษาอื่นมีคำนี้ไหมครับ
  • สำหรับภาษาโคราช แปลว่าจะได๋ ครับ
  • ขอบคุณมากครับพี่
P

ขอบคุณมากๆ เลยครับ เร็วทันใจจริงๆครับ ไปทักทายมาแล้วครับผม ดีมากๆ เลยครับผม

   ส้าขี้เหงี้ย  ภาษาใต้ เรียกว่า ถังหยะ  หรือ ถังหยาก หรือ ถุ้งหยะ หรือ ถุ้งหยาก  (มีอีกไหมครับช่วยเติมด้วยครับ)

เรียนท่านสมพร

 ต้นตระกูลเป็นคนใต้ แต่แหลงใต้ บ่ ได้ จั๊กคำ คราบ

 ตามมาเรียนด้วน ฅน ครับ

    ขี้เยี่ย   ขี้เงี่ย  ขี้เหยื่อ   หยังเหยื่อ

   ภาษาอิสาน หมายถึง ขยะ  สิ่งปฏิกูล

  ผมก็มีภาษาอิสานวันละคำ  แต่ก็จะเข้ามาตรงนี้ด้วยครับ

P

สวัสดีครับ ท่านคุณหมอ JJ

  • ครับ ด้วยความยินดีครับ ผมเองก็ไม่ใช่ผู้รู้ครับ และไม่ใช่ อาจารย์สอนภาษาไทยใต้ด้วยครับ ทำไว้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ จะเห็นว่าผมไม่สามารถตอบได้ทุกคำในการแลกเปลี่ยนกันครับ เพราะนี่หล่ะครับ คือเสน่ห์ของภาษา
  • ต่างถิ่นใช้ต่างคำต่างความหมายครับ เพื่อลดความขัดแย้งบางประการ หรือช่วยประสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกันครับ การหันหน้าเข้าหาด้วยกันเป็นสิ่งดีครับ
  • ขอบคุณมากครับ
ไม่มีรูป
นายวรชัย หลักคำ

สวัสดีครับ คุณวรชัย

  • รบกวนฝากลิงก์ไว้ด้วยนะครับ หากทำบล็อกไว้ตรงไหน จะได้ไปเอามาใส่ไว้ในแพลนเนทด้วยครับผม
  • ขอบคุณมากครับ ด้วยความยินดี แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ

เมื่อครู่แวะเข้าไปแล้ว...สนุกและได้ประโยชน์มาก

ขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่มาจากบันทึกทุกเรื่องนะครับ..

...

 

P

สวัสดีครับพี่แผ่นดิน

  • ผมซิครับต้องขอบคุณพี่ครับ ที่เข้ามาร่วมสนุกครับ
  • อ่านบันทึกพี่แล้ว ผมหล่ะมีความสุขจริงๆ โดยเฉพาะท่านตัวน้อยครับ
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

เข้าไปอ่านแล้ว..สนุกดีค่ะแต่พยายามผันเสียงตามอยู่รู้สึกว่ายากจัง.. น่าจะทำsound track ด้วยนะคะ ^ ^

P

สวัสดีครับคุณเบิร์ด

  • น่าสนใจครับ น่าจะทำฐานข้อมูลอีกชุดครับ ตั้งชื่อว่า gotohear.org อิๆ ดีไหมครับ
  • เป็นความคิดที่ดีครับ เทคโนโลยีต่อไปครับ คือ ระบายข้อความ แล้วกด F3 สำหรับฟังอ่านแบบไทยกลาง F4 สำหรับฟังแบบภาษาใต้ F5 กำเมือง F6 อิสาน F7 ออก F8 ตก ไปเลยดีไหมครับ
  • ตบท้ายด้วย F9 แปลเป็นภาษาอังกฤษไทยไปกลับ
  • เป็นไงบ้างครับ สบายดีไหมครับ

สวัสดีครับคุณเม้ง เยอรมัน

เกือบลืมมา ลปรร. ของคำว่า " เกรียบ " ภาษาท้องถิ่นแถวบ้านผมพูดกันแบบภาษาชาวบ้าน หมายความว่า  ฝุ่นละออง เศษดิน หิน ทราย ใบไม้แห้ง หรือสิ่งของที่เป็นชิ้นเล็กๆ  ยกตัวอย่างเช่น...หลับตาไว้เดี๋ยวขี้เกรียบจะเข้าตา.. หรือ...ข้าวจานนี้กินไม่ได้เพราะขี้เกรียบมันหล่นลงไป...

P

สวัสดีครับ

  • ขอบคุณมากคับที่มาเฉลยกันต่อครับ
  • บ้านผมเรียกขี้ฝุ่นว่า ขี้ถุน
  • เช่น หนนโหลกรังสายนี้ขี้ถุนทั้งเพ (แปลว่า ถนนลูกรัก(ดินแดง)สายนี้ ขี้ฝุ่นทั้งนั้นเลย)
  • ลานคำใต้สวัสดีครับ

  ที่บ้านก็เรียก ขี้ฝุ่น คับ  เช่นประโยคตลกๆ ต่อไปนี้

  พ้อโหละ ใยกัมปุ้งกับขี้ฝุ่นนักขนาด ท่าจะบ่เกยเพี้ยวเลยเหละ

  แปลว่า  ดูซิ ใยแมลงมุมกับฝุ่นมากขนาดนี้ คงจะไม่เคยเก็บกวาดทำความสะอาดเลยใช่มั้ย

 อิอิ น่ารักมั้ยครับ ภาษาเหนือ ว่าแต่พิมพ์ยากมากๆๆ

P

สวัสดีครับน้องเดอ

  • พ้อโหละ  วันนี้สนุกจริงๆนะครับน้องเดอ
  • น่ารักมากๆ เลยครับ ภาษาเหนือ แต่ก็พิมพ์ยากจริงๆ ครับ เหมือนภาษาใต้หล่ะครับ
  • ให้คำว่าเพี้ยว อีกครับ หรอยจังหู้ 
  • หลับฝันดีครับผม

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

           จริง ๆ ก็มีเพื่อนคนใต้หลายคนค่ะตอนเรียน พอฟังได้บ้างไม่ได้บ้างค่ะ  มีคำนึงตอนอยู่หอเพื่อนพูดกันคือถามว่ากี่โมงแล้ว เขาพูดว่าตีสิบ (ไม่ใช่รายการคุณวิทวัสนะค่ะฮ่าๆๆๆ) ไอ้เราก็งง เอ๊ะนี่มันไม่ใช่เช้ามืดนี่หว่า(ราณีคิดค่ะ) เพื่อนเฉลย หัวเราะซะไม่มี มองหน้ากันก็ยังหัวเราะ มีเรื่องตลกอีกเยอะค่ะคิดแล้วมัน

 

P

สวัสดีครับคุณราณี

  • ขอบคุณมากครับ ตีสิบ ตีสิบเอ็ด ตีสิบสอง
  • คนใต้ใช้ตีอย่างเดียวครับ คงเมื่อถึงเวลาแบบต้องตีระฆังมั้งครับ เลยใช้คำว่าตีแทน
  • อย่างอาหารเพล ก็ตีปก(กลองชนิดหนึ่ง) จำนวนสิบเอ็ดครับ เลยมาเป็นตีสิบเอ็ด ครับ
  • ใช้ตีกับทุกเวลาครับ
  • ขอบคุณมากครับ ยังไม่นอนหรือครับ ขยันจังครับ
  • น้องเม้งคะ อย่าแหลงใต้แจ๊ะ ๆ ฟังหม้ายโร๊เหมือนกันน๊ะบ้านเรา (คนสงขลา หาดใหญ่)
  • คนใต้เช้าก็ตี เช่นตีสี่ตีห้า พอตกเย็นก็ตีอีก ตีสี่ตีห้าเช่นกันเหมือนเดิมให้ดูบริบทเวลาพูดว่าอยู่ในเวลาเช้าหรือเย็น(A.M หรือ P.M)

 คนเหนือ ใช้ปนกันไปหมด แยกลำบากครับเรื่องเวลา

 เช่น 10 โมง คือ 10โมงเช้า

         สี่โมงแลง คือ บ่าย 4 โมงเย็น

         แม่ตอน คือ ตอนเที่ยง

         แม่งาย คือ ตอนเช้า  เช่น กินเข้างายกะยัง คือ ทานข้าวเช้าหรือยัง

   โอ้ยๆๆๆๆ งง แล้ว ยิ่งพูดยิ่งเยอะไปหมดครับ

P

สวัสดีครับพี่อัมพร

  • สงสัยคนใต้เล่นยึดภาษาอังกฤษเนอะพี่เนอะ
  • เค้าถึงใช้ AM, PM โดยให้ดูช่วงเวลาเอาเองครับ
  • กินข้าววันละสองเวลา คือตีแปดหัวเช้า กับตีแปดหัวค่ำ
  • ขณะนี้เวลา บ่ายสอง   เจอกันหวันเย็นตีห้า
  • อิๆๆ ขอบคุณมากครับผม
P

สวัสดีครับน้องเดอ

  • หรอยหม้ายละน้อง (สนุกไหมหล่ะน้อง)
  •  กินเข้างายกะยัง แม่ตอน แล้วกะ
  • อิๆ ตรวจสอบด้วยนะครับ ขอบคุณมากนะครับผม

หนูมีน้องเป็นคนใต้ เขาชอบพูดภาษาใต้ให้ฟังอย่บ่อยๆค่ะ แต่หนูก็ฟังไม่รู้เรื่อง

ดี จร๊ เราอยากได้เนื้อหาสาระสำคัญ

ภาษาถิ่น หมายถึง ภาษาที่ใช้อยู่ในท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งของประเทศ ในประเทศไทยมีภาษาถิ่นอีสาน ภาษาถิ่นใต้ และภาษาถิ่นเหนือที่เรียกกันว่า ภาษาล้านนา ภาษาถิ่นเป็นภาษาเดียวกันกับภาษาไทย แต่มีลักษณะบางอย่างแตกต่างผิดเพี้ยนไปจากภาษากลาง และความแตกต่างนั้นมักเป็นระบบ เช่น คำที่ภาษากรุงเทพฯ ใช้ ร ภาษาเหนือจะเป็น ฮ เช่น คำว่า รัก เป็น ฮัก คำว่า เรือน เป็น เฮือน คำว่า ร้อง เป็น ฮ้อง เป็นต้น

ในแต่ละถิ่นอาจจะมีภาษาถิ่นย่อยลงไปอีก เช่น ในภาษาถิ่นใต้ ก็มีภาษาสงขลา ภาษานคร ภาษาตากใบ ภาษาสุราษฎร์ เป็นต้น ภาษาท้องถิ่นอีสานของประเทศไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาที่พูดที่ใช้กันใน ประเทศลาว แต่ภาษาอีสานก็ยังถือว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาไทย ภาษาถิ่นอีสานมีภาษาถิ่นย่อยหลายภาษา ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาที่สำคัญในสังคมไทย เป็นภาษาที่บันทึกเรื่องราว ประสบการณ์ และวัฒนธรรมทุกแขนงของท้องถิ่น เราจึงควรรักษาภาษาถิ่นทุกถิ่นไว้ใช้ให้ถูกต้องเพื่อเป็นสมบัติมรดกของชาติ ต่อไป

ตัวอย่าง ภาษาถิ่น


คำสวัสดี/ทักทาย
ภาคเหนือ สวัสดีเจ้า
ภาคกลาง สวัสดี
ภาคอีสาน ไปไส
ภาคใต้ พรือ
ภาษาอังกฤษ How are you ?
 
การขยับตัว
ภาคเหนือ ขด - การขยับตัวไปด้านใดด้านหนึ่ง
ภาคกลาง เหยิบ - การขยับตัวออกไปด้านใดด้านหนึ่ง (สุโขทัย)
ภาคอีสาน ตู้ด - การขยับออกไปด้านหลังโดยไม่ยกก้น
ภาคใต้ ถด - การยกก้นขยับตัวไปด้านหน้า
แถด - การยกก้นขยับตัวไปด้านหลัง
 
ยอดเยี่ยม, ดีมาก
ภาคเหนือ ดีประล่ำประเหลือ
ภาคกลาง ว้าย ดีจริงๆ ไอ้น้อง พ่อคุณเอ๋ย ดีแท้ๆ (สุโขทัย)
ภาคอีสาน ปัดโธ่ ! ช่างแม่นเหลือใจกูแท้หนอ บ่เคยเห็นเลยพี่น้องเอ๊ย ช่างแม่นอ่อนช้อยหลายเด๊
ภาคใต้ แม่เอ๊ย แม่และ ฉาดได้แรงอกกูเกินนิ
ภาษาอังกฤษ That is great.  
 
อร่อย, อร่อยมาก
ภาคเหนือ ลำแต้ แต้
ภาคกลาง แม่เจ้าโว้ย อร่อยแท้ๆ เนอะ
ภาคอีสาน แซ่บอีหลี
ภาคใต้ ฉาดเข้าลึกถึงหัวใจ ไข่เฮ้ย มึงลองแล
ภาษาอังกฤษ Delicious
 
ฟักทอง
ภาคเหนือ บะน้ำแก้ว, ฟักแก้ว
ภาคกลาง ฟักทอง
ภาคอีสาน บักอึ๊
ภาคใต้ น้ำเต้า
ภาษาอังกฤษ Pumpkin
 
ของเหลวที่ทะลักเล็ดลอดออกมา  
ภาคเหนือ แฟบ
ภาคกลาง ปลิ้น
ภาคอีสาน ซอด
ภาคใต้ แพร็ด
ภาษาอังกฤษ Squirt
 
มะละกอ
ภาคเหนือ บะกล้วยแต้ด
ภาคกลาง มะละกอ
ภาคอีสาน บักหุ่ง  
ภาคใต้ ลอกอ
ภาษาอังกฤษ Papaya
 
เมล็ดมะละกอ
ภาคเหนือ แก่นบะกล้วยแต้ด
ภาคกลาง เมล็ดมะละกอ
ภาคอีสาน ในบักหุ่ง
ภาคใต้ เล็ดลอกอ
 
สับปะรด
ภาคเหนือ บะขะนัด
ภาคกลาง สับปะรด
ภาคอีสาน บักนัด
ภาคใต้ ยานัด, มะลิ (ภาษาท้องถิ่น สงขลา)
ภาษาอังกฤษ Pineapple
 
ฝรั่ง
ภาคเหนือ บะแกว (ภาษาท้องถิ่น แพร่), บะหมั่น (ภาษาท้องถิ่น ลำปาง),บะกล้วยก๋า (ภาษาท้องถิ่น เชียงใหม่)
ภาคกลาง ฝรั่ง
ภาคอีสาน บักสีดา
ภาคใต้ ชมพู่
ภาษาอังกฤษ Guava
 
น้อยหน่า
ภาคเหนือ บะแน, บะนอแน
ภาคกลาง น้อยหน่า
ภาคอีสาน บักเขียบ
ภาคใต้ น้อยหน่า
ภาษาอังกฤษ Custard apple, Sugar apple
 
เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ภาคเหนือ เม็ดบะม่วงหิมพานต์
ภาคกลาง เม็ดมะม่วงหิมพานต์
ภาคอีสาน เม็ดบักม่วง
ภาคใต้ ยาร่วง, เล็ดล่อ, หัวครก (ภาษาท้องถิ่น นครศรีธรรมราช)
กาหยู (ภาษาท้องถิ่น ระนอง), กาหยี (ภาษาท้องถิ่น ภูเก็ต)
ภาษาอังกฤษ Cashew
 
รองเท้า
ภาคเหนือ เกิบ, แคปฟองนวล (รองเท้าฟองน้ำ ภาษาท้องถิ่น น่าน)
ภาคกลาง อีัแตะ
ภาคอีสาน เกิบ
ภาคใต้ เกือก
ภาษาอังกฤษ Sandals


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท