เธอไม่มีตา แต่เธอเอนหน้าเข้าหาแสงได้อย่างไร (เธอคือใคร เชิญคลิก)


ออกซิน (IAA) โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะมีหน้าที่ในการแบ่งเซลล์ บริเวณใดที่มีฮอร์โมนออกซินมากก็จะแบ่งเซลล์มากกว่าอีกด้านหนึ่งที่มีออกซินน้อย

    จากบทความก่อน ได้มองปรัชญาของต้นอ่อนของทานตะวัน (หรือจะมองว่าถั่วงอกก็ได้ครับ) กันไปแล้วครับ ก็ได้ปรัชญาที่น่าสนใจเพียบเลยครับ เข้าไปอ่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/84318 สำหรับท่านที่ยังไม่ได้ไปอ่าน ไปเติมเต็มปรัชญาของท่านจากสิ่งที่เห็นได้เลยครับ

ต่อไปนี้เรามาคุยแบบสบายๆ สไตล์ต้นอ่อน ของทานตะวันกลุ่มนี้ครับ ว่าตัวเค้าไม่มีตา แล้วแสงส่องมาจากทางด้านซ้าย เค้ารู้ได้ไงหนอ ว่าแสงอยู่ทางด้านซ้าย

ภาพต่อไปนี้เป็นภาพแรกก่อนที่จะเริ่มให้แสงครับ ทุกคนยังขึ้นตรงกัน ซึ่งตามหลักการของต้นพืชจะชี้ขึ้นบน (negative gravitropism) ส่วนรากพืชจะดิ่งลงล่าง (positive gravitropism) เป็นไปตามหลักการของฮอร์โมนครับ

ส่วนภาพที่สองด้านล่างนี้ จะเจริญโตโบไประยะหนึ่งแล้ว พร้อมกับเอนตัว อ่อนน้อมถ่อมตนต่อแสงที่ส่องมาหา แม้แต่เจ้าตัวเล็กทางซ้ายมือ ดูซิครับ น่าเอ็นดู๊ เอแล้วต้นไม้รู้ได้ไงหนอ ว่าแสงมาจากทางนั้น หากเป็นคนหรือสัตว์มีตา ก็ว่าไปอย่างเนอะ

นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองกันมานานแล้วครับ เรื่องการเอนเข้าหาแสงของต้นไม้ ผมจะไม่ขุดประวัติก็แล้วกันนะครับ แต่ขออธิบายง่ายๆ สั้นๆ ครับ ว่า ต้นไม้จะมีการสะสมและผลิตฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ออกซิน (IAA) โดยฮอร์โมนชนิดนี้จะมีหน้าที่ในการแบ่งเซลล์ บริเวณใดที่มีฮอร์โมนออกซินมากก็จะแบ่งเซลล์มากกว่าอีกด้านหนึ่งที่มีออกซินน้อย

ท่านพอจะมองเห็นแล้วใช่ไหมครับ เอ แสดงว่า ออกซินมีการเคลื่อนที่ไปทางด้านที่ไม่มีแสงซิครับ

ถูกต้องแล้วครับ คุณสมบัติของฮอร์โมนออกซินคือตัวมันจะหนีแสง หากมีแสงวิ่งไปหามันแล้วไม่มีการเคลื่อนย้ายตัวมันจะตาย ดังนั้น นี่คือกลไกของต้นไม้ที่ทำให้ยอดต้นไม้วิ่งเข้าหาแสงนั่นเอง ทั้งๆที่ไม่มีตาให้มองก็ตาม

ไม่ใช่ว่า ยอดไม้เอนเข้าหาแสงเพราะมันชอบแสงหรอกนะครับ แต่เพราะกลไกตัวนี้นั่นเองมีผลต่อการแบ่งเซลล์ที่บริเวณยอดนั่นเองครับ

หากท่านใดมีอะไรจะเสริม ก็ยินดีนะครับ (ผมเป็นนักคณิตศาสตร์ ยังต้องเรียนรู้อีกเยอะครับ)

ขอบคุณมากครับ

สมพร ช่วยอารีย์ 

 

หมายเลขบันทึก: 84435เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2007 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

เป็นไปได้หรือว่าการที่ต้นไม้ สร้างออกซิน (growth hormone สำหรับพืช) ให้มีปฏิกริยาต่อแสงเช่นนั้น ก็เพื่อเป็นกลไกในการการแสงสว่าง เพราะพืชจะสามารถสร้างอาหารได้ต้องอาศัยแสงแดดในการสังเคราะห์แสง....เช่นเดียวกันกับพืชที่อยู่ในป่าที่ทึบแน่น แสงไม่พอ ต้นไม้จะชูยอดแข่งขันกันเพื่อหาแสง โดยมีกลไกของออกซินที่เมื่อแสงน้อย ออกซินจะทำงานมากเร่งการแบ่งเซลลืให้พืชเจริญเติบโดตอย่างรวดเร็ว แต่ไม่สมบูรณ์นัก จะเห็นว่าต้นจะผอม ชลูด สีก็จะไม่เขียวเข้ม เนื่องจากอาหารไม่เพียงพอ หรือไม่มีเวลาในการสะสมความเจริญเติบโตในส่วนอื่นๆ ของต้น......ไม่ได้เรียน Plant Physiology หรอกค่ะ แต่คาดการณ์ว่าอย่างนี้ ถูกผิดอย่างไร ช่วยชี้ให้กระจ่างด้วยนะค่ะ....เพราะคิดว่าทุกอย่างในการทำงานของร่างกายของสิ่งมีชีวิตมีเหตุและผลเสมอ.....

  • ขอบพระคุณ อ.แป๋วครับผม
  • ดีครับผม มีหลายๆ ประเด็นครับ กลไกการทำงานของออกซินมันมีหลายอย่างครับ
  • ผมเองก็ไม่ได้เรียนหรอกครับ แต่อ่านๆ เอาครับ
  • ออกซินมีการสร้างที่ใบด้วยครับ ที่ใบอ่อน ส่งไปเก็บ การที่ยอดวิ่งเข้าหาแสงนั้น ตอนที่เป็นต้นอ่อน อย่างน้อยใบใหม่ๆ ที่เกิดมาจะตั้งหน้าหันเข้าหาแสงด้วย ทำให้พื้นที่ในการรับแสงมีมากขึ้นครับ
  • หากเรามองต้นไม้บางชนิด ตอนเล็กๆ เช่นถั่วเหลือง อันนี้ฉลาดหน่อยครับ คือที่โคนใบจะมีกลไกทำให้ใบมันหันเข้าหาแสงได้ที่ก้านใบนะครับ เหมือนข้อมือเรานะครับ มีจุดเชื่อมที่สามารถจะปรับมุมใบได้ด้วยครับ ผมสังเกตได้เอาจากที่ปลูกมาสี่เดือน (ถั่วเหลือง พันธุ์เชียงใหม่ 60 นะครับ)
  • สำหรับต้นไม้สูง หรือพอเป็นต้นแล้ว มีตาข้าง มีตายอด มีกิ่ง อะไรพวกนี้ ออกซินก็จะมีผลเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ ตายอดข่มตาข้าง อันนี้ อ.แป๋วก็ทราบดี กว่าผมอีกครับ
  • ออกซินยังต้องส่งไปที่ปลายรากด้วย เพื่อสร้างรากแขนงครับ ปลายรากก็ยังมีฮอร์โมนอีกครับ ที่ส่งขึ้นไปบนต้น เพื่อส่งผลต่อการเปิดปิดปากใบ หรือทำให้เกิดตาข้างในยามที่สถานการณ์พร้อมด้วยปัจจัย
  • ผมอยากจะทราบกลไกทั้งหมดเหมือนกันครับ แต่ยากเหลือเกินครับ
  • รบกวนท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วยครับ ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

ทีแรกคิดไปจากคำขึ้นต้น  ที่ว่า "มีตา หามีแววไม่"

โอ้โห  อาจารย์เป็นนักวิทยาศาตร์

นุชพึ่งรู้จัก  ออกซิน (IAA)

ออกซิน (IAA) เป็นฮอร์โมน  แหะๆ  ไม่รู้เรื่องเอาซะเลยนุชเนี่ย  ไม่รู้จริงๆนะคะ  อืม.........

อาจารย์คะ  พืช  มีจิตวิณญาณไหมคะ

 

  • น้องนุช ลองอ่านบทความนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/81733 ท่านหลวงพี่ได้ตอบไว้ในทางพุทธนะครับ
  • ส่วนในทางวิทย์ไม่รู้จะตอบอย่างไร หรือในทางสาขาด้านอื่น
  • ลองอ่านดูครับ รู้ไว้ใช่ว่า

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

           แค่ชื่อเรื่องก็กินขาดแล้วค่ะ  เลยต้องรีบคลิกเข้ามาดู  ดูแล้วก็รู้ว่าเป็นเรื่องจริงผ่านจอเลยค่ะ 

สวัสดีครับ คุณราณี

  • เป็นอย่างไรบ้างเอ่ยครับ ไปดูงานกันมาครับ
  • สบายดีนะครับผม
  • สู้ๆ นะครับผม
  • เห็นรายการอาหารแล้วน้ำลายไหล
  • มาทักทายครับผม
  • สวัสดีครับพี่บ่าวขจิต
  • ขอให้สนุกนะครับผม รอชมภาพครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • มาทักทายตามประสาคนคุ้นเคยครับ
  • สวัสดีครับยามเช้าครับ คุณย่ามแดง
  • รบกวนรายงานสภาพอากาศใน มอ.ด้วยครับผม
  • ได้ไปเดินเลโคลนบ้างไหมครับ
  • ขอบคุณมากครับ

หุหุ...เลิกงานซะแล้ว...ไม่มีที่ไป...นอกจากกลับบ้านเหมือนที่ทำเมื่อวาน และเมื่อวันก่อนๆ...

เข้าเว็บดีกว่า...

P

สวัสดีครับ

           ขอบคุณมากครับ ดีใจที่เจอคนเกิดวันเดียวกันครับ โชคดีนะครับ

ปะปะปะ สุุดยอด 5555+ ขอบคุณจ้า sexyดีชอบ แต่โป๊ไปนิด

พี่เม้งจ๋า สวัสดีค่ะ

พี่เม้งสบายดีไหมค่ะ น้องจิคิดถึงนะจ๊ะ รักษาสุขภาพด้วยเจ้าค่ะ กอดๆๆ เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ --->น้องจิ ^_^

ผมรู้สึกว่าตนเองโชคดีจังที่ได้อ่านบทความนี้ เพราะกำลัีงประยุกต์ใช้แนวคิดเดียวกัน(ถั่วงอก กับแสง) ไปออกแบบ ระบบคอมพิวเตอร์

โดยมองโปรแกรมคอมพิวเตอร์เหมือนถั่วงอกเหมือนดังภาพ
และให้ผู้ใช้งานเป็นแสงแดด เหมือนดังภาพข้างบน

ผมเพิ่งเขียนบทความไปเมื่อวาน

รบกวนลองเข้าไปอ่านดูนะครับ

http://gotoknow.org/blog/mind-pc/201963

 

วันนี้อ่านเรื่องนี้ทำให้ได้ความรู้ลึกขึ้นมากครับ

ปัญหาที่ผมมีตอนนี้คือ เราสร้างหรือโมเดลสมการ ระหว่างแสงกับการเคลื่อนที่หาแสงได้หรือไม่ และมีปัจจัยอื่นๆ อะไรบ้าง

 

ถ้ามีอะไรแนะนำ หรือเสริม เชิญเลยนะครับ ขอบคุณมาก
(ผมเป็นนักคอมพิวเตอร์ ยังต้องเรียนรู้อีกเยอะครับ :-P )

ยาก ยาก หาไม่เจอเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท