KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (276) ความรู้คืออะไร


         ความรู้คือชุดความเข้าใจและทักษะซึ่งสร้างขึ้นโดยคน  และเพิ่มพูนขึ้นจากปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น   และจากปฏิสัมพันธ์กับสารสนเทศ

         นิยามของคำว่า "ความรู้" มีได้หลากหลาย   แตกต่างกันไปตามทฤษฎี KM ที่แตกต่างกัน

ความรู้มีหลายหน้า
      - อาจเป็นความรู้ส่วนบุคคล และ "รู้" แบบไม่รู้ตัวว่าตนรู้ความรู้แบบนี้อยู่ในใจคน,  วิถีชีวิต  และวัฒนธรรม (ความรู้ฝังลึก - Tacit Knowledge)
      - อาจบันทึกเป็นสารสนเทศในรูปของเอกสาร, ภาพ, คลิปวิดีโอหรือในรูปแบบอื่น ๆ
      - อาจมองว่าเป็นองค์ประกอบของสินทรัพย์ขององค์กร

Ref. Standards Australia. Knowledge Management - a guide. AS5037 - 2005.

วิจารณ์  พานิช
 13 มี.ค.50

คำสำคัญ (Tags): #kmวันละคำ
หมายเลขบันทึก: 84426เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2007 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อาจารย์คะ

แล้วที่คนเขาชอบพูดว่า  มีความรู้  แต่เอาตัวไม่รอด  นั้น

คือ  คนที่ไม่มีการจัดการความรู้ใช่ไหมคะ

ขอบคุณคะ

คนที่เป็นเจ้าของความรู้ แล้วเอาตัวไม่รอดนั้นนะคะนุช อาจมีหลายสาเหตุค่ะ ความรู้ที่มีอาจไม่สอดคล้องกับความจำเป็นที่มีตรงหน้าก็ได้นะคะ

คุณนุชและอาจารย์แหววครับ

คนอย่างนั้นน่าจะเรียกว่า มีความรู้ แต่ไม่มีปัญญา     ไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้เข้ากับความจริงหรือบริบท ได้     หรือเรียกว่า รู้ไม่จริง ก็น่าจะได้

ความรู้ มีหลายระดับนะครับ    รู้แบบท่องจำอย่างนกแก้วนกขุนทอง เป็นระดับต่ำสุดครับ

วิจารณ์

อ.คะ ดังนั้น แค่เข้าใจ แต่ใช้ไม่เป็น ก็น่าจะยังไม่อาจเรียกได้ว่า "รู้" ใช่ไหมคะ ?

และถ้าใช้เป็น โดยไม่มีความเข้าใจเลย เพียงแต่ "มั่ว" ไปตาม "ความจำได้" ก็น่าจะยังถือไม่ได้ว่า "รู้" ใช่ไหมคะ ?

แต่เมื่อ "ทักษะ" เกิดจากความเข้าใจ ความรู้ก็เกิด และสามารถมี "ผลิตผล" ได้อย่างไม่รู้จบ และผลแห่งความรู้นี้ก็จะพัฒนายกระดับไปเรื่อยๆ การท่องบทเรียนโดยไม่ลงมือทำ จึงไม่ทำให้ "มนุษย์" เป็นเจ้าของความรู้

คิดมากไปไหมคะ ??

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท