หากลูก(ศิษย์)คุณถามคำถามแบบนี้ คุณจะตอบเค้าอย่างไร เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ให้ลูก(ศิษย์)ของคุณต่อไป


หากลูก(ศิษย์)คุณถามคำถามแบบนี้ คุณจะตอบเค้าอย่างไร เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ให้ลูก(ศิษย์)ของคุณต่อไป

หากลูก(ศิษย์)คุณถามคำถามแบบนี้ คุณจะตอบเค้าอย่างไร เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ให้ลูก(ศิษย์)ของคุณต่อไป 

เคยลองตั้งคำถามให้กับตัวเองไหมครับ ว่าทำไมเราเห็นดวงจันทร์เสี้ยว แล้วค่อยๆเต็มดวงแล้วเปลี่ยนไปเรื่อยๆ

ทำไมมันเกิดอะไรขึ้นกับดวงจันทร์ มันเป็นเงาของอะไรไปบังหรือเปล่า เงาโลกไปบังดวงจันทร์หรือ เอหรือว่าเงาดวงจันทร์เอง

แล้วราหูอมจันทร์ เกิดขึ้นอย่างไร จริงหรือที่มีราหูมาอมจันทร์ อมด้วยปากหรือเปล่า

แล้วน้ำขึ้นน้ำลงหล่ะ ทำไมมันมีน้ำขึ้นน้ำลง ด้วยเกิดจากอะไรกันเนี่ยครับ

แล้วทำไมลมบก พัดตอนกลางคืน ลมทะเลพัดตอนกลางวัน แล้วลมบก ลมทะเลเกิดขึ้นได้อย่างไรหนอ

ทำไมพายุมันถึงมาตายบนบก ทำไมในทะเลมันร่าเริงจัง

ทำไม ทำไม และ ทำไม

หากลูกคุณถามคำถามแบบนี้ คุณจะตอบเค้าอย่างไร เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ให้ลูกของคุณต่อไป

แม่ค่ะ หนูเกิดมาจากอะไรค่ะ เกิดจากกระบอกไม้ไผ่นะลูก แล้วหนูเข้าไปอยู่ได้อย่างไรค่ะ อุ้ยลูกคนนี้ ถามมากจริง....

คุณจะตอบ คำถามเหล่านี้เพื่อเอาตัวรอดได้อย่างไรครับ

คำสำคัญ (Tags): #คำถาม#ทำไม
หมายเลขบันทึก: 82866เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2007 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

อิๆๆ สงสัยบทความนี้ เป็นบทความไล่คนเลยครับเนี่ย ไม่มีใครกล้าแสดงความเห็นเลยครับ เนื้อจริง แค่ต้องการจะทราบว่า เราจะตอบเค้าได้อย่างไร หากบางอย่างเรารู้ หรือบางอย่างเราไม่รู้เท่านั้นครับ ไม่ต้องตอบว่าทำไมน้ำขึ้นน้ำลง เกิดได้อย่างไรครับ

อยากทราบความเห็นครับ

555  บางอย่างแม่ก็ยังตอบไม่ได้เลยลูกเอ๋ยยย ...อิอิ...

สวัสดีครับอาจารย์

ผมไม่ตอบครับ แต่ผมจะยิ้มแล้วบอกว่า พ่อก็อยากรู้เหมือนกัน แล้วเรามาช่วยกันหาคำตอบดีไหม

แต่ถ้าลูกจนปัญญาจริงๆ ก็ง่ายๆครับ ก็ทำให้ลูกเห็นสิครับ ผลไม้แค่สามลูก ก็อธิบายเรื่องราหูได้

ถาดน้ำกับลมปากเป่า ก็อธิบายเรื่องพายุและน้ำได้

แต่เรื่องลมบก ลมทะเล น้ำขึ้น น้ำลง นี่คงต้องให้ลูกไปอ่านหนังสือครับ เพราะเราคงไม่สามารถสร้างแรงดึงดูดขึ้นมาให้เขาเห็นได้

ขอแค่ลูกถามว่าทำไมเถอะครับ อย่างน้อยก็ดีกว่าถามว่าใช่หรือไม่หลายเท่านัก

อาจารย์เม้ง...

เข้ามาอ่าน...

พอถึงเรื่องดวงจันทร์ ก็นึกถืงหนังสือเรื่อง พระจันทร์เสี้ยว ของนักเขียนอินเดียซึ่งแปลเป็นไทยโดยใครก็จำไม่ได้แล้ว...

พออ่านถึงลมบก-ลมทะเล ก็นึกถึงปรัชญาจีนว่า การหวนกลับคือวิถีแห่งเต๋า นั่นคือ ธรรมชาติมีฝ่ายต่อต้าน มีบวกมีลบ เพื่อให้เกิดความสมดุล...

พอมาถึงเรื่องลูกถามว่ามาจากไหน ประเด็นนี้ รอดตัวไปเพราะหลวงพี่ไม่มีลูก (.....)

พ่อแม่และครู เป็นกัลยาณมิตร ซึ่งจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติอย่างหนึ่งคือ คมฺภีรญจ กถํ กตฺตา อธิบายเรื่องลึกซึ้งได้...

ถ้าผู้เป็นพ่อแม่และครู ไม่สามารถอธิบายได้ก็ถือว่าบกพร่องคุณสมบัติข้อนี้...

จะอธิบายอย่างไร ?

เจริญพร 

     คำถามท่านอาจารย์เม้ง  เด็ดจริง  ๆ  ครับ  ผมว่าคงจะมีผู้รู้(มาก  ๆ  )  มาตอบครับ

  • ถ้าลูกถามต้องตอบครับ ถ้ามีเหตุผลอธิบายได้ต้องอธิบายครับ เพื่อกระตุ้นให้สมองเด็กได้คิด ต้องย้อนถามกลับด้วยว่า แล้วลูกคิดอย่างไรล่ะ บางทีเราจะได้คำตอบที่น่าทึ่ง  หรือขำกลิ้ง(ลิงกับหมา)ก็ได้
  • การโต้ตอบกับลูกเป็นการกระตุ้นให้เกิดการต่อ ยอด เกิดการคิดต่อ เกิดการหาเหตุผล 
  • ถ้าพ่อแม่ เป็นผู้รู้ "กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก" อาจจะไม่ตอบหมดก็ได้ แต่แนะนำลูกว่า  ที่ห้องเรามีสารานุกรมเยาวชนเรื่องนี้อยู่ ลูกลองใช้เวลาไปค้นดูหน่อยซิ  หากได้คำตอบว่าอย่างไรมาบอกพ่อบอกแม่ด้วยนะ  
  • หากลูกทำเช่นนั้นก็ให้รางวัลลูกโดยการจัดตารางพาลูกไปท้องฟ้าจำลองเพื่อศึกษาเรื่องนี้จากที่นั่นด้วย  หรือพาลูกไปห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีเอกสารพวกนี้อยู่
  • นี่แหละครับต่อยอด โดยการกระตุ้นเด็ก ที่พี่ใช้คำว่า "Conscientization approach" เป็นการกระตุ้นสำนึก ความอยากเรียนรู้ 
  • ถ้าเราไม่มีคำอธิบาย เพราะไม่รู้จริงๆ หรือรู้แต่ไม่อยากที่จะอธิบายให้ลูกฟังเพราะกำลังยุ่ง หรือติดภารกิจอยู่ ก็ต้องตอบตรงไปตรงมาว่า พ่อก็ยังไม่เข้าใจ และยังอธิบายไม่ได้ เดี๋ยวพ่อจะหาคำอธิบายมาให้ทีหลังนะครับ
  • แล้วเราต้องหาคำตอบมาจริงๆนะ อย่าทิ้งไว้เด็ดขาด
  • น้องเม้งเตรียมจะไปถามลูกหรืออย่างไรเนี่ยะ..(แซว เด้อ..)
  •  ขอบคุณครับ คุณ
    P
    ครับ ผมก็รอความเห็นดีๆ จากทุกๆ คนมาตอบกันครับ สนุกดีได้เปิดกว้างด้วยครับ
  • ขอบคุณครับ พี่
    P
    นั่นแน่ครับ ความเห็นและทางออกดีๆ เริ่มมีมาแล้วครับ
  • น้องเม้งเตรียมจะไปถามลูกหรืออย่างไรเนี่ยะ.ฮ่าๆ อิๆ เตรียมไว้ครับ เผื่อวันหนึ่งมีโอกาสให้ลูกถามครับ ตอนนี้รอให้ลูกศิษย์หรือลูกเพื่อนถามไปก่อนครับ
  • น่าสนใจมากๆครับในการชวนการเรียนรู้ไปด้วยกัน แต่หากลูกเริ่มถามตอนพูดได้นี่ซิครับ เช่นเพิ่งจะสามขวบถึงห้าขวบหล่ะครับ อันนี้หล่ะคือยังเขียนไม่ได้อ่านไม่ออก เราจะตอบเค้าอย่างไรดีหนอ ที่ไม่เป็นการตัดยอด ทำไม ของเด็กให้เด็กยังเพิ่มอยากรู้อยากเห็น ซึ่งการตอบในแต่ละอายุผมว่าคงมีเทคนิคการตอบที่น่าสนใจของท่านๆ ทุกคนครับ ลองเขียนกันไว้ดูนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • พี่ว่าเด็กอายุน้อยขนาดนั้นคงไม่ถามอะไรที่ไกลตัวเกินไป เด็กเล็กสนใจสิ่งใกล้ตัวครับ
  • เอาละหากเป็นเด็กอัฉริยะ พี่ว่าคำอธิบายของคุณ
    P
     เข้าท่านะครับ
  • ในทัศนะพี่ หากเป็นเด็กเล็กเขายังไม่มีจินตนาการมากนัก ต้องใช้รูปธรรมสอน อธิบาย พ่อแม่ต้องเป็นนักดาราศาสตร์สักวันหนึ่งนะ สร้างห้องเรียนที่บ้าน โดยใช้รูปธรรมจริงๆมาแสดง (ไม่ลงรายละเอียดนะ) แสดงไป อธิบายไป คุยกันไป แล้วโน้มนำสู่ของจริง แต่ก็ยากที่เด็กเล็กจะเข้าใจนะ
  • หลักการคือ เด็กเล็ก ยังไม่มีจินตนาการ หรือมีน้อยมาก ต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม มากๆ ครับ
  • ประเด็นดีครับ
  • ขอบคุณพี่
    P
    มากครับผม
  • เห็นด้วยครับ กับการจัดการเรื่องสร้างภาพ หรือมีบทสอนให้เด็กเล่น ฝึกทักษะทางตรรก ให้กับเด็ก หากมีพิพิธภัณฑ์หรือสถานที่ในการฝึกทักษะให้กับเด็กในช่วงอายุต่างๆ กันก็คงดีส่วนหนึ่งเค้าจะได้ฝึกกัน ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรืออนุบาล สำหรับตอนอยู่ที่บ้านคงต้องอาศัยพ่อแม่พี่น้องในการช่วยสร้างแนวทางให้เค้านะครับ
  • ผมเคยเห็นบางทีการสอนของพ่อแม่ หากเด็กเดินไปแล้วล้มลง ด้วยความรักที่มีต่อลูก เราก็วิ่งไปอุ้มแล้วตกจะตกใจพร้อมกับเจ็บนิดหน่อย อาจจะทำให้เด็กกลัวแล้วร้องต่อไป ที่เคยเห็นคนไปอุ้มจะถามว่า กบวิ่งไปไหนแล้ว นี่กบตัวนี้ไม่ดีเลย แล้วก็ไปตีเสาให้เด็กหยุดร้อง พอครั้งต่อๆ ไปเราก็ทำแบบนี้อีก เด็กจะหยุดร้องเร็ว
  • กำลังมองถึงกระบวนการในการสอนทั้งท่าทางและการสอนด้วยคำว่า ทำไม ของเด็กนะครับ เลยคิดว่าประเด็นเหล่านี้จะเป็นประโยชน์
  • ผมสังเกตในพิพิธภัณฑ์ที่เยอรมัน วันอาทิตย์ คนเยอรมันจะพาลูกๆ ตัวเล็กๆไปเล่นกันที่พิพิธภัณฑ์กันแถวยาวเลยครับ เด็กเค้าได้เจอเพื่อน ได้เล่น ได้สร้างคำถาม ทำไม พ่อแม่บางทีก็ไม่รู้หรอกครับ ก็ต้องไปถามเจ้าหน้าที่เพื่อจะหาทางมาอธิบายลูกๆ มีทั้งๆ เรื่องไกลตัวและใกล้ตัว หลากหลายมากมาย ทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ สังคม ประวัติศาสตร์ รอบตัวตั้งแต่ใกล้ๆ ไปจนถึงไกลๆ ครับ แล้วก็มีให้เด็กทดลองเองด้วย
  • มีอะไรเพิ่มเติมเขียนมาได้นะครับ ไม่ต้องตรงประเด็นมากก็ได้นะครับ กับคำถามด้านบน ตรงนั้นมันมีคำตอบของมันอยู่แล้วครับ ใครไม่ทราบก็ไปตามหาได้ครับ ประเด็นที่ผมเน้นคือเราจะบอกกับเค้าอย่างไร หรือช่วยเค้าต่อยอดความรู้กันอย่างไร เพียงแค่เก็บไปคิดเล่นๆ ในอนาคต (แต่เอาจริง) ครับ
  • ขอบคุณครับ

อืมม เคยเจอเหตุการณ์ทำนองนี้เหมือนกัน ไม่ใช่เรื่องดวงจันทร์ น้ำขึ้น น้ำลง หรอกคะ แต่ก้อ...เป็นธรรมชาติรอบตัวเรานี่แหละ เรื่องหิ่งห้อยหน่ะ ขอเล่านิดหนึ่งนะคะ พอดีมีหลานสาวสุดที่รัก อยู่คนหนึ่ง อายุห้าขวบกว่าๆ วันเกิดเหตุ ไปดูหิ่งห้อยกันแถวแม่กลอง พอเห็นหิ่งห้อย คำถามแรกได้ยินหลานเค้าถาม คือ "แม่ๆ หิ่งห้อยกินอะไร" เราก้อทึ่งปลื้มใจม๊ากมาก คืออยู่ข้างๆ กัน เลยได้ยิน โห หลานเราช่างถามเน้อ แม่เค้าตอบว่า "กินน้ำค้างหน่ะลูก" เหลือบไปมองหลานเจ้าปัญหานิดหนึ่ง เห็นยังทำหน้างง ซักพักคำถามสองก้อตามมา "แม่แล้วไอ้แสงที่ตูดหิ่งห้อยมันใส่ถ่านหรือชาร์ตแบตคะ" จากที่ทึ่งอยู่แล้ว ก้อยิ่งทึ้งอีก โห หลานเรา ช่างถามเน้อ แล้วก้อแอบคิดในใจว่า เอ..... ทำไมนะเพราะอะไร แต่ไม่เป็นไร รอดตัวหลานถามแม่ ไม่ได้ถามอา อิๆๆๆ แต่พอได้ยินแม่เค้าบอกว่า "แม่ไม่รู้เหมือนกันหน่ะ ลูก ลองถามอาซิ" อ้าว แหง๋โยนมาให้กันซะงั้น เฮ้อ ยิ้มแห้งๆ แล้วก้อตอบไปว่า "อาก้อไม่รู้เหมือนกันคะ ติดไว้ก่อนนะ" กลับมาถึงรีบเข้าเนต หาข้อมูลเลย ต้องขอบคุณคำถามของหลาน ที่ช่วยกระตุ้นต่อมอยากรู้เรื่องหิ่งห้อยของอา คราวนี้ใครมาถามก้อจำได้ไม่ลืมล่ะ เอ แต่ไอ้เจ้าสารเรืองแสงที่ก้นมันนี่ซิชื่อจำยากจัง ลู... ไรก้อไม่รู้หล่ะ อิ ทุกคำถามมันก้อต้องมีทั้งที่รู้และไม่รู้

ส่วนเรื่องเราจะตอบคำถามอย่างไรนั้น ในความคิดนะคะ ถ้าคำถามเด็กโตๆ เช่น พวกลูกศิษย์อายุมากๆแล้ว เรื่องพวกนี้มันไม่ใช่การแก้สมการ ที่อธิบายกันสีห้ารอบแล้วยังไม่เข้าใจกันอีก เป็นเื่รื่องธรรมชาติที่ถ้ามีแหล่งข้อมูลแล้วสนใจอ่านกันซักหน่อย ก้อเข้าใจได้แล้ว สำคัญก้อคือ แหล่งข้อมูลที่จะให้ความรู้กับพวกเค้ามากกว่า ทำอย่างไรให้เค้าสามารถหาคำตอบด้วยตัวเองได้ เราก้อแค่บอกแหล่งข้อมูล เช่น ชื่อหนังสือ ชื่อเว็บ ฯลฯ ให้เค้า ที่เหลือก้อเป็นหน้าที่ของเค้าแล้วหล่ะ

แต่ยากหน่อยก้อเด็กเจ้าปัญหาตัวน้อยๆ นี่แหละคะ ถ้าเรารู้ ก้ออธิบายให้เค้าฟัง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไม่ใช่ตอบแบบขอให้ผ่านๆ ไป แบบเอาเรื่องหลอกลวงหรือโกหกมาเล่าให้เค้าฟัง หรือแบบตอบแบบขอไปที ตอบแบบผ่านๆ ถ้าตอบแบบนี้อันตราย เพราะมันจะทำให้ต่อมอยากรู้อยากเห็นของเด็กจะฝ่อเอา เราต้องตอบแบบให้เค้าเข้าใจตามความเป็นจริง และให้เด็กรู้สึกสนุกกับการได้ถามได้ฟังคำตอบ ถ้าเรื่องยากๆ ก้อไม่จำเป็นต้องอธิบายหมดก้อได้ เอาหลักๆ ของแต่ละเรื่องให้เค้าฟังง่ายๆ แบบให้พอเหมาะสมกับวัยของเค้า ส่วนเรื่อง เงาจันทร์ ราหูอมจัน ลมบก ลมทะเล พวกนี้ ถ้าให้มองนะ อธิบายโดยใช้อุปกรณ์ช่วย โดยให้เค้ามีส่วนร่วมด้วย อุปกรณ์ก้อเอาวัสดุในบ้านนั้นแหละช่วย ขี้เกียจพิมพ์แล้ว เอาเป็นว่าดัดแปลงกันเองนะ ตามความเหมาะสม อย่างลมบก ลมทะเล ง่ายๆ เลย อธิบายเรื่องการเกิดลมก่อน ความต่างของอุณหภูมิ ...... ฯลฯ โดยสุดท้ายก้อจะได้ประเด็นว่า ลมบก ลมทะเลคืออะไร ตบท้ายการทดสอบลูก (จริงๆ แล้วคือ แกล้งลูกให้วิ่ง) ก้อได้ อิๆๆๆ คือ มีพ่อ แม่ ลูก ให้ พ่อเป็นทะเล แม่เป็นพื้นดินก้อได้ แล้วให้ลูกเป็นลม (เป็นลมพัดนะคะ ไม่ใช่ลมสลบต้องหายาดม) อยู่ตรงกลางระหว่างพ่อแม่ บอกกลางวัน ลูกก้อจะบอกว่าลมทะเล แล้วก้อวิ่งไปหาฝั่ง อะไรประมาณนี้แหละ ก้อแล้วแต่จะสรรหากันคะ อืมม รู้สึกว่าร่ายยาวไปแล้ว อิๆๆๆ ขอโทษนะคะ ลืมตัวไปหน่อย เอาเป็นว่า วิธีนี้ได้ความรู้หรือป่าวไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ ได้ความสนุกแน่นอน และรับรองได้ว่า ต่อไปเค้าก้อจะขยันหาปัญหามาให้เราปวดหัวเล่นอีกเยอะทีเดียว อิๆๆๆๆ ส่วนถ้าเราไม่รู้นั้นก้อไม่ใช่ปัญหาใหญ่

ไม่รู้ก้อบอกเด็กไปว่าไม่รู้ ถ้าเค้าอยากรู้คำตอบก้อไปค้นคว้ามา ให้เค้า เราก้อได้ความรู้เพิ่มขึ้น แถมจะจำได้ไม่ลืมอีกด้วย เพราะว่าเจ็บใจ ที่เด็กถามแล้วผู้ใหญ่อย่างเราดันตอบไม่ได้ อุ๊ยตายแล้ว โทษทีนะคะพี่เม้ง กะว่าจะเขียนสันๆ แต่ดันพิมพ์ซะยาวเลยคะ ไม่ว่ากันนะคะ

  • ฮ่าๆ ขอบคุณน้องลีย์มากครับ
  • ได้ความคิดตัวอย่างเพิ่มเติมครับ
  • ผมชอบฟังเวลาเด็กถามผู้ใหญ่ แล้วการตอบของผู้ใหญ่ครับ บางทีดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่ไม่มีอะไร แต่จะมีผลในระยะยาวเช่นกัน เพราะคำถามเค้าฝ่อเพราะไม่มีการตอบให้ เค้าก็จะไม่ถามอีก แต่หากโดนดุจะมีบอดไปเลย
  • หากมีทางแลกเปลี่ยนกันได้ คงได้ตัวอย่างรอบตัวให้ติดตามกัน น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว ผมว่าคำถามเด็กๆ นี่หล่ะบางทีทำให้เกิดงานวิจัยรอบตัวเพื่อบ้านเมืองเราได้เหมือนกันครับ
  • เพราะบางทีเรามองข้ามในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรา
  • แม่ค่ะ ทำไมเวลามดมันเดินสวนทางกัน มดมันแตะมือกันหล่ะค่ะ
  • พ่อค่ะ ทำไมใบไม้สีเขียวหล่ะค่ะ
  • แม่ครับ ทำไมงูมันเลื้อยได้ ไม่เห็นมีขาเลยครับ
  • พ่อครับ ทำไมคนไม่เข้าแถวเวลายืนซื้อของหล่ะครับ เห็นที่โรงเรียนคุณครูบอกให้เข้าแถวตามลำดับ
  • ทำไม ทำไม และทำไม คุณจะจัดการอย่างไรครับ

วิธีที่ตัวเองใช้เสมอคือ ถามกลับว่าลูกคิดยังไง เพราะส่วนมากเวลาที่มีคำถาม ลูกมักจะคิดคำตอบเดาเอาไว้ก่อนแล้ว ตามวัยของเขานะคะ ไม่ว่าจะเด็กแค่ไหนก็ตาม แล้วเราก็ค่อยต่อยอดไปจากสิ่งที่เขาคุยกับเราค่ะ

ยืนยันได้ว่า การฟังลูกว่า เขาต้องการสื่อสารอะไรกับเรา สำคัญกว่าการตอบคำถามถูกต้องค่ะ เพราะหลายๆครั้งเขาไม่ได้ถามเพราะอยากรู้เสมอไป เด็กๆมีสัญชาตญาณหยั่งรู้ที่เราคาดไม่ถึงค่ะ เขารู้ว่าเรากำลังคิดอะไรอยู่ เขาเรียนรู้ลักษณะนิสัยของพ่อแม่อยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ใครที่ยอมลูกตั้งแต่แรกๆ ก็จะตกเป็นเครื่องมือของลูกโดยไม่รู้ตัว

พี่เคยคุยกับลูกแล้วจำได้มาถึงตอนนี้ว่า เวลาครูคนไหนชม โดยไม่อยู่บนพื้นฐานของความจริง คำชมของครูคนนั้นจะไร้ความหมายไปโดยสิ้นเชิงนะคะ เพราะฉะนั้น เราต้องจริงใจแต่ไม่ใช่ทำให้เสียกำลังใจ พี่จะพูดความจริงกับลูกเสมอ หากเขาทำไม่ได้ดีก็จะบอกว่า เราเห็นว่ายังไง แต่เราคิดว่าเขาน่าจะทำได้ยังไง ฯลฯ ก็คือไม่ยอ ไม่ติจนเกินไป

บอกได้เลยว่า เลี้ยงลูก รู้จักลูกคืองานที่สนุกที่สุดงานหนึ่งในชีวิตค่ะ พี่มีบล็อกที่เล่าเรื่องจากลูกๆเอาไว้ 1 บล็อกด้วยค่ะ ถ้าคุณเม้งมีเวลา เข้าไป comment ต่อยอดบ้างนะคะ 

  • ขอบคุณพี่โอ๋มากนะครับ ได้แนวคิดดีๆ หลายประเด็นเลยครับ
  • การถามย้อนกลับเพื่อให้เค้าเอาความคิดออกมาก่อนที่เราจะเสริม น่าจะใช้ได้กับ นศ. และคนทั่วไปด้วย
  • น่าสนใจจริงๆครับ ผมเห็นเพื่อนเค้ามีลูกเค้าก็จะเห็นพัฒนาการของลูกมาเรื่อยๆ น่าจะเป็นงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่สำคัญในชีวิตเลยครับ อิๆๆ
  • แล้วจะเข้าไปทักทายนะครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ

กว่าจะได้เห็นคำถามนี้...ก็ต้องรอให้คุณสมพรส่งมายั่วยวน...5555

 

ผมพยายามอ่านความเห็นของทุกคนครับ...มีหลายคนที่โดนใจ....

 

ประเด็นแรกสุด...พระอาจารย์ของผมกล่าวถึงประเด็น...หน้าที่ของพ่อแม่ที่ต้องตอบได้...ถ้าไม่ทำถือว่าบกพร่อง...อันนี้ถือเป็นหลักการดำรงเผ่าพันธ์มนุษย์ครับ...5555

 

ประเด็นที่ 2 คุณบางทราย กับคุณ โอ๋อโณ ก็มีวิธีการ...ที่เป็นหลักการที่ไม่ว่าผมหรือพ่อแม่คนไหนก็ควรใช้กับลูกทุกคน...โดยเฉพาะ...ยามที่เขาอยากถามพ่อแม่...อันนี้เป็นหลักการดำเนินวิถีครอบครัวครับ...555

 

ประเด็นที่ 3 เรื่องความเข้าใจในตัวลูก...คุณบางทรายและคุณโอ๋ก็อธิบายบ้างตามสมควร... แต่ผมยังเข้าใจว่าที่คุณสมพรถาม...เป็นคำถามที่ยากสำหรับพ่อแม่ที่จะตอบให้กระจ่าง...และคำถามเรื่องเพศนี่แหละที่เป็นจุดตายของพ่อแม่ส่วนใหญ่ในยุทธภพ...555

เรารู้ครับ...ว่าลูกไม่เข้าใจเรื่องเพศในขณะที่ถามครั้งแรก...แต่ในทางจิตวิทยา...ลูกเข้าใจเรื่องความรักครับ...เรื่องเพศเป็นการผสมผสานระหว่างความรักกับความใคร่...พ่อแม่อย่างเรามักระแวดระวัง...ไม่อยากให้ลูกสนใจเรื่องความใคร่...(ทั้ง ๆ ที่เราเองขาดไม่ได้เลย...ยกเว้นพระอาจารย์ครับ...อิอิ) เราจึงคับข้องใจว่าจะทำอย่างไรกับคำถามนี้ดี....

 

คุณแม่คะ...หนูเกิดมาจากอะไร(หรือหนูเกิดมายังไงคะ) ?????

 

ผมจึงใช้พื้นฐานความเข้าใจของเขาเป็นหลัก...ผมตอบว่า...กว่าจะลูกมาอยู่ในท้องคุณแม่ได้เนี่ยนะ...พ่อกับแม่รักกันมาตั้ง 6 ปีแน่ะ...พอพ่อกับแม่รักกันจนเชื่อว่าถ้ามีลูกมาเป็นคนที่ทำให้เรามีความสุขมากขึ้นเลยช่วยกันเรียกหนูมาอยู่ในท้องคุณแม่...แม่เขาคอยประคบประหงมอยู่ในท้องตั้ง 9 เดือน...พ่อก็หอมท้องแม่เพื่อบอกรักหนูทุกวันเลยนะ...หนูเกิดมาจากท้องแม่ถึงเป็นที่รักของทุกคนนี่ไง....

  • จะต้องบอกว่า เจอคำตอบตอนท้ายนี่ ต้องร้องโอ้โห้ครับ สุดยอดครับคุณพี่
    P
  • แบบนี้ผมว่าลูกได้ฟังแล้วชื่นใจ อาจจะไม่ถามอีกเลย แต่ไม่แน่ครับ อาจจะเพิ่มมากขึ้นครับ แต่นับว่าหาทางออกได้สวยครับและลงตัวดีมากเลยครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • แล้วท่านอื่นหล่ะครับ มีแนวทางอื่นอีกไหมครับ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท