"งานวิจัย" ยาขมหม้อใหญ่ของคุณครู


อยากบอกคุณครูทุกท่านว่า กระบวนการวิจัยและกระบวนการเรียนการสอนไปด้วยกัน

เช้าวันนี้ เป็นวันที่ ๘ ของการอบรม ครูชำนาญการพิเศษ ของ สพท.เชียงใหม่ เขต ๔  ซึ่งจัดทั้งหมดรวม ๑๓ วัน ..

ผมได้รับมอบหมายเป็นวิทยากรเติมเต็มให้กับกลุ่มสาระ สุขศึกษา ปฐมวัย พลศึกษา และลูกเสือ ในประเด็น การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ซึ่งเป็นยาขมหม้อใหญ่ของคุณครู ทุกคนจะส่ายหัวอย่างช้าๆและหันหลังกลับทันทีเมื่อบอกว่า วิจัย

ในความเป็นจริง งานวิจัยกับคุณครูเป็นแบบนั้นจริงๆ เพราะ คิดว่าทำยาก และไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ดูเป็นวิชาการ สถิติเยอะแยะน่าเวียนหัว อีกทั้งพอนำเสนอผลงานวิจัยก็ดูอ่านยาก นำไปใช้ยาก...

เหล่านี้เป็นอคติกับ งานวิจัย โดยแท้   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ที่มุมมองคนทั่วไปมองงานวิจัยแบบนี้ก็เพราะส่วนหนึ่ง การเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้ มักให้ความสำคัญสูงกับสถิติที่ยุ่งยาก หรือไม่ก็ผู้สอน ถ่ายทอดเรื่องง่ายๆให้เข้าใจยากๆ นี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่ง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">งานวิจัยกับคุณครูจึงเดินทางเส้นขนานมาโดยตลอด</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมคิดมาสองสามวันว่าจะนำเสนอยังไงดี เพื่อให้คุณครูเปลี่ยนทัศนคติต่อการวิจัย ให้มองว่างานวิจัย ง่ายกว่าที่คิด…นำเสนออย่างไรให้เข้าใจง่ายๆและนำไปใช้ได้เลย แบบมั่นใจ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมศึกษา ทบทวนการทำ วิจัยชั้นเรียน  ไม่ว่าจะเป็น งานวิจัยหน้าเดียว  ที่คุณครูสามารถออกแบบการทำวิจัยแบบง่ายได้ โดยใช้ปัญหาที่พบได้ในห้องเรียนสี่เหลี่ยมเป็นเบื้องต้น เป็นตัวเดินเรื่อง ผมใช้กระบวนการเรียนการสอนเทียบกับกระบวนการวิจัย ที่ชี้ให้เห็นว่า กระบวนการเรียนการสอนนั่นหละครับ เป็นงานวิจัย หากเราเพิ่มการเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ พร้อมการเขียนที่สอดคล้องเชื่อมโยงให้เห็นถึงกระบวนการแก้ไขปัญหา แม้จะเป็นปัญหาเล็กๆ แต่หากเป็นสิ่งที่ขัดข้องในกระบวนการเรียนการสอน หากแก้ไขได้สำเร็จ…ถือว่าเป็น นวัตกรรม เลยทีเดียว</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมบรรยาย ประเด็น การทำวิจัย…ไม่ยากเหมือนที่คิด  ชวนคุณครูคิดตามอย่างช้า นับตั้งแต่ สังเกตปรากฏการณ์ การตั้งปัญหา สมมุติฐาน การออกแบบการวิจัย เครื่องมือ กระบวนการวิจัย รวมถึงการวิเคราะห์ สรุป จนจบกระบวนการ…ว่ามีเท่านี้เอง(จริงๆ)</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">หัวใจของงานวิจัย เริ่มต้นน่าจะเป็น ปัญหาวิจัย ที่ตั้งขึ้น  ต้องเฉียบคม เป็นปัญหาที่อยากแก้ไข เผชิญสถานการณ์จริง วิเคราะห์ออกมาให้เห็นชัดเจนว่าหากจะแก้ไขแล้วใครเกี่ยวข้องบ้าง และน่าจะออกแบบการแก้ไขอย่างไร ต่อมา กระบวนการ จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง กระบวนการดี เก็บข้อมูลเยี่ยม บทสรุปงานวิจัยต้องดีแน่นอน(ดี ในที่นี้หมายถึง  ครอบคลุม  ตอบวัตถุประสงค์ได้ บอกปรากฏการณ์ได้ ) ส่วนสถิติก็ไม่ต้องไปกังวล แค่ ร้อยละ เอกส์บาร์ และ SD ก็เพียงพอแม้ว่างานวิจัยของครูชิ้นนั้นไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ(เป็นที่น่าพึงพอใจ) ก็ไม่เป็นไร …วิจัยต่อไปครับ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ ได้กำไรเรื่อยๆ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>ในงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน จะเป็นวงจร PAOR ซึ่งได้แก่ <ul>

  • Plan = การออกแบบ วางแผน
  • Action = การปฏิบัติการ
  • Observe = การสังเกต เก็บข้อมูล
  • Reflect = การสะท้อนกลับ ทำใหม่
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วนเวียนแบบนี้ไปเรื่อยๆ หากทำได้ดี สามารถแก้ไขปัญหาได้ เราถือว่าเป็น นวัตกรรม ครับ งานนวัตกรรมหากเกิดขึ้นในระดับห้องเรียนเยอะๆผมคิดว่า เป็นการเคลื่อนความรู้ระดับฐานรากการศึกษาอย่างมีพลัง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมประเมินตัวเอง หลังจากการแลกเปลี่ยนกับกลุ่มผู้เข้าร่วมอบรมแล้วน่าพอใจครับ …เพราะคุณครูตอบรับดี ถามคำถามกันอย่างสนใจ พร้อมทั้งหลายๆท่าน บอกกับผมในช่วงพักอาหารว่าง ท่านเข้าใจเรื่องงานวิจัยได้ดี อธิบายง่าย และมีความมั่นใจขึ้นมาก</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมดีใจครับ…ผมคิดว่าผมสำเร็จเป็นเบื้องต้นในการถ่ายทอดเรื่องที่ยาก ให้เป็นเรื่องง่าย ความสำเร็จในต่อไปไม่ขอมากมายครับ ขอเพียงคุณครูมีทัศนคติที่ดีกับงานพัฒนาปัญญา(วิจัย) สนใจเรียนรู้เพื่อเสริมศักยภาพให้ชำนาญมากขึ้น สมกับเป็น ครูชำนาญการพิเศษ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> 

    หมายเลขบันทึก: 84467เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2007 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (16)
    • ถ้าเป็น Action Research ครูก็จะพัฒนางานการเรียนการสอนของตนเองได้ดีครับผม
    • มาทักทาย
    • อยู่บ้านพ่อครูบาสุทธินันท์

    ที่เหมาะสมเห็นจะเป็น Action Research ครับ เพราะกระบวนการได้เรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนไปพร้อมกัน ทำไปปรับ ทำไปเรียนรู้ไป

    ผมขอฝากกราบสวัสดีท่านพ่อครูบาสุทธินันท์ด้วยครับ ท่านอาจารย์ขจิต

    • สวัสดีครับ เข้ามาทักทาย
    • ผมว่า งานวิจัย คงเป็นยาขมของนักวิจัยไทยในประเทศด้วยครับ
    • จากมุมที่ผมมอง ผมว่า จริงๆ แล้วทุกคนก็ต้องวิจัย เริ่มตั้งแต่วิจัยตัวเอง ไปยังวิจัยครอบครัว วิจัยหมู่บ้าน ไปยังระดับประเทศ และโลก
    • ขอบคุณครับผม

    สวัสดีค่ะคุณเอก....

    • ทุกอย่างหากเริ่มด้วยความชอบ  สนใจ  ความอยากก็จะตามมา
    • ครูอ้อยอ่านบันทึกของคุณเอกอย่างจดจ่อ  พบว่า  คุณเอกมีความตั้งใจและพยายามที่จะนำการวิจัยเข้ามาสู่ความชอบของครู
    • ครูอ้อยรู้และเคยพยายามแบบนี้เหมือนกัน  และไม่พบกับความสำเร็จเลย  เพราะมีตัวการหลายตัวสำคัญๆที่ทำให้ครูเหนื่อยหน่ายและท้อแท้
    • พอครูอ้อยเดินทางเข้าสู่การเรียนปริญญาเอก  ก็พบปัญหาเดียวกับครูทุกท่านอีกแล้ว  คือต้องพบกับการทำวิจัยแบบมหาศาล
    • จึงเข้าใจความรู้สึกที่อยากหันหลังให้งานวิจัยทันที
    • คุณเอกมาถูกทางแล้วค่ะ  เพราะครูอ้อยอ่านบันทึกของคุณเอกแล้ว   อยากทำวิจัยที่คุณเอกจะสอนแบบง่ายๆทันที
    • พยายามต่อไปเลยค่ะ  ถูกต้องอย่างมีความหมายแล้วค่ะ  เป็นกุศลด้วย  ขอบคุณค่ะที่พยายามเพื่อครู
    สวัสดีครับ คุณ
    P

     

    ชีวิตของคุณเม้งสนุกมากเลยครับ และขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์บางส่วนผ่านพื้นที่ตรงนี้

    หากจบมาถือว่าเป็นผลผลิตที่น่าภูมิใจมากๆเลยครับ

    งานวิจัย น่าจะเป็นวิถีนะครับ ผมหมายถึงเนียนไปกับชีวิตประจำวันซึ่งเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว

    ทุกวันนี้เราตั้งคำถาม และค้นหาคำตอบ นั่นก็คือกระบวนการวิจัยง่ายๆที่เราใช้

    ผมจะบอกว่า บางแห่งของไทย เรามีนักวิจัยชาวบ้านที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน ในรูปแบบของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ซึ่งน่าสนใจมากครับ ศักยภาพของชาวบ้านที่เกิดขึ้น เป็นพลังแห่งรากหญ้าที่เข้มแข็งมากทีเดียว

    ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนครับ...

     

     

    ครูอ้อย

    P

    อย่างที่ผมเขียนไปในข้อเสนอแนะ ต่อคุณเม้งครับ

    วิจัย คือ วิถี หากทัศนคติที่ดีต่อกระบวนการปัญญาแบบนี้ ก็จะเห็นว่า ไม่ได้มีอะไรที่เป็นเรื่องใหญ่ ภาระเพิ่มแต่อย่างใด เพราะเราได้กำไรและกำไร

    ผมเข้าใจคุณครูมากครับ เรื่องงานในโรงเรียนที่ไม่เฉพาะงานสอนเพียงอย่างเดียว ครูบนดอยเป็นทุกอย่างตั้งแต่ภารโรง ยันแม่ครัว ถึงคุณครู ทำงานตัวเป็นเกลียวเลยครับ...และเป็นภาพของหิ่งห้อยที่ทำงานเพื่ออุดมการณ์อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร คุณครูเหล่านี้คือ "ผู้สร้างชาติ" ครับ

    เป็นผู้ปิดทองหลังองค์พระปฏิมาโดยแท้

    ผมพยายามครับเรื่องการถ่ายทอด ผมก็ลูกศิษย์ที่มีครู ถึงวันนี้ก็เพราะครูสั่งสอนครับ

    ให้กำลังใจคุณครูทั่วประเทศ

     

     

     

    • ขอบคุณค่ะ คุณเอก ที่หยิบประเด็นสำคัญที่เป็นยาขมหม้อใหม่ของครู มาเขียนให้อ่านง่าย เข้าใจได้ไม่ยาก และมองเห็นภาพความเป็นไปได้ของการทำวิจัยในชั้นเรียนชัดเจนขึ้น แถมยังสอดแทรกกำลังใจลงไปในบันทึกนี้ด้วย
    • ทำให้ยาขมหม้อใหญ่ ดูเหมือนเป็นอาหารว่างไปเลยค่ะ ^__^
    • คุณเอก ได้คลุกคลีอยู่กับวงการครูมาพอสมควร จะเห็นว่า ภาระงานอื่นในโรงเรียนที่นอกเหนือจากงานสอนนั่นต่างหาก ที่เป็นยิ่งกว่ายาขมหม้อใหญ่
    • ขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆ เพื่อครูค่ะ

    มาเยี่ยม...

    งานวิจัยเป็นเรื่องของคนทุกคนเลยนะครับ

    และเจตคติของคนก็เป็นสิ่งสำคัญต่องานวิจัยนะครับ

    ฮา ๆ เอิก ๆ

    เป็นประโยชน์มากค่ะ ...เตรียมพร้อม..ตอนนี้เป็นครูน้อยอยู่ค่ะ

    อาจารย์ 

    P
    ยาขมๆนี่หละครับ รักษาโรคได้ชะงัดนัก รักษาโรคที่เกิดจากอาการด้อยปัญญาไงครับผม

    ขอให้อาจารย์คิดว่าเป็นอาหารว่างก็แล้วกันนะครับ เชิญชิมได้ตามสะดวก

    เห็นด้วยกับยาขมหม้อใหญ่กว่า คือ ภาระของคุณครูยุคนี้ ยุคโรงเรียนในฝัน

    ให้กำลังคุณครูครับ

    อาจารย์ ดร.อุทัย ครับ

    P
    umi

    ถูกต้องนะครับ!!!!

    เจตคติสำคัญที่สุดเลยครับ หากเรารักที่จะทำ รักที่จะเรียนรู้ ผมคิดว่าไปฉลุยเลย

    อาจารย์สบายดีนะครับ

    คุณ ครู

    P
    Ann

    ครูน้อย ครูใหญ่ ให้กำลังใจเสมอๆครับ

    ยังไงก็ตามผมคิดว่าเราพัฒนาศักยภาพตนเองไปเรื่อยดีกว่าครับ ถึงเวลาที่ทำ ครูชำนาญการพิเศษ จะได้ไม่เครียด แบบผ่านฉลุยเลยไงครับ

    ขอบคุณครับ

    แวะมาถามข่าวคราว,  และให้กำลังใจคนทำงาน

    ช่วงนี้ผมเพลีย ๆ กับการเดินทาง  ใช้ชีวิตวันต่อวันระหว่างงานกับครอบครัว

    สนุกดีครับ...สนุกกับความสุข  และสนุกกับความอ่อนล้า

    รักษาสุขภาพ  นะครับ

    คุณพนัส 

    มองโลกในแง่ดี ก็สุขใจครับ

    ทำงานหากมีความสุข เหนื่อยแทบขาดใจ ก็ยังมีแรงฮึดตลอดเวลา

    ก็ขอให้คุณพนัสรักษาสมดุล ระหว่าง งานกับชีวิตส่วนตัว

    และขอให้มีพลังสร้างสรรค์สิ่งดีๆต่อไปนะครับ

    สวัสดีค่ะคุณเอก...

    • งานวิจัยในชั้นเรียน   นวัตกรรมการเรียน  วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
    • มีกระบวนการ  ขั้นตอนที่คล้ายกันค่ะ  ไม่เหมือนกัน  แต่เพื่อการเรียนการสอนทั้งสิ้นค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

     

    P

    ขอบคุณครูอ้อยที่มาช่วยเติมให้นะครับ

    งานนี้ผู้ที่รู้มากที่สุด ก็คือ คุณครูผู้ที่ปฏิบัติการครับ

     

    แนวคิดงานวิจัยก็ตามทฤษฎี แต่จะประยุกต์เพื่อตอบวัตถุประสงค์อย่างไร ต้องดูกันอีกที

    ได้นวัตกรรมเป็นของแถมครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท