ศูนย์ยัดเยียด มะเร็งร้ายที่แพร่กระจาย


ชุมชนที่ผมไปเยี่ยมเป็นชุมชนที่เข้มแข็งครับ แต่ยังไม่วายที่จะโดนมะเร็งร้ายที่ไม่ต้องการแพร่เชื้อ ลุกลามจนได้

ผมขับรถเข้าไปในชุมชน ในช่วงนี้หลายๆชุมชน ทุกชุมชนที่ไปเป็นชุมชนที่มีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งก็ถือว่าเป็นชุมชนที่มีความพร้อมในหลายๆด้านอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นชุมชนเนื้อหอม ถึงแม้จะไกลแสนไกลก็ตาม

เข้าไปในชุมชน สิ่งหนึ่งที่เห็น  คือศูนย์ อาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้า้งที่โอ่โถง หรูหรา แปลกไปกว่าสถาปัตยากรรมในแถบนั้นอย่างสิ้นเชิง

หรูจัง!!!  

 

เป็นความคิดแวบแรกที่ผมคิด  เมื่อเห็นสถาปัตยกรรมใหม่ ๆ ในชุมชน

อาคารตึก ปูน ทาสีสวย กระจก สวยรอบทิศ แต่ทุกที่ ดูเหมือนไม่มีใคร หรือสิ่งใดที่บ่งบอกว่ามีชีวิตใน อาคารนั้น

ผมไปเก็บข้อมูล การท่องเที่ยวโดยชุมชน และได้นัดชุมชนในเวทีในแต่ละครั้ง

สิ่งที่ผมถาม ก็คือ อาคารที่ผมเห็น คืออาคารอะไร? 

มีพี่สาวคนหนึ่งตอบด้วยเสียงอันดัง ชัดเจน ว่า "ศูนย์ยัดเยียด" ค่ะ

ผมถามซ้ำ ว่าศูนย์อะไรนะครับ?

อ๋อ ศูนย์ยัดเยียด ค่ะ!!!???!!!

 

  พี่สาวย้ำให้ฟังด้วยเสียงดังฟังชัด มากขึ้น

อืมม์ ศูนย์อะไร ชื่อแปลกดีแท้...หนอ    

ยิ้มๆ กับคำตอบที่คันๆตรงหัวใจน้อยๆของผมเหลือเกิน

คงไม่ต้องอธิบายความหมายของศูนย์นี้อีกแล้ว เพราะชื่อเองก็บอกความหมายในตัว และสิ่งที่ผมเห็นว่า ไม่มีอะไรบ่งบอกว่ามีสิ่งมีชีวิตในศูนย์เหล่านั้น ก็เป็นเรื่องจริง

อนุสาวรีย์ ที่เกินความจำเป็นของชุมชน เกิดขึ้นหลายแห่ง ในชุมชนชนบท ที่รัฐสร้า้งขึ้น และก็ปล่อยทิ้งร้าง...เป็นส่วนเกินที่สร้างความรำคาญสายตาให้ชุมชนเป็นมะเร็งที่ แตกหน่อออกมายังชุมชนกระจายลุกลามกันไปหมด

การพัฒนาที่ไม่เห็นความสำคัญของชาวบ้าน การพัฒนาที่ไม่เข้าใจ การพัฒนาที่ไม่เข้าถึง และวิธีคิดแบบเดิมๆของนักพัฒนาโดยรัฐ หรือการคอรัปชั่นที่ไม่ยากเย็นในชุมชน

ก่อเกิดความเสียหายให้แก่ชาติอย่างมหาศาล... สิ่งที่เกิดกับชุมชนบ่อยๆก็คือ การสูญเสียความมั่นใจที่มีต่อรัฐโดยภาพรวม

ชุมชนที่ผมไปเยี่ยมเป็นถือว่าเป็นชุมชนที่เข้มแข็งครับ แต่ยังไม่วายที่จะโดนมะเร็งร้ายที่ไม่ต้องการแพร่เชื้อ ลุกลามจนได้

 ไม่ต้องการมันก็มาครับ !!!!

 

 


เก็บตกจากการเก็บข้อมูล ตามโครงการวิจัยการสังเคราะห์กระบวนการท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน

 

                                                 จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

                                                          ๒๔ ก.ย.๔๙ 

หมายเลขบันทึก: 51847เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2006 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ  คุณเอก

ได้ฟังแล้วเศร้าจังนะคะ  ในฐานะที่เป็นหนึ่งในหน่วยงานเล็กๆ  ฟังแล้วยังอดสะดุ้งไม่ได้  งบประมาณที่เสียไปเพราะความเห็นแก่ได้ของคนบางกลุ่มนำมาซึ่งความสูญเสียให้กับประเทศชาติ  เพราะงบประมาณที่ได้มาจากภาษีของประชาชน   แต่เขากลับเอาไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว  โดยเฉพาะส่วนท้องถิ่นการจัดสรรงบประมาณทำง่ายมาก  ยิ่งส่งเสริมการคอรัปชั่นได้ง่าย  แต่สิ่งที่เราทำเขากลับไม่เห็นด้วยหาว่าใช้งบประมาณโดยเปล่าประโยชน์  ฟังแล้วอดท้อไม่ได้  แต่ก้จะไม่ถอยค่ะ  เพราะยังมีบางคนที่เห็นการทำงานของเรา  และให้กำลังใจเรา  แค่นี้ก็ทำให้เปียสู้ต่อไปได้ค่ะ  สวัสดีค่ะ  พี่เอก 

  • เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง  กับสภาพที่เกิดขึ้น  เพราะผมเคยเห็นตัวอย่างมาแล้ว

เมื่อสักครู่ได้พูดคุยเรื่องราวทั่วไปกับน้องปลัดอำเภอคนหนึ่ง ก็เป็นเรื่องทั่วๆไปเกี่ยวข้องกับการทำงาน เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผมนำมาเขียนบันทึก

น้องปลัด ถามผมว่า จะแก้ไขอย่างไร?

จะแก้ไขอย่างไรเล่า...ผมก็ถามกลับไปกลับมา ไม่ได้คำตอบ ผมก็นึกไม่ออก

แต่สิ่งหนึ่งที่ผมเชื่อมั่น ก็คือ การสร้า้งคน ไม่ว่าเป็นการสร้า้งคนในชุมชนโดยกระบวนการเรียนรู้ ปลูกฝังสิ่งดีงาม คุณธรรม ให้รักชาติ  การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ดีงาม

การศึกษาคงเป็นทางเลือก

แต่หากระบบการศึกษายังอ่อนด้อยเช่นทุกวันนี้ ก็แทบมองไม่เ้ห็นทาง

เรื่องนี้แก้ที่"จิตสำนึก" ครับ 

ขอบคุณคุณ Pia ครับ

ให้กำลังใจคนทำงานเพื่อชุมชนเต็มที่ครับ 

น้องสิทธิเดช...

ในฐานะที่น้องสิทธิเดชเป็น "ครู" น้องสิทธิเดช คิดว่าเราควร หรือ มีทางแก้ไขปัญหาอย่างไร? 

แลกเปลี่ยนกันครับน้องชาย 

จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว  ส่วนหนึ่งเป็นเพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบขาดการดำเนินการที่ดี   แนวทางการแก้ปัญหา  อยู่ตรงจุดที่ว่า  ภาครัฐได้ให้ความสำคัญแค่ไหน  ถ้าคิดว่าสร้างศูนย์ให้แล้วก็หมดหน้าที่ของตน  นั่นแหละคือสิ่งที่เราได้เห็น  คืออนุสาวรีย์ทางความคิด  ( คิดว่าจะเจริญกว่าที่เป็นอยู่ )  ดังนั้น  หน่วยงานที่รับผิดชอบควรจัดหาบุคลากรที่มีความรู้  ความเชี่ยวชาญมาศึกษาและหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชน   ผมเชื่อว่าชุมชนที่มีความเข้มแข็งจะต้องมีศักยภาพพอที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้   หากอยู่ที่ว่าได้มีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบกับชุมชนมากน้อยแค่ไหน  ให้ชุมชนและทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง  ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาแก้ไขปัญหาซึ่งกันและกันอยู่เสมอ   อีกทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เข้ามาสืบค้นภูมิปัญญาท้องถิ่น  สร้างความตระหนักให้เยาวชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น  รักและหวงแหนท้องถิ่น  ต่อไปผมเชื่อว่าภาพเหล่านี้คงหายไปจากชมชน...

  บทส่งท้าย...    แต่ใครเล่าเป็นผู้รับผิดชอบ

 

ขอบคุณน้องสิทธิเดช ครับที่เพิ่มเติม..ข้อคิดเห็น เรื่องแบบนี้ ต้องช่วยกันนะครับ!!!

ศูนย์ยัดเยียด(ชื่อเก๋ดี)แบบนี้มีทุกแห่ง ...

สุดท้ายก็ไม่มีใครรับผิดชอบ เปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ..

ก็แปลกตรงที่ชาวบ้านไม่ต้องการแต่กลับให้.แต่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการกลับมองข้าม...

เราต้องมาทำศูนย์ยัดเยียดให้กลายเป็นศูนย์เยียวยา ดีไหมค่ะอาจารย์

คุณ Chah

"ศูนย์เยียวยา" ดูเข้าท่าดีครับ ชุมชนหลายๆชุมชนก็ต้องถึงขั้นฟื้นฟู เยียวยาเลยละครับ

เห็นทีต้องเร่งสร้า้งศูนย์เยียวยาเหมือนที่คุณ Chah แนะนำเสียแล้ว 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท