หัวข้อเรื่องและกรอบแนวคิดเกี่ยวกับดุษฎีนิพนธ์


ช่วงนี้ของการเรียนก็จะเป็นช่วงที่จะต้องทบทวนวรรกรรม และทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เคยทำงานมา (Document Review) เพราะสร้างกรอบแนวคิดและเสนอหัวข้องานวิจัยที่จะต้องทำในการเรียนครับ

ซึ่งหัวข้อเรื่องคร่าว ๆ จากการที่ได้ประมวลจากบริบทและสิ่งต่าง ๆ แล้วนั้น โดยเฉพาะจุดที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจทำงานครั้งนี้ก็คือ "ประโยชน์ที่ส่วนรวม" จะได้รับ ทั้งประโยชน์แบบฉับพลัน ประโยชน์ระยะสั้นและระยะยาวแบบยั่งยืน จึงได้หัวข้อเรื่องออกมาว่า

"โครงการวิจัยและจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างความสุขมวลรวม (GDH) ในเขตภาคเหนือ (หรือประเทศไทย) แบบยั่งยืน"

ซึ่งเป็นโครงการที่ประยุกต์หลักการ 2 ส่วนหลัก ๆ ก็คือ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) เข้ามาบูรณาการเข้าด้วยกันครับ โดยจะนำเข้าไปใช้เพื่อดำเนินการกับเบญจภาคีในการพัฒนาทั้ง 5 ก็คือ

  1. หน่วยงานราชการ
  2. องค์กรธุรกิจเอกชน
  3. หน่วยงานทางวิชาการ สถาบันการศึกษาระดับต่าง ๆ
  4. องค์กรอิสระที่ไม่ใช่ของรัฐ (NGOs)
  5. ชุมชนและกลุ่มองค์กรชุมชน

โดยเสริมสร้างการจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิด "ความสุขมวลรวม (GDH) ให้เกิดขึ้นกับทั้งชุมชนและกลุ่มเบญจภาคีทั้ง 5 แบบฉับพลันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

แผนการดำเนินงานหลัก ๆ ก็จะใช้หลักการของ R2R เพื่อสร้างเสริมความเข้าใจตนเอง โดยตนเองและเพื่อตนเอง ซึ่งสมมติฐานจากการรู้จักตนเอง เข้าใจตนเอง ทำจากข้างในไปสู่ข้างนอก ในใจออกสู่ร่างกาย ในหน่วยงานสู่ชุมชน วิจัยตนเองสู่การทำงานบูรณาการกับทุกองค์กรแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อชุมชน จะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความสุขแบบมวลรวม (GDH : Gross Domestic Hapiness) ให้เกิดขึ้นได้แบบยั่งยืน

ซึ่งการทำงานครั้งนี้มีหลักเบื้องต้น ก็คือ "การเข้าไปร่วมทำงาน ช่วยทำงาน เสริมสร้างในหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นคนเลือกตัวผู้วิจัยแบบเต็มใจที่จะทำงานจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมและ R2R ร่วมกันในระยะยาว

เพราะจากการที่เกิดกระแส "ท้องถิ่นนิยม" ในทศวรรษที่ผ่านมา หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ มีนโยบายและแผนปฏิบัติการในการทำงานกับชุมชนเป็นจำนวนมาก มีทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ต่าง ๆ ที่ชุมชนได้รับซึ่งเป็นผลที่ได้รับโดยตรงจากการส่งเสริมปฏิบัติงานต่าง ๆ เหล่านั้น เพราะฉะนั้นความรู้จากสรรพสิ่งต่าง ๆ ที่มีเกิดขึ้นทั้งในหน่วยงานเบญจภาคีและในชุมชนจึงมีคุณค่ายิ่ง

ถ้ามีการจัดการความรู้และศึกษาวิจัยในสิ่งต่าง ๆ ที่เคยปฏิบัติ ศึกษาถึงปัญหาและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำเป็นกิจวัตร สิ่งต่าง ๆ ที่เคยเกิดเคยพบและเจอนั้น ก็จะเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์อย่างเอนกอนันต์ ทั้งกับตัวหน่วยงานและองค์กรเองรวมถึงพนักงาน บุคลากรทุก ๆ ฝ่าย ทุก ๆ คนที่อยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลทุกคนที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะโดยตรงทางหรือทางอ้อมมีความสุขในชีวิตการทำงานมากขึ้น ทำงานง่ายขึ้น ประสบความสำเร็จมากขึ้น ความสุขทั้งในชีวิตครอบครัวและชีวิตการทำงานก็จะมีมากขึ้น และสิ่งต่าง ๆ ก็จะเกิดหมุนวนจากหนึ่งเป็นสองจากสองเป็นสี่ จนกลายเป็นความสุขมวลรวมขึ้นมาได้

ซึ่งปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัยหลัก ๆ มีอยู่ 2 ประการด้วยกันก็คือ ประการแรก จัดการความรู้เพื่อศึกษาปัจจัยและดัชนีชี้วัดที่มีส่งผลหรือทำให้เกิดความสุขมวลรวมของแต่ละองค์กรและในภาพรวมว่ามีอะไรและอย่างไรบ้าง ประการที่สอง วิธีการส่งเสริม เสริมสร้างและทำให้เกิดความสุขมวลรวมอย่างยั่งยืนนั้นเป็นอย่างไร โดยสิ่งที่เกิดจากการทำงานร่วมกันนั้นจะเกิดประโยชน์ก็คือความสุขแบบฉับพลันกับองค์กรหรือหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการในระยะยาว ที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ จะเกิดผลประโยชน์โดยตรงกับชุมชนที่หน่วยงานและองค์กรเหล่านั้นรับผิดชอบอยู่แบบฉันพลันด้วยเช่นกัน

สิ่งต่าง ๆ ที่ผมได้กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นความเป็นมาและเป็นไปของโครงการวิจัยแบบคร่าว ๆ โดยจุดประสงค์สำคัญที่นำเสนอกับทุก ๆ ท่านี้ ก็เพื่อที่จะเรียนเชิญทุก ๆ ท่านร่วมกันเป็นที่ปรึกษา (Advisor) ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ต่อยอด เติมเต็ม เพื่อปรุงแต่งและสร้างสรรค์ให้งานวิจัยชิ้นนี้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกภาคส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสังคมและประเทศไทยของเราครับ

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

 

หมายเลขบันทึก: 51839เขียนเมื่อ 26 กันยายน 2006 04:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อรุณสวัสดิ์คุณปภังกร

  • อ่านบันทึกของคุณปภังกรแล้วทำให้มองเห็นอะไรหลายอย่าง  เช่น  เห็นตัวเองที่จะจัดการอย่างไรกับหัวข้อดุษฎีนิพนธ์ของตัวเอง  ซึ่งยังพบกับทางตันตลอดเวลา4เดือนที่เริ่มศึกษามา 
  • หัวข้อไม่ได้ ไม่กล้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา  ไม่เกิดความมั่นใจ  ไม่ได้สร้างความเชื่อมั่นให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้เห็น  อึดอัดจังเลยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ  ได้อ่านกรอบแนวคิดแล้วก็เป็นเรื่องที่ดีมาก หากทำสำเร็จก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งค่ะ ขอส่งพลังใจให้เกิดความสำเร็จนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท