“วิจัยเพื่อท้องถิ่น” กับการพัฒนาชุมชน จุดเริ่มต้นของ “อปท”


“งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” น่าจะเป็นตัวเลือกของการพัฒนาของท้องถิ่น อปท.เองก็ต้องมีการพัฒนาศักยภาพตนเองเพื่อก้าวไปสู่การเป็นที่ปรึกษาและคอยกระตุ้น (consultant and facilitator) ให้กับชุมชน

 

          จากการที่ได้ Work shop ประเด็น งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น: การท่องเที่ยวโดยชุมชน  ที่จัดขึ้นร่วมกันระหว่าง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และองค์การบริหารส่วนตำบลตับเต่า อุทยานห่างชาติภูชี้ฟ้าจังหวัดเชียงราย

          ได้พูดคุยกับ นายก อบต. นายบันเทิง เครือวงศ์ ได้เห็นความตั้งใจและมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชน ตั้งใจจะบริหารจัดการการท่องเที่ยว ภูชี้ฟ้า ให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนอย่างสูงสุด          แนวโน้มการพัฒนา อปท เน้นปัญหาท่องถิ่นเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่องปากท้อง เศรษฐกิจ อันมีพื้นฐานมาจากทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาที่มีอยู่ในท้องถิ่น ซึ่งก็หลากหลายตามบริบทของพื้นที่          ด้วยความคิดที่เชื่อว่า ทุกสิ่งมีความเชื่อมโยงกันอยู่ การทำสิ่งหนึ่งย่อมกระทบสิ่งหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้          อปท. จำนวนไม่น้อยที่มีงบประมาณไม่มาก บุคลากรไม่เต็มกรอบแต่แบกรับความคาดหวังจากองค์กรต่างๆที่ฝากความคาดหวังไว้และพร้อมที่จะผลักภาระงานให้ อปท.อยู่ตลอดเวลา ไหนจะตอบสนองนโยบายของรัฐด้วยผ่านวิธีการสั่งการให้สนับสนุนงบประมาณ          ทางออกของการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่น อปท. คงต้องคิดยุทธศาสตร์ ในการแก้ไขปัญหาที่มีงบประมาณอันจำกัด ให้ความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนาท้องถิ่นว่าน่าจะทำอย่างไร? เมื่อมีการกำจัดในเรื่อง ทุน ที่เป็นตัวเงิน          งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น น่าจะเป็นตัวเลือกของการพัฒนาของท้องถิ่น อปท.เองก็ต้องมีการพัฒนาศักยภาพตนเองเพื่อก้าวไปสู่การเป็นที่ปรึกษาและคอยกระตุ้น (consultant and facilitator) ให้กับชุมชน          เรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องใหม่แต่ผมคิดว่า เป็นเรื่องที่ท้าทาย เป็นการพลิกวิธีคิดการพัฒนาแบบเดิมๆที่มีพัฒนาการมายาวนาน แต่กลับไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชนมากนัก          อบต.ตับเต่า อ.เทิง จ.เชียงราย ซึ่งนำโดย นายก อบต.บันเทิง เครือวงศ์ ได้เริ่มกระบวนการโดยมี เครือข่ายการเรียนรู้และประสานงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน สกว. สำนักงานภาค  และเครือข่ายนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นประเด็น การท่องเที่ยวโดยชุมชน ภาคเหนือ มาร่วมกันพูดคุยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกัน ซึ่งงานนี้ อบต.ตับเต่า เข้าร่วมเรียนรู้และเป็นเจ้าภาพร่วม บรรยากาศในเวทีเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงเหมือนการเข้ามาเรียนรู้ ของ อปท. กับงานวิชาการที่ใครๆคิดว่าเป็นเรื่องยาก ที่เรียกว่า งานวิจัยแต่พียงเริ่มคิดและเรียนรู้ ก็ไม่มีสิ่งไหนที่ยากเกินไปกว่าการ เปลี่ยนวิธีคิด ของรากลึกแนวทางพัฒนาแบบเดิม          ทางเดินของ อบต.ตับเต่า อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า น่าจะอีกยาวไกล จุดหมายที่หวังคงไม่ใช่ปลายทาง ของความสำเร็จ หากแต่เป็นกระบวนการเรียนรู้ระหว่างทาง ตรงนี้น่าจะสำคัญที่สุด

หมายเลขบันทึก: 33261เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2006 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • หายไปนานเลยนะครับ
  • ขอบคุณที่นำความรู้มาฝาก
โดยส่วนตัว คิดว่า กระบวนการวิจัยเป็นเรื่องที่ดี และสามารถแทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิต และอยู่ในทุกบริบทได้เสมอ เนื่องจากส่วนตัวคิดว่ากระบวนการวิจัย คือ กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ หาข้อมูล หาทางออก แ ละลองแก้ไข หากทุกคนมองกระบวยกรบวนวิจัยแบบง่ายๆ ไม่ต้องยึดติดหลักการแบบนักวิชาการ แต่เป็นการเน้นให้ ทุกคน คิดหาที่มา หาเหตุผล และหาทางออก เพียงแค่สร้างวิธีการอย่างนี้ให้ทุกคนได้ ก็ถือว่า ประสบความสำเร็จกับการปลูกฝังใหทุกคนรู้จักกระบวนการวิจัยแล้ว

อาจารย์ขจิต

ช่วงนี้ผมชีพจรลงเท้า ไปทั่วไทยเลย ต้นสังกัดจะไล่ออกอยู่แล้ว ก็เรื่องภาระงานที่หลากหลายหละครับผม แต่โอกาสดีที่ได้ความรู้ระหว่างการเดินทาง นำมาแลกเปลี่ยนกัน

คุณ Kawao

ยินดีครับ สำหรับข้อแลกเปลี่ยน "งานวิจัยที่เป็นของชาวบ้านมีเสน่ห์ น่าติดตามและน่าสนใจมากครับ"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท