ความยากของเวทีจัดการความรู้


ถ้าได้ทำ2ข้อข้างต้น แล้วนำมาเล่าผ่านBlog น่าจะได้เรียนรู้กันอย่างกว้างขวาง ผมคิดว่าเรามีตัวอย่าง/ประสบการณ์ดีๆมากมายที่จะแบ่งปันความรู้กัน

ประชุมจัดการความรู้แก้จนเมืองนครที่สนง.กศน.วันนี้มีความคืบหน้าไปมากทีเดียว มีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 50 คน เริ่มด้วยการแบ่งกลุ่มย่อยตามโซนเพื่อเล่าความคืบหน้าผลการดำเนินงานของแต่ละพื้นที่ซึ่งมีข้อสรุป/เสนอที่น่าสนใจมาก ตอนท้ายก่อนทานข้าวเที่ยงผมได้สรุปแนวคิดการจัดการความรู้และภาพฝันที่ได้จากการนำข้อคิดเห็นในกลุ่มโซนมาเชื่อมต่อกัน

ภาคบ่ายอ.จำนงนำเสนอแบบบันทึกความรู้แก้จนตามวิถีคนคอน     แล้วให้เวทีร่วมเสนอความคิดเห็น จากนั้นเป็นการชี้แจงงบประมาณโดย อ.ชมภูและอ.วิไลวรรณ ซึ่งทีมกลางได้จัดสรรงบลงไปสู่พื้นที่ต่างๆ

อ.จำนงคุยกับผมว่า สภาพเวทีที่เห็นเป็นสิ่งที่อาจารย์คาดเดาไว้แล้วคือ ทีมงานยังมีความเข้าใจที่คลุมเคลือกันอยู่ ผมเองตอนดำเนินการ 3หมู่บ้าน3ตำบลก็คุยกันนานมาก โดยใช้การจัดเวทีกับกลุ่มเป้าหมายในชุมชนสาธิตกระบวนการจัดการความรู้ด้วยแบบจำลองปลาทูและตารางอิสรภาพ ทำไปเรียนรู้ไปจนทีมงานค่อยๆผุดบังเกิดความชัดเจนขึ้นเอง มาคราวนี้ต้องดำเนินการขยายวงใหญ่มากซึ่งผิดจากแผนเดิมที่วางไว้ที่จะค่อยๆขยายพื้นที่เพื่อฝึกฝนคุณอำนวยให้เข้าใจและมาช่วยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ถือเป็นการตกกระไดพลอยกระโจนร่วมกับทีมงานหลายคนที่ร่วมทีมกันมาในพื้นที่3ตำบล

ความยากของงานคือ การรับนักศึกษามาก โดยไม่มีเวลาเตรียมอาจารย์หรือรุ่นพี่สักเท่าไร ซึ่งอาจารย์หรือรุ่นพี่ที่ว่าก็ต้องมีทักษะกระบวนการที่รอบด้านพอสมควร เพราะจะต้องเป็นครูกระบวนการที่รู้จักเครื่องมือหลากหลาย และรู้จักการใช้เครื่องมือแต่ละอย่างค่อนข้างดีเพื่อนำมาใช้ให้สอดคล้องกับเรื่องราวของนักเรียน โดยเฉพาะกรอบแนวคิดของอาจารย์ในเรื่องกระบวนการเรียนรู้ และความสนใจ/ตั้งใจในการเรียนรู้ของอาจารย์แต่ละคน ไม่มีสูตรสำเร็จให้นำมาใช้หรือหากมีสูตรสำเร็จ สูตรนั้นก็เป็นสูตรที่เรียนลัดได้ยาก เพราะเป็นการสั่งสมความรู้ภาคปฏิบัติจนกลายเป็นทักษะ แง่คิด มุมมอง บุคลิก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นปราการขวางกั้นการเรียนรู้ในเรื่องใหม่ๆเสียด้วย เวทีวันนี้จึงเป็นเวทีที่จะต้องเป็นอิฐอีกก้อนหนึ่งเพื่อก่อกำแพงให้สูงขึ้นจนบรรลุ       เป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยมีตัวชี้วัดความคืบหน้า(สำหรับผม)คือ1)มีการตั้งคณะทำงานครบถ้วนและจัดสรรงบประมาณลงตามแผนงานของแต่ละอำเภอ/โซน 2)มีการเปิดBlogชุมชนจัดการความรู้แก้จนเมืองนครและBlogสมาชิกของทีมงาน

สำหรับตัวชี้วัดเวทีประชุมคราวหน้าคือ 1)มีการลงพื้นที่ปฏิบัติการตามแผนงานที่วางไว้มี2)มีการเปิดBlogครบทั้ง23อำเภอและมีการลปรร.กันอย่างต่อเนื่องผ่านBlog

สำหรับเนื้อหาการเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของแต่ละหมู่บ้านตามโครงการ ถ้าได้ทำ2ข้อข้างต้น แล้วนำมาเล่าผ่านBlog น่าจะได้เรียนรู้กันอย่างกว้างขวาง ผมคิดว่าเรามีตัวอย่าง/ประสบการณ์ดีๆมากมายที่จะแบ่งปันความรู้กัน

 

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 33255เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2006 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท