ข้อจำกัดที่ต้องฝ่าข้ามของบ้านเหล่า


ที่เหลือสามคนพอทำงานได้เต็มกำลัง อย่างไรก็ตามกลุ่มชาวบ้านเหล่า นี้ก็ยืนยันที่จะทำงานตามกำลังเงื่อนไขของตน

การประชุมครั้งแรกของปีนี้ เริ่มที่บ้านเหล่า เป็นการประชุมกลางคืน ที่เมื่อไปถึงบ้านป๋าฮุ่ง  สมาชิกกำลังส่งเสียงแซ่ด โต้กันตามวิสัยของบ้านนี้ ว่า หัวหน้าจะมา ไม่มา นัดกันอย่างไร ทำไมไม่โทรศัพท์เช็ค  ทำไมไม่นั่น ไม่นี่ หาผู้รับผิดชอบกันวุ่นวาย ฯลฯ   ทำให้หวนนึกถึงข้อเขียน ของคุณนวพร เรืองสกุล (หนังสือ เศรษฐศาสตร์มีคำตอบ )                  

             สังคมที่เรียนรู้มีลักษณะต่างจากสังคมที่ไม่สนับสนุนการเรียนรู้อย่างไร ในสังคมที่ไม่คิดจะเรียนรู้ หรือมีสมาชิกที่ไม่สนใจเรียนรู้ เมื่อทำผิดพลาด สมาชิกคนนั้นจะปกปิดความผิดพลาด ( ถ้าทำได้ ) ถ้าปกปิดไม่ได้ก็พยายามปักให้พ้นตนโดยวิธีการต่าง ๆ  เช่น กลบเกลื่อน โกหก ทำหลายหลักฐาน โยนความผิดไปให้คนอื่น  หรือโทษโน่นโทษนี่ เพราะเกรงจะถูกลงโทษในความผิดพลาด และสมาชิกอื่นในสังคมก็คิดไปในทำนองเดียวกัน... 

ดิฉันไม่อยากคิดว่า มันใช่ทั้งหมด   แต่มันมีส่วนทำให้เราได้ฉุกคิดว่า มันเป็นจุดอ่อนที่ปรากฏในสัมพันธภาพของชุมชน และมันก็มีฐานของการไม่ยอมรับ ซึ่งกันและกันประกอบอยู่ด้วยด้วย และความอดทนไม่ได้ที่จะรีบวิพากษ์วิจารณ์ตามวิสัย ครั้นจะดำเนินการประชุมเอง ก็ยังไม่สามารถทำได้ ก็เลยต้องได้ร้องเพลงรอ และรอ กันต่อไป เวลาที่นัดประชุมคือ ๑๘.๐๐ น. ดิฉันไปถึง ๑๘.๒๒ น.  แต่ได้เคยได้แจ้งกันแล้วว่าการประชุมไม่ต้องรอดิฉัน ให้ดำเนินการไปเลย 

ทักทายสวัสดีปีใหม่กันแล้วก็เริ่มการพูดคุยกัน ประเด็นใหญ่ อยู่ที่การเตรียมงานด้านพลังงานทดแทนที่จะเริ่มเคลื่อนในปี ๕๐  นี้ การเก็บข้อมูลการใช้ฟืน ถ่าน  หลังจากนั้นก็ได้ซักไซ้กันว่า การทำงานในไร่นา เป็นอย่างไรบ้าง ข้อมูลที่สะท้อนจากชาวบ้านก็น่าสะท้อนใจ กับการดิ้นรนท่ามกลางข้อจำกัดของแต่ละครัวเรือน                    

พ่อทองพูลเป็นนิ่วในไตทำงานหนักไม่ได้ ภรรยาเป็นเบาหวาน

พ่อพงษ์ศักดิ์ตั้งแต่ตกต้นแคแล้ว ตาก็มองไม่เห็น จะไปนาก็ไปไม่ได้

พ่อรำไพ  อายุมากแล้ว ไร่นาก็ทำเองไม่ไหว พยายามบอกลูกให้เขาทำให้ เขาก็ทำบ้าง ไม่ทำบ้าง                  

 แม่ทน ถนัดเรื่องหมอยาสมุนไพร  ไร่นาไม่สนใจมากนัก ปล่อยให้ลูกทำ                  

ป๋าฮุ่ง อายุ ๗๐  แล้วบอกว่า มาปีนี้ผมตัดฟืนก็ไม่ไหวแล้ว นาก็ปล่อยให้ลูก ตัวเองมาปลูกผักรอบบ้านขาย ทำปุ๋ยหมัก ทำตามกำลัง                  

 แม่ประครอง พ่อบ้านไม่ค่อยสบาย อาศัยหมูที่เลี้ยงช่วยทำปุ๋ยหมัก                  

แม่บาง พ่อบ้านไปบวช ตัวแม่บางก็ปวดเข่า อายุมาก                   แม่กัณหา ต้องรีบหาเงินส่งหนี้สินจากธกส. จนแทบไม่มีดูแลไร่นาของตนเอง 

 

ที่เหลืออีกสามคนพอทำงานได้เต็มตามกำลัง  อย่างไรก็ตามกลุ่มชาวบ้านเหล่านี้ก็ยืนยันที่จะทำงานตามกำลังเงื่อนไขของตน รวมถึงการจะร่วมทดลองการทำนาแบบไม่ไถทุกคนในฤดูการทำนาที่จะมาถึงนี้ และในขณะเดียวกันที่หมู่บ้านนี้ก็เป็นที่อยู่ของ                   

คนที่สามารถแสดงให้เห็นตัวอย่างของการทำสวนยางที่ดี

คนที่หายปวดหัวจากหนี้สินกลายเป็นคนที่พอเห็นแนวทางที่จะใช้หนี้                  

คนที่พูดว่า เงินที่ได้จากการขายผลผิตในนาสวนมันน้อย แต่มันได้ทุกวัน                  

คนที่พูดว่า ผมไม่ทิ้งไร่ทิ้งนาของผมหรอกครับ            

คนที่พูดว่า อย่าตัดต้นไม้ทิ้งนะ                 

คนที่พูดว่า ผมปลูกผัก ผมไม่ได้ขายหรอก เพื่อนบ้านแกงหน่อไม้ก็อาศัยผักที่บ้านผมนี่แหละ                  

คำสำคัญ (Tags): #ดิ้นรน#จุดอ่อน
หมายเลขบันทึก: 71086เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2007 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ผมอ่านงานของคุณตุ๊ทีไร ขนลุกซู่ทั้งตัวทุกครั้ง เป็นการเล่าที่มีพลังในตัวเองจริงๆ และในเรื่องเล่า....... นี่แหละครับ system dynamic ที่คนไม่ค่อยวิเคราะห์กัน -ชอบมองแบบช่องหน้าต่าง มากกว่าออกนอกบ้านมามอง -ชอบถ่ายรูปนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว และ -ชอบมองครั้งเดียวก็สรุปเลย ไม่รู้เมื่อไหร่เราจะเปลี่ยนแปลง

แม่ใหญ่ตุ๊ ที่รัก

-จุดเด่นของเรื่อง อยู่ที่ยอมรับตัวเอง สะท้อนความจริง ว่ามันมีความเป็นไปอย่างไร จุดความจริงมันอยู่ตรงไหน เมื่อรู้แล้วก็ประเมินงาน/คน/ขีดวงของกิจกรรมได้

-เป็นกลุ่มง่านของคนอาวุโสทั้งนั้น  คนที่จะมารับไม้ต่อยังน้อย แต่ก็ยังดีกว่าทางบุรีรัมย์ ที่ไม่รู้จะส่งไม้ให้ใคร ถ้าเขียนถึงสถานะปัจจุบัน แล้วมาหารอยเชื่อมในอนาคต จะได้คำตอบว่า จะอยู่ หรือจะเผ่น ชาวบ้านก็ทำได้แค่นั้นแหละ เพราะศักยภาพมีแค่นั้น จะเร่งเครื่องมากๆเดี๋ยก็พัง กลายเป็นงานสงเคราะห์คนชราไป ซึ่งก็สำคัญมาก เพราะอย่างน้อยมีคนเก็บเกี่ยวความจริงมาตีแผ่ ว่าจะอยู่ก่อนตายอย่างไรให้ลำบากน้อยที่สุด อยากให้นักศึกษาบูฯทุกคนมาอ่าน แล้วเอาวิธีคิด/เขียนไปศึกษา ถึงการลำดับเรื่อง ความสำคัญ และมีลูกหยอดความเห็นแย้งเฉพาะตัวที่เป็นเสน่ห์ ยังขาดก็แต่ข้อเสนอแนะ ต่ออีกจิ๊ดเดียว..อยากรู้ว่าจะวางน้ำหนักไปทางไหนอย่างไร

ดิฉันไม่อยากคิดว่า มันใช่ทั้งหมด   แต่มันมีส่วนทำให้เราได้ฉุกคิดว่า มันเป็นจุดอ่อนที่ปรากฏในสัมพันธภาพของชุมชน และมันก็มีฐานของการไม่ยอมรับ ซึ่งกันและกันประกอบอยู่ด้วยด้วย และความอดทนไม่ได้ที่จะรีบวิพากษ์วิจารณ์ตามวิสัย ครั้นจะดำเนินการประชุมเอง ก็ยังไม่สามารถทำได้ ก็เลยต้องได้ร้องเพลงรอ และรอ กันต่อไป เวลาที่นัดประชุมคือ ๑๘.๐๐ น. ดิฉันไปถึง ๑๘.๒๒ น.  แต่ได้เคยได้แจ้งกันแล้วว่าการประชุมไม่ต้องรอดิฉัน ให้ดำเนินการไปเลย แสดงว่า อ่อนแอระดับเอื้ออาทร พลังชุมชนเป็นอย่างนี้กันทุกแห่ง ถ้าเราเข้าไปยุ่ง แม้แต่จะคุยกันเองก็ไม่กล้าตัดสินใจ ก็เลยดูเหมือนยังต้องหาไม้ค้ำยันอยู่ร่ำไป ..สิ่งที่เราทำมันช่วยอะไรได้สักกี่% ตรงนี้แหละที่เป็นทาง2แพร่งว่า เราจะ เผ่น หรือเราจะพุ่ง มันแตกต่างกันสักเท่าไหร่   มันยังมีวิธีการอื่นที่เหมาะ  พอดี กว่าที่เราทำอยู่อีกไหม มีไหม มีไม่มี

-ตัวหนังสือสีจางๆไม่ควรใช้ อ่านยาก

-ภาพลงในประวัติ สงสัยว่าฟลุ๊กทำได้

-แต่ภาพโชว์หน้าแรก ไม่โผล่สักที

-ควรเขียนวันละบท เพราะรออ่านวันละตอน ถ้าขาดตอน นอนบ่หลับ.

  อยากให้ อ.ศิริพงษ์

ศึกษารูปแบบการเขียนโดยเฉพาะเน้นจุดที่ พ่ออะไร แม่อะไร คิดและทำ มีพฤติกรรม พูดรวมๆก็คือดึงชีวิต ลากวิถีชีวิตมาใส่ลงในหน้ากระดาษ ไม่ใช่เขียนร่ายไปเรื่อยอย่างที่ผมเขียน เพราะเรามีหน้าที่ต่างกัน

ผม มองภาพรวม

นักศึกษา มองหาจุดเน้น

แล้วเราจะเอามายำใส่กัน

นี่เปิดช่องไว้แล้วนะที่ไม่เขียนรวบหัวรวบหางทั้งหมด

ปล่อยช่องเน้น ให้เน้น แล้วยังไม่เน้น ระวังจะน๊อค!

เดี๋ยวจะหาว่าหล่อไม่เตือน ขอให้แก้ไขเรื่องนี้ด้วย

ครูบาคะ  ภาพโชว์หน้าแรก มันอยู่ตรงไหนคะ

เรียน ครูบาและท่านอาจารย์แสวงคะ

กรุณาให้คำปรึกษาด้วยคะ

การจัดตลาดนัด ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท