คุณค่าจากบันทึกประสบการณ์ : กว่าจะมาครบรอบหนึ่งปี GotoKnow.org ของ ดร. ธวัชชัย ปิยะวัฒน์


บันทึกนี้ ทำให้เราได้เรียนรู้ตัวตนท่านผ่านตัวอักษรที่เรียงร้อยอย่างเรียบง่าย แต่ทรงพลัง

สำหรับชาว Smart Path และท่านอื่นๆ ที่แวะเวียนมาอ่าน blog นี้ อยากให้คลิกไปอ่านบันทึก  AAR: กว่าจะมาครบรอบหนึ่งปี GotoKnow.org ของอาจารย์ ดร.ธวัชชัย ปิยะวัฒน์ ผู้พัฒนา GotoKnow.org ที่เราใข้กันอยู่นี้  บันทึกนี้ ทำให้เราได้เรียนรู้ตัวตนท่านผ่านตัวอักษรที่เรียงร้อยอย่างเรียบง่าย แต่ทรงพลัง ที่สำคัญ ทำให้เราได้ได้ข้อคิดดีๆ ในการทำงานมากมาย


ดร.ธวัชชัยทำให้เราเชื่อและเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่า การทำงานคือการเรียนรู้  ดังเช่นที่เธอเล่าให้ฟังว่า ประสบการณ์ในทำเว็บไซต์ให้คนไทย โดยเขียนจากอเมริกานั้น ทำให้นักเขียนโปรแกรมอย่างเธอเรียนรู้ว่า “การจัดทำเว็บไซต์นั้นง่าย แต่การบริหารจัดการเว็บไซต์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ”

   
เรารับรู้ถึงความมุ่งมั่นของอาจารย์ ในการสร้างช่องทางเผยแพร่ความรู้ความคิดของคนไทย ที่เธอมีความเชื่อว่าคนไทยนั้นมีความรู้และความคิดดีๆอยู่มากมาย  ผ่านประวัติการทำ website ระบบ blog ตั้งแต่ปี 2542  


เราได้เรียนรู้ว่า อาจารย์ทำงานโดยคำนึงถึงความต้องการของ user  ผ่านประโยคที่น่าประทับใจว่า "ไม่มีอะไรลำบากใจสำหรับนักพัฒนาโปรแกรมเท่ากับเมื่อโปรแกรมของเขาไม่สามารถทำงานกับผู้ใช้จริงได้แล้วครับ"  ชัดเจนโดยไม่ต้องการคำอธิบายใดๆ
 

บทเรียนรู้ของอาจารย์ ที่ว่า "การพยายามต่อสู้กับปัญหานั้นไม่เคยสร้างความผิดหวัง" เป็นกำลังใจให้นักต่อสู้ทุกคนค่ะ รวมทั้งตนเองด้วย  


อาจารย์แสดงตัวอย่างของความจริงที่ว่า “ในทุกวิกฤตนั้น มีโอกาส หรืออาจกลายเป็นโอกาสครั้งยิ่งใหญ่ได้เสมอ”  ดังที่อาจารย์บอกว่า “การตัดสินใจผิดพลาดในครั้งแรกทำให้ต้องเริ่มต้นเขียนใหม่หมดด้วยภาษาใหม่และ Web Development Framework ใหม่นั้น ที่จริงแล้วกลับกลายเป็นโอกาสที่ดีในการให้นักพัฒนา …. มีโอกาสได้เริ่มต้นคิดสร้างระบบใหม่หมด... 


บันทึกประสบการณ์ของอาจารย์ทั้งสอง ทำให้เราเห็นความมีวิสัยทัศน์ของท่าน และเป็นวิสัยทัศน์เพื่อส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อส่วนตน ผ่านข้อความที่ว่า “การพัฒนา KnowledgeVolution นี้ เราหวังไว้ไกลมากกว่าการเป็นระบบที่ใช้สำหรับ GotoKnow.org อย่างเดียว เราเปิด open source โดยหวังให้ KnowledgeVolution เป็นระบบที่องค์กรต่างๆ ที่ต้องการจัดการความรู้สามารถนำไปใช้อย่างง่ายดาย…


บันทึกประสบการณ์ของทีมพัฒนา Gotoknow ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา (คลิกอ่านของ ดร.จันทวรรณ) ทำให้พวกเราผู้ใช้ Gotoknow ได้รับรู้เรื่องราวความเป็นไป ปัญหาอุปสรรค ความพยายาม ฯลฯ ของผู้พัฒนาระบบ ทำให้เรารัก Gotoknow มากขึ้นมากๆๆ เลยค่ะ ทั้งที่รักสุดใจอยู่แล้ว

คำสำคัญ (Tags): #ดร.ธวัชชัย#gotoknow
หมายเลขบันทึก: 37839เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2006 21:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ผมขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงที่กรุณาให้กำลังใจครับ

ผมนึกเสมอว่าการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเป็นศิลปะที่อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เหมือนศิลปะอื่นๆ ที่ต้องมีวิทยาศาสตร์ในตัวเอง เพียงแต่ศิลปะ/ศาสตร์อื่นๆ นั้นผ่านเวลาพิสูจน์มานานว่าความเป็น "ศิลป์" นั้นสำคัญกว่าความเป็น "ศาสตร์" แต่การเขียนโปรแกรมนั้นเป็นเรื่องที่ยังใหม่อยู่ โลกเราเลยยังเห็นความเป็น "ศาสตร์" ในเรื่องนี้เหนือกว่าความเป็น "ศิลป์" ครับ แต่อีกไม่นานมุมมองที่เห็นว่าเรื่องนี้เป็นศิลปะก็จะเริ่มเด่นชัดขึ้นเรื่อยๆ ครับ

ในมุมมองของการเขียนโปรแกรมเพื่อเป็นการทำงานศิลปะนั้น การเขียนโปรแกรมแล้วโปรแกรมมีประโยชน์ต่อผู้ใช้นี่เป็นความสุขอย่างยิ่งเชียวครับ เหมือนนักดนตรีที่แต่งเพลงแล้วมีคนฟัง เหมือนจิตรกรที่วาดรูปแล้วมีคนดูครับ

ผมขอยืนยันว่าตราบใดที่ยังมีผู้ใช้โปรแกรมที่ผมเขียน ผมก็จะเขียนโปรแกรมต่อไปครับ

เป็นกำลังให้อาจารย์ และ อ.จันทวรรณเสมอค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์ปารมี และ ทีมพยา-ธิ ม.อ. ทุกท่านค่ะ

ได้ไปอ่านมาทั้งสองบันทึกแล้วค่ะ  รู้สึกซาบชึ้งใจในความมุ่งมั่นสร้างงานของอาจารย์ทั้งสองท่านมากๆค่ะ พี่เม่ยก็ไม่รู้จะแสดง คห. อย่างไรได้ดีไปกว่าการบอกว่า ขอบคุณ และเป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ
ดีใจที่ทั้งอ.จันทวรรณและอ.ธวัชชัย เก็บมาเล่าใน AAR อีกครั้ง เพราะเมื่อตัวเองได้ฟังในงานครบรอบ 1 ปี GotoKnow นั้น ได้พยายามถอดเทปเพื่อจะเอามาเผยแพร่ต่อ แต่ว่าทำยังไม่สำเร็จสักที ได้มาอ่านที่อ.ธวัชชัยเขียนเล่าแล้ว นอกจากชื่นชมเนื้อความแล้ว ต้องขอชมว่า อาจารย์ทั้ง 2 ท่านมีความสามารถในการถ่ายทอดได้ดีเยื่ยมทั้งในด้านการพูดและการเขียนค่ะ สำหรับเทป video clip ที่อัดไว้ เมื่อตัดต่อแล้วจะส่งไปให้อ.จันทวรรณนำไปเผยแพร่ต่อคู่กับบันทึกของอ.ธวัชชัยนะคะ
ได้อ่านทั้งสองบันทึกแล้วค่ะ  รู้สึกชื่นชมในความมุ่งมั่นและความเก่งของอาจารย์ทั้งสองท่าน  อยากเรียนให้อาจารย์ทั้งสองผู้พัฒนาโปรแกรมทราบว่า หลังจากที่พี่จุดได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม  รวมพลคนเขียนบล๊อค ของ มอ. แล้ว พี่จุดได้กลับไปจัดโครงการ การเขียนบล๊อค ให้แก่บุคลากรในฝ่ายบริการพยาบาลในวันที่  26 ก.ค. 49 เวลา 13.00-16.30 ค่ะ โดยเรียนเชิญ พี่โอ๋ และ พี่เม่ย ตัวคูณ วิทยากร คนเขียนบล๊อค เป็นวิทยากรในวันดังกล่าวด้วย หวังว่าการจัดอบรมดังกล่าวจะช่วยให้เราได้นักเขียน/นักเล่าเรื่อง เพิ่มขึ้นอีกไม่มากก็น้อยนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท