เสวนา KM : World Bank & Thailand Experience Sharing (3) ... "Organizational Capabilities for KM" ปูนซีเมนต์ไทย


ภาพที่สุดยอดที่สุด ก็คือ ทำยังไงที่จะทำให้เขาแบ่งปัน อยากให้เขาเอาออกมา share อยากให้เขามีลักษณะที่รู้ว่า ตัวเขาขาดความรู้อะไร และต้องไปแสวงหาที่ไหน

 

สำหรับในช่วงนี้นั้น อ.ประพนธ์ เป็นผู้ดำเนินรายการค่ะ เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ KM ของประเทศไทย กับของคุณ Erik ... "Organizational Capabilities for KM" ค่ะ 

อ.ประพนธ์ เริ่มเรื่องต่อจากส่วนบรรยายที่ 3 ที่คุณ Erickพูดถึงว่า จากประสบการณ์ของ World Bank จะมีปัจจัยความสำเร็จอะไรบ้าง ที่ทำให้เครื่องมือ KM นั้น ได้ใช้เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้น ใน session ต่อไปนี้ จะเป็นส่วนต่อของส่วนที่ 3 ที่คุณ Erik ได้เปิดประตูไว้ ในเรื่อง Critical Success Factor

 

... แน่นอนครับ องค์กรเมืองไทย เราอาจพบว่า มีอะไรที่เหมือนกัน หรือไม่เหมือนกัน ใน Session ต่อไปนี้ ที่เราจะมาเชิญเพื่อนๆ ชาว KM มาเล่า ... จะมีความสามารถของแต่ละองค์กรอย่างไร ที่เป็นความจำเป็นที่ได้นำ KM ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราได้วิทยากร 3 ท่าน มาพูดคุยกัน ซึ่งมาจากภาคส่วนที่ต่างกันด้วย

  1. ภาคเอกชน ... บริษัทปูนซีเมนต์ไทยจำกัด เดิมอยู่ภูธร แต่ทำในเรื่องการเรียนรู้ จนต้องย้ายสำนักฯ มาสำนักงานใหญ่ค่ะ ... คุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์
  2. ภาคราชการ ... เป็นกรมแรกๆ ที่ขับเคลื่อนเรื่อง KM และมีรูปแบบที่ไม่เหมือน ก.พ.ร. ซะทีเดียว เพราะได้นำรูปแบบ KM มาจากที่อื่นๆ ด้วย เช่น สคส. จึงได้ใช้ KM ด้วยกระบวนการของ สคส. ... คุณศรีวิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล
  3. ภาคประชาสังคม ... ท่านได้เข้าไปในชุมชน ในชนบท จนพบบว่า วิธีการขับเคลื่อน KM ผ่านเข้าไปในหน่วยงานย่อยๆ ที่กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ก็คือ อบต. อบจ. ... ท่านทำงานอยู่ที่ สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข ท่านได้มาคุยแลกเปลี่ยนกับพวกเราด้วย ... คุณทรงพล เจตนาวณิชย์

คุณทวีสินได้มา Share เรื่อง สมรรถนะ ขีดความสามารถ ที่ทำให้การใช้ KM ได้ผลดีในประสบการณ์ที่ผ่านมา …

ผมเองรู้จัก KM มา 4 ปีที่แล้ว ตอนนั้น รู้จักจากการทำระบบ TQA ทำให้ผมรู้จัก KM เป็นครั้งแรก ซึ่งตอนนี้ก็ได้ตายไปแล้ว ก็เลยดูเหมือนไม่ประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่เรียนรู้ตรงนั้น ก็ได้ว่า เป็นการวัดในเชิงปริมาณของ KM ที่เอื้อ การเอาไปใช้ก็จะได้รูปแบบ และได้เห็นความสำคัญขึ้นมา

แต่ว่าโชคดีที่ต่อมา ในบริษัทเกิดมีนโยบายที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีคุณค่า ต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น เพื่อการต่อสู้กับธุรกิจที่มีคู่แข่งได้ ผมว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นสัญญาณที่ดี ทำให้มีทั้ง KM และ LO เข้ามาด้วยพร้อมๆ กัน

ผมคิดว่า การอยู่ในวงการ KM ก็มีความสับสนพอสมควร ว่า ในเอกชนจะทำอย่างไรทั้งเรื่อง KM และ LO แต่ปีที่ผ่านมาก็ทำไปด้วยแนวทางที่เป็นการปรับเปลี่ยนเชิงพฤติกรรม ก็ไปเกิดการที่จะทำอย่างไรให้ KM ประสบความสำเร็จ ก็เริ่มมองเห็นเป็นภาพที่ชัดว่า ถ้าต้องการทำให้ความคุ้นเคยในการปฏิบัติงาน และการปรับเปลี่ยนระดับองค์กร ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งไม่ได้มุ่งเน้นแต่เพียงว่า เอาความรู้ของคนออกมาเพียงอย่างเดียว ในการใช้ KM และต้องยอมรับว่า ผมได้แรงบันดาลใจจาก สคส. ที่ทำให้ผมรู้ว่า KM ที่เขาเข้าใจ คนไทยเข้าใจ เป็น KM สไตล์ไทยไทย ก็เลยทำให้เห็นภาพชัดเจนว่า จะใช้ KM อย่างไร

ในองค์กร หลังจากที่มีแนวทางตรงนั้นแล้ว ผมว่า สิ่งที่สำคัญอันดับแรก ก็คือ

  1. ความเอาจริง ... ผู้นำต้องเอาจริง อาจทำเป็น Role Model ให้ก็ได้ว่า องค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านนี้
  2. แต่คำๆ หนึ่งที่ผมว่า จะตอบโจทย์ในเรื่องของการพัฒนาองค์กรได้ คือ ความยั่งยืน เราอยากให้สิ่งที่เราปรับเปลี่ยน สิ่งที่เราพัฒนา เป็นสิ่งที่ยั่งยืน ทุกอย่างก็จะสอดคล้องกันว่า เป็น KM ในสไตล์ที่เราควรจะทำ ...

ผมเห็นด้วยกับคำว่าท่าน อ.วิจารณ์ได้กล่าวว่า "เราใช้ KM เป็นตัวพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนากลไก ให้เพิ่มประสิทธิภาพงาน" ผมว่า คำๆ นี้แสดงได้ถึง ภาพหลายภาพที่เราใช้ KM ในโลกนี้ ว่า มันเป็นเพียงแค่เสี้ยวเดียวของ KM อาจเห็นแต่ภาพเวปที่จุความรู้ของพนักงานอย่างสวยหรู แต่การได้มาซึ่งความรู้นั้นยากเพียงไหนก็ไม่ทราบได้ ... แต่ผมว่า ภาพที่สุดยอดที่สุด ก็คือ ทำยังไงที่จะทำให้เขาแบ่งปัน อยากให้เขาเอาออกมา share อยากให้เขามีลักษณะที่รู้ว่า ตัวเขาขาดความรู้อะไร และต้องไปแสวงหาที่ไหน ผมคิดว่า เหล่านี้จะเป็นวัฏจักรของ KM ทั้งนั้นเลยครับ การที่รู้ว่าตัวเองมีความรู้ในเรื่องอะไร ไม่รู้ในเรื่องอะไร และจะไปหาความรู้ที่ไหน … ในส่วนตัวผม ตรงนี้จะเป็นแก่น มากกว่าการที่เอามาโชว์อย่างสวยหรู

ผมเคยเห็นว่า มีการแยกแยะเรื่องเกณฑ์ ระหว่าง KM กับ IM (Information Management) บางทีเราเห็นและเราก็ยึดสิ่งที่เราทำอยู่ เอามาทำเป็นเกณฑ์ แต่เขาก็บอกว่า ให้ความสำคัญอยู่ที่ วัฒนธรรมองค์กร เป็นตัวช่วยเสริมให้ดียิ่งขึ้น

ต่อจากนั้น สิ่งที่ทำให้เกิดกิจกรรมเปลี่ยนแปลงก็คือ สิ่งที่ทุกคนกำลังค้นหาอยู่ คือ การทำให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เราต้องเชื่อมั่นว่า KM ที่เรารู้จักกันนั้น ในเวทีต่างๆ AAR BAR ต่างๆ หรือเวทีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ... เราก็ต้องสร้างเวที สร้างกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเห็นได้ชัด นี่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง คือ เวที

เพราะฉะนั้น อีก 3 ปัจจัยที่สำคัญ ก็คือ

  1. Leader
  2. เวที สนามซ้อม และ
  3. ผู้อำนวยความสะดวก ... พวกเราก็เป็นคุณอำนวย ... คนคนหนึ่งก็จะเป็นคนที่จะคอยเป็นตัวเชื่อม ตัวประสาน อำนวย ก็มีคำว่า จะต้องมีการเปลี่ยนจาก “คุณอำนาจ” ให้เป็น “คุณอำนวย” ก็จะเป็นคนที่คอย Facilitate กลุ่ม เป็นคุณอำนวย ไม่ใช่คุณอำนาจ นี่ก็เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นส่วนที่สำคัญ และมีทักษะที่ดี … คนที่จะทำตำแหน่งนี้ได้ ก็ต้องมีผู้หนุนหลังอยู่เหมือนกัน ที่จะให้กำลังใจ และต้องใช้เวลาในการฝึกปรือ

 

หมายเลขบันทึก: 78984เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • อ่านแล้ว ได้ความรู้ เป็นประโยชน์มากค่ะ
  • ขอบพระคุณคุณหมอค่ะที่นำมาแบ่งปัน
  • ขอบคุณมากครับ
  • เสียดายที่ไม่สามารถไปได้ แต่ก็ไม่เสียใจ เพราะอย่างน้อยเรามี
    P
    ไม่เก็บเกี่ยวมาเล่าสู่กันฟัง และ เรามี กัลยาณมิตร อย่างคุณหมอ กรุณานำมาถ่ายถอดได้อย่างดีอยู่เป็นประจำ
  • ติดตามอ่านอยู่ประจำ...แต่ไม่ค่อยได้เติมต่อ...ต้องขออภัยด้วยครับ

ได้ไปเข้าร่วมงานด้วยค่ะ

ได้ความรู้และปรสบการณ์เกี่ยวกับ KM ที่น่าสนใจมากๆ ค่ะ

จัดงานได้ดีมากๆเลยค่ะ

แต่เสียดายยังไม่รู้จักใครสักคนจริงๆจังๆเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ อ.วิชิต ... สายน้ำแห่งความคิด ที่มาเติมเต็ม ส่วน ลปรร. ของคุณ Erik ค่ะ 

อ.Panda คะ ขอบคุณค่ะที่มาเยี่ยมชม คอยอ่านของอาจารย์มาตลอดด้วยค่ะ ... เพราะว่า พอท่องเที่ยวใน G2K ไปเรื่อยๆ ก็จะรู้ว่า มีใครๆ ในแวดวงกันบ้าง

... แอบอิจฉาทีมมหาวิทยาลัยค่ะ มีความเหนียวแน่นกันดีจริงๆ ... ตาร้อนค่ะ

  • ตามมาเก็บเกี่ยวเรื่องราวดีๆ ไว้ในคลังสมองของตัวเองค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท