บันทึกบทเรียน ... และต่อยอด KM กรมอนามัย ปี 2550 (3) ... บันทึกบทเรียน ศูนย์อนามัยที่ 6


คนเก่งขึ้น มีคุณภาพขึ้น มีความสุขขึ้น จากการสังเกต จากการประเมินตนเอง จากตัวแบบฟอร์มว่า คนทำแบบฟอร์มนั้นได้ คือเขาได้เรียนรู้แล้ว เช่น เขาไปอ่านหนังสือ เรียนรู้จากทฤษฎี

 

บันทึกบทเรียน KM ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น ... คุณเพ็ญนิดา เล่าไว้ว่า

KM ของศูนย์ฯ 6 ทำกันมาตั้งแต่ปี 2548 ตอนนั้นได้รับนโยบายมาใหม่ให้ทำกิจกรรม KM ก็ทำแบบงงๆ พอรับหลักการไป ศูนย์ฯ ไปทำ คณะทำงานตั้งมา 5-6 คน พอจะให้หน่วยย่อยไปพัฒนางาน และเรียนรู้จากงานตัวเอง ก็บอกกันว่าตรงนี้ไม่เกี่ยว ตรงนี้ก็ไม่ใช่ ก็ทำให้การขับเคลื่อนมันไม่พร้อมกัน ... แต่พอย้อนกลับไปดู ก็คิดว่าได้แนวทางจากที่ทำตอนนั้น คือรู้แล้วว่า ถ้าจะพัฒนาองค์กร ก็ต้องพัฒนาคนก่อน และคิดต่อว่า จะทำได้ยังไงที่จะทำให้องค์กรใหญ่ขับเคลื่อนไปพร้อมกัน

ปี 2549 ก็เลยมากระจายดึงตัวแทนจากแต่ละหน่วยเข้ามา มีการเปลี่ยน CKO เนื่องจากคนเดิมลาออก และเปลี่ยนเลขาฯ ใหม่ เพิ่มคณะกรรมการเป็น 23 คน (เกือบครอบคลุมทุกหน่วยงาน) ... ผอ.ให้นโยบายว่า ให้ทำตามนโยบาย และพันธกิจของกรมอนามัย ศูนย์ 6 จึงเน้นการทำ KM ในงานส่งเสริมสุขภาพ และกระจายงาน KM ไปสู่ทุกกลุ่ม ทั้งกลุ่มวิชาการ โรงพยาบาล และบริหาร เลือกคณะกรรมการมาจากตัวแทนทุกหน่วย โดยหัวหน้าเสนอเข้ามา และ ผอ. ช่วยดูอีกครั้ง กรรมการชุดนี้จะเป็น Fa ด้วย เพื่อไปทำหน้าที่ Fa ในหน่วยงานของตัวเอง และในการทำกลุ่มของงาน ก็จะไปหา note taker เอง โดยหาเวลาให้สมาชิกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

หัวปลาใหญ่ของงาน KM จึงได้กำหนดเป็น "การพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อม" หัวปลาย่อยของแต่ละหน่วย แต่ละงานก็กำหนดตามความรับผิดชอบของแต่ละหน่วย เช่น งาน ANC เป็นเรื่องให้บริการคนมาฝากท้อง ห้องแลปก็พัฒนางานแลป ห้องยาก็พัฒนาการให้บริการห้องยา คนที่ออกท้องที่ต่างจังหวัด ก็จะพัฒนาโครงการหรือว่างานที่เขารับผิดชอบตามหน้าที่ เป็นต้น

วิธีการดำเนินกิจกรรม KM ปี 2548 เริ่มจาก

  • ประธาน และเลขาฯ ได้มารับฟังการประชุมชี้แจงจากส่วนกลาง มาเรียนรู้ ปฏิบัติ
  • นำไปถ่ายทอด ปีแรกผู้ถ่ายทอดก็จะบอกว่า ไม่ใช่การอบรม แต่ว่าเป็นวิธีการเรียนรู้ไป ปฏิบัติไป และมาเล่าสู่กันฟัง ช่วงที่ไปถ่ายทอดให้คณะกรรมการที่ศูนย์ฯ ในปีแรกมีปัญหาคือ ผู้เรียนสงสัยว่า ทำไมไม่บอกมาเลย ว่าจะให้ทำอะไร จะให้มานั่งเป็น Fa, Note taker เลยเหรอ ทำไมต้องมาเล่า ซึ่งผู้ไปสอนก็เพิ่งเริ่มต้น ในปีแรกก็เหมือนกับคณะกรรมการที่มาเรียนรู้ยังไม่ค่อยชัดเจน

ในปี 2549 คณะกรรมการ KM ดำเนินงานโดย

  • เรียนรู้เองจากเอกสาร หลักฐานที่มีอยู่ จากข้อมูลเดิม ปี 48 ว่าทำอะไรแล้วบ้าง จากการค้นคว้าทางเอกสาร เวป และอื่นๆ ก็มาประมวล
  • มาอบรม พัฒนา และดำเนินการประชุมปฏิบัติการกันเอง เป็นวิทยากรกันเอง คือ หมอปราณีต ตัวเอง และมีพี่ประนอม ซึ่งเป็นกรรมการมาก่อน แต่ว่าเกษียณมาแล้วมาช่วยทำงาน และเคยเป็น Fa กับทางส่วนกลาง ก็อาศัยประสบการณ์ของพี่ ได้มาช่วยตอนแบ่งกลุ่มการเรียนรู้ ให้กับชาวศูนย์ 6 อบรม Fa 20 กว่าคน
  • ทีม Fa นำวิธีการที่ได้รับการอบรมนี้ไปใช้ในงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบ โดยเชิญ 7 จังหวัด ทั้ง สสจ. อบต. อบจ. เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจัดกลุ่มเพื่อการจัดการความรู้
  • การดำเนินการจัดการความรู้ในกลุ่มต่างๆ คณะกรรมการ KM จะไปดำเนินการจัดกลุ่มการเรียนรู้ในหน่วยของเขา จะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับทีมงาน และศักยภาพ เพราะว่าถ้าเขาได้ทำ เราก็ถือว่าเขาได้เรียนรู้แล้ว ผลก็สามารถทำกิจกรรม ลปรร. กันได้ประมาณ 80% Fa เป็นกรรมการกัน 23 คน ก็จะมีหัวปลา 17-18 เรื่อง บางหน่วยก็จะไปช่วยกัน
  • งาน KM กำหนดให้แต่ละหน่วยงานทำแผนรายปี โดยตั้งใจให้เป็นแนวทางสำหรับการทำกิจกรรมจัดการความรู้ มีการส่งแผนตามกำหนด มีการประชุมทุกเดือน และมีการสกัดขุมความรู้จากกิจกรรม ศูนย์ฯ กำหนดแบบฟอร์ม (01, 02, 03, ....) โดยอิงจากคู่มือการทำแผนของ กพร. จึงมี action plan มีประเด็นความรู้ มีเรื่องเรียนรู้ต่างๆ ในแต่ละเรื่องที่ให้แต่ละหน่วยงานเลือกเอง และให้คะแนนว่า จะเลือกความรู้อะไร และเขียนส่งเป็นการสกัดความรู้

เรื่องเล่าจากคลินิกส่งเสริมสุขภาพ

... ในเรื่องวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของแต่ละหน่วย เช่น ที่คลินิกส่งเสริมสุขภาพ (มีคนทำงานประมาณ 5-6 คน) มีเรื่องจะต้องเรียนรู้เยอะ ในเรื่องการตรวจเต้านม เขาก็จะนัดกันว่า จะคุยเรื่องการตรวจเต้านมนะ เขาก็จะคุยในรายละเอียดของเทคนิควิธีปฏิบัติ ซึ่งจะมีความแตกต่างกัน เขาก็จะเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีจากการคุย ไม่ใช่จากทฤษฎี เพราะทฤษฎีรู้กันอยู่แล้ว คุยกันในเรื่อง ทำไมบางคนเขาถึงอยากให้คนนี้ตรวจ เขามีเทคนิคอะไร ที่จะตรวจเต้านม และคนชอบ เป็นเรื่องของการเรียนรู้ปฏิบัติที่ดี ทำให้เกิดความภูมิใจในความสำเร็จของเขา ที่จะมาบอก มาเล่า ...

แต่ก่อนหน้าที่ยังไม่ได้ทำ KM เขาก็ยังไม่ได้นึกถึงประเด็นนี้ ตอนนี้ก็เท่ากับสร้างความภูมิใจให้กับคนทำงาน เพราะคนที่ให้บริการตรงนี้ เขาเป็นเพียงพยาบาลเทคนิค แต่มีความสามารถเป็นตัวเอกในการเล่าเรื่องการตรวจเต้านมได้ พยาบาลวิชาชีพวิชาชีพก็ยังทำไม่ได้ดีเท่าเขา

บรรยากาศที่พบเมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกิจกรรมการทำ KM ในหน่วยงานต่างๆ

... เห็นได้ชัดจากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ ว่า ตอนนี้การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ หรือการทำให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทุกคนเขาพัฒนาคน พัฒนางาน และเรื่องของการพัฒนาหน่วยงานด้านคุณภาพเข้ามามาก ก็เริ่มมองถึงตรงนี้ พอด้านคุณภาพทุกคนต้องได้งาน ได้คุณภาพ และทำถูกต้อง การเรียนรู้ตรงนี้จึงทำให้เกิดการพัฒนาในทางที่ดี และได้เกิดการผลักดัน ขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน แต่ว่ากิจวัตรตรงนี้ ยังอยู่ในความคิดที่เขาเริ่มจะรับแล้วนะคะว่า เราต้องทำ KM หลายๆ คนก็จะพูดว่า อย่างนั้นมันจะต้องมาทำ KM พอพูดถึงว่าต้องเรียนรู้อะไร ก็ต้องทำ KM เลย เหมือนเริ่มอยู่ในความคิดแล้ว เพราะแต่ก่อนจะไม่มีคำนี้ หลายๆ หน่วยก็ได้จากการเรียนรู้ที่บอกว่า ต้องจัดการความรู้ไปช่วยให้เกิดการพัฒนาหน่วยงาน

และเขาเห็นวิธีการที่ว่า ไม่ว่าจะเป็นการเล่าสู่กันฟัง การที่ว่าต้องทำ KM ต้องเรียนรู้นะ การเล่าสู่กันฟัง พอได้วิธีปฏิบัติ ก็รู้แล้ว และบางส่วนบางหน่วยก็มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ เช่น สร้างถังขยะ ที่ล้างมือ โดยให้คนงานศูนย์ฯ ออกแบบ และต้องการอย่างนี้ เพราะว่าเวลาเราไปสอน ไปแนะนำ มันก็จะเป็นอยู่แค่ภาพ หรือจินตนาการ มันก็มีสิ่งที่เห็นเป็นตัวอย่างจริงๆ จับต้องได้ และเห็นรูปแบบจริงๆ ตรงนั้นมันก็ชัดเจน การสื่อสารง่าย เกิดการเรียนรู้มากขึ้น และบอกกล่าวได้ง่าย นวัตกรรมของ พสว. ก็เกิดขึ้น มีสิ่งประดิษฐ์เกิดขึ้นในงานสิ่งแวดล้อมด้วย

ตรงนี้เขาก็บอกว่า เขาได้การพัฒนา การคุย การบอกสิ่งที่ดีดี อย่างนี้หรือเรียกว่า KM จัดการความรู้ ก็ถูกต้องใช่เลย เพียงแต่ที่ผ่านมาไม่ได้มีการบันทึกเท่านั้นเอง แต่ตอนนี้เห็นว่า หลักการของ KM จะต้องมีการบันทึกให้เป็นหลักฐานขึ้นมา

ข้อสรุปบทเรียนการทำกิจกรรม KM ของศูนย์อนามัยที่ 6

  1. หัวปลาของศูนย์ฯ ได้มาจากผู้บริหาร และนโยบายกรมอนามัย โดยมองหัวปลาใหญ่จากวิสัยทัศน์กรมฯ ... หัวปลาย่อยมาจากภารกิจของงาน โดยพัฒนางานตัวเอง และ serve กับหัวปลาใหญ่
  2. KM Process
    - KM Team ของศูนย์อนามัยที่ 6 ได้รับการอบรมโดยทีมกลาง
    - จัดอบรมกึ่งปฏิบัติต่อ ให้กับ Fa ของหน่วยงานเอง
    - กำหนดแบบฟอร์มต่าง เพื่อการจัดทำแผน และรายงาน รวมทั้งมีแบบประเมิน
    - มีการติดตาม โดยการส่งงาน
  3. การเปลี่ยนแปลงในองค์กร
    - คน ... คนเก่งขึ้น มีคุณภาพขึ้น มีความสุขขึ้น จากการสังเกต จากการประเมินตนเอง จากตัวแบบฟอร์มว่า คนทำแบบฟอร์มนั้นได้ คือเขาได้เรียนรู้แล้ว เช่น เขาไปอ่านหนังสือ เรียนรู้จากทฤษฎี 
    - งาน … KM ถูกกระจายไปใช้ในทุกงาน
    - องค์กร ... คนมาคุยกันมากขึ้น เห็นบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนดีขึ้น ภาพลักษณ์ดีขึ้น

สนใจกิจกรรม KM ของศูนย์อนามัยที่ 6 ติดตามเรื่องเดิมได้ที่นี่นะคะ 

 

หมายเลขบันทึก: 45504เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2006 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท