AAR-morning : ลปรร.ระบบประเมินอาจารย์ online ม.มหาสารคาม


ทบทวนกิจกรรมการงานช่วงเช้าวันนี้

ด้วยปัญหาที่นิสิตเข้าทำการประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบ online ของ มมส. ในแต่ละภาคเรียนมีจำนวนน้อย ทำให้เกิดผลต่อความน่าเชื่อถือ ดังนั้นวันนี้จันทร์ที่ 25 ธค 49 ศูนย์ฯของผมจึงนัด แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหาแนวทางแก้ไข โดยเชิญรองคณบดีฝ่ายวิชาการของแต่ละคณะมา ลปรร. ร่วมกัน

มี อาจารย์ ดร.วรรทณา สินศิริ รองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ เป็นประธาน ซึ่งได้ชี้แจ้งด้วย Power point <อ่านเอกสารคำบรรยาย> ประเมิน 15 นาที และกระบวนการต่อจากนั้นประธานได้ใช้วิธีการของการจัดการความรู้ (KM) เข้ามาดำเนินการประชุมโดยใช้เครื่องมือ Story Telling และ ลปรร. จากรองคณบดีฯที่เข้าประชุมทีละท่าน ประกอบด้วยเรื่องเล่าของ

รศ.วิรัตน์ พงษ์ศิริ รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะวิทยาการสารสนเทศ……."จากที่ผ่านมาแล้วผู้ที่เข้าประเมินมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ชอบอาจารย์มาก กับ กลุ่มที่ไม่ชอบอาจารย์มากๆ สำหรับวิธีการที่จะทำให้จำนวนผู้เข้าประเมินเป็น 100% คือการล็อกระบบบริการการศึกษาถ้านิสิตไม่ทำการประเมินอาจารย์ผู้สอนก่อนจะดำเนินการใดๆในระบบต่อไม่ได้ และทางส่วนกลางควรจัดตารางการใช้ห้องปฏิบัติการคอมฯให้นิสิตในแต่ละสาขาวิชาได้ไปใช้ทำการประเมินอาจารย์ online และสำหรับข้อคำถามควรทบทวนให้สั้น กระชับ ง่าย"

ผศ.ธัญญา สังขพันธานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ……."เคยเห็นที่ มน. จะมีโปสเตอร์ติดเชิญชวนนิสิตเข้าประเมินอาจารย์ online ติดไปทั่วมหาลัย ซึ่งได้ผลพอสมควร, ข้อคำถามที่ใช้ควรมี 10 หรือ ไม่เกิน 15 ข้อจึงไม่น่าเบื่อ, อาจนำผลการประเมินการสอนนี้นำมาใช้พิจารณาประกอบความดีความชอบ เพื่อให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละท่านได้กระตุ้นผู้เรียนของตนเข้าประเมิน online และสิ่งที่สำคัญที่สุดจะทำอย่างไรให้การประเมินผู้สอน ถือว่าเป็นหน้าที่ของนิสิตอย่างหนึ่งที่ต้องทำ"

ผศ.ดร.จันทร์ฉาย กรรภิรมย์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะวิทยาศาสตร์……."คณะวิทยาศาสตร์ในช่วงที่ผ่านใช้การประเมินทั้ง 2 อย่างควบคู่กันไป คือทั้ง online และแบบ paper"

อ.เชิงชาญ จงสมชัย รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยการเมืองการปกครอง……."การล็อกระบบบริการการศึกษา ต้องระวังการร้องเรียนจากนิสิตให้มาก เพราะเรามีช่องทางการร้องเรียนที่สำคัญคือ สายตรงอธิการบดี และสำหรับข้อคำถามควรสั้น กระชับ ตรงประเด็นที่ต้องการที่สุด"

อ.ดร.โกวัฒน์ เทศบุตร รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะศึกษาศาสตร์……."สำหรับที่ผ่านมาศูนย์ที่เปิดตามจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะระดับปริญญาโท สถานที่ไม่เหมาะสมหรับทำการประเมิน online อาจจะยืดหยุ่นหรือยกเว้นสำหรับกรณีผู้เรียนอยู่ศูนย์ต่างจังหวัด และสำหรับประเด็นที่จะทำการล็อกระบบ เชื่อว่าจะเป็นการสร้างภาพลวงให้กับตนเองอีกอย่างหรือไม่ เพราะนิสิตจะเพียงแค่ คลิ๊กๆ พอให้ผ่านไปเท่านั้น"

อ.อุมาภรณ์ มูลศิลป์ (ตัวแทน)รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม……."ถ้านำผลการประเมินการสอนมาผูก TOR ได้จะทำให้อาจารย์เกิดการกระตุ้น และจะส่งเสริมให้ผู้เรียนของตนเข้าประเมิน onlie และอีกอย่างทางส่วนกลางอาจจะจัด สัปดาห์ประเมินการสอน"

อ.กำจร แซ่เจียง รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์……."ขอเล่าประสบการณ์จากที่ทำงานเดิม คือ ม.รังสิต ประเมินแบบ paper แบบใช้ดินสอฝน และตรวจด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งผลการประเมินจะมีผลต่อการขึ้นเงินเดือน และถ้าอาจารย์ผู้ใดมีผลประเมินต่ำกว่า 3.00 จะถูกคณบดีและอธิการบดี เรียกพบ…อีกประเด็นการที่จะล็อกระบบประเมินนั้นช่วงระยะเวลาก็มีส่วนสำคัญ จากประสบการณ์แล้วการสอบแล้วค่อยประเมิน กับการประเมินแล้วค่อยสอบ ผลจะแตกต่างกันมาก และอีกอย่างสำหรับ ม.รังสิต สำหรับอาจารย์ที่สอนหลายวิชา ก็สามารถเลือกรายวิชาที่จะให้ผู้เรียนประเมินได้ โดยผู้เรียนไม่จำเป็นประเมินทุกรายวิชา"

ผศ.ดร.อนุชิตา มุ่งงาม รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะเทคโนโลยี……."ผู้สอนเป็นคนสำคัญที่ต้องแจ้ง กระตุ้นให้ผู้เรียนของตนไปทำการประเมินผ่านระบบ online และอีกอย่างเท่าที่ประสบมาคือนิสิตผู้เรียนไทยมีความเกรงใจผู้สอน และโดยเฉพาะข้อคำถามปลายเปิดจะมีแต่สิ่งที่ดีๆ ต่างจากผู้เรียนต่างประเทศที่จะเขียนทุกอย่างที่ต้องการให้ปรับปรุง"

รศ.ดร.ณัฐจาพร พิชัยณรงค์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะสาธารณสุขศาสตร์……."จากที่เคยทำของที่ทำงานเดิม คือ ม.มหิดล นอกจากผู้เรียนจะมีการประเมินผู้สอนแล้ว ก็จะให้อาจารย์ประเมินอาจารย์ด้วยกันเองด้วย ผู้บังคับบัญชาของอาจารย์ประเมินด้วย ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลอีกครั้ง สำหรับสเกล scale ของข้อคิดเห็นก็จะมีไม่ถึง 5 ระดับ เพราะจะทำให้ตอบยาก"

(ตัวแทน)รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์……."พอใกล้ถึงช่วงทำการประเมินการสอนผ่านระบบ online ควรมี popup ในการดึงดูด และเตือนผู้เรียนอย่างโดดเด่น จะช่วยได้บ้าง"

(ตัวแทน)ตัวแทนจะกองทะเบียนฯ ผู้ดูแลระบบ online……."การจะล็อกระบบถือว่าทำไม่ยาก แต่กลัวนิสิตจะแค่คลิ๊กพอผ่านๆ เพื่อให้สามารถทำรายการต่อไปได้"

<<<<<<<<<<<<< >>>>>>>>>>>>>

AAR-สิ่งที่ผมได้สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช่วงเช้าวันนี้

  1. ได้รู้ถึงการนำระบบการประเมินแบบ 360 องศามาใช้ อย่างที่ ม.มหิดล จากเรื่องเล่าของรศ.ดร.ณัฐจาพร พิชัยณรงค์
  2. การจะบังคับให้ผู้เรียนทำการประเมินต้องระมัดระวังพิจารณาอย่างรอบคอบ ถึงผลได้ คือ จำนวนผู้เข้าประเมินเยอะ ผลเสีย คือ ผลการประเมินที่ออกมาอาจเป็นภาพลวงตา - ระดับของสเกล scale ของแบบประเมินก็มีผลต่อการตอบพอสมควร
  3. ช่วงเวลาของการประเมิน คือ ประเมินก่อนออกผลการเรียนแล้ว กับ การประเมินหลังจากออกผลการเรียนแล้ว ส่งผลต่อผลที่ออกมาอย่างเห็นได้ชัด
  4. ผมซึ่งเป็นผู้ดูแลข้อมูลการประเมินอาจารย์ผ่าน online ต้องไปนั่งทบทวนอย่างหนักแล้วจะทำการ อย่างไรเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ประเมินในระบบ โดยไม่ใช้วิธีการบังคับ (ล็อกระบบบริการการศึกษา) เพื่อไม่ให้เกิดข้อมูลที่เป็นภาพลวงตา อย่างที่ท่านอ.ดร.โกวัฒน์ เทศบุตร ได้ให้ข้อคิดไว้

 KPN

หมายเลขบันทึก: 69278เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2006 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
ก็เพราะผมต้องประชุมในช่วงเช้า จึงไม่ได้ไปร่วมงานเปิดตามที่ท่านรองฯพิศมัย ได้กรุณาให้เกียรติไปร่วมครับ ท่านอาจารย์อรรณพ ซึ่งคงมีโอกาสได้อ่านบรรยากาศพิธีเปิดผ่านบันทึกของท่านอาจารย์ต่อไปนะครับ
  • เคยได้รับทราบข้อมูลการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนิสิตว่าไม่มากนักเท่าที่ควร ซึ่งครั้งนั้นรู้สึกจะเป็นช่วงไปประเมินหน่วยงานฯ ของแจ็คนั่นแหละ แต่ก็เห็นความมุ่งมั่นของหน่วยงานในการติดตาม สังเคราะห์แนวทางอันเป็นประโยชน์สุงสุดของทุกฝ่าย
  • ผมเห็นด้วยในระบบประเมินทั้งออนไลน์และPaper
  • แต่กระบวนการทำความเข้าใจให้นิสิตเห็นความสำคัญของการประเมินก็สำคัญไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะการประเมินแบบไม่มีมายาคติต่อผู้สอน
ขอบคุณนะครับที่เข้ามาทักทาย  เดี๋ยวผมส่งเรื่องmovie maker ให้คุณอ่านนะครับ เดี๋ยวขอพิมก่อนครับ 

วันจันทร์ที่ 25  ธันวาคม  2549

          วันนี้ทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายไม่มีงานถ่ายวีดีโอและที่สำคัญเลยครับไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ว่างให้ผมได้ตัดต่องานพบหมอศิริราชเลยครับ  เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นพี่พี่ที่หน่วยเค้าได้ใช้แปลงไฟล์โดยแปลงไฟล์จากแผ่นDVD เป็น VCD ครับ  ก็อย่างที่ผมได้เคยบอกไปแล้วว่าถ้าแผ่นDVD นั้นมีความยาว 2 ชั่วโมง ก็เท่ากับว่าก็ใช้เวลาแปลงไฟล์ 2 ชั่วโมงครับ  ทำให้ทั้งวันนี้ผมไม่ได้ทำอะไรเลยครับ  แต่มีการบ้านงานหนึ่งที่ผมได้รับมอบหมายจากคุณที่ใช้นามแฝงว่าคุณJack โดยคุณ Jack นั้นจะเป็นคนที่ติดตามบันทึกของผมโดยตลอดครับ  โดยคุณJack นั้นมีอาชีพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ครับ  โดยเมื่อหลายวันก่อนคุณJack ได้ให้ผมอธิบายถึงโปรแกรม Windows Movie Maker  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ผมเคยใช้งานแล้วแต่ยังใช้งานไม่จริงจังก็เลยยังไม่กล้าตอบครับ  แต่ตอนนี้ผมได้ไปศึกษาโปรแกรม Windows Movie Maker มาโดยละเอียดเหมือนกันครับ  และคิดว่าน่าจะอธิบายคุณJack ให้เข้าใจได้ไม่ยากครับ  ผมขอเริ่มเลยนะครับ ผมขออภัยก่อนเลยนะครับว่าผมขออธิบายตามความเข้าใจและภาษาของผมนะครับ และถ้ามีข้อผิดพลาดอะไรเชิญแนะนำได้ครับผม

          โปรแกรม Windows Movie Maker  นั้นเป็นโปรแกนมที่ติดมากับWindow XP เลยครับเมื่อเราลงโปรแกรมWindow XP ก็จะมีโปรแกรมนี้ติดมาด้วย โดยเข้าไปที่ Start > Accessories > Windows Movie Maker  โปรแกรมจะอยู่ในนี้ครับ ค่อยๆ หาครับคอมพิวเตอร์ที่ลงโปรแกรมWindow XP มีทุกเครื่องครับ

           โปรแกรม Windows Movie Maker  เป็นโปรแกรมที่เหมาะแก่การตัดต่อที่ไม่ซับซ้อนเป็นการตัดต่อแบบคลิปชนคลิป(หรืออาจจะเรียกว่าHome Video ก็ได้ครับ) ไว้สำหรับดูเล่นๆ ในครอบครัว หรือไว้นำเสนองานประเภทสไลด์โชวครับ  คำสั่งแต่ละคำสั่งในโปรแกรมนี้นั้นถ้าคนเคยตัดต่อหรือผ่านโปรแกรมAdobe Premiere มาก่อนนั้นจะสามารถเข้าใจได้ทันทีเลยครับ  การตัดต่อแบบคลิปต่อคลิปนั้นจะใช้แค่ฟเฟคVideo Transitions สำเร็จรูปที่มีมากับโปรแกรม เป็นตัวเชื่อมให้ภาพระหว่างคลิปแรกเปลี่ยนไปเป็นคลิปที่2 มีความต่อเนื่องกันครับ 

          ผมขออธิบายคำศัพท์ที่จำเป็นก่อนนะครับ

          1.Capture Video คือการนำภาพจากกล้องวีดีโอมาลงคอมพิวเตอร์ครับ

          2.Import คือการนำไฟล์ที่เราต้องการที่จะตัดต่อทั้งไฟล์ภาพเคลื่อนไหวภาพนิ่ง หรือว่าไฟล์เสียงต่างๆ มาไว้ในProject หรือตัวงานที่เราจะตัดต่อครับ

          3.Video Effects คือเอฟเฟคที่ทำให้ภาพมีลูกเล่นเช่น  อาจจะทำให้ภาพนั้นเป็นสีขาวดำ หรืออาจจะทำให้ภาพนั้นกลายเป็นภาพเก่า เป็นต้นครับ  Video Effects วิธีใช้นั้นคือจะสามารถลากเอฟเฟคนั้นมาใส่ในภาพเลยครับ

          4.Video Transitions คือเอฟเฟคที่ใช้วางระหว่างคลิปต่อคลิปเพื่อให้ภาพนั้นดูต่อเนื่อกันครับเช่นเวลาเปลี่ยนคลิปนั้นภาพแรกจะแตกออกแล้วก็กลายเป็นภาพที่2 เป็นต้นครับ

          5.Finish Movie หรือ ถ้าเป็นโปรแกรมAdobe Premiere จะใช้คำว่า Export Movie คือเมื่อเราตัดต่องานจบหมดทุกอย่างแล้วเราต้องการรวบเป็นไฟล์เดียว เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้เปิดกับอะไรเช่นเปิดในPocket PC แต่ว่าความละเอียดก็จะแค่ 208X160 pixels จะเป็นไฟล์นามสกุล Windows Media Video ( WMV) แต่ถ้าต้องการให้ภาพมีความชัดหน่อยก็เลือกHigh quality video (large) ความละเอียดนั้นจะเพิ่มเป็น 640X480 ก็เพียงพอครับ  ถ้าคนไม่สังเกตุนั้นก็จะไม่ดูครับหลายคนมักจะกด Next อย่างเดียวโดยไม่อ่านรายละเอียดครับ

          ศัพท์ที่สำคัญๆ ก็มีเท่านี้ครับ 

          Timeline ในโปรแกรม Windows Movie Maker นั้นจะแบ่งเป็น    

          1.Timeline Video (สำหรับวางไฟล์ภาพนิ่งหรือไฟล์ภาพเคลื่อนไหว เช่น AVI , JPEG เป็นต้น)    

          2.Timeline Audio/Music (สำหรับวางเพลงหรือไฟล์เสียงต่างๆ เช่น MP3 , WMA เป็นต้น)  

          3.Timeline Title Overlay  ไว้สำหรับให้เราวางไตเติ้ลครับโดยไตเติ้ลนั้นจะเป็นไตเติ้ลสำเร็จรูปให้เราเลือกใช้ครับ  ผมขอบอกเลยว่าสุดยอดครับ  นี่เป็นจุดเด่นของโปรแกรม Windows Movie Maker เลยก็ว่าได้ครับ  ใช้งานง่ายมากแค่เราพิมข้อความที่เราต้องการลงไปและเลือกรูปแบบการนำเสนอว่าต้องการไตเติ้ลแบบไหนเท่านั้นเองครับ และที่สำคัญเลยครับโปรแกรม Windows Movie Maker นั้นสามารถใช้Font หรือว่าตัวอักษรรูปแบบต่างๆ ได้ทุกรูปแบบเลยครับถือว่าSupport ดีมากเลยครับ

          นี่เป็นความรู้และประสบการณ์ที่ผมได้ศึกษามาเพื่อที่จะแบ่งปันความรู้ให้กับหลายๆ คนได้รับทราบครับเกี่ยวกับโปรแกรม Windows Movie Maker  และในวันพรุ่งนี้ผมจะนำข้อดีและข้อเสีย ของโปรแกรมนี้มาเล่าให้ฟังครับ ช่วยติดตอมและช่วยComment ผมหน่อยนะครับโปรแกรม Windows Movie Maker มีอะไรที่พวกคุณหลายๆ รมทั้งผมด้วยยังไม่รู้อีกมากครับ  ผมจะนำสิ่งที่ผมและคุณไม่รู้มาทำให้รู้ครับ

                                               จิรอาจ  สมิงชัย 

เรียน พี่มนัส...แนวทางต่อไปคงต้องเป็นการทำงานแบบภาคี ไม่ว่าจะเป็นกองกิจการนิสิตจะเป็นหน่วยงานที่มีส่วนร่วมต่อไปในการชี้แจง กระตุ้นนิสิต ในไม่ช้านี้มีแนวคิดจะเชิญตัวแทนองค์การนิสิต สโมสรนิสิต และหัวหน้าสาขาวิชา มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับผลที่จะเกิดจากประเมินอาจารย์ต่อไป...หรือแม้กระทั่งสำนักคอมฯที่จะช่วยอำนวยความสะดวกสถานที่ในการประเมิน...และโดยเฉพาะฝ่ายวิชาการซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำหนดแนวทางนโยบาย...หรือแม้กระทั่งฝ่ายพัฒนาบุคลากรที่จะผูกผลการประเมินอาจารย์ เข้ากับ การพิจารณาความดีความชอบในแนวทางข้างหน้าต่อไป...สุดท้ายที่กล่าวมาหมายถึงต่อไปจะทำงานเพียงหน่วยงานเดียวไม่ได้แล้ว ต้องเป็นแบบภาคีความร่วมมือกัน
ถึง น้องจิรอาจ...พี่ขอบคุณเป็นอย่างมากในการให้ความรู้อดิเรกเกี่ยวกับการตัดต่อด้วย โปรแกรม Windows Movie Maker...ในวันใกล้ปีใหม่ก็ขอให้มีความสุขกับชีวิตการฝึกงานและประสบความสำเร็จในการเรียนในเวลาต่อๆไปนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท