DM Corner : ศักยภาพ เครือข่าย กับการตรวจ จอประสาทตา ผู้ป่วยเบาหวาน ใน รพ.ชุมชน


ยังมีทางต้องเดินอีกไกลครับ นี่แค่เริ่มต้น เท่านั้นเอง อย่างว่าแหละครับ อีกหน่อย โรงพยาบาลชุมชนหลาย ๆ แห่ง ในประเทศไทย ก็จะได้ใช้ digital fundoscopy คัดกรองจอประสาทตา แน่นอนครับ

มีเรื่องหนึ่งของการดูแลผู้ป่วย เบาหวาน  ในบริบท ศักยภาพ รพ.ชุมชน ที่ผมหาโอกาส มานาน ( ถึง 14 ปี ) ต้องยอมรับว่า  จนปัญญามาโดยตลอด คือการตรวจ จอประสาทตา ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  มาวันนี้เริ่มเห็นโอกาสที่ดี ที่ผ่านเข้ามา เลยต้องรีบคว้าเอาไว้  เริ่มมีความหวังแล้วครับ

 เพราะการดูแล เบาหวาน ( DM ) ความดันโลหิตสูง  ไขมันในเลือดสูง  ถึงภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือด การดูแลเท้า  การ screen  ไต  จนถึง microalbuminuria    การให้ความรู้   การดูแลด้านอื่น ๆ เราสามารถค่อย ๆ พัฒนาให้ดีขึ้นได้ด้วย ศักยภาพ  ที่โรงพยาบาลชุมชน ได้เกือบทุกเรื่อง   ได้มากบ้างน้อยบ้างก็ยังสามารถทำให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง        มีเรื่องเดียวนี่แหละครับที่ ผมหาทางมาตลอดว่าจะทำได้อย่างไรได้   เพราะต้องใช้ ทั้งเครื่องมือ ทักษะ จักษุแพทย์  ระบบที่รองรับการ screen  ระบบที่รองรับการรักษา    <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h2> <table border="1"><tbody><tr><td>  <p>เมื่อเดือนกันยายน 49  ผมได้รับให้ช่วยดำเนินโครงการ ตรวจจอประสาทตา ในผู้ป่วยเบาหวาน ทั้งจังหวัดอุบลฯ   โดยบังเอิญ   เนื่องเพราะ  มีการประชุม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เบาหวาน จังหวัดอุบลฯ  ( ซึ่งผมไม่ได้เข้าประชุมด้วย )     ตกลงกันว่า ของบสร้างเสริมสุขภาพจาก สปสช.   ได้เครื่อง digital fundoscopy ราคา  7 หลัก  ทีเดียว  มา 1 เครื่อง พร้อมเงินอีกบางส่วนมาดำเนินการ  เดิมที plan ไว้ว่าจะจ้างพยาบาล 2 คน ดำเนินการฝึกการตรวจ ด้วยกล้อง ตัวนี้ พร้อมอ่านแปลผล แล้วส่งต่อ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์    ผมคิดไปคิดมา เสนอไปว่า  เป็นการทำงานแบบรวมศูนย์ คือขึ้นกับ พยาบาล 2 คน   ไม่ได้ใช้ศักยภาพของเครือข่าย  ถ้าสองคนนี้ถอดใจ จะลำบาก อีกทั้ง วิถีชีวิตของ 2 คนนี้ก็จะเปลี่ยนไป ต้องตะลอน ๆ  ไปต่างอำเภอทุกวัน  สงสารเขา น่าจะหาความยั่งยืนไม่ได้ </p> </td></tr></tbody></table> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h2> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ผมถาม คุณหมอสุดารัตน์ เพื่อนจักษุแพทย์   เรื่องจำเป็นหรือไม่ที่ ต้องใช้พยาบาล เป็นคนใช้เครื่อง  ปรากฏว่าไม่จำเป็นเลย ใครก็ได้ที่สามารถถ่ายรูปได้ ทำคอมพิวเตอร์ได้ มาฝึกทีหลัง ( ผมเองก็สามารถถ่ายได้ )  ก็เลยได้ทีม น้อง ๆ  3 คนผู้ชาย ดำเนินการถ่ายรูปจอประสาทตา   ซึ่งก็ทำได้ดีพอสมควร </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ทีนี้ก็มาถึงการอ่านผล  ผมคุยกับคุณหมอสุดารัตน์ว่า เราพอจะให้หมอในพื้นที่ดูเบื่องต้นได้หรือไม่  เพราะหมอตาคงลำบากมากกับ ผู้ป่วย 30,000 กว่าคน ทั้งจังหวัด  ถ้ากระจายกันอ่านเบื่องต้น   คัดกรองที่ปรกติ  ก็จะทำให้สามารถดำเนินการต่อเนื่องได้   ก็เลยจัด อบรมการอ่านจอประสาทตา  กับ แพทย์ พยาบาล ( ก็ต้องมีพยาบาลประสานงาน เวลาเราเอาเครื่องไปตรวจ ) ทุกอำเภอ   เชิญอาจารย์จาก รพ.ราชวิถี มาสอน </p> <h2 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h2>

 

สรุปแล้ว  ก็เลยได้เครือข่ายการตรวจจอประสาทตา มีทุกอำเภอ  โดยปริยาย   มาถึงวันนี้ มีสิ่งที่ต้องปรับปรุงอีกมากครับ   ก็คงค่อย ๆ ทำ เรียนรู้กันไป     แต่สมใจผมพอสมควรเพราะเราได้เริ่มต้น แล้ว  จะถึงจุดที่พอใจเมื่อไหร่ไม่เป็นไร ขอให้ได้เริ่มต้นก็แล้วกัน  

</span></font><p>ที่วาริน ฯ  ผมลองให้ตรวจจอประสาทตา ที่ PCU ทุกแห่งดู  เพราะเรามีเครือข่ายคลินิกสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดเกือบทุก PCU     ถ้ามีเครือข่ายที่พอจะดำเนินการได้ ( แต่ก็ยังมีเรื่องต้องพัฒนาอีก  ยังไม่สามารถบอกได้ว่าดี  )    คนไข้ก็สะดวก ไม่ต้องมาโรงพยาบาล    </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> หนิง ทันตาภิบาล วัด VA</h3><h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h3><h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">พยาบาลประสานงาน ของ รพ.วาริน ฯ นิรัชฏาพร บอกว่า ตอนดำเนินการตอนแรก ๆ  หลังหยอดยาขยายม่านตา  ป้า ๆ หลายคนเดินเกาะกัน เหมือนนางสิบสอง เดินตามกัน เลยครับ ( ก็คงต้องปรับปรุงกันไป )</h3><h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></h3><h3 style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ที่ วารินฯ   ผมเป็นคนอ่านภาพจอตาเอง  แล้วก็เก็บภาพไว้ที่ รพ.กับ pcu ได้ด้วย  อีกไม่นานก็น่าจะมี ภาพจอตาเบาหวาน ในสมุดเบาหวานได้ แม้จะรับบริการที่ PCU ก็ตาม   อีกทั้งเวลา refer ก็สามารถส่ง file จอตาให้จักษุแพทย์ได้เลย อาจส่งทาง E mail ด้วยซ้ำ ( คิดเอาไว้นะครับ ) </h3>    <p>ภาพจอตาชัดทีเดียว ภาพนี้เป็นหนึ่งในคนไข้ DR ที่ผมได้อ่านพบครับ</p><hr><p>เรื่องนี้ เราได้เรียนรู้อะไร  </p><p>1. เรื่องนี้ผมรอมา นานแล้วครับ เรื่องราวนี้ กำลังแสดงว่า ต่อไปในวันข้างหน้า อีกไม่นาน  รพ.ชุมชน จะสามารถ screen จอตาได้แน่นอนครับ  แม้แต่ที่ pcu ก็จะสามารถดำเนินการได้ครับ  จะไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อีกต่อไป   เมื่อ 15 ปีก่อน เราไม่รู้จัก โทรศัพท์มือถือ มาวันนี้ น้องเภสัชเหมียว รพ.ผมบอกว่า  มีแต่เด็กแรกเกิดเท่านั้นแหละค่ะ ที่ไม่มีมือถือ  ( เฉพาะ เรื่อง Screen นะครับ ยังไม่พูดถึงเรื่อง รักษา )</p><p>2. ตอนเริ่มต้น เรื่องการ screen ไม่น่าห่วงนะครับ ที่น่าห่วงมากกว่าคือ การรักษา  เพราะหมอตาคงรับภาระไม่ไหว   ยิ่งคัดกรองเราจะยิ่งเจอ  diabetic retinopathy  จำนวนมาก  แค่ 10 % ก็  3,000  กว่าคนแล้ว   ตอนนี้ผมเสนอ คุณหมอสุวิทย์ รอง สสจ. ให้ช่วย ของบรักษาต่อ จาก สปสช.  และอาจคงต้องใช้วิธีจ้างเหมาการรักษา   ไม่รู้จะได้หรือเปล่า  แต่ก็คงแก้ไขไปเรื่อย ๆ ครับ ไม่เป็นไร   เรียนรู้ไปเรื่อย ๆ   มาถึงวันนี้ 6 เดือน ตรวจไปได้ 30 กว่าเปอร์เซนต์   ประมาณ หมื่นกว่าคนแล้ว </p><p></p><table border="1" style="width: 413px; height: 126px"><tbody>

 
จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน
จำนวนที่ตรวจ screen 
คงเหลือ
 
31,754
 11,728
36.9 %
 20,026

</tbody></table><p> </p><p></p><p> </p><p>โจทย์ของเราคือ ทำให้โครงการ เป็น บริการ ให้ได้  อยากให้ตรวจไปเรื่อย ๆ ทุกๆ ปี   เป็นบริการ ไม่ใช่โครงการ เฉพาะ ของปี 2550  ( ก็มีกล้อง digital fundoscopy เป็นของตัวเอง แล้วนี่ครับ จะทำปีเดียวไปทำไม ) </p><p>3. เรื่องนี้ จะให้สำเร็จครบรอบ   ต้องใช้ เครือข่ายครับ ถึงจะพอไหวครับ    ตั้งแต่ สสจ. สนับสนุน ของบ   เครือข่าย pcu  เครือข่าย โรงพยาบาล  ทำการ screen   จักษุแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์ ที่ต้อง confirm และ plan การรักษา  ตลอดจนการรักษาซึ่งอาจต้องใช้บริการของ จักษุแพทย์ ที่อื่นด้วย  </p><p>นี่ ก็เสนอของบ อบรมฟื้นฟูการอ่านจอประสาทตาอีก  กะว่าปีละครั้ง ทุกปี  เพราะแต่ละปี มีแพทย์เข้าออกระบบ ตลอด </p><p>ยังมีทางต้องเดินอีกไกลครับ  นี่แค่เริ่มต้น เท่านั้นเอง อย่างว่าแหละครับ อีกหน่อย โรงพยาบาลชุมชนหลาย ๆ แห่ง ในประเทศไทย ก็จะได้ใช้ digital fundoscopy  คัดกรองจอประสาทตา แน่นอนครับ </p>

หมายเลขบันทึก: 87944เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2007 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขออนุญาติ นำส่งให้ทีมดู เลยนะคะ

ได้แนวคิดดีมาก  น่าจะทำต่อเลยค่ะ

 

P

โรงพยาบาลพี่น่าจะทำได้ดีนะครับ ตอนนี้ ศึกษาเรื่องการ print ใส่กระดาษ photo แล้วติดในสมุด เบาหวาน กับเวลาส่งให้จักษุแพทย์ จะส่ง file อย่างไรดี ครับ  ก็คงค่อย ๆ ปรับกันไป

แต่ที่มีปัญหา ใหญ่ที่สุดน่าจะเป็การรักษา  ผมว่าน่าจะเหมือนกันทั่วไป เพราะหมอตาเราทำงานหนักมากครับ   อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้กับคนอื่นด้วยครับ

ขอบคุณครับ ที่มีสิ่งดีเกิดขึ้น ด้วยทีมงานที่ดี

อยากให้เป็นนโยบายจังเลยครับ

เพราะที่ไหน ทีมไม่สู้ ก็ไปไม่ถึงคนเป็นเบาหวานอยู่ดี

ขอบคุณแทนชาวอุบลราชธานีครับ

ปัญหาของการรักษา Diabetic retinopathy คงจะเจอเหมือนกันในทุกๆแห่งนะครับหมอจิ้น เนื่องจากภาระงานที่หนักหนาสาหัสของหมอตา แต่อย่างไรก็ไม่ใช่ทางตันที่ไม่มีทางออกซะทีเดียว การป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตาในผู้ป่วยเบาหวานคงไม่ไกลเกินฝันถ้าพวกเรายังมีพลัง มุ่งมั่นตั้งใจด้วยความปรารถนาดีอย่างเช่นทุกวันนี้

ขอบคุณที่ทำงานเต็มที่เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์นะครับ

ปีนีอำนาจเจริญได้ digital fundoscopyแล้วค่ะด้วยความกรุณาของ ท่านนายแพทย์สสจ.นพ.สอาด  วีระเจริญ ที่มีต่อผู้ป่วยเบาหวานและงานสาธารณสุขจังหวัดอำนาจเจริญ  เราวางแผนจะคัดกรองผู้ป่วยเบาหวานให้ได้มากที่สุด(ทั้งหมดประมาณ    10,000  คน เดือนมิถุนายน2552เราเริ่มตรวจที่อำเภอลืออำนาจไปแล้วค่ะโดยมีจักษุแพทย์จาก

รพ.อำนาจเจริญ(พญ.อุไรวรรณ  จำนรรจ์ศิริ) ช่วยอ่านผลและดูแลรักษาผู้ป่วยมีแพทย์หญิงบุศนีย์  มุจรินทร์ ผู้อำนวยการรพ.ลืออำนาจช่วยดูแลด้านการบริหารจัดการให้  ดีใจมากเลยค่ะเลยนึกถึงความกรุณาของคุณหมอและอาจารย์วัลลารวมทั้งพี่แหม๋งและภก.เอนกและทุกๆท่านที่เคยมาช่วยดูแลทีมงานเบาหวานของเราช่วยให้เราคิดต่อทำต่อขอบคุณอีกครั้งค่ะ

หมออุไรวรรณ เป็นหมอเก่ง น่ารัก

สวัสดีครับ พี่เก็บข้อมูลจากใบคัดกรองคนไข้ยังไงครับ ช่วยแนะนำผมหน่อย ถ้าใครมีโปรแกรมดีๆ ก็ช่วยติดต่อผมหน่อยนะครับทางเมล [email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท