โสภณ เปียสนิท
นาย โสภณ เปียสนิท ตึ๋ง เปียสนิท

ค่ายวรรณกรรมการเมือง2554ที่โรงแรมตรัง กทม.2


มีโอกาสได้พบกับนักเขียนในดวงใจอีกคน ประภัสสร เสวิกุล

ค่ายวรรณกรรมการเมือง2554 ที่โรงแรมตรัง กทม.2

(ต่อจากตอนแรกที่ผ่านมา)

 

มีโอกาสได้พบกับ นักเขียนในดวงใจอีกคน ประภัสสร เสวิกุล อดีตนักการทูตหลายประเทศ เริ่มต้นจากประเทศเพื่อนบ้าน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และไปจบลงที่ตุรกี ก่อนเกษียณเมื่อสองปีก่อน เห็นท่านยืนหน้าห้องประชุม จึงยกมือสวัสดีทักทาย

“สวัสดีครับ” ท่านยิ้มอย่างใจดี “สวัสดีครับ” “ดีใจที่ได้พบท่านครับ ผมชอบ เวลาในขวดแก้วมากครับ” ท่านยิ้มโดยไม่ได้กล่าวคำใด ผมกล่าวต่อ “ท่านไปเป็นทูตกี่ประเทศครับ” “หลายประเทศนะ 5 ประเทศ” “สุดท้ายคือที่ไหนครับ” “ตุรกี” “อ้าว ท่านไม่ได้อยู่ทางอาหรับหรือครับ” “เปล่านะ” “แล้วท่านเขียนเรื่อง ชี๊ค เผ่าเบดูอินได้อย่างไร” ท่านยิ้มน้อยๆ “หาความรู้เอา แล้วสร้างจินตนาการขึ้นมา”

 

 

ผมมองหาคนถ่ายรูปคู่กับนักเขียนที่ชื่นชอบให้ โชคร้ายที่ไม่เห็นใครที่พอจะขอความอนุเคราะห์ เห็นเพียงนักเขียน เพื่อนในแวดวงน้ำหมึกที่สูงอายุ จึงไม่กล้ารบกวน จนท่านขอตัวเข้าห้องประชุมไป

 

 

เก็บตกจากการฟัง

คุณประภัสสรเสวิกุล

 

 

เส้นทางการเมือง วรรณกรรมการเมือง มักมีเหตุการณ์สำคัญๆ ในปี พศ.ที่ลงท้ายด้วยเลข4

2474

ศรีบูรพา เขียนเรื่อง ยอดปรารถนา

2484

ม.ร.ว. นิมิตมงคล นวรัตน์ เขียนเรื่อง "เมืองนิมิตร" และ ปักกิ่งนครแห่งความหลัง คนดีที่โลกไม่ต้องการ เขียนโดยสด กูรมะโลหิต 

2494

เกิดกบฏแมนฮัตตัน ทหารเรือ มนัส จารุภา เป็นผู้ทำการ ถือเป็นยุคทองของวรรณกรรมการเมือง มีผลงานจาก ศรีบูรพา เสนีย์ เสาวพงศ์ ปีศาจ ทุ่งมหาราช ของเรียมเอง

2504

ถือเป็นยุคมืดทางวรรณกรรม มีการปฏิวัติ จับตัวนักเขียนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มพระจันทร์เสี้ยว หรือ กลุ่มหนุ่มเหน้าสาวสวย

2524

เกิดกบฏเมษาฮาวาย

23 กพ. 2534

เกิดการปฏิวัติ รสช.

 

 

ผู้ดำเนินรายการถามคุณประภัสสร เสวิกุลว่า เหตุใดจึงสนใจเขียนเรื่องการเมือง

 

ตอบว่า อาจเป็นเพราะอยู่ใน DNA ก็ได้นะครับ สนใจตั้งแต่เรียนหนังสือในต่างประเทศ เขียนเรื่องอำนาจเป็นเรื่องแรก หลังจากกลับจากเยอรมัน โดยได้การปฏิวัติ รสช. เป็นแรงบันดาลใจ โดยการสร้างโลกใหม่ขึ้น ในจินตนาการให้ต่างไปจากต้นแบบเดิม โดยอ้างถึงประเทศโลกที่ 3 ทหารมีอำนาจ ทหารหนุ่มอยากพาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญ อำนาจเก่าไม่วางมือ จึงมีความขัดแย้งกันขึ้น

 

 สาวน้อยนักเขียน กำลังรอพี่สุธีร์ พุ่มกุมาร เพื่อขอรายเซ็น เป็นที่ระลึก

 

อัคนี หฤทัย

ที่เขียนกวีเพราะ เขียนนวนิยายใช้เวลามาก พยายามมาก ส่วนกวีนั้นใช้เวลาน้อย เกิดแรงบันดาลใจเขียนได้เลย เสร็จเร็ว ปี2516 กวีเพื่อชีวิตมีพื้นที่มากมาย เช่นเรื่อง เจ้าขุนทอง ของสุจิต วงษ์เทศ

 

“ความจริงถูกสร้างขึ้นโดยภาษา ต่างคนต่างถือความจริง ต้องเอาความจริงของแต่ละคนมาวาง แล้วศึกษากัน”

“วรรณกรรมเป็นเพียงท่อนหนึ่งของความคิด”

คุณอดุลย์ หรือ อัคนี หฤทัย

“วรรณกรรมมีพลัง วรรณกรรมต้องไม่โกรธกัน”

“งานกวีเนื้อหามาก่อน ฉันทลักษณ์ตามมา เดินทางด้วยความคิดได้เลย”

และกล่าวว่า คุณประภัสสร เสวิกุลเคยจ่ายเงิน 200 บาทเป็นค่ากวี สมัยปี 2514 แพงกว่าแหล่งอื่นถึง 8 เท่า”

 

“กวีนั้นใช้คำน้อย ดังนั้นทุกคำต้องมีค่า เปรียบเหมือนเหล้าดี ดื่มนิดเดียวก็หวานหอม ไม่เหมือนเหล้าแบบวิสกี้ต้องดื่มทั้งขวด ส่วนลุงเนาว์ เคยกล่าวว่า “กวีคือมงกุฎของวรรณกรรม”

 

คม เมืองนคร นักกลอนเก่าจากเมืองนครศรีธรรมราช

กำลังเจรจากกับน้องๆ แวดวงน้ำหมึก 

 

การสัมมนาครั้งนี้ ในช่วงแสดงความคิดเห็น มีผู้แสดงความคิดเห็นเรื่องฉันทลักษณ์กับไร้ฉันทลักษณะ หรือ กลอนแปด กับ กลอนเปล่า บรรยากาศเริ่มร้อนขึ้นทันที แม้ว่า ผู้ดำเนินรายการจะพยายามทำให้เบาลง ด้วยการไกล่เกลี่ยเป็นกลาง มีผู้เปรียบเทียบว่า “คำร้อยกรองเหมือนดอกไม้ ส่วนฉันทลักษณ์คือแจกัน” “รูปแบบเป็นรองเนื้อหา” “การคัดเลือกตีพิมพ์บทกวี เลือกแบบองค์รวมของแต่ละบทกวี “ความคิดเป็นหลัก ฉันทลักษณ์เป็นรอง”

 

คุณรักษ์มนัญญา กล่าวว่า “กวีไร้ฉันทลักษณ์ ตัวอย่างก็คือ งานของคุณ “ราช เรืองรอง” ขอสงวนสิทธิ์ว่า “งานเขียนกวีไร้ฉันทลักษณ์เป็นการทำลายวัฒนธรรม” คงไม่ถึงขนาดนั้น แต่ญาติน้ำหมึกเราฟังกันได้เสมอ

 

 

“กลอนแปลว่าคำสัมผัส หากไร้ฉันทลักษณ์ ไม่ควรเรียกว่ากลอน”

สาคร พูลสุข (นักเขียนมือรางวัล) ตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใด วรรณกรรมพานแว่นฟ้าของเรา ไม่จัดประกวดนวนิยายด้วย

 

 

อุทัย พิมใจชน เคยกล่าวในการแสดงความยินดีกับผู้รับรางวัลว่า “พวกคุณโชคดีได้รับรางวัลพานแว่นฟ้า ยุคก่อนนักเขียนการเมืองจะได้รับพานท้ายปืน”

 

 

คุณพินิจ นิลรัตน์ เจ้าของคอลัมน์ ในแวดวงวรรณกรรมหลายแห่ง

 

นั่งกลางระหว่าง พี่ฉันทนา ดาวราย และพี่สุธีร์ พุ่มกุมาร

 

(หากมีข้อผิดผลาดโปรดแจ้งด้วยครับ)

หมายเลขบันทึก: 446237เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2011 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

กวีมาเต็มเลยครับ สมัยก่อนแถวนครฯจะมีกลุ่มนาคร บวรรัตน์ ได้พบน้าเนาว์ไหมครับ...

สวัสดีครับท่านอาจารย์ โสภณเสียดายที่ไม่ได้ไปงาน มีหลายคนที่คุ้นชิน

พินิจ นิลรัตน์ (นิจ ระโนด)เคยพบสมัยทำหนังสือ หยินหยาง

  • เรียนอ.ดร.ขจิตครับ
  • สังเกตเห็นแววกวีของเด็กๆในภาพนะครับ
  • มีฝืมือขนาดเคยได้รับรางวัลวรรณกรรมพานแว่นฟ้า
  • มาก่อนหน้านี่แล้ว หลายปีข้างหน้าคงขึ้นมาแทนรุ่นพี่รุ่นพ่อได้ดี
  • ท่าไม่วางมือไปก่อน

Ico48เรียนท่านผู้เฒ่าครับ

  • นักเขียนทางใต้มากันเยอะมาก
  • เหมือนว่าข้อมูลเพื่อทำงานเขียนก็อำนวย
  • ทำให้นักเขียนใต้ได้โอกาสดี
  • แถมบางคน "สาคร พูลสุข"
  • ไปอยู่เหนือ เลยได้ข้อมูลสองภาคเชียว
  • เพื่อทำงานเขียนของเขา
  • ปีหน้า นายหัว "เจน" ประกาศเชิญ
  • ญาติน้ำหมึกร่วมประกวดกันให้คึกคักกันเชียว

น้องนักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ

เข้ามาร่วมค่ายวรรณกรรมด้วยความสนใจ


นำภาพเมื่อสองปีก่อน

มีโอกาสถ่ายภาพร่วมกับลุงเนาว์ด้วยครับ



ยินดีด้วยครับที่ได้กระทบไหล่นักเขียนในดวงใจ

Ico48เรียนคุณวิทยาครับ

  • อย่างน้อยก็เป็นความภูมิใจ
  • อีกอย่างเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ
  • ให้สร้างสรรค์ผลงานของตนขึ้นอีกหน่อย นะครับ

Ico64เรียนคุณอุ้มบุญครับ

ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจ

หลังงาน R2R แล้วอย่าลืมกลับมาทำหน้าที่

บล็อกเกอร์นะครับ อิอิ

นักเรียนหลายคนมีโอกาสเดินทางเข้าร่วมกลุ่มกับผู้ใหญ่วัยใกล้หมดไฟ ทำกิจกรรมครั้งนี้ด้วย ถือว่าเป็นการส่งต่องานด้านวรรณกรรมจากรุ่นสู่รุ่นนะครับ


  • อย่าเกรงโหวตโนไร้ค่า
  • อย่าว่าจะผิดกฏหมาย
  • เรียกร้องผองเพื่อนรอบกาย
  • เป้าหมายเพื่อชาติบ้านเมือง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท