เรื่องเล่าจากดงหลวง 89 ป่าชุมชน สมุนไพร และหมอป่าของชาวบ้าน


“ชุมชนแห่งนี้มีหลักประกันสุขภาพพื้นบ้านอยู่แล้ว ในแบบฉบับของชาวบ้านป่าเมืองปิด” ที่ไปไหนมาไหนลำบาก หมอชาญท่านนี้ช่วยเป็นผู้ดูแลสุขภาพชุมชนให้แทนหมออนามัยที่ห่างไกลออกไป ....ผมนึกถึงคำ พึ่งตนเอง... ภูมิคุ้มกัน... พึ่งพากัน...ฯลฯ

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"> </p><p>สหายใหญ่ดงหลวงซึ่งมีบทบาทสูงในช่วงสงครามประชาชนได้จบชีวิตลงไปเมื่อปีที่แล้วและมิตรสหายทั่วประเทศที่เคยเคียงบ่าเคียงไหล่ได้มาเยี่ยมเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนจะกล่าวคำสดุดี และเผาร่างให้มอดไหม้เป็นจุลไปตามวิถีปฏิบัติ สหายท่านนี้ป่วยเป็นโรคภายในรักษามานานหลายปีเต็มทีแต่ด้วยวัยชราภาพแลร่างกายที่ถดถอย แม้ยาเทวดาก็เอาไม่อยู่ สหายชาญชัย หรือหมอชาญของชาวป่ากล่าวกับผู้บันทึก  </p><p align="center"> </p><p align="center">สหายชาญชัย หรือ หมอชาญ</p><p>วันนี้ชาวบ้านแห่งหนึ่ง(ขออนุญาตไม่เปิดเผยชื่อ) ได้รวมตัวกันทำแนวกันไฟรอบป่าชุมชน แม้ว่าจะช้าสักหน่อยในแง่ของแนวที่จะกันไฟ  แต่ประโยชน์แนวกันไฟอีกประการหนึ่งคือการแสดงแนวเขตป่าให้ชัดเจน ชาวบ้านทั่วไปเห็นก็จะไม่บุกรุกเกินแนวเขตนี้ ซึ่งเป็นกติกาของชุมชน  </p><p>ผู้บันทึกเข้าร่วมสายไปเพราะติดงานอื่นๆ กว่าจะมาสมทบได้ชาวบ้านก็พักกลางวันพอดี เลยไม่ได้รูปที่ชาวบ้านกำลังทำงาน   </p><p><div style="text-align: center"></div> </p>ผู้บันทึกมีโอกาสพูดคุยกับสหายชาญชัย หรือหมอชาญของชาวบ้าน ซึ่งได้ไปร่ำเรียนวิชาสมุนไพรที่ประเทศเวียตนามสมัยเข้าป่าอีกท่านหนึ่ง อายุกำลังหนุ่มเต็มพิกัด ท่าทางสงบเสงี่ยม เรียบร้อย เก็บเนื้อเก็บตัว  แต่เมื่อพูดคุยด้วยแล้ว ความรู้ที่ได้เต็มไปหมดทีเดียว ความรู้ที่ร่ำเรียนมาได้ใช้ประโยชน์ในป่า รักษาชีวิตสหายมานักต่อนักแล้ว และปัจจุบันวิชาชีพนี้ก็มีส่วนทำรายได้พิเศษบ้าง แม้จะไม่มากมาย แต่ก็พอจุนเจือครอบครัวนอกจากทำนาทำไร่เหมือนชาวบ้านทั่วไป  <p>ผมตั้งคำถามตรงๆเลยว่า หมอครับ ในป่าชุมชนของเรามีสมุนไพรที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันอะไรบ้าง  เอาเท่าที่มีนะครับ หมอชาญตอบทันทีโดยไม่รอช้าผิดกับบุคลิกคอย่างตรงข้ามเลยว่า ไม่น่าเชื่อนะครับ ป่าแห่งนี้ เมื่อ 20 ปีที่แล้ว โล่งเตียน มีแต่หญ้าคา แล้วต่อมาจัดทำเป็นป่าชุมชน ชาวบ้านช่วยกันดูแลมิให้ไฟป่าเข้ามาเผาผลาญ  ป่ามันคืน ฟื้นตัวมาเท่าที่เห็น พืชหลายชนิดเกิดใหม่ สมุนไพรคืนมาอย่างไม่น่าเชื่อ สัตว์ป่าบางชนิดเริ่มเข้ามาแล้ว เพราะมีพืชป่าที่เป็นอาหารของเขา เช่น หมากเม่าป่า เกิดกะรอกก็มากินหน่วยสุกของมัน แล้วก็ขยายพันธุ์โดยมันไปถ่ายมูลที่ต่างๆ หมากเม่าก็ขยายไปทั่วแล้ว  เพียง 20 ปี รักษาได้อย่างนี้แล้วดีมาก ผมได้มาเอาสมุนไพรที่นี้ โดยไม่ต้องเดินไปหาที่ป่าอื่นไกลออกไป เอาไปรักษาชีวิตคน ความเจ็บความป่วยของคนทั้งในหมู่บ้านและต่างหมู่บ้าน  ไกลที่สุดที่เคยรับไว้คือมาจากระยอง และห้วยขาแข้ง อุทัยธานีครับ  </p><p><div style="text-align: center"></div></p><p>ผู้บันทึกย้ำอีกทีว่า ป่าชุมชนของเรามีสมุนไพรอะไรบ้างครับ  หมอชาญตอบทันทีว่า มีเสือโคร่ง กำแพงเจ็ดชั้น กำแพงเก้าชั้น ปงกิ่ว หูกวาง ประดงสามสิบสอง ม้ากระทืบโรง ขมิ้นเครือ รางจืด คอนแคน หนามโปทา ที่สำคัญสุดและยังไม่มีคือ ปลาไหลเผือก ซึ่งเป็นตัวยาสำคัญในการรักษามะเร็งหลายชนิด  แต่หาได้ในป่าไกลออกไป  หมอชาญย้ำว่า สมุนไพรตัวสุดท้ายนี้เข้าไปในวังแล้ว  มีคนเอาไปถวายท่านและเอาไปพิสูจน์ทางการแพทย์แล้ว (ผู้บันทึกขอขยายความว่า พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ในโครงการพระราชดำริ ที่ พระองค์ท่านเสด็จมาเยี่ยมทุกปี) </p><p>หากถามว่า สมุนไพรเหล่านั้นรักษาโรคอะไรบ้างเล่า หมอชาญตอบทันทีว่า นับตั้งแต่ คลายเส้น เบาหวาน กษัย มาเลเรีย ประดง บำรุงเลือด  ตับแข็ง ดีซ่าน กินผิดหรือของแสลง ริษสีดวงทวาร  และที่มาหากันมากมายคือ มะเร็งในตับ มดลูก ในเลือด ฯลฯ  </p><p>เราคุยกันเพลินจนหมอชาญไม่ได้กินข้าวกลางวัน  ผมก็เลยหยุดแล้วเชิญหมอชาญกินข้าวเสียก่อน เพื่อนบ้านคนอื่นๆกินกันจนอิ่มเกือบหมดแล้ว ซึ่งวันนี้กลุ่มแม่บ้านมาทำอาหารให้ ก็มี ต้มและลาบชิ้นวัว แจ่ว ข้าวเหนียว  หมอชาญบอกผมว่า ผมไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ครับ ซึ่งผมก็กินมังสวิรัติ เลยเราสองคนกินข้าวเหนียวเปล่าๆจิ้มแจ่วพอรู้รสไป สองสามก้อน  </p><p>ผมจากมาด้วยปิติในหมอชาญสหายป่าคนนี้ ที่หลายต่อหลายรายรักษาโดยไม่เอาเงินเลย ด้วยอาชีพหมอป่านั้นยังฝังแน่นในมิติวิถีของหมอท่านนี้   ผมนึกเลยไปว่า ชุมชนแห่งนี้มีหลักประกันสุขภาพพื้นบ้านอยู่แล้ว ในแบบฉบับของชาวบ้านป่าเมืองปิด ที่ไปไหนมาไหนลำบาก หมอชาญท่านนี้ช่วยเป็นผู้ดูแลสุขภาพชุมชนให้แทนหมออนามัยที่ห่างไกลออกไป ....</p><p>ผมนึกถึงคำ พึ่งตนเอง... ภูมิคุ้มกัน... พึ่งพากัน...ฯลฯ   </p><p>เรามาฟื้นฟูป่าเพื่อให้สมุนไพรมันฟื้นตัวขึ้นมามากขึ้นกันเถอะครับ </p><p>ผมขออุทิศบทบันทึกนี้ให้แก่ทุกท่านที่จะไปงานเฮฮาศาสตร์ครั้งที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม ที่อาศรมครูบาครับ</p>

หมายเลขบันทึก: 94418เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2007 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

ดีหลายอ่านได้ประโยชน์ประเด็น

  • ป่าเพื่อสุขภาพชุมชน
  • พึ่งพากันเองด้วยศักยภาพและระบบนิเวศพื้นถิ่น
  • ป่าชุมชนคือสถานีอนามัย หรือโรงพยาบาลชุมชน
  • หมอชุมชนควรจะหาวิธีสืบทอดวิชาความรู้ไว้
  • มีเรื่องให้คิด ใคร่ครวญ เกี่ยวกับเรื่องนี้อีกมาก

สวัสดีค่ะท่าน...บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

  • ขอบคุณค่ะ..ที่มีบันทึกที่ดีให้ได้อ่าน   ให้ได้รู้ในสิ่งที่ดีในชนบท
  • ความดี    คนดี  นำมาให้ได้รู้จักกันค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

P

พวกสมุนไพร เคยได้ยิน มีออกฤทธิ์ตีกันเองด้วยนะคะ ชาวบ้านทราบไหมคะ

สวัสดีค่ะคุณบางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)  

ได้ความรู้ใหม่ๆ อีกแล้วค่ะ ขอบคุณมากนะคะที่นำมาฝากกัน

ได้บรรยากาศในป่าชุมชนมากเลย (จินตนาการผ่านรูปในหน้าจอค่ะ)  ยิ่งมารู้ว่าเป็นพื้นที่โครงการในพระราชดำริ ที่มีการปลูกป่า ให้ชุมชนได้พึ่งพา สัตว์ป่าได้เข้ามาพึ่งพา ให้ธรรมชาติได้ทำหน้าที่ของตน แล้วชุมชนก็มาทำแนวกันไฟเพื่อป้องกันป่า ครบวงจรของการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติ....

ขอแสดงความชื่นชมคนในชุมชน และขอบคุณผู้เล่าให้ฟังค่ะ ; )

เรียนทุกท่าน

 ผมขออนุญาติเปลี่ยนชื่อ หัวเรื่องจาก หลักประกันสุขภาพของชาวบ้านมาเป็น ป่าชุมชน สมุนไพร และหมอป่าของชาวบ้านครับ เพื่อความเหมาะสม

ท่านครูบาครับ

ผมละ  ตื่นเต้นเหมือนกันครับ เมื่อหมอชาญกล่าวว่า ป่าชุมชนแห่งนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้วมันเกือบจะเป็นเขาหัวโล้น มีแต่หญ้าคา  แต่เมื่อปิดป่าอนุรักษ์ไว้มันฟื้นตัวขึ้นมาเอง  แค่ดูแลไม่ให้มันเกิดไฟป่า และตักเตือนกันเรื่องการบุกรุก  แค่นี้เอง 20 ปีพืชป่าก็กลับมาโดยที่เราไม่ได้ปลูกด้วยซ้ำไป ต้นไม้ป่าต่างๆกลับมา ผลไม้ป่ากลับมา โดยเฉพาะสมุนไพรป่าที่มีประโยชน์แก่ร่างกายคนมันกลับมา

คนเราถ้าจะเคารพธรรมชาติบ้างโดยไม่เอาประโยชน์เกินไป มันก็อยู่ได้  ผมเองก็คิดเยอะครับ

ผมเลยฝากให้ทุกท่านที่ตั้งใจจะร่วมปลูกต้นไม้ในวันเฮฮาศาสตร์นั้นได้รับทราบสิ่งนี้  ว่าท่านกำลังร่วมกันสร้างสถานีอนามัยอย่างที่ท่านครูบากล่าว ท่านกำลังทำบุญมหาศาล ท่านกำลังสร้างสังคม สร้างโลก

 เห็นไหมล่ะ มะเร็งที่โรงพยาบาลไม่รับแล้ว หมอป่ารับรักษา  แค่นี้คนไข้ก็ดีใจเหมือนเกิดใหม่แล้ว จะหสยหรือไม่หาย แต่หมอป่ารักษาจิตใจให้แล้วเต็มๆ  ครับมีหลายคนดีขึ้น และหายเลยก็มี และแน่นอนหลายคนก็ไปไม่รอด

กายกับใจมันต่อเนื่องกัน หมอในเมืองรักษากายแต่ไม่ได้รักษาใจ (อันนี้ผมไม่ได้กล่าวเองนะครับ คนมากมายต่างก็พูดเช่นนี้)  แต่หมอป่ารักษากายและใจด้วยกัน 

ผมสนับสนุนท่านเต็มที่ ว่ามาปลูกต้นไม้กันเถอะ 

สวัสดีครับครูอ้อย

ผมเลือกหยิบเรื่องเอามาครับ มีทั้งดีและไม่ดี คงจะสลับกันไปน่ะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับsasinanda

เป็นความจริงครับ  และหลายตัวมีพิษที่เรียกว่าสาร สะเตอรอยด์ (ผมสะกดไม่ถูก) ด้วยซ้ำไป ซึ่งหมอยาพื้นบ้านบางคนผ่านการอบรมเรื่องการระมัดระวังเรื่องนี้มาแล้ว แต่บางคนยังไม่ได้ผ่าน ก็เตือนๆกันครับ

จากแนวคิดดังกล่าว น่าจะมีการฝึกอบรมหมอยาพื้นบ้านให้รู้จักดูแลคนไข้โดยการให้สมุนไพรที่ถูกต้องมากขึ้น เพื่อป้องกันฤทธิตีกัน หรือเห็นหมอบางท่านเรียก ยามันฆ่าฤทธิกันเอง ครับ

สวัสดีครับอาจารย์กมลวัลย์

เมื่อปีก่อนผมก็ระดมคนมาปลูกป่าแห่งนี้เพิ่มเติมจากเดิม ชาวบ้านอยากได้ต้นไผ่ เพื่อจะได้กินหน่อของมัน เราก็เอามาปลูก บังเอิญกว่าจะได้กล้าหน่อมาก็ผ่านฤดูฝนไปพอสมควร จึงได้ผลครึ่งหนึ่ง ปีนี้จะปลูกเพิ่มเติมครับ

ป่าชุมชนแห่งนี้เป็นหลักฐานเรื่องการฟื้นตัวของป่าเอง การกลับเข้ามาของสัตว์ป่า การเกิดขึ้นเองของสมุนไพรเมื่อความสมดุลเกิดขึ้นเขาก็เกิด และคนเราก็ได้ใช้ประโยชน์ แค่ดูแลเขาบ้าง รักษาเขาบ้าง อย่าใช้ประโยชน์เกินไป อย่าทำลายโดยการเผา  เขาก็กลับคืนมา  พวกเราก็ดีใจครับ

ขอบคุณครับ

  • ขอบคุณความรู้ใหม่ๆครับ
  • ผมจะลองนำไปประยุกต์กับงานครับ

ขอขอบคุณนิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า มากครับ

ยินดีครับที่พอจะเป็นประโยชน์สำหรับงานของท่านครับ

ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยมค่ะ

อย่างที่ท่านครูบาฯเขียนไว้ข้างต้นนะคะว่าเรื่องนี้มีสิ่งให้คิด ให้ใคร่ครวญอีกมาก

เรื่องมันลึกซึ้งและมีมิติที่ซับซ้อน ต้องคิดหลายชั้น ไม่ใช่แค่ที่มองเห็นและได้ยิน ดีใจเวลาได้พบเห็นเรื่องราวเช่นนี้ คงต้องช่วยกันทำให้เรื่องนี้ให้เป็นที่รับรู้และขยายความให้เป็นที่เข้าใจในทุกๆมิติ

ขอบคุณในความช่างมองเห็น และช่างถามของพี่บางทรายที่ทำให้ได้รับรู้เรื่องราวดีๆค่ะ

สวัสดีครับคุณนายดอกเตอร์

ขอบคุณครับที่ย้ำประเด็นความสำคัญของสิ่งนี้

แก้วอยากทราบว่ากล้วยส่วนใดที่เป็นสมุนไพรได้บ้างคะ

สวัสดีครับคุณแก้ว

ผมติดไว้ก่อนนะ เดี๋ยวจะสอบถามผู้รู้มาตอบนะครับ

วันนี้เข้าเวณกลางคืนรึครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท