สวนทัณฑสถานสาธารณะ


ขังกายแต่ไม่ขังใจกับแนวคิดวิถีพุทธ

สวนทัณฑสถานสาธารณะ    

  พวกเราเคยคิดไหมว่า ภาพยนต์มีส่วนต่อการปลูกฝังแนวความคิดและการกระทำของมนุษย์  โลกฝันที่มีแต่พระเอกและผู้ร้ายมันได้ฝังหัวพวกเรามาตั้งแต่ไหนแต่ไร  การมองโลกจริงที่พระเอกต้องกำจัดผู้ร้ายให้สิ้นซาก เป็นการมองโลกที่อันตราย ที่มีแต่ดำกับขาว ดีกับชั่ว แม้ว่าการใช้กฏหมายเป็นสิ่งที่จำเป็นให้เกิดความศักดิ์สิทธิ ผู้คนจะได้ไม่กล้ากระทำความผิดหรือเอาเป็นเยี่ยงอย่าง (เชือดไก่ให้ลิงดู)  แต่จำเป็นด้วยหรือ ที่ต้องเข่นฆ่าแลประหารให้ตายจากกันไปข้างหนึ่ง  ถ้ากฎหมายที่มีโทษประหารชีวิตศักดิ์สิทธิ์จริง ป่านนี้ก็คงไม่มีคนกระทำความผิดให้โดนประหารกันแล้วละ ลิงมันไม่กลัวถูกเชือดหรอกนะเพราะโดยธรรมชาติของลิงส่วนมาก จะเป็นลิงที่"ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา"  

เราอาจเคยได้เห็นข่าว คนทำความผิดร้ายแรงแล้วโดนรุมประชาทัณฑ์ ซึ่งบางความผิดก็เป็นที่สมควรจะโดนเช่นนั้น กรรมแสดงผลของการกระทำชนิดที่ทันตาเห็น แต่ถ้าเรามองลึกๆแล้ว เราจะพบว่า เราก็ต่างเป็นเหยื่อของความไม่รู้ เหยื่อของปัญหาสังคม ที่พวกเราเองทั้งหมดร่วมกันสร้างขึ้น  

การที่มองโลกแบบพระเอกต้องกำจัดผู้ร้ายให้สิ้นซากนั้น แท้ที่จริงแล้ว ในบางแง่มุมพระเอกก็ไม่ได้ต่างจากผู้ร้ายเท่าใดนัก เพราะในชีวิตจริง จะหาคนที่ดีหรือเลวบริสุทธิ์นั้นหาได้ยาก  คนร้ายก็ยังกลับใจเป็นคนดีได้ คนดีก็ยังหลงผิดกระทำความชั่วได้ ดังนั้นแม้แต่คนร้ายที่กระทำความผิดจนต้องโทษติดคุกติดตะราง ก็ยังเป็นเพียงผู้หลงกระทำความผิดไปเท่านั้น               

การประหารชีวิตคือ การกำจัดผู้กระทำผิดไปจากสังคมด้วยการฆ่า การประหารชีวิตด้วยดาบถูกยกเลิกในปีพ.ศ.2477 เปลี่ยนมาเป็นการประหารชีวิตด้วยปืนหรือยิงเป้าแทน จนมาถึงปัจจุบัน แทนที่จะนำนักโทษประหารไปยืนตรึงกับหลักประหารเช่นเดิมก็เปลี่ยนเป็นการให้นอนบนเตียงประหาร ลงโทษประหารชีวิตด้วยการฉีดยาแทน นั่นคือวิวัฒนาการของการประหารชีวิต ซึ่งไม่ว่าจะฆ่าให้ตายด้วยวิธีไหน สุดท้ายก็จบด้วยความตายเหมือนกันหมด ซึ่งถือว่ายังไม่เป็นวิวัฒนาการของการประหารชีวิตในขั้นสูงสุด เพราะการวิวัฒนาการแบบนี้ เป็นเพียงการทำให้ไม่ตายอย่างน่าเกลียดหรือน่าหวาดเสียวแทน โดยมนุษย์ไปปรุงแต่งเรียกอย่างโก้เก๋ว่าเอาเองว่า เป็นการประหารที่มีมนุษยธรรม ตามเยี่ยงอย่างของประเทศตะวันตก ที่เขาหลงปรุงแต่งเอากันเองว่า ประเทศพัฒนาแล้ว อีกเหมือนกัน แท้จริงแล้วเราน่าจะเรียกพวกเขาอย่างเต็มประโยคว่า "ประเทศพัฒนาแล้วด้านวัตถุ" และเรียกว่าเป็น"ประเทศกำลังด้อยพัฒนาด้านจิตใจ"ซึ่งดูจะเหมาะสมกว่า    

ก่อนอื่นเราต้องยอมรับและตระหนักว่า การใช้กฎหมายมาแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ได้ผลแน่นอน หากเรารวบรวมข้อมูลทางสถิติของผู้ต้องโทษ ที่กลับเข้ามากระทำความผิดซ้ำ และถูกจองจำใหม่ เราก็จะพบว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุและไม่ได้ผลเอาเสียเลย แถมยังเพิ่มปัญหาให้รุนแรงกว่าเดิมตรงที่ หากพวกเขากลับมาเข้าคุกใหม่ จะมีสาเหตุมาจากการกระทำผิดที่รุนแรงเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วย        

     

   

     

ประเทศที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิตอยู่ในปัจจุบัน  (RETENTIONIST)  

 โทษประหารชีวิต-การฉีดสารพิษเข้าร่างกาย
- การนั่งเก้าอี้ไฟฟ้า
- การประหารโดยการรมแก๊ส
- การแขวนคอ
- วิธียิงเป้า
   

ปัญหาสังคมนี้เกิดจากพวกเขาเหล่านั้นเห็นว่า ความสำนึกละอายและเกรงกลัวต่อบาปเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งๆที่เรื่องเหล่านี้แท้ที่จริงแล้วเป็น วิทยาศาสตร์ที่วิทยาการในปัจจุบันไม่สามารถเข้าถึงได้นั่นเอง พวกเราในฐานะชาวพุทธ หากจะ  "..สังหารผลาญสิ้นทั้งโคตร.." ให้พวกเราสังหารความหลงผิด และฆ่าความไม่รู้ในตัวพวกเขาเหล่านั้น ด้วยการ อภัย เข้าถึง เข้าใจ รู้รักสามัคคี และเผยแพร่ความจริงให้บังเกิดขึ้นในจิตใจพวกเขาเหล่านั้น ด้วยการให้"ธรรมะ" ที่แปลว่า สภาวะความเป็นจริงตามธรรมชาติ   

1.เรือนจำเรือนธรรม

.

13.ชีวิตที่เหลืออยู่

แม้ว่าพวกเรามิอาจจะยกเลิกโทษประหารชีวิตได้ เนื่องจากเหตุผลนานับประการ ซึ่งในสังคมปัจจุบันนี้ แต่เราสามารถเปลี่ยนนรกบนดิน ให้กลายเป็นสวรรค์ให้กับเขาเหล่านั้นได้ ขณะที่นั่งรถผ่านสวนสาธารณะ"สวนรมณีนาถ" คำพูดหนึ่งของพระอาจารย์ก็ได้สะกิดใจของผม ท่านพูดว่า "สวนแห่งนี้เป็นเรือนจำเก่าที่เขาอนุรักษ์ไว้" นั่นคือจุดประกายที่ทำให้ผมคิดว่า ถ้าเราเปลี่ยนเรือนจำทั้งหมดให้กลายเป็นสวนสาธารณะได้ก็คงจะดี อย่างน้อยสุดความร่มรื่นของสีเขียว ก็น่าจะคลายความทุกข์ในใจของพวกเขาได้บ้าง 

  

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 click

 

แท้ที่จริงแล้วพวกเราก็ไม่ได้ต่างอะไรกับ นักโทษที่เป็นทาสเท่าใดนัก เป็นนักโทษประหารที่ตกเป็นทาสของกิเลสตัณหา ขังกายและใจให้วนเวียนอยู่ในวัฏสงสารอย่างไม่สิ้นสุด เป็นนักโทษที่ไม่รู้วันประหาร และไม่รู้ตัวว่าเป็นนักโทษ สนุกและเพลิดเพลินไปกับการถูกจองจำ ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า เกิดมาต้องโดนประหารแน่ๆ แต่มีน้อยคนนักที่จะหาวิธีแหกคุกแห่งการเกิดนี้     จะดีไหม ถ้าเราเปลี่ยนเรือนจำเป็นเรือนธรรม ที่ขังกายแต่ไม่ขังใจ มองพวกเขาเหมือนกับผู้ติดโรคร้ายทางจิตใจ ที่เราทุกคนต้องช่วยกันบำบัด ขจัดโรคใจ โรคความไม่รู้ และโรคกรรมให้หมดไป สิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น สีเขียวที่น่าชื่นใจของธรรมชาติ คือส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่จะเยียวยาให้กับพวกเขาได้        

หากใครจะบอกว่า ทำไม่ได้หรอกสิ้นเปลืองงบประมาณ ยังมีปัญหาเร่งด่วนให้แก้ไขอีกเยอะ ก็ขอตอบในแง่มุมความคิดเห็นส่วนตัวว่า ค่าโง่ทั้งหลาย เช่นค่าโง่ทางด่วน ค่าโง่สนามบิน เงินโกงกินคอรัปชั่น ที่เสียไปเป็นแสนๆหมื่นๆล้าน ทำไมยังเสียได้ ในทางปฎิบัติแล้ว การเปลี่ยนแปลงให้เกิดการพัฒนาและความเจริญขึ้นนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ งบประมาณแผ่นดินมากมายถึงขนาดนั้น เรามาเปลี่ยนเรือนจำ ให้กลายเป็น สวนสาธารณะที่ให้บริการเฉพาะนักโทษกันดีไหม  

 

หมายเลขบันทึก: 94415เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2007 22:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เห็นด้วยที่ว่าด้อยพัฒนาทางจิตใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท