ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลากร # 1


ยังเป็นที่เข้าใจไม่ตรงกันอยู่มานาน จนทำให้เกิดปัญหาในการติดต่อ/การประสานงานระหว่าง 2 ฝ่าย

วันนี้ขอเล่าเรื่องที่ผมประสบพบเจออยู่ประจำทุกวัน และยังเป็นที่เข้าใจไม่ตรงกันอยู่มานาน จนทำให้เกิดปัญหาในการติดต่อ/การประสานงานระหว่าง 2 ฝ่าย เรื่องเล่าวันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ประเภทบุคลากร  ซึ่งโดยทั่วๆไปแล้วสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่จะมีลักษณะการแบ่งที่คล้ายๆกันแต่อาจมีข้อปลีกย่อย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับระเบียบ ข้อบังคับ หรือนโยบายของแต่ละสถาบัน

ประเภทบุคลากร ที่จะนำเสนอวันนี้ได้ส่วนหนึ่งรับความอนุเคราะห์จากกองการเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเรื่องบุคลากรโดยตรง อีกส่วนหนึ่งก็คงมาจากความรู้และประสบการณ์ของผู้เล่าเองครับ  ประเภทบุคลากร สามารถจำแนกได้หลักๆ 6 ประเภท ดังนี้ ครับ

1.  ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา  ใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ  จ้างโดยใช้งบประมาณเงินแผ่นดิน  หมวดเงินเดือน  แบ่งย่อยเป็น 3 ประเภท คือ

1.1  สาย ก (สายวิชาการ สายสอน)

1.2  สาย ข (สายสนับสนุนทางด้านวิชาการ)

1.3  สาย ค (สายสนับสนุนทางด้านบริหาร)

2.  ลูกจ้างประจำ  ใช้ระเบียบกระทรวงการคลัง  จ้างโดยใช้งบประมาณเงินแผ่นดิน  หมวดค่าจ้างประจำ

3.  พนักงานมหาวิทยาลัย  ใช้ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  จ้างโดยใช้งบประมาณเงินแผ่นดิน  หมวดเงินอุดหนุน   และจ้างโดยใช้งบประมาณเงินรายได้  มหาวิทยาลัย/คณะ/หน่วยงาน  หมวดเงินอุดหนุน  แบ่งย่อยเป็น

3.1  พนักงานประจำเต็มเวลา

3.2  พนักงานที่จ้างตามภารกิจ  (เดิมพนักงานประจำไม่เต็มเวลา) 

4.  พนักงานมหาวิทยาลัย  ใช้ระเบียบโรงเรียนสาธิตฯ  จ้างโดยใช้งบประมาณเงินรายได้  โรงเรียนสาธิตฯ

5.  พนักงานที่จ้างตามภารกิจ  - ใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ และระเบียบกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง สายงาน หรือวุฒิการศึกษา  (เดิมชื่อ ลูกจ้างชั่วคราว งบประมาณเงินรายได้)  จ้างโดยใช้งบประมาณเงินรายได้  หมวดค่าจ้างชั่วคราว

6.  อาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษ  ใช้ระเบียบทบวงฯ ว่าด้วย การจ้างผู้มีความรู้ความสามารถฯ   (ลูกจ้างชั่วคราว เงินงบประมาณแผ่นดิน)  จ้างโดยใช้งบประมาณเงินแผ่นดิน  หมวดค่าจ้างชั่วคราว

เมื่อทุกท่านได้ทราบเกี่ยวกับประเภทบุคลากรในเบื้องต้นแล้ว อย่าสับสนในการติดต่อประสานงานน่ะครับ โดยเฉพาะบุคลากรข้อ 3.2 และ ข้อ 5 ซึ่งเป็นชื่อเดียวกันและเป็นบุคลากรกลุ่มใหญ่  แต่เป็นบุคลากรคนล่ะประเภทกันน่ะครับ กล่าวคือบุคลากรทั้ง 2 ข้อ มีความแตกต่างกัน ดังนี้

-  เป็นบุคลากรคนละประเภท  ข้อ 3.2 เป็นประเภท พนักงานมหาวิทยาลัย  ส่วนข้อ 5 เป็นประเภท พนักงานที่จ้างตามภารกิจ

-  ใช้ระเบียบคนละอย่างกัน

-  จ้างโดยใช้งบประมาณคนละหมวดรายจ่าย

เชิญร่วมกัน ลปรร. เพื่อเชื่อมโยง และต่อยอดครับ

แล้วพบกันฉบับหน้าครับ..............
หมายเลขบันทึก: 70771เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2007 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เรื่องอย่างนี้ กจ. น่าจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ดีน่ะครับ
  • สวัสดีปีใหม่ครับกล้วย
  • ขอบคุณสำหรับขอมูลบุคลากร และขอเพิ่มเติมในส่วนที่เคยศึกษามา และจะมีผลกับตัวเองในไม่ช้านี้ คือข้อ 3.1  พนักงานประจำเต็มเวลา หมายถึงพนักงานที่ผ่านการทดลองปฏิบัติงาน 1 ปีแรก และเป็นพนักงานตามสัญญาจ้าง 4 ปี รวมตั้งแต่บรรจุ 5 ปี จึงจะได้เป็นพนักงานประเภทนี้
  • ถ้า (ร่าง) พรบ.มมส. เสร็จทุกขั้นตอน เท่าที่ศึกษา จะเหลือบุคลากรประเภทเดียว คือ "พนักงานมหาวิทยาลัย"

พนักงานมหาวิทยาลัย กับ พนักงานราชการ ที่หน่วยงานอื่นเขามี แตกต่างกับพนักงานมหาวิทยาลัย (เงินงบประมาณแผ่นดิน) หรือไม่อย่างไรครับ

  • ขอบคุณสำหรับคำถาม พี่จัก ครับ
  • แตกต่างกันครับ
  • ทั้ง 2 ประเภท ใช้ระเบียบบังคับ คนละฉบับครับ พนักงานราชการ ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย พนักงานราชการ พ.ศ. 2547  ส่วนพนักงานมหาวิทยาลัย (มมส.) ใช้ ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วย การบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2543  ซึ่งจากที่บุคลากรทั้ง 2 ประเภทใช้ระเบียบบังคับคนละอย่างทำให้รายละเอียดอื่นๆ แตกต่างกัน เช่น ประเภทหรือกลุ่มตำแหน่ง  อัตราค่าจ้าง  สัญญาจ้าง  รวมทั้งระบบสวัสดิการด้วย
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท