วิธีเขียนบันทึกเกี่ยวกับครูอ้อยในแบบ series


ใครก็ทำได้ ถ้าฝึกฝน เรียนรู้ มีความพยายาม.....

ลองดู รายชื่อเหล่านี้
1.วิธีสร้างกราฟความสุขของครูอ้อยจากบันทึกใน blog
2.แง้มใจ......ครูอ้อย
3.วิธีการลดอายุของครูอ้อยกับการเขียนบันทึกใน gotoknow
4.พลังแห่งการบันทึกของครูอ้อย จากแรงบันดาลใจสู่การส่องกระจก
5.ความรู้สึกจากคนที่รู้จัก ด.ช.กฤษณา กับบันทึกของครูอ้อยใน gotoknow
6.(Hard version) : เส้นคั่นบางๆระหว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ของ ครูอ้อย คุณไมโต นายบอน
7.(Lite version) : เส้นคั่นบางๆระหว่างหน้าจอคอมพิวเตอร์ของ ครูอ้อย คุณไมโต นายบอน
8.พลังแห่งการบันทึกของครูอ้อย : ข้อคิดและบทเรียนจากดอกไม้ของครูอ้อย
9.พลังแห่งการบันทึกของครูอ้อย กับประตูสู่สิ่งใหม่ๆที่ปลายนิ้ว..ยกกำลังสอง
10. ฯลฯ

เป็นบันทึกที่เขียนแบบซีรีส์ หรือ เป็นชุดเรื่องราว
หรือ..เรื่องเดียวกัน แต่...หลายตอน...หลายแง่มุม...

หลายท่านคง “งึด“ หรือ ทึ่งในใจ...
แค่เขียน 1 บันทึก ก็รู้สึกว่า ยากเสียแล้ว.......
นี่เขียนเป็นซีรีส์........... เจ๋งเป้ง.....  

ว่าไปโน่น

ความจริงแล้ว...

แม่ค้าขายหมู หั่นหมู่ ชำนาญ.......มากกว่า.....คุณ
ชาวนา ทำนา ได้ดีดว่า.....คุณ
พนักงานธนาคาร นับปึกธนบัตร ได้คล่องกว่า.....คุณ
บรรณารักษ์ห้องสมุด รู้จักหนังสือในห้องสมุดนั้น ดีกว่า.....คุณ

ฯลฯ

เพราะแต่ละบุคคล สะสมความเจนจัด ประสบการณ์ ฝึกฝน.
นั่นคือ....

พรแสวงทั้งนั้น...


ใครก็ทำได้ ถ้าฝึกฝน  เรียนรู้ มีความพยายาม.....

การเขียนบันทึกแบบซีรีส์ ก็เช่นกัน
ถ้าคุณฝึกฝน เรียนรู้ พยายาม

คุณก็ทำได้


ดังนั้นไม่ต้องทึ่ง หรือ มองรูปนายบอนด้วยสายตายกย่อง งึด  อยากเลี้ยงข้าว อยากชนแก้วเบียร์ ฯลฯ
(... เอ.. แต่ 2 อย่างสุดท้าย นายบอนก็ไม่ปฏิเสธนะครับ)

บันทึกแบบ series เกี่ยวกับครูอ้อย อย่างรายชื่อที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น

วิธีเขียน ต่างจาก 1 บันทึกอย่างไร?


1 บันทึก คุณพูดกี่ประเด็นก็ว่ากันไป
แต่นายบอน ขยายประเด็น จึงเป็น ซีรีส์

สามารถลงรายละเอียด ซอยย่อย เนื้อความให้เต็มอิ่มมากขึ้น

How to  …. ทำอย่างไรล่ะ
1. เขียนใส่กระดาษไว้ก่อน ประเด็น 1 2 3   เขียนเป็นคำหรือประโยคสั้นๆ (ภายใน 1 นาที)
2.  ดูสิ่งที่เขียนไป จับกลุ่มอันที่เหมือน ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องทำอะไร (ภายใน 1 นาที)
3.  ดู ประเด็นไหน จะพูดในแง่มุมใดบ้าง (ภายใน 1 นาที)
4. เขียนบันทึก


* สิ่งสำคัญ ประเด็นที่จะนำมาเขียนแบบซีรีส์ ต้องมีรายละเอียดที่จะเขียนได้นะครับ เพราะบางเรื่อง เขียนให้จบได้ใน 1 บันทึกก็พอแล้ว เขียนแยกเรื่อง บางทีก็ไม่น่าอ่าน....

ส่วนสำคัญ
-เขียนลงกระดาษให้มองเห็นกันจะจะ.......... ถ้าคิดในสมอง รู้ แต่ไม่เห็น ความคิดล่องลอย ลืมได้ง่าย

 -เขียนลงกระดาษให้มองเห็นกันจะจะ.......... จัดกลุ่มความคิดได้

-เขียนลงกระดาษให้มองเห็นกันจะจะ.......... ตัดสินใจได้ง่าย ใช้เวลาน้อยลง ดูมีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน

ความจริง สามารถพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์ได้ ได้ทุกวิธีการครับ

แต่กระดาษ มันหยิบง่าย ขีดเขียนตามใจ
ตามเก็บความคิดได้ทัน ก็เท่านั้นครับ

ไม่ลองไม่รู้ เด็ก ม.3 ยังทำได้เลย!



หมายเลขบันทึก: 66365เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 14:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะคุณบอน

มันเป็นความพยายาม  จึงจะเป็นความสำเร็จนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ว้าว 2..ครูอ้อยมีพรแสวงในบันทึกนี้  เด็ด สะ ตะ ระ ตี่
สนุกกับการอ่านย้อนรำลึกในเช้าวันปีใหม่แบบยกชุดเลยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท