ความรู้สึกจากคนที่รู้จัก ด.ช.กฤษณา กับบันทึกของครูอ้อยใน gotoknow


ความเห็นในมุมที่แตกต่างจากคนที่ไม่กล้าเขียนความเห็น (แต่ชอบพูดมากกว่า) ก็ได้ประเด็นใหม่ๆไม่แพ้ประเด็นที่ได้อ่านต่อท้ายจากแต่ละบันทึก

บันทึกต่างๆของครูอ้อยนั้น มีคนติดตามอ่านเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ยิ่งคนอ่านที่ไม่เคยรู้จัก gotoknow มาก่อน ก็เริ่มรู้จักครูอ้อย..
เมื่อครูอ้อย เขียนบันทึกถึง ด.ช.กฤษณา ถ่ายทอดมุมมองต่างๆออกมา....
คำถามที่ตามมาจึงเกิดขึ้น

”นายบอนไปเขียนเล่าเรื่อง ด.ช.กฤษณาตั้งแต่ตอนไหน ทำไมครูอ้อยถึงเอามาเขียนบันทึก”
นายบอนงงสิครับ คิดได้ยังไงเนี่ย

”ก็เห็นชอบเขียนบันทึกถึง คุณ น.เมืองสรวงอยู่บ่อยครั้ง จนครูอ้อยก็รู้จัก ด.ช.กฤษณานี่ก็คงจะรู้จักในแนวเดียวกันล่ะสิ”

นายบอนได้แต่เกาหัวแกรกๆ แหม ช่างคิดจริงๆ
อันที่จริง ครูอ้อยท่านสอนหนังสืออยู่แล้ว รู้จักนักเรียนทั้งชั้น ไม่ต้องให้ใครไปเขียนแนะนำให้เสียเวลาหรอก

“ชั้นหมายถึง ด.ช. กฤษณาที่อยู่  กสส. น่ะ”

หา ..

กสส. คือ โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสัย โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีนักเรียนชื่อ กฤษณา เหมือนกัน

นายบอนพยายามอธิบายว่า เนื้อหาในบันทึกนั้น ครูอ้อยต้องการสื่อสารถึงนายบอนต่างหากเล่า ไม่ได้หมายถึงน้องกฤษณาที่ กสส. ซะหน่อย

”บันทึกก่อนๆเห็นสื่อสารกันตรงๆ แล้วจู่ๆก็หยิบเรื่องราวของนักเรียนมาเขียนบันทึก ต่อไปคงจะไล่เขียนถึงนักเรียนทีละคนจนครบชั้นเรียนล่ะสิ ถ้าเขียนก็ระบุให้ชัดๆไปเลยว่า กฤษณาคนไหน นามสกุลอะไร จะได้ไม่ผิดตัว"


ต้องยอมรับว่า ความเข้าใจของผู้อ่านบันทึกกับความเข้าใจเนื้อหานั้น แตกต่างกันไปครับ นายบอนฟังความเห็นจากปากของสาวน้อยคนนี้แล้ว ได้แต่อมยิ้มครับ

ชื่อกฤษณา เป็นชื่อที่ไพเราะครับ หลายครอบครัว เลือกที่จะตั้งชื่อให้ลูกด้วยชื่อนี้  เหมือนชื่อสมชาย สมศักดิ์ ซึ่งชื่อที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “สม..” เป็นชื่อที่มีผู้ใช้มากมาย

แม้ว่าในบันทึกของครูอ้อย ที่กล่าวถึง ดช.กฤษณา อาจจะไม่มีความเห็นมากมาย เหมือนกับหลายบันทึกยอดฮิต
แต่บันทึกนี้ มีคนพูดถึงนะครับ

ทำให้รู้ว่า แฟนคลับของครูอ้อยที่กาฬสินธุ์ก็มีเหมือนกันเนาะ ซึ่งวัดจากบันทึกที่มีจำนวนความเห็นไม่มากจากเรื่อง ด.ช.กฤษณานี่แหละ

มีอีกข้อสังเกตหนึ่งจากผู้ปกครองของ ด.ช.กฤษณาที่กาฬสินธุ์ที่น่าบันทึกไว้ให้ครูอ้อยรับทราบ (ไม่รู้จะอ่านหรือไม่)

”ครูอ้อยเขียนบันทึกด้วยความรู้สึกที่ดี เวลาเขียนถึงคนอื่นๆ จะเขียนในแนวยกย่องชมเชย ให้เกียรติ แล้วถ่ายรูปมาโชว์ใบหน้า ให้คนอ่านได้รู้จัก แต่ทำไม ด.ช.กฤษณา เนื้อหาถึงออกมาในแง่ลบล่ะ หรือเพราะว่า เป็นเด็ก ไม่กลัวเสียภาพพจน์ของเด็กหรือ เคยเห็นคนอื่นๆเขียนบันทึกเรื่องพฤติกรรมของเด็ก  เล่าเรื่องราวในตอนที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แล้วเขียนถึงแนวทางแก้ไข เล่าถึงความเปลี่ยนแปลงไป การแก้ไขปัญหานั้นของผู้ปกครอง และตัวเด็กเอง ให้เป็นบันทึกในทางสร้างสรรค์ เป็นข้อคิดแก่ผู้อ่านและเด็กนักเรียนด้วย”

” ผู้ใหญ่หลายคนชอบทำร้ายเด็กโดยไม่รู้ตัว บางคนกล่าวตำหนิข้อบกพร่องของเด็กประถม แต่เด็กคนนั้นกลับจำคำตำหนินั้นไว้เป็นรอยด่างในใจไปจนตลอดชีวิต ถ้าครูอ้อยบันทึกถึง ด.ช.กฤษณา เปิดประเด็นขึ้นมาถ้าจะเล่าต่อถึงตอนต่อไปของ ด.ช.กฤษณาว่า พฤติกรรมของเขา ควรจะแก้ไขอย่างไร จะหาทางออกอย่างไร น่าจะให้ข้อคิดในทัศนะของครูอ้อยกับผู้ปกครองที่มีลูกตัวน้อยที่มีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกันไปด้วย เพราะอ่านบันทึกที่ครูอ้อยเขียนเกี่ยวกับ ด.ช.กฤษณาแล้ว นอนไม่ค่อยหลับเลย  ถ้ามีใครนำเรื่องราวของลูกชายของเราไปเขียนบันทึกในแง่ลบต่อเด็ก แล้วไม่ให้ทางออกไว้บ้าง  คงไม่มีใครสบายใจมากนัก “


เฮ้อ

บางที ถ้าได้รับรู้มุมมอง ความคิดเห็นจากผู้อ่านที่ไม่ค่อยจะเขียนความเห็นต่อท้ายบันทึกแบบนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่า คนเขียนบันทึกจะชอบหรือไม่

ความเห็นในมุมที่แตกต่างจากคนที่ไม่กล้าเขียนความเห็น (แต่ชอบพูดมากกว่า) ก็ได้ประเด็นใหม่ๆไม่แพ้ประเด็นที่ได้อ่านต่อท้ายจากแต่ละบันทึกเสียด้วยสิ

แต่ก็เอามาฝากโดยเฉพาะครับ เพราะความคิดเห็นแบบนี้ ใน gotoknow จะสามารถติดตามอ่านได้จากนายบอนเท่านั้น  เพราะชอบไปเก็บความเห็นจากภายนอก gotoknow มาบันทึกไว้ให้ครูอ้อยครับ



หมายเลขบันทึก: 66275เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2006 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะคุณบอน

  • ครูอ้อยเขียนแบบ ที่อยากจะเขียน..
  • บางครั้ง....ก็แล้วแต่มุมมองของท่านผู้อ่านนะคะ
  • ครูอ้อยไม่ขอ  แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณมากค่ะ

ขนาดไม่ขอแสดงความคิดเห็น แต่มอบให้ถึง 5 บรรทัด 55555

สวัสดีค่ะคุณบอน

ครูอ้อยเขียนถึง ด.ช.คมกฤษณ์ค่ะ  ไม่ใช่ ด.ช.กฤษณา

 

ผ่านไปตั้งหลายวันสติพึ่งจะเข้าร่างหรือครับ ถึงเห็นว่า ชื่อคนละกฤษณ์น่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท