การพัฒนางานดูแลผู้ป่วยภายหลังการได้รับยาระงับความรู้สึกในระยะพักฟื้นตลอด 24 ชั่วโมง


โศภิษฐ์ สุวรรณเกาวงษ์
โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี

ผลการศึกษา
- หลังการนำรูปแบบใหม่มาใช้ สามารถบริการผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น 54.30 % จาก 6,484 ราย มาเป็น 10,005 ราย PAR score ตามเกณฑ์การส่งผู้ป่วยกลับตึก เพิ่มขึ้นจาก 6,318 รายเฉพาะในเวลาราชการ มาเป็น 7178 รายในเวลาราชการ กับนอกเวลาราชการอีก 2632 ราย สรุปได้ว่า รูปแบบใหม่ที่ถูกสร้างจากทีมพัฒนางานบริการกลุ่มงานวิสัญญีวิทยานั้น เป็นรูปแบบที่ดี มีความเหมาะสมกับองค์การ เนื่องจากได้ผลผลิตและคุณภาพของงานมากขึ้น แต่ใช้ทรัพยากรเท่าเดิม ผลสำเร็จครั้งนี้ เกิดจากความเสียสละ ความมุ่งมั่นและความร่วมมือร่วมใจของวิสัญญีพยาบาลโดยใช้ผู้ป่วยเป็นศูนย์ กลาง การทำงานเป็นทีม การประยุกต์ผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางการพยาบาลกับศาสตร์ทางวิสัญญีวิทยาเข้า ด้วยกัน การทำให้วิสัญญีพยาบาลเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของและเกิดความภาคภูมิใจในรูป แบบ อีกทั้งยังเป็นการแสดงถึงบทบาทการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงอีกด้วย



จากการนำเสนอผลงานทางวิชาการ
การประชุมวิชาการประจำปีกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 13 ประจำปี 2548


หมายเลขบันทึก: 66357เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2006 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 14:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • อ่านแล้วแตยังไม่ค่อยเข้าใจ จึงให้ความเห็นไม่ได้ ครับ
แหม เหมือนอาจารย์มาคอยตรวจการบ้านเลยนะครับ
  • ลองขยายความรูปแบบใหม่อีกนิดจะเข้าใจมากขึ้น
  • สามารถบริการผู้ป่วยเพิ่มขึ้นได้เป็น 54.30% หมายความว่า เมื่อก่อนห้องพักฟื้นสามารถปฏิเสธการรับผู้ป่วยได้ด้วยหรือ น่าจะบอกเหตุผลอีกหน่อย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท