Dialogue กับพระเจ้า อาจไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด


. . . ช่างเป็นบทสนทนาที่สื่อตรงเข้าไปในใจได้อย่างชัดเจนจริงๆ เป็นการสื่อสารที่ให้ทั้งความเบิกบานและสร้างการตื่นรู้ เป็นการผสมผสานมิติทางวิทยาศาสตร์และจิตวิญญาณได้อย่างอัศจรรย์ใจ . . .

        ผมเคยสดุดตากับหนังสือที่มีชื่อว่า สนทนากับพระเจ้า: การพูดคุยที่ไม่ธรรมดา เล่ม 1” คำว่า Dialogue กับพระเจ้าทำให้ผมต้องหยิบหนังสือขึ้นมาดู (อย่างคร่าวๆ) แต่แล้วก็ต้องวางลง คงเป็นเพราะภาพกองหนังสือกองใหญ่ที่ยังไม่ได้อ่านที่บ้าน และข้อความที่บ่งบอกว่าหนังสือเล่มนี้เป็นเล่มที่ 1 ยังมีเล่มอื่นต่อ ทำให้ผมเกิดท้อใจ เพราะปกติไม่ใช่คนที่อดทนอ่านหนังสือยาวๆ หรือเล่มหนาๆ ได้

        แต่แล้วในวันหนึ่ง ผมก็ได้รับหนังสือเล่มนี้ทางไปรษณีย์จาก คุณอัฐพงศ์ เพลินพฤกษา บรรณาธิการแปล ผมอ่าน คำนำ คำนิยม แล้วก็อดถามตัวเองไม่ได้ว่าทำไมคราวที่แล้วจึงวางหนังสือเล่มนี้ลงไป ทั้งๆ ที่เนื้อหาในนั้น โดนใจ ผมค่อนข้างมาก . . . กลับมาถึงบ้านก็ลุยอ่านอยู่วันกว่าๆ . . . ช่างเป็นบทสนทนาที่สื่อตรงเข้าไปในใจได้อย่างชัดเจนจริงๆ เป็นการสื่อสารที่ให้ทั้งความเบิกบานและสร้างการตื่นรู้ เป็นการผสมผสานมิติทางวิทยาศาสตร์และจิตวิญญาณได้อย่างอัศจรรย์ใจ

        ทำให้ผมรู้สึกชื่นชมผู้เขียน นีล โดนัลด์ วอลซ์ เป็นอย่างยิ่ง และไม่แปลกใจเลยที่ฉบับภาษาอังกฤษของหนังสือเล่มนี้เป็น International Bestseller ส่วนผู้ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาไทยได้อย่างสวยงาม ก็คือคุณรวิวาร โฉมเฉลา ซึ่งเลือกใช้คำได้อย่างเหมาะเจาะและลึกซึ้งยิ่ง ทำให้ผมได้เรียนรู้ว่านักแปล ตัวจริง นั้นเป็นเช่นใด ผมได้เรียนรู้และได้มีโอกาสจดจำคำบางคำไปใช้ในงานแปลของผมด้วย

        ขอขอบคุณ คุณอัฐพงศ์ เป็นอย่างยิ่งที่ได้กรุณาส่งผ่านประสบการณ์และบทสนทนาอันมีค่ายิ่งนี้เข้ามาในชีวิตของผม สิ่งที่ในหนังสือเล่มนี้เรียกว่า พระเจ้า ได้สื่อกับผมว่า ถึงเวลาแล้วที่ผมจะต้องหยุดการค้นหา ในหน้า 145 ข้อความที่ลอยเด่นขึ้นมาก็คือ ชีวิตคือการสร้างสรรค์ ไม่ใช่การค้นหา ผมพูดกับตัวเองว่า อย่าเสียเวลาค้นหาอีกเลย!”

        ขอบคุณ คุณอัฐพงศ์ อีกครั้งครับสำหรับผลงานดีๆ ของสำนักพิมพ์ โอ้ พระเจ้า พับลิชชิ่ง (www.ohmygodbooks.com) ที่ออกสู่สังคมไทย และคงจะได้มีโอกาสพบกันในงานมหกรรมหนังสือที่กำลังจะมีขึ้นในปลายเดือนนี้นะครับ
คำสำคัญ (Tags): #book review#dialogue#god
หมายเลขบันทึก: 81988เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2007 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 17:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
ข้อความในblog ของอาจารย์สร้างแรงบันดาลใจให้ดิฉันเสมอมาค่ะ   ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

ชีวิตคือการสร้างสรรค์ ไม่ใช่การค้นหา
  ใช่เลยครับ การค้นหาโดยปราศจากการสร้างสรรค์ น่าเป็นห่วงครับ
   ระบบการศึกษาที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะหลงประเด็น  วนอยู่ในอ่าง ไปไม่ถึงไหนก็ด้วยเหตุที่เป็นกระบวนการชักชานคนให้ค้นหานี่แหละ จึงมีร่องรอย การค้นพบมากมายที่ไม่ได้แปรสภาพไปเป็นการปฏิบัติที่ก่อผลเป็นความสงบสุขของผู้คน เที่ยวตั้งวางอยู่บนหิ้งบนชั้น  เพราะสิ่งที่เรียกว่า การสร้างสรรค์ เกิดขึ้นน้อยกว่า การค้นหา  ชนิดเทียบกันไม่ได้เลย


ชีวิตคือการสร้างสรรค์ ไม่ใช่การค้นหา ขอบพระคุณอาจารย์ สำหรับคำพูดที่เป็นข้อคิด แรงกระตุ้นดีๆ ที่นำมาถ่ายทอดค่ะ

การ "ค้นหา" ที่ว่านี้ ผมตีความเอาว่า เป็นการหา "ที่ออกไปนอกตัว" ทั้งๆ ที่สิ่งที่ "ล้ำค่า" นี้ ทุกคนมีอยู่ในตัวมาตั้งแต่แรกแล้ว

ผมได้คำตอบแล้วว่า "ให้อยู่อย่างสร้างสรรค์ ให้อยู่กับปัจจุบันขณะ"

ดีใจที่ได้ทราบว่าอาจารย์ได้อ่านหนังสือเล่มนี้เหมือนกัน หลายประโยคในนั้นทำให้รู้สึกอะไรไปไกล อย่างตอนที่บอกว่า "หากเธอไม่เข้าข้างใน..เธอจะพร่องและออกมาภายนอก" ก็ทำให้ผมคิดอะไรต่อไปอีกหลายอย่าง ขอบพระคุณอาจารย์ที่นำสิ่งดีๆมาแบ่งปันครับ

ชีวิตที่สร้างสรรค์... ทำได้...จะสนุกสนานแค่ไหนน้อ การอยู่กับปัจจุบันขณะ เป็นส่วนหนึ่ง... ทำได้...ชีวิตจะเป็นสุข...ขอบคุณอาจารย์ที่ให้ข้อคิดดีๆ อีกครั้ง

ผมได้พบหนังสือเล่มนี้หลังจากที่เพิ่งซื้อหินธิเบตไปวันเดียวและตอนเช้าได้อธิษฐานขอให้ได้พบสิ่งที่ดีๆ ตอนบ่ายของวันต่อมาก็ไปที่ร้านหนังสือโดยไม่ได้ตั้งใจ ช่วงเวลานั้นรู้สึกว่าไม่ค่อยเต็มร้อย รู้สึกร่างกายโหลงเหลงเหมือนไม่มีแรง และอยากอาเจียร แล้วก็ได้เจอหนังสือเล่มนี้เสมือนรอให้ผมเป็นเจ้าของ กลับมาอ่านประมาณ หกโมงเย็นและอ่านจบเล่มเอาตอนตี 3

ผมได้พบสิ่งที่ไม่ธรรมดาสำหรับชีวิตนี้เสียแล้ว ตอนนี้ตั้งหน้าตั้งตารอ เล่ม 2 และ 3

สวัสดีค่ะ

P

ดิฉันไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ แต่พออาจารย์แนะนำ ก็น่าสนใจค่ะ

ดิฉันเลยคิดเอาเอง ไม่ทราบผิดหรือถูก ขออาจารย์ ช่วยแก้ไขด้วย เพราะตัวเอง ค่อนข้างจะด้อยเรื่องเกี่ยวกับปรัชญาชีวิตแบบนี้ แต่ก็สนใจนะคะ   ว่า

ทุกคนมีศักยภาพในทางสร้างสรรค์อยู่แล้วภายในตัวเอง

 สังคมใดที่สามารถสร้างภาวะที่เอื้ออำนวยให้สมาชิกในสังคม ของตน  ได้ใช้ศักยภาพนั้นได้มากที่สุดสังคมนั้นจะพัฒนาได้เร็วที่สุด ส่วนสิ่งอื่น เช่น ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ ลักษณะทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์  และนโยบายของรัฐ เป็นแค่ปัจจัยประกอบที่ช่วยชี้ทิศทางของการพัฒนานั้นๆ เท่านั้น

ปัญหาอยู่ที่ว่า ภาวะเอื้ออำนวยที่กล่าวมานั้น ก็สร้างไม่ง่ายเท่าใดค่ะ

พี่ sasinanda พูดได้ตรงใจผมมากครับ ที่ว่า:

 

ทุกคนมีศักยภาพในทางสร้างสรรค์อยู่แล้วภายในตัวเอง... สังคมใดที่สามารถสร้างภาวะที่เอื้ออำนวยให้สมาชิกในสังคมของตนให้ใช้ศักยภาพนั้นได้มากที่สุด สังคมนั้นจะพัฒนาได้เร็วที่สุด. . .

 

ที่เราส่งเสริมเรื่องการจัดการความรู้ในสังคมไทยก็ด้วยจุดประสงค์นี้ นี่แหล่ะครับ

 ขอบคุณสำหรับข้อความอันงดงาม และขออนุญาตนำไปใช้อ้างอิงนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท