beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

เรียนรู้จากท่านอธิการบดีม.มหิดล


จอมยุทธที่แท้จริง ต้องดูเหมือนไร้กระบวนท่า แต่ความจริง คือ มีทุกกระบวนท่าของทุกสำนัก

    ในการเสวนาเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2539 (UKM ครั้งที่ 7) เรื่อง สร้างสังคมแห่งภูมิปัญญา : การจัดการความรู้และการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง ณ ห้อง รอยัลเจมส์ ฮอลล์ โรงแรมรัยัล เจมส์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการบ้างเป็นธรรมดา

     และกำหนดการแรกที่เปลี่ยนคือ "กล่าวต้อนรับและจุดประกายสร้างสังคมแห่งปัญญา"  โดยท่านศาสตรจารย์เกียรติคุณพรชัย มาตังคสมบัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

     
   
 

ภาพท่านอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 
     

     เปลี่ยนเวลา จาก "9.15 เป็น 8.40 น." เนื่องจากท่านติดภาระกิจในที่อื่น เมื่อผมทราบกำหนดการที่เปลี่ยน ก็มีความคิดว่า "ถึงจะเลื่อนเวลาเป็นเร็วขึ้น แต่ท่านก็ได้ให้ความสำคัญกับงานนี้มาก โดยไม่ได้มอบหมายให้ท่านรองอธิการบดีท่านอื่นๆ มาทำหน้าที่แทน หรือเป็นมวยแทน เหมือนอย่างท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยอื่นๆ ชอบทำกัน"

    ที่มากล่าวนั้น น่าจะเป็นความประทับใจอย่างแรกครับ แต่เมื่อถึงเวลาเปิดงานจริงๆ ผมพยายามฟังท่านและเก็บประเด็นมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ

   เริ่มแรก ท่านทบทวนหลักการของความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย (ซึ่งผมได้ฟังเป็นครั้งแรก เพราะผมได้มาร่วมงาน UKM ครั้งแรก ในปี 2549 คือตั้งแต่ครั้งที่ 1/2549 - ครั้งที่ 3/2549) ว่าประกอบด้วยหลักการใหญ่ๆ 3 ข้อคือ

  1. จุดมุ่งหมายของ UKM ต้องชัดเจนตรงกัน (มุ่งมั่นในเป้าหมายเดียวกัน) นั่นคือ "การเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องระบบพัฒนาคุณภาพ"
  2. เป็นความร่วมมือที่เกิดจากความหลากหลายที่แตกต่าง (เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างกัน) กันของมหาวิทยาลัย ต้องทำให้เกิด "Synergy" (ซึ่งท่านอาจารย์หมอวิจารณ์เรียกว่า "สนธิพลัง") หมายถึง 7 มหาวิทยาลัยรวมพลังกัน คำตอบ ไม่ใช่ 7 แต่อาจเป็น 77 หรือ 777
  3. (สิ่งที่มักจะลืมกันไป คือ) ความเคารพนับถือซึ่งกันและกัน (ถือว่าเท่าเทียมกัน) เรียกว่า "การรวมกันแบบเสมอภาค" ไม่ควรให้ใครไป "Dominate" ใคร (หมายเหตุ beeman ในข้อ 3 นี้ Toyota เรียกว่า "Respect for People" แต่ท่านอาจารย์วิบูลย์อยากใช้คำว่า "Mutual trust")

     "ถ้าจะมองไปข้างหน้า หลักการทั้ง 3 ข้อข้างต้นต้องครบถ้วน"

     "ต้องทำให้พวกเรา (7 มหาวิทยาลัย) เป็นแบบอย่างให้เขา (มหาวิทยาลัยอื่นๆ) เลียนแบบ เพื่อยกระดับมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ"

     "ศาสตร์ ของการจัดการ คือ ต้องรวบรวมความรู้ทุกศาสตร์"

     "มหาวิทยาลัย ต้องเป็นสถานที่ให้โอกาสที่จะตอบสนองด้านการเรียนรู้ แก่สังคม"

     สุดท้ายส่งท้าย ผมเป็นคนชอบเรื่อง "วรรณกรรมจีน" ท่านอธิการกล่าวในทำนองว่า สำนักในจีน เช่น เส้าหลิน บู๊ตึ้ง ง่อไบ้ ล้วนมีกระบวนท่า แต่ จอมยุทธที่แท้จริง ต้องดูเหมือนไร้กระบวนท่า แต่ความจริง คือ มีทุกกระบวนท่าของทุกสำนัก ....

หมายเหตุ อ่านเรื่อง Synergy ได้จาก

  1. KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 104. สนธิพลัง
  2. Learning Reform : Synergy ระหว่างความรู้ฝังลึกกับความรู้แจ้งชัด
  3. มหาวิทยาลัยวิจัย : จุฬาฯ (3, จบ)

 

หมายเลขบันทึก: 39150เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2006 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ขอบคุณมากครับเก็บเกี่ยวได้เยี่ยมดีจริง
  • ตามมาขอเก็บไว้ใช้อ้างอิงนะครับ

เรียนท่านอาจารย์ Panda

  • ขอขอบคุณครับที่ตามมาเยี่ยมในหลายบันทึก
  • และจะยินดีมากถ้าหากนำไปอ้างอิงต่อครับ
  • แวะมาเยี่ยมและมาอ่านครับ
  • คงมีโอกาสได้ไปบ้างนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท