มหาวิทยาลัยวิจัย : จุฬาฯ (3, จบ)


มหาวิทยาลัยวิจัย : จุฬาฯ (3, จบ)

         ตอนที่ 3 นี้จะกล่าวเรื่อง ยุทธศาสตร์บูรณาการงานวิจัย  ต่อจากตอนที่ 1 (click) ซึ่งกล่าวถึงโครงสร้างปัจจุบัน   และตอนที่ 2 (click) ซึ่งกล่าวถึงโครงสร้างใหม่

จุฬาฯ คิดบูรณาการงานวิจัยเข้ากับกิจกรรมอย่างหลากหลายมาก
 - บูรณาการกับความสัมพันธ์ต่อวงการอุตสาหกรรม - ธุรกิจ
 - บูรณาการกับความสัมพันธ์ต่อชุมชน - ท้องถิ่น - งานบริการสังคม
 - บูรณาการกับภารกิจชี้นำสังคม
 - บูรณาการกับการเรียนการสอน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งบัณฑิตศึกษา
 - บูรณาการกับทิศทางการยกระดับการแข่งขันของประเทศ  โดยรัฐบาล
 - บูรณาการกับกระแสโลกาภิวัฒน์  และกระแสท้องถิ่นนิยม
 - บูรณาการกับทิศทางการสนับสนุนการวิจัยของแหล่งทุน
 - บูรณาการกับแผนพัฒนาเฉพาะด้านอีก 7 แผน  ได้แก่
  - การปฏิรูปกลุ่มวิจัยและระบบการบริหารจัดการงานวิจัย
  - การจัดการสารเคมีและของเสียอันตรายในมหาวิทยาลัย
  - การเลี้ยงและใช้สัตว์ทดลอง
  - การวิจัยสู่อุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
  - คุณธรรมและจริยธรรมการวิจัย
  - อุทยานวิจัยจุฬา
  - การสนับสนุนการจัดทำคลังปัญญาจุฬาเพื่อประเทศไทย

         ผมมีความเห็นว่า   การจัดการให้เกิดการบูรณาการแบบเกิด synergy จะเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุด   ผมเชื่อว่าการจัดการงานวิจัยให้เกิด synergy นี้จะต้องเป็น "การจัดการแบบไม่จัดการ"  คือจัดการแบบ empowerment   ฝ่ายจัดการคอย "จับภาพ" ความสำเร็จจากการที่หน่วยวิจัยย่อย/ทีมวิจัยบูรณาการกันเองและเกิดผลเชิง synergy ออกป่าวประกาศ   และคอยจัด forum ลปรร. วิธีบูรณาการกันเองระหว่างหน่วยย่อยจนเกิดความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่   และคอยไต่ถามจินตนาการของนักวิจัย   ส่งเสริมให้พัฒนาจินตนาการสู่แผนปฏิบัติที่สอดคล้องกับความเป็นจริงและหาทรัพยากรสนับสนุน

สถิติที่น่าสนใจของจุฬาฯ
      - ทุนวิจัยในป 2548 เป็นเงิน 1,458 ล้านบาท   เป็นเงินของจุฬาฯ เอง 30 ล้านบาท (2%)
      - สัดส่วนระหว่างทุนวิจัยภายในกับทุนวิจัยภายนอก   เปลี่ยนจาก 1:19 ในปี 2548   เป็น 1:48 ในปี 2548
      - จำนวน International Publication เพิ่มอย่างก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีหลังของปี 2548 จำนวน 787
      - จำนวนนักวิจัยที่ได้รับรางวัลระดับนานาชาติและระดับประเทศเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน   ในปี 2548 ได้รับรางวัลนานาชาติ 7 ท่านได้รับรางวัลระดับชาติ 16 ท่าน  ระดับสถาบัน 52 ท่าน
      - จำนวนนักศึกษาที่ได้รับรางวัลด้านการวิจัย
              - นานาชาติ 4
              - ระดับชาติ 5
              - ระดับสถาบัน 6
      - นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติปี 2548
              - ศ. นพ. ประพนธ์  ภานุภาค
              - ศ. ดร. นันทวัฒน์  บรมานันท์
              - ศ. ดร. ศุภชัย ยาวะประภาษ
              - ศ. ดร. สุภางค์  จันทวานิช
              - รศ. ดร. กาญจนา แก้วเทพ
              - ศ. ดร. สมหวัง  พิธิยานุวัฒน์
      - ตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย
              - Small - Lab Kit
              - Corecell Technology Co.,Ltd
              - Nanosilver Textile
              - วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน
              - ระบบการทำฟาร์มเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ
              - วัสดุทนไฟ
              - ชุดตรวจสอบยาต้านจุลชีพตกค้างในน้ำนมโคและเนื้อสัตว์
              - ชุดวัดค่าความเข้มข้นของก๊าซแอมโมเนีย
              - ระบบพยากรณ์คลื่นลม
              - CU Gibb/CU Tracd - E
              - ผลิตภัณฑ์ฆ่าหอยเชอรี่
              - เครื่องหมายการค้า CU Product & Services,  ผลิตภัณฑ์จามจุรี
      - ทรัพย์สินทางปัญญา
              - ได้รับ 2 สิทธิบัตร,  2 อนุสิทธิบัตร
              - อยู่ระหว่างจดสิทธิบัตร,  7 อนุสิทธิบัตร
              - technology licensing 4 รายการ
      - ศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยีร่วมทุนกับภายนอก 3 ศูนย์
              - Flexible semiconductor
              - Steel processing
              - สมุนไพรไทยรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
                   รวมเป็นเงินกว่า 100 ล้านบาท
      - มีผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด 10 รายการ
      - จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 รายการ กำลังดำเนินการจดทะเบียนอีก 1 รายการ
      - จัดตั้ง holding company 1 บริษัท

วิจารณ์  พานิช
 25 ธ.ค.48

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย#อุดมศึกษา
หมายเลขบันทึก: 11004เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2005 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท