อนุทินล่าสุด


พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ

วันอาสาฬหบูชาวันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่ศักดิ์สิทธิ์มากในทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวงซึ่งตรงกับวันที่ 16 ในปีนี้ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมแก่บรรพชิตทั้งห้า (ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร) และเป็นวันเริ่มต้นของพระรัตนะ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์.ในวันปฐมเทศนา พระพุทธเจ้าทรงแสดงทางสายกลางซึ่งหมายถึงนักบวชไม่ควรหมกหมุ่นในกาม (กามสุขัลลิกานุโยค) และไม่ควรทรมานกายให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค). ในท้ายที่สุด โกณฑัญญะซึ่งเป็นหนึ่งในนักบวชทั้งห้าได้ดวงตาเห็นธรรม (นักบวชทั้งห้า คือ โกณฑัญญะ, วัปปะ, ภัททิยะ, มหานามะ, และอัสสชิ) ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ได้แก่ 1. ความจริงอันประเสริฐ (อริยสัจ 4 ) คือ 1. ทุกข์ (ทุกขะ)2. เหตุเกิดทุกข์ (สมุทัย)3. วิธีดับทุกข์ (นิโรธ)4. ทางที่นำไปสู่ความดับทุกข์ (มรรค)2. ทางอันประเสริฐแปดประการ (มรรค 8) คือ1. ความเห็นถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ)2. ความคิดถูกต้อง (สัมมาสังกัปปะ)3.การพูดถูกต้อง (สัมมาวาจา)4.การทำงานถูกต้อง (สัมมากัมมันตะ)5.การเลี้ยงชีวิตถูกต้อง (สัมมาอาชีวะ)6.พยายามถูกต้อง (สัมมาวายามะ)7.การมีสติถูกต้อง (สัมมาสติ)8.การมีสมาธิถูกต้อง (สัมมาสมาธิ)3. กิจกรรมในวันวิสาขบูชา1. ทำความสะอาดบ้าน วัด หรือสถานที่อยู่อาศัยใกล้เคียง2. ชวนครอบครัวไปทำบุญ ตักบาตร3. นิมนต์พระมาแสดงธรรม หรือ ฟังธรรม4. ปฏิบัติธรรมในวัด รับศีล ฟังธรรม และเวียนเทียนรอบวัด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)อ.องครักษ์ จ.นครนายก

Where there’s a will, there’s a wayความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ

นิมิตตัง สาธุรูปานัง กตัญญูกตเวทิตา "ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายแห่งคนดี"

          พระพุทธเจ้าทรงตรัสอย่างชัดเจนว่า บุคคลดี (สัตบุรุษ)  จะต้องมีเครื่องหมายแห่งความดี  ๒ ประการ คือ  ๑. กตัญญู ได้แก่ การรู้พระคุณของบุคคลเหล่านั้น  ๒. กตเวที  ได้แก่ การตอบแทนพระคุณของบุคคลเหล่านั้นที่มีต่อเรา บุคคลที่พวกเราควรตอบแทนบุญคุญ เช่น มารดาบิดา  ครูบาอาจารย์  พระมหากษัตริย์  และผู้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ เป็นต้น

          บุคคลคนดีจะต้องหมั่นรำลึกนึกถึงพระคุณของท่าน  และตอบแทนบุญคุณของท่านอยู่เสมอ  นำสิ่งที่ดีที่มีค่าของท่านเหล่านั้นไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น และสิ่งที่สำคัญมากกว่านั้น ก็คือจะต้องสร้างความดีให้เกิดขึ้นกับตนเองก่อน

          ดังนั้น  วันเสาร์ที่  ๕  พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑  เวลา ๙. ๓๐ น – ๑๗.๐๐ น. จึงขอกราบเรียนเชิญทุกรูปทุกท่านร่วมงานในพิธีพระราชทานเพลิงศพท่านพระครูเขมบัณฑิต  (บัณฑิต  เขมบัณฑิโต – นกงาม น.ธ.เอก, ป.ธ. ๓)  อดีตเจ้าอาวาสวัดดวงแข  ณ  เมรุวัดดวงแข  แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน  กรุงเทพมหานคร



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ

โทษของการพูดไม่ถูกกาล

            บุคคลควรพิจารณาก่อนพูด  ถ้าพูดปราศจากการพิจารณา คำพูดอาจจะทำให้ตนเองได้รับความเดือดร้อน หรือทำให้พูดอื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งคำพูดบางประโยคอาจจะไปทำลายใจของคนอื่นโดยไม่รู้ตัว  พระพุทธเจ้าตรัสสุภาษิตในมงคล 32 ประการ ว่า “สุภาสิตา จ ยา วาจา    เอตัมมังฺคลมุตตมัง  การกล่าววาจาสุภาษิต เป็นมงคลอันสูงสุด” การอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันนี้ คำพูดนั้นเป็นสื่อที่ใช้มากที่สุดก็ว่าได้ วาจาสุภาษิตนั้น หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้ว คิดแล้วคิดอีกจึงพูดออกไป มิได้หมายความว่า อยากจะพูดอะไรก็พูดไปอย่างนั้น โดยขาดการพินิจพิจารณาเสียก่อน  เวลาพูดให้มีสติกำกับเวลาพูด  พูดน้อยไปก็จะทำให้การสื่อสารไม่สมบูรณ์  พูดมากไปก็เกิดโทษ  ไม่พูดเลยก็ยิ่งไม่รู้เรื่อง ดังนั้น การรู้จักพูดนั้นจึงเป็นคุณประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้พูดเองและผู้ฟังด้วย องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต มีทั้งหมด ๕ ประการด้วย คือ ประการแรก  พูดนั้นต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมา เพราะคำจริงแท้ ย่อมจะเป็นคำพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่บิดเบือน ไม่มีการต่อเติมเสริมแต่งให้ดูสมจริงสมจัง  หรือพูดทำลายน้ำใจผู้อื่น  ประการที่สอง พูดต้องเป็นคำที่สุภาพ เป็นคำพูดที่ไพเราะ ซึ่งได้กลั่นกรองออกมาจากใจที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่คำที่หยาบคาย ประชดประชัน  ส่อเสียด  ฟังแล้วก็ระคายหู คิดถึงก็ขุ่นมัว   



ความเห็น (1)

โทษของการพูดไม่ถูกกาล

          บุคคลควรพิจารณาก่อนพูด  ถ้าพูดปราศจากการพิจารณา คำพูดอาจจะทำให้ตนเองได้รับความเดือดร้อน หรือทำให้พูดอื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งคำพูดบางประโยคอาจจะไปทำลายใจของคนอื่นโดยไม่รู้ตัว  พระพุทธเจ้าตรัสสุภาษิตในมงคล 32 ประการ ว่า

“สุภาสิตา จ ยา วาจา    เอตัมมังฺคลมุตตมัง  การกล่าววาจาสุภาษิต เป็นมงคลอันสูงสุด”

          การอยู่ร่วมกันในสังคมมนุษย์ที่มีการติดต่อสัมพันธ์กันนี้ คำพูดนั้นเป็นสื่อที่ใช้มากที่สุดก็ว่าได้ วาจาสุภาษิตนั้น หมายถึง คำพูดที่ผู้พูดได้กลั่นกรองไว้ดีแล้ว คิดแล้วคิดอีกจึงพูดออกไป มิได้หมายความว่า อยากจะพูดอะไรก็พูดไปอย่างนั้น โดยขาดการพินิจพิจารณาเสียก่อน  เวลาพูดให้มีสติกำกับเวลาพูด  พูดน้อยไปก็จะทำให้การสื่อสารไม่สมบูรณ์  พูดมากไปก็เกิดโทษ  ไม่พูดเลยก็ยิ่งไม่รู้เรื่อง ดังนั้น การรู้จักพูดนั้นจึงเป็นคุณประโยชน์ทั้งต่อตัวผู้พูดเองและผู้ฟังด้วย องค์ประกอบของวาจาสุภาษิต มีทั้งหมด ๕ ประการด้วย คือ

          ประการแรก  พูดนั้นต้องเป็นคำจริง ไม่ใช่คำพูดที่เสกสรรปั้นแต่งขึ้นมา เพราะคำจริงแท้ ย่อมจะเป็นคำพูดที่ไม่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ไม่บิดเบือน ไม่มีการต่อเติมเสริมแต่งให้ดูสมจริงสมจัง  หรือพูดทำลายน้ำใจผู้อื่น

          ประการที่สอง พูดต้องเป็นคำที่สุภาพ เป็นคำพูดที่ไพเราะ ซึ่งได้กลั่นกรองออกมาจากใจที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่คำที่หยาบคาย ประชดประชัน  ส่อเสียด  ฟังแล้วก็ระคายหู คิดถึงก็ขุ่นมัว  

          ประการที่สาม พูดต้องก่อให้เกิดประโยชน์ คือ เป็นผลดีทั้งแก่ผู้พูด และผู้ที่ได้รับฟัง คำพูดนั้นแม้จะเป็นความจริง สุภาพ แต่หากพูดไปแล้วไม่เกิดประโยชน์  เราก็ไม่ควรพูด เพราะมันจะก่อให้เกิดโทษมากกว่า  

      ประการที่สี่ พูดด้วยจิตด้วยเมตตา มีความปรารถนาดีจริงๆ  ไม่ใช่เสแสร้งแกล้งทำไป  ต้องออกมาจากใจที่บริสุทธิ์  หรืออยากจะให้ผู้ฟังได้รับประโยชน์และมีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป 

      ประการที่ห้า พูดถูกกาลเทศะ  พูดถูกกาล  คือรู้ว่าเวลาไหนควรพูด  เวลาไหนควรนิ่ง พูดถูกเทศะ ก็คือถูกสถานที่ รู้ว่าสถานที่อย่างนี้ควรพูด หรือไม่ควรพูดอย่างไร เป็นต้น 

          หากเราพูดผิดพลาดแม้เพียงครั้งเดียวอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างที่คาดไม่ถึงได้  เหมือนดังเรื่องที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ที่พระบรมศาสดาทรงนำมาเล่า ปรารภถึงการพูดที่ไม่ถูกกาลเทศะของภิกษุชื่อว่า โกกาลิกะ สุดท้ายถึงความฉิบหาย

            เราจะได้เห็นว่า การพูดที่ไม่ถูกกาลเทศะนั้น ไม่เป็นผลดีต่อตนเองเลย มีแต่จะก่อให้เกิดผลเสียหายตามมา  ทั้งยังทำให้ไม่เป็นที่รักเพราะคำพูดที่มากจนเกินพอดี  หรือพูดทำลายใจผู้อื่นด้วยปราศจากการพิจารณาจะทำให้คนอื่นมีความอึดอัดใจ  บางครั้งหากพลั้งพลาดไปก็เอากลับคืนมาไม่ได้  เหมือนธนูที่ปล่อยออกจากแล่งไปอย่างนั้น ดังนั้น ก่อนที่เราจะพูดต้องหมั่นฝึกสติให้ดี ให้มีสติก่อนที่จะพูดออกไป หัดพูดด้วยวาจาสุภาษิต มีความอ่อนน้อมต่อผู้น้อยและผู้ใหญ่  ถ้าทำได้อย่างนี้ ทุกถ้อยคำของเราจะเป็นคำที่มีประโยชน์ เป็นขุมทรัพย์ที่มีค่าเกินกว่าจะสรรหาคำใดๆ มาเปรียบเทียบได้ เพราะเป็นถ้อยคำที่จะน้ำใจของทุกๆ คนให้ได้พบกับแสงสว่างของชีวิต

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ

เหตุเกิดแห่งความรักตามหลักพระพุทธศาสนา 

                ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลถามว่า   เพราะเหตุไรหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าก็เฉย ๆ หัวใจก็หมางเมิน แต่บางคนพอเห็นกันเท่านั้นก็เกิดความรัก ” ( คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ พอได้เห็นกันแค่เพียงครั้งแรกเท่านั้นก็เกิดความรักความผูกพันปานประหนึ่งว่ารักกันมานานแสนนาน เหมือนกับคนเอาน้ำหอมตั้งพันหม้อมารดราดที่หัวใจ  ส่วนคนบางคน พอได้เห็นกันครั้งแรกก็เหมือนจุดไฟเป็นพันกองไว้ในหัวใจ เกิดความรู้สึกไม่พอใจกันอย่างไม่มีเหตุผล หรือเกลียดกัน )  

             ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแสดงเหตุแห่งความรักแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า “ ปุพฺเพว   สนฺนิวาเสน    ปจฺจุปฺปนฺนหิเตน วา   เอวนฺตํ   ชายเต   เปมํ     อุปฺปลํว  ยโถทเกติ ฯ  ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการ  คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อนประการ ๑  ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบันประการ ๑ เหมือนดอกอุบล เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดได้ เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ  คือ น้ำและเปือกตม  ฉะนั้น”  ( คือ ธรรมดาความรักนี้ ย่อมเกิดด้วยเหตุ ๒ ประการ คือได้เคยเกิดเป็นมารดา บิดา ธิดา บุตร พี่ น้อง สามี ภรรยา หรือมิตรสหายกันมาในภพก่อน เคยอยู่ร่วมกันมาในภพก่อน ความรักนั้นยังคงติดตามไปแม้ในภพอื่น เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อนอย่างหนึ่ง อีกเหตุผลหนึ่ง ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะความเกื้อกูลกันในปัจจุบันอันได้ทำในอัตภาพนี้ ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุผล ๒ ประการนี้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่เกิดในน้ำก็เกิดได้เพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือน้ำและเปือกตม ฉันใด ความรักก็ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการ ฉันนั้น อนึ่ง หากว่าใครต้องการเป็นสามีภรรยาอยากอีกในชาติต่อไป จะต้องมีเหตุร่วมกัน ๔ อย่าง คือ ๑. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ๒. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ๓. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ) ๔. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ

การได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก

โฉ มนุสฺสปฏิลาโภ    กิจฺฉํ มจฺจานํ ชีวิตํ

กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ       กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท

การได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก    ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก

การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นการยาก   การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก”

การได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นเป็นของยาก ต้องอาศัยกำลังความเพียรในการสั่งสมความดีอย่างยิ่งยวด พระพุทธองค์ทรงอุปมาความยากในการเกิดเป็นมนุษย์ไว้ว่า “ในท้องทะเลกว้างใหญ่สุดจะประมาณ มีเต่าตาบอดทั้งสองข้างอยู่ตัวหนึ่ง ทุกๆ หนึ่งร้อยปี จะโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ ๑ ครั้ง และในท้องทะเลนี้มีห่วงที่พอดีกับหัวเต่าลอยอยู่อันหนึ่ง โอกาสที่เต่าตาบอดจะโผล่หัวขึ้นมา แล้วเอาหัวสอดเข้าไปในห่วงพอดี มีความยากเพียงใด โอกาสที่จะได้เกิดเป็นมนุษย์นั้นมีความยากยิ่งกว่า”

 เมื่อเกิดมาแล้ว การที่จะรักษาชีวิตให้ดำเนินอยู่บนเส้นทางของการสร้างความดีไปได้ตลอดรอดฝั่งก็ทำได้ยาก เพราะภัยและอันตรายต่างๆ ที่เกิดกับชีวิตของเรามีอยู่รอบตัว  และการที่จะได้มีโอกาสฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นสิ่งที่หาได้ยาก  ในโบราณกาลผู้คนต่างแสวงหาความรู้อันแท้จริง และปรารถนาที่จะสนทนากับนักปราชญ์บัณฑิตเพื่อที่จะได้ดำเนินชีวิตให้ถูกต้องตามคำสอนอันประเสริฐ พระโพธิสัตว์แต่ลพระองค์ กว่าจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ต้องสร้างารมีกันยาวนานหลายอสงไขยกัปทีเดียว ท่านสร้างบารมีทุกรูปแบบ แม้บางชาติจะพลัดไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน แต่ท่านก็ยังคงสร้างบารมี เพื่อมุ่งหวังพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ การอุบัติขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ จึงเป็นการยากอย่างนี

 ดังนั้น พวกเราเกิดมาเป็นมนุษย์ไม่ควรตกอยู่ในความประมาท ควรหมั่นทำความดีประจำสม่ำเสมอ ที่ละน้อยเดียวก็เต็ม  ดังพระพุทธวจนะ“น้ำหยดลงหม้อที่ละหยดย่อมเต็มฉันใด  บุรุษพึงกระทำบุญที่ละน้อยย่อมเต็มฉันนั้น  เพราะเราไม่รู้ว่าความตายจะมีในวันนี้หรือพรุ่งนี้”



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ   คือ  การกระทำที่เกิดเป็นบุญเป็นกุศลแก่ผู้กระทำ 

 ๑. บุญสำเร็จได้ด้วยการบริจาคทาน  คือ บุญอันเกิดจากการเสียสละสิ่งของรวมถึงการให้ธรรมทานเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น   ๒. บุญสำเร็จได้ด้วยการรักษาศีล คือ การตั้งใจรักษาศีลและการปฏิบัติตนไม่ให้ละเมิดศีล ๓. บุญสำเร็จได้ด้วยการภาวนา  คือ บุญอันเกิดจากการภาวนา อบรมจิตละกิเลส  ๔. บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่  คือ การให้ความเคารพผู้ใหญ่และผู้มีพระคุณ  ๕. บุญสำเร็จได้ด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ คือ บุญอันเกิดจากการกระทำความดีที่เกิดประโยชน์ต่อคนโดยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา เช่น การชักนำบุคคลให้มาประพฤติปฏิบัติธรรมมีทาน ศีล ภาวนา เป็นต้น  ๖. บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ คือ การอุทิศส่วนบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ ให้แก่สรรพสัตว์ทั้งปวง การบอกให้ผู้อื่นได้ร่วมอนุโมทนาด้วยทั้งมนุษย์และอมนุษย์ ได้ทราบข่าวการบุญการกุศลที่เราได้กระทำไป   ๗. บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา  คือ บุญอันเกิดจากการได้ร่วมอนุโมทนา เช่น สาธุ  เพื่อเป็นการยินดีและขอมีส่วนร่วมในความดีของบุคคลอื่น ถึงแม้ว่าเราไม่มีโอกาสได้กระทำก็ขอให้ได้มีโอกาสได้แสดงการรับรู้ด้วยใจปีติยินดีในบุญกุศลนั้น  ๘. บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม คือ บุญเกิดจาการตั้งใจฟังธรรมและนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์  ๙. บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม คือ บุญเกิดจากการแสดงธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น  ๑๐. บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง คือ บุญเกิดจากการกระทำความเห็นที่เป็นมิจฉาทิฏฐิให้เป็นสัมมาทิฏฐิ บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ ผู้ใดได้ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งหรือยิ่งมากจนครบ ๑๐ ประการแล้ว ผลบุญย่อมเกิดแก่ผู้ได้กระทำมากตามบุญที่ได้กระทำ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ

พระพุทธองค์ตรัสไว้ ๔ ประการ ที่ไม่ว่าใครก็ทำแทนไม่ได้ แม้แต่พระองค์ก็ทำแทนไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า เราแม้ใครจะมีอิทธิฤทธิ์มากมายเพียงใดแต่ก็มีสี่ประการที่ไม่สามารถทำได้พุทธสาวกถามพระพุทธองค์ว่า “ในเมื่อพระองค์เป็นผู้ที่มี ความเมตตา แลมีอิทธิฤทธิ์มากมายไม่มีประมาณแล้ว เหตุใดเล่ายังมีคนที่ลำบากอยู่ ” พระพุทธองค์ตรัสตอบว่า “พระองค์แม้จะมีอิทธิฤทธิ์มาก เพียงไรแต่ก็ไม่สามารถดลบันดาลหรือเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ได้เพราะวิบากกรรมที่ทำกันไว้เป็นเรื่องแต่ละบุคคลที่สั่งสมกันมาข้ามภพข้ามชาติ” 1. ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิบากกรรมได้ ใครสร้างกรรมเอาไว้ไม่มีใครรับแทนได้คนนั้นต้องรับเอง 2. ปัญญาให้กันไม่ได้ ต้องฝึกฝนเอาเองถึงจะเกิดปัญญาได้ 3. ความศรีวิไลของธรรมะ ไม่สามารถสื่อทางภาษาได้ ความจริงแท้ในจักรวาลต้องใช้การปฏิบัติหนทางเดียวเท่านั้นเพื่อพิสูจน์ความจริง 4. คนที่ไม่มีวาสนา ฝนแม้จะตกทั่วฟ้า ก็ยังไม่เกิดประโยชน์กับหญ้าที่ไร้ราก พระธรรมแม้จะกว้างใหญ่ไพศาลก็ยากที่จะโปรดคนไร้วาสนาคนที่ไม่ได้สั่งสมบุญมาด้วยกันต่อให้พระมาโปรดก็ไม่ศรัทธาและไม่เข้าใจพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า“เป็นการยากที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นการยากที่พบพระพุทธศาสนา เป็นการยากที่จะได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เป็นการยากที่พระพุทธเจ้าจะอุบัติมา”เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราจึงควรเห็นคุณค่าของ การเกิดเป็นมนุษย์ อย่าให้เสี่ยโอกาส เสียเวลา ไปโดยเปล่าประโยชน์ เอาใจใส่รักษาความเป็นมนุษย์ไว้ให้มั่นคง ถึงจะเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วก็ตาม แต่จิตใจก็เป็นไปได้ใน ๒ ทางคือใจต่ำ เป็นอกุศลจิต ใช้ชีวิตอย่างประมาท ขาดสติ เป็นทางของสัตว์เดรัจฉาน เปรต ยักษ์ สัตว์นรกใจสูง เป็นกุศลจิต ดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ปัญญา ไม่ประมาท สร้างกุศลกรรมความดี สร้างบารมี เป็นทางของมนุษย์ เทวดา พรหม อริยมรรค อริยผล นิพพานดังนั้นสำหรับการเกิดเป็นมนุษย์ในชาติหนึ่ง การเลือกทางดำเนินชีวิตของ….เราจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สมดังพระพุทธพจน์ที่ทรงตรัสว่า  กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉํ มจฺจานํ ชีวิตํ  กิจฺฉํ สทฺธมฺมสฺสวนํ กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท  การได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก  การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นการยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก”



ความเห็น (2)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พระมหาศุภชัย แซ่เถียร (อชิโต)
เขียนเมื่อ

การทำบุญอุทิศให้ผู้ตายในวาระครบรอบวัน  (สมวาร)

นิยมมี 3 วาระ คือ

            ครบรอบ 7 วัน เรียกว่า ทำบุญสัตมวาร

            ครบรอบ 50 วัน เรียกว่า ทำบุญปัญญาสมวาร

            ครบรอบ 100 วัน เรียกว่า ทำบุญศตมวา

"ปุพเพเปตพลี" หรือ "การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตาย"

เริ่มมีมาในครั้งพุทธกาล สมัยที่พระเจ้าพิมพิสารสร้างวัดเวฬุวันถวายแด่องค์สมเด็จพระสัมสัมพุทธเจ้า แต่พระองค์ยังไม่กรวดน้ำอุทิศบุญให้พระญาติของพระองค์ที่ล่วงไปแล้ว ตกเย็นมาเหล่าเปรตที่เคยเป็นพระญาติของพระองค์ในชาติก่อน ๆ ได้มาปรากฎตัวให้เห็นถึงความทุกข์ทรมาน พระเจ้าพิมพิสารจึงทูลถามพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ตรัสว่า เปรตเหล่านั้นเป็นพระญาติของพระองค์ในชาติก่อน มาปรากฏให้เห็นเพื่อที่จะขอส่วนบุญจากพระองค์ 

ลำดับนั้นพระเจ้าพิมพิสารก็ได้กรวดน้ำอุทิศส่วนบุญที่พระองค์ได้ทำให้แก่ญาติที่เป็นเปรตเหล่านั้น  จนเป็นธรรมเนียมของการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ผู้ตายของชาวพุทธเราจวบจนปัจจุบันนี้   ดังนั้น เมื่อเรานึกถึงคุณความดีของผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็ควรทำบุญอุทิศให้ผู้ตายโดยเฉพาะพ่อแม่พี่น้องครูอาจารย์  หรือญาติ ๆ ที่มีอุปการคุณแก่เรา เราควรตอบแทนบุญคุณท่านด้วยการทำบุญไปให้ เป็นหน้าที่อีกอย่างของบุตรธิดา ลูกศิษญ์ที่ต้องทำเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท