อนุทินล่าสุด


Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ตำนานผาแดงนางไอ่

ชื่อรายการตำนานผาแดงนางไอ่

ปีที่ขึ้นทะเบียนพ.ศ. ๒๕๕๔

ภูมิภาคภาคเหนือ

สาระสำคัญโดยรวม

เป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาถึงมูลเหตุที่ทำให้เกิดหนองหาน จังหวัดสกลนคร และอุดรธานี เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรักสามเส้าโศกนาฏกรรมระหว่างนางไอ่ ท้าวผาแดง และท้าวภังคี ในเรื่องมีการแข่งขันจุดบั้งไฟ  เมื่อท้าวภังคีซึ่งคือพญานาคผู้แปลงตัวเป็นกระรอกเผือกถูกทำร้ายจนถึงแก่ความตาย พญานาคผู้เป็นบิดาจึงบันดาลให้เกิดเมืองล่มจมสู่บาดาล เกิดเป็นตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาถึงหนองน้ำใหญ่ที่มีเมืองล่มอยู่ภายใต้หนองน้ำนั้น ตำนานเรื่องนี้จึงชี้ให้เห็นโทษของการทำลายธรรมชาติ (พญานาค) จนทำให้เมืองมนุษย์ล่มสลาย

ตำนานเรื่องนี้ใช้อธิบายภูมิศาสตร์และภูมินามในหลายสถานที่ในสกลนครและอุดรธานี ในปัจจุบัน มีการใช้ตำนานเรื่องนี้ในประเพณีบุญบั้งไฟด้วยเนื่องจากในตำนานมีเรื่องของการแข่งขันจุดบั้งไฟ ในขบวนแห่บั้งไฟในปัจจุบันจึงมีการนำเสนอตัวละครผาแดง-นางไอ่ด้วย

ข้อมูลจาก http://ich.culture.go.th/index...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

แนะนำหนังสือ ความสุขของกะทิ 

           

กะทิเป็นเด็กผู้หญิงคนหนึ่งที่ต้องจากกับแม่ตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งแม่ของเขาไม่เคยสัญญาว่าจะกลับมา เขาอาศัยอยู่กับตายายที่บ้านริมคลอง กะทิรอแม่ทุกวัน ทุกๆเช้าเสียงของกระทะกับตะหลิวที่ยายทำกับข้าวจะปลุกให้กะทิตื่นขึ้นทุกวัน ภาพในบ้านไม่มีรูปถ่ายของแม่เลย ไม่เคยมีใครพูดถึงแม่ของเขา ซึ่งตอนนี้กะทิก็จำหน้าของแม่ไม่ได้แล้ว ทุกวันที่กะทิไปโรงเรียนยายจะทำสารพัดเมนูไข่ใส่ปิ่นโตให้กะทิไปกินที่โรงเรียน กะทิอยากให้แม่ไปรับเขาที่โรงเรียนบ้าง ละกะทิก็มีพี่ทองที่เป็นเด็กวัดเป็นเพื่อนมาตั้งแต่เด็ก วันหนึ่งกะทิได้ปีนเข้าไปเล่นในโอ่งแล้วได้ยินเสียงของตาพูดกับใครคนหนึ่งทางโทรศัพท์ว่า “จะให้รอจนโรงเรียนเปิดเทอมก่อนหรือ เรามีเวลานานขนาดนั้นจริงหรือ” กะทิใช้ชีวิตตามประสาเด็กธรรมดาคนหนึ่ง จนกระทั่งวันหนึ่งยายถามเขาว่า “กะทิอยากไปหาแม่ไหมลูก” จากนั้นตาก็เดินเข้ามาแล้วดึงกะทิเข้าไปกอด และบอกกับเขาว่า “แม่ป่วย ป่วยมาก ไปรักษาตัวมาหลายแห่งแล้ว แต่ไม่หาย”

    อ่านต่อได้ที่ http://khuncher.blogspot.com/2...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วิจารณ์วรรณกรรมเรื่องความสุขของกะทิ

วิจารณ์วรรณกรรมเรื่องความสุขของกะทิ

                จุดมุ่งหมายในการวิจารณ์วรรณกรรมในเรื่อง “ความสุขของกะทิ” นี้ เพื่อที่จะวิจารณ์ในเนื้อหาเรื่องราวของวรรณกรรมซีไรต์ในด้าน การถ่ายทอดเรื่องราว ความเป็นอยู่ที่เข้มแข็งของกะทิผู้ซึ่งเป็นตัวละครเอก และยังสามารถรับรู้ถึงบุคลิกภาพของตัวละครในเรื่องความสุขของกะทิอีกด้วยและยังสามารถช่วยให้ผู้ที่อ่านและศึกษาในวรรณกรรมเรื่องนี้ได้รู้ถึงความเป็นอยู่ที่สมบูรณ์ควรเป็นอย่างไร ความสุขปนความทุกข์เมื่อเกิดขึ้นแล้วแก้ไขได้อย่างไร จึงทำให้เป็นจุดมุ่งหมายในการวิจารณ์วรรณกรรมในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

                “ความสุขของกะทิ” เป็นนวนิยายของ งามพรรณ เวชชาชีวะ ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน หรือรางวัลซีไรต์ของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นนวนิยายขนาดสั้น ที่สามารถสื่อแนวคิดให้ผู้อ่านได้รับรู้ว่าชีวิตคนเรามีทั้งความสุขและความทุกข์ปะปนกันไป ได้เข้าใจโดยผ่านชีวิตของ เด็กหญิงวัย 9 ขวบ ที่ต้องผ่านการสูญเสียครั้งสำคัญ แต่เธอก็ยังมีคนใกล้ชิดคอยให้กำลังใจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผู้เขียนต้องการสื่อให้รู้ว่าชีวิตคนเรามีทั้งความสุขและความทุกข์และวรรณกรรมเรื่องนี้ยังได้ถูกสร้างเป็นภาพยนต์ในปี พ.ศ. 2552 ในชื่อเดียวกันว่า ความสุขของกะทิ หนังสือภาคต่อของ ความสุขของกะทิ ชื่อว่า ความสุขของกะทิ ตอน ตามหาพระจันทร์ และ ความสุขของกะทิ ตอน ในโลกใบเล็ก วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นววรณกรรมที่ทำให้ผู้อ่านบอกได้คำเดียวเลยว่า กินใจจับใจกรรมการอย่างมากเลยทีเดียว ฉะนั้นจึงจะขอวิจารณ์ในภาพรวมของวรรณกรรมในเรื่องนี้ 

อ่านต่อได้ที่ http://yokzuza44.blogspot.com/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

หลักการเขียนงานวิจารณ์
1.อ่านงานเขียนอย่างละเอียด
2.เข้าใจความหมายงานเขียน
3.วิเคราะห์ส่วนต่างๆของงานเขียนตามเชิงปฏิบัติ
4.เลือกประเด็นสำคัญ ไม่กว้างเกิน ข้อมูลเพียงพอ
5.ตั้งสมมติฐานในการตอบ
6.หาหลักฐานสนับสนุน
7.หาข้อสรุป

อ่านต่อได้ที่ http://mawintander.blogspot.co...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

Transcript of หลักในการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม

แนวทางการพิจารณาด้านกลวิธีการแต่ง 
การนําเรื่อง : การแนะนําตัวละคร ความเป็นมา/ที่มาของเรื่อง 
ปมปัญหา : เหตุการณ์ที่ตัวละครต้องเผชิญ / ตัดสินใจ 
วิกฤต : เหตุการณ์ที่บีบคั้นจนถึงขีดสุด 
จบเรื่อง : การคลี่คลายปมปัญหา จุดจบของเรื่อง 

หลักในการวิเคราะห์และวิจารณ์วรรณกรรม
1. อ่านเรื่องราวให้เข้าใจชัดเจน 
2. กําหนดขอบเขตวรรณกรรมที่จะวิเคราะห์ให้ชัดเจนว่าต้องการวิเคราะห์
ประเด็นใดบ้าง 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://prezi.com/bic5zt5fiozg...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

แนะนำหนังสือ แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย 

"แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย" เป็นเรื่องของแนวคิดและหลักการ ตลอดจนระเบียบวิธีสำหรับนำไปใช้ในการอ่านและศึกษาตัวบทวรรณคดี ซึ่งเรียกรวม ๆ ว่า "วรรณคดีวิจารณ์" บางทฤษฎีความลึกซึ้งและซับซ้อน และมาจากฐานคิดของนักคิดในวัฒนธรรมตะวันตก อาจจะไม่สอดคล้องเหมาะสมกับการศึกษาวรรณคดีไทยไปเสียทั้งหมด แต่ในความหลากหลายของทฤษฎีเหล่านี้ ก็เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเลือกนำมาใช้ได้ตามความเหมาะสม เพราะทฤษฎีวรรณคดีในปัจจุบัน ถูกมองว่าเป็นเสมือนกล่องเครื่องมือ หรือแว่นหลากสีที่สามารถเลือกใช้ในการศึกษาตีความและค้นหาความหมายจากตัวบทวรรณคดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งที่ใช้ศึกษาวรรณคดีได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่การศึกษาวรรณคดีในทุกวันนี้ มีแนวโน้มที่จะประยุกต์ใช้ทฤษฎีหลาย ๆ ทฤษฎีในเวลาเดียวกัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ลักษณะของเรื่องสั้น

  1. ความยาว อ่านภายในระยะเวลา 5-50 นาที หรือจำนวนคำประมาณ 2,000- 12,000 คำ
  2. โครงเรื่อง มีโครงเรื่องเดียว
  3. แนวคิด เสนอแนวคิดเดียว
  4. ตัวละคร ประมาณ 2-3 ตัว
  5. บทสนทนา ใช้ภาษาสมจริง สอดคล้องกับตัวละคร สภาพแวดล้อม
  6. ฉาก บรรยากาศ ต้องสมจริง สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง

ข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น

เรื่องสั้น (Short Story) เป็นรูปแบบการเขียนบันเทิงคดีที่มีต้นกำเนิดในประเทศ ตะวันตก เช่นเดียวกับนวนิยาย (Novel) เรื่องสั้น หมายถึง งานเขียนที่แต่งขึ้นเป็นเรื่อง มีขนาดสั้น และมีโครงสร้างเรื่องไม่ซับซ้อนมีแก่นเรื่องเดียว มีตัวละครน้อย เน้นพฤติกรรมของตัวละคร ในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าจะติดตามพัฒนาการของตัวละคร เรื่องสั้นบางเรื่องให้ความสำคัญต่อการ บรรยายความ หรือพรรณาความมากกว่าบทสนทนาของตัวละคร เรื่องสั้นทำให้ความเพลิดเพลิน มักจะอ่านจบในเวลาอันสั้น ไม่เกินครึ่งชั่วโมง เมื่อเทียบกับจำนวนคำ 1,000 – 10,000 คำ เรื่องสั้นไทย นับจากยุคของการปฏิรูปการศึกษา ในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ และการส่งนักเรียนไปศึกษาต่อในต่างประเทศ นับได้ว่าเป็นอิทธิพลในการเปลี่ยนแปลงในงานวรรณกรรม อิทธิพลในการรับแนวคิดและวิธีการ ประพันธ์แบบตะวันตก ส่งผลให้เกิดการสร้างงานเขียนประเภทบันเทิงคดีเปลี่ยนแปลงรูปแบบไป จากเดิมคือ แต่เดิมคนไทยนิยมแต่งเรื่องเป็นนิทาน นิยาย หรือเล่าเรื่องในรูปแบบของร้อยแก้ว และร้อยกรอง แต่เมื่ออิทธิพลตะวันตกเผยแพร่เข้ามา รูปแบบของการเล่าเรื่องก็เปลี่ยนไป เป็น เรื่องสั้นและนวนิยาย ในยุคแรกนั้น เป็นยุคของการแปลเรื่องสั้นจากฉบับอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อ มาก็มีผู้แต่งเรื่องตามทำนองเรื่องแปล จะแพร่หลายในหมู่ผู้มีการศึกษา ส่วนในระดับชาวบ้านยัง คงนิยมเรื่องจักร ๆ วงศ์ ๆ ในยุคสมัยต่อมามีการประกวดเรื่องสั้นไทยโดยมีองค์กรหลายกลุ่มตื่น ตัวและให้ความสำคัญกับงานวรรณกรรมมากขึ้น เช่น รางวัลปากกาทองของเดลิไทม์ รางวัลช่อ การะเกด รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน (SEA Write Award) ฯลฯ


ข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณคดีดนตรีและการแสดง

     การละครเป็นศิลปะที่มีศิลปะหลายแขนงเข้ามาเกี่ยวข้อง วรรณคดีไทยไม่ใช่วัฒนธรรมทางหนังสือฝ่ายเดียว แต่เป็นศิลปะซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด กับคีตศิลป์และนาฎศิลป์ ยากที่จะสามารถแยกออกจากกันได้ ความแตกต่างระหว่าง วรรณศิลป์ คีตศิลป์ และศิลปะการแสดง อยู่ที่วรรณศิลป์ใช้ภาษาเป็นสื่อกลาง เราต้องเข้าใจภาษานั้นก่อนจึงเข้าใจวรรณศิลป์ ในขณะที่คีต ศิลป์เป็นสิ่งที่เข้าใจและชื่นชมได้ง่ายกว่าแม้ในชนชาติต่างถิ่นต่างวัฒนธรรม ส่วนศิลปะการแสดง เป็นเรื่องของการแสดงแนวคิดและความบันเทิงให้กับผู้ชมในปัจจุบัน คือ ได้ชมภาพ คำพูด แสง ฉาก และการแสดง มิใช่เพียงแค่คำบรรยาย ศิลปะทุกประเภทเป็นการลอกเลียนแบบส่วน วรรณกรรมในบทละครเกิดขึ้นจากการเลียนแบบธรรมชาติในรูปแบบการกระทำที่มีความใกล้เคียง กันกับชีวิตจริงมากที่สุดไม่ใช่การบรรยาย ตัวอย่างเช่น ชนใดไม่มีดนตรีการ ในสันดานเป็นคนชอบกลนัก อีกใครฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ เขานั้นเหมาะคิดขบถอัปลักษณ์ หรืออุบายมุ่งร้ายฉมังนัก มโนหนักมืดมัวเหมือนราตรี และดวงใจย่อมดำสกปรก ราวนรกชนเช่นกล่าวมานี่ ไม่ควรใครไว้ใจในโลกนี้ เจ้าจงฟังดนตรีเถิดชื่นใจ (เวนิสวาณิช)

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณคดีกับศิลปะ

  • โครงสร้าง (Structure)
  • การประสานกัน (Harmony)
  • องค์ประกอบ (Composition)
  • ความขัดแย้ง (Contrast)
  • ความสละสลวย (Grace)
  • รูปลักษณะ (Form)
  • ความประณีต (Fineness) เช่น

ใบระกาหน้าบันบนชั้นมุข สุวรรณสุกเลื่อมแก้วประภัสสร ดูยอดเยี่ยมเทียมยอดยุคนธร กระจังซ้อนแซมใบระกาบัง นาคสะดุ้งรุงรังกระดึงห้อย ใบโพธิ์ร้อยระเรงอยู่เหง่งหงั่ง เสียงประสานกังสดาลกระดึงดัง วิเวกวังเวงในหัวใจครัน บานทวารลานแลล้วนลายมุข น่าสนุกในกนกดูผกผัน เป็นนาคครุฑยุดเหนี่ยวในเครือวัลย์ รูปยักษ์ยันยืนกอดกระบองกุม สิงโตอัดกัดก้านกนกเกี่ยว เทพเหนี่ยวเครือกระหวัดหัตถ์ขยุ้ม ชมพูพาลกอดก้านกนกรุม สุครีพกุมขรรค์เงื้อในเครือวง รูปนารายณ์ทรงขี่ครุฑาเหิน พรหมเจริญเสด็จยังบัลลังก์หงส์ รูปอมรกรกำพระธำมรงค์ เสด็จทรงคชสารในบานบัง (นิราศพระบาท)

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณคดีกับวัฒนธรรม

วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตขึ้น เพื่อความเจริญ ในวิถีชีวิตของมนุษย์ในส่วนรวมที่ถ่ายทอดกันได้ เลียนกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมคือสิ่งที่ เป็นผลผลิตของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา วัฒนธรรมคือ ความคิดเห็น ความรู้สึก ความประพฤติ และกิริยาอาการ หรือการกระทำใด ๆ ของมนุษย์ในส่วน รวมลงรูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบ ประเพณี เป็นต้น วัฒนธรรมคือมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

สุนทรียะด้านกวีโวหาร

1 . การใช้โวหารภาพพจน์ (figure of speech) เป็นศิลปะการใช้ภาษา เพื่อให้เกิด จินตนาการภาพอย่างชัดเจน ผู้แต่งอาจใช้ภาพพจน์ในการเปรียบเทียบรูปธรรมและนามธรรม เช่น การอุปมาอุปไมย ดังตัวอย่าง

  • อุปมา (Simile) คือ โวหารเปรียบเทียบของสองสิ่งว่าสิ่งหนึ่งคล้ายหรือ เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง คำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น เหมือน คล้าย ดุจ ดัง ดั่ง ดูราว กล ประหนึ่ง เพียง ราวกับ เฉก ครุวนา อุปมา พ่าง ประดุจ เช่น ฉัน เท่า เทียม เป็นต้น เจ้างามเนตรประหนึ่งนัยนาทราย เจ้างามขนงก่งละม้ายคันศรทรง เจ้างามนาสายลดังกลขอ เจ้างามศอเหมือนศอสุวรรณหงส์ เจ้างามกรรณกลกลีบบุษบง เจ้างามวงวิลาสเรียบระเบียบไร (จารึกวัดพระเชตุพนฯ) 
  • อุปลักษณ์ (Metaphor) คือ โวหารเปรียบเทียบของสองสิ่ง โดยเปรียบสิ่ง หนึ่งว่าเป็น หรือคืออีกสิ่งหนึ่ง ด้วยการใช้คำว่า เป็น เท่า คือ ชมผมเจ้าดำขลับ แสงยับยับกลิ่นหอมรวย ประบ่าอ่าสละสลวย คือมณีสีแสงนิล (กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก) 
  • ปฏิภาคพจน์ (Paradox) คือ การใช้ข้อความที่มีความหมายขัดกัน ตัวนางเป็นไทยสิใจทาส ไม่รักชาติรสหวานไปพาลขม ดังสุกรฟอนฝ่าแต่อาจม ห่อนนิยมรักรสสุคนธ์ธาร (กากีคำกลอน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ) 
  • อติพจน์ (Hyperbole) คือ การพูดเกินความจริงเพื่อเน้นความรู้สึก และเพื่อให้ เกิดผลในด้านอารมณ์ ตราบขุนคิริข้น ขาดสลาย แลแม่ รักบ่หายตราบหาย หกฟ้า สุริยจันทรขจาย จากโลก ไปฤา ไฟแล่นล้างสี่หล้า ห่อนล้างอาลัย 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

สุนทรียะด้านการใช้คำ

1. ความไพเราะของเสียงในภาษากวี

  • สัมผัส หมายถึง เสียงของคำที่มีความคล้องจองกัน
  • ลีลาจังหวะ คือ ความไพเราะของสียงสูงต่ำ สั้นยาว หนักเบา ที่เกิดจากถ้อยคำ สัมผัสกระทบกระทั่งกัน และการหยุดแบ่งจังหวะออกเป็นช่วง ๆ หรือตอน ๆ สลับกันไป รวมทั้ง การใช้คำประพันธ์ให้เหมาะแก่บรรยากาศ และเนื้อความ
  • การเล่นคำ

2. ความหมายของคำที่ไพเราะ ลึกซึ้ง และสะเทือนอารมณ์ เช่น คำเรียกหญิงอันเป็นที่รัก กัลยา กลอยใจ แก้วกับอก ขนิษฐา โฉมยง ทรามวัย นงลักษณ์ เสาวภาคย์ อรไท อ่อนไท้ คำเรียกดอกไม้ กุสุมาลย์ บุปผชาติ บุษบง สุมนา สุคันธชาติ สุมาลี เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

สุนทรียภาพทางภาษา

เมื่อกล่าวถึงวรรณคดี เป็นศิลปะที่ต้องมีสุนทรียภาพทางภาษา ผู้แต่งต้องพิถีพิถัน คำนึงถึงภาษาที่จะเสนอความคิดและต้องกำหนดเรื่องให้เหมาะสมด้วย รูปแบบวรรณคดีไทย สามารถแบ่งได้ 2 แบบ 1. การยึดลักษณะการแต่งเป็นหลัก คือ ร้อยแก้ว - ร้อยกรอง ในแต่ละประเภท ยังมี รูปแบบแยกย่อยออกไป เช่น ร้อยกรอง แบ่งเป็น กาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ เป็นต้น 2. การคำนึงถึงประโยชน์การใช้เป็นหลัก คือ

  • วรรณคดีบริสุทธิ์ (Pure Literature) เขียนขึ้นเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อ สนองอารมณ์โดยเฉพาะ ไม่มุ่งประโยชน์อย่างอื่นโดยตรง
  • วรรณคดีประยุกต์ (Applied Literature) เขียนขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อสั่งสอนอบรม เพื่อสดุดีวีรกรรม

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณคดีเป็นประณีตศิลปะ

นักปราชญ์ได้จัด วรรณคดี การวาดรูป การปั้นสลัก ดนตรี และการก่อสร้างเข้าไว้ใน พวกประณีตศิลปะ (Fine Arts) ส่วนศิลปะประเภทอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันและมีจุดหมายพ้องกัน คือการสร้างสรรค์ความงามก็อนุโลมเรียกประณีตศิลป์ด้วย เช่น การแสดงสุนทรพจน์ และการฟ้อน รำ ความจริง ความแตกต่างระหว่างศิลปะเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราจะเห็นได้โดยไม่ยากนัก การวาดรูป และการปั้นสลักเป็นศิลปะประเภทที่เลียนธรรมชาติ คือ เอาธรรมชาติเป็นหุ่น การวาดรูปต่างกับ การถ่ายรูป โดยนัยที่ว่าศิลปินผู้วาดย่อมวาดไปตามอารมณ์และทัศนะของตน บางคนอาจจะวาดต้น ไม้สีน้ำเงินหรือสีแดง บางคนใช้เพียงเส้นในการแสดงออก ส่วนการถ่ายภาพเป็นวิธีลอกแบบธรรมชาติโดยตรง

บุคลิกลักษณะของผู้ถ่ายมีส่วนประกอบน้อยที่สุด ทั้งสองวิธีมีลักษณะที่พ้องกันอยู่ คือ การยึดธรรมชาติ และเลียนแบบจำลองธรรมชาติเป็นหลัก การปั้นสลัก (sculpture) ก็จัดเข้าไว้ใน ศิลปะบางประเภทนี้ แต่ไม่ใช่การจำลองธรรมชาติโดยตรง วัสดุในการสร้าง เช่น สำริด หรือหิน อ่อน นั้นทำให้แตกต่างจากความเป็นจริง มีศิลปะประเภทหนึ่งที่ยากจะบอกว่าเป็นการเลียนธรรม ชาติ คือ ดนตรีและสถาปัตยกรรม ดนตรีที่ไพเราะไม่จำเป็นต้องเป็นดนตรีที่ประกอบขึ้นจากเสียงที่ เลียนธรรมชาติ เช่น เสียงที่หนัก เบา สูงต่ำ แหลม ทุ้ม ทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ดนตรีคือการ เรียงลำดับเสียงให้ไพเราะโดยการลำดับและเลือกเฟ้น

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib... 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

คำถาม

วรรณคดีกับวรรณกรรมแตกต่างกันอย่างไร?

คำตอบ

วรรณคดี คือ วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธาสามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน วรรณกรรม คือ งานหนังสือ งานประพันธ์ บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศสวรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน กฎ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนาคำปราศรัยสุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย 


ข้อมูลจาก https://guru.sanook.com/22086/



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณคดี หมายถึง  วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖

วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร

วรรณคดีแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท

๑.    วรรณคดีมุขปาฐะ

คือ วรรณคดี แบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น

๒.     วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรรคดีลายลักษณ์   เช่น ไตรภูมิพระร่วง พระอภัยมณี อิเหนา ลิลิตตะเลงพ่าย

อ่านต่อได้ที่ https://krupiyarerk.wordpress....



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมและวรรณคดี

เรียนภาษาไทยในคอมกับครูปิยะฤกษ์ในวันนี้   เรามาทำความรู้จักกับ  “วรรณกรรม”  และ  “วรรณคดี”  กันนะครับ  ว่าคำสองคำนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

          วรรณกรรม  ความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ คือคำว่า Literature หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่าง  ๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น ๒ ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่  วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก

ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น

อ่านต่อได้ที่ https://krupiyarerk.wordpress....



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ความหมายของ ซีไรต์ 

ซีไรต์ ทับศัพท์มาจากคำว่า  S.E.AWrite ซึ่งย่อมาจาก  SouthEast Asian Writers Awards  หมายถึง รางวัลวรรณกรรมที่มอบให้แก่นักเขียน 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่  บรูไน  กัมพูชา  อินโดนีเซีย  ลาว  มาเลเซีย  พม่า ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์  ไทย และเวียดนาม ชื่อเต็มในภาษาไทย คือ “รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน”  แต่มักจะเรียกย่อๆ ว่า "รางวัลซีไรต์" อันเป็นชื่อซึ่งรู้จักกันทั่วไปในวงการประพันธ์ของประเทศไทย

 

อ่านต่อได้ที่ http://www.dpu.ac.th/laic/page...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

-องค์ประกอบของเรื่องสั้น


อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/... 

            องค์ประกอบของเรื่องสั้น  องค์ประกอบของเรื่องสั้นนั้นเหมือนกับองค์ประกอบของนวนิยาย และองค์ประกอบของเรื่องบันเทิงคดี ดังต่อไปนี้    1.แก่นเรื่อง  คือ แนวคิดหรือจุดสำคัญของเรืองที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านทราบ    2.โครงเรื่อง คือ เค้าโครงเรื่องที่ผู้แต่งกำหนดไว้ก่อนว่าจะแต่งเรื่องไปทางใหน    3.ตัวละคร คือบทบาทสมมุติที่ผูแต่งกำหนด และเพราะเป็นเรื่องที่เน้นเเนวคิดผู้เขียนจึงสร้างตัวละครน้อย    4.บทสนทนา คือถ้อยคำที่ตัวละครใช้พูดจาโต้ตอบกัน    4.ฉาก คือสถานที่ที่เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง หมายรวมถึงเวลาสภาพสิ่งแวดล้อมนั้นๆ    5.บรรยากาศ คืออารมณ์ต่างๆ ของตัวละครที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5และมีอิทธิพลทำให้คล้อยตามไปด้วย


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ประเภทวรรณกรรมแนวการเมืองของวินทร์ เลียววาริณ
 
          วรรณกรรมแนวการเมืองของวินทร์ เลียววาริณ นั้นเป็นวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี ซึ่งหมายถึงวรรณกรรมที่สร้างขึ้นมาเพื่อความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน เป็นวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้น และประเภทนวนิยาย ซึ่งผู้เขียนได้เลือกศึกษาวรรณกรรมประเภทเรื่องสั้นของวินทร์ เลียววาริณ 2 เรื่อง คือเรื่อง"อาเพศกำสรวล" และ "สุนัขาธิปไตย" โดยนำมาจากหนังสือรวมเรื่องสั้น ชุดอาเพศกำสรวล ส่วนนวนิยายนั้นผู้เขียนเลือกศึกษา 1 เรื่องนั่นคือเรื่อง "ประชาธิไตยบนเส้นขนาน"  ที่เพิ่งได้รับรางวัลซีไร้ท ในปี 2540
       
    
      ผลงานแนวการเมือง
     
                   เรื่องสั้น

  • อาเพศกำสรวล (2537)
  • สุนัขาธิปไตย (2538)

 
                   นวนิยาย

  • ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน(2537)
  • ปีกแดง (2545)
  • หลังอานบุรี (2544)

 
 
                   นวนิยายที่แต่งร่วมกับ ปราบดา หยุ่น

  • ความน่าจะเป็นบนเส้นขนาน(7 เล่ม)

อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

-ลักษณะเด่นในวรรณกรรมแนวการเมืองของวินทร์ เลียววาริณ

อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/... 

         ลักษณะเด่น                วรรณกรรมแนวการเมืองของวินทร์ เลียววาริณ นั้นเป็นงานเขียนที่แปลกใหม่ เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในการจัดรูปเล่ม การนำเสนอเนื้อเรื่อง และสอดแทรกแนวคิด ซึ่งทำให้ผู้อ่านสัมผัสได้ถึงความแตกต่างจากงานเขียนอื่นๆ นอกจากนั้นวรรณกรรมแนวการเมืองของวินทร์ เลียววาริณ ยังนำเสนอการจบเรื่องแบบหักมุมได้ย่างน่าประทับใจทีเดียว            เรื่องสั้นอย่างอาเพศกำสรวล ถ่ายทอดฉากหิมะตกของหมู่บ้านบางจันทร์ ได้อย่างสมจริง และใช้การเปิดเรื่อง และการปิดเรื่องที่สอดคล้องกันได้อย่างดี นอกจากนั้นยังใช้ตัวละครในเรื่องแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประชาธิปไตย ได้อย่างน่าสนใจ  สำหรับเรื่องสุนัขาธิปไตยนั้น มีการเปรียบเทียบ เชิงล้อเลียนที่สมจริง และใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย           ส่วนนวนิยายเรื่องประชาธิไตยบนเส้นขนานนั้น มีการนำเสนอเรื่องได้อย่างสร้างสรรค์ ทั้งในเรื่องการเปิดเรื่อง และการปิดเรื่อง พร้อมทั้งมีการนำเสนอ แนวคิด และคติธรรมเกี่ยวกับอำนาจ การเมือง ในระบบประชาธิปไตยได้อย่างน่าสนใจ 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ความสำคัญของวรรณกรรมกับการเมือง
 
       "อิทธิพลของหนังสือ ปัจจัยสำคัญที่ก่อเกิดขบวนการของนักศึกษาประชาชนอันยิ่งใหญ่"
       "เมื่อสังคมมีการต่อสู้ปะทะกันทางการเมือง ในความหมายที่ไม่ต้องเปิดพจนานุกรม แต่
        เข้าใจได้ด้วยสามัญสำนึก วรรณกรรมก็ปรากฏออกมาอย่างแหลมคมตามไปด้วย"
                (ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ,วรรณกรรมในชีวิต:ชีวิตในวรรณกรรม)
 
        การเมืองส่งผลต่องานเขียนต่างผ่านวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม สภาพสังคม ความเป็น
อยู่ของคนในสังคม ในรูปของกฎหมาย ค่านิยม การปกครอง แบบอย่างของคนชนชั้นปกครอง
รวมถึงแรงกดดัน หรืออารมณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผู้เขียน จากเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ดังนั้น
มูลเหตุทางสังคมจึงทำให้วรรณกรรมมีผลสะเทือนต่อการเมือง หรือจะบอกว่าวรรณกรรมสะท้อน
ปัญหา ความเป็นอยู่ของคนในสังคม จากอำนาจทางการเมือง อำนาจการปกครอง อย่างเช่นประเทศ
เสรีนิยมจะมีทั้งนักเขียนที่ใช้ตัวเองเป็นหลัก และใช้สังคมเป็นหลักในการเขียน แต่ประเทศ
คอมมิวนิสต์ นักเขียนต้องคำนึงถึงกฎหมายก่อนจะเริ่มงานเขียน เพื่อความปลอดภัยของตน และ
สังคม ดังนั้นงานเขียนจึงมีความเกี่ยวโยงกับการเมืองเป็นอย่างมาก
 

https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ความเป็นมาของวรรณกรรม
 
           ปรากฏขึ้นครั้งแรกในพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2475 คำว่า วรรณกรรม
อาจเทียบเคียงได้กับคำภาษาอังกฤษว่า Literary work หรือ general literature ความหมายแปลตามรูปศัพท์ว่า
ทำให้เป็นหนังสือ ซึ่งดูตามความหมายนี้แล้วจะเห็นว่ากว้างขวางมาก นั่นก็คือการเขียนหนังสือจะเป็นข้อความสั้นๆ
หรือเรื่องราวสมบูรณ์ก็ได้ เช่น ข้อความที่เขียนตามใบปลิว ป้ายโฆษณาต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงบทความ หรือ
หนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มทุกชนิด เช่น ตำรับตำราต่าง ๆ นวนิยาย กาพย์ กลอนต่าง ๆ ก็ถือเป็นวรรณกรรมทั้งสิ้น
จากลักษณะกว้าง ๆ ของวรรณกรรม สามารถทำให้ทราบถึงคุณค่ามากน้อยของวรรณกรรมได้โดยขึ้นอยู่กับ
วรรณศิลป์ คือ ศิลปะในการแต่งหนังสือนั้นเป็นสำคัญ ถ้าวรรณกรรมเรื่องใดมีคุณค่าทางวรรณศิลป์สูง เป็นที่
ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นหนังสือดี วรรณกรรมก็อาจได้รับยกย่องว่าเป็น วรรณคดี 
          อย่างไรก็ตามการที่จะกำหนดว่า วรรณกรรมเรื่องใดควรเป็นวรรณคดีหรือไม่นั้น ต้องคำนึงถึงระยะเวลา
ที่แต่งหนังสือนั้นยาวนานพอควรด้วย เพื่อพิสูจน์ว่าคุณค่าของวรรณกรรมนั้นเป็นอมตะ เป็นที่ยอมรับกันทุกยุค
ทุกสมัยหรือไม่ เพราะอาจมีวรรณกรรมบางเรื่องที่ดีเหมาะสมกับระยะเวลาเพียงบางช่วงเท่านั้น ดังนั้นอาจสรุป
ได้ว่า วรรณคดีนั้นก็คือวรรณกรรมชนิดหนึ่งนั่นเอง กล่าวคือ เป็นวรรณกรรมที่กลั่นกรองและตกแต่งให้ประณีต
มีความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ อันเป็นคุณค่าของการประพันธ์ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง วรรณคดีนั้นเป็นวรรณกรรม
แต่วรรณกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นวรรณคดีเสมอไป

https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

   ประเภทของภาษาแบ่งเป็น 2 แบบ
    1.  วัจนภาษา  คือ  ภาษาพูด  ภาษาเขียน  เป็นภาษาที่มีระบบระเบียบวิธีในการใช้สำนวนภาษาที่สื่อสารในชีวิต
ประจำวันของมนุษย์มีดังนี้
              1.1  สำนวนภาษาสามัญ  เป็นภาษาที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน
              1.2  สำนวนภาษาการประพันธ์  มุ่งให้เกิดภาพพจน์  เกิดความสะเทือนอารมณ์  ใช้ในบทประพันธ์ร้อยแก้ว 
 และร้อยกรอง  ซึ่งบางคำ  บางสำนวน  ก็มีใช้ปะปนกับภาษาสามัญหรือภาษาสื่อมวลชนได้
              1.3  สำนวนภาษาสื่อมวลชน  เป็นสำนวนที่เราได้พบ  ได้ยินตามข่าวทางวิทยุ  โทรทัศน์  หนังสือพิมพ์เป็น
แบบฉบับเฉพาะ  เช่น  ใช้คำว่า  เปิดเผย  แทนคำว่า  แถลงหรือชี้แจง
              1.4  สำนวนภาษาใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์  เป็นภาษาที่ใช้ในการสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์  เช่น  ออนไลน์ 
แชท  เว็บไซต์  โพสต์

    2.  อวัจนภาษา  คือ  ภาษาที่ใช้สื่อความหมายโดยการใช้สีหน้า  ท่าทาง  การแต่งกาย  อาการเคลื่อนไหวมือ  แขน

นัยน์ตา  น้ำเสียง  ให้รู้ความหมายและอารมณ์ของผู้สื่อ

           วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์

https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท