อนุทิน 156484


Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

สุนทรียะด้านกวีโวหาร

1 . การใช้โวหารภาพพจน์ (figure of speech) เป็นศิลปะการใช้ภาษา เพื่อให้เกิด จินตนาการภาพอย่างชัดเจน ผู้แต่งอาจใช้ภาพพจน์ในการเปรียบเทียบรูปธรรมและนามธรรม เช่น การอุปมาอุปไมย ดังตัวอย่าง

  • อุปมา (Simile) คือ โวหารเปรียบเทียบของสองสิ่งว่าสิ่งหนึ่งคล้ายหรือ เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง คำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ เช่น เหมือน คล้าย ดุจ ดัง ดั่ง ดูราว กล ประหนึ่ง เพียง ราวกับ เฉก ครุวนา อุปมา พ่าง ประดุจ เช่น ฉัน เท่า เทียม เป็นต้น เจ้างามเนตรประหนึ่งนัยนาทราย เจ้างามขนงก่งละม้ายคันศรทรง เจ้างามนาสายลดังกลขอ เจ้างามศอเหมือนศอสุวรรณหงส์ เจ้างามกรรณกลกลีบบุษบง เจ้างามวงวิลาสเรียบระเบียบไร (จารึกวัดพระเชตุพนฯ) 
  • อุปลักษณ์ (Metaphor) คือ โวหารเปรียบเทียบของสองสิ่ง โดยเปรียบสิ่ง หนึ่งว่าเป็น หรือคืออีกสิ่งหนึ่ง ด้วยการใช้คำว่า เป็น เท่า คือ ชมผมเจ้าดำขลับ แสงยับยับกลิ่นหอมรวย ประบ่าอ่าสละสลวย คือมณีสีแสงนิล (กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก) 
  • ปฏิภาคพจน์ (Paradox) คือ การใช้ข้อความที่มีความหมายขัดกัน ตัวนางเป็นไทยสิใจทาส ไม่รักชาติรสหวานไปพาลขม ดังสุกรฟอนฝ่าแต่อาจม ห่อนนิยมรักรสสุคนธ์ธาร (กากีคำกลอน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ) 
  • อติพจน์ (Hyperbole) คือ การพูดเกินความจริงเพื่อเน้นความรู้สึก และเพื่อให้ เกิดผลในด้านอารมณ์ ตราบขุนคิริข้น ขาดสลาย แลแม่ รักบ่หายตราบหาย หกฟ้า สุริยจันทรขจาย จากโลก ไปฤา ไฟแล่นล้างสี่หล้า ห่อนล้างอาลัย 

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.baanjomyut.com/lib...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท