อนุทินล่าสุด


Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

สิงโตนอกคอก" คว้ารางวัลซีไรต์ 2560 ชื่นชมเนื้อหาท้าทายความคิด

 รวมเรื่องสั้น "สิงโตนอกคอก" คว้ารางวัลซีไรต์ 2560 ยกเนื้อหาท้าทายความคิดผู้อ่าน ภาษาง่ายแต่คมคาย

           วันที่ 6 ธันวาคม 2560 คณะกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ได้พิจารณาแล้ว มีมติว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปีพุทธศักราช 2560 ได้แก่ รวมเรื่องสั้น สิงโตนอกคอก ของ จิดานันท์ เหลืองเพียรสมุท โดยมีคำประกาศรางวัล ดังนี้

           รวมเรื่องสั้น สิงโตนอกคอก ของ จิตานันท์ เหลืองเพียรสมุท ซึ่งประกอบด้วยเรื่องสั้นจำนวน 9 เรื่อง มีเนื้อหาหลากหลายที่ตั้งคำถามและวิพากษ์ความเป็นมนุษย์ อำนาจนิยม มายาคติของความรู้และความเชื่อในสังคม ท้าทายความคิดของผู้อ่าน ทำให้ย้อนกลับมาใคร่ครวญถึงสังคมที่เราอยู่ในปัจจุบัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก

อ่านต่อได้ที่ https://hilight.kapook.com/vie...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ซีไรต์โพสต์ วันนี้เราลืมคนชื่อ ‘สืบ นาคะเสถียร’ นักพิทักษ์ป่า ผู้มีค่าหัวสูงกว่ากระทิงเล็กน้อย 

วินทร์ เลียววาริณ นักเขียนรางวัลซีไรต์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วินทร์ เลียววาริณ ถึง “สืบ นาคะเสถียร” ว่า ในวันแรกที่ สืบ นาคะเสถียร เริ่มทำงานที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2532 เขาจับไม้เถื่อนถึงกว่าสองร้อยท่อน การทำลายป่ามีมากกว่าการตัดไม้ มีทั้งการรุกล้ำ เผาป่า ตัดไม้ และการล่าสัตว์อย่างเป็นระบบ

นักล่าสัตว์มีสามประเภท หนึ่งคือมืออาชีพ ใช้รถยนต์หรือช้างเป็นพาหนะ หนึ่งคือนักล่าสมัครเล่น เป็นพวกมีเงิน ใช้อาวุธราคาแพง ล่าเพื่อสนองตัณหาของตัวเอง อีกหนึ่งคือกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้ป่า ชาวบ้านในหมู่บ้านสิบกว่าแห่งในเขตป่าสงวนฯล้วนอพยพมาจากที่อื่น บุกรุกป่าสงวนเอาไว้ทำไร่ ทว่ารายได้หลักมาจากการลักลอบตัดไม้และล่าสัตว์ป่าขาย

อ่านต่อได้ที่ https://www.khaosod.co.th/moni...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ตำนานอธิบายพิธีจุดบั้งไฟเพื่อขอฝน

ฝนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องอาศัยน้ำในการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และอาบกิน ในภาคเหนือ และภาคอีสานมีความเชื่อเหมือนกันว่า ผู้ที่คอยดูแลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล คือ พญาแถน มีตำนานทางอีสานเรื่องหนึ่งคือ พญาคันคาก ได้กล่าวถึงบทบาทหนึ่งที่ในการดูแลฝนฟ้าของพญาแถน ตามเรื่องเล่าว่า เดิมมนุษย์บูชาแถนอย่างสม่ำเสมอ แถนจึงบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ต่อมาพญาคันคากได้เป็นผู้ครองเมืองมนุษย์ เป็นผู้มีทศพิธราชธรรม มนุษย์จึงบูชาพญาคันคาก และเลิกบูชาแถน แถนจึงไม่ให้ฝนแก่มนุษย์ จึงเกิดภาวะอดอยากแห้งแล้ง ฝนไม่ตก ราษฎรทำไร่ทำนาไม่ได้ จึงเกิดข้าวยากหมากแพง ทำให้เดือดร้อนไปทั่ว พญาคันคากจึงรวบรวมกองทัพ เพื่อไปรบกับแถนบนเมืองฟ้า กองทัพพญาคันคากประกอบด้วยงู กบ เขียด คางคก มด ต่อ แตน เป็นต้น พญาคันคากได้รบกับแถน จนกระทั่งแถนยอมแพ้ และบอกว่า ต่อไปนี้ถ้าต้องการฝนเมื่อใด ก็ให้จุดบั้งไฟขึ้นมาบอก ตำนานเรื่องนี้ จึงเป็นที่มาของประเพณีการจุดบั้งไฟ เพื่อขอฝนจนทุกวันนี้


อ่านต่อได้ที่ http://kanchanapisek.or.th/kp6...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ตำนานอธิบายปรากฏการณ์จันทรคราสและสุริยคราส

ตำนานพื้นบ้านของไทยหลายถิ่น โดยเฉพาะทางภาคเหนือ เล่าถึงสาเหตุที่เกิดสุริยคราส และจันทรคราสไว้ว่า เดิมทีพระอาทิตย์ พระจันทร์ และพระราหู เป็นมนุษย์ และเป็นพี่น้องกัน อยู่มาวันหนึ่งทั้ง ๓ คนหุงข้าว เพื่อจะตักบาตร พระอาทิตย์กับจันทร์แย่งเอาข้าวสวยไปหมด เหลือแต่ข้าวไหม้ก้นหม้อให้ราหู ราหูจึงโกรธมาก เมื่อทั้ง ๓ คนตายไป ก็ไปเกิดเป็นพระอาทิตย์ พระจันทร์ และพระราหู ด้วยแรงอาฆาต พระราหูจึงต้องเข้าไปบังแสงพระอาทิตย์ และพระจันทร์ ทุกครั้งที่โคจรมาพบกันบนท้องฟ้า บางเรื่องก็เล่าว่า พระอาทิตย์ และพระจันทร์ ซึ่งเป็นพี่น้องกัน มีบ่าวชื่อว่า ราหู วันหนึ่งไปทำบุญที่วัด ราหูลืมนำช้อนตักแกงไปด้วย ต้องกลับไปเอาที่บ้าน เมื่อราหูเอาช้อนมาแล้ว สองพี่น้องได้ใช้ช้อนตีหัวราหูต่อหน้าผู้คน ราหูอับอาย และแค้นใจมาก จึงอธิษฐานว่า ชาติหน้าขอให้ได้พบกันอีก ถึงแม้พระอาทิตย์ และพระจันทร์ จะมีบุญวาสนาเพียงใด ก็จะพยายามทำให้มัวหมอง เป็นที่ขายหน้าแก่คนทั้งหลายให้ได้ พระราหูจึงคอยทีอยู่เสมอ เมื่อสบโอกาสก็จะแก้แค้น ทำให้พระอาทิตย์ และพระจันทร์มัวหมอง

อ่านต่อได้ที่ http://kanchanapisek.or.th/kp6...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

นิทานเทวปกรณ์หรือตำนานปรับปรา

นิทานเทวปกรณ์ หรือตำนานปรัมปรา เป็นเรื่องที่อธิบายถึงกำเนิดจักรวาล กำเนิดโลก กำเนิดมนุษย์ สัตว์ พืช หรืออธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ลม ฝน กลางวันกลางคืน จันทรคราส สุริยคราส ฟ้าแลบฟ้าร้อง ฯลฯ ตลอดจนเป็นเรื่องเล่า ที่ใช้อธิบายที่มาของพิธีกรรม

ตำนานปรัมปราที่อธิบายกำเนิดโลกและมนุษย์

ภาคเหนือมีตำนานปรัมปรา ที่แสดงให้เห็นความเชื่อดั้งเดิมเกี่ยวกับ แถน ว่า เป็นผู้สร้างมนุษย์ เชื่อว่า ชีวิตมนุษย์จะเป็นอย่างไร ก็ย่อมแล้วแต่แถนกำหนด แถนจะทำให้มนุษย์เจ็บป่วยได้ ถ้ามนุษย์ทำให้แถนไม่พอใจ มนุษย์จึงมีประเพณีบูชาเซ่นสรวงแถน ในตำนานของภาคเหนือกล่าวถึงแถนว่า เป็นผู้สร้างมนุษย์คู่แรก ที่มีชื่อว่า ปู่สังกะสา-ย่าสังกะสี หรือ ปู่สางสีและย่าสางไส้ โดยเล่าว่า ปู่สางสีและย่าสางไส้เป็นมนุษย์คู่แรก ซึ่งต่อมามีลูก ๑๒ คน ปู่สางสีและย่าสางไส้จึงเอาดินมาปั้นเป็นสัตว์ ๑๒ ตัว ให้ลูกเล่น สัตว์ ๑๒ ชนิดนี้คือ สัตว์ประจำปี ๑๒ ปี ได้แก่ หนู วัว เสือ กระต่าย นาค งู ม้า แพะ ลิง ไก่ หมา และช้าง ต่อมาลูกๆ ของปู่สางสีและย่าสางไส้ ก็แต่งงานกันเองระหว่างพี่น้อง และมีลูกหลานเหลนสืบต่อกันมา มนุษย์ทุกวันนี้จึงได้ชื่อว่า สืบเชื้อสายมาจากปู่สางสีและย่าสางไส้นั่นเอง ในตำนานพื้นบ้านอีสาน ก็มีความเชื่อว่า มีผู้สร้างโลก ผู้สร้างมนุษย์ และเรียก "คู่สร้าง" นี้ว่า ปู่สังกะสา - ย่าสังกะสี เช่นเดียวกับทางภาคเหนือ

อ่านต่อได้ที่ http://kanchanapisek.or.th/kp6...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้าน และความหมาย

“นิทาน”

ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 (2546, หน้า 588)
อธิบายความหมายไว้ว่า “นิทาน คือ เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก และนิทานอีสป เป็นต้น”

นอกจากนี้ยังมีท่านผู้รู้อธิบายความหมายไว้คล้ายๆกัน เช่น

กิ่งแก้ว อัตถากร (2519, หน้า 12) อธิบายว่า นิทาน หมายถึง เรื่องเล่าสืบต่อกันมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ แต่ก็มีอยู่ส่วนมากที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ และนอกจากนี้ยังอธิบายว่านิทานเป็นเรื่องเล่าทั่วไป มิได้จงใจแสดงประวัติความเป็นมา จุดใหญ่เล่าเพื่อความสนุกสนาน บางครั้งก็จะแทรกคติเพื่อสอนใจไปด้วย นิทานมิใช่เรื่องเฉพาะเด็ก นิทานสำหรับผู้ใหญ่ก็มีจำนวนมาก และเหมาะสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น

อ่านต่อได้ที่ https://www.baanmaha.com/%E0%B...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้าน (folktales) 

ในวิชาคติชนวิทยา (folklore) หมายถึง เรื่องเล่าที่เล่าต่อๆ กันมา จากคนรุ่นหนึ่งมาสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยไม่ทราบว่า ใครเป็นผู้แต่ง เช่น เราไม่สามารถบอกได้ว่า ใครแต่งนิทานเรื่องสังข์ทอง ปลาบู่ทอง โสนน้อยเรือนงาม ไกรทอง นางสิบสอง เพราะนิทานเหล่านี้ ถ่ายทอดโดยการเล่าจากความทรงจำต่อๆ กันมา เช่น ปู่ย่าตายายเล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่เล่าให้ลูกหลานฟัง หรือมีการแพร่กระจายจากท้องถิ่นหนึ่งไปสู่อีกท้องถิ่นหนึ่ง นิทานเรื่องเดียวกัน เช่น นิทานเรื่องสังข์ทอง จึงอาจมีหลายสำนวนได้ ขึ้นอยู่กับผู้เล่าแต่ละคน ผู้เล่าที่ต่างวัยกัน ผู้เล่าที่เป็นผู้หญิง ผู้เล่าที่เป็นผู้ชาย ผู้เล่าในแต่ละท้องถิ่น อาจเล่านิทานเรื่องเดียวกันต่างกันออกไป ทำให้เกิดนิทานสังข์ทองสำนวนต่างๆ ขึ้น ดังนั้น เมื่อเราศึกษานิทานพื้นบ้าน เราจึงไม่ควรตั้งคำถามว่า นิทานสำนวนใดถูกต้อง หรือสำนวนใดเป็นสำนวนต้นแบบ หากแต่เราควรยอมรับความหลากหลายของนิทานสำนวนต่างๆ ที่เล่ากันในท้องถิ่นต่างๆ หรือในบริบทต่างๆ และควรทำใจให้สนุกสนานไปกับรายละเอียด ที่อาจต่างกันไปในแต่ละสำนวน

อ่านต่อได้ที่ http://kanchanapisek.or.th/kp6...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

นิทานไทย เรื่องไชยเชษฐ์

ท้าวอภัยนุราช” เจ้าเมืองเวสาลี มีพระธิดาองค์หนึ่ง พระนามว่า “นางจำปาทอง” เพราะเมื่อนางร้องไห้จะมีดอกจำปาทองร่วงลงมา ครั้นนางจำปาทองเจริญวัยขึ้น นางได้นำไข่จระเข้จากสระในสวนมาฟักจนเป็นตัวและเลี้ยงจระเข้ไว้ในวัง ครั้นจระเข้เติบใหญ่ขึ้น ก็ดุร้ายตามวิสัยของมัน มันเที่ยวไล่กัดชาวเมืองจนชาวเมืองเดือดร้อนไปทั่ว ท้าวอภัยนุราชทรงขัดเคืองจึงขับไล่นางจำปาทองออกจากเมืองเวสาลี “นางแมว” ซึ่งเป็นแมวที่นางจำปาทองเลี้ยงไว้ได้ติดตามนางไปด้วย นางจำปางทองกับนางแมวเดินซัดเซพเนจรอยู่ในป่า ไปพบยักษ์ตนหนึ่งชื่อ “นนทยักษ์” ซึ่งกำลังจะไปเฝ้าท้าวสิงหลนางตกใจกลัวจึงวิ่งหนีไปพบพระฤๅษี พระฤๅษีช่วยนางไว้ นางจำปาทองกับนางแมวจึงขออาศัยอยู่รับใช้พระฤๅษีในป่านั้น

นิทานพื้นบ้านไทย วรรณกรรมไทย ไชยเชษฐ์

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องขายปัญญา

นิทานล้านนา เรื่องขายปัญญาในกาลก่อนนั้น… สติปัญญาความรู้ ความเฉลียวฉลาดปราดเปรื่องนั้น มีการนำเอามาขายดังสินค้าต่าง ๆ เช่นปัจจุบันนี้ ดังนั้น ตลอดเวลาจะมีผู้นำเอาความรู้หรือเอาตัวปัญญานี้มาขายเสมอ

วันหนึ่งในเวลาบ่าย แดดร้อนจัดจนเป็นเปลว มีชายคนหนึ่งนำเอาปัญญามาขาย โดยบรรจุตัวปัญญาลงในกระทอจนเต็มแล้ว หาบผ่านเปลวแดดมาจนถึงประตูเมือง ครั้นจะเข้าไปทันทีก็เกรงว่าอากาศร้อน ๆ เช่นนี้จะทำให้อารมณ์ของตนเสียไปได้…

นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องขายปัญญาอ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านไทย วรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่องสังข์ทอง

นิทานเรื่องสังข์ทอง อีกวรรณกรรมพื้นบ้านและเป็นนิทานพื้นบ้านไทย ที่มีเนื้อเรื่องมีความสนุกสนานและเป็นนิยมมีตัวละครที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ เจ้าเงาะซึ่งคือพระสังข์กับนางรจนา เป็นนิทานที่คนไทยในท้องถิ่นต่างๆ คุ้นเคยและชื่นชอบ ดังปรากฏแพร่หลายในท้องถิ่นต่างๆ หลากหลายสำนวนนอกจากความนิยมนิทานสังข์ทองในรูปแบบของวรรณกรรมแล้ว นิทานสังข์ทองยังมีความสัมพันธ์และบทบาทในวิถีชีวิตไทยด้านต่างๆ เช่น ชื่อสถานที่ สำนวนไทย เพลงพื้นบ้าน ปริศนาคำทาย ตำราพยากรณ์ชีวิต จิตรกรรม ตลอดจนศิลปะแขนงต่างๆ

นิทานพื้นบ้านไทย เรื่องสังข์ทอง

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านไทย เรื่องจันทโครพ

เจ้าชายจันทโครพ” แห่งเมืองพาราณสี …เมื่อเขาเติบโตเป็นหนุ่มได้ออกแสวงหาอาจารย์เพื่อรำเรียนวิชา …แล้วได้เจอกับพระฤๅษี ได้ร่ำเรียนวิชาจากท่านจนสำเร็จ จากนั้นจึงได้เดินทางกลับบ้านเมืองของตน …แต่ก่อนที่จะออกเดินทางฤๅษีได้มอบผะอบแก้วให้ …แล้วสั่งกำชับว่าห้ามเปิดจนกว่าจะถึงบ้านเมือง …แต่จันทโครพได้เสียสัตย์แอบเปิดผอบนั้นเสียก่อน …ซึ่งในผะอบมี “นางโมรา” ได้ปรากฏตัวออกมา จันทโครพก็ได้พานางโมราเดินทางต่อไป …แต่ระหว่างทางได้พบกับโจรป่า ซึ่งเห็นนางโมราเข้าจึงคิดแย่งชิง …จันทโครพก็ถูกโจรป่าฆ่าตาย (นางโมราเห็นจันทโครพตาย ก็ย่อมไม่ได้ตำแหน่งอัครมเหสีจึงไปอยู่กับโจรป่า เพราะจันทโครพสัญญาว่าจะมอบตำแหน่งอัครมเหสีให้)

นิทานพื้นบ้านไทย จันทโครพอ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/chanthakor...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน เรื่องนางแตงอ่อน

ที่เมืองนครศรี เจ้าเมืองนามว่าพระยาโกศรี มเหสีนามว่า ทองแดง มีโอรสนามว่า มหาวงศ์ ท้าวมหาวงศ์ชอบกีฬาชนไก่ วันหนึ่งไปต่อไก่ในป่ากับขุนสี่คน คือ ขุนเครือ ขุนคาน ขุนเค่ง และขุนทุ่มภู่ ได้ธิดาจระเข้ชื่อนางแตงอ่อน ผู้มีรูปกายเป็นมนุษย์มาเป็นมเหสี นางแตงอ่อนประสูติโอรส เมื่อท้าวมหาวงศ์ไปคล้องช้างในป่า นางจึงถูกหมู่มเหสีทั้งหลายเปลี่ยนโอรสของนางเป็นจรเข้ และโอรสจริงเอาไปลอยน้ำ เทพธิดาจึงนำไปเลี้ยงไว้บนสวรรค์ และตั้งชื่อว่า”สุริยง

นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน เรื่องนางแตงอ่อน


อ่านต่อได้ที่  https://bkkseek.com/nang-taeng...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ เรื่องลิลิตรพระลอ

ลิลิตพระลอ เป็นนิยายท้องถิ่นของไทยภาคเหนือ เข้าใจกันว่าเป็นเรื่องจริง ในหลักฐานพงศาวดารกล่าวว่า พระลอเป็นคนสมัยเดียวกับท้าวฮุ่ง จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.๑๖๑๖-๑๖๙๓ และยังสันนิษฐานกันว่า เมืองสรองคงจะเป็นตอนเหนือของอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ส่วนเมืองสรวงคงจะเป็นเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง

ลิลิตพระลอ เป็นวรรณคดีสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของไทย วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดวรรณคดีประเภทลิลิต ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่งและแต่งเมื่อใด มีผู้สนใจศึกษาค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับผู้แต่งและระยะเวลาในการแต่ง แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าแต่งในสมัยใด ระหว่างสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรือสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

อ่านต่อได้ที่นี่ https://bkkseek.com/%E0%B8%A5%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

แนะนำเรื่อง อสรพิษ 

เรื่องย่อ อสรพิษ (Venom)

          ณ หมู่บ้านแพรกหนามแดง ที่ตั้งอยู่ในชนบทแถบภาคกลางของไทย ยังมีเด็กชายพิการ ขาแขนข้างขวาลีบแปเพราะตกต้นตาล ความพิการของเขาได้กลายเป็นชื่อฉายาที่ใคร ๆ เรียก เขาคือ แป แปมีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียนเพียงชั้น ป.4 และต้องช่วยพ่อแม่ซึ่งมีอาชีพชาวนาและรับจ้าง โดยเลี้ยงวัวอยู่ในท้องนา ครอบครัวของแปมีความขัดแย้งกับทรงวาด ร่างทรงเจ้าแม่แพรกหนามแดงซึ่งเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลในท้องถิ่น เนื่องจากพ่อแม่ของเขาไม่เชื่อว่าทรงวาดจะเป็นร่างทรงจริง ทั้งยังขาดความเคารพเชื่อถือทรงวาดดังเช่นคนอื่น ๆ ซ้ำยังต่อต้าน เพราะเห็นว่าทรงวาดนั้นหลอกลวงชาวบ้านและใช้อิทธิพลของตนเพื่อผลประโยชน์ของตน โดยยึดที่ดินสาธารณะมาเป็นที่ดินของส่วนตัว โดยอ้างชื่อเจ้าแม่แพรกหนามแดง และแปเองก็มีเรื่องชกต่อยกับลูกชายเกเรของทรงวาด ทรงวาดจึงเกิดความไม่พอใจต่อเขาและ ครอบครัวอยู่ไม่น้อย


          เย็นวันหนึ่ง แปโชคร้ายถูกงูเห่ายักษ์ออกจากโพรงพุ่งเข้าฉก แต่แปก็ใช้มือข้างเดียวที่มีกำลังคว้าคองูยักษ์นั้นไว้ได้ทัน มันจึงยิ่งทวีความอาฆาต ตวัดรัดร่างของเขาไว้อย่างเหนียวแน่น เขาต้องทานกำลังของงูที่หมายจะฝังเขี้ยวพิษของมันลงบนร่างของเขาเพื่อเอาชีวิต เขาทรงตัวไว้ไม่อยู่จึงล้มลงฟาดกับซากขอนตาลที่ถูกโค่น หน้าตาบวมปูดบูดเบี้ยว เลือดกลบหน้า ทว่าคอของงูยังอยู่ในมือและงูก็ยังรัดเขาแน่น และยิ่งแน่นขึ้น เพื่อนฝูงที่อยู่รอบข้างต่างหนีกระเจิงกันไปตั้งแต่ที่งูปรากฏตัว ด้วยอิทธิพลความเชื่อของชาวบ้าน จึงไม่มีใครยื่นมือเข้าช่วย และยากที่จะช่วยได้ แม้แต่พ่อของเขาก็ถูกขัดขวาง เขาจึงต้องต่อสู้กับชะตากรรมของตนเองเพียงลำพัง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

 วรรณกรรมไทยปัจจุบัน(Contemporary literature)

            วรรณกรรมไทยปัจจุบันนั้นหมายถึง วรรณกรรม ในรูปแบบใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นร้อยแก้ว หรือร้อยกรอง ซึ่งขอบเขตของวรรณกรรมปัจจุบันนั้รนเริ่มตั้งแต่สมัยเริ่มแรกของวรรณกรรมร้อยแก้ว คือตั้งแต่สมัย รัชกาล ที่ 5 พ.ศ. 2442 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2553)

           วรรณกรรมประเภทร้อยแก้วในปัจจุบันจะอยู่ในรูปของ บันเทิงคดี เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน บทละคร  สารคดีเช่น  บทความ    หนังสือวิชาการ งานวิจัย ฯลฯ

       วรรณกรรมประเภทร้อยกรองในปัจจุบันเป็นวรรณกรรมที่แตกต่างจากเดิมคือเป็นวรรณกรรมที่ไม่เน้นวรรณศิลป์ทางภาษามากนัก ไม่เน้นในเรื่องของการใช้ภาษาแต่เน้นไปในเรื่องของการสื่อแนวคิด สื่อข้อคิดแก่ผู้อ่านมากกว่า  เช่น ใบไม้ที่หายไป ของ จิรนันท์ พิตรปรีชาเป็นต้น


อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

พิกุลทอง

นิทานพื้นบ้านไทยเรื่องพิกุลทอง เป็นนิทานพื้นบ้านภาคกลาง ที่มีเนื้อเรื่องสนุกสนาน เพลิดเพลิน และให้แง่คิดที่ดี จึงเป็นนิทานสอนใจ เป็นนิทานก่อนนนอน และเป็นนิทานเด็ก ไว้สอนเด็กได้ในเรื่องการทำความดี ด้วยบอกเล่าผ่านนิทานพื้นบ้านของไทยเรา

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วมีหญิงสาวสวย คนหนึ่งชื่อว่า “พิกุล” …กล่าวกันว่าเธอมีความสวยทั้งหน้าตาและ กิริยามรรยาท มารดาของเธอตายตั้งแต่เธอยังเล็กมาก ดังนั้นเธอจึงได้รับการเลี้ยงดูจากแม่เลี้ยงซึ่งเธอเองก็มีลูกสาวคนหนึ่ง ชื่อว่า “มะลิ” …แต่ก็โชคร้ายที่ว่าทั้งแม่เลี้ยงและลูกสาวของเธอนั้นเป็นคนใจร้าย ทั้งคู่จะบังคับให้พิกุลทำงานหนักทุกวัน

อ่านต่อได้ที่ https://bkkseek.com/%E0%B8%99%...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ปัญหาของวรรณกรรม (การสูญเสีย การทำลาย การไม่เห็นคุณค่า)

 

          1      การสูญเสีย

           1.1    ขาดการทำความเข้าใจในเรื่องของวรรณกรรม  ผู้ที่สนใจศึกษาไม่ทำความเข้าใจในการนำวรรณกรรมต้นฉบับไปใช้งาน โดยการเปลี่ยนแปลงสำนวนเนื้อหาของต้นฉบับเดิมด้วยอารมณ์และความรู้สึกของตนเองทำให้สำนวนเนื้อหาของวรรณกรรมนั้นสูญหายไปเรื่อย ๆ

          1.2    ขาดการเก็บรวบรวมไว้ในที่ปลอดภัย เช่น วรรณกรรมส่วนใหญ่จะอยู่ตามวัดวาอาราม ผู้ที่อยู่ในวัดอาจจะละเลยไม่ได้สนใจเวลามีการเปลี่ยนแปลงก่อสร้างวัดใหม่ก็อาจมีการทิ้งวรรณกรรมเหล่านี้ไป ด้วยเงื่อนไขที่ว่า “ไม่มีประโยชน์ และรกเกะกะ

          1.3    ขาดผู้สืบทอด และต่อยอดที่ให้ความสนใจอย่างแท้จริง ซึ่งในปัจจุบันนี้หน่วยงานของภาครัฐได้สนับสนุนให้สถาบันการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 “หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 27 ให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่จัดทำสาระของหลักสูตรตามวัตถุประสงค์ในวรรคหนึ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น  คุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัว  ชุมชน  สังคม  และประเทศชาติ” แต่กลับเป็นว่าสถาบันการศึกษาขาดผู้ที่ถ่ายเรื่องของวรรณกรรมท้องถิ่น ผู้เรียนจึงไม่ได้เรียนเรื่องของวรรณกรรมท้องถิ่นอย่างจริงจัง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้วรรณกรรมท้องถิ่นสูญหายไปก็เป็นได้

    

อ่านต่อได้ที่ http://oknation.nationtv.tv/bl...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

เพลงพื้นบ้านตะวันออกเฉียงเหนือ (เพลงพื้นบ้านของภาคอีสาน )ใช้ร้องเพื่อความสนุกสนานในงานรุ่งเรืองต่าง ๆ สามรถแต่งได้ตามกลุ่มวัฒนธรรม 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ กลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราชและกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึม ดังนี้

  1. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ ประกอบด้วยหมอลำและเซิ้งโดยหมอลำแบ่งการลำและการร้องออกเป็น 5 ประเภทคือ ลำเรื่อง ลำกลอน ลำหมู่ ลำเพลินและลำผีฟ้า ส่วนเซิ้งหรือคำร้อง จะใช้คำร้องรื่นเริง เช่น การแห่บั้งไฟการแห่นางแมว การแห่นางด้งโดยเนื้อเรื่องในการเซิ้งอาจเป็นการขอบริจาคเงินในงานบุญการเซิ้งอวยชัยให้พร หรือการเซิ้งเล่านิทานชาดกตามแต่โอกาส
  2. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเพลงโคราช เป็นเพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมานานในจังหวัดนครราชสีมา หรือโคราชซึ่งเนื้อเพลงมีลักษณะเด่นมนการเล่นสัมผัสอักษรและสัมผัสสระทำให้เพลงน่าฟังยิ่งขึ้น และยังมีเสียงร้อง ไช ชะ ชะ ชิ ชายพร้อมทั้งการรำประกอบแบบเยาะตัวตามจังหวะขึ้นลงซึ่งเพลงโคราชนี้นิยมเล่นทุกโอกาสตามความเหมาะสม
  3. เพลงพื้นบ้านกลุ่มวัฒนธรรมเจรียงกันตรึมที่นิยมร้องเล่นกันในแถบจังหวัดที่มีเขตติดต่อกับเขมร ได้แก่ บุรีรัมย์สุรินทร์ และศรีษะเกษ โดยคำว่ากันตรึม นั้นหมายถึงกลองกันตรึมซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักเวลาตีจะใช้จังหวะเสียงดัง โจ๊ะกันตรึม โจ๊ะตรึม ๆและเจรียงหมายถึง การขับหรือการร้องเพลงมี 2 แบบคือเจรียงใช้ประกอบการบรรเลงดนตรีกันตรึม ซึ่งเมื่อขับร้องไปท่อนหนึ่งดนตรีกันตรึมก็จะรับและบรรเลงยาว ต่อไปเป็นเจรียงดนตรีใช้ร้องในงานโดยจะขับร้องไปเรื่อย ๆ และมีดนตรีบรรเลงคลอไปเบา ๆซึ่งในการร้องเจรียงนั้นสามารถร้องเล่นได้ทุกโอกาสโดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาล

ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

เพลงพื้นบ้านภาคเหนือ 
        สามารถใช้ร้องเล่นได้ทุกโอกาส โดยไม่จำกัดฤดูหรือเทศกาลใดๆซึ่งใช้ร้องเพลงเพื่อผ่อนคลายอารมณ์และการพักผ่อนหย่อนใจโดยลักษณะการขับร้องและท่วงทำนองจะอ่อนโยน ฟังดูเนิบนาบนุ่มนวลสอดคล้องกับเครื่องดนตรีหลัก ได้แก่ ปี่ ซึง สะล้อ เป็นต้นนอกจากนี้ยังสามารถจัดประเภทของเพลงพื้นบ้านของภาคเหนือได้ 3 ประเภท คือ

  1. เพลงซอ ใช้ร้องโต้ตอบกัน โดยมีการบรรเลงปี่ สะล้อและซึงคลอไปด้วย
  2. เพลงจ๊อยเป็นการนำบทประพันธ์ของภาคเหนือมาขับร้องเป็นทำนองสั้น ๆโดยเนื้อหาของคำร้องจะเป็นการระบายความในใจ แสดงอารมณ์ความรักความเงียบเหงา มีนักร้องเพียงคนเดียวและจะใช้ดนตรีบรรเลงหรือไม่ก็ได้ เช่นจ๊อยให้กับคนรักรู้คนในใจจ๊อยประชันกันระหว่างเพื่อนฝูงและจ๊อยเพื่ออวยพรในโอกาสต่าง ๆ หรือจ๊อยอำลา
  3. เพลงเด็กมีลักษณะคล้ายกับเพลงเด็กของภาคอื่นๆ คือเพลงกล่อมเด็ก เพลงปลอบเด็กและเพลงที่เด็กใช้ร้องเล่นกันได้แก่ เพลงฮื่อลูก และเพลงสิกจุงจา

ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

เพลงพื้นบ้านภาคกลาง มีอิทธิพลมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ  การประกอบอาชีพวิถีการดำเนินชีวิต พิธีกรรม และเทศกาลต่าง ๆ โดยสามารถแยกประเภทได้ดังนี้คือ

  1. เพลงที่ร้องเล่นในฤดูน้ำมาก ได้แก่เพลงเรือ เพลงร่อยพรรษา เพลงรำภาข้าวสาร เพลงหน้าใย เพลงครึ่งท่อน เป็นต้น
  2. เพลงที่ร้องเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวและนวดข้าว ได้แก่ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นรำกำเคียวเพลงจาก ซึ่งใช้ร้องเล่นระหว่างเกี่ยวข้าว สำหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟางเพลงโอก เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว และเพลงชักกระดานใช้ร้องเล่นระหว่างนวดข้าว
  3. เพลงที่ร้องเล่นในช่วงตรุษสงกรานต์ ได้แก่เพลงสงกรานต์ ได้แก่ เพลงสงกรานต์ เพลงหย่อยเพลงระบำบ้านไร่ เพลงช้าเจ้าหงส์ เพลงพวงมาลัย เพลงสันนิษฐาน เพลงคล้องช้างและเพลงใจหวัง เพลงฮินเลเล เพลงกรุ่น เพลงยั่ว เพลงชักเย่อเพลงเข้าทรงต่าง ๆ เป็นต้น
  4. เพลงที่ร้องเล่นได้ทุกโอกาส เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน และเกิดความสามัคคีในหมู่คณะมักจะร้องเล่นกันในโอกาสทำงานร่วมกัน หรือมีงานบุญและงานรื่นเริงต่าง ๆโดยเป็นเพลงในลักษณะพ่อเพลงแม่เพลงอาชีพที่ใช้โต้ตอบกันได้แก่ เพลงเทพทองเพลงปรบไก่ เพลงอีแซว เพลงฉ่อย เพลงลำตัด เพลงทรงเครื่อง เป็นต้น

ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

บทบาทของวรรณกรรมท้องถิ่นมีหลายประการ เช่น

           ๑. ให้ความบันเทิง  วรรณกรรมท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการให้ความบันเทิงแก่บุคคลในสังคม ดังจะเห็นไดจากการเล่านิทานพื้นบ้านของภาคต่างๆ

          ๒. สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น  การถ่ายทอดวรรณกรรมท้องถิ่นประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเพลงกล่อมเด็ก เพลงอีแซว หรือนิทาน

           ๓. เป็นสื่อกลางระหว่างวัดกับประชาชน  ในท้องถิ่นของไทยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการสร้างสรรค์ เผยแพร่และอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่น

           ๔. ควบคุมพฤติกรรมของคนในสังคม  เนื่องจากวรรณกรรมท้องถิ่นส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา ดังนั้นแนวคิดและคตินิยมต่างๆ ที่ปรากฏในวรรณกรรมท้องถิ่นจึงมีส่วนสำคัญในการควบคุมความประพฤติของคนในสังคม

อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ประโยชน์ในการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่น

ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/...

๑. ทำให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเข้าใจความเชื่อ คตินิยม จารีตประเพณี ฯลฯ ของสังคมท้องถิ่น
 ๒. ทำให้ทราบคำที่ใช้ในท้องถิ่นต่างๆ วรรณกรรมท้องถิ่นที่เป็นลายลักษณ์นับเป็นแหล่งคลังคำของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
 ๓. การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นในสถาบันการศึกษา  เป็นวิธีหนึ่งในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
 ๔. ทำให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นทราบถึงความสามารถของกวีพื้นบ้าน ได้เรียนรู้ภาษาถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่น
 ๕. ทำให้ผู้ศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน๖. การศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเป็นการอนุรักษ์วรรณกรรมพื้นบ้านของไทยไว้ไม่ให้สูญหายไปก่อนเวลาอันควร


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ความหมายของวรรณกรรมท้องถิ่น

         การเขียนคำภาษาไทยให้ถูกต้องตรงตามแบบแผนนั้น นับเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง การเขียนคำภาษาไทยได้ถูกต้องเป็นการแสดงถึงความเข้าใจ และให้ความสำคัญอย่างลึกซึ้งกับภาษาซึ่งเป็นมรดกล้ำค่าของไทยแต่โบราณมา ทว่าในปัจจุบัน การเขียนภาษาไทยเป็นไปอย่างกว้างขวางทั่วถึง อีกทั้งภาษาไทยเป็นภาษาที่งดงามซับซ้อน มีตัวพยัญชนะถึง 44 ตัว มีคำพ้องรูป พ้องเสียงมากมาย จึงทำให้เกิดความสับสน ในการสะกดคำบางคำ นานวันเข้าจึงมีคำที่มักเขียนผิดมากมาย ผู้จัดทำเห็นความจำเป็นที่ควรจะรวบรวมคำที่มักเข่ยนผิดในภาษาไทย ซึ่งมักจะเป็นคำที่คุ้นเคยในการฟังและพูด แต่มักไม่ค่อยเขียน เมื่อต้องเขียนจึงเขียนผิด การรวบรวมคำที่มักเขียนผิด พร้อมทั้งค้นหาความหมายนั้นได้จัดเรียงลำดับตัวอักษรเพื่อให้ง่ายต่อการ ศึกษา และเกิดประโยชน์มากที่สุด


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ลักษณะของวรรณกรรมท้องถิ่น

ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/...

๑. ชาวบ้านเป็นผู้สร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในท้องถิ่นของตน ทั้งยังเป็นผู้ใช้ และผู้รักษาวรรณกรรมท้องถิ่น๒. ชาวบ้านหรือพระภิกษุเป็นผู้สร้างวรรณกรรมท้องถิ่นขึ้นมาเพราะมีใจรัก ไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อถวายพระมหากษัตริย์เหมือนวรรณคดีทั่วไป๓. ใช้ภาษาที่เรียบง่าย ภาษาที่ใช้เป็นภาษาถิ่นของแต่ละท้องถิ่น๔. เนื้อหาส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความบันเทิงใจ แต่เน้นเรื่องคติธรรมทางพุทธศาสนา๕. ไม่ได้มุ่งยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์มากนัก แม้ตัวละครเอกจะเป็นพระมหากษัตริย์๖.เสนอภาพสังคม วิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นนั้น๗. เสนอค่านิยมและอุดมคติทั่วไปเหมือนวรรณคดี แม้จะยกย่องพระมหากษัตริย์แต่ก็ไม่เน้นมาก


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ

วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ

    วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่มาจาก ปัญญาสชาดก
พื้นบ้านได้นำเนื้อหามาจากชาดกเรื่องนี้มาประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์
ของท้องถิ่น เช่น โคลง ค่าวธรรม ค่าวซอ เป็นต้น วรรณกรรมพื้นบ้าน
ภาคเหนือมี ๔ ประเภทคือ วรรณกรรมโคลง วรรณกรรมค่าวธรรม
วรรณกรรมค่าวซอ และวรรณกรรมเบ็ดเตล็ด แต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้

  ๑. วรรณกรรมโคลง

โคลง หรือเรียกตามสำเนียงท้องถิ่นภาคเหนือว่า กะโลง เป็นฉันทลักษณ์
ที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยราชวงศ์มังรายตอนปลาย กวีสมัยอยุธยาได้นำ
รูปแบบโคลงของภาคเหนือมาประพันธ์เป็น โคลงสอง โคลงสาม
และโคลงสี่ ตัวอย่างวรรณกรรมโคลงของภาคเหนือที่รู้จักกันแพร่หลาย
เช่น โคลงพรหมทัต โคลงเจ้าวิทูรสอนหลาน โคลงพระลอสอนโลก
โคลงปทุมสงกา เป็นต้น

อ่านต่อได้ที่ https://www.dek-d.com/board/vi...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท