อนุทินล่าสุด


Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ภาษา(Larguage)
 
             คำว่า "ภาษา" เป็นคำสันสกฤต ตรงกับคำบาลีว่า "ภาสา" และตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Larguage"
แปลว่าเสียงพูดของมนุษย์ (Human Speech) ตรงกับภาษาไทยว่า "คำ" หรือ "ความ" 
                  ภาษาคือระบบที่มีแบบแผนของพฤติกรรมทางเสียงที่เป็นนิสัยสมาชิกในสังคมใช้สื่อสารกัน เป็นขนวน
วิธีของมนุษย์ ไม่เกี่ยวกับสัญชาตญาณ เพื่อใช้สื่อความคิดอารมณ์ และความต้องการ โดยอาศัยระบบสัญลักษณ์ที่
สร้างขี้นมา เป็นภาพสะท้อน ภาพแสดง หรือ ตัวแทนของโลกวัตถุและความคิด หน้าที่หลักคืออธิบายโลกแห่งความ
เป็นจริง  โดยนักภาษาศาสตร์หมายเอาภาษาพูดเป็นหลัก ถือว่าภาษาเขียน(ตัวหนังสือ)ไม่ใช่ภาษาโดยตรง เพราะ
การเขียนหรือตีพิมพ์ เป็นเพียงวิธีถ่ายเสียงพูดเป็นตัวหนังสือเท่านั้น
                 คำจำกัดความของคำว่า ภาษาคือ 'ถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง'



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

 การใช้ภาษาในวรรณกรรมการเมือง
 
         การใช้ภาษาในวรรณกรรมการเมือง หมายถึง ลักษณะการใช้ภาษาของผู้เขียนในการแสดงภาพสะท้อนทางการเมือง เกี่ยวกับอำนาจรัฐ ทีใช้ในการปกครองคนสังคม ผ่านทัศนะของผู้เขียนออกมาในรูปของวรรณกรรมชนิดต่างๆ โดยการใช้ภาษาในที่นี้ไม่ได้หมายความถึงความถูกต้องตามหลักภาษา แต่เป็นการวิเคราะห์ลักษณะของภาษาที่ใช้ อย่างเช่น สำนวนในการเขียน การวางตัวละคร บทของเนื้อหา ความสมจริงของเนื้อเรื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้เน้นในเนื้อเรื่องที่เป็นวรรณกรรมเกี่ยวกับการเมืองเท่านั้น การเมืองในที่นี่ หมายถึงอำนาจของรัฐ การปกครองของรัฐต่อภาคสังคม ที่มีส่วนทำให้ผู้เขียนเกิดมุมมอง เกิดทัศนะคติในการเขียนวรรณกรรมชิ้นนั้นๆขึ้นมา
        ซึ่งความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ 
        นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)
        วรรณกรรมการเมืองในที่นี้ผู้เขียนเจาะจงศึกษาเฉพาะวรรณกรรมแนวการเมืองของวินทร์ เลียววาริณ เพื่อให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ตามศักยภาพของผู้ศึกษาเอง

 

https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

กำเนิดวรรณกรรมแนวการเมือง
 
      วรรณกรรมแนวการเมืองของไทยเริ่มปรากฏครั้งในยุคเริ่มแรก หรือยุคของวรรณกรรมแปล และ
วรรณกรรมแปลง พ.ศ.2443 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นยุคที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพราะ
อิทธิพลจากตะวันตกนั่นเอง การเปลี่ยนครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนในด้านต่างๆ แม้แต่ด้านวรรณกรรมเอง
การเปลี่ยนแปลงวรรณกรรมที่ชัดเจนเป็นการเปลี่ยนวรรณกรรมร้อยกรองของไทยมาเป็นร้อยแก้ว
ตามแนวตะวันตก มีการแปลและดัดแปลงเรื่องสั้น หรือ นวนิยายจากตะวันตก ซึ่งเป็นที่นิยมการมาก
และในช่วงนี้เองที่วรรณกรรมแนวการเมืองเกิดขึ้น อยู่ในรูปของบทความ บทวิจารณ์ทางการเมือง สังเกตได้จากบทพระราชนิพนธ์ในบทความของรัชกาลที่ 5 นักเขียนแนวการเมืองเช่น ต.ว.ส.วัณณาโภ และ ก.ร.ศ.กุหลาบ ช่วงนี้เป็นช่วงที่สังคมตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

     วรรณกรรมแนวการเมืองของไทย
 
 
      งานเขียนเขียนเกี่ยวกับการเมืองของไทยนั้นเริ่มขึ้นตังแต่สมัย พ่อขุนรามคำแหง แต่เป็นงานเขียนที่สะท้อนภาพความเป็นอยู่ และการปกครองของชนชั้นปกครองเป็นหลัก ไม่ได้สะท้อนภาพความเป็นอยู่ของประชาชนหรือชนชั้นล่างมากนัก และงานเขียนในยุคนั้นเป็นงานเขียนแนวร้อยกรองที่เน้นหนักไปทางการใช้ภาษาเพื่อความไพเราะ อ่านเพื่อความเพลิดเพลินทางภาษา นอกจากนั้นนักเขียนและประประพันธ์ในสมัยนั้นเป็นคนชนชั้นกลาง หรือคนในชนชั้นปกครองจึงทำให้งานเขียนแนวการเมืองมีน้อย  อีกประการหนึ่งในยุคนั้นไม่มีงานเขียนประเภทร้อยแก้ว มากนัก แต่ต่อมางานเขียนของไทยได้พัฒนามาเป็นงานเขียนในรูปแบบร้อยแก้ว หรือที่เรียกว่าวรรณกรรมปัจจุบัน
      หลังการเปลี่ยนแปลงของวรรณกรรมจากร้อยกรองมาเป็นร้อยแก้วนั้น วรรณกรรมแนวการเมืองของไทยจึงมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย นอกจากนั้นแล้วช่วงยุคนนี้เป็นยุคทีมีการต่อสู้ทางการเมือง มีวัฒนธรรมการศึกษามาจากตะวันตกทำให้วรรณกรรมแนวการมเมืองของไทยมีการพัฒนาควบคู่กับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีผลมาจากการปกครองไปด้วย ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากบทความวิจารณ์ การเมืองที่มีปรากฏในปี พ.ศ.2443 ซึ่งเป็นบทความวิจารณ์การทำงานของชนชั้นปกครอง มีการนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา หลังจากนั้นมาในยุคของประชาธิปไตยเบ่งบาน เป็นยุคที่ประชาชนมีความรู้มีการศึกษามากขึ้นทำให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงความคิดเห็นต่ออำนาจปกครองที่ไม่ชอบธรรม ส่งผลให้วรรณกรรมแนวการเมืองของไทยพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง กล่าวคือ กล้าวิจารณ์ กล้าต่อต้านการทำงานของรัฐมมากยิ่งขึ้น
        ปัจจุบันนี้วรรณกรรมแนวการเมืองนั้นมีปรากฏทั้งในรูปของ นวนิยาย เรื่องสั้น บทความ  สารคดี บทละคร ต่างๆมากมาย นอกจากนั้น วรรณกรรมแนวการเมืองยังปากฏในรูปแบบของหนังสือพิมพ์  และในรูปของข่าวสารทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้การพัฒนาทางวรรณกรรมการเมืองนั้นขยายขอบเขตได้มากขึ้นด้วย


อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

 วิวัฒนาการของวรรณกรรมไทย
 
           วรรณกรรมไทยปัจจุบันถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ลักษณะของวรรณกรรมไทยในช่วงนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปจากวรรณคดีไทยเดิมอย่างเห็นได้ชัดเจนทั้งใน
ด้านรูปแบบ แนวคิด เนื้อหาและกลวิธีการแต่ง เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมของตะวันตก
ดังกล่าวแล้ว.
 
    วิวัฒนาการวรรณกรรมแบ่งเป็น 7 ยุคสมัย
 
           ยุคเริ่มแรก – ที่มาของวรรณกรรมแปลและแปลง (พ.ศ. ๒๔๔๓ – ๒๔๖๙) 
           ยุครุ่งอรุณ – ที่มาของวรรณกรรมไทยแนวจินตนิยม (พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๗๕) 
           ยุครัฐนิยม – ที่มาของวรรณกรรมแนวก้าวหน้า (พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๔๘๘) 
           ยุคกบฏสันติภาพ – ที่มาของวรรณกรรมแนวเพื่อชีวิต (พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๕๐๐) 
           ยุคสมัยแห่งความเงียบ – ที่มาของวรรณกรรมน้ำเน่า (พ.ศ. ๒๕๐๑ – ๒๕๐๖)
           ยุคฉันจึงมาหาความหมาย-ที่มาของวรรณกรรมหนุ่มสาว(พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๕)
           ยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน-ที่มาของวรรณกรรมเพื่อประชาชน(๒๕๑๖-ปัจจุบัน)

อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

ประเภทของวรรณกรรม

วรรณกรรมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 
    
     1)วรรณกรรมสารคดี หมายถึงหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อมุ่งความรู้ ความคิด ประสบการณ์แก่ผู้อ่าน
ซึ่งอาจใช้รูปแบบร้อยแก้ว หรือร้อยกรองก็ได้ เช่น หนังสือวิชาการ ตำราเรียน ตำราอาหาร บทความ ฯลฯ
 
     2)วรรณกรรมบันเทิงคดี หมายถึงวรรณกรรมที่แต่งขึ้นเพื่อมุ่งให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน
บันเทิงแก่ผู้อ่าน จึงมักเป็นเรื่องที่มีเหตุการณ์และตัวละคร เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย นิทาน บทเพลงต่างๆ ฯลฯ
 
 
ชนิดของวรรณกรรมไทย แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
 
     1)วรรณกรรมร้อยกรอง คือลักษณะงานเขียนที่ใช้ภาษาเขียนที่สละสวย คล้องจอง เช่นพระอภัยมณีขุนช้างขุนแผน ฯลฯ เป็นต้น โดยใช้ กาพย์ กลอน โคลง ต่างๆ ในการเดินเรื่อง
 
     2)วรรณกรรมร้อยแก้ว คืองานเขียนแบบความเรียง หรือ เรียงความ ที่ไม่ใช้ภาษาคล้องจอง ในรูปของบทความ นิทาน เพลง ฯลฯ

อ่านต่อได้ที่ https://sites.google.com/site/... 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณกรรม หมายถึง วรรณคดีหรือศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า บันทึก ขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น 2 ประเภท คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือวรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และวรรณกรรมมุขปาฐะ อันได้แก่วรรณกรรมที่เล่าด้วยปาก ไม่ได้จดบันทึก

     ด้วยเหตุนี้ วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้าง ถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคม เป็นต้น

     วรรณกรรมเป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่

1.ภาษาพูด โดยการใช้เสียง2.ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
3.ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น


     ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษาขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ หรือสวยงามได้ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทางการใช้ภาษาที่ควรดำรงและยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)


อ่านต่อได้ที่.. http://www.finearts.go.th/fad1...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Supajira Ngaongam
เขียนเมื่อ

วรรณกรรมพื้นบ้าน หมายถึง วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยครอบคลุมวรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธีการบอกเล่า และที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งออกเป็น
๑. นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าที่สืบทอดต่อๆ กันมา เช่น นิทานจักรๆวงศ์ๆ นิทานศาสนา นิทานคติ นิทานอธิบายเหตุ นิทานเรื่องสัตว์ นิทานเรื่องผี มุขตลกนิทานเรื่องโม้ นิทานเข้าแบบ
๒. ตำนานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสถานที่ บุคคล ศาสนวัตถุ และศาสน-สถานที่สำคัญๆ ในท้องถิ่นต่างๆ และเรื่องเล่าที่อธิบายความเป็นมาของความเชื่อและพิธีกรรมในท้องถิ่นต่างๆ 
๓. บทสวดหรือบทกล่าวในพิธีกรรม หมายถึง คำสวดที่ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บททำขวัญ คำบูชา คำสมา คำเวนทาน บทสวดสรภัญญ์ คาถาบทอานิสงส์ บทประกอบการรักษาโรคพื้นบ้าน คำให้พร คำอธิษฐานฯลฯ
๔. บทร้องพื้นบ้าน หมายถึง คำร้องที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ เช่น บทกล่อมเด็ก บทร้องเล่น บทเกี้ยวพาราสี บทจ๊อย คำเซิ้งฯลฯ
๕. สำนวน ภาษิต หมายถึง คำพูดหรือคำกล่าวที่สืบทอดกันมา มักมีสัมผัสคล้องจองกัน เช่น โวหาร คำคม คำพังเพย คำอุปมาอุปไมย คำขวัญ 
คติพจน์ คำสบถสาบาน คำสาปแช่ง คำชม คำคะนองฯลฯ
๖. ปริศนาคำทาย หมายถึง คำหรือข้อความที่ตั้งเป็นคำถาม คำตอบ ที่สืบทอดกันมา เพื่อให้ผู้ตอบได้ทายหรือตอบปัญหา เช่น คำทาย ปัญหาเชาวน์ ผะหมี
๗. ตำรา หมายถึง องค์ความรู้ที่มีการเขียนบันทึกในเอกสารโบราณ เช่น ตำราโหราศาสตร์ ตำราดูลักษณะคนและสัตว์ ตำรายาฯลฯ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท