อนุทินล่าสุด


เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

7-8ก ค 2558 เข้ารับการอบรม หลักสูตร จิตปัญญา สิ่งที่ได้ คือการให้ความสำคัญในการฝึกสติ และที่ท้าทาย ตนเอง คือการแผ่เมตตาให้กับคนที่เรามีอคติ ยาก ที่จะยอมรับ แต่จะพยายาม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

พาลูกๆๆ ปีนภูลังกา..จังหวัดบึงกาฬ.....บ่งบอกความมุ่งมั่นตั้งใจ..



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

อีกครั้งที่สามพันโบก 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

ครั้งหนึ่งที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

ลำตะคอง วันนี้ น้ำลดลงเยอะมาก    แต่ที่สวยและประทับใจ   ตลอดคือ พระอาทิตย์ตกดิน ต้มปลาอร่อยๆๆ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ




วันนี้จัดปชว. การวิจัยในงานสาธารณสุข โดย รศ. ดร.สัมมนา มูลสาร จากคณะเภสัช ม.อุบล  Mail. [email protected] โทร 0854195913

    เนื้อหาเป็นการทบทวนหลักการวิจัย ประเด็นจริยธรรม การเขียนโครงร่างวิจัย 

คำถามที่อยากรู้    ..จะเป็นวิจัยไหมนี่เรา..ก็มีหลักๆๆ ดังนี้(เดี๋ยวลืม)

ทำไมผู้ป่วยจึงอยู่ในโรงพยาบาลนานมากกว่า1เดือน

การบำบัดเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ในตนเองในผู้ป่วยจิตเภทใหม่หลังการบำบัดสูงกว่าผู้ป่วยเก่าหรือไม่

การพยาบาลผู้ป่วยยุ่งยากซับซ้อนตาม Care Map ช่วยให้คุณภาพการดูแลดีขึ้นอย่างไร

ประทับใจในอาจารย์ที่ช่วยให้ผู้เข้าประชุมรู้สึก อยากทำวิจัย และรู้สึกไม่ใช่เรื่องยาก..ที่สำคัญอาจารย์รับอ่านโครงร่างการวิจัยให้ด้วย...         

  เริ่มต้น อ่านบทความวิจัย ที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ...

   ทั้งนี้ ต้องจัดการกับงานที่ค้างอยู่ Case study ,บทความ,...

ขอบคุณ พี่ๆๆน้องคณะกรรมการCare Team F 20 ทุกท่านที่ช่วยกันทำงาน และที่แน่ๆๆเรามีงานทำต่อ นะจ๊ะ...


                  




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

15  พฤษภาคม 2556 

         ได้รับการนิเทศจากคณะกรรมการจริยธรรมกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากได้ร่วมงาน         วิจัยการศึกษาผลของการใช้ยาฉีด Pariperidone palmetate (ชนิดออกฤทธิ์นาน)ในผู้ป่วยจิตเภท (ผู้ป่วยฉีดยาเดือนละครั้งโดยงดใช้ยารับประทาน ยา:ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยแบบไม่สุ่มกลุ่มเป้าหมาย มีระเบียบวิธีวิจัยที่ละเอียดมาก  ระยะเวลาศึกษานานคือ 1ปีครึ่ง มีผู้ร่วมวิจัย ที่เป็นแพทย์ 4 ท่าน Study nurse 2 คน คือ ดิฉันกับน้องอีกคน  เภสัชกรอีก 1  คน กลุ่มเป้าหมาย 10คน 

         ตลอดการทำงาน1ปีครึ่ง รู้สึกว่ารวดเร็วมาก มีประเด็นให้ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 

บทเรียนจากการรับนิเทศ 

ก.ได้รับรู้ขั้นตอนการทำงานของคณะนิเทศมีขั้นตอนดังนี้

1.แจ้งจุดประสงค์การนิเทศครั้งนี้คือประเด็นจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ล้วนๆ

2.ขอทราบบริบทของหน่วยงาน  

3.ข้อมูลของ CASE โดยเฉพาะที่ เป็น AE/SAE 

4. บทบาทหน้าที่ของทีม ทั้ง 6 คน

5.ขอสัมภาษณ์รายบุคคล ได้คุณหมอทั้ง4 วันนั้น พบหมอเพียง2คน(อีก2คนติดราชการ) ดิฉัน น้องพยาบาลและเภสัชกร

6.ขอดูสถานที่ๆเกี่ยวข้องกับงานวิจัย ตั้งแต่ผู้ป่วยก้าวเข้ามาจนถึงรับยามาฉีด

7.ขอดูแฟ้มวิจัย และเวชระเบียนผู้ป่วยทั้ง10คน

ข. การสัมภาษณ์ จากกรรมการทั้ง 7 ท่าน ยิงคำถามแบบชุดใหญ่ ได้แก่ เราทำอะไรให้ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย บ้าง  มีขั้นตอนอย่างไร ซึ่งบทบาทดิฉันที่สำคัญคือการเตรียมข้อมูล การประเมินอาการเบื้องต้น  และบันทึกข้อมูล การประเมินอาการข้างเคียงจากยา การทำหน้าที่ทางสังคม การฉีดยา แบ่งเวลาอย่างไร(ดิฉันใช้เวลาวันหยุดมาทำงาน)  ไม่รู้สึกกังวลอะไร เพราะมีคู่มือการทำงานและปฏิบัติตามอยู่แล้ว ที่ผ่านมาหากมีข้อสงสัยในระเบียบวิจัยจะปรึกษาผู้วิจัยหลัก 

   มีคำถามที่ประทับใจจากทีม ....เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการศึกษานี้...เราเคยได้ทำวิจัยแบบนี้หรือไม่ 

ได้รับการพัฒนามาอย่างไร เรา

           คำตอบคือ...ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยและ ประเด็นจริยธรรม การวิจัยในมนุษย์  ซึ่งเคยร่วมงานวิจัยมาบ้างแต่ไม่ได้ซีเรียสขนาดนี้  การดำเนินการเกี่ยวกับสิทธิ์ของกลุ่มเป้าหมาย ความปลอดภัยของกลุ่มเป้าหมาย การให้คุณค่าของมนุษย์  ....เป็นการศึกษาที่ให้ประสบการณ์ที่ดีและคุ้มค่ามากๆๆ

                   ที่นี่เก่ง..หากผมจะทำวิจัยผมรู้แล้วว่าจะหาทีมได้จากที่ไหนคือ






ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

 25-26 เมษายน 2556

         ก่ารนำ IT มาใช้ในการจัดการความรู้ 

เครื่องมือในการจัดการความรู้

CoP การแลกเปลี่ยนประสบการณ์

AAR การประเมินหลังการประชุม

Best Practice การเรียนรู้จากผู้รู้

Knowledge Mapping การประเมินตนเองว่ารู้อะไร ใช้เทคโนโลยี

WI

การสำรวจตนเอง

การนำIT มาใช้

CoP การแลกเปลี่ยนประสบการณ์  

Domain เรื่องสนใจร่วมกัน ปัญหา 

Community รวมกลุ่มกันแบ่งบทบาท

Practice มีผลงานหรือข้อสรุปร่วมกัน


Knowledge Mapping การประเมินตนเองว่ารู้อะไร ใช้เทคโนโลยี

 ต้องผ่านการทำaction plan ก่อน แล้วเรียงรายชื่อบุคลากรว่าแต่ละคนมีความรู้ตามยุทธศาสตร์หรือไม่ หากไม่มี ต้องให้ไปเรียน หรือฝึกอบรม

การนำIT มาใช้

1.สร้างฐานข้อมูล

2.สร้างKM Tools

 1.   Knowledge Capturing Tools

2.    Knowledge Sharing Tools

3.    Knowledge  Mapping Tools

4.  E-Learning

5.   CoP




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

25-26เมษายน 56 อบรม KM Advance ระยะ 2 อ.พรเทพ จรัสศรี ผู้จัดการปูนซีเมนต์ไทยจำกัด (มหาชน)

    9-10 น.  คนมีความรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องนำองค์กรได้  มีคำถามของผู้นำ

นั่นหมายความว่า ต้องมีการตั้งโจนท์ของผู้นำ   คือ วิสัยทัศน์ ดังนั้น ฝ่ายบุคคลต้องรับ พนักงานที่มีสมรรถนะในการทำงานเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และติดตาม ดูแล เอาใจใส่ให้เขาทำงานได้ดี หากครบเกษียณ มีอะไรรองรับ

ฝ่ายบุคคลต้องดูแลชีวิตและความปลอดภัย การบริหารความเสี่ยง เพราะลดการลา ขาด ป่วย คนสามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพ

  กลยุทธ์การตลาด

กลยุทธิ์ ตลาดเดิม ตลาดใหม่
สินค้าเดิม

สินค้าใหม่

การเพิ่มมูลค่าสินค้า  1.ทำใหม่ บริการ ออกแบบ

                               2.การรวมสินค้าย่อยให้ใช้ได้
สรุป พนักงานต้องใช้ความคิด ออกแบบและมีความคิดสร้างสรรค์ 
           การเรียนรู้ KM wไม่ได้ขึ้นกับเราเพียงอย่างเดียว การได้รับการสนับสนุน กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ จะทำให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด แล้วองค์กรเราล่ะ เป็นอย่างไรหนอ....
10.30  งาน กิจกรรมเกี่ยวกับ KM คนในองค์กรต้องมีการพัฒนา หากไม่แล้ว ต้องคัดเลือกตั้งแต่แรกเข้ามา
           คนไม่จำเป็นต้องเก่งเท่ากัน เพราะว่าค่างานไม่เท่ากัน  คนที่มีความรู้เยอะๆๆในองค์กรณ์ต้องมีการบริหารเขาและรักษาเขาไว้ (Talent Management) จดสิทธิบัตร (สุดยอดของการคิดคือการพัฒนาให้ดีขึ้น)
การจัดการความรู้ส่วนบุคคล เพื่อให้บุคคลจัดการความรู้ตามสไตส์   ดังนั้นเราต้องประเมินดังนี้ 
1.เรารู้ว่าเรารู้อะไร(นำความรู้ไปใช้ได้)    
2.เรารู้ว่าเราไม่รู้อะไร(คนฉลาด) เราอยากรู้อะไรล่ะ เพื่อให้รูว่าเรารู้อะไร
3.เราไม่รู้ว่าเรารู้อะไร เพราะอาจไม่ค่อยได้ใช้ อาจทำให้ลืมแล้วพัฒนาให้เรานำออกมาใช้
4.เราไม่รู้ว่าเราไม่รู้อะไร คิดว่าโลกภายนอกเป็นอย่างไร ดูว่าคนอื่นเขามีดีอะไร แล้วเรายังไม่รู้ต้องพัฒนาให้เป็น ข้อ 2
         พิมพ์ชนก รู้ไหมว่าตนเองไม่รู้อะไร...พระเจ้าช่วย    มากมายเหลือเกิน.....
พฤติกรรม7 อย่างที่เป็นคนที่พัฒนา
1. Be Proactive คนเรามีสิ่งเร้ามากระตุ้นเราจะตอบสนอง2อย่างคือ ตอบสนองตามอารมณ์ความรู้สึก (Reactive) และคนที่สามารถหยุดคิด ไม่ใช้อารมณ์(Proactive) ก่อนแสดงออก มีสติ เลือกในทางที่สร้างสรรค์     มีอุปนิสัยทำเรื่องที่ดี  สำคัญ ทำให้ถูกตั้งแต่แรก  
        สรุปเราเป็นคน Be Proactive  จ้า เย้ๆๆๆๆ

                                                                                                          


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

20130421224145.22 เมษายน 56 อบรมการประเมินการจัดการความรู้ในหอผู้ป่วยที่ตนเองปฏิบัติ หมวด 3และ6 จากการทำงานก่อนเข้าอบรม ทำให้เรียนรู้ว่า ตลอดการทำงานเราต้องรู้ว่าลูกค้าเราหน้าตาเป็นอย่างไร ต้องการอะไร มีช่องทางการประเมินความต้องการลูกค้าหรือไม่ อย่างไร ตรวจสอบได้หรือไม่ และเราจำอะไรให้เขาได้บ้าง ในที่นี้เหมือนกับว่าต้องรู้เขา รู้เรา และกระบวนการการให้บริการของเราทำให้เขาดีขึ้นอย่างไร  มีโดยเฉพาะ การใช้เครื่องมือKM วัดผลสำเร็จหรือไม่ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของหน่วยงานหรือไม่

 บทสรุป รู้จริง ทำจริง ให้คุณค่ากับลูกค้า และกระบวนการ  

 มีความสุขมาก...ที่ได้เรียนรู้ เปิดหัวสมอง...เปิดใจ...ขอบคุณ...ซาบซึ้งในพระคุณจริงๆๆ..ไม่มีการสอน...แต่รู้ได้ด้วยตัวเรา...ขอบคุณสมาชิกกลุ่มที่เติมเต็ม...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

KM Assesment   (KMA) 20 มีนาคม 2556 ประชุม KMA  ระยะที่1 ได้เรียนรู้ความเชื่อมโยงของKM ที่สอดแทรกอยู่ในทุกส่วนของการทำงานโดยเริ่มตั้งแต่นโยบาย ของกระทรวง กรม โรงพยาบาล ได้ประเมินหมวดที่1 ซึ่งเป็นหมวดของการเป็นผู้นำขององค์กรเกี่ยวกับKM ทำให้เห็นภาพของการประเมินผู้บริหารสูงสุดขององค์กรในทางบวก  เห็นความศรัทธาและเชื่อมั่นในการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยใช้KM มาช่วยให้การทำงานขององค์กรดีขึ้น 

ต่อไป ต้องประเมิน หน่วยงานตนเองที่หอผู้ป่วยโดยคงต้องไปดูว่ าSPAR ของเราเป็นอย่างไร เตรียมนำเสนอในระยะที่2 ในวันที่ 26 มิถุนายน 56



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

เข้มแข็ง
เขียนเมื่อ

การจัดการความรู้ขั้นสูง(KM Advance) 26-27 กุมภาพันธ์ 2556  ระยะที่1 ณ.รพ.พระศรี

วิทยากรคือ รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยาคำ คณะเภสัช ม.บูรพา และรศ. เพชรากร หาญพานิชย์ ภาควิชารังสี คณะแพทย์ศาสตร ม.ขอนแก่น 

ผลของการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจว่า อะไรคือKM และมีการพัฒนาตนเองได้หลายรูปแบบ และได้รู้จัก GO to Know.org ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ระยะที่2คือ 25-26 เมายน 56 จะเป็นอย่างไรยังไม่รู้ ว่าจะทำอะไรจึงจะ "Advance" หากแต่พยายามเข้ามาเรียนรู้ในGO to Know.org อยู่ทุกวัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท