ไอทีกับความพอเพียง


การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในยุคไอที

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ     ทรงมีพระราชดำรัส  ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต  แก่พสกนิกรชาวไทยตลอด 20 กว่าปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ทรงย้ำแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อรอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้ความเปลี่ยนแปลงต่างๆของกระแสโลกาภิวัฒน์  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา   ชี้ถึงการดำรงอยู่และการปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ  ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ตลอดจนถึงระดับประเทศ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารให้เป็นไปในทางสายกลาง  โดยเน้นถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง

                เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึง[1]  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกที่จะต้องอาศัยความรู้  ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินชีวิตทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติทุกระดับให้มี จิตสำนึก มีคุณธรรม  ความซื่อสัตย์  สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมในการดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร มีสติปัญญา เพื่อให้เกิดความสมดุลและพร้อมต่อการรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม  สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมภายในและภายนอกได้เป็นอย่างดี                  หลักปรัชญาของแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เน้น 4 ด้านใหญ่ ๆ       (1)  ความพอประมาณ  เป็นทางสายกลาง (2)  ความมีเหตุผล  มีเอกลักษณ์  มีปัจจัยความรู้และคุณธรรมกำกับยืดหยุ่น  (3)  มีระบบคุ้มกันในตัวเอง  สามารถพึ่งพาตนเองได้ (4)  มีความรอบรู้ รอบคอบ  ระมัดระวังเน้นกระบวนการเรียนรู้ ด้านคุณธรรม   มี  2 ระดับ คือ จิตสำนึก และการปฏิบัติการ ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น แบ่งปันแบบเอื้ออาทร ซึ่งกันและกัน ส่วน IT (information  technology) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ คือ เทคโนโลยีในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานจัดการกับข้อมูล ข่าวสาร หรือที่เรียกว่า สารสนเทศ   เทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น มีลักษณะเด่น คือ มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากจะเห็นได้จากมีการใช้อินเตอร์เน็ต การส่งอีเมลล์  การท่องเว็บต่างๆ เป็นต้นดังนั้น จึงสามารถดึงเอาจุดเด่นของระบบ IT เข้ามาปรับประยุกต์ใช้กับหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมีเหตุมีผล        ก็จะทำให้การดำลงชีวิตมีแบบแผนที่ดีขึ้นได้ เช่น การใช้งานอินเตอร์เน็ตซึ่งถือเป็น IT รูปแบบหนึ่งอย่างพอประมาณ คือ เลือกใช้ในเวลาที่พอเหมาะพอควรไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป สำหรับเพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มพูนความรู้ให้กับตัวเองและสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นมาปรับใช้ในการดำรงชีวิตและการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ชีวิตไม่เสี่ยงต่อความล้มเหลว นั่นคือมีภูมิคุ้มที่ดีแล้ว เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดีแล้วก็สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้นั้นไปยังบุคคลอื่น ๆ รอบข้างเรา เช่น ญาติ มิตร  ของเราให้รู้จักรใช้ชีวิตอย่างพอเพียง นั่นก็คือหลักมีความรอบรู้ รอบคอบ  และมีคุณธรรม ตามหลักเสรษฐกิจพอเพียงแล้ว  สำหรับผู้มีความสนใจที่จะศึกษาหรือน้อมนำเอา หลักปรัชญาเศรฐกิจพอพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต             ผู้เขียนขอแนะนำแหล่งข้อมูล www. rdpb. go.th เป็นเว็บไซค์ของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการ      ในพระราชดำริ ซึ่งเป็นเว็บไซค์ที่รวบรวมพระราชดำรัสต่างๆ เรื่อง หลักเศรษฐกิจพอเพียง ไว้มากมาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก สำหรับผู้ที่จะน้อมนำเอา หลักปรัชญาเศรฐกิจพอพียง ไปเป็นแนวทางในการดำลงชีวิตเพื่อความผาสุกของครอบครัวอ้างอิง :  ปรียานุช  พิบูลสราวุธ (2546) การพัฒนากรอบแนวคิดและการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ,สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ                               www.rdpb.go.th                                                                                                    

หมายเลขบันทึก: 98935เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 13:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท