ความพอเพียง : เกาะป้องกันอันตรายทางเทคโนลียี


ความพอเพียง : เกาะป้องกันอันตรายทางเทคโนลียี

         

         

          ภาพยนตร์ Sci-Fi หลาย ๆ เรื่อง เช่น The Metrix, 2001 A Space Odyssey และ I Robot เหล่าบรรดานักเขียนได้สร้างประเด็นเรื่องของเทคโนโลยีโลกแห่งอนาคต นักเขียนเหล่านั้นจินตนาการถึงโลกในอนาคต มนุษย์พัฒนาคอมพิวเตอร์ สมองกล หุ่นยนต์ การติดต่อสื่อสาร จนถึงขีดสูงสุด จนกระทั่งเทคโนโลยีที่เราสร้างมันอยู่เหนือการควบคุมและย้อนกลับมาเล่นงานมนุษย์เสียเอง

          ความน่ากลัวของเทคโนโลยี ถึงแม้มันจะเป็นเพียงภาพยนตร์ที่ถูกสร้างโดยกลุ่มคนกลุ่มเล็ก ๆ แต่มันก็ทำให้เราคิดไปได้ไกลถึงขั้นว่า เทคโนโลยีเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตจากความเป็นมนุษย์ปกติ อีกหน่อยเด็ก ๆ จะเขียนหนังสือไม่เป็น เด็กจะเริ่มชั้นอนุบาลด้วยการหัดพิมพ์สัมผัส แทนการเขียน ก ไก่ ซึ่งสิ่งที่น่ากลัวที่สุดของเทคโนโลยีคงเป็นการที่มันทำให้เราสบาย จนเคยตัว เทคโนโลยีทำให้เราสะดวกขึ้น แต่เราก็จะลำบากขึ้นในการดำรงชีพ เพราะเทคโนโลยีทำให้เราต้องจ่ายเงินซื้อของแพงขึ้นเรื่อย ๆ แม้เราอาจจะใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือของเรา แต่เราเองก็สร้างความเคยชินในการพึ่งเทคโนโลยีโดยไม่รู้ตัว           แล้วความพอดีทางเทคโนโลยีคืออะไร? คือ การรู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดปรานเทคโนโลยีเป็นที่สุด พระองค์ท่านไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีสมัยใหม่เลย แต่พระองค์ท่านติดตามและศึกษาอย่างมีสติรู้เท่าทันเสมอมา พระองค์ทรงสอนคนไทยทั้งผองให้รู้จัก "บริโภคตามฐาน" อย่าตกหลุมพรางของความต้องการที่ถูกสร้างโดยนักการตลาด (Created Demand) อย่าเป็นหนี้ จงพัฒนาตนเองตามกระแสโลกาภิวัตน์ แต่อย่างมงาย ก้าวตามโลกอย่างมั่นคง ไม่ใช่กระโดดเข้าใส่แบบไม่มีสติ

          ดั่งพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" ปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัชชี้แนะเป็นแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พวกเราชาวไทยมานานกว่า 30 ปี และภายหลังที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ "ฟองสบู่แตก" ในปี พ.. 2540 พระองค์ได้ทรงเน้นย้ำให้พวกเราใช้เป็นแนวทางการแก้ไข เพื่อให้ประเทศไทยเรารอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ด้าน

     เศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ใช้ "ปัญญานำทาง" สอนให้พสกนิกรของพระองค์ท่านได้เรียนรู้ และรู้จักที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ด้วยหลักการง่าย คือ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข อันประกอบด้วย พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และ มีความรู้ มีคุณธรรม ซึ่งจะนำไปสู่ ชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ก้าวหน้าอย่างสมดุล มั่นคง ยั่งยืน และจะนำไปสู่ประโยชน์สุขของคนไทย ความสุขอย่างพอเพียง และเป็นความสุขที่ยั่งยืน

บรรณานุกรรม

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล. หลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท.   พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์, 2549

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. พิมพ์ครั้งที่ 3, 2549

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. ..พอเพียง (BE PORPIANG GENERATION). กรุงเทพ : บริษัท เจ เอส แอล จำกัด, 2550

 www.sufficiencyeconomy.org

 www.nesdb.go.th/sufficiencyEcon/main.htm

 www.chaipat.or.th/chaipat/journal/aug99/thai/self.html

 www.seameo.org/vl/articles/ited.htm

 

คำสำคัญ (Tags): #sufficiency it
หมายเลขบันทึก: 98931เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2007 12:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท